วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

สงฺวตฺตติ

 แปล ทั่วไปคือ ทำให้เป็นไป
 หรือจะแปลโดยโวหารว่า นำมาซึ่ง ก็ได้

เช่น 

ปีติ ปสฺสทฺธิยา สงฺวตฺตติ
ปสฺสทฺธิ โสมนสฺสาย สงวตฺตติ

การเขียนในลักษณะแบบนี้ คือ ศีลเป็นเหตุแบบไปเป็นทอดๆ ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรง

สีลํ ... 

โสมฺนสฺสํ อาเสวนาย สงฺวตฺตติ
โสมนัส นำมาซึ่ง อาเสวนะ (การเสพสมาธิ, การเจริญบ่อยๆ ซึ่งสมาธิ, การทำให้สมาธิมีพลัง)

อาเสวน ภาวนาย สงฺวตตติ
ภาวนาตัวนี้ก็มาจาก อาเสวนา ดังนั้นการหมั่นฝึกสมาธิ (หมั่นเสพ) ก็ทำให้ สมาธินั้นเติบโต

ภาวนา พหุลีกมฺมาย สงฺวตฺตติ
อะไรที่มันไม่มาก แล้วทำให้มาก จะลง อี ปัจจัย
เหมือนทำให้เกิดครั้งแรก เป็นภาวนา 
พอทำให้เกิดขึ้นบ่อยเข้าก็กลายเป็น พหุลีกมฺมา

พหุลีกมฺมํ อลงฺการาย สงฺวตฺตติ
ทำให้มากเพื่อทำให้มันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
องค์ธรรมของอลังการตรงนี้ คืออินทรีย์ 5 
เพื่อให้เกิดซึ่งอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
(แปลตามวิสุทธิมคฺมหาฎีกา) ถ้าแปลเองว่าเครื่องประดับจะไม่รู้เรื่องเลย
การจะเข้าถึงเนื้อความที่ไม่ได้แสดงไว้ในตัวอักษรนี่ต้องเข้าถึง พยาส/วยาส 
(หมายถึง คัมภีร์อธิบาย)

อลงฺกาโร ปริกฺขาราย สงฺวตฺตติ
อินทรีย์ เป็นเครื่องช่วย, เป็นตัวช่วย (บริขาร)
ถ้าเราต้องการได้สมาธิ ก็ดูเลยอะไรที่เป็นตัวช่วยมาตั้งแต่ต้น ที่เขียนร่ายมา เรียกว่าเป็นบริขาร หรือเป็นสัมภาระของสมาธิ

ปริกขาโร บริวาราย สงฺวตฺตติ
จริงๆ คำก็จะใกล้ๆ กัน อลังการ บริขาร บริวาร
บริวาร คือธรรมที่ห้อมล้อม

ปริวาโร ปาริปูริยา สงฺวตฺตติ
ถึงซึ่งความเป็น วสีภาว คือ ปาริปูริ ความบริบูรณ์แห่งสมาธิ

ปราโมช

ปราโมช องค์ธรรมคือ ปีติเจตสิกที่มีกำลังน้อย

ถ้าแปล ก็ประมาณ ปลื้ม 

เอวรูปํ

เอวรูปํ ไม่ใช่ ที่มีรูปอย่างนี้

แต่หมายถึง ที่มีสภาพอย่างนี้

ปหายกะ vs ปหาตัพพะ

ปหาตัพพะ = ผู้ถูกละ 
ปหายกะ = ผู้ละ

ในทางพุทธฝ่ายกุศลจะเป็นปหายกะ เราจะไม่พูดกลับกัน

ปหายกะ องค์ธรรมจะเท่ากับ ภาเวตัพพธรรม
เช่น

  • ศีล ละทุจริต 10
  • เนกขัมมะ ละกามฉันทะ
  • อาโลกสัญญา ละถีนมิทธะ
  • อวิกเขปะ (สมาธิ ละอุทธัจจะ
  • ธัมมววัตถาน ละวิจิกิจฉา
  • ญาณ ละอวิชชา
  • ปาโมชช ละอรติ
  • อนิจจานุปัสสนา ละนิจจสัญญา
  • ทุกขานุปัสสนา ละสุขสัญญา
  • มหาวิปัสสนา 18 ก็จะมีละกันเป็นคู่ๆ ไป

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา

 มักจะได้ยินบ่อยๆ ในพระสูตร
"เมื่อจิตสงบ ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา"

ทำไมต้องยก?

บางคนคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ สำคัญมาก

จิตโดยสันดานโดยมากมักชอบประมาท
และสมาธิมันเป็นฝ่ายของความขี้เกียจ
(สมาธิไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่เป็นฝ่ายของความขี้เกียจ)
มันไม่ได้ขี้เกียจนะ ขยันอยู่ แต่ขยันเข้าสมาธิ 
ขยันสบายนั่นแหละว่าง่ายๆ
พอสบายมันก็เลิกทำงาน เลยเรียกเป็นฝ่ายขี้เกียจ

พอสบาย จะให้ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
ก็จะไม่ชอบยก ไม่ชอบพิจารณา
สักหน่อยก็จะเริ่มนึกตามใจชอบ

"ตอนนี้เราสบายแล้ว ก็ค่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็บรรลุเองแหละ" มันว่า

กิเลสเริ่มได้ช่อง
บรรลุเองไม่มีหรอก
มีแต่พิจารณาจนยอมรับนั่นแหละจึงบรรลุ

แต่พอได้สมาธิสบายแล้วมันจะชอบพูด
แล้วมันก็เข้ากันพอดี
มันจะพาสบาย ไปเรื่อยๆ

มันก็จะไม่เข้าหลักของธรรมของพระพุทธเจ้า
เพราะธรรมของพระพุทธเจ้ารวมลงในความไม่ประมาท
แต่อันนี้ดันรวมลงในความประมาทซะแล้ว

แต่วิปัสสนานี่มันจะเกิดความสังเวช
เตือนขึ้นมาว่าให้รีบทำกิจที่ยังไม่จบนี่ให้มันจบเสีย
แต่แน่นอนตอนทำมันก็มีเหนื่อย
เลยต้องมีสมาธิไว้พัก

สมาธิเลยมีเพื่อสนับสนุนวิปัสสนานั่นเอง


qi pa shuo

勇于索取
能被拒绝

ต้องการอะไรก็ไขว่คว้า
และก็ให้รู้ด้วยว่าอาจจะถูกปฏิเสธก็ได้

บางคนติดอยู่ที่ท่อนแรก
บางคนติดอยู่ที่ท่อนหลัง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

addressing what happened

it's not about assigning blame
it's about addressing what happened
so that everyone can move forward
and understand why things need tobe fixed
or how they got there in the first place

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

เนกขัมมะ

อธิบายตาม ปรมัตถมัญชูสา (ฎีกาของวิสุทธิมรรค)

เนกฺขมฺเมนาติ = อโลภปธาเนน กุสลจิตฺตุปาเทน 

องค์ธรรมของเนกขัมมะ คือ กุศลจิตและเจตสิก ที่มีอโลภะเป็นประธาน

ปหายกะ ผู้ละ = เนกขัมมะ
ปหาตัพพะ ผู้ถูกละ = กามฉันทะ



ศีล 5 (ปัญจกศีล 47) : กรรมบถศีล 10/ปุพพภาคศีล 5/มหาวิปัสสนาศีล 18/มรรคศีล 4

ศีล 5
  1. ปหาน การละ ชื่อว่าศีล
  2. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
  3. เจตนา ควาามจงใจ ชื่อว่าศีล 
  4. สังวร ความระวัง ชื่อว่าศีล
  5. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล
กรรมบถศีล 10
การละ การงดเว้น การจงใจ การระวัง การไม่ล่วงละเมิด ซึ่ง กรรมบถ 10 ชื่อว่าศีล

ปุพพภาค 2 สาย
  • ของฌาน ได้แก่ การละนิวรณ์ ด้วยศีล 5
  • ของอริยมรรค ได้แก่ วิปัสสนาญาณ
ปุพพภาคศีล 5
ปุพพภาคของฌาน
  1. เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าศีล
    (เนกขัมมะ = กุศลจิตตุปบาทที่มีอโลภะเป็นประธาน)
  2. อพฺยาปาเทน พฺยาปาทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งพยาบาท ด้วยอพยาบาท
  3. อาโลกสญฺญาย ถีนมิทธสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. อวิกเขป อุทธจสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอุทธัจจะ ด้วยความไม่ซัดส่าย ชื่อว่าศีล
    (อวิกเขป เป็นชื่อของสมาธิ)
  5. ธมฺมววตฺถาเนน วิจิกิจฺฉาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความสงสัย ด้วยธัมววัตถานญาณ ชื่อว่าศีล
    (ววตฺถาน = การตัดสินแบบเฉียบขาด)

อุบาย 2 / ปฏิปทา
  1. ญาเณน อวิชฺชาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอวิชชา ด้วยญาณ ชื่อว่าศีล
    (ญาณ คือปัญญาอันเป็นเหตุให้ได้มรรค)
  2. ปามุชฺเชน อรติยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอรติ ด้วยปราโมช ชื่อว่าศีล
    (อรติ คือความไม่ยินดีในฌาน)
ในเวลาเข้าวิปัสสนา จะเอาสังขารเป็นอารมณ์ คือเอารูป-นามเป็นอารมณ์ แต่ถ้ายังมองเป็นบัญญัติ หรือเป็นบุคคลอยู่ วิปัสสนาจะยังไม่เกิด
ปหายก - ผู้ละ (ฝ่ายกุศล)
ปหาตัพพะ - ผู้ถูกละ (ฝ่ายอกุศล) ส่วนมากจะมุ่งถึงมิจฉาทิฏฐิ
ลักษณะของความตรงข้ามเป็นอย่างนี้ (ปฏิปกฺข) คืออยู่ด้วยกันไม่ได้

มหาวิปัสสนาศีล 18 (ทำไมนับได้ 19 ล่ะ)
  1. อนิจฺจานุปสฺสนาย นิจฺจสญฺญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความเข้าใจผิดที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน (เป็นมิจฉาสัญญา) ด้วยอนิจฺจานุปัสสนา (ปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยงในเตภูมิกธรรม - ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 คือไม่นับนิพพาน ไม่นับบัญญัติ) ชื่อว่าศีล
  2. ทุกฺขานุปสฺสนาย สุขสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล การละ ซึ่งสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
  3. อนตฺตานุปสฺสนาย อตฺตสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอัตตสัญญา (ความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขา) ด้วยอนัตตสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. นิพฺพิทานุปสฺสนาย นนฺทิยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งนันทิ (ราคะ = ตัณหา = โลภเจตสิก) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ปัญญาที่มองเห็นความเบื่อหน่ายในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  5. วิราคานุปสฺสนาย ราคสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา (ปัญญาเกิดขึ้นโดยอาการคลายความยึดมั่นถือมั่น ละความยินดีในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  6. นิโรธานุปสฺสนาย สมุทยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งสมุทัย (ตัณหาที่เป็นเหตุเกิด, หรือแปลว่าการเกิดก็ได้) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (การมองเห็นการดับแห่งสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  7. มุญฺจิตุกามฺยตานุปสฺสนาย อมุญฺจิตุกามฺยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล
  8. ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาย อาทานสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการถือเอา ด้วยการพิจารณาการสลัดออกซึ่งสังขารท. ชื่อว่าศีล 
  9. ขยานุปสฺสนาย ฆนสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งฆนสัญญา (การมองเห็นเป็นกลุ่มก้อน เป็นมือ เป็นแขน เป็นขา เป็นต้น) ด้วยญาณที่มองเห็นการสิ้นไป ชื่อว่าศีล
  10. วยานุปสฺสนาย อายูหนสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการปรุงแต่ง, การสร้างขึ้น, การประกอบขึ้น ด้วยญาณพิจารณาความเสื่อมไป ชื่อว่าศีล
  11. วิปริณามานุปสฺสนาย ธุวสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งธุวสัญญา ด้วยการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารท. ชื่อว่าศีล
  12. อนิมิตฺตานุปสฺสนาย นิมิตฺตสฺส ปหานํ สีลํ 
  13. อปฺปณิหิตานุปสฺสนาย ปณิธิยา ปหานํ สีลํ 
  14. สุญฺญตานุปสฺสนาย อภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  15. อธิปณญฺาธมฺมวิปสฺสนาย สาราทานาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  16. ยถาภูตญาณทสฺสเนน สมฺโมหาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความใส่ใจอย่างงมงายลุ่มหลง หลงทาง
    (อภินิเวส = การทำไว้ในใจ = มนสิการ) ด้วยการเพ่งพินิจพิจารณาตามความเป็นจริง
    เป็นอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้น ที่ภาวนาจนมั่นคงแล้ว มีพลังแล้ว
    (จริงๆ คำนี้ในที่อื่นอาจความหมายกว้าง เช่น รวมไปถึงสัพพัญญุตญาณด้วย ก็เรียกยถาภูตญาณทัสสนะ) ชื่อว่าศีล
  17. อาทีนวานุปสฺสนาย อาลยาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการใส่ใจด้วยอาลัย, ห่วงแหนสังขาร, เป็นห่วงเป็นใยในสังขารท. ทำอะไรก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่ทุ่มเท ทิ้งไม่ได้ (องค์ธรรมคือ โลภะ) ด้วยการพิจารณาเพ่งดูให้รู้ถึงโทษ แต่ไม่ใช่การไปสร้างไปบิ้วด์ ผิวๆ เผินๆ ชื่อว่าศีล
  18. ปฏิสงฺขานุปสฺสนาย อปฺปฏิสงฺขาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการไม่พิจารณา (อกุศลจิตตุปบาท (หรืออกุศลธรรมท.) ที่มีโมหะเป็นประธาน ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับการใช้ปัญญาพิจารณา) ด้วยการพิจารณาเนืองๆ (ถ้านานๆ ครั้งจะไม่มีพลัง) ชื่อว่าศีล
  19. วิวฏฏฺฏานุปสฺสนาย สํโยคาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการยึดมั่นในสังขารท.โดยความเป็นสิ่งที่ผูกพัน ด้วยอำนาจของสังโยชน์ (สังโยชน์ คือ ความอาลัย ความยึดติด) ด้วยปัญญาที่พิจารณาเห็นพระนิพพาน (วิปัสสนาไม่ได้เห็นนิพพาน แต่เรียกว่าเป็นการน้อมไปเนืองๆ) ชื่อว่าศีล (อะไรที่กลมๆ เรียกว่า วัฏฏะ, วฏฺฏโต วิคตํ วิวฏฺฏํ ภาวะที่ปราศจากวัฏฏะ เรียกว่า วิวัฏฏะ คือ นิพพาน)(ถ้ามองในแง่ญาณ 16 จะเป็นขั้น สังขารุเปกขาญาณ เพิกเฉยในสังขาร และ อนุโลมญาณ)
มรรคศีล 4
  1. โสตาปตฺติมคฺเคน ทิฏฺเฐกฏฺฐานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละซึ่งทิฏฐิและกิเลสที่เป็นฐานเดียวกับทิฏฐิ
    (ทิฏฐิ + เอกฏฺฐ = กิเลสที่เป็นฐานเดียวกันกับทิฏฐิ
    (ฐานเดียวกัน คือ โดยความเป็นสหชาติ, หรือเป็นกิเลสที่ละด้วยญาณระดับเดียวกัน)
    ด้วยโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าศีล
  2. สกทาคามิมคฺเคน โอฬาริกานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่หยาบ
    (คือ หยาบเมื่อเทียบกับกิเลสที่จะต้องละด้วยอนาคามีและอรหัตตมรรค,
    แต่จริงๆ กิเลสที่ละด้วยชั้นนี้ย่อมละเอียดกว่ากิเลสที่ละด้วยโสดาปัตติมรรค)
    ด้วยสกทาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  3. อนาคามิมคฺเคน อณุสหคตานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสอณู (อณุ แปลว่า ละเอียด,
    เปรียบเทียบด้วยกิเลสที่ละได้โดยโสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค)
    ด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  4. อรหตฺตมคฺเคน สพฺพกิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่เหลือ (ไม่ได้ไปละกิเลสที่ชั้นต้นๆ ละมาแล้วซ้ำ)
    ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

เชิดสิงโต

เมื่อสติรับรู้อารมณ์กรรมฐาน มันก็ไม่รับรู้ความชอบความชัง


สติปัฏฐานเหมือน เสา 4 เสา เชิดสิงโต
อะไรชัดย้ายสติไปดูอารมณ์นั้นเลย ผู้ชำนาญในสติปัฏฐานทำอย่างนี้

อุบายต่างๆ นั่นคือวิธีผูกสติไว้กับปัฏฐาน

มันอาจจะอยู่ในฐานเดียว แต่อาจไม่เป็นอารมณ์เดียว
วิ่งไปวิ่งมาในกาย ไม่เป็นสมาธิ 

พยาบาท vs วิหิงสา

พยาปาท สงกปฺโป เขาทำเรา เราทำคืน

วิหิงสา สงกปฺโป เขาทำไม่ทำ เราจะทำเขา

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

บริโภค 4

  • การบริโภคของโจร : การบริโภคของผู้ทุศีล 
  • การบริโภคของผู้เป็นหนี้ : การบริโภคของผู้มีศีลแต่ไม่ได้พิจารณา
  • การบริโภคของทายาท : การบริโภคของพระเสขะ
  • การบริโภคของเจ้าของ : การบริโภคของพระอรหันต์
เจ้าของย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นหนี้ใคร จะไปไหนก็ไป
ส่วนผู้ที่มีหนี้ ถ้ายังใช้หนี้ไม่หมด เจ้าหนี้ก็ไม่ปล่อยเธอไปโดยง่าย

NbN เจ้าหนี้คือตัณหา

ความหมายเดียวกัน

 ปัจจเวก = สังขายะ = ปฏิสังขายะ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

คำศัพท์ในวินัย

  • นิคคหกรรม การชี้ผิด คาดโทษ (ถ้าปัคคหกรรม คือชี้ชม)
  • ลงนิคคหกรรม การลงโทษ 
  • ตัชชนียกรรม ชี้โทษ การขู่ ต้องทัณฑ์บน ถ้าทำซ้ำอีกจะอย่างนี้ๆๆ เรียกไปเตือน
  • นิยสกรรม ถอดยศ เช่น พระถูกมอบหมายแต่งตั้งให้ทำหน้าที่นี้ๆๆ ดูแลนี้ๆๆ ให้ระงับการทำหน้าที่
  • ปัพพาชนียกรรม การขับไล่ ออกไปก่อนไปแก้ไขแล้วค่อยกลับมาใหม่
  • ปฏิสาราณียกรรม พยายามพูด กล่อม ชี้โทษ ให้ได้สติกลับคืนรับผิดรับชอบ
  • อุกเขปนียกรรม ยกออกจากหมู่ ไม่ให้ใครพูดด้วย ไม่ให้ใครไปหา ไม่เกื้อกูล คว่ำบาตรนั่นเอง
  • ปริวาส บุคคลผู้หวังความบริสุทธิ์ให้ตนเอง ติดคุก และประพฤติวัตร 94 ข้อ จำพวก ห้ามไปบวชใคร ห้ามไปสอนใคร ห้ามตำหนิ ห้ามออกความเห็น ห้ามเณรอุปักฐาก ห้ามผิดซ้ำ ห้ามผิดที่หนักกว่าเดิม (หนักกว่านี้ก็ปาราชิกแล้ว) ห้ามกล่าวหา ห้ามตัดสินใคร ห้ามทะเลาะ ห้ามเรียกร้อง ห้ามเดินนำหน้า ห้ามเดินตามหลังพระปกติ ห้ามนั่งขวางหน้าพระปกติแม้จะพรรษาน้อยกว่า ห้ามให้พระอื่นมาเล่า ห้ามสมาทานธุดงค์อยู่ป่า (ต้องอยู่ในสายตาอาจารย์) ห้ามบ่นเสนาสนะสุดท้าย ถ้าไปที่ไหนต้องบอกให้เขารู้ ถ้ามีแขกมาวัดต้องบอกให้พระรู้ด้วยว่าติดปริวาส ไปคลุกคลีกับภิกษุที่ต้องปริวาสด้วยกันไม่ได้ ห้ามนั่งที่เดียวกัน ห้ามเดินจงกรมที่เดียวกัน ฯลฯ
  • ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ขอให้เขาทำนั่นทำนี่ ขออนุญาตนั่นนี่ เรียกร้องนั่นนี่
  • ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาณ คืออยู่ปริวาสครบแล้ว สงฆ์กำลังจะรับเข้าเป็นปกติสงฆ์ดังเดิม
  • วัตตเภท วัตร 94 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งพลาด ต้องอาบัติ แต่ไม่ต้องนับวันใหม่
  • รัตติเฉท ต้องอาบัติและต้องนับวันใหม่
  • ปกตัตตภิกษุ ภิกษุปกติที่ไม่ต้องปริวาส
  • สหวาสะ ไปอยู่ร่วมกับคนอื่น เช่น อาสนะเดียวกัน มุง
  • วิปปวาสะ การอยู่ปราศ อยู่โดยไม่มีผู้คุม 
  • อนาโรจนา ไม่ยอมบอกว่ากำลังติดปริวาส
  • สุกกวิสัฏฐิ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
  • อธิกรณสมถะ การระงับอธิกรณ์
  • วิวาทาธิกรณ์ วิวาทกันเรื่องธรรมวินัย เช่น โจทกันว่าเธอต้องอาบัตินี้ๆ อีกรูปบอก ไม่ๆ แบบนี้ไม่ต้องอาบัติ
  • อนุวาทาธิกรณ์ เข้าข้างคนทะเลาะ
  • สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์โดย เรียกมาคุยกันต่อหน้าทั้ง 2 ฝ่ายให้มันจบ
  • เยภุยยสิกา วิธีระงับอธิกรณ์โดย ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ (ถ้าตัดสินไม่ได้) 
  • อมูฬหวินัย ทำผิดตอนเสียสติ วิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติตอนเป็นบ้า
  • สติวินัย พระอรหันต์ทำผิดวินัย วิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
  • ตัสสปาปิยสิกา ลงโทษตามที่สารภาพ
  • ปฏิญญาตกรณะ ให้รับผิดตามหลักฐาน
  • ติณวัตถารกะ ระงับอธิกรณ์โดยประนีประนอม ไม่รื้อฟื้น (เอาหญ้าบังไว้) บางสิ่งเปิดเผยไม่งาม บางสิ่งปิดไว้ไม่งาม

ศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์

 


วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

สติทำอะไรบ้าง

(๑) ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ 

โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแสความคิด 

เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ 

ตรึงกระแสความคิดให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย


(๒) ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพ เป็นตัวของตัวเอง 

เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง 

พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี


(๓) ในภาวะที่จิตเป็นสมาธิ 

อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด 

ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไป

ในมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆ ได้


(๔) โดยการยึดจับอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า 

จึงทำการพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่

เท่ากับเป็นพื้นฐานการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์


(๕) ชำระพฤติกรรมต่างๆ 

ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริสุทธิ์ 

อิสระ ไม่เกลือกกลั้ว 

หรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน 

และร่วมกับสัมปชัญญะ 

ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือบริสุทธิ์ล้วน


สังวร ๕

 (๑) ปาติโมกขสังวร หรือสีลสังวร

มีปกติเห็นโทษภัยแม้เล็กน้อย สมาทานในสิกขาบท

(๒) สติสังวร 

สติที่รักษาจิตไม่ให้เกิดกุศล

(๓) ญาณสังวร 

การปิดกั้นกิเลสชนิดตัดขาด

ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกเพราะหมดเหตุ

ด้วยเห็นแจ้งตามเป็นจริง

ความยึดมั่นถือมั่น ก็ถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง

(๔) ขันติสังวร

ก็คือ ความสามารถที่จะคงสภาพจิตที่เป็นกุศลไว้ได้ 

ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่อาฆาตพยาบาท 

ไม่ว่าจะเผชิญกับอารมณ์ ใดๆ

(๕) วีริยสังวร

การปิดกั้นกิเลสไม่ให้เกิดโดยอาศัยความเพียรพยายาม 

แก้ กัน ก่อ เก็บ

เบ็ด

 ภิกษุทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิดนี้ มีอยู่ในโลกเพื่อความวิบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิด อะไรบ้าง

คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

มีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป

นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร

ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกมารผู้มีบาป

ทำได้ตามใจปรารถนา ฯลฯ 

นิมิต อนุพยัญชนะ

นิมิต หมายถึง การยึดถือแบบรวบรัดเป็นกลุ่มก้อน เช่น เป็นคน เป็นหญิง ชาย หมา แมว สวย หล่อ หุ่นดี เสียงหญิง เสียงชาย เสียงนุ่ม เสียงเพราะ เสียงกังวาน

อนุพยัญชนะ หมายถึง การยึดถือแบบแยกแยะรายละเอียด เช่น เป็นตา เป็นหู คิ้ว เล็บ หน้าอกสวย ตาสวย ขาสวย พูดชมว่าอย่างนี้ พูดถึงเราว่าอย่างนี้ พูดยกย่อง บรรยายสิ่งที่น่าพอใจ

การสำรวมอินทรีย์จึงปฏิบัติโดยการ ไม่ยึดติดในนิมิตและอนุพยัญชนะ

ถ้าข้าพเจ้าจะเปิดเผยความปรารถนา หรือคำอธิษฐาน

๑. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนคิดจะได้ดีอะไรอย่างลอยๆ นั่งนอนคอยแต่โชควาสนา

โดยไม่ลงมือทำความดีหรือไม่เพียรพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน

ถ้าข้าพเจ้าจะได้ดีอะไร ก็ขอให้ได้เพราะได้ทำความดีอย่างสมเหตุสมผลเถิด

๒. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนลืมตน

ดูหมิ่นเหยียดหยามใครๆ ซึ่งอาจด้อยกว่าในทางตำแหน่ง

ฐานะการเงินหรือในทางวิชาความรู้

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นให้เกียรติแก่เขาตามความเหมาะสม

ในการติดต่อเกี่ยวข้องกันเถิด

อย่าแสดงอาการข่มขู่เยาะเย้ยใครๆ ด้วยประการใดๆ เลย

จะติดต่อเกี่ยวข้องกับใครๆ ก็ขอให้มีความอ่อนโยนนุ่มนวล สุภาพเรียบร้อยเถิด

๓. ถ้าใครพลาดพลั้งลงในการครองชีวิต

หรือต้องประสบความทุกข์ ความเดือดร้อน เพราะเหตุใดๆ ก็ตาม

ขออย่าให้ข้าพเจ้าเหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น

แต่จงมีความกรุณาหาทางช่วยให้เขาลุกขึ้น

ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ร้อนให้แก่เขาเท่าที่จะสามารถทำได้

๔. ใครก็ตามถ้ามีความรู้ความสามารถขึ้นมาเท่าเทียม

หรือเกือบเท่าเทียมข้าพเจ้าก็ดี มีความรู้ความสามารถ

หรือมีผลงานอันปรากฏดีเด่นสูงส่งอย่างน่านิยมยกย่องยิ่งกว่าข้าพเจ้าก็ดี

ขออย่าให้ข้าพเจ้ารู้สึกริษยา หรือกังวลใจในความเจริญของผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย

ขอให้ข้าพเจ้าพลอยยินดีในความดี

ความรู้ความสามารถของบุคคลเหล่านั้นด้วยความจริงใจ

ช่วยส่งเสริมสนับสนุนและให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น

อันเข้าลักษณะการมีมุทิตาจิตในพระพุทธศาสนา

ซึ่งตรงกันข้ามกับความริษยา

ขออย่าให้เป็นอย่างบางคน

ที่เกรงนักหนาว่าคนอื่นจะดีเท่าเทียมหรือดียิ่งกว่าตน

คอยหาทางพูดจาติเตียน

ใส่ไคล้ให้คนทั้งหลายเห็นว่าผู้นั้นยังบกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้

ขอให้ข้าพเจ้ามีน้ำใจสะอาด

พูดส่งเสริมยกย่องผู้อื่นที่ควรยกย่องเถิด

๕. ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข้มแข็งอดทน

อย่าเป็นคนขี้บ่น ในเมื่อมีความอยากลำบากอะไรเกิดขึ้น

ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้นๆ

โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย

ขออย่าเป็นคนอ่อนแอเหลียวหาที่พึ่งเพราะไม่รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเลย

ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนชอบได้อภิสิทธิ์ คือสิทธิเหนืออื่น

เช่นไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็ขอให้พอใจนั่งคอยตามลำดับ

อย่าวุ่นวายจะเข้าตรวจก่อน ทั้งที่ตน

ไปถึงทีหลังเลย ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกใดๆ

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดหาวิธีลัดหรือวิธีทุจริตใดๆ

รวมทั้งขออย่าได้วิ่งเต้นเข้าหาคนนั้นคนนี้

เพื่อให้เขาช่วยให้ได้ผลดีกว่าคนอื่น ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าอาจมีคะแนนสู้คนอื่นไม่ได้เถิด

๖. ถ้าข้าพเจ้าทำงานในที่ใด

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือคิดเอาแต่ได้ในทางส่วนตัว

เช่น เถลไถลไม่ทำงาน รีบเลิกงานก่อนกำหนดเวลา

ขอจงมีความขยันหมั่นเพียร

พอใจในการทำงานให้ได้ผลดี ด้วยความตั้งใจ และเต็มใจ

เสมือนหนึ่งทำงานให้แก่ตนเอง เพื่อประโยชน์ของตนเองฉะนั้นเถิด

อันเนื่องมาแต่ความไม่คิดเอาเปรียบในข้อนี้

ถ้าข้าพเจ้าเผอิญก้ำเกินข้าวของของที่ทำงานไปในทางส่วนตัวได้บ้าง

เช่น กระดาษ ซอง หรือเครื่องใช้ใดๆ

ขอให้ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่าเป็นหนี้อยู่ และพยายามใช้หนี้คืนด้วยการซื้อใช้

หรือทำงานให้มากกว่าที่กำหนด เพื่อเป็นการชดเชยความก้ำเกินนั้น

ข้อนี้รวมทั้ง ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าเอาเปรียบชาติบ้านเมือง

เช่นในเรื่องการเสียภาษีอากร

ถ้ารู้อยู่ว่ายังเสียน้อยไปกว่าที่ควรหรือที่กฎหมายกำหนดไว้

ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะชดใช้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

เมื่อมีโอกาสตอบแทนได้เมื่อไร ขอให้รีบตอบแทนโดยทันที

เช่น ในรูปของการบริจาคบำรุงโรงพยาบาล บำรุงการศึกษา

หรือบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์อื่นๆ

แบบบริจาคให้มากกว่าที่รู้สึกว่ายังเป็นหนี้ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

และในข้อนี้ขอให้ข้าพเจ้าปฏิบัติแม้ต่อเอกชนใดๆ

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือโกงใครเลยแม้แต่น้อย

แม้จะซื้อของ ถ้าเขาทอนเงินเกินมา ก็ขอให้ข้าพเจ้ายินดีคืนให้เขากลับไปเถิด

อย่ายินดีว่ามีลาภ เพราะเขาทอนเงินเกินมาให้เลย

๗. ขออย่าให้ข้าพเจ้ามักใหญ่ใฝ่สูง

อยากมีหน้ามีตา อยากมีอำนาจ อยากเป็นใหญ่เป็นโต

ขอให้ข้าพเจ้าใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ

ไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องการแข่งดีกับใครๆ

ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้าพอจะเดาได้ว่าความมักใหญ่ใฝ่สูง

ความอยากมีหน้ามีตา ความอยากมีอำนาจ และอยากเป็นใหญ่เป็นโตนั้น

มันเผาให้เร่าร้อน ยิ่งต้องแข่งดีกับใครๆ ด้วย ก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดริษยา

คิดให้ร้ายคู่แข่งขัน ถ้าอยู่อย่างใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ก็จะเย็นอกเย็นใจ

ไม่ต้องนอนก่ายหน้าผากถอนใจ เพราะเกรงคู่แข่งจะชนะ

ไม่ต้องทอดถอนใจเพราะไม่สมหวัง

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธภาษิตที่ว่า

“ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข”

ดังนี้เถิด แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า

เมื่อใฝ่สงบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอยู่อย่างเกียจคร้าน

ไม่สร้างความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม

ข้าพเจ้าทราบดีว่าพระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเกียจคร้านงอมืองอเท้า

แต่สอนให้มีความบากบั่นก้าวหน้าในทางที่ดี

ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม

และความบากบั่นก้าวหน้าดังกล่าวนั้น

ไม่จำเป็นต้องผูกพันอยู่กับความทะยานอยากหรือความมักใหญ่ใฝ่สูงใดๆ

คงทำงานไปตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ผลดีก็จะเกิดตามมาเอง

๘. ขอให้ข้าพเจ้าหมั่นปลูกฝังความรู้สึกมีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น

และมีกรุณาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ปูพื้นจิตใจด้วยเมตตากรุณา ดังกล่าวนี้อยู่เสมอ

จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีใครเป็นศัตรูที่จะต้องคิดกำจัดตัดรอนเขาให้ถึงความพินาศ

ใครไม่ดีใครทำชั่วทำผิดให้เขาคิดได้ กลับตัวได้เสียเถิด อย่าทำผิดทำชั่วอีกเลย

ถ้ายังขืนทำต่อไป ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

เขาจะต้องรับผลแห่งกรรมชั่วของเขาเอง

เราไม่ต้องคิดแช่งชักให้เขาพินาศ

เขาก็จะต้องถึงความพินาศของเขาอยู่แล้ว

จะต้องแช่งให้ใจเราเดือดร้อนทำไม

ขอให้ความเมตตาคิดจะเป็นสุข และกรุณาคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

ซึ่งข้าพเจ้าปลูกฝังขึ้นในจิตนั้น จงอย่าเป็นไปในวงแคบและวงจำกัด

ขอจงเป็นไปทั้งในมนุษย์ และสัตว์ทุกประเภท

รวมทั้ง สัตว์ดิรัจฉานด้วย

เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เหล่านั้น

ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ รู้จักรักตนเองปรารถนาดีต่อตนเองด้วยกันทั้งสิ้น

๙. ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนโกรธง่าย

ต่างว่าจะโกรธบ้าง ก็ขอให้มีสติรู้ตัวโดยเร็วว่ากำลังโกรธ

จะได้สอนใจตัวเองให้บรรเทาความโกรธลง

หรือถ้าห้ามใจให้โกรธไม่ได้

ก็ขออย่าให้ถึงกับคิดประทุษร้ายผู้อื่น

หรือคิดอยากให้เขาถึงพินาศ ซึ่งนับเป็นมโนทุจริตเลย

ขอจงสามารถควบคุมจิตใจให้เป็นปกติได้โดยรวดเร็ว

เมื่อมีความไม่พอใจหรือความโกรธเกิดขึ้นเถิด

และเนื่องมาจากความปรารถนาข้อนี้

ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนผูกโกรธ

ให้รู้จักให้อภัยทำใจให้ปลอดโปร่งจากการผูกอาฆาตจองเวร

ขอให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

โดยรู้จักเปรียบเทียบกับตัวข้าพเจ้าเองว่าข้าพเจ้าเองก็อาจทำผิด พูดผิด คิดผิด

หรืออาจล่วงเกินผู้อื่นได้ ทั้งโดยมีเจตนาและไม่เจตนา

ก็ถ้าข้าพเจ้าเองยังทำผิดได้

เมื่อผู้อื่นทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินไปบ้าง ก็จงให้อภัยแก่เขาเสียเถิด

อย่าผูกใจเจ็บหรือเก็บความรู้สึกไม่พอใจนั้นมาขังอยู่ในจิตใจ ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเองเลย

๑๐. ขอให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจและสอนใจตัวเองได้

เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรม

กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จัก

สร้างความเจริญแก่ตนในทางโลก และสอนให้ประพฤติปฏิบัติ

ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นให้มีปัญญาเข้าใจปัญหาแห่งชีวิต

เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือ มีจิตใจเบาสบายอันเป็นความเจริญในทางธรรม

ซึ่งรวมความแล้วสอนให้เข้ากับโลกได้ดี ไม่เป็นภัยอันตรายแก่ใครๆ

แต่กลับเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ

แต่ก็ได้สอนไปในทางธรรมให้เข้ากับธรรมได้ดี

คือให้รู้จักโลก รู้เท่าทันโลก

และขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีขึ้นกว่าเดิม

เพื่อบรรลุความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจดีทั้งทางโลกทางธรรม

และ ปฏิบัติจนให้ถูกต้องได้ทั้งสองทาง

รวมทั้งสามารถหาความสงบใจได้เอง

และสามารถแนะนำชักชวนเพื่อนร่วมชาติร่วมโลก

ให้ได้ประสบความสุขได้ตามสมควรเถิด

ความปรารถนาหรือคำอธิษฐาน รวม ๑๐ ประการของข้าพเจ้านี้

ข้าพเจ้าตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางเตือนใจหรือสั่งสอนตัวเอง

เพราะปรากฏว่าตัวข้าพเจ้าเองยังมีข้อบกพร่อง

ซึ่งจะต้องว่ากล่าวตักเตือน คอยตำหนิตัวเองอยู่เสมอ

ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ถ้าได้วางแนวสอนตัวเองขึ้นไว้เช่นนี้

เมื่อประพฤติผิดพลาดก็อาจระลึกได้

หรือมีหลักเตือนตนได้ง่ายกว่าการที่จะนึกว่าข้าพเจ้าดีพร้อมแล้ว

หรือเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แล้ว ซึ่งนับเป็นความประมาทหรือลืมตัวอย่างยิ่ง


สุชีพ ปุญญานุภาพ

นิมนต์ข้างหน้าเถิด

อริยยาจนา ขอแบบประเสริฐ ยืนเจาะจง

ติฏฺฐถ ภนฺเต นิมนต์หยุดก่อนเจ้าข้า

อติจฺฉถ ภนฺเต นิมนต์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า

การพิจารณาปัจจัย พิจารณา 2 ช่วง

 การพิจารณาปัจจัย พิจารณา 2 ช่วง

  1. ปฏิลาภกาเล : พิจารณาเมื่อได้มา
  2. ปริโภคกาเล : พิจารณาเมื่อจะใช้สอย

ถ้าได้ปัจจัยมาแล้วใช้สอยโดยไม่พิจารณา จะเกิดโทษ
เรียก อิณปริโภค คือ บริโภคโดยเป็นหนี้
แต่เมื่อบริโภคโดยพิจารณา คือไม่เป็นหนี้ และไม่ต้องอาบัติ

ตตฺถ

 ตตฺถ

ในอรรถกถา - ฎีกา
เมื่อเจอ ตตฺถ มักจะเจอหลังกล่าวอุทเทสจบ
และกำลังจะขยายความต่อ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

inspiration source

  1. when someone said to you that you could do it
  2. when someone helped you see a problem in a new way
  3. when someone exhibited passion about what they were doing

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

อเนสนา

เอสนา การแสวงหา

อเนสนา 
ไม่ได้แปลว่า ไม่แสวงหา
แต่แปลว่า การแสวงหามาโดยไม่ถูก ไม่ควร ไม่เหมาะ
= อยุตฺตา เอสนา

สมฺมา เอสนา การแสวงหามาโดยถูกต้อง

ความพยายามอยู่ที่ไหน

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

สมฺมา อารทฺธวีริยํ สพฺพสมฺปตฺตีนํ มูลกํ

ความเพียรที่ปรารภตรงแล้ว เป็นที่มาแห่งสมบัติทั้งปวง

เหตุความสำเร็จมี 3

  • กรรม - ปุพฺเพ กตปุญฺญตา
  • ญาณ
  • วีริย

วิสภาครูป

 

รูปอันเป็นวิสภาค แปลว่า ผู้หญิงนั่นแหละ

ติงแบบบัณฑิต

หมือนพระจิตตคุต อยู่ถ้ำ 60 ปีไม่เคยมองภาพวาดในถ้ำ
สามเณรนี่อยู่กุฏิตั้งหลายปี ไม่เคยมองเห็นหยากเยื่อที่เพดาน

สตารักข์

 บุคคลผู้มีสติอารักขา

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566

สมณพราหมณ์

 สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา

ความต่างของสมณะและพราหณ์คือ

สมณะ = อนาคาริก

พราหมณ์ = อาคาริก

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566

เหตุปรารภสังคายนาครั้งที่ 2

 




(๑) เขนง (ขะ-เหนง) คือ กระบอกจากพวกงาช้าง เขาสัตว์


(๖) ประพฤติตามอุปัชฌาย์ที่เคยประพฤติมาได้ หมายถึง ประพฤติไม่ตรงพระวินัย เช่น เดินทางไกล ไปทางเรือ ฉันได้ (เขาว่า อาจารย์สอนผมมา)


(๗) คือ ท่านห้ามนมสด ท่านห้ามนมเปรี้ยว เลยถือเอาระหว่างกลางว่าฉันได้ ไม่ใช่ทั้งนมสดนมเปรี้ยว (หาเรื่องฉันนั่นเอง)


(๘) เช่น อ้างว่าสุราไม่ถึงองคุลีดื่มได้


พุทธศักราช

 พุทธศักราช


สักกะ เป็นชื่อพระราชาองค์หนึ่งที่พานับไว้
คือนับจากวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานวันแรกเป็นวันเริ่มศักราช

(สักกะ ตรงนี้ ไม่ได้มาจาก ศากย)

ดังนั้น การขึ้นปีใหม่ ของการนับปีแบบพุทธศักราช จะขึ้นตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 6 ไม่ได้ขึ้นที่ 1 มกราคมตามสากลนิยม

ก่อนพระขึ้นเทศน์ ท่านจะต้องกล่าววันเดือนปี ถ้าไปนับอย่างสมัยนิยมจะเพี้ยน

https://youtu.be/2R1W_e2Krnk
@38:00

NbN สังขารตอนอ่านความ

 ไม่ประมาทปัญญา ตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น

*** สันตรส (รอบที่ 1) ***
ไม่ประมาทปัญญา
รู้ว่าเมื่อไม่มีเหตุ ก็ไม่มีผล ตัณหาที่จะเป็นเหตุให้เวทนาไปเกิดต่อไปก็สิ้นไปในขณะนั้นๆ

ตามรักษาสัจจะ
รู้ว่านิพพานเป็นสิ่งที่ควรแจ้ง เมื่อใดที่ยังมีความเกิดดับ สิ่งนั้นหาใช่นิพพาน ระลึกไว้อย่างนี้

พึงเพิ่มพูนจาคะ
รู้ว่าความถือมั่นในสังขารท.ย่อมละไป ความสละนี้จักบริบูรณ์ได้ เมื่อการสมาทาน (ศีล สมาธิ ปัญญา) บริบูรณ์

พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น
รู้ว่าความสงบเท่านั้นคือเป้าหมาย ความเกิดขึ้นไม่ได้อีกของอภิชฌา อาฆาต และอวิชชานั่นแหละคือความสงบอย่างยิ่ง

*** รอบที่สอง (ก็ยังได้สันตรสอยู่ดี ยังหาทางไม่เจอ) ***

ไม่ประมาทปัญญา

รู้ว่าเวทนาเป็นของแตกดับ เสื่อมสลาย ตัณหาต่อเวทนานั้นจึงไม่อาจตั้งอยู่ได้
รู้ว่าความเพลินนี้เองเป็นเหตุ ให้ได้มาต่อซึ่งเวทนา
เมื่อรู้ว่าเวทนามีลักษณะเสื่อมสลายไปอย่างนี้ เมื่อปัจจัยแห่งผัสสะ คืออายตนะดับลงเมื่อชีวิตสิ้นสุด เวทนาย่อมดับไปตลอดกาล
นี้คือความรู้
เมื่อรู้อยู่เช่นนี้ ความเพลินไม่อาจตั้งอยู๋ เป็นอันละไปอย่างนั้น
นี้คือปัญญาที่รู้ว่าความสิ้นทุกข์เป็นอย่างนี้

ตามรักษาสัจจะ

เมื่อชัดเจนว่าทุกข์ดับลงอย่างนั้น
เมื่อพ้นแล้วก็รู้ชัดว่าพ้นแล้ว
ความพ้นนั้น ก็รักษาตัวมันเองอยู่อย่างนั้น
ไม่ลงไปเกลือกกลั้วกับความเข้าใจผิดอย่างเก่าก่อนได้อีก
ชัดเจนในสิ่งที่เลอะเลือนได้ ชัดเจนในสิ่งที่เลอะเลือนไม่ได้
ไม่ปะปนกันอีกต่อไป สัจจะนั้นแหละตามรักษาสัจจะ

พึงเพิ่มพูนจาคะ

ในความแจ้งชัดแห่งความไม่เลอะเลือนนั้นเอง
ความมั่นหมายในอุปธิทั้งหลาย เป็นอันปลงลง
เธอสละความผูกพันในสิ่งอันเคยยึดถือได้
และความยึดถือเพลิดเพลินนั้นไม่กลับมีขึ้นอีกต่อไป

พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น

นี้คือความสงบ
นี้คือความไม่เกิดของราคะ
นี้คือความไม่เกิดของโทสะ
นี้คือความไม่เกิดของโมหะ
ก็ความไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างนี้ นี่แหละความสงบอันยอดเยี่ยม

เราเรียกบุคคลผู้นั้นว่า มุนีผู้สงบ

4 วิธีในการทำให้จตุปาริสุทธิศีลสำเร็จ

  1. ศรัทธาเป็นเหตุให้ปาติโมกขสังวรศีลสำเร็จ
  2. สติเป็นเหตุให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จ
  3. วิริยะเป็นเหตุให้อาชีวปาริสุทธิศีลสำเร็จ
  4. ปัญญาเป็นเหตุให้ปัจจสันนิสิตตศีลสำเร็จ
ในแต่ละข้อ แม้จะบอกว่ายกสัทธาเป็นประธาน
แต่ไม่ใช่ว่าอันอื่นจะไม่ต้องใช้

สาธุกํ สมฺปาเทตพฺพํ - พึงทำให้บริบูรณ์ พึงทำให้สำเร็จ พึงทำให้ถึงพร้อม ด้วยดี

ปาติโมกขสังวร ให้ใช้ศรัทธา
เพราะการบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของสาวก (ไม่เว้นแม้พระสารีบุตร)
ความรู้ของสาวกมุมมองไม่ทะลุพอจะบัญญัติสิกขาบทได้

ที่ยังไม่อยากรักษาศีลเพราะยังมองเห็นประโยชน์ไม่ชัด

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566

ปจฺจยสนฺนิสฺสิตสีล

 คือ การใช้สอยปัจจัยสี่ด้วยปัญญา

ต้องรู้ว่าการรบริโภคแบ่งเป็น 4 อย่าง

  1. เถยยบริโภค การบริโภคที่ได้มาโดยไม่สุจริต
  2. อิณบริโภค การบริโภคที่เป็นหนี้ หมายถึง การบริโภคของบุคคลผู้มีศีล แต่ไม่ได้พิจารณาขณะใช้สอย
  3. ทายัชชบริโภค การบริโภคของทายาท หมายถึง พระเสข 7 จำพวก
  4. สามิบริโภค คือการบริโภคแบบเจ้านาย คือ การบริโภคที่ไม่เป็นทาสตัณหา หมายถึง การบริโภคของพระอรหันต์
การพิจารณา แบ่งได้ 3 แบบ
  1. พิจารณาแบบ มหาปัจจเวก คือ แบบปฏิสังขาโยนิโสฯ
  2. พิจารณาเป็นธาตุ 4
  3. พิจารณาเป็นปฎิกูล

ข่ม

 ข่ม ในบาลีหมายถึง
การให้ข้อมูลตามหลักเหตุผลจนเถียงไม่ได้

ให้เหตุผลว่าถ้าเธอทำอย่างเดิมเธอจะได้อย่างเดิมนะ
จะต้องทำอีกทางเท่านั้น

เปิดเผยให้ชัดเจนแจ่มจนรู้ว่าต้องมาอีกทางเท่านั้น

เถยฺย

เถยฺย การลักขโมย
เถยฺยจิต จิตที่คิดจะลักขโมย
เถน ผู้ลักขโมย
เถยฺยปริโภค การลักขโมยกิน

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

ยาวเทว

ยาวเทว

คำกำหนดขอบเขต

สำนวนแปลว่า เพียงเพื่อ

ปฏิสังขา โยฯ

ศัพท์เดิม ปฏิสงฺขา
นี้มาจาก ตฺวา ปัจจัย ที่แปลว่า แล้ว
ท่านลบ ย เพื่อความสวดง่าย
ปฏิสงฺขา แปลว่า พิจารณาแล้ว (ปจฺจเวกฺขิตฺวา)

เหมือน 
สยํ อภิญฺญา
เหลือ สยํ อภิญฺญา แปลว่า รู้แจ้งแล้วด้วยตนเอง

โยนิโส คือ ด้วยอุบาย (อุปาเยน)
โยนิ ในที่นี้ ไม่ได้แปลว่า กำเนิด แต่แปลว่า อุบาย
อุปาย ในบาลี หมายถึง วิธีการที่ถูกต้อง (ไม่ได้แปลแนวฉ้อฉลแบบคำไทย)

แปลรวมๆ คือการคิดใคร่ครวญอย่างถูกต้องขณะเสพหรือใช้สอย

***

จีวร ในบทพิจารณา ไม่ได้หมายถึง ไตรจีวร
แต่หมายถึงผ้า 9 อย่าง ที่อนุญาตให้ใช้สอย

  1. อันตรวาสก = สบง
  2. อุตราสงค์ = จีวร (อุตราสงค์ คือที่คำไทยเรียกจีวร)
  3. สังฆาฎิ = ผ้าที่พาดบ่า จริงๆ คือผ้าสำรอง เผื่อหนาวค่อยห่ม
    1-3 คือ ไตรจีวรที่เรียกกัน
  4. อุทกสาฏิกา = ผ้าอาบน้ำฝน (บางทีเรียก = วสฺสาวาสิก)
  5. นิสีทนะ = ผ้าปูนั่ง
  6. วณปฏิฉาทน = ผ้าพันแผล
  7. มุขปุญฉน = ผ้าเช็ดปาก
  8. ปัจจัตถรนะ = ผ้าปูนอน
  9. ปริกฺขาลโจฬ = ผ้าใช้สอยอื่นๆ

การแสวงหาลาภด้วยลาภ

ลาเภน ลาภํ นิชิคีสนตา
การแสวงหาลาภด้วยลาภ
การแสวงหาทรัพย์ด้วยทรัพย์

ค้าขายนั่นเอง

ประมาณว่าพระได้ของจากโยมคนนี้
ของที่ได้ยังหยาบอยู่ ยังไม่ประณีต พระไม่พอใจ
ก็ส่งมอบให้โยมอื่นต่อไป ด้วยหวังว่า
โยมที่ได้รับปัจจัย ก็เกิดความเกรงใจ จะต้องถวายที่ดีกว่า

เรียกว่าแสวงหาลาภด้วยลาภ

อาชีว โดยตัวองค์ธรรม คือความเพียร (ไม่ใช่สัมมาวายามะ)
เป็นความเพียรที่จะแสวงอะไรมาเลี้ยงตัว