อาปตฺติ ปาราชิกสฺส
วิธีแปลที่ 1
อาปตฺติ = การต้อง, การเข้าถึง
ปาราชิกสฺส ธมฺมสฺส = ซึ่งอาบัติปาราชิก (ฉัฏฐี หักเป็นทุติยา : ไม่นิยมหักจตุตถีเป็นทุติยา)
(โหติ) = ย่อมมี
(ตสฺส ภิกฺขุโน) = แก่ภิกษุนั้น
วิธีแปลที่ 2
อาปตฺติ ปาราชิกา + อสฺส = การอาบัติปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดนั้น (อสฺส)
การแปล
อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส
อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส (ถุลฺล หนัก + อจฺจย โทษ)
อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
อาปตฺติ ปาฏิเทสนียสฺส
อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
ก็แปลได้ 2 นัยแบบนี้เช่นกัน
การแปลพระไตรปิฎก ให้ทราบไว้เลยว่า บางคราวมันแปลได้หลายนัย
เรียกว่า สามตฺถิย
หมายถึง ความสามารถทางภาษามันปรากฏเป็นอย่างนั้น
คือมันคือความเป็นไปได้ทางภาษา
การแปลจึงต้องอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ บางครั้งจะแปลพระไตรปิฎกเอาทื่อๆ เลยไม่ได้
โบราณท่านแปลมาก็อาศัยอรรถกถา
ถ้าแปลพระไตรปิฎกล้วนเลย จะไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น