วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พัฒนาการความรู้ทางจิต

พัฒนาการความรู้ทางจิต
3 ขั้นตอน

สัญญา
ความรู้เก็บข้อมูล กำหนดจดจำ
ไม่มีอิทธิพลต่อความคิด นิสัยใจคอ
ไม่เปลี่ยนความคิด ไม่เปลี่ยนคำพูด ไม่เปลี่ยนการกระทำ
แต่มีความรู้

เช่น รู้หมดว่าอะไรไม่ดี
แต่รู้หมดอดไม่ได้

อะไรดีรู้หมด

ทางพุทธเน้นให้เก็บข้อมูลที่ถูกไว้
(สุตตะ)

ทิฏฐิ
เป็นความรู้ที่ผ่านการกลั่นกรอง คิดนึก ตกผลึก พิจารณา ทบทวนเหตุผล จากข้อมูลเดิม
จนลงใจเชื่อแล้วว่ามันดีกับเรา
เกิดความเข้าใจที่ยึดไว้เป็นอุดมคติของตัวเอง

เป็นความถูกผิดที่ "เกี่ยวข้องกับตัวเอง"
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความถูกผิด "ตามธรรมชาติ"

เป็นคำกลางๆ ไม่ได้เป็นกุศล หรืออกุศล
มีทั้งมิจฉาและสัมมา
(แต่ในอภิธรรมมีทิฏฐิเจตสิกซึ่งเป็นอกุศล)

ความรู้แบบทิฏฐิจะเปลี่ยนความคิด การกระทำและการดำเนินชีวิต
แต่ยังมีความยึดติด

430

สัญญาเป็นทุกข์หรือสมุทัย และจิตตสังขาร

วิญญาณรู้แจ้ง
สัญญารู้จัก

สัญญาธรรมดา : เป็นทุกข์
กำหนดสูงต่ำ ดำขาว รูปพรรณสันฐาน ... อันนี้ยังเป็นปรมัตถ์
กำหนดชื่อต่างๆ ใช้ในการสื่อสาร ... อันนี้เป็นบัญญัติ

คนที่มีชื่่อในหัวมาก ข้อมูลมาก
คิด ตัดสินไปตามข้อมูล
ข้อมูลมักจะบังความจริง
เพราะความจริงเปลี่ยนไปเรื่อย

สัญญาซับซ้อน : เป็นทุกขสมุทัย
สัญญาเกิดจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ
กำหนดขึ้นจากสิ่งที่ซํบซ้อน
ความซับซ้อนนี่มาจากกิเลส

เรามีสิทธิในสิ่งนั้น ในสิ่งนี้
กำหนดแบบนี้จะทำให้เข้าถึงความจริงยาก
เพราะจริงๆ มันไม่เป็น

กำหนดว่าเรายิ่งใหญ่ มีอำนาจ
กำหนดแบบนี้จะทำให้เข้าถึงความจริงยาก
แต่จริงๆ มันไม่ใหญ่โต

เราทำบุญก็ได้บุญ เราทำบาปก็ได้บาป
กำหนดแบบนี้จะทำให้เข้าถึงความจริงยาก
แต่จริงๆ เราไม่ได้อยู่ตลอดไป

จิตตสังขาร
มีความหมาย 2 ลักษณะ

อันแรก พูดถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิดจิต จะหมายถึง เวทนาและสัญญา
จิตจะเกิดต้องมีเจตสิก และเจตสิกที่เกิดเสมอคือ เวทนาและสัญญา
ความหมายนี้ จิตตสังขารเป็นทุกข์

อันที่สอง พูดว่าจิตมันหมุนวิ่งวุ่นไปได้ยังไง มันสืบต่อไปได้อย่างไร
อันนี้จะหมายถึง เจตนา
ซึ่งเกิดประกอบจิตแล้วทำให้จิตต้องมีการกระทำนั่นนี่
เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
สังขารในปฏิจจฯ พูดถึงเจตนา
ความหมายนี้ จิตตสังขารเป็นทุกขสมุทัย

สังขารที่ทำให้เกิดวิญญาณ พูดอยู่ 2 แง่หลักๆ
แง่แรก อภิสังขาร
แง่สอง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร




วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8


คนนู้นอ้างอย่างนู้น คนนี้อ้างอย่างนี้
อ้างสูตรนู้นนี้ เยอะมาก
เราดูรวมๆ ไปเลย 
ว่าสิ่งที่เขาพูด สิ่งที่ท่านนี้ๆ สอน เป็นไปเพื่ออะไร

  1. วิราคาย : เป็นไปเพื่อการคลายความติดความข้อง ถ้าสอนให้เราไปพึ่งนู่นพึ่งนี่...ไม่ไหว 
  2. วิสงฺโยคาย : เป็นไปในลักษณะไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่ดึงเราไว้ในโลก  คำสอนทำนอง "หาสมาชิก" 
  3. อปจยาย : ไม่เป็นไปเพื่อการสั่งสม สั่งสมบุญ สั่งสมนู่นนี่ เอาไปเยอะๆ จะได้ไปเสวยนู่นนี่
  4. อปฺปิจฺฉตาย : เป็นไปเพื่อความมักน้อย คำสอนที่ทำให้อยากได้นั่นได้นี่ ไม่ใช่
  5. สนฺตุฏฺฐิตาย : เพื่อพอใจในสิ่งที่ตนมี
  6. ปวิเวกาย : เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความอยู่คนเดียว ไม่ใช่เพื่อคลุกคลี หาพวกพ้อง
  7. วิริยารมฺภาย : เป็นไปเพื่อความขยัน อยากได้อะไรต้องลงมือ และต้องทำให้ถึงจุด ทำไม่ถึงไม่ได้เด็ดขาด ทำแล้วจะมาหวังว่าควรจะได้โดยไม่ได้มีเหตุที่เหมาะสมไม่ใช่ มานั่งหวังลมๆ แล้งๆ ปลอบใจตัวเองจะได้นั่นได้นี่...ผิด
  8. สุภรตาย : ไม่บ่นกับเรื่องการอยู่การกินเล็กๆ น้อยๆ อยู่ง่าย สบาย คนอื่นคบหาง่าย สะดวก
วิธีมองบุคคล มองภาพรวมของคน

โลกมันไม่มีเหตุผลโดยธรรมชาติ 
คนมีญาณก็สบาย เห็นตามที่เป็นจริง ไม่เอาเข้าตัว
พวกมีเหตุผลแต่ยังเป็นทิฏฐิจึงทุกข์สารพัด เพราะยังจะเอาเข้าตัว
คนดี มีอุดมคติจึงทุกข์เยอะ

มองคนแบบองค์รวม...มองง่ายมาก
คนนี้เกิดมาเพราะอะไร
เพราะอวิชชา
ถ้ามองอย่างนี้จะไม่มีปัญหาอะไรกับใครเลย

ทำไม่ดีเพราะอะไร?
เพราะอวิชชา

ทำไมคนนั้นเป็นอย่างนี้ ทำไมคนนี้เป็นอย่างนั้น
เพราะอวิชชา...จบ
เพราะไม่รู้อริยสัจ...จบ
มานั่งวิเคราะห์สาเหตุแบบโลกๆ เหตุปัจจัยมันเยอะมาก

เราว่าเขาได้แสดงว่าเรายังติดกับสิ่งนั้น
สิ่งนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นกับเราเช่นกัน

ทิฏฐินี่เป็นความรู้ แต่เป็นการดึงเหตุผลเข้ามาหาตัว
แม้จะถูก แต่ยังอันตราย

ปัจจัย

อุปนิสยปัจัย
เคยชิน จนไม่เห็นว่าผิด
คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
เช่น คุยเรื่องชาวบ้าน

อารัมณปัจจัย
คิดว่าการเป็นอย่างนี้มันดี

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ชันธ์ VS อุปาทานขันธ์

ขันธ์ 5 นี่กว้างกว่าอุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์นี่เจาะจงลงไป

ในการปฏิบัติเบื้องต้นจะพิจารณาขันธ์ 5 อะไรก็ได้
ภายใน ภายนอกก็ได้
ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
คือเป็นการพิจารณาให้เกิดปัญญาแบบกว้างขวาง ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น

แต่การพิจารณาเช่นนี้ยังไม่ลึกซึ้ง "พอ" ที่จะถอนกิเลส

แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไป เช่น พิจารณาปฏิจจฯ
จะไม่ได้เอาขันธ์ทั่วไปมาพิจารณา
คือ ไม่ได้เอาใบไม้ใบหญ้า หรือขันธ์ชาวบ้าน ขันธ์แมว หมาอะไรมา
เอาขันธ์ที่ยึดอยู่มาพิจารณา

เอาขันธ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ยึดถืออยู่นี่
ก็คือมีขันธ์ตัวเอง แล้วก็ขันธ์ที่เกี่ยวข้องที่เที่ยวไปยึดถือนี่ล่ะมาพิจารณา (เช่น ขันธ์สามี)
ที่มันจะก่อให้เกิดการเวียนว่าย
มันเฉพาะเจาะจงลงไป

ขันธ์ที่เป็นที่ตั้ง ที่เป็นที่อาศัยของอุปาทาน (อุปาทานิย)
ขันธ์อันอาศัยอุปาทานเกิด
เป็นขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (สาสว)

ในอริยสัจนี่ ขันธ์ 5 ไม่ใช่ทุกข์นะ
แต่อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์

จะเข้าใจคำว่าอุปาทานขันธ์
ต้องเข้าใจคำว่า "ขันธ์" อันนี้ทั่วไป รู้อยู่แล้ว แปลว่า กอง
และคำว่า "อุปาทาน"

อุปาทานเป็นชื่อกิเลส 2 ตัว คือโลภะและทิฏฐิ
อุปาทานก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์เช่นกัน จัดเป็นสังขารขันธ์
อุปาทานแบ่งโดยชื่อ มี 4 (กามุ~, ทิฏฐุ~, สีลัพพัตตุ~, อัตวาทุ~)
โดยเจตสิกมี 2 คือ โลภะ (กามุ~) และทิฏฐิ (ทิฏฐุ~, สีลัพพัตตุ~, อัตวาทุ~)

ตัวอุปาทาน เป็นทุกขสมุทัย
ขันธ์ เป็นกลางๆ ความหมายคือ กอง กลุ่ม ก้อน
อุปาทานขันธ์ ความหมายมีหลายอย่าง หลักๆ มี 3 ความหมาย

  • เป็นขันธ์ที่เกิดมาจากอุปาทาน
  • ขันธ์ที่เป็นที่ตั้งของอุปาทาน
  • ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของอุปาทาน


พูดอีกอย่าง กิเลสเกิดในขันธ์ไหน
กิเลสเกิดที่ไหน ที่นั่นคืออุปาทานขันธ์
กิเลสไม่ได้เกิดในขันธ์ชาวบ้าน ดังนั้นขันธ์ชาวบ้านจึงไม่ใช่อุปาทานขันธ์

อีกความหมายหนึ่ง คือ ขันธ์ที่เกิดมาจากอุปาทาน (เกิดจากกรรม)
เช่น รูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่ิเกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหารก็มี
อุปาทานขันธ์ ก็คือ ในกรณีรูปก็หมายเอาถึงเฉพาะ กัมมชรูป

อุปาทานขันธ์ จึงไม่ใช่ขันธ์ทั้งหมด หมายเอาเฉพาะบางส่วน
และก็ไม่ใช่ตัวเราทั้งหมดด้วย หมายเอาเฉพาะบางส่วนที่เข้าตามหลักข้างต้น

ขันธ์ไหนบ้างที่ไม่ใช่อุปาทานขันธ์
ก็คือ หมายถึงขันธ์ที่ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยสิ้นเชิง
เช่น โลกุตตระจิต คือ มรรคจิต ผลจิต และเจตสิกที่เกิดกับจิตเหล่านั้น

อุปาทานขันธ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาพูดในแบบอภิธรรม ก็จะแยกขันธ์ 5 มีจิตเท่าไร เจตสิกเท่าไร
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้เป็นอย่างนั้น มันขึ้นกับว่าเขายึดอะไร
ไม่ได้ยึดอะไรอันนั้นก็ไม่ใช่อุปาทานขันธ์สำหรับคนนั้น
แต่ที่แน่นอนที่ทุกคนยึดไม่ได้เลยคือ มรรคจิต ผลจิต

ขันธ์ 5 ของเรา คือถูกเรายึด
เป็นอุปาทานขันธ์ในแง่ เป็น "อารมณ์" ของอุปาทาน

ส่วนอุปาทานขันธ์ในแง่ว่า เป็น "ผล" มาจากอุปาทาน
ต้องมาพิจารณาในปฏิจจฯ นี่
ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ อีกตอนนึงมันเป็นอีกอย่างนึง เช่น
สังขารปัจจยา วิญญานัง : ก็ไม่ได้หมายเอาวิญญานทั้งหมด หมายเอาเฉพาะวิบาก
วิญญานปัจจยา นามรูปัง : ก็หมายเอาเฉพาะกัมมชรูป
พอเลยๆ ไปถึง ตัณหา อุปาทาน ก็เริ่มเลยไปเป็นกิเลสต่อไป ยึดถืออะไรต่อไป
มันเป็นคนละตอนกัน
อันนี้คือ อุปาทานขันธ์ในแง่ว่า เป็น "ผล" มาจากอุปาทาน

ตัวปฏิจจสมุปปันธรรม 12 นี่แหละที่เป็นอุปาทานขันธ์ 5
ธรรมท.ที่เกิดมาจากปฏิจจสมุปปาทนี่แหละ เป็นอุปาทานขันธ์ 5
แต่ว่าตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ อีกตอนนึงมันเป็นอีกอย่างนึง
ท่านจึงได้สรุปว่า "ความเป็นไปของกองทุกข์ ย่อมเป็นด้วยประการฉะนี้"

หมายเหตุ
ปฏิจจสมุปบาท = ตัวเงื่อนไข
ปฏิจจสมุปปัน = สิ่งที่เกิดจากเงื่อนไข

เวลาใช้คำว่า "ดับ" => ดับอุปาทาน, ดับขันธ์ (ไม่ใช่ดับอุปาทานขันธ์)
เวลาใช้คำว่า "รู้" =>  หมายถึง รู้อุปาทานขันธ์ว่าเป็นทุกข์

อุปาทานขันธ์ 5 นี่เอาไว้รู้ ตามหลักอริยสัจ
แต่เวลาดับ นี่ดับทั้งหมด แม้รูปที่เกิดจาก จิต, อุตุ, อาหาร ก็ดับด้วย จึงไม่ใช่คำว่าดับอุปาทานขันธ์


425 ตอบปัญหา หน้า 6

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ดิฉันไม่เห็นทุกข์อะไรเลย?

อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์

"ดิฉันไม่เป็นทุกข์"
ก็ "ดิฉัน" ผู้พูดว่าไม่เป็นทุกข์นั่นแหละ เป็นทุกข์แล้ว

"ดิฉันไม่เห็นทุกข์อะไรเลย"
ก็ "ดิฉัน" ผู้ไม่เห็นทุกข์อะไรนี่ก็แก่ลงทุกวัน

ต่อให้จะเพิกเฉยว่าไม่ทุกข์ไม่ร้อนอะไร
แต่ก็ร้อนด้วยอำนาจความแก่ เจ็บ ตาย และเกิด

ผู้สบายไม่ทุกข์ร้อนก็แก่เหมือนกัน เจ็บเหมือนกัน ตายเหมือนกัน
เวียนไปเรื่อย


วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หมายเหตุการสังเกต

หมายเหตุการสังเกต

รู้สึกทุกข์
รู้ว่าทุกข์
ไม่เหมือนกัน

รู้สึกทุกข์เป็นเวทนา
รู้ว่าทุกข์เป็นวิญญาณ
เกิดพร้อมกันแหละ แต่ถ้าสติสมาธิดีจะแยกได้

หรือ
สบายตา
ตาเห็น
ก็คนละอัน

สบายใจ - เวทนา
รู้ว่าสบายใจ - วิญญาณ (เป็นความรู้ว่าเป็นนู่นเป็นนี่)
ก็คนละอัน

แต่ส่วนใหญ่รับรู้แล้วก็ติดอารมณ์
ไม่ตั้งมั่น เลยแยกไม่ออก

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สังเกตภวังคจิต

ปฏิสนธิ~
ภวังค~
จุติ~

ก็เป็นจิตประเภทเดียวกัน
ธรรมชาติของจิตย่อมมีอารมณ์

ปฏิสนธิ~
ภวังค~
จุติ~
ว่าโดยความรู้สึก "เรา" จะไม่รู้สึกตัว
แต่จิตมันรู้

ความ "รู้สึก" ที่ว่าเรารู้สึกนี่
สัญญาปัจจุบันมันไปจับอารมณ์มาแล้วประมวลเรื่อง
ตอนเป็นสัญญาไม่เยอะเป็นเด็ก มันจึงพูดไม่ออก

นึกเรื่องตอนเด็กไม่ได้?
อันนั้นตัวนึกคือสติ 
และทั้งนี้เรื่องที่จะนึกมันต้องมีด้วย
ทีนี้ตอนเป็นเด็กสัญญามันยังไม่ชัดเจน

เห็นก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
มันกำหนดยังไม่ถูก
กำหนดไม่ได้เลยเก็บข้อมูลไม่ลง
เมื่อเก็บไม่ได้ การจะดึงขึ้นมาเป็นเรื่องราวต่อเชื่อมันก็ไม่ได้

แต่เมื่อรู้ความแล้ว คือเรียกว่า "อินทรีย์แก่รอบ" สัก 6-7 ขวบ
เวลาอินทรีย์แก่รอบแล้ว มันคิดนึกได้แล้ว มันยึดได้
ยึดว่าเป็นตน เป็นของตน การกระทำเพื่อตัวตนก็เต็มไปหมด เป็นกรรม

วิธีการสังเกตภวังคจิต

ท่านก็แนะนำไว้ คือเอาผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
แล้วพิจารณาย้อนกลับ
ท่านมักให้พิจารณาธรรม 5 ประการในทวารทั้ง 6 (รวมเป็น 30 อายตนิกธรรม)
ชำนาญทวารไหนก็เอาทวารนั้นไปทำก่อนเวลาฝึก

เพราะอาศัยตาด้วย 
อาศัยรูปท.ด้วย
เกิดจักขุวิญญาณ
การประชุมของธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ 
ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส 
ผสฺสปจฺจยา เวทนา

มนํ นี่แหละ ภวังคจิต
ถ้าพิจารณาไม่ออกลองพิจารณาไปทางตาก่อน

มารู้ความรู้สึกตอนนี้ก่อน สุข รึทุกข์ รึไม่ทุกข์ไม่สุข
สุขทุกข์ตอนนี้เกิดจากผัสสะ
ผัสสะเกิดจากอะไร
แล้วไล่ย้อนกลับว่าเกิดจากทวารไหน

มโนเฉยๆ  กับมโนธาตุไม่เหมือนกัน
มโนธาตุ ถ้าว่าตามวิถีจิตจะหมายถึง ปัญจทวารวัชชน กับ สัมปฏิจฉันนะ
ถ้ามน หรือมโนเฉยๆ นี่จะหมายถึงภวังคจิต

ว่าตามวิถีจิต
การสังเกตภวังคจิต สังเกตจากมโนทวารจะง่ายกว่า
เพราะมันชั้นเดียว
สังเกตุไปที่ตัวรู้อารมณ์ (ตัวรู้อารมณ์คือ มโนวิญญาณ - ชวนะ)
ก่อนหน้ามโนวิญญาณหน่อยหนึ่ง นั่นล่ะภวังคจิต

เหมือนมองเห็น
อย่าไปสนใจสิ่งที่มองเห็น
สนใจที่ "การมองเห็น"
ก่อนหน้าการมองเห็น จะต้องมีอันนี้ มีอันนี้ กระทบกัน

ถ้าติดอารมณ์จะไม่เห็นตา รู้แต่ว่าเห็นอะไร (รู้เรื่อง)

ก่อนที่จะมองเห็น
ก่อนที่จะได้ยิน
สิ่งที่คั่นอยู่ คือภวังคจิต

มองเห็น สักหน่อยก็คิด
ได้ยิน สักหน่อยก็คิด สักหน่อยก็เห็น
ไอ้ขาดตอน ขาดๆ เหมือนไม่รู้อะไร นั่นคือภวังคจิต

ดูเหมือนขาดนะ
แต่ไม่ตายจากบุคคล

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

องค์มรรคโลกิยะ และโลกุตระ

องค์มรรคในโลกุตระ (มรรคจิต)
เกิดอันเดียวนี่แหละ แต่มีคุณสมบัติในการปิดกั้นตัวอื่น

เช่น สัมมาสังกัปปะในโลกุตรมรรค
ความคิดก็เกิดอันเดียวนี่แหละ
แต่ก็ได้ชื่อ 3 อพยาปาท เนกขัมมะ อวิหิงสา
คือเกิดอันเดียว แต่มีคุณสมบัติปิดกั้นโอกาสเกิดขึ้นอีกของตัวอื่น

แต่ถ้าเป็นสัมมาสังกัปปะในโลกิยมรรค
ก็คือเกิดเป็นอันๆ ไป

สัมมาวาจาที่เป็นโลกุตระ
ก็เป็นเจตสิกอันเดียว
เกิดประกอบกับองค์อื่นๆ แล้วก็ได้ชื่อ 4 เหมือนกัน (ไม่เท็จ, ไม่หยาบ, ไม่ส่อเสียด, ไม่เพ้อเจ้อ)
แต่ไม่ได้มี 4 มีอันเดียว เกิดอันเดียว
แต่อันเดียวที่เกิดสามารถป้องกันและปิดทางอีก 4 อัน
ทำให้หมดเงื่อนไขที่จะเกิดอีก 4

แต่ตอนโลกิยะนี่คือเจตนาที่จะงดเว้นเป็นอย่างๆ ไป
ตอนฝึกนี่คือต้องพยายามงดเอา
แต่พอเป็นสัมมาวาจาแบบโสดาบัน
วจีทุจริตแบบพูดเท็จก็ไม่เกิดอีก ถูกปิดโอกาสไปเลย

ในตอนเป็นองค์มรรค คือ เจตสิก 8 มารวมในจิต
แต่ในตอนเป็นโลกิยคือ ทำอย่างไร ทั้ง 8 นี้จะโต จะเจริญ

เหมือนความรู้ในตอนโลกิยะ
อริยสัจก็รู้ทีละองค์ รู้นี่เป็นทุกข์บ้าง รู้นี่เป็นเหตุบ้าง
ตอนโลกุตตระนี่ สัมมาทิฏฐิ ความรู้อันเดียวจะรู้สัจจะทั้ง 4

ยิ่งสัมมาสมาธิถ้าไม่รู้จะอธิบายเข้าป่าไป
สัมมาสมาธิในมรรคสัจจ์ อธิบายด้วยฌาน 1-2-3-4
แต่ถ้าไปอธิบายว่า จะต้องได้ฌาน 1-2-3-4 จึงจะบรรลุ (อันนี้อธิบายผิด)

ผิดเพราะเวลาองค์มรรคเกิด
สัมมาสมาธิก็คือ เอกัคตา อันเดียว ไม่ได้เกิดทั้ง 4
ความตั้งมั่นของจิตนี่มี 4 ระดับที่เป็นฐานรองรับองค์มรรคได้
เวลาเกิดมรรคจิต คือต้องได้ระดับใดระดับหนึ่ง อันเดียว
เชี่ยวอันไหนก็ได้อันนั้นแหละ

เอกัคตานี้เป็นชื่อของฌาน 1 ก็ได้
ฌาน 2 ก็ได้
ฌาน 3 ก็ได้
ฌาน 4 ก็ได้
แต่คืออันใดอันนึง

สัมมาวายามะในมรรคจิต
ก็มีอันเดียว ไม่ได้มี 4

สัมมาสติในมรรคจิต
ก็มีีอันเดียวไม่ได้มี 4 (รู้กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)
ตอนเป็นมรรคจิตนี่ไม่ได้มี 4 อย่างนี้เป็นอารมณ์ด้วยซ้ำ
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นเจตสิกอันเดียว เกิดประกอบกับองค์มรรคอีก 7 แต่ได้ชื่อ 4 อันเลย
ซึ่งเรียกว่าเป็นการอธิบายตาม "อาหาร" ที่ได้มา
เหมือนเรียกคนคนนึง บางทีเรียกชื่อแม่ 5555

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ความหวั่นไหวเป็นโรค

ความหวั่นไหวเป็นชื่อของตัณหา
ตัณหารักตัวเอง

เห็นความหวั่นไหวต้องชี้ได้
นี่มันทำให้เกิดอีก
ไม่ใช่ไปชี้หน้าไอ้หมอนั่น

ความหวั่นไหวกลัวตนจะไม่ปลอดภัย
กลัวตนจะแก่
กลัวตนจะถูกด่า
ฯลฯ

กลัวของตนจะ...
กลัวลูกของตนจะ...
กลัวประเทศของตนจะ...

ความหวั่นไหวนี้ฉุดคร่าบุรุษไปเกิดในภพ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สัญญา

สัญญาเป็นวิบาก ไม่ได้เป็นกิเลส
จำตามวิญญาณ
สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง กำหนดสิ่งที่วิญญาณเห็น

ปัญญาจะทำให้วิญญาณเห็นได้ลึกซึ้งเพียงไร
สัญญาก็จะจำไปลึกซึ้งเพียงนั้น

การเปลี่ยนสัญญาก็ต้องเปลี่ยน
มาฝึกปัญญา ให้มันเห็นลึกซึ้งยิ่งขึ้น
สัญญาก็มาเปลี่ยนใหม่ เป็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์
สัญญาประเภทนี้ก็จะกลายเป็นสัญญาที่ดีที่ถูกต้อง (ความหมายคือนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้)

ปปัญจ
กำหนดเอาแบบสลับซับซ้อน กำหนดมาจากตัณหา
อันนี้สวยมาก อันนี้ของเรา
อันนี้ทั่วไป อันนี้หายาก ก็กำหนดค่าราคาสูง

หรือกำหนดจากทัศนคติ อุดมคติ
เช่น ยุคไหนมีทัศนคติว่ามีเงินเยอะนี่ดี
ก็จะจำซับซ้อน เวลามองก็จะมองคนรวยนี่ดี

ถ้าสัญญาไม่ซับซ้อนก็
นี่เป็นนี่ นั่นเป็นนั่น
อันนี้สีแดง อันนี้รถ

ไม่รู้จักสัญญา
ก็ไปปรุงตามสัญญา
เป็นวิตก

เมื่อปฏิบัติธรรม สัญญาซับซ้อนก็จะค่อยๆ หมดไป
เมื่อสติปัญญาค่อยๆ ดีขึ้น ก็ขยายการรับรู้ของวิญญาณ
มองได้แคบได้กว้าง ขึ้นกับทิฏฐิ ขึ้นกับตัณหา
ความแคบไม่ใช่ธรรมชาติของวิญญาณ แต่เป็นธรรมชาติการสร้างขอบเขตมุมมองของทิฏฐิกับตัณหา

มองเห็นแต่จะเอามาให้ตน
มองเห็นแต่อะไรที่เหมาะกับเรา
กลายเป็นความคับแคบไป

พอปัญญาส่องเข้าไป
วิญญาณก็เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เวทนาที่ควรเสพ

เวทนาที่ควรเสพ
คือ เวทนาที่เสพแล้วทำให้อกุศลเสื่อม กุศลเจริญขึ้น

โสมนัสที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี

โทมนัสที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี

เช่น โทมนัสที่เกิดตอนพรากออกจากกาม
อันควรเสพ ได้แก่ เนกขัมมะ

อุเบกขาที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี

ส่วนมากจะติดกันที่ (จุดพลาด)
รู้เป็นตัวตน ไม่ได้รู้เป็นเวทนา
จึงจำเป็นที่จะต้องแยกชัดๆ ก่อนว่า
รู้เวทนาอันใด แยกก่อนว่ามันไม่มีตัวตน

ทำอะไรแล้วทำเอามาให้ตัวตนจึงไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ

ต้องค้นคว้าให้ดี
ให้รู้จักทุกข์
ให้รู้จักเหตุ
ให้รู้จักความดับ
จะได้ไม่พาตัวเองไปทำให้เกิดทุกข์วนอยู่อย่างนั้น

ทำอะไรต้องไม่เอาตัณหาออกหน้า
เพราะตัณหามันเป็นเหตุเกิดทุกข์
ต้องเอาปัญญาออกหน้า
ปัญญาออกหน้าเป็นมรรค

พวกเราส่วนใหญ่ชอบทำตามใจอยาก
ชอบทำตามใจคิด
คิดว่าจะดีก็ทำ คิดว่าได้ผลก็ทำ
คิดว่าไม่ดีก็ไม่ทำ คิดว่าไม่ได้ผลก็ไม่ทำ มีแต่เรื่องอยาก

อิสสา VS มัจฉริยะ

อิสสา -- ของเขา
อิจฉาของเขา
ทนไม่ได้ ที่ของเขาดีกว่า

มัจฉริยะ -- ของเรา
ตระหนี่ของเรา