วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

อธิบาย

อธิปฺปาโย ไม่ได้แปลว่า อธิบาย
ถ้าอธิบายโดยทั่วไปในความหมายแบบภาษาไทย บาลีใช้คำว่า วณฺณนา

แต่อธิปฺปาโย จะหมายถึง ความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ 
อารมณ์ประมาณ what do you mean

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เววจน

คำไวพจน์

คำศัพท์ อาจจะแปลต่างกันตามธาตุปัจจัย
คำไวพจน์ คำแปลออกมาอาจจะต่างกัน

แต่องค์ธรรมเดียวกัน

การแปล อาปตฺติ

อาปตฺติ ปาราชิกสฺส

วิธีแปลที่ 1
อาปตฺติ = การต้อง, การเข้าถึง
ปาราชิกสฺส ธมฺมสฺส = ซึ่งอาบัติปาราชิก (ฉัฏฐี หักเป็นทุติยา : ไม่นิยมหักจตุตถีเป็นทุติยา)
(โหติ) = ย่อมมี
(ตสฺส ภิกฺขุโน) = แก่ภิกษุนั้น

วิธีแปลที่ 2
อาปตฺติ ปาราชิกา + อสฺส = การอาบัติปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดนั้น (อสฺส)

การแปล
อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส
อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส (ถุลฺล หนัก + อจฺจย โทษ)
อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
อาปตฺติ ปาฏิเทสนียสฺส
อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส

ก็แปลได้ 2 นัยแบบนี้เช่นกัน

การแปลพระไตรปิฎก ให้ทราบไว้เลยว่า บางคราวมันแปลได้หลายนัย
เรียกว่า สามตฺถิย 
หมายถึง ความสามารถทางภาษามันปรากฏเป็นอย่างนั้น 
คือมันคือความเป็นไปได้ทางภาษา
การแปลจึงต้องอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ บางครั้งจะแปลพระไตรปิฎกเอาทื่อๆ เลยไม่ได้

โบราณท่านแปลมาก็อาศัยอรรถกถา
ถ้าแปลพระไตรปิฎกล้วนเลย จะไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกต้อง

อาชีวปาริสุทธิ

อาชีพไม่บริสุทธิ์ ประมาณหาปัจจัยทางลัด

เพราะอาชีพเป็นเหตุ หมายถึง เพราะความอยากเลี้ยงปากท้องเป็นหลัก
เพราะความอยากเป็นเหตุ

อุตริมนุสสธรรม

คำแปลที่ 1
อุตริมนุสสธรรม = อุตฺตริมนุสฺสานํ + ธมฺโม
ธรรมของมนุษย์ผู้ประเสริฐ (มนุษย์ผู้ประเสริฐ หมายถึง ฌานลาภี และอริยบุคคล)
องค์ธรรม ฌาน อภิญญา มรรค ผล

ความหมายที่ 2
อุตริมนุสสธรรม = อุตฺตริ + มนุสฺสธมฺม
ธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เรียก อุตตริมนุสสธรรม
มนุสสธรรม คือ ศีล 5
องค์ธรรม ฌาน อภิญญา มรรค ผล

คำแปลต่าง องค์ธรรมเหมือน

ศีลแปด ไม่ใช่ อุตตริมนุสสธรรม

สุภนิมิต ปฏิฆนิมิต อุเปกขานิมิต

  1. ไม่ไปเห็น
  2. เห็นแล้วไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ยึดว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือเห็นว่าสวยว่างาม เป็นต้น 
  • สุภนิมิต = อิฎฐารมณ์ = อารมณ์ที่งามและเป็นหตุให้ราคะเกิด 
  • ปฏิฆนิมิต = อนิฏฐารมณ์ (สังเกตไม่เรียก อสุภนิมิต แต่เรียก ปฏิฆนิมิต ในความหมายว่า ช่วยกระตุ้นให้โทสะเกิด
  • อุเปกขานิมิต = อารมณ์กลางๆ อารมณ์ไม่ชัดเจน (มัชฌัตตารมณ์) อารมณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดขึ้นอีก เป็นเหตุให้เกิดโมหะ = หมายเอา อญฺญาณุเปกขา คือ นิ่งด้วยความไม่รู้
ทิฏฺเฐ ทิฏฐมตฺตํ 
เห็นสักแต่ว่าเห็น
คือเห็นแล้วเห็นในความเป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่ใช่เห็นแล้วไม่ใส่ใจ

อนุพยัญชนะ เป็นตัวกระทำให้กิเลสเกิดขึ้นบ่อยๆ 

ปรารถนาลามก

ปาปิจฺโฉ = ปาปา + อิจฺฉา
= มีความปรารถนาอันเป็นบาป
มักแปลกันว่า ผู้ปรารถนาลามก 

ความหมายเท่ากับ อิจฺฉาปกโต (อิจฺฉา + อปกโต) ถูกความอยากเข้าครอบงำ
อปกโต = ครอบงำ = อภิภูโต

ปาป นี่เป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์
เช่น ปาปิจฺฉา - ภิกษุณี
ปาปิจฺโฉ - ภิกษุ
ปาปิจฺฉํ - จิต

หมายถึง โลภอยากได้มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ๆๆๆๆๆ
ผู้ที่ถูกความอยากครอบงำ
ไม่รู้จักพอ ไม่บันยะบันยัง 

คือทำอะไรเพื่อลาภ เพื่อสักการะ เพื่อคำสรรเสริญ เรียกปรารถนาลามก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

โวหาร

ภาษาชาวบ้าน หรือภาษาในพระสูตร = เห็นรูปด้วยตา (จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา)

ภาษาอภิธรรม = เห็นรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ 
เป็นภาษาที่ตรงไปตรงมา

ตา เป็นรูป จะไปเห็นได้ยังไง
จักขุวิญญาณ เป็นนาม ถึงจะเห็นได้

ตา ในที่นี้ เรียกว่าเป็น อุปจารโวหาร คือเป็นสำนวนที่ใช้แต่หมายถึงอีกสิ่งหนึ่ง พูดโดยอ้อม

ประเภทของโวหาร

  1. มุขยโวหาร พูดโดยตรง พูดอะไรหมายถึงอันนั้น
  2. อุปจารโวหาร พูดโดยอ้อม พูดอะไรต้องเชื่อมโยงถึงอีกสิ่งหนึ่ง แบ่งเป็น 12 ประเภท
การณูอุปจารโวหาร พูดถึงเหตุแต่หมายเอาผล เช่น
ตาเห็นรูป ตาในที่นี้จะหมายถึง จักขุวิญญาณ ไม่ได้หมายถึง ตาที่เป็นรูป

อโคจร

ที่เที่ยวของวัว

มันแปลไม่ได้ จะแปลว่า พระคือวัว ก็ตลก
เวลาแปลก็ต้องแปลแบบอธิบาย

เช่น

  • ที่ที่ควรเข้าไปบิณฑบาต
  • สถานที่ที่พระพึงเที่ยวไป
  • สถานที่ที่เหมาะสมที่พระจะไป
เที่ยวไป นี่หมายถึง ไปบ่อยๆ ไปแล้วไปอีก ประมาณแหล่งหากิน 
ไม่ได้หมายถึง ไปครั้งเดียว

อโคจร

สถานที่ หรือบุคคลที่ภิกษุควรเว้นระยะห่าง
นอกเหนือจากที่ที่มีสาวๆ แล้วก็ อื่นๆ 
การเสพกับบุคคลต่อไปนี้ ก็ชื่อว่า เสพอโคจร
การคบหากับราชา มหาอำมาตย์

การคลุกคลีกับฆราวาสที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ที่ไม่มีศรัทธา ผู้ไม่เกื้อกูล หรือสาวกของศาสนาอื่น 

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

พูดแบบแกงถั่ว

มุคฺคสูปยตา พูดแบบแกงถั่ว
พูดถูกบ้างผิดบ้าง
พูดให้ได้ใจญาติโยม

การเลี้ยงชีพอย่างนี้ ชื่อว่า อนาจาร

วิหรติ

วิหรติ

วิ + หรติ = นำไปโดยวิเศษ
นำอิริยาบถไปโดยวิเศษ

คือนำอิริยาบถให้เป็นไป บริหารอิริยาบถให้อยู่ได้
ถ้าต้องการเลี้ยงชีวิตให้ธาตุอยู่อย่างสมดุลได้

จะต้องควบคุมอิริยาบถ ไม่นั่งนานเกิน ฯลฯ
ทุกอย่างจะต้องสม่ำเสมอกัน

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปาติโมกขสังวรศีล

ปาติ = ผู้รักษา, ถาด, ถ้วย, ชาม ในที่นี้ แปลว่าผู้รักษา

โมกข = หลุดพ้น

สังวร = ปิดกั้น, สำรวม

 ศีล คือการสำรวมกายวาจาอันเป็ฯเหตุให้ผู้รักษาพ้น (จากอบาย)

ปหาตัพพะ ควรละ

ควรละ หมายถึง ไม่ทำให้มันเกิด

ในทางพุทธถือว่ากิเลสไม่ได้มีอยู่ตลอด
เป็นแค่แขกที่จรมาเป็นครั้งๆ 

ถ้ารู้วิธีก็อย่าให้มันเกิดบ่อยด้วยวินัย 2 อย่างด้วยวิธี

  1. สังวร (มีห้าอย่าง) 
  2. ปหานวินัย (มีห้าอย่าง) - เป็นการทำให้ออกไปโดยสิ้นเชิงสักวันหนึ่ง
  • วิกขัมภน ละด้วยการข่ม อันนี้ไม่ได้หมายถึงเอา สมาธิไปข่มกิเลส (ถ้าแปลอย่างนี้คือเข้าใจความหมายของคำว่า "ละ" ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่ว่าสมาธิชนะกิเลส) ตรงนี้คือ กิเลสไม่เกิดด้วยการทำสมาธิ (ในชั่วเวลาที่ทำสมาธิ) 
  • ตทังคปหาน ตอนวิปัสสนาอยู่ กิเลสก็ไม่เกิด
  • สมุจเฉทปหาน
  • ปฏิปัสสัทธิปหาน
  • นิสสรณปหาน

อนุโมทนา สาธุ

คนไทยเห็นใครทำอะไรดีก็มักอนุโมทนาสาธุ
ทั้งนี้บางทีก็ออกแนว สาธุกินเปอร์เซ็นต์

ซึ่งถ้าออกมาทรงนี้ ความหมายมันจะผิดจากวัตถุประสงค์คำสอนไป
คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องเป็นลักษณะให้ลงมือทำ ให้ขยัน ไม่ประมาท
พอสาธุเรื่อยเปื่อย ลองดูใจเถิดว่าเป็นลักษณะนั้นไหม
หรือออกแนวประมาท ทำง่ายๆ ได้บุญมา

คำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าไม่ออกแนวกิริยาวาท วิริยวาทนี่ผิดหมดเลยนะ
มันต้องออกแนวให้เกิดความเพียรให้ได้ ให้เกิดการลงมือทำ

ลองดูผลที่เกิดขึ้น เมื่อสาธุ รู้สึกเราได้อะไรขึ้นมารึป่าว
ถามว่าเป็นกุศลไหม ก็เป็น แต่มันน้อย
เมื่อกุศลน้อย ความหลงคนมันเยอะกว่า
ทำกุศลบางทีก็ต้องดูผลมันด้วยว่ามันออกมาเป็นยังไง 

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ 2 แบบ

 มุขปโยชน - ประโยชน์เฉพาะหน้า

ปรมฺปรปโยชน - ประโยชน์ที่สืบทอดต่อๆ ไป หมายถึง ไม่ใช่ประโยชน์โดยตรง ยังต้องไปอีกหลายต่อ
เช่น สีเลน นิพฺพุตึยนฺติ คือศีลเป็นปัจจัยสู่พระนิพพาน
แต่ศีลเพียงอย่างเดียวจะไม่พอพาไปสู่นิพพาน

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ยถาห

ยถา + อาห

เป็นคำที่แสดงการยกอ้างอิงว่า ....กล่าว

ถ้าเจอคำนี้ในอรรถกถา ก็คือกำลังยกอ้างพระบาลีอยู่

ถ้าเจอคำนี้ในฎีกา ก็คือกำลังยกอ้างอรรถกถา หรือพระไตรปิฎกอยู่

หมายเหตุ ฎีกา จะอธิบายอรรถกถา หรืออธิบายพระไตรปิฎกที่อรรถกถายังไม่ได้อธิบาย

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ขึ้นลง

อาโรหณะ แปลว่า ขึ้น

โอโรหณะ แปลว่า ลง

 

วันเทวาโรหณะ วันที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จแล้วก็เสด็จขึ้นสวรรค์

วันเทโวโรหณะ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์หลังแสดงอภิธรรม

ประโยชน์ของการรักษาศีล

ประโยชน์ของการรักษาศีล

  • ละความเกียจคร้านในการทำกุศล
  • ละความเพลิดเพลินในอกุศล

ยทิ, สเจ, เจ

ยทิ

สเจ

เจ

แปลเหมือนกันว่า ถ้าว่า, ผิว่า, หากว่า

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สวรรค์

สคฺค

สุ+อคฺโค

อคฺค = อารมณ์

สุ = ดี

เป็นภพภูมิที่เลิศด้วยอารมณ์


โลก (สวรรค์)

ที่แสดงผลบุญอันยิ่งใหญ่
(ภูมิอันเป็นที่ปรากฏแห่งผลบุญอันโอฬาร)

โลกิยติ เอตฺถ อุฬารํ ปุญฺญผลนฺติ โลโก


อตฺตโนมติ (อัตตโนมติ)

อตฺตโนมติ (อัตตโนมติ)

ไม่ได้แปลว่า มั่วมา และไม่ใช่การแสดงความเห็นแบบงูๆ ปลาๆ อันนั้นยังไม่ถึงชั้นอัตตโนมติ

 

อตฺตโนมติ

เป็นความเห็นที่ผ่านการวิเคราะห์เทียบเคียงหลักฐานพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา มาแล้ว

แต่ว่ามันไม่มีที่มาที่ไปโดยตรง

จึงสรุปความคิด เสนอเป็นสมมติฐานของเราขึ้นไปอย่างมีเหตุมีผล

เรียกว่าเป็นความเห็นของผู้คงแก่เรียน

 

ระดับน้ำหนักของหลักฐาน

  1. สุตฺต – พระไตรปิฎก (ในที่นี้ สุตฺต ไม่ได้หมายถึงแค่พระสูตร)
  2. สุตฺตานุโลม – มหาปเทส 4
  3. อาจาริยวาท – อรรถกกา
  4. อตฺตโนมติ

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

วุตฺตญฺเหตํ

เป็นคำที่บ่งบอกว่า คำที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นคำที่อ้างอิงมา

วุตฺตญฺเหตํ – “.....(แล้วก็ต่อด้วยประโยคที่อ้างอิง).....”ติ

 

ตัดบทได้เป็น

วุตฺตํ + หิ + เอตํ

เอตํ = คำที่จะกล่าวต่อไปนี้

วุตฺตํ = อัน somebody ได้กล่าวแล้ว (ซึ่งถ้าในที่นี้อ้างพุทธพจน์ วุตฺตํ นี้จึงมีอนภิหิตกตา เป็น ภควตา)

หิ = นั่นเทียว

 

สำนวนแปลนิยม

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คนมีศีลไม่ใช่คนดี

 คนมีศีลไม่เท่ากับคนดี

คนมีศีล คือคนที่งดเว้นสิ่งไม่ดีได้


คนมีสมาธิ ใช่จะมีศีล เพราะมันไม่มีอะไรให้งดเว้น

เมื่อออกจากสมาธิถ้าไม่ระวังให้ดี บางทีจะยิ่งแรงกว่าปกติ


ศีลนี่จะเกิดเป็นบางครั้ง

เวลาอยากจะด่า งดเว้นได้ นั่นคือมีศีล

ศีลไม่ได้เกิดตลอดเวลา เกิดเป็นบางครั้ง


ศีลดีไม่ดี ดูที่เมื่อเกิดเจตนาไม่ดีขึ้นมาในใจ และเหมือนจะมีเงื่อนไขให้ทำได้ด้วย เขาทำหรือเปล่า

ลักขณาทิจตุกะของศีล

 ลักขณาทิจตุกะของศีล


1. ลักษณะ : 

สีลํสมาธานลกฺขณํ ปติฏฺฐานภาวลกฺขณํ วา

คือความสำรวมกายวาจาให้เป็นระเบียบ และความเป็นที่ตั้งของกุศล

(หมายเหตุ ในบาลีใช้ สีลนํ ลกฺขณตสฺส แต่ต้องไข สีลนํ ออกมาเป็น สมาธานํ และปติฏฺฐานภาว จากการตอบคำถามข้อที่ 1,2)


2. รส : 

ทุสฺสีลฺยวิทฺธํสนรสํ อนวชฺชรสํ วา

มีการปิดกั้นอกุศลที่เป็นเหตุให้กลายเป็นคนทุศีล

และมีคุณสมบัติอันไม่มีโทษ


3. ลักษณะปรากฏ :

โสเจยฺยปจฺจุปฏฐานํ

มีความหมดจดเป็นอาการปรากฏ


4. เหตุใกล้ :

หิโรตฺตปฺปปทฏฺฐานํ

มีความละอายและกลัวต่อบาปเป็นเหตุใกล้


Note จากวิสุทธิมรรค > สีลนิเทส

ความหมายของศีล

 ความหมายของศีล


  1. สมาธานํ คือไม่ปล่อยกายกรรม วจีกรรม ให้กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ
  2. อุปธารนํ ความเป็นที่ตั้งของจตุภูมกกุศล เป็นธรรมชาติรองรับจตุภูมกกุศล 


อันนี้เอาไว้แก้ การอธิบายสำหรับที่มีแปล สีล ว่าปกติ งั้นทำความชั่วเป็นปกติก็เป็นศีลน่ะสิ

แต่สีลตรงนี้องค์ธรรม คือ กุศล
กุศลทั้งหลายแหล่มีศีลเป็นต้น 

มีกายเป็นระเบียบ มีวาจาเป็นระเบียบ
พูดอีกอย่างก็คือมีมารยาททางกาย วาจา


ศีล คือ สำรวม ตั้งกายวาจาไว้อย่างดี

ส่วนสมาธิ คือการตั้งจิตไว้อย่างมั่นคง

อาจารย์เหล่าอื่น

 ในหนังสือ บางครั้งจะพบการอ้างถึงความเห็นของบุคคลอื่น


อปเรวาท

อญฺเญวาท

เอเกวาท

เกจิวาท


อญฺเญ, เอเก, อปเร แปลว่า อาจารย์ท.เหล่าอื่น 

อันนี้ระดับความน่าเชื่อถือเดียวกันกับผู้เขียน


เกจิ แปลว่า อาจารย์ท.เหล่าอื่น 

ถ้าใช้คำว่า เกจิ หมายถึงว่า อ.ที่กล่าวถึงนี้มีได้รับการยอมรับน้อยกว่าผู้เขียน

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ความหมายของ อุปนิสัย อุปนิสสยะ

 อุปนิสสยะ = พลวการณํ = เหตุที่มีกำลัง

ศีล เป็นอุปนิสสย แก่วิชชา 3 (เป็นเหตุให้เมื่อพระอรหันต์บรรลุแล้วได้วิชชา 3)
สมาธิ เป็นอุปนิสสย แก่อภิญญา 6
ปัญญา เป็นอุปนิสสย แก่ปฏิสัมภิทา

มีตนส่งไป

 มีตนส่งไป = มีจิตส่งไป

ตน หรืออตฺต ศัพท์ในที่นี้ หมายถึงจิต

อตฺต ศัพท์ อาจมีความหมายได้ 4 อย่างแล้วแต่บริบท
กาย จิต สภาวะ อาตมัน ในที่นี้คือ แปล "ตน" ว่า "จิต"

คำว่า "ส่งไป"
แปลไทยได้ว่า อุทิศ คือแบบพุ่งไปเลย ไม่สนอย่างอื่น

อธิสีลสิกขา

 อธิสีลสิกขา ศีลที่ใหญ่กว่าศีลทั่วไป

เป็นศีลพื้นฐานเพื่อการได้มรรคผลนิพพานโดยตรง
ศีลที่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่มรรคผลนิพพาน
ถ้าเป็นศีลที่นำไปสูสวรรค์ เรียก ศีลสามัญ

อธิศีล จะไม่ใช่ สีล ใน สีเลน สุคตึ ยนฺติ (เป็นศีลที่ยังนำไปสู่ภพชาติ)

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา เทสนา

 สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อันนี้เป็นการแสดงแบบ สพฺพสงฺคหกวาจา

คือเป็นการพูดรวบเอาทั้งหมด


แต่เวลาปฏิบัติจริง เห็นรูปก็คือเห็นรูป ไม่ได้เห็นนาม เห็นทีละ  อารมณ์นั่นแหละ ไม่มีใครเห็นครอบจักรวาลในขณะเดียว เพราะฉะนั้นการเห็นสพฺเพฯ จริงๆ น่ะ เป็นไปไม่ได้ อันนี้เป็นแบบแห่งการเทศนาเฉยๆ 


การบรรลุ ก็เป็นปจฺกขญาณ เห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เหลือเป็นอนุมานญาณ เช่น เห็นรูปไม่เที่ยงอย่างไร ก็อนุมานว่านามไม่เที่ยงอย่างนั้น 

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

How do you professionally say


I’m not accepting that meeting because it’s a waste of my time

Declining this invite as I don’t feel my participation in this disscussion is required

 

I’m not working for free

Our current work agreement reflects a 40 hour work week. I understand there will be weeks where this number will fluctuate but those circumstances are the exception as opposed to the rule if the expectation is moving toward I am to work over 40 hours per week then I would be happy to review my contract and compensation to better reflects this change

 

How many times do I need to tell you this

I encourage you to write down this information to refer back to in the future instead of relying on me to communicate it again

 

I can’t keep doing the job of 4 people so hire someone

Do you have a timeline of when we are planning to hire someone to assist with my workload the number of responsibilities I have absorbed are not sustainable long term and would benefit from some additional support

 

That timeline is ridiculous why would you commit us to that

Thank you for sharing that timeline with me can you help me understand how this amount of work is acheivable in such a short period of time

 

I can’t take anymore work right now

I’m unable to take that on at the moment as my current workload is quite heavy is there someone else who can assist with this?

 

Your micromanaging isn’t making this go any faster

Though I appreciate your attention to this, I feel as though I could be more productive if had an opportunity to work independently here

 

If I’m doing your job for you, then what are you doing all day?

Is there a higher priority task that is consuming all of your capacity at the moment?

 

These meetings are unnecessary

Being respectful of everyone’s time can we communicate about this via email?

 

If you want it done your way then just do it yourself

As you seem to have a very clear vision for the execution of this I encourage you to take the lead here and I am happy to support where necessary

 

You’re not my boss stop trying to assign me work

Have you connected with my boss in regards to me taking this on? As it has not been communicated that I will be woring on this

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เหตุของทิฏฐิ 8

 เหตุเกิดของทิฏฐิ 8

  1. ขันธ์ 5 เป็นฐานให้ทิฏฐิยึด
  2. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ
  3. ผัสสะ กระทบแล้วไม่รู้จักการกระทบ ทิฏฐิจึงเกิด
  4. สัญญา หมายไว้แล้วเชื่อมัน
  5. วิตก
  6. อโยนิโสมนสิการ คิดไม่ระวัง
  7. ปาปมิตร
  8. ปรโตโฆษะ

สังวรรณนา

สํวณฺเณตพฺพ - สิ่งที่พึงอธิบาย
สํวณฺณนา - คำอธิบาย


เช่น เมื่อพิจารณา พระไตรปิฎก - อรรถกถา

สํวณฺเณตพฺพ - พระไตรปิฎก
สํวณฺณนา - อรรถกถา


เมื่อพิจารณา อรรถกถา - ฎีกา

สํวณฺเณตพฺพ - อรรถกถา
สํวณฺณนา - ฎีกา

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปจฺจเวกขติ

 ปฏิ + อิกฺขติ = ปจฺจเวกฺขติ
= มองดูอย่างเฉพาะเจาะะจง (พิจารณา)
คือมองเฉพาะมุมนี้ๆ ที่กำลังพูดถึงอยู่

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ไม่ใช่มรณสติ

รู้จัก มรณะ ที่เป็นอารมณ์ของมรณสติให้ดี

คือ 

  1. จุติ ความเคลื่อนจากความเป็นสัตว์นั้น จากความเป็นหมา เป็นแมว เป็นคน เป็นเทวดา
    จะมีภาวะเคลื่่อนอันหนึ่ง่ อันนั้นแหละ เรียกว่า มรณะ
  2. จวนตา ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน
  3. เภโท 
  4. อันตรธานํ ความหายไปจากความเป็นสัตว์นั้น
  5. มจฺจุ
  6. มรณํ
  7. กาลกิริยา
  8. ขนฺธานํ เภโท ความแตกของขันธ์
  9. กเฬวรสฺส นิกฺเขโป ความทิ้งกายหยาบเอาไว้ (กายทิพย์ก็แตกแต่ไม่ทิ้งกายหยาบ ที่ทิ้งได้มีแต่กายหยาบ ส่วนพวกที่มีกายหยาบ กายยังรวมกันอยู่ทั้งๆ ที่ขันธ์แตก ทิ้งกายหยาบ แต่อีกไม่กี่วันก็จะแตกนั่นแหละ ส่วนพวกกายทิพย์เมื่อขันธ์แตกก็สลายหายไปเลย)
  10. ชีวิตินทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท ความเข้าไปตัดของรูปชีวิตินทรีย์ ที่ทำให้รูปที่เกิดจากกรรมไม่เกิดอีกต่อไป ชีวิตไม่ต่อแล้ว

มรณสติ ไม่ได้หมายรวมถึง

  1. - สมุจเฉทมรณะ ความตายของพระอรหันต์
  2. - ขณิกมรณะ ความตายของสภาวธรรม จิตทุกดวงเกิดดับ อันนี้เอาไว้เจริญวิปัสสนา (อนิจจานุปัสสนา)
  3. - สมมติมรณะ ความตายแบบสมมติ เช่น แก้วแตก ต้นไม้หัก แม่ตาย พ่อตาย คนนั้นคนนี้ตาย เวลามองไม่ได้มองสัตว์ตาย แต่มองความตายที่มีอยู่ในตัวสัตว์

ให้นึกถึงความเคลื่อนของสัตว์หนึ่ง ไปสัตว์หนึ่ง สักวันหนึ่งความเคลื่อนจากความเป็นคนจะมี

ให้นึกถึงความจริง คือ ภาวะที่ทำให้สัตว์เคลื่อนจากความเป็นอย่างนั้น นั้นมีอยู่ ชื่อว่า มรณะ
เมื่อเกิดขึ้นปุ๊บความเป็นคนจะหายไป
ความเป็นบุคคลนี้จะหมดไป
เมื่อเกิดขึ้นความเป็นหมาก็จะหายไปเลย
เท่ากัน

ความเป็นสัตว์นั้นจะมี มรณะ เป็นที่่สุด
จะไม่ข้าม มรณะ ไป
จะไม่กระโดดเลย มรณะ ไป

เป็นการนึกถึงอนาคต
ภาวะอันหนึ่งนี้ ที่ชื่อว่า ความตาย
วันหนึ่งจะมาถึงแน่ๆ
มีสภาพนี้เป็นธรรมดา

ให้นึกถึงภาวะมรณะนั้น

ไม่ห่างจากฌาน คืออยู่่กับอารมณ์ที่ถูกต้อง

ฌาน หมายถึง


การเพ่งจิตลงไป ใส่ใจในอารมณ์ที่ควรจะอยู่ ทำให้ไม่มีนิวรณ์ แล้วก็สามารถทำให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น นำไปเจริญสมถะวิปัสสนาต่อไปได้

ฌานมี 2 แบบ
- การเพ่งอารมณ์ จับอารมณ์ไว้ทำให้จิตสงบอย่างหนึ่ง
- การจับลักษณะของอารมณ์เพื่อให้เกิดปัญญาอย่างหนึ่ง

เมื่อทำอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ก็ชื่อว่าอยู่ไม่ห่างฌาน (อารมณ์อนุสสติ 10) ทำใช้ได้ ทำถูกต้อง ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

หลงกาย ลืมกาย

 หลงกาย ลืมกายหลายๆ แบบ

ลืมกาย ลืมไปเลยว่ามีกายใจลอยออกข้างนอกไปเลย

หลงกาย ไม่ลืม แต่...

  • หลงว่ามันสวย 
  • หลงว่ากายเรา เรายืน เราเดิน เรานั่่ง่ เรานอน
  • หลงเอากายไปทำนั่นนี่โดยนึกว่ากายจะได้รับผลประโยชน์ พามันไปกินอร่อยๆ ไปดูรูปสวยๆ ถ้าหลงไปอันนี้จะเกิดโทษต่อจิต จิตจะเศร้าหมอง
  • หลงว่ากายจะไม่รู้จักตาย แท้จริงนี่เป็นแค่ศพเดินได้ เดินได้เพราะจิตยังอยู่ก็เท่านั้น