วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

รู้มรรคเป็นมรรค

อารมณ์ฝ่ายสังขาร

ทำอะไรเกิดผลขึ้นมี เช่น ความสงบ ความรู้ความเห็น
ต้องกำหนดเป็นทุกขสัจ และกำหนดมรรคเป็นเหตุ (ต้องทำเพิ่มขึ้นไป)
ไม่งั้นอวิชชาแทรก

รู้มรรคเป็นมรรคด้วย
ทำแล้วได้ผลขึ้นมาก็ต้องกำหนดว่าเป็นเหตุด้วย

ถ้าไม่กำหนดอวิชชาก็จะเข้าไปอยู่ในมรรค

ความรู้ต้องครบทั้ง 4 ประเด็น
ต้องรู้สมุทัยเป็นสมุทัย รู้นิโรธเป็นนิโรธ
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย ไม่ใช่แค่รู้ทุกข์เป็นทุกข์

จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น

บางท่านอารมณ์เหมือนไม่มีกิเลส
แต่ตราบเท่าที่ไม่แจ้งนิพพาน
กิเลสไม่เกิดทั้งชาติมันก็ยังไม่เที่ยง

ในสติปัฏฐานท่านจึงกันเอาไว้ว่า
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางคนศีลดี วัตรดี กิเลสไม่ค่อยเกิด
ก็เข้าใจไปว่าจิตบริสุทธิ์ แม้ทำได้ทั้งชาติ
พอตายลง ชาติหน้ากิเลสก็เกิดใหม่

สิ่งที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์มีเพียงมรรคแปด
และต้องเป็นมรรคแปดแบบมารวมกันด้วยไม่ใช่มรรคแปดแบบโลกิยะ
ตรงนี้ต้องแม่น

ถ้าแบบโลกิยะ เช่น พวกสติปัฏฐาน
มันจะละได้เฉพาะแบบตทังคะ และ วิกขัมภนะ

พอไม่กำหนด มรรคที่สร้างขึ้นมา
จะหลงว่า "เราบริสุทธิ์ขึ้น" อันนี้ไม่ใช่นะ

สิ่งที่สร้างขึ้นกำหนดเป็นเหตุ
หน้าที่ต่อเหตุคือต้องทำให้เจริญขึ้น
ส่วนผลกำหนดเป็นทุกขสัจ เรื่อยไปจนถึงนิพพาน

ไม่รู้อะไรก็ได้ในอริยสัจ ก็เป็นอวิชชา
จะไปนิพพาน แต่ไม่กำหนดนิพพานก็เป็นอวิชชา

ฉันก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
อันนี้ก็เป็นอวิชชาเพราะไม่กำหนดนิพพานว่าเป็นเป้าหมาย

บางคนพูดดี นิพพานอยากไม่อยากก็ถึง
อันนี้ก็โง่ที่ไม่กำหนดเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าสอนแล้วสอนอีก
ให้จิตเอียงไปนิพพาน สอนจะจะขนาดนี้ยังจะไปเฉยๆ อยู่ได้

ภาวนามันก็จะสบายไปเรื่อย
สบายไปเรื่อยมันก็คือทุกขสัจนั่นแหละที่มันเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ละเอียดขึ้น

วิธีจึงต้องเดินไปเรื่อย
และต้องกำหนดมรรคเป็นมรรคด้วย
ไม่งั้นมันก็ไม่เดิน มันก็คาอยู่ที่เดิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น