วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โกรธไม่ได้เป็นกรรมเสมอไป

ชีวิตแบ่งเป็น 2 ส่วน ภาครับ ภาคกระทำ

ภาครับ เป็นอุปาทานขันธ์ 5 ที่ต่อเนื่องมาจากกรรมเก่า
ได้แก่ ตัวเชื่อมต่อ - อายตนะภายใน

พอกระทบกับอายตะภายนอก
ก็เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นวิบาก
พูดอีกอย่างคือ พอมีอุปาทานขันธ์ มีก้อนทุกข์แล้ว ก็มีที่ลงของวิบาก

ภาครับ มาถึงเวทนา

ตา (กรรมเก่าปรุงมา ตาถูกสร้างมาในที่นี้
เกิดมาเวลานี้ๆ ยืนอยู่ในสถานที่นี้ เวลานี้เพื่อเหมาะสมที่รูปนี้จะมากระทบ)

ตา +รูป+วิญญาณ = ผัสสะ และเกิดเวทนา
ผัสสะก็เป็นวิบาก 

กระทบอะไรแล้วความคิดเกิดขึ้น (ปรุงแต่ง)
อันนี้คืออันนี้ สิ่งนั้นคือสิ่งนี้
พวกนี้เป็นของเก่า มันคิดขึ้นมาตามความเคยชิน 

ภาคกระทำ
มี 3 ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
คือพอมีเวทนา ก็มีตัณหา
เมื่อใดที่เกิดตัณหาคือ "รักตน" ขึ้นมา

คือถ้าไม่ "รักตน" ขึ้นมานี่
ความคิดที่ิเกิดหลังกระทบ ความคิดก็จะเป็นแค่ความคิด
เป็นอุปาทานขันธ์ธรรมดาๆ

ความคิดดี ความคิดไม่ดีนี่ "ยังไม่เป็นกรรม"
เรียกว่าเป็นอุปาทานขันธ์ (หรือนิสัย หรือความเคยชิน)

ราคะ พวกความรักอะไรต่างๆ
โทสะ เป็นพวกขี้โกรธบ้างอะไรบ้าง
พวกนี้เป็นส่วนที่เกิดมาจากเวทนา 
ถามว่าเป็นกิเลสมั้ย เป็น แต่เป็นกิเลสที่ยังไม่เกิดกรรมอะไร

กิเลสที่ไม่เกิดกรรมนี้ก็มีเยอะแยะ
เช่น อนุสัย สังโยชน์
เป็นแค่ความเคยชินที่ยังละไม่ได้
จะละได้ก็ต่อเมื่อมีอริยมรรค

เป็นความคิดที่เกิดต่อมาจากความรู้สึกสุข/ทุกข์
คิดชอบมัน คิดไม่ชอบมัน รักมัน เกลียดมัน
ถ้าไม่มีเรื่องตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เขาจะมาทำอะไรแก่เรา เราจะไปทำอะไรแก่เขา
เจตนาจ้องยังไม่มี อันนี้ยังไม่เกิดกรรม

จะเป็นกรรมก็ต่อเมื่อ หลังจากมีเวทนาแล้ว เกิดตัณหา
กรรมจึงเกิดเป็นครั้งๆ นานๆ เกิดที
ไม่ใช่ว่าโกรธทีไรเป็นกรรมทุกที

โกรธส่วนใหญ่ไม่เป็นกรรม
มาเป็นตอนยึดว่า "เราเป็นผู้โกรธ" และ "มีคนทำให้เราโกรธ"
"เรามีเจตนาจ้องคิดนึกจะว่าคนที่เราโกรธอย่างไร" เป็นต้น
เรียกว่าเป็นกรรม (เกิดภพ)
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมี

เมื่อแยกชีวิตเป็นสองส่วนได้ก็จะเข้าใจความคิดได้ดีขึ้น
ความคิดที่ไม่เป็นกรรม คือความคิดที่ไม่มีทิฏฐิ ไม่มีตัณหาเข้ามาครอบงำ
อันนี้ก็ไม่เกิดกรรม อันนี้เป็นความคิดที่เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์ (หรือก็คือความเคยชิน)

บางคนไม่รู้จักอันนี้
พอคิดไม่ดี ก็ไปคิดว่า "ตนเลว"
อันที่จริงก็ยังไม่เลวเท่าไรหรอก 
เพียงแต่บ่งบอกว่า นิสัยเก่า หรือของสะสมนี่ "เลว" เฉยๆ
ยังไม่เกิดอริยมรรคเลยยังคิดไม่ดีอยู่ เท่านั้น

ถ้าไม่รู้นี่ไปสำนึกผิดตั้งนานว่า "ตัวเองเลว"
สิ่งที่เลวกว่านั้นคือ ความเห็นผิด
จึงต้องมาเห็นให้ถูกก่อน ว่าความคิดพวกนั้นเป็นสังขาร เป็นอุปาทานขันธ์
ท่านจึงให้ "รู้ทุกข์" ทุกข์คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5

คนไม่รู้ก็จะวุ่นวายมาก
"ทำไมฉันเลวอย่างโน้นอย่างนี้" "เลวอย่างนี้คงไม่มีสิทธิบรรลุหรอก"
ที่ไม่มีสิทธิบรรลุจริงๆ คือ "เห็นผิด" เท่านั้น
อันอื่น ไม่ใช่ประเด็น

บางคนก็วุ่นวาย
"เรามันบารมีไม่ถึง กิเลสเยอะอย่างนั้นอย่างนี้"
กิเลสเยอะๆ นี่สมัยพุทธกาลมีบรรลุกันเยอะแยะ
ฉะนั้นที่ไม่บรรลุนี่ไม่ใช่เพราะกิเลสเยอะ แต่เป็นเพราะ "เห็นผิด" เท่านั้น

พวกไม่เข้าใจแล้วจับ "อุปาทานขันธ์" มาเป็น "กรรม" นี่ก็เพี้ยนไป

ความคิดที่เป็นกรรม ก็คือความคิดที่มีตัณหาเข้าประกอบ
ปล่อยจิตเลื่อนลอยหลงลืมไป ก็จะไปยึดขันธ์ 5
พอยึดขันธ์ 5 ความคิดว่า "เรามี" ก็จะมีขึ้น
"เพราะยึดถือ ความคิดว่า 'เรามี' จึงมี"

ความคิดว่า "เรามี" นี่แหละ เป็นต้นตอของกรรม
ถ้าไม่ได้ยึดถือ ความคิดว่า "เรามี" มันก็ไม่มี

อุปาทาย อสฺมีติ โหติ โน อนุปาทาย
เพราะยึดมั่นความคิดว่าเรามี จึงมี
เพราะไม่ยึดมั่น ความคิดว่าเรามี จึงไม่มี

สรุป "เรา" มีมั้ย
มี...มีตอนคิด
"เรา" เป็นอารมณ์ของความคิด

แล้วทำไมจึงคิดว่าเรามี
เพราะยึดมั่่น

ยึดมั่นอะไร
ก็ยึดมั่นรูป ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นเวทนา ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นสัญญา ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นสังขาร ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความคิดว่าเรามีจึงมี

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำสอนแบบพระสูตร คำสอนแบบอภิธรรม

พระสูตรนี้เป็นคำสอนแบบปริยายเทสสนา
คือยกมาเพียงแง่มุมหนึ่ง เพื่อสอนคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
มันจึงอาจจะใช้ได้ในเงื่อนไขใดเงื่อนไขนึง
ถ้ารู้ก็ดีไป ถ้าไม่รู้ก็มั่วได้

เวลาเขากล่าวสรรเสริญหลังจบพระสูตร
จึงกล่าวว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นอเนกปริยาย..."

คือเขาเข้าใจว่าธรรมมีหลายแง่มุม
พระพุทธเจ้าอธิบายได้หลายแง่มุม ที่เราเข้าใจเป็นเพียงปริยายหนึ่ง
เขาเกิดสัทธา จึงแสดงตนเป็นอุบาสก จะได้ฟังอีกบ่อยๆ
ขนาดเข้าใจแง่มุมเดียวยังขนาดนี้ ท่านรู้ทุกแง่มุมจะขนาดไหน
พระสารีบุตรยังว่า มานั่งฟังเมื่อไรก็ได้แง่มุมเพิ่มเติมเมื่อนั้น

ขณะที่อภิธรรมเป็นคำสอนแบบนิปปริยาย
แสดงไปตามหลักธรรม ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่ผู้ใด
จึงใช้ได้ครอบคลุม

อย่าประมาณ

ญาณรู้วิมุตติผู้อื่นนั้นเป็นพุทธวิสัยเท่านั้น

หน้าที่ต่อกุศล

กุศล
บางอย่างควรกำหนดรู้
บางอย่างควรละ
บางอย่างควรเจริญ

กุศลโลกิยะ ที่เป็นอุปาทานต่างๆ ที่เกิดเพราะเหตุเพราะปัจจัยนี่ควรกำหนดรู้
พวกตัณหานี่ทำให้เกิดอุปาทาน
พวกอภิสังขารนี่ ควรละ พวกปุญญาภิสังขารนี่ ควรละ
มีตัวมีตนแล้วไปทำเพื่อตัวเพื่อตนนี่ควรละ
เพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
กุศลที่ควรเจริญคือ อริยมรรคมีองค์ 8

อกุศลควรกำหนดรู้ และควรละ
ตัณหา เป็นสิ่งที่ควรละ
ดังนั้น ทั้งกุศลและอกุศลที่มาจากตัณหา ล้วนควรละ

อัพยากต ควรกำหนดรู้ และควรกระทำให้แจ้ง
ที่ควรกระทำให้แจ้ง ได้แก่ นิพพาน
ส่วนที่ควรกำหนดรู้ ก็เพียบเลย เช่น พวกกิริยาจิต วิบากจิต


วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ทิฏฐิปปัตโต สัทธาวิมุตโต

ทิฺิปฺปตฺโต

ท่านที่บรรลุธรรมด้วยทิฏฐิ (ใช้ปัญญานำ)
กล่าวถึงพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
ที่ได้บรรลุโดยใช้ปัญญานำหน้ามาก่อน


สทฺธาวิมุตฺโต
ท่านที่บรรลุธรรมด้วยสัทธา(ใช้ปัญญานำ)
กล่าวถึงพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
ที่ได้บรรลุโดยใช้สัทธานำหน้ามาก่อน

โดยปกติองค์ธรรมฝ่ายดี
จะมีตัวนำอยู่ 2 ตัว สัทธา ไม่ก็ปัญญา

กายสักขี

กายสักขี
พระอริยเจ้าที่เป็นสักขีด้านนามกาย.

อันนี้กล่าวถึงพระอริยะที่ยังไม่ถึงพระอรหันต์
อาจจะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี
ที่ได้อรูปสมาบัติ

รูปในภูมิขันธ์ 5 นี่ประชุมกันเสมอ
แต่ในภูมิขันธ์ 4 ไม่ใช่
สำหรับภูมิขันธ์ 4 จิตกับเจตสิกนี่ ไม่เคยแยกกันเลย

เรียกว่าจิตกะเจตสิกนี่ ไม่เคยแยกกันเลยในสังสารวัฏนี่
เรียกว่า รูปนี่แยกประจำ

ท่านที่เป็นสักขีพยานไอ้ตัวที่ไม่เคยแยกกันเลยคือ ท่านที่ได้อรูปสมาบัติ

อุภโตภาควิมุตโต ปัญญาวิมุตโต VS เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

พ้น
พ้นจากสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีอิทธิพลต่อจิต
ผู้พ้นคือจิต

อุภโตภาควิมุตโต พ้นทั้งสองส่วน
คือพ้นจากรูป (รูปไม่มีอิทธิพลต่อจิต)
และพ้นจากกิเลส (กิเลสไม่มีอิทธิพลต่อจิต)

พ้นจากรูป หมายถึงเข้าถึงอารมณ์อรูปได้ (อรูปสมาบัติ)
จึงแบ่งเป็น 5 (อากาสา-, วิญญานัญ-, อากิญจัญญา-, เนวสัญญา-, นิโรธสมาบัติ)
นี่เรียก อุภโตภาควิมุตโต = พ้นทั้งสองส่วน

อุภโตภาควิมุตโต แม้จิตจะเกิดที่รูป แต่ไม่อิงอาศัยรูป มีอรูปเป็นอารมณ์

ปัญญาวิมุตโต พ้นจากกิเลสด้วยปัญญา
ยังไม่พ้นจากรูป

ท่านที่พ้นด้วยปัญญาวิมุตตินี่
จิตของท่านยังเนื่องอยู่กับกาย ยังเกิดที่กาย ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาย
ขณะที่ท่านที่ได้อรูป จิตท่านไปท่องเที่ยวอยู่กับอรูปสมาบัติ

ปัญญาวิมุตโต จึงแบ่งเป็น 5 (ท่านที่ได้รูปฌานที่ 1 2 3 4 และที่ไม่ได้ฌานเลย - สุขวิปัสสก)

อุภโตภาควิมุตโต และ ปัญญาวิมุตโต
สองคำนี้พูดถึง "คน" (สังเกตคำลงท้าย)

แต่ถ้า เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
สองคำนี้พูดถึง "สภาวะ" ที่เกิดในจิต (สังเกตคำลงท้าย)
กล่าวคือ ถ้าเป็นพระอรหันต์ ไม่ว่าจะ อุภโตวิมุตโต หรือปัญญาวิมุตโต
ก็จะได้สภาวะทั้ง เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ทุกรูป

เจโตวิมุตติ
เป็นสภาวะที่เข้าถึงได้ด้วยสมาธิ
พระอรหันต์มีสมาธิสมบูรณ์ทุกรูป

ปัญญาวิมุตติ
เป็นสภาวะที่เข้าถึงได้ด้วยปัญญา
พระอรหันต์มีปัญญาสมบูรณ์ทุกรูป

แต่เวลาแปลงเป็นคำไทย อ่านเหมือนกัน ก็งงไปงงมา

เพราะฉะนั้น ปัญญาวิมุตโต ความหมายไม่เหมือนกับ ปัญญาวิมุตติ


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ฌาน

ฌานนี่พูดถึงสภาวะในจิต
พูดถึงองค์สภาวะในจิตคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา
มีองค์ 5 ประเภท ก็จะมีแค่ 4 ฌาน (หรือ 5 ถ้าแบ่งละเอียดแบบอภิธรรม)
ตัวเข้าถึงคือจิต

ส่วนสมาบัติ
พูดถึงจิตที่ไปเข้าถึง
พูดถึงอะไรที่จิตไปเข้าถึง

ฌานสมาบัติ
นี่ไม่ได้พูดถึงฌาน
แต่พูดถึงความสามารถของจิตที่เข้าถึงจุดนั้นๆ โดยอาศัยฌาน

เช่นเดียวกับคำว่า "ทัสสนสมาบัติ"
ไม่ได้พูดถึง "ทัสสนะ"
แต่พูดถึงสิ่งที่จิตเข้าถึงอันนั้นๆ ได้ด้วยอาศํยทัสสนะคือ ปัญญานั่นเอง

เหมือนปัญญามีหน้าที่ไปเห็น
จิตมีหน้าที่เข้าถึงความร่มเย็นตามระดับขั้นที่มรรคเดินถึง

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เจตนา และ วีรตี

เจตนาฆ่าสัตว์ เป็นสภาวะหนึ่ง
งดเว้นเจตนาฆ่าสัตว์ เป็นสภาวะหนึ่ง

เป็นสองสภาวะเช่นกัน
หาสภาวะวีรตีให้เจอ แล้วเจริญตัวนี้
ตัวนี้ก็จะเจริญเป็นสัมมากัมมันตะ

ที่ตรงข้ามความคิดฆ่าก็เช่น เมตตา
เจอตัวนี้ก็เจริญตัวนี้ให้อ้วนขึ้น
คิดฆ่าเขาไม่เป็นอีกต่อไป

หน้าที่ต่ออกุศลของเรา

ผู้ละอกุศลคือมรรค
หน้าที่ของเราต่ออกุศลคือ "ไม่ทำ"

อกุศล
ไม่ได้ใช้วิธีละ
ไม่ได้ใช้วิธีทำ

เบื้องต้นใช้วิธี "ไม่ทำ"
สัพพะ ปาปัสสะ อะกะระณัง

กิเลสเป็นสิ่งที่ต้องละก็จริง
กิเลส "ถูกละ" อันนี้เป็นการพูดตามความจริง
แต่ "วิธี" ที่จะละ คือ "ไม่ทำ"

อโลภะ ไม่ใช่ไม่โลภ

อโลภะนี่เป็นสภาวะอันนึงเลย
ไม่ใช่แค่ไม่โลภเฉยๆ ก็เรียกว่ามีอโลภะ

สมมติโลภะคือดินสอ อโลภะคือยางลบ
คือเป็นอีกตัวหนึ่งไปเลย

มันไม่ใช่ว่าดินสอเป็นโลภะ
อะไรที่ไม่ใช่ดินสอก็เป็นอโลภะ

เรียกว่า ทั้งโลภะ และ อโลภะ
เป็นสภาวะ 2 สภาวะ
และมีจริงทั้ง 2 อัน

แต่เวลาภาษาไทยเวลาแปลมา
เราพูดจะให้อารมณ์เหมือนกับว่า
โลภะเท่านั้นที่มีจริง ส่วนอโลภะไม่มีจริง เป็นแค่คำเทียบขึ้นมาเฉยๆ

ซึ่งเมื่อพูด (และเข้าใจแบบนี้) มันก็จะพัฒนาไม่ได้
ต้องเข้าใจว่า "อโลภะก็เป็นอีกสภาวะหนึ่ง และพัฒนาได้ !!!"
ดังนั้น ต้องหาตัว "อโลภะ" ให้เจอ และพัฒนาตัวนั้น
จึงเป็นไปเพื่อความเพียรและสมาธิ

อโลภะเนี่ย เป็นสภาวะที่ตรงข้าม
คือเป็นปฏิปักษ์และข้าศึกต่อโลภะ
แต่มันเป็นอีกอันหนึ่ง และเป็นสภาวะที่มีจริงๆ

โลภะนี่เป็นสภาวะที่จะเอานั่นนี่เข้ามา
ต้องกังวลวิตกไปกับอันนู้นอันนี้ มีปลิโพธทางจิตเยอะ
อะไรที่ตรงข้ามกับอันนี้ จิตก็จะเป็นสมาธิได้ไว
เพราะมันตัดเครื่องกังวล ก็จะได้สมาธิโดยธรรมชาติ

แต่ทีนี้พอมาแปลอโลภะว่าไม่โลภ มันก็เลยเหมือน "แค่ไม่โลภก็โอเคแล้ว?" 
มันไม่โอเคตรงที่มันไม่ได้เจริญอรหัตมรรคน่ะสิ
กุศลเป็นสิ่งที่ควรเจริญ เป็นภาเวตัพพธรรม
รู้จักมัน รู้จักหน้าตาสภาวะมัน ก็เจริญได้เลย ไม่ต้องไปรอโลภะดับไป

การเชื่อมโยงกุศลมูล ไปกุศลสูงสุด

ตั้งแต่เราบวชมาก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล
แต่ว่าตั้งแต่เราบวชมาไม่มีกุศลที่สูงสุดในศาสนาอื่นเลย
กุศลสูงสุดก็คือองค์มรรรค
แน่นอนว่าระหว่างทางก็จะมีกุศลนั่นนี่เกิดขึ้น ก็ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้

อโลภะ ทำให้เกิดองค์มรรคอะไรบ้าง
อโลภะ ไม่ใช่ความไม่โลภ
แต่หมายถึง สิ่งที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับโลภะ

หมายถึง สิ่งดีงามที่ตรงกันข้าม เช่น
ทาน การบริจาค ความใจกว้าง ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่หวงแหน ไม่ตระหนี่ ฯลฯ

เหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อกุศลสูงสุดคือ
ให้ได้ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ และสัมมาสมาธิ
ได้สังกัปปะ ก็เนกขัมมะ ไม่เบียดเบียน ตรงไปตรงมา
ได้วายามะ ก็ไม่ติดไม่ข้อง เพียรไปทางนี้ ไม่ได้ทำเพื่อตน ก็ทำเพื่อลดละขัดเกลา
ได้สมาธิ

อโทสะ ก็จะได้พวกศีล แน่นอนก็ได้อย่างอื่นด้วย
อโมหะ ก็ได้ปัญญาเป็นต้น

นี่เป็นการเชื่อมโยงจาก "กุศลมูล" ไปสู่ "กุศลสูงสุด"

ดังนั้นในทางพุทธ ทุกกุศลทีทำ เป็นไปเพื่อพัฒนาอรหัตมรรค
ยุคหลังนี่มักเรียนแบบตัดตอน แล้วก็ไม่ใช้ทางนั้นผิดทางนี้ผิด
มันก็ไม่ได้ผลที่ต้องการ
กุศลมันต้องละ ไม่งั้นมันไปไม่ได้

กุศลทั้งปวงรวมลงที่สติ

กุศลทั้งปวงรวมลงที่สติ
หลังจากนั้นที่จะให้กุศลเจริญก้าวหน้าต่อไป คือฉันทะ
ต้องชอบและพอใจในฝ่ายดีงาม
จึงจะก้าวไปได้

ที่เราทำกุศลนี่เพื่อปรับจิต
ให้มันนิ่มนวลอ่อนโยนควรการงาน
คนที่ขยัน ฉลาดปรับจิต ก็จะไปไวหน่อย

ละทุจริต คือป้องกันทุจริต

ความหมายของละทุจริตคือ "ป้องกันไม่ให้เกิด"

อสุภะ ภิกษุพึงเจริญเพื่อ "ละ" ราคะ
ความหมายคือ พึงเจริญอสุภะเพื่อ "ป้องกัน" ราคะ

เมตตา ภิกษุพึงเจริญเพื่อ "ละ" โทสะ
ความหมายคือ พึงเจริญเมตตา เพื่อ "ป้องกัน" โทสะ

ปัญญา ภิกษุพึงเจริญเพื่อ "ละ" โมหะ
ความหมายคือ พึงเจริญปัญญาเพื่อ "ป้องกัน" โมหะ

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เปรียบเทียบอัตตานุทิฏฐิ

ทิฏฐิมีลักษณะเอามารวมกัน

เห็นรูปเป็นตน
เหมือนเห็นไฟกับแสงเป็นอันเดียวกัน
ไฟกับแสงเป็นคนละอัน แต่เวลามอง เหมือนเป็นอันเดียวกัน
ไฟปุ๊บสว่างเลย
คือคนมองมาจับรวมกันเอง อันนี้เป็นทิฏฐิ

เห็นตนมีรูป
เหมือนเห็นต้นไม้มีเงา
ไปยึดเป็นตัวตส แล้วก็ไปยึดว่ามี
ต้นไม้ก็เป็นต้นไม้ เงาก็เป็นเงา
เงากะต้นไม้ไม่ได้มาด้วยกัน
เหมือนรูปก็เป็นรูป เราก็เป็นทิฏฐิ เกิดมาทีหลังตอนขาดสติ

เห็นรูปในตน 
เหมือนเห็นว่ามีกลิ่นในดอกไม้
จริงๆ มันอยู่ด้วยกันมั้ย ไม่ใช่
ดอกไม้ก็ดอกไม้ กลิ่นก็มีเหตุปัจจัยมันจึงเกิด
แต่ดันไปเห็นเหมือนมีกลิ่นนอนอยู่ในดอกไม้

เห็นตนในรูป
เหมือนเห็นแก้วมณีอยู่ในขวด
เห็นตนในรูป

อันที่จริงรูปก็เป็นรูป เราเป็นทิฏฐิ

หรืออัสสาททิฏฐิ
เช่น เห็นเงินคือความสุข มันเอามาผูกกันเป็นหนึ่ง ไม่เห็นแยก
จริงๆ เงินก็เงิน ความสุขก็ความสุขเกิดตามเหตุปัจจัย
ดันไปมองติดกันอย่างนั้นเลย

เห็นหน้าลูกเป็นความสุข
จริงๆ หน้าลูกก็เป็นหน้าลูก ธาตุสี่อสุภะ
ความสุขก็ความสุข เกิดตามเหตุปัจจัย
ดันไปเห็นว่ามันเนื่องกัน ด้วยกัน

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข้อสังเกตคำถามท่าน

ท่านไม่ถามว่า สิ่งนี้มีหรือไม่
แต่ถามว่า สิ่งนี้อาศัยอะไรจึงเกิดขึ้น

เมื่อบัญญัติ บัญญัติด้วยรูปอันใด
รูปอันนั้นตถาคตละได้แล้ว
มีมูลอันตัดขาดแล้ว

image

อัตตวาทะ
มีแต่ภาพ
ภาพของตัวตน ภาพของอัตตา
เป็นความคิดนั่นเอง ดันไปยึดว่าภาพเป็นจริงเป็นจัง

ภาพตัวตนจะหมดเหมือนอรหันต์เท่านั้น
พระโสดาบันจะรู้ว่ามันเป็นของปลอม
ความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นเราก็ยังมี แต่ไม่เข้าใจผิด

การใช้คำว่า "เรา" "เขา" ก็รู้ว่าเป็นแค่โลกโวหารเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้นจริงๆ นะ VS กล่าวตู่พระพุทธเจ้า

เวลาอ่านพระสูตรแล้วมาอ้างว่าท่านตรัสอย่างนี้จริงๆ
ดีไม่ดีเป็นการกล่าวตู่ไปได้
ดูเหมือนจะถูก แต่ผิดเฉยเลย

พระสูตรนี่มีอยู่ 2 แนว

อย่างแรกเรียก นีตัตถะ
หมายถึง สูตรที่ได้รับการขยายความ
หรือเปิดเผยเนื้อความเรียบร้อยแล้ว
คือไม่ต้องอธิบาย

เช่น กล่าวว่า "รูปไม่เที่ยง" มันก็ไม่เที่ยงอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ความหมายตรงไปตรงมากับบทพยัญชนะ
ไม่ต้องไปตีความ

อย่างที่สองเรียก เนยยัตถะ
หมายถึง พระดำรัสที่พระองค์ตรัสไม่ได้มีเนื้อความอย่างนั้นตรงๆ
แต่มีเนื้อความที่ต้องขยายความก่อน

เช่น พระสูตรที่กล่าวสมมติบัญญัติทั่วไป
เช่น บุคคล 4 ประเภทนี้มีอยู่ในโลก...
คือมันต้องได้รับการขยายความก่อนว่า บุคคลไม่มี

ถ้าเราจะไปยกมาด้วนๆ เลย อ้าวท่านว่ามีบุคคลนี่!!
แบบนี้ใช้ไม่ได้
อันนี้คือ พยัญชนะว่ามีบุคคล แต่อัตถะคือไม่มี

หรือ "เธอทั้งหลายจงละรูปเสีย"
อันนี้ก็ต้องขยายความ คือไม่ใช่ให้ "ละรูป" แต่ให้ละ "ฉันทราคะในรูป"
คือ ถ้าไปเข้าใจว่าท่านให้ละรูป เสียง กลิ่น รส นี่คือกล่าวตู่
(ทั้งๆ ที่โดยพยัญชนะท่านก็พูดอย่างนั้นจริงๆ)

บุคคลบางคนกล่าวนีตัตถะเป็นเนยยัตถะ
บุคคลบางคนกล่าวเนยยัตถะเป็นนีตัตถะ
ชื่อว่า "กล่าวตู่"

เนยยัตถะนี่ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป

ใครที่บอกว่า ต้องตามพระพุทธพจน์เป๊ะๆ 
แสดงว่าไม่เข้าใจว่าพระสูตรมีทั้ง นีตัตถะ มีทั้ง เนยยัตถะ