วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ปาปณิกสูตร 1-2 จะไปต่อได้ยังไง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เวลาเช้าไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

เวลาเที่ยงไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

เวลาเย็นไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย---ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้

เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ

หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น

****

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุดีอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกข์นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม

เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร

ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร

ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย

ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น

และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล

ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ


วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เก็บคำ

 世界上最伟大的人是

政治家和上帝

上帝的伟大是能够把混乱变成有序

而政治家为上帝展示才华提供的机会


现状不可描述

未来无法预测

一切皆有可能

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มีตนส่งไปแล้ว

 มีตนส่งไปแล้ว


บาลีว่า ปหิตตฺโต


ปหิต แปลว่า ส่งไป ไปแล้ว ตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ตั้งไว้อย่างถูกต้อง ในลักษณะว่าจะมุ่งตรงไปสู่จุดหมายถ่ายเดียว ไม่มีย้อนกลับมา ไม่หวนกลับสู่ความเป็นอย่างเดิมอีกต่อไป ทำใจแล้วว่าจะไม่กลับมาเป็นอย่างเดิมแล้ว (เป็นชื่อของวิริยะที่สมบูรณ์แล้ว)


ตัวศัพท์ เป็นลักษณะของ การตั้ง

ตั้งใจ หรือตั้งมุมมอง กล้าหาญบากบั่น กล้าที่จะออกจากชีวิตเดิมๆ จากความปลอดภัย ความคุ้นเคย ความเป็นอยู่เดิมๆ 


ต้องเตรียมกุศลเยอะๆ จึงจะดันตูดไปได้จนข้ามเขตโลกิยะไป จิตมันก็เป็นตามอารมณที่มันรู้ 


คำว่า มีตนส่งไปแล้ว นี่ก็พูดถึงตอนจะข้ามเขต


ตน ในที่นี้ก็คือ จิต

สภาวะต่างๆ คุณธรรมทั้งหมดในจิต เป็นตัวส่งไป


คำนี้ท่านจะใช้สำหรับผู้ที่เจริญสมถะวิปัสสนาชั้นสูงมา ที่ความพร้อมเต็มที่ที่จะมุ่งไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่กลับมาอีก คือพวกก่อนถึงโคตรภูหน่อยนึง เรียกว่า มีตนส่งไปแล้ว มักใช้กับคุณธรรมของผู้ที่ออกไปอยู่ผู้เดียว หรือหลีกออกจากหมู่


คำพวกนี้จะเป็นคำ pattern

เอโก วูปกฏฺโฐ อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต

หลีกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่


อีกที่นึงที่ปรากฏคำนี้คือ 12 ขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุ/ตั้งอยู่ในอรหัตตผล (อญฺญาราธนา)

ปหิตฺตโต เป็นข้อที่ 12


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้

  1. (สทฺธา) เมื่อศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ 
  2. (อุปสงฺกมน) เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
  3. (ปยิรุปาสนา) เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
  4. (โสตาวธานํ) เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
  5. (ธมฺมสวณํ) ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ)
  6. (ธมฺมธารนา) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
  7. (อตฺถุปปริกฺขา) เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
  8. (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด (เข้าใจจนเห็นชัดว่าธรรมกับสิ่งที่ฟังมันอันเดียวกัน)
  9. (ฉนฺโท) เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
  10. (อุสฺสาโห) ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
  11. (ตุลนา) ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
  12. (ปธาน) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี .... การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร (เล่ม 13 ข้อ 238)


ปหิตฺตโต อยู่หลังสุด คือพร้อมแล้ว จะส่งตนไปนิพพาน

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

คำว่า สัมมา

 คำว่า สัมมา (โดยชอบ)


อธิบาย 3 ประเด็น

- ทำให้มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้

- ทำให้ละกิเลสได้

- ทำให้ทุกข์ไม่มี ทุกข์ไม่เกิดได้

มีตนส่งไปแล้ว

มีตนส่งไปแล้ว

บาลีว่า ปหิตตฺโต

ปหิต แปลว่า ส่งไป ไปแล้ว ตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ตั้งไว้อย่างถูกต้อง ในลักษณะว่าจะมุ่งตรงไปสู่จุดหมายถ่ายเดียว ไม่มีย้อนกลับมา ไม่หวนกลับสู่ความเป็นอย่างเดิมอีกต่อไป ทำใจแล้วว่าจะไม่กลับมาเป็นอย่างเดิมแล้ว (เป็นชื่อของวิริยะที่สมบูรณ์แล้ว)

ตัวศัพท์ เป็นลักษณะของ การตั้ง

ตั้งใจ หรือตั้งมุมมอง กล้าหาญบากบั่น กล้าที่จะออกจากชีวิตเดิมๆ จากความปลอดภัย ความคุ้นเคย ความเป็นอยู่เดิมๆ 

ต้องเตรียมกุศลเยอะๆ จึงจะดันตูดไปได้จนข้ามเขตโลกิยะไป จิตมันก็เป็นตามอารมณที่มันรู้ 

คำว่า มีตนส่งไปแล้ว นี่ก็พูดถึงตอนจะข้ามเขต

ตน ในที่นี้ก็คือ จิต

สภาวะต่างๆ คุณธรรมทั้งหมดในจิต เป็นตัวส่งไป

คำนี้ท่านจะใช้สำหรับผู้ที่เจริญสมถะวิปัสสนาชั้นสูงมา ที่ความพร้อมเต็มที่ที่จะมุ่งไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่กลับมาอีก คือพวกก่อนถึงโคตรภูหน่อยนึง เรียกว่า มีตนส่งไปแล้ว มักใช้กับคุณธรรมของผู้ที่ออกไปอยู่ผู้เดียว หรือหลีกออกจากหมู่

คำพวกนี้จะเป็นคำ pattern

เอโก วูปกฏฺโฐ อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต

หลีกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่


อีกที่นึงที่ปรากฏคำนี้คือ 12 ขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุ/ตั้งอยู่ในอรหัตตผล (อญฺญาราธนา)

ปหิตฺตโต เป็นข้อที่ 12


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้

  1. (สทฺธา) เมื่อศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ 
  2. (อุปสงฺกมน) เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
  3. (ปยิรุปาสนา) เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
  4. (โสตาวธานํ) เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
  5. (ธมฺมสวณํ) ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ)
  6. (ธมฺมธารนา) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
  7. (อตฺถุปปริกฺขา) เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
  8. (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด (เข้าใจจนเห็นชัดว่าธรรมกับสิ่งที่ฟังมันอันเดียวกัน)
  9. (ฉนฺโท) เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
  10. (อุสฺสาโห) ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
  11. (ตุลนา) ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
  12. (ปธาน) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกายและย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี .... การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร (เล่ม 13 ข้อ 238)


ปหิตฺตโต อยู่หลังสุด คือพร้อมแล้ว จะส่งตนไปนิพพาน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กุศลเล็กน้อยเจริญก็จงดีใจ

กุศลเล็กน้อยเจริญก็จงดีใจ
อกุศลเล็กน้อยละได้ก็จงดีใจ

อย่าไปคิดจะแตกฉานเหมือนพระสารีบุตร
อย่าไปคิดจะทรงจำเหมือนพระอานนท์
เหลียวซ้ายแลขวา ความดีของคนทุกอย่างอยากให้มารวมอยู่ในตัวเรา

ลองคิดดู เอาก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ แกงไก่ ของหวาน ขนมเค้ก มารวมกัน
มันจะกลายเป็นอะไร?

เราศึกษาความดีของผู้อื่น
เพื่อเอามาเป็นเยี่ยงอย่าง 
แล้วสมาทานไปบ่อยๆ

ฉะนั้น คนที่ขยันตั้งบ่อยๆ คนนั้นเจริญที่สุด
สมาทานบ่อยๆ คิดบ่อยๆ
อย่าเบื่อในการริเริ่ม (อารัพภะ = การริเริ่ม)

โยนิโสมนสิการให้มาก
จะเป็นอาหารให้วิริยะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้วิริยะที่เกิดแล้วไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นไป

ให้กำลังใจตัวเองบ่อยๆ ตั้งใจบ่อยๆ สมาทานบ่อยๆ 

การศึกษาที่ดี
ควรเจริญกุศลไปด้วยกัน

การศึกษาใดที่กุศลไม่เกิด
แม้กระทั่งการฟังธรรม เช่นนั้นแล้วไม่น่าเรียกว่าฟังธรรม

อย่าเรียนพระไตรปิฎก เพื่อทรงพระไตรปิฎก

ทรงจำพุทธพจน์ได้แม้เพียงคาถาเดียว
ถ้าปฏิบัติจนเห็นสัจจะได้
ทรงชมว่าเป็นพหูสูตร

แต่ถ้าท่องได้ทั้งพระไตรปิฎก
แต่เจริญไม่ได้
ทรงเรียกเถรใบลานเปล่า

เราทั้งหลายศึกษามากหรือน้อย
เอาให้มันตรงสาระของชีวิต

ทำยังไงให้มันเห็นเป็นไตรสิกขา
ทำยังไงให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้าเราตั้งโครงสร้างตรงนี้เอาไว้บ่อยๆ
การศึกษา ก็เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูน
เป็นการศึกษาที่ก่อร่างสร้างตัว ก่อร่างสร้างใจไปเรื่อยๆ
เป็นใจที่มีไตรสิกขา แล้วหาพระสูตรเพิ่มมาเรื่อยๆ
การศึกษาจะไม่หนัก

แต่ถ้าขึ้นต้นแบบสวาปาม
"ฉันจะต้องทรงคัมภีร์นี้ให้ได้ ! "
มักจะบวชไม่ค่อยทน ทนไม่ได้ก็สึกเลย
เพราะความสามารถมันจำกัด

ถ้าขึ้นต้นผิด
เป็นลักษณะว่าเข้ามาจำ มาแบก
การศึกษาจะเป็นทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

ทุกอย่างดีหมด และจะรับหมด
ของดีจริงก็ต้องรู้ปริมาณ

ถ้าศึกษาเพื่อเพิ่มพูนไตรสิกขา
จะได้รับประโยชน์มหาศาล

ในตอนหลังๆ พระพุทธเจ้าบอก
ขอให้ติดตามพระองค์เพื่อฟังกถาวัตถุ ๑๐
อย่าติดตามพระองค์เพื่อฟังนวังคสัตถุศาสน์

คืออย่าเรียนพระไตรปิฎกเพื่อทรงพระไตรปิฎก
แต่อ่านเพื่อให้เห็นข้อปฏิบัติ
ถ้าศึกษาอย่างนี้ ไม่นานจะพ้นทุกข์
ไม่อย่างนั้นจะทุกข์มาก
โรคบุญน้อยจะเข้าแทรก
ก็จะห่างพระรัตนตรัยไปเรื่อยๆ

ศึกษาไปก็สังเกต คุณธรรมต่างๆ เพิ่มไหม
ถ้าตั้งอย่างนี้การศึกษาของเราก็จะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
การศึกษาจะมีความสุข
รู้สึกเป็นบุญแล้วที่ได้ฟัง ได้ศึกษาและปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอน


นั่นศีลของข้าพเจ้า นั่นศีลของข้าพเจ้า

ไปที่ไหนก็มองเห็นศีล โอ้ว นั่นศีลของข้าพเจ้า นั่นศีลของข้าพเจ้า
นั่นสิกขาของข้าพเจ้า
นั่นก็บุญของข้าพเจ้า

ไปที่ไหนก็จะรักษาศีล
แผ่ไปก่อนเลย ชั่วโมงนี้จะต้องรักษาศีลให้ได้
คุยกับคนนี้ ศีลเราจะต้องดี
สมาทานเอาไว้ก่อน

คนที่คอยแต่จะตรวจสอบตัวเองอย่างเดียว
โดยไม่สมาทานเอาไว้ก่อน
มันเก็เหมือนกับทำอะไรเสร็จแล้วค่อยมาทบทวนทีหลัง ไม่ค่อยดี

คิดถึงใครก็คิดเป็นศีลไว้ก่อน
"เราจะเสียศีลไหม?"
แผ่ไว้อย่างนี้บ่อยๆ กับทุกเรื่อง

ถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ จะไม่เห็นวัตถุใดที่เราจะเสียศีลเลย

ทุกเรื่อง ทุกอารมณ์ จะเป็นที่ตั้งแห่งสุจริต ๓ ของเรา
หมั่นแผ่ศีลกับทุกๆ อารมณ์และระลึกบ่อยๆ
เช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นผู้มีศีลมั่นคง

ทุกแห่งที่เรามองเห็นศีลได้นะ
เราก็จะมองเห็นคำสอนด้วย
อันนี้เป็นผลแห่งสุตตะ

ถ้าเราเห็นศีลแบบนี้บ่อยๆๆๆ เข้า
ก็จะเห็นคุณของสมถะและวิปัสสนาด้วย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ไปคอร์สอาศรม 13-17 พ.ค.66 / 2023

  •  ไม่รู้เป็นยังไงได้ยินคำว่า สมาธิต้องฝึกเยอะเหลือเกิน ซึ่งก็ตรงตามนั้นแหละ เป็นของต้องทำ เลี่ยงไม่ได้ ไม่ทำวันนี้ก็ต้องทำวันหนึ่งอยู่ดี
  • หลักการทำสมาธิ ไม่ต้องนั่ง ไม่ต้องเดินคือ มีสติต่อเนื่องในกุศล แม้มีสติต่อเนื่อง แต่ถ้าไม่เป็นไปในกุศลก็ไม่มีสมาธิ
  • ข้อสังเกตระหว่างนั่งก็คือ ความโงก มาพร้อมอุทธัจจะ คือเมื่อใดที่หลุดจากกรรมฐาน พบว่ามันวิ่งไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และตอนนั้นเองคอก็ตก...ป๊อก !
  • รอบนี้ง่วงจัง อาจจะเป็นเพราะหลังหายโควิด มั้ยนะ แต่ไม่ง่วงระหว่างฟังธรรมมานานหนักหนาแล้ว ตลกดี
  • ใจจะต้องมีที่พึ่ง ไม่งั้นจะลอยเคว้งคว้าง ที่พึ่งที่เป็นที่พึ่งที่ให้พ้นภัยได้ คือพระรัตนตรัย และการเห็นอริยสัจ คิดอะไรไม่ออกให้ใจไปอยู่กับพระไว้
  • ใจอย่าปล่อยให้มันคิดเอง เพราะกิเลสเกิดจากความคิด ถ้าปล่อยให้มันคิดเอง มันจะไหลลงต่ำ คิดตามสิ่งที่มันเคย ซึ่งมันเคยแต่คิดผิดๆ เพราะมันจำผิดๆ อยู่ ถ้ามันจะคิด ให้พามันคิด คิดแบบที่พระพุทธเจ้าคิด คิดแบบที่พระอรหันต์คิด สวดมนต์บ่อยๆ นึกกรรมฐานบ่อยๆ
  • ถ้ากำลังจิตไม่ดี มันจะหวงกาย
  • วิริยะ บากบั่นรักษากุศล สำรวมอินทรีย์ พิจารณาอาหาร กิเลสเกิดได้แต่อย่าให้เกิดเยอะจิตจะเสีย ฉลาดป้องกัน อย่าให้เยอะ อย่าให้บ่อย
  • กรรมและผลของกรรม ให้มองให้ทะลุปัจจุบันชาติ การได้รับผลร้ายโดยไม่ได้ทำเหตุร้ายมาก่อนนั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องเชื่อมั่นในตรงนี้ มันต้องเคยมีการทำไม่ดีมา และตอนนี้ คือ "ถึงคิว" ที่กรรมไม่ดีนั้นจะให้ผล
  • "ถึงคิว"
  • การเพียรให้ดีจะต้องมีฉันทะ ถ้ายังไม่มีก็ต้องไปทำให้เกิดให้ได้ ไปหาเรื่องดีๆ หาแรงบันดาลใจ ทำให้อยากจะทำเป็นบ้าง อยากจะทำได้บ้าง รักที่จะทำ อยากที่จะเป็น หรือหาความสนุกในการพัฒนาตัวเอง มีอะไรใหม่ๆ ให้เล่นเสมอ
  • การหาตำแหน่งหทยวัตถุก็ลองดูตอนมันเจออารมณ์โหดๆ น่ะ เช่นกลัวผี ลองดูว่ามันกลัวที่ไหน
  • คำว่า "กำหนด" ในกำหนดรู้ทุกข์ แปลว่า แยกแยะ กระจาย จัดลงเป็นขันธ์ใดในขันธ์ห้า แต่ไม่ได้แปลว่ากำหนดเพ่งให้เวทนามันหาย
  • ฤทธิ์ของพระอริยะ ไม่ว่าจะเจออารมณ์อันใดก็ปรับจิตได้หมด
  • ไม่ดูหมา ให้ดูจิตที่ทุกข์ ว่าเวทนามันเกิด เป็นเวทนาขันธ์ มันเกิดได้มันก็ดับได้
  • การละนิวรณ์ หลักๆ ก็มีด้วยสมาธิ และด้วยวิปัสสนา ถ้าสมาธิห่วย นิวรณ์ก็กวนได้มาก จึงเป็นเหตุผลต้องฝึกสมาธิด้วย ส่วนวิปัสสนา ถ้าสติเห็นช้า ไปเห็นตอนมันตัวใหญ่แล้ว มันจะไม่พอดับนิวรณ์ เหมือนสติตัวเท่ามด นิวรณ์ตัวเท่าช้างอย่างนั้น โดนทับแบน คือถ้าเห็นช้า ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจาก อดทนไป...ทำมาเอง ช่วยไม่ได้
  • นิพพาน คือ disruption ของมิจฉาทั้งปวง
  • ทำได้ไหม เห็นพระเทวทัตน่ารักเหมือนพระราหุล
  • หน้าที่คือลับอาวุธไป ส่วนจิตจะลงสู่สนามรบเมื่อไรเป็นเรื่องของจิต รบแพ้ล้านครั้งก็ไม่เป็นไร ชนะอีก 3 ครั้งก็จบเกมแล้ว (มันสอนตัวเองอย่างนี้)

ไปวัดรอบนี้ 4-7 พ.ค.66 / 2023

  • ลพี่แนะนำว่า ไอ้ก้อนอุปาทานนั่นน่ะ ไม่ต้องไปจ้องมันก็ได้ ให้ดูว่ามันเป็นก้อนเวทนาก้อนนึง เป็นแค่สิ่งที่่ถูกรู้
  • ลพี่เล่าว่า อรูป นั่งๆ คุยอยู่ อยู่ดีๆ ก็เข้าแล้วก็ออกมาได้ หรือแม้แต่ในฝันก็เข้าได้