ภวังค~
จุติ~
ก็เป็นจิตประเภทเดียวกัน
ธรรมชาติของจิตย่อมมีอารมณ์
ปฏิสนธิ~
ภวังค~
จุติ~
ว่าโดยความรู้สึก "เรา" จะไม่รู้สึกตัว
แต่จิตมันรู้
ความ "รู้สึก" ที่ว่าเรารู้สึกนี่
สัญญาปัจจุบันมันไปจับอารมณ์มาแล้วประมวลเรื่อง
ตอนเป็นสัญญาไม่เยอะเป็นเด็ก มันจึงพูดไม่ออก
นึกเรื่องตอนเด็กไม่ได้?
อันนั้นตัวนึกคือสติ
และทั้งนี้เรื่องที่จะนึกมันต้องมีด้วย
ทีนี้ตอนเป็นเด็กสัญญามันยังไม่ชัดเจน
เห็นก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
มันกำหนดยังไม่ถูก
กำหนดไม่ได้เลยเก็บข้อมูลไม่ลง
เมื่อเก็บไม่ได้ การจะดึงขึ้นมาเป็นเรื่องราวต่อเชื่อมันก็ไม่ได้
แต่เมื่อรู้ความแล้ว คือเรียกว่า "อินทรีย์แก่รอบ" สัก 6-7 ขวบ
เวลาอินทรีย์แก่รอบแล้ว มันคิดนึกได้แล้ว มันยึดได้
ยึดว่าเป็นตน เป็นของตน การกระทำเพื่อตัวตนก็เต็มไปหมด เป็นกรรม
วิธีการสังเกตภวังคจิต
ท่านก็แนะนำไว้ คือเอาผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
แล้วพิจารณาย้อนกลับ
ท่านมักให้พิจารณาธรรม 5 ประการในทวารทั้ง 6 (รวมเป็น 30 อายตนิกธรรม)
ชำนาญทวารไหนก็เอาทวารนั้นไปทำก่อนเวลาฝึก
เพราะอาศัยตาด้วย
อาศัยรูปท.ด้วย
เกิดจักขุวิญญาณ
การประชุมของธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ
ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ผสฺสปจฺจยา เวทนา
มนํ นี่แหละ ภวังคจิต
ถ้าพิจารณาไม่ออกลองพิจารณาไปทางตาก่อน
มารู้ความรู้สึกตอนนี้ก่อน สุข รึทุกข์ รึไม่ทุกข์ไม่สุข
สุขทุกข์ตอนนี้เกิดจากผัสสะ
ผัสสะเกิดจากอะไร
แล้วไล่ย้อนกลับว่าเกิดจากทวารไหน
มโนเฉยๆ กับมโนธาตุไม่เหมือนกัน
มโนธาตุ ถ้าว่าตามวิถีจิตจะหมายถึง ปัญจทวารวัชชน กับ สัมปฏิจฉันนะ
ถ้ามน หรือมโนเฉยๆ นี่จะหมายถึงภวังคจิต
ว่าตามวิถีจิต
การสังเกตภวังคจิต สังเกตจากมโนทวารจะง่ายกว่า
เพราะมันชั้นเดียว
สังเกตุไปที่ตัวรู้อารมณ์ (ตัวรู้อารมณ์คือ มโนวิญญาณ - ชวนะ)
ก่อนหน้ามโนวิญญาณหน่อยหนึ่ง นั่นล่ะภวังคจิต
เหมือนมองเห็น
อย่าไปสนใจสิ่งที่มองเห็น
สนใจที่ "การมองเห็น"
ก่อนหน้าการมองเห็น จะต้องมีอันนี้ มีอันนี้ กระทบกัน
ถ้าติดอารมณ์จะไม่เห็นตา รู้แต่ว่าเห็นอะไร (รู้เรื่อง)
ก่อนที่จะมองเห็น
ก่อนที่จะได้ยิน
สิ่งที่คั่นอยู่ คือภวังคจิต
มองเห็น สักหน่อยก็คิด
ได้ยิน สักหน่อยก็คิด สักหน่อยก็เห็น
ไอ้ขาดตอน ขาดๆ เหมือนไม่รู้อะไร นั่นคือภวังคจิต
ดูเหมือนขาดนะ
แต่ไม่ตายจากบุคคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น