วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ชันธ์ VS อุปาทานขันธ์

ขันธ์ 5 นี่กว้างกว่าอุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์นี่เจาะจงลงไป

ในการปฏิบัติเบื้องต้นจะพิจารณาขันธ์ 5 อะไรก็ได้
ภายใน ภายนอกก็ได้
ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
คือเป็นการพิจารณาให้เกิดปัญญาแบบกว้างขวาง ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น

แต่การพิจารณาเช่นนี้ยังไม่ลึกซึ้ง "พอ" ที่จะถอนกิเลส

แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไป เช่น พิจารณาปฏิจจฯ
จะไม่ได้เอาขันธ์ทั่วไปมาพิจารณา
คือ ไม่ได้เอาใบไม้ใบหญ้า หรือขันธ์ชาวบ้าน ขันธ์แมว หมาอะไรมา
เอาขันธ์ที่ยึดอยู่มาพิจารณา

เอาขันธ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ยึดถืออยู่นี่
ก็คือมีขันธ์ตัวเอง แล้วก็ขันธ์ที่เกี่ยวข้องที่เที่ยวไปยึดถือนี่ล่ะมาพิจารณา (เช่น ขันธ์สามี)
ที่มันจะก่อให้เกิดการเวียนว่าย
มันเฉพาะเจาะจงลงไป

ขันธ์ที่เป็นที่ตั้ง ที่เป็นที่อาศัยของอุปาทาน (อุปาทานิย)
ขันธ์อันอาศัยอุปาทานเกิด
เป็นขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (สาสว)

ในอริยสัจนี่ ขันธ์ 5 ไม่ใช่ทุกข์นะ
แต่อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์

จะเข้าใจคำว่าอุปาทานขันธ์
ต้องเข้าใจคำว่า "ขันธ์" อันนี้ทั่วไป รู้อยู่แล้ว แปลว่า กอง
และคำว่า "อุปาทาน"

อุปาทานเป็นชื่อกิเลส 2 ตัว คือโลภะและทิฏฐิ
อุปาทานก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์เช่นกัน จัดเป็นสังขารขันธ์
อุปาทานแบ่งโดยชื่อ มี 4 (กามุ~, ทิฏฐุ~, สีลัพพัตตุ~, อัตวาทุ~)
โดยเจตสิกมี 2 คือ โลภะ (กามุ~) และทิฏฐิ (ทิฏฐุ~, สีลัพพัตตุ~, อัตวาทุ~)

ตัวอุปาทาน เป็นทุกขสมุทัย
ขันธ์ เป็นกลางๆ ความหมายคือ กอง กลุ่ม ก้อน
อุปาทานขันธ์ ความหมายมีหลายอย่าง หลักๆ มี 3 ความหมาย

  • เป็นขันธ์ที่เกิดมาจากอุปาทาน
  • ขันธ์ที่เป็นที่ตั้งของอุปาทาน
  • ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของอุปาทาน


พูดอีกอย่าง กิเลสเกิดในขันธ์ไหน
กิเลสเกิดที่ไหน ที่นั่นคืออุปาทานขันธ์
กิเลสไม่ได้เกิดในขันธ์ชาวบ้าน ดังนั้นขันธ์ชาวบ้านจึงไม่ใช่อุปาทานขันธ์

อีกความหมายหนึ่ง คือ ขันธ์ที่เกิดมาจากอุปาทาน (เกิดจากกรรม)
เช่น รูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่ิเกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหารก็มี
อุปาทานขันธ์ ก็คือ ในกรณีรูปก็หมายเอาถึงเฉพาะ กัมมชรูป

อุปาทานขันธ์ จึงไม่ใช่ขันธ์ทั้งหมด หมายเอาเฉพาะบางส่วน
และก็ไม่ใช่ตัวเราทั้งหมดด้วย หมายเอาเฉพาะบางส่วนที่เข้าตามหลักข้างต้น

ขันธ์ไหนบ้างที่ไม่ใช่อุปาทานขันธ์
ก็คือ หมายถึงขันธ์ที่ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยสิ้นเชิง
เช่น โลกุตตระจิต คือ มรรคจิต ผลจิต และเจตสิกที่เกิดกับจิตเหล่านั้น

อุปาทานขันธ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาพูดในแบบอภิธรรม ก็จะแยกขันธ์ 5 มีจิตเท่าไร เจตสิกเท่าไร
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้เป็นอย่างนั้น มันขึ้นกับว่าเขายึดอะไร
ไม่ได้ยึดอะไรอันนั้นก็ไม่ใช่อุปาทานขันธ์สำหรับคนนั้น
แต่ที่แน่นอนที่ทุกคนยึดไม่ได้เลยคือ มรรคจิต ผลจิต

ขันธ์ 5 ของเรา คือถูกเรายึด
เป็นอุปาทานขันธ์ในแง่ เป็น "อารมณ์" ของอุปาทาน

ส่วนอุปาทานขันธ์ในแง่ว่า เป็น "ผล" มาจากอุปาทาน
ต้องมาพิจารณาในปฏิจจฯ นี่
ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ อีกตอนนึงมันเป็นอีกอย่างนึง เช่น
สังขารปัจจยา วิญญานัง : ก็ไม่ได้หมายเอาวิญญานทั้งหมด หมายเอาเฉพาะวิบาก
วิญญานปัจจยา นามรูปัง : ก็หมายเอาเฉพาะกัมมชรูป
พอเลยๆ ไปถึง ตัณหา อุปาทาน ก็เริ่มเลยไปเป็นกิเลสต่อไป ยึดถืออะไรต่อไป
มันเป็นคนละตอนกัน
อันนี้คือ อุปาทานขันธ์ในแง่ว่า เป็น "ผล" มาจากอุปาทาน

ตัวปฏิจจสมุปปันธรรม 12 นี่แหละที่เป็นอุปาทานขันธ์ 5
ธรรมท.ที่เกิดมาจากปฏิจจสมุปปาทนี่แหละ เป็นอุปาทานขันธ์ 5
แต่ว่าตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ อีกตอนนึงมันเป็นอีกอย่างนึง
ท่านจึงได้สรุปว่า "ความเป็นไปของกองทุกข์ ย่อมเป็นด้วยประการฉะนี้"

หมายเหตุ
ปฏิจจสมุปบาท = ตัวเงื่อนไข
ปฏิจจสมุปปัน = สิ่งที่เกิดจากเงื่อนไข

เวลาใช้คำว่า "ดับ" => ดับอุปาทาน, ดับขันธ์ (ไม่ใช่ดับอุปาทานขันธ์)
เวลาใช้คำว่า "รู้" =>  หมายถึง รู้อุปาทานขันธ์ว่าเป็นทุกข์

อุปาทานขันธ์ 5 นี่เอาไว้รู้ ตามหลักอริยสัจ
แต่เวลาดับ นี่ดับทั้งหมด แม้รูปที่เกิดจาก จิต, อุตุ, อาหาร ก็ดับด้วย จึงไม่ใช่คำว่าดับอุปาทานขันธ์


425 ตอบปัญหา หน้า 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น