ถาม
ระลึกถึงความเกิด ไม่ค่อยจะรู้สึกว่าอะไรเกิด
ดูเลือนๆ ไม่ชัดใจ และจะไปแกล้งทำนึกถึงความดับ
จะเป็นประโยชน์อะไรจ๊ะ
ตอบ
นึกถึงความเกิดที่เลือนๆ ก็เป็นประโยชน์จ้ะ
เพราะเป็นเรื่องให้รู้ได้ว่า เป็นความเกิดขึ้นของความรู้สึกจริงๆ
เมื่อเปลี่ยนเรื่องใหม่ก็รู้ได้ว่า
ความรู้สึกเก่าดับไปแล้ว
ถาม
ที่ว่ารู้เรื่องเก่าดับไป เรื่องใหม่เกิดขึ้น
เมื่อทำความเห็นตามที่ว่ามานี้
สังเกตดูอัชฌาศัยใจคอก็เรื่อยๆ
ไม่เห็นเป็นอะไรเข้าได้
ตอบ/ถาม
แม่ทำความเห็นเรื่องเกิดดับนั้น
นึกถึงความเกิดอย่างไร
อัชฌาศัยใจคอจึงเรื่อยๆ
เล่าให้ฉันฟังที
ตอบ
เมื่อฉันคิดไปในเรื่องอะไร
ฉันก็นึกว่าเป็นความเกิดขึ้น
เมื่อเปลี่ยนเรื่องใหม่
ฉันก็นึกว่า เรื่องเก่าดับไป
เรื่องที่รู้อยู่จำเพาะหน้าเดี๋ยวนี้เป็นเรื่องเกิดใหม่
เรื่องใหม่นี้แล้วก็จะดับไปเหมือนเรื่องก่อนอย่างเดียวกัน
ถาม
ที่ไปนึกถึงเรื่องก่อนดับไปนั้น
ดับไปแต่ส่วนเรื่องที่ปรากฏกับความรู้
หรือส่วนความรู้ในเรื่องนั้นก็ดับไปพร้อมกันกับเรื่องนั้นด้วย
ตอบ
ฉันรู้สึกกับเรื่องที่ปรากฏกับความรู้สึกดับไปจ้ะ
แต่ความรู้สึกมารู้เรื่องใหม่
จึงรู้ได้ว่า เรื่องเก่าดับไป เรื่องที่รู้อยู่เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องใหม่เกิดขึ้น
อธิบาย
อ้อ กำหนดความเกิดดับอย่างนี้
ไม่ใช่วิธีทำทางปัญญา
เป็นวิธีทำทางสมาธิ
เพราะเห็นแต่เรื่องที่คู่กับความรู้สึกดับไปอย่างเดียว
ไม่เห็นความรู้สึกในเรื่องนั้นดับไปพร้อมกันด้วย
ถาม
กำหนดความเกิดดับทางปัญญานั้นทำอย่างไรจ๊ะ
ตอบ
การกำหนดทางปัญญานั้น
เมื่อรู้สึกเรื่องอะไรขึ้น ก็นึกว่าความรู้สึกนี้คงดับไป
เมื่อความรู้สึกในเรื่องนั้นดับไปแล้ว
เกิดความรู้สึกเกิดขึ้นในเรื่องใหม่
แล้วนึกถึงความรู้สึกเรื่องเก่าที่ดับไปแล้ว
มาเทียบดูกับความรู้สึกเรื่องใหม่ให้รู้ชัดว่า
ความรู้สึกเรื่องเก่าดับไปแล้วจริงๆ
ส่วนความรู้สึกเรื่องใหม่ก็รู้สึกขึ้นใหม่จริงๆ
ไม่ได้เกี่ยวกันกับความรู้สึกเรื่องเก่าเลย
แล้วคงดับไปเหมือนกัน
เมื่อเทียบดูรู้ชัดใจขึ้นขณะใด ขณะนั้นใจคงไม่เรื่อยๆ อยู่อย่างเดิม
คงรู้สึกแปลกใจไม่มากก็น้อยเป็นแน่
แล้วจำสัญญานั้นไว้
ต่อไปเมืื่อรู้สึกขึ้นในเรื่องอะไร
ก็นึกถึงสัญญาที่เห็นชัดนั้น
เอามาเทียบเป็นพยานร่ำไปว่า
ความรู้สึกในเรื่องอะไรทั้งสิ้นคงดับไปทั้งนั้น
เมื่อทำความรู้สึกเช่นนี้เนืองๆ อยู่
ใจก็ไม่ไปเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ความรู้สึกก็ช้าเข้าทุกที
เมื่อความรู้สึกช้าเข้า
ก็ยิ่งเห็นความเกิดชัดขึ้น
ไม่เลือนๆ เหมือนอย่างเดิม
ที่รู้ความเกิดดับเช่นนี้แหละ เรียกว่าได้ทำสัญญา
เป็นหนทางจะให้ปัญญาเกิดขึ้นต่อไป
หัดธรรมบทที่ 26
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563
ทางปฏิบัติของสัญญาและปัญญาในการรู้เกิดดับ
ครู
เชิญแม่ชี้แจงข้อปฏิบัติต่อไปเถิดจ้ะ
ศิษย์
การปฏิบัติก็ต้องตั้งสติทำสัญญา
ระลึกอยู่ที่ดับอย่างเดียว
เพราะเกิดเป็นตัวรู้สึกขึ้น ไม่ต้องระลึกก็คงรู้อยู่ตามธรรมดาแล้ว
เพราะแต่ก่อนรู้เกิดอยู่อย่างเดียว จึงต้องเติมดับเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อทำสัญญาดับมากขึ้นจนเท่ากับความเกิดได้
ภายหลังพอเห็นเกิดก็รู้ถึงดับด้วยทีเดียวพร้อมกัน
เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดเลยรู้ถึงดับพร้อมกัน
อย่างนี้แหละเรียกว่า ได้รู้ความตามเป็นจริงของความจริงแท้
เพราะของมีอยู่สองอย่าง ก็รู้ทั่วหมดสิ้นทั้งสองอย่าง
ครู
ที่เรียกว่าทำสัญญานึกถึงเกิดดับ
กับเห็นและรู้เกิดดับที่เรียกว่าปัญญานั้น ต่างกันอย่างไรจ๊ะ
ศิษย์
สัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว
ต้องนึกถึงดับเป็นสองขณะ
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าสัญญา
ปัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้น
ก็เลยรู้ถึงดับพร้อมกันขณะเดียว
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าปัญญา
หัดธรรมบทที่ 26
เชิญแม่ชี้แจงข้อปฏิบัติต่อไปเถิดจ้ะ
ศิษย์
การปฏิบัติก็ต้องตั้งสติทำสัญญา
ระลึกอยู่ที่ดับอย่างเดียว
เพราะเกิดเป็นตัวรู้สึกขึ้น ไม่ต้องระลึกก็คงรู้อยู่ตามธรรมดาแล้ว
เพราะแต่ก่อนรู้เกิดอยู่อย่างเดียว จึงต้องเติมดับเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อทำสัญญาดับมากขึ้นจนเท่ากับความเกิดได้
ภายหลังพอเห็นเกิดก็รู้ถึงดับด้วยทีเดียวพร้อมกัน
เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดเลยรู้ถึงดับพร้อมกัน
อย่างนี้แหละเรียกว่า ได้รู้ความตามเป็นจริงของความจริงแท้
เพราะของมีอยู่สองอย่าง ก็รู้ทั่วหมดสิ้นทั้งสองอย่าง
ครู
ที่เรียกว่าทำสัญญานึกถึงเกิดดับ
กับเห็นและรู้เกิดดับที่เรียกว่าปัญญานั้น ต่างกันอย่างไรจ๊ะ
ศิษย์
สัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว
ต้องนึกถึงดับเป็นสองขณะ
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าสัญญา
ปัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้น
ก็เลยรู้ถึงดับพร้อมกันขณะเดียว
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าปัญญา
หัดธรรมบทที่ 26
มี 2 รู้ 1 จึงเรียกหลง
ธรรมดาความจริงของคนก็มี
ความรู้สึกขึ้น ๑
กับความรู้สึกนั้นหายไป ๑
เป็นสองอย่างเท่านั้น
ไม่ว่าจะรู้สึกสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
ขึ้นชื่อว่าความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว
ความรู้สึกนั้นคงดับหายไปเป็นธรรมดา
อย่างนี้เรียกว่าธรรมดาของคน
เมื่อความจริงมีอยู่ ๒ อย่างดังที่ว่ามานี้
ธรรมดาของคนที่ไม่รู้ความจริง
ก็ไปรู้แต่เกิดอย่างเดียว
ความดับเท่ากันกับความเกิดไม่ได้รู้สึกด้วย
เมื่อไม่รู้สึกความดับเท่ากับความเกิดแล้ว
ก็ชื่อว่า รู้ผิดจากความจริง
คือของมีอยู่ ๒ สิ่งไปรู้แต่สิ่งเดียว จึงเรียกชื่อว่าหลง
เมื่อหลงคือรู้ไม่ทั่วในของจริงเป็นพื้นอยู่แล้ว
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องที่เขานิยมกันว่าดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกรักขึ้น
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องนิยมกันว่าไม่ดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกขึ้นก็ชัง
รวมใจความหลงที่ไม่รู้ทั่วในของจริงนี่แหละ
เป็นสิ่งสำคัญทำให้รักให้ชัง
หัดธรรมบทที่ 25
===
มีสอง รู้หนึ่ง จึงหลง
เกิดขึ้น ดับลง เป็นสอง
รู้เกิด เตลิดไถล ไม่มอง
ใฝ่ปอง จ้องเกิด ราคา
เห็นเกิด พึงหมาย ดับด้วย
กระทบสวย จึงรู้ อุเบกขา
เห็นเกิด ไม่เห็นดับ นำพา
โทสา โลภา มาจริง
ความรู้สึกขึ้น ๑
กับความรู้สึกนั้นหายไป ๑
เป็นสองอย่างเท่านั้น
ไม่ว่าจะรู้สึกสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
ขึ้นชื่อว่าความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว
ความรู้สึกนั้นคงดับหายไปเป็นธรรมดา
อย่างนี้เรียกว่าธรรมดาของคน
เมื่อความจริงมีอยู่ ๒ อย่างดังที่ว่ามานี้
ธรรมดาของคนที่ไม่รู้ความจริง
ก็ไปรู้แต่เกิดอย่างเดียว
ความดับเท่ากันกับความเกิดไม่ได้รู้สึกด้วย
เมื่อไม่รู้สึกความดับเท่ากับความเกิดแล้ว
ก็ชื่อว่า รู้ผิดจากความจริง
คือของมีอยู่ ๒ สิ่งไปรู้แต่สิ่งเดียว จึงเรียกชื่อว่าหลง
เมื่อหลงคือรู้ไม่ทั่วในของจริงเป็นพื้นอยู่แล้ว
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องที่เขานิยมกันว่าดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกรักขึ้น
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องนิยมกันว่าไม่ดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกขึ้นก็ชัง
รวมใจความหลงที่ไม่รู้ทั่วในของจริงนี่แหละ
เป็นสิ่งสำคัญทำให้รักให้ชัง
หัดธรรมบทที่ 25
===
มีสอง รู้หนึ่ง จึงหลง
เกิดขึ้น ดับลง เป็นสอง
รู้เกิด เตลิดไถล ไม่มอง
ใฝ่ปอง จ้องเกิด ราคา
เห็นเกิด พึงหมาย ดับด้วย
กระทบสวย จึงรู้ อุเบกขา
เห็นเกิด ไม่เห็นดับ นำพา
โทสา โลภา มาจริง
หัดธรรม วาจาสุภาษิต 5
ศิษย์
ถึงจะชี้แจงอย่างไร
เนื้อความและถ้อยคำของฉัน
คงอยู่ในร่มเงาของครูที่สั่งสอนแนะนำให้ฉันทั้งนั้น
ครู
แม่อย่าพูดเช่นนั้นไม่ถูก
สิ่งที่ครูชี้แจงแนะนำ ก็ชี้แจงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นแม่ควรจะพูดว่า อยู่ในร่มเงาของพระพุทธเจ้าดีกว่า
หัดธรรมบทที่ 25
ถึงจะชี้แจงอย่างไร
เนื้อความและถ้อยคำของฉัน
คงอยู่ในร่มเงาของครูที่สั่งสอนแนะนำให้ฉันทั้งนั้น
ครู
แม่อย่าพูดเช่นนั้นไม่ถูก
สิ่งที่ครูชี้แจงแนะนำ ก็ชี้แจงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นแม่ควรจะพูดว่า อยู่ในร่มเงาของพระพุทธเจ้าดีกว่า
หัดธรรมบทที่ 25
เห็นเกิดดับ vs ปล่อยวาง
ถาม
เห็นเกิดดับ กับปล่อยวางได้ ไม่ใช่อย่างเดียวกันหรือเจ้าคะ ?
อิฉันฟังดูเป็นเห็นเกิดดับแล้วจึงปล่อยวาง
ตอบ
อย่างนั้นสิจ๊ะ
ความเห็นเกิดดับเหตุ
ปล่อยวางได้เป็นผล
ถาม
ความเห็นเกิดดับเป็นเหตุ แล้วไม่ได้รับผลปล่อยวางมีบ้างหรือเจ้าคะ ?
ตอบ
มีจ้ะ
ใจมัวทำความรู้อยู่แต่เกิดดับยังไม่ทันปล่อยได้
มีอารมณ์อื่นมากระทบใจเข้า
ใจก็ทิ้งความรู้สึกเกิดดับเสีย
เผลอไปกับอารมณ์ใหม่จ้ะ
ถาม
ที่รู้สึกเกิดดับแล้ว เลยปล่อยได้มีความรู้สึกอย่างไรเจ้าคะ ?
ตอบ
ที่ปล่อยได้เพราะความรู้สึกเห็นตัวเองเกิดรู้ถึงดับ
เลยปล่อยตัวเองได้
จึงรวมเห็นทีเดียวเป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งเห็นเกิดเลยรู้ถึงดับ
ส่วนหนึ่งปล่อยวางไม่เกี่ยวกับเกิดดับ
ถาม
ความเห็นเกิดดับ กับ ปล่อยวางเกิดดับได้
สองอย่างนี้เห็นพร้อมกันทีเดียวได้หรือเจ้าคะ
ตอบ
เห็นได้จ้ะ
ความเห็นทีเดียวรวบรวมมาซึ่งความเกิดและดับทั้งสิ้น
กับเห็นความที่ไม่ยึดถือเกิดดับ
ก็รวมเห็นทีเดียวสองอย่าง คือ รู้สึกเกิดดับ กับปล่อยวางเกิดดับได้ ใจเฉยอยู่
หัดธรรมบทที่ 22
เห็นเกิดดับ กับปล่อยวางได้ ไม่ใช่อย่างเดียวกันหรือเจ้าคะ ?
อิฉันฟังดูเป็นเห็นเกิดดับแล้วจึงปล่อยวาง
ตอบ
อย่างนั้นสิจ๊ะ
ความเห็นเกิดดับเหตุ
ปล่อยวางได้เป็นผล
ถาม
ความเห็นเกิดดับเป็นเหตุ แล้วไม่ได้รับผลปล่อยวางมีบ้างหรือเจ้าคะ ?
ตอบ
มีจ้ะ
ใจมัวทำความรู้อยู่แต่เกิดดับยังไม่ทันปล่อยได้
มีอารมณ์อื่นมากระทบใจเข้า
ใจก็ทิ้งความรู้สึกเกิดดับเสีย
เผลอไปกับอารมณ์ใหม่จ้ะ
ถาม
ที่รู้สึกเกิดดับแล้ว เลยปล่อยได้มีความรู้สึกอย่างไรเจ้าคะ ?
ตอบ
ที่ปล่อยได้เพราะความรู้สึกเห็นตัวเองเกิดรู้ถึงดับ
เลยปล่อยตัวเองได้
จึงรวมเห็นทีเดียวเป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งเห็นเกิดเลยรู้ถึงดับ
ส่วนหนึ่งปล่อยวางไม่เกี่ยวกับเกิดดับ
ถาม
ความเห็นเกิดดับ กับ ปล่อยวางเกิดดับได้
สองอย่างนี้เห็นพร้อมกันทีเดียวได้หรือเจ้าคะ
ตอบ
เห็นได้จ้ะ
ความเห็นทีเดียวรวบรวมมาซึ่งความเกิดและดับทั้งสิ้น
กับเห็นความที่ไม่ยึดถือเกิดดับ
ก็รวมเห็นทีเดียวสองอย่าง คือ รู้สึกเกิดดับ กับปล่อยวางเกิดดับได้ ใจเฉยอยู่
หัดธรรมบทที่ 22
หัดธรรม ของเล่น
เรื่องเคร่งครัดหรือไม่เคร่งครัดเอาประมาณมิได้
เพราะแกล้งทำเอาได้
เรื่องทายใจ เรื่องเห็นไปได้ไกลๆ
นั้นไม่ใช่เรื่องทำให้กิเลสหมดไป
เป็นแต่วิชาที่เกิดจากใจที่สงบจากนิวรณ์เท่านั้น
หัดธรรมบทที่ 22
เพราะแกล้งทำเอาได้
เรื่องทายใจ เรื่องเห็นไปได้ไกลๆ
นั้นไม่ใช่เรื่องทำให้กิเลสหมดไป
เป็นแต่วิชาที่เกิดจากใจที่สงบจากนิวรณ์เท่านั้น
หัดธรรมบทที่ 22
หัดธรรม วาจาสุภาษิต 4
จะพูดเรื่องขัดเกลากิเลส
ต้องพูดเรื่องรู้สึกในร่างกายจิตใจของเรา
ถ้าฉันถามอะไรที่รู้สึกใจอย่างไร
ต้องบอกตามจริง อย่าทำสองเงื่อนสองเงา
บางทีคำถามอย่างนี้
รู้ชัดว่าเขาถามประสงค์อย่างนี้
แกล้งบิดเบือนไปเสียอย่างอื่น
เป็นอันทำลายความจริงและปิดความจริงตนเอง
ที่รู้ก็บอกว่ารู้ ที่ไม่รู้ต้องบอกว่าไม่รู้ดีกว่า
และอย่าพูดเรื่องที่จำไว้ที่ตนยังไม่รู้สึกจริงมาพูดหรือมาตอบเลยเป็นอันขาด
เรื่องพูด
ถ้าไม่ซักไซ้จนได้ความชัดเจน
จะพูดกันทำไม เสียเวลา
ไม่เป็นประโยชน์ทั้งผู้พูดผู้ฟัง
หัดธรรมบทที่ 22
ต้องพูดเรื่องรู้สึกในร่างกายจิตใจของเรา
ถ้าฉันถามอะไรที่รู้สึกใจอย่างไร
ต้องบอกตามจริง อย่าทำสองเงื่อนสองเงา
บางทีคำถามอย่างนี้
รู้ชัดว่าเขาถามประสงค์อย่างนี้
แกล้งบิดเบือนไปเสียอย่างอื่น
เป็นอันทำลายความจริงและปิดความจริงตนเอง
ที่รู้ก็บอกว่ารู้ ที่ไม่รู้ต้องบอกว่าไม่รู้ดีกว่า
และอย่าพูดเรื่องที่จำไว้ที่ตนยังไม่รู้สึกจริงมาพูดหรือมาตอบเลยเป็นอันขาด
เรื่องพูด
ถ้าไม่ซักไซ้จนได้ความชัดเจน
จะพูดกันทำไม เสียเวลา
ไม่เป็นประโยชน์ทั้งผู้พูดผู้ฟัง
หัดธรรมบทที่ 22
หัดธรรม วาจาสุภาษิต 3
ข้อ ๑
เมื่อพูด
ก็พูดให้เต็มความรู้ความเห็นของตน
ไม่ต้องถ่อมตน
ไม่ต้องยกตนให้ขาดให้เกินกับความรู้ความเห็นของตน
ข้อ ๒
มีผู้ออกความเห็นอย่างไร
ถึงจะไม่เห็นด้วย ก็อย่าปัดติเสียว่าผิด
เอาไปพูดติเตียนต่อในภายหลัง
ข้อ ๓
คำใดในใจเห็นว่าถูกแล้ว
ต้องรับว่าถูก อย่าอ้อมแอ้ม อึกอักแชเชือน
แกล้งหาเหตุมาโต้เถียง แก้เพลงขอไปที
ข้อ ๔
เมื่อคนหนึ่งกำลังพูดอยู่ คนทั้งหลายให้ฟัง
หาคำซักไซ้ให้ได้เต็มความเห็นของตนจนได้ความชัดเจน
จะยอมๆ ให้กันแล้ว แล้วไปแบบเกรงใจไม่ได้
ข้อ ๕
เมื่อโต้ตอบอย่าแสดงโทสะและคำเสียดสี
หัดธรรมบทที่ 9
เมื่อพูด
ก็พูดให้เต็มความรู้ความเห็นของตน
ไม่ต้องถ่อมตน
ไม่ต้องยกตนให้ขาดให้เกินกับความรู้ความเห็นของตน
ข้อ ๒
มีผู้ออกความเห็นอย่างไร
ถึงจะไม่เห็นด้วย ก็อย่าปัดติเสียว่าผิด
เอาไปพูดติเตียนต่อในภายหลัง
ข้อ ๓
คำใดในใจเห็นว่าถูกแล้ว
ต้องรับว่าถูก อย่าอ้อมแอ้ม อึกอักแชเชือน
แกล้งหาเหตุมาโต้เถียง แก้เพลงขอไปที
ข้อ ๔
เมื่อคนหนึ่งกำลังพูดอยู่ คนทั้งหลายให้ฟัง
หาคำซักไซ้ให้ได้เต็มความเห็นของตนจนได้ความชัดเจน
จะยอมๆ ให้กันแล้ว แล้วไปแบบเกรงใจไม่ได้
ข้อ ๕
เมื่อโต้ตอบอย่าแสดงโทสะและคำเสียดสี
หัดธรรมบทที่ 9
หัดธรรม วาจาสุภาษิต 2
ไม่ใช่พูดเพื่อบังคับให้เชื่อ
เป็นแต่โวหารโต้ตอบกันให้เรืองปัญญาเท่านั้น
จะมาเอาแพ้เอาชนะอะไรกันในเรื่องพูด
พูดดีพูดถูกพูดไม่มีใครสู้แล้วนะได้อะไรในเรื่องพูด
ถ้าคนฟังมาก
ก็ต้องว่าเรื่อยไปตามธรรม
จะให้เข้าใจทุกคนไม่ได้
แต่ถ้าพูดฟังกันตัวต่อตัว
ก็ต้องว่าให้ผู้ฟังเข้าใจทีเดียว
จะว่าเรื่อยไปจนคนฟังไม่รู้เรื่องอย่างนั้นไม่เป็นประโยชน์
ต้องระวัง
เมื่อพูดต้องหวังให้ผู้ฟังเข้าใจ
พูดแล้วต้องถามว่าเขาเข้าใจไหม
ถ้าไม่เข้าใจหรือไม่เต็มใจฟัง
ก็หาทางหยุดให้สนิท
อย่าให้เขารู้ว่าเรากระดาก พูดเพ้อจนเขาไม่อยากฟัง
หัดธรรมบทที่ 8
เป็นแต่โวหารโต้ตอบกันให้เรืองปัญญาเท่านั้น
จะมาเอาแพ้เอาชนะอะไรกันในเรื่องพูด
พูดดีพูดถูกพูดไม่มีใครสู้แล้วนะได้อะไรในเรื่องพูด
ถ้าคนฟังมาก
ก็ต้องว่าเรื่อยไปตามธรรม
จะให้เข้าใจทุกคนไม่ได้
แต่ถ้าพูดฟังกันตัวต่อตัว
ก็ต้องว่าให้ผู้ฟังเข้าใจทีเดียว
จะว่าเรื่อยไปจนคนฟังไม่รู้เรื่องอย่างนั้นไม่เป็นประโยชน์
ต้องระวัง
เมื่อพูดต้องหวังให้ผู้ฟังเข้าใจ
พูดแล้วต้องถามว่าเขาเข้าใจไหม
ถ้าไม่เข้าใจหรือไม่เต็มใจฟัง
ก็หาทางหยุดให้สนิท
อย่าให้เขารู้ว่าเรากระดาก พูดเพ้อจนเขาไม่อยากฟัง
หัดธรรมบทที่ 8
หัดธรรม วาจาสุภาษิต 1
คำเช่นใดเป็นเสี้ยนโสตรแก่ผู้ฟัง
ถึงเห็นแน่ใจว่าของตนถูก
ก็ไม่ควรยกของตนขึ้น
เป็นแต่อธิบายของตนไปให้สิ้นเชิงก็แล้วกัน
หัดธรรมหน้า 11
ถ้อยความเป็นเสี้ยนโสต
ละประโยชน์ลงทันควัน
ยกตนข่มเพื่อนกัน
เมตตาพลันลับลาไป
ทานใดชำระใจให้เอื้อเฟื้อ
คือบุญเหนือมลทิลอันยิ่งใหญ่
ศีลใดชำระความเบียดเบียนไป
คือบันไดก้าวใกล้พระนิพพาน
เมื่อชี้แจงพึงแจ้งในสื่งชี้
ไม่ริกรี้สิ่งไม่รู้ทู่ตัดสิน
ถ้าพุ่งหอกเข้ารกจะวกจินต์
เป็นราคินหม่นใจในวาจา
เมื่อไม่รู้อย่าเพิ่งรับเป็นถูกผิด
อย่าเพิ่งรั้นความคิดชนิดแน่
หากจำกัดในพิสัยคือจริงแท้
จะไม่แย่ถ้าแถตามแบบแผนไป
ถึงเห็นแน่ใจว่าของตนถูก
ก็ไม่ควรยกของตนขึ้น
เป็นแต่อธิบายของตนไปให้สิ้นเชิงก็แล้วกัน
หัดธรรมหน้า 11
ถ้อยความเป็นเสี้ยนโสต
ละประโยชน์ลงทันควัน
ยกตนข่มเพื่อนกัน
เมตตาพลันลับลาไป
ทานใดชำระใจให้เอื้อเฟื้อ
คือบุญเหนือมลทิลอันยิ่งใหญ่
ศีลใดชำระความเบียดเบียนไป
คือบันไดก้าวใกล้พระนิพพาน
เมื่อชี้แจงพึงแจ้งในสื่งชี้
ไม่ริกรี้สิ่งไม่รู้ทู่ตัดสิน
ถ้าพุ่งหอกเข้ารกจะวกจินต์
เป็นราคินหม่นใจในวาจา
เมื่อไม่รู้อย่าเพิ่งรับเป็นถูกผิด
อย่าเพิ่งรั้นความคิดชนิดแน่
หากจำกัดในพิสัยคือจริงแท้
จะไม่แย่ถ้าแถตามแบบแผนไป
short note 15 Jan 19
ภายใต้บารมีของพี่ ทำให้หนูได้ดิบได้ดีในวันนี้
มหาเวทย์ดูดดาว คนคนนี้มีข้อดีอะไร ดูดมาเป็นของตน
อัพเกรด ทักษะที่จำเป็น
อัพเกรด วิธีทำงาน
อัพเกรด ความเป็นผู้ตาม
อัพเกรด ความเป็นผู้นำ
อัพเกรด การเรียนรู้ decoding ดูดนิสัย ไม่ต้องหวงสันดานตัว เอานิสัยผู้หลักผู้ใหญ่มา
ดูด connection
เรียนวิชา coach fa diplomat
รัฐศาสตร์ strategy social skill how to think วิศวอุตสาหการ
5 ปีแรกหานาย
ใครคือเจ้านายจริงๆ
นายของนายคือใคร
อีก 5 ปีเขาจะไปตรงไหน
ผมจะแทนที่เขาได้เมื่อไร
คุณลองสอนงานหนู 1 เรื่อง
ขอดูประวัติการพัฒนาคน
เพื่อนพี่ที่ประสบความสำเร็จ
ใครบ้าง
You can blame me only once
จงงมงายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ถามคนเก่ง มึงทำไง
Purpose ต้องแรง พูดบ่อยๆ พลังจะมา
สัมมา dialogue สะท้อนรีเฟล็กซ์
สัมมากัมมันตะ ie technic
สัมมาอาชีพ AI แทนไม่ได้
สัมมาวายามะ อึดสัดๆ ทำเรื่องนี้ทำให้เสร็จ ยังไม่เสร็จอย่างเพิ่งเสือก
ฝึกสติ
สัมมาสมาธิ Feeling ส่งผลต่อกระบวนการ กระบวนการส่งผลต่อ result รักษาความชิลๆ key feeling indicator
มหาเวทย์ดูดดาว คนคนนี้มีข้อดีอะไร ดูดมาเป็นของตน
อัพเกรด ทักษะที่จำเป็น
อัพเกรด วิธีทำงาน
อัพเกรด ความเป็นผู้ตาม
อัพเกรด ความเป็นผู้นำ
อัพเกรด การเรียนรู้ decoding ดูดนิสัย ไม่ต้องหวงสันดานตัว เอานิสัยผู้หลักผู้ใหญ่มา
ดูด connection
เรียนวิชา coach fa diplomat
รัฐศาสตร์ strategy social skill how to think วิศวอุตสาหการ
5 ปีแรกหานาย
ใครคือเจ้านายจริงๆ
นายของนายคือใคร
อีก 5 ปีเขาจะไปตรงไหน
ผมจะแทนที่เขาได้เมื่อไร
คุณลองสอนงานหนู 1 เรื่อง
ขอดูประวัติการพัฒนาคน
เพื่อนพี่ที่ประสบความสำเร็จ
ใครบ้าง
You can blame me only once
จงงมงายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ถามคนเก่ง มึงทำไง
Purpose ต้องแรง พูดบ่อยๆ พลังจะมา
สัมมา dialogue สะท้อนรีเฟล็กซ์
สัมมากัมมันตะ ie technic
สัมมาอาชีพ AI แทนไม่ได้
สัมมาวายามะ อึดสัดๆ ทำเรื่องนี้ทำให้เสร็จ ยังไม่เสร็จอย่างเพิ่งเสือก
ฝึกสติ
สัมมาสมาธิ Feeling ส่งผลต่อกระบวนการ กระบวนการส่งผลต่อ result รักษาความชิลๆ key feeling indicator
อุจเฉททิฏฐิกับความหายป่วย
เพลินกับความคิดที่ว่ามันจะไม่มีอีกแล้ว
ไม่ต้องเจออีกแล้ว
เช่น ป่วยแล้วหายป่วย
สวดมนต์แล้วทุกข์หายก็ยินดีว่าเออฟาดเคราะห์หมดไปละ
เพลินภาวะที่ไม่มีอันนั้นๆ นึกว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
นึกว่ามันจะไม่มีอีกแล้ว (อุจเฉททิฏฐิ)
ไม่ต้องเจออีกแล้ว
เช่น ป่วยแล้วหายป่วย
สวดมนต์แล้วทุกข์หายก็ยินดีว่าเออฟาดเคราะห์หมดไปละ
เพลินภาวะที่ไม่มีอันนั้นๆ นึกว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
นึกว่ามันจะไม่มีอีกแล้ว (อุจเฉททิฏฐิ)
รู้มรรคเป็นมรรค
อารมณ์ฝ่ายสังขาร
ทำอะไรเกิดผลขึ้นมี เช่น ความสงบ ความรู้ความเห็น
ต้องกำหนดเป็นทุกขสัจ และกำหนดมรรคเป็นเหตุ (ต้องทำเพิ่มขึ้นไป)
ไม่งั้นอวิชชาแทรก
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย
ทำแล้วได้ผลขึ้นมาก็ต้องกำหนดว่าเป็นเหตุด้วย
ถ้าไม่กำหนดอวิชชาก็จะเข้าไปอยู่ในมรรค
ความรู้ต้องครบทั้ง 4 ประเด็น
ต้องรู้สมุทัยเป็นสมุทัย รู้นิโรธเป็นนิโรธ
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย ไม่ใช่แค่รู้ทุกข์เป็นทุกข์
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางท่านอารมณ์เหมือนไม่มีกิเลส
แต่ตราบเท่าที่ไม่แจ้งนิพพาน
กิเลสไม่เกิดทั้งชาติมันก็ยังไม่เที่ยง
ในสติปัฏฐานท่านจึงกันเอาไว้ว่า
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางคนศีลดี วัตรดี กิเลสไม่ค่อยเกิด
ก็เข้าใจไปว่าจิตบริสุทธิ์ แม้ทำได้ทั้งชาติ
พอตายลง ชาติหน้ากิเลสก็เกิดใหม่
สิ่งที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์มีเพียงมรรคแปด
และต้องเป็นมรรคแปดแบบมารวมกันด้วยไม่ใช่มรรคแปดแบบโลกิยะ
ตรงนี้ต้องแม่น
ถ้าแบบโลกิยะ เช่น พวกสติปัฏฐาน
มันจะละได้เฉพาะแบบตทังคะ และ วิกขัมภนะ
พอไม่กำหนด มรรคที่สร้างขึ้นมา
จะหลงว่า "เราบริสุทธิ์ขึ้น" อันนี้ไม่ใช่นะ
สิ่งที่สร้างขึ้นกำหนดเป็นเหตุ
หน้าที่ต่อเหตุคือต้องทำให้เจริญขึ้น
ส่วนผลกำหนดเป็นทุกขสัจ เรื่อยไปจนถึงนิพพาน
ไม่รู้อะไรก็ได้ในอริยสัจ ก็เป็นอวิชชา
จะไปนิพพาน แต่ไม่กำหนดนิพพานก็เป็นอวิชชา
ฉันก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
อันนี้ก็เป็นอวิชชาเพราะไม่กำหนดนิพพานว่าเป็นเป้าหมาย
บางคนพูดดี นิพพานอยากไม่อยากก็ถึง
อันนี้ก็โง่ที่ไม่กำหนดเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าสอนแล้วสอนอีก
ให้จิตเอียงไปนิพพาน สอนจะจะขนาดนี้ยังจะไปเฉยๆ อยู่ได้
ภาวนามันก็จะสบายไปเรื่อย
สบายไปเรื่อยมันก็คือทุกขสัจนั่นแหละที่มันเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ละเอียดขึ้น
วิธีจึงต้องเดินไปเรื่อย
และต้องกำหนดมรรคเป็นมรรคด้วย
ไม่งั้นมันก็ไม่เดิน มันก็คาอยู่ที่เดิม
ทำอะไรเกิดผลขึ้นมี เช่น ความสงบ ความรู้ความเห็น
ต้องกำหนดเป็นทุกขสัจ และกำหนดมรรคเป็นเหตุ (ต้องทำเพิ่มขึ้นไป)
ไม่งั้นอวิชชาแทรก
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย
ทำแล้วได้ผลขึ้นมาก็ต้องกำหนดว่าเป็นเหตุด้วย
ถ้าไม่กำหนดอวิชชาก็จะเข้าไปอยู่ในมรรค
ความรู้ต้องครบทั้ง 4 ประเด็น
ต้องรู้สมุทัยเป็นสมุทัย รู้นิโรธเป็นนิโรธ
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย ไม่ใช่แค่รู้ทุกข์เป็นทุกข์
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางท่านอารมณ์เหมือนไม่มีกิเลส
แต่ตราบเท่าที่ไม่แจ้งนิพพาน
กิเลสไม่เกิดทั้งชาติมันก็ยังไม่เที่ยง
ในสติปัฏฐานท่านจึงกันเอาไว้ว่า
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางคนศีลดี วัตรดี กิเลสไม่ค่อยเกิด
ก็เข้าใจไปว่าจิตบริสุทธิ์ แม้ทำได้ทั้งชาติ
พอตายลง ชาติหน้ากิเลสก็เกิดใหม่
สิ่งที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์มีเพียงมรรคแปด
และต้องเป็นมรรคแปดแบบมารวมกันด้วยไม่ใช่มรรคแปดแบบโลกิยะ
ตรงนี้ต้องแม่น
ถ้าแบบโลกิยะ เช่น พวกสติปัฏฐาน
มันจะละได้เฉพาะแบบตทังคะ และ วิกขัมภนะ
พอไม่กำหนด มรรคที่สร้างขึ้นมา
จะหลงว่า "เราบริสุทธิ์ขึ้น" อันนี้ไม่ใช่นะ
สิ่งที่สร้างขึ้นกำหนดเป็นเหตุ
หน้าที่ต่อเหตุคือต้องทำให้เจริญขึ้น
ส่วนผลกำหนดเป็นทุกขสัจ เรื่อยไปจนถึงนิพพาน
ไม่รู้อะไรก็ได้ในอริยสัจ ก็เป็นอวิชชา
จะไปนิพพาน แต่ไม่กำหนดนิพพานก็เป็นอวิชชา
ฉันก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
อันนี้ก็เป็นอวิชชาเพราะไม่กำหนดนิพพานว่าเป็นเป้าหมาย
บางคนพูดดี นิพพานอยากไม่อยากก็ถึง
อันนี้ก็โง่ที่ไม่กำหนดเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าสอนแล้วสอนอีก
ให้จิตเอียงไปนิพพาน สอนจะจะขนาดนี้ยังจะไปเฉยๆ อยู่ได้
ภาวนามันก็จะสบายไปเรื่อย
สบายไปเรื่อยมันก็คือทุกขสัจนั่นแหละที่มันเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ละเอียดขึ้น
วิธีจึงต้องเดินไปเรื่อย
และต้องกำหนดมรรคเป็นมรรคด้วย
ไม่งั้นมันก็ไม่เดิน มันก็คาอยู่ที่เดิม
息怒
王爷息怒
我等带世子来县衙
也是为了他的声誉着想
如今所有人都怀疑世子是凶手
倘若李大人不作为
将世子放了
恐怕难堵悠悠众口
反倒会引得流言四起
无中生有
不如请世子占据县衙
我等尽快查明真相
还世子一个清白
也不至于让世子落人口舌
影响了前程
我等带世子来县衙
也是为了他的声誉着想
如今所有人都怀疑世子是凶手
倘若李大人不作为
将世子放了
恐怕难堵悠悠众口
反倒会引得流言四起
无中生有
不如请世子占据县衙
我等尽快查明真相
还世子一个清白
也不至于让世子落人口舌
影响了前程
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)