ภาครับ เป็นอุปาทานขันธ์ 5 ที่ต่อเนื่องมาจากกรรมเก่า
ได้แก่ ตัวเชื่อมต่อ - อายตนะภายใน
พอกระทบกับอายตะภายนอก
ก็เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นวิบาก
พูดอีกอย่างคือ พอมีอุปาทานขันธ์ มีก้อนทุกข์แล้ว ก็มีที่ลงของวิบาก
ภาครับ มาถึงเวทนา
ตา (กรรมเก่าปรุงมา ตาถูกสร้างมาในที่นี้
เกิดมาเวลานี้ๆ ยืนอยู่ในสถานที่นี้ เวลานี้เพื่อเหมาะสมที่รูปนี้จะมากระทบ)
ตา +รูป+วิญญาณ = ผัสสะ และเกิดเวทนา
ผัสสะก็เป็นวิบาก
กระทบอะไรแล้วความคิดเกิดขึ้น (ปรุงแต่ง)
อันนี้คืออันนี้ สิ่งนั้นคือสิ่งนี้
พวกนี้เป็นของเก่า มันคิดขึ้นมาตามความเคยชิน
ภาคกระทำ
มี 3 ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
คือพอมีเวทนา ก็มีตัณหา
เมื่อใดที่เกิดตัณหาคือ "รักตน" ขึ้นมา
คือถ้าไม่ "รักตน" ขึ้นมานี่
ความคิดที่ิเกิดหลังกระทบ ความคิดก็จะเป็นแค่ความคิด
เป็นอุปาทานขันธ์ธรรมดาๆ
ความคิดดี ความคิดไม่ดีนี่ "ยังไม่เป็นกรรม"
เรียกว่าเป็นอุปาทานขันธ์ (หรือนิสัย หรือความเคยชิน)
ราคะ พวกความรักอะไรต่างๆ
โทสะ เป็นพวกขี้โกรธบ้างอะไรบ้าง
พวกนี้เป็นส่วนที่เกิดมาจากเวทนา
ถามว่าเป็นกิเลสมั้ย เป็น แต่เป็นกิเลสที่ยังไม่เกิดกรรมอะไร
กิเลสที่ไม่เกิดกรรมนี้ก็มีเยอะแยะ
เช่น อนุสัย สังโยชน์
เป็นแค่ความเคยชินที่ยังละไม่ได้
จะละได้ก็ต่อเมื่อมีอริยมรรค
เป็นความคิดที่เกิดต่อมาจากความรู้สึกสุข/ทุกข์
คิดชอบมัน คิดไม่ชอบมัน รักมัน เกลียดมัน
ถ้าไม่มีเรื่องตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เขาจะมาทำอะไรแก่เรา เราจะไปทำอะไรแก่เขา
เจตนาจ้องยังไม่มี อันนี้ยังไม่เกิดกรรม
จะเป็นกรรมก็ต่อเมื่อ หลังจากมีเวทนาแล้ว เกิดตัณหา
กรรมจึงเกิดเป็นครั้งๆ นานๆ เกิดที
ไม่ใช่ว่าโกรธทีไรเป็นกรรมทุกที
โกรธส่วนใหญ่ไม่เป็นกรรม
มาเป็นตอนยึดว่า "เราเป็นผู้โกรธ" และ "มีคนทำให้เราโกรธ"
"เรามีเจตนาจ้องคิดนึกจะว่าคนที่เราโกรธอย่างไร" เป็นต้น
เรียกว่าเป็นกรรม (เกิดภพ)
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมี
เมื่อแยกชีวิตเป็นสองส่วนได้ก็จะเข้าใจความคิดได้ดีขึ้น
ความคิดที่ไม่เป็นกรรม คือความคิดที่ไม่มีทิฏฐิ ไม่มีตัณหาเข้ามาครอบงำ
อันนี้ก็ไม่เกิดกรรม อันนี้เป็นความคิดที่เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์ (หรือก็คือความเคยชิน)
บางคนไม่รู้จักอันนี้
พอคิดไม่ดี ก็ไปคิดว่า "ตนเลว"
อันที่จริงก็ยังไม่เลวเท่าไรหรอก
เพียงแต่บ่งบอกว่า นิสัยเก่า หรือของสะสมนี่ "เลว" เฉยๆ
ยังไม่เกิดอริยมรรคเลยยังคิดไม่ดีอยู่ เท่านั้น
ถ้าไม่รู้นี่ไปสำนึกผิดตั้งนานว่า "ตัวเองเลว"
สิ่งที่เลวกว่านั้นคือ ความเห็นผิด
จึงต้องมาเห็นให้ถูกก่อน ว่าความคิดพวกนั้นเป็นสังขาร เป็นอุปาทานขันธ์
ท่านจึงให้ "รู้ทุกข์" ทุกข์คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5
คนไม่รู้ก็จะวุ่นวายมาก
"ทำไมฉันเลวอย่างโน้นอย่างนี้" "เลวอย่างนี้คงไม่มีสิทธิบรรลุหรอก"
ที่ไม่มีสิทธิบรรลุจริงๆ คือ "เห็นผิด" เท่านั้น
อันอื่น ไม่ใช่ประเด็น
บางคนก็วุ่นวาย
"เรามันบารมีไม่ถึง กิเลสเยอะอย่างนั้นอย่างนี้"
กิเลสเยอะๆ นี่สมัยพุทธกาลมีบรรลุกันเยอะแยะ
ฉะนั้นที่ไม่บรรลุนี่ไม่ใช่เพราะกิเลสเยอะ แต่เป็นเพราะ "เห็นผิด" เท่านั้น
พวกไม่เข้าใจแล้วจับ "อุปาทานขันธ์" มาเป็น "กรรม" นี่ก็เพี้ยนไป
ความคิดที่เป็นกรรม ก็คือความคิดที่มีตัณหาเข้าประกอบ
ปล่อยจิตเลื่อนลอยหลงลืมไป ก็จะไปยึดขันธ์ 5
พอยึดขันธ์ 5 ความคิดว่า "เรามี" ก็จะมีขึ้น
"เพราะยึดถือ ความคิดว่า 'เรามี' จึงมี"
ความคิดว่า "เรามี" นี่แหละ เป็นต้นตอของกรรม
ถ้าไม่ได้ยึดถือ ความคิดว่า "เรามี" มันก็ไม่มี
อุปาทาย อสฺมีติ โหติ โน อนุปาทาย
เพราะยึดมั่นความคิดว่าเรามี จึงมี
เพราะไม่ยึดมั่น ความคิดว่าเรามี จึงไม่มี
สรุป "เรา" มีมั้ย
มี...มีตอนคิด
"เรา" เป็นอารมณ์ของความคิด
แล้วทำไมจึงคิดว่าเรามี
เพราะยึดมั่่น
ยึดมั่นอะไร
ก็ยึดมั่นรูป ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นเวทนา ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นสัญญา ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นสังขาร ความคิดว่าเรามีจึงมี
เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความคิดว่าเรามีจึงมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น