เวลาอ่านพระสูตรแล้วมาอ้างว่าท่านตรัสอย่างนี้จริงๆ
ดีไม่ดีเป็นการกล่าวตู่ไปได้
ดูเหมือนจะถูก แต่ผิดเฉยเลย
พระสูตรนี่มีอยู่ 2 แนว
อย่างแรกเรียก นีตัตถะ
หมายถึง สูตรที่ได้รับการขยายความ
หรือเปิดเผยเนื้อความเรียบร้อยแล้ว
คือไม่ต้องอธิบาย
เช่น กล่าวว่า "รูปไม่เที่ยง" มันก็ไม่เที่ยงอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ความหมายตรงไปตรงมากับบทพยัญชนะ
ไม่ต้องไปตีความ
อย่างที่สองเรียก เนยยัตถะ
หมายถึง พระดำรัสที่พระองค์ตรัสไม่ได้มีเนื้อความอย่างนั้นตรงๆ
แต่มีเนื้อความที่ต้องขยายความก่อน
เช่น พระสูตรที่กล่าวสมมติบัญญัติทั่วไป
เช่น บุคคล 4 ประเภทนี้มีอยู่ในโลก...
คือมันต้องได้รับการขยายความก่อนว่า บุคคลไม่มี
ถ้าเราจะไปยกมาด้วนๆ เลย อ้าวท่านว่ามีบุคคลนี่!!
แบบนี้ใช้ไม่ได้
อันนี้คือ พยัญชนะว่ามีบุคคล แต่อัตถะคือไม่มี
หรือ "เธอทั้งหลายจงละรูปเสีย"
อันนี้ก็ต้องขยายความ คือไม่ใช่ให้ "ละรูป" แต่ให้ละ "ฉันทราคะในรูป"
คือ ถ้าไปเข้าใจว่าท่านให้ละรูป เสียง กลิ่น รส นี่คือกล่าวตู่
(ทั้งๆ ที่โดยพยัญชนะท่านก็พูดอย่างนั้นจริงๆ)
บุคคลบางคนกล่าวนีตัตถะเป็นเนยยัตถะ
บุคคลบางคนกล่าวเนยยัตถะเป็นนีตัตถะ
ชื่อว่า "กล่าวตู่"
เนยยัตถะนี่ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
ใครที่บอกว่า ต้องตามพระพุทธพจน์เป๊ะๆ
แสดงว่าไม่เข้าใจว่าพระสูตรมีทั้ง นีตัตถะ มีทั้ง เนยยัตถะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น