วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สติ - หลบอารมณ์ หัดเปลี่ยนอารมณ์

ตอบคำถามสองภาษา
โดยพุทธยานันทะ
ปุจฉา: ๑. บางแนวทางเขาว่า เวลาเกิดผัสสะ หากเรามัวแต่กลับมารู้สึกตัว จะเป็นเหมือนการละนันทิ โดยไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์เลย จะเกิดปัญญาได้อย่างไร เขาบอกว่าเป็นการหลบผัสสะมากกว่า หลวงพ่อมีความเห็นว่าอย่างไรครับ?
Question: 1. Some methods mention that whenever we have contact and we call back to awareness immediately, it is like we deflect from contact and lose the chance to see triluksana (the three characteristics of impermanence, suffering, and non-self). Then wisdom cannot arise. How do you think?
วิสัชชนา: ๑. แสดงว่าคนเข้าใจเช่นนั้น ยังไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนา ทำสมถะ แต่เข้าใจว่า ตัวเองทำวิปัสสนา นักปฏิบัติที่เข้าใจอย่างนี้เยอะมากๆ แต่ถ้าจิตเป็นวิปัสสนา จะไม่ถามแบบนี้ คำตอบก็คือว่าความรู้สึกตัวที่ถูกต้องนั้นเอง มันเป็นการเห็นไตรลักษณ์ และละนันทิไปในตัวเสร็จ วิปัสสนาปัญญานั้น ไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์แบบสมถะ(พราหมณ์) เมื่อเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งต่อหน้าแล้ว การพิจารณาแบบวิปัสสนาก็สำเร็จเสร็จสิ้นไปในตัว แต่ถ้าแบบสมถะ ต้องพิจารณาทีละอารมณ์ว่า แบบนี่คืออนิจจัง แบบนี้คือทุกขัง แบบนี้คืออนัตตา นี้เป็นอารมณ์บัญญัติ เป็นสมถสัญญา ขืนพิจารณาแบบนั้น ไม่ทันกิเลสหรอกคุณเอ้ย มันเอาไปกินเสร็จ
Answer: 1. A lot of practitioners do not understand vipassana (insight development) correctly. They are practicing samadha (tranquilty) but misunderstand that they are practicing vipassana. If the mind is in vipassana meditation, this question does not arise. Right mindfulness is to see triluksana (the three characteristics of impermanence, suffering, and non-self) totally by vipassana-panya (insight development wisdom). It is different to samadha (concentration in Brahminism) that we have to consider each object singly. For example, to consider the object that this one is impermanence, this one is suffering, this one is non-self, this one is regulations, or this one is samadha perception, etc. It is too slow to catch up defilement. Conversely, defilement will swallow us.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น