วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มายา สาเถยยะ

มายา
หลอกลวง กลบเกลื่อน
ปิดบังความผิดของตนเองไม่ให้มันชัดเจนออกมา

พูดผิดแล้วก็กลบเกลื่อนไปว่า
อย่าไปคิดมากนะพูดไปอย่างนั้น ไม่ได้ตั้งใจ (จริงๆ ตอนทำก็ตั้งใจนั่นแหละ)

ปรารถนาว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ดำริว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
พูดว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ขวนขวายด้วยกายว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา

ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์
กิริยาที่หลอกให้หลง ความลวง
ความโกง ความกลบเกลื่อน
ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด
ความปิดบังการกระทำไม่ชัดเจน
การไม่ทำให้แจ้งการปกปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว
มีลักษณะเช่นว่านี้นี้เรียกว่า มายา

มายาก็จะตรงข้ามกับ ความซื่อตรง สัจจะ
ของไม่ดีก็ว่าไม่ดี

สาเถยยะ
กระด้าง โอ้อวด
เวลามีดีนิดๆ หน่อยๆ
หรือได้นู่นได้นี่มาก็อวด
การประกาศสิ่งที่ตนมี ใส่ไข่เข้าไปอีก

ยกตน โชว์ตนให้เป็นที่ประจักษ์ ที่ปรากฏ
การมีอะไรดีๆ แล้วเอามาอวด
เรียกว่าเป็นความกระด้าง

การเอาดีมาโชว์ก็อาจเป็นการทำร้ายคนอื่นได้ถ้าคนอื่นไม่มี
จึงเรียกเป็นความกระด้าง

เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด
ความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด
ภาวะที่โอ้อวด
ความกระด้างการพูดเป็นเหลี่ยมคูภาวะที่กระด้างในบุคคลนั้น
นี้เรียกว่า สาเถยยะ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กราบพระ

กราบพระ
กราบให้หัวมันอ่อน
กราบเป็นแสนครั้งหัวยังแข็ง
ก็กราบต่อไป

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อิสสา มัจฉริยะ

อิสสา
เป็นกิเลสฐานเดียวกับสักกายทิฏฐิ
ถ้าไม่มีตนจะไปอิจฉาเขาทำไม
เขาได้ดีไปอิจฉาเขา
เป็นกิเลสกลุ่มที่พระโสดาบันละได้

อิสสา 
ความไม่ชอบเวลาคนอื่นได้ลาภสักการะ ได้คำสรรเสริญ
หรือได้อะไรที่เขาควรจะได้

ความจริงทุกคนก็ได้ในสิ่งที่เขาควรจะได้
เขาทำเหตุมา
เราดันไม่ชอบ

ที่ถูกคือเขาได้ดี ก็ควรจะดีใจด้วย
ไม่ใช่ จะไปมีอะไร๊ ของพ่อแม่มันให้มาทั้งนั้น (อันนี้มันเลวมาก)

ความต่างของมักขะ VS อิสสา
คนอื่นทำความดีเราไม่เห็น เป็นมักขะ (ลบหลู่ในเหตุ - ทำงี้ก็งั้นๆ แหละ)
คนอื่นอื่นได้ผลความดี เราไม่ชอบ เป็นอิสสา (ไม่ชอบในผลที่เขาได้รับ)

เห็นคนทำความดี ก็ให้อนุโมทนา (ไม่ใช่เฉย หรือลบคุณเขา)
ห็นคนได้ผลดี ก็มุฑิตา (ไม่ใช่เฉย หรืออิจฉาเขา)

มัจฉริยะ
หวงแหน รักษา ไม่ให้ไปจากตัวเอง
ยื้อยุดกันไว้

รักของตัวเองก็ไม่ว่า (อันนี้ตัณหาธรรมดา)
แต่หวงกันรักษาไม่ให้มันไปจากเรา ต้องอยู่กับเราเท่านั้น
กีดกันคนอื่นไม่ให้มายุ่งเกี่ยว
ไม่ให้ไปในทางที่เราไม่ชอบใจ (อันนี้มัจฉริยะ)

คู่ตรงข้ามคือ มุฑิตา
ดีใจกับเขาที่เขาได้รับผล
ดีใจด้วยที่เขาที่เขาได้ความดีนั้น ความดีก็จะติดตัวเขาไปเรื่อยๆ

หรือเขาทำชั่ว
กรุณาเขาที่ได้เหตุชั่ว
คิดช่วยเหลือ ช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา
คนละส่วนกัน

จะให้หมดมัจฉริยะ
ฝึกจาคะ ฝึกความพร้อมจะให้ มีฝ่ามืออันล้างไว้แล้ว
จาคะไม่ใช่การให้ แต่คือความพร้อมจะให้ตามความเหมาะสม

ความต่างของโลภ และตระหนี่
ตระหนี่นี่ดูคล้ายโลภะ แต่จริงๆ เป็นตระกูลโทสะ
โลภะ เหนียวหนืด ยืดดดด ติด แต่ไม่หวง ก็แค่ชอบสิ่งที่ตนมี แต่ไม่มีลักษณะกีดกัน
ตระหนี่นี่ เข้าขั้นกีดกันคนอื่นเลย ปกปิดสมบัติที่มี หวงแหนไม่ให้คนอื่่นยุ่งเลย
มีลักษณะที่ทำให้ใจแคบเข้า จนทำให้กลายเป็น "ส่วนบุคคล"

ใจกว้างเป็นกุศล เป็นความฉลาด
ใจแคบนี่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

มักโข ปลาโส

มีลักษณะไปเกี่ยวข้องกับคุณความดี ความเก่งของคนอื่น
แต่ไปเกี่ยวแบบไม่ฉลาด ไปเกี่ยวด้วยกิเลส

มักโข (ลบหลู่คุณท่าน) 

ลบหลู่คุณความดีเขา ออกไปทำนองไม่ชอบใจ ไม่พอใจ
ทำไม่ให้ปรากฏ
พูดให้น้อย ตัดควงามดีคนอื่นให้ดูลดความสำคัญลง ด้อยค่าลง
แทนที่จะยกย่องก็พูดทำนอง งั้นๆ แหละ ใครๆ ก็ทำได้

เขาคิดจะทำดี คิดจะทำทาน
ก็ควรจะยกย่อง อนุโมทนา
ใครทำก็ดีทั้งนั้น

คนที่เราไม่ชอบไปนั่งสมาธิ
จะมีอะไร๊ นั่งนั่นน่ะ ทำเป็นนั่งจะได้อะไร
มันก็ธรรมดา

ความดีย่อมเป็นความดี
จะเล็กจะน้อยก็เป็นความดี
จะลบความดีไม่ได้
ท่านให้เห็นความดีว่าเป็นความดี
ให้ดีใจที่เห็นผู้อื่นทำดี เขาย่อมมีความสุข

ปลาโส (ตีเสมอ)

คนนี้ก็ไม่ได้ดีไปกว่าเราเท่าไรหรอก
เอาคุณที่ดีของเขาน่ะมาเทียบกับตน ว่าไม่ต่างอะไรกับตนหรอก
จริงๆ ไม่ต้องมาพูดเรื่องตัวเองก็ได้

หยิบความดีคนอื่น แล้วหยิบตัวเองไปตีเสมอ

คนนั้นเข้าวัดแต่เด็กเลยนะ
ฉันก็เหมือนกัน
เอาอายุมาตีเสมอก็ยังได้

เอาความดีคนอื่นยกมาเป็นของตัวเอง
ต้องการให้ตัวเองเด่น

บัณฑิตเวลาพูดเขาพูดความดีของคุณอื่น
คนพาลพูดแต่ความดีของตัวเอง

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความคิดที่ไม่มีกิเลส

ความคิดที่ไม่มีกิเลส
มีนะไม่ใช่ไม่มี

ถ้าคิดถูกต้อง เรียก โยนิโสมนสิการ
แต่ปกติต้องคิดอยู่บนฐานที่มีสติและสมาธิดี
ความคิดมันเป็นฝ่ายวิปัสสนา
วิปัสสนามันเป็นฝ่ายฟุ้งซ่าน
ถ้าคิดมากจิตจะฟุ้ง แม้เรื่องดีจิตก็ฟุ้ง

เพราะฉะนั้นต้องคิดเรื่องดี
"แบบพอดีๆ"

พอดีแล้วก็ทำสมาธิ
ทำสมาธิแล้วก็คิดดีให้พอดี
พอดีแล้วก็ทำสมาธิ
สลับกันไป ก็เป็นเครือ่งเสริมปัญญา เสริมโพชฌงค์

อมรวิตักกะ

มร = ตาย
มร = คงที่

ความตรึกเพื่อให้ตนเองอยู่รอด
ไปสวด ไปนอนโลง
ไหว้นู่นไหว้นี่จะประสบสุขโชคดี
ทำให้ตัวเองสะดวกสบายด้วยการไปทำอะไรประหลาดๆ

ปล่อยเต่าให้อายุยืน

ฟุ้งไปเรื่อย ไม่ตายตัว เพื่อให้ตัวรอด


ความคิดอาศัยเรือน

ความคิดอาศัยเรือน (เคหสิต)
อาศํยเรื่องเรือน อาศัยเรื่องบ้านจึงเกิดขึ้น

ความคิดมันเกิดอยู่แล้ว
แต่จะอาศัยอะไรเกิดเท่านั้นเอง
ถ้าอาศัยธรรมะเกิดก็ดี เป็นกุศล

เรือน ก็คือการมีถิ่นฐานครอบครอง
ความจริงก็คือเป็นที่อาศัยชั่วคราว
แต่คำว่าเรือน สำหรับฆราวาส หรือผู้ที่มีกามสัญญาจะรู้สึกว่ามันเป็น
บ้านของเรา ถิ่นของเรา ญาติพี่น้องของเรา

ความคิดอาศัยเรือนจะทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ
การทำสมาธิความจริงไม่ยาก
แค่เอาความคิดอาศัยเรือนออก

พุทโธ จึงเป็นแค่เอาความคิดเรื่องเพื่อนฝูงญาติพี่น้องออก
กรรมฐานก็เอาไว้ตัดความคิด
ตัดความคิดออกก็เป็นสมาธิได้ง่าย

ความคิดอาศัยเรือน
ดำริอาศัยสถานที่
กินนี่อร่อย มาจากที่ไหนนะ
สิ่งนี้ท่านได้แต่ใดมา
ที่นั่นที่นี่สบาย สวย น่าไป ว้าวๆๆ เฮๆๆ

ความคิดอาศัยธรรมะ
ที่ไหนก็เหมือนกันแหละ


สัญญาไกลใกล้กิเลส

ปปัญจสัญญานำมาสู่วิตก
พวกเราโดยมากมีกามสัญญา

คือไปกำหนดไว้ว่า นี่ของเรา
นี่จะทำให้เรามีความสุข
เช่น แม่ของเรา ลูกของเรา
นี่เป็นกามสัญญา

กามสัญญานี่
เมื่อไปคิดปุ๊บจะเกิดความยินดี
และเกิดกิเลส

ฉะนั้น ถ้าสัญญายังไม่เปลี่ยน
คือยังเห็นเป็นพ่อของเรา แม่ของเราอยู่
จะคิดต้องมีสติคุม ถ้าไม่มีสติก็จะเป็นกิเลสเลย

แต่ถ้าในบางคน
เปลี่ยนจากกามสัญญาเป็นรูปสัญญาแล้ว
ไม่เห็นว่าอันนี้เป็นของเราแล้ว
แต่ยังเห็นว่า นี่เป็นรูป เป็นปฐวีธาตุ

แบบนี้ึคิดได้ ไม่เกิดกิเลส
แต่ใกล้ต่อกิเลส

ถ้าจะให้ไกลต่อกิเลส
ต้องแปลงรูปสัญญา เป็นอรูปสัญญา

ถึงจะอย่างไร สัญญาก็จะเกิดกับจิตทุกดวงเสมอไป
กามสัญญา เป็นสัญญาที่ใกล้กับกิเลสที่สุด
แต่ไม่ใช่กิเลส เพราะสัญญาเป็นวิบาก
เห็นปุ๊บ ได้ยินปุ๊บ สัญญาก็เกิดเลย

ไม่ติดหรอกค่ะ

ไม่ติดหรอกค่ะ
ดิฉันไม่ติดหรอกอ่านหนังสือหมอดูพวกนี้

ดิฉันไม่ติด
แต่จิตมันติด
กรรมมันเกิดกับจิต

เหมือนที่มีสัญญา ก
ทั้งชาติมันก็เห็น ก เป็น กอไก่

วิตกเกิดจากสัญญา
สัญญาซับซ้อน วิตกก็ซับซ้อน

ปกิณกะ


  • ภวาสวะ เป็นไปในทางอำนาจ ปฏิฆะง่าย
  • การพิจารณาความจริงภายนอก รู้ไม่เที่ยงเช่นกัน แต่กิเลสไม่ลด บางความจริงพิจารณาแล้วละกิเลสได้ บางความจริงละกิเลสไม่ได้
  • ไม่พิจารณา ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ซ่านไป
  • แม้จะหลงผิดและยึดว่าของเรา แต่สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ของเราอยู่ดี
  • ความรู้สึกว่ามีตัวผู้คิด ก็เป็นอาการคิดอย่างหนึ่ง
  • มีกายก็มีที่ให้เรื่องร้ายๆ มาลง เช่น โดนด่า

นามกาย

นามกาย คือ กองเจตสิก (พุทธธรรมหน้า 783)

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเห็น vs ความสำคัญ

รูปนั้นเป็นรูป
ส่วนความสำคัญว่าเราเป็นรูปนั้นเป็นมานะ
ส่วน "เรา" จริงๆ ไม่มี

ถ้าจะเห็นอัสมิมานะ
จะต้องเลิกทิฏฐิก่อนจึงจะเห็นชัด
เพราะว่าพอสำคัญว่าเรามี ก็นึกว่าเรามีจริงๆ ซะด้วย

สักกายทิฏฐิ เห็นรูปโดยความเป็นตัวตน (เป็นความเห็น)

ทิฏฐิ เป็นความเห็น
มานะ เป็นความสำคัญ (จะออกแนวสัญญา มันเกิดจากสัญญาอดีต)

ทิฏฐินี่เป็นความเห็น
ความเห็นเหมือนกับมองเห็นคน
เห็นคนจริงๆ มีคนชื่อ A จริงๆ

แต่สำคัญ นี่ก็คือเห็นรูปเป็นรูปนั่นแหละ
แต่บางโอกาสก็สำคัญว่า อ่อ A เป็นคนอย่างนี้
แต่ในความรู้เนี่ย ก็รู้ว่า ไม่มี A จริงๆ
ความสำคัญนี่มันโผล่มาได้เป็นบางครั้ง

หรือ ตัณหา VS ทิฏฐิ

ตัณหาคือ อยากให้ตนกินอยู่สบาย
แต่ทิฏฐิคือ "มีตน" ผู้กินอยู่สบาย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กรรมใหญ่

กรรมไม่ได้ดูที่งานใหญ่งานเล็ก
กระทบคนหมู่มาก หมู่น้อย
ดูที่เจตนาเท่านั้น

งานใหญ่ที่สุดคือการละกิเลส
ใครบวช ยิ่งบวชไม่สึกนี่ใหญ่สุดละ...

ความถือตัว และตัวที่ถูกถือ

มีตัวที่ถูกถือ อันนี้เป็นทิฏฐิ
ความถือตัว คือ มานะ

พระอริยเจ้ามีความอยากให้ตัวเองได้รับความสำคัญ
แต่ก็รู้ลึกลงไปอีกว่า อ้าว ตัวมันไม่มีจริงๆ นี่ อ้าวโง่แท้
ก็พยายามเพื่อจะไม่หลงต่อไป
เรียกว่า เห็นกิเลสเป็นกิเลส
เห็นสมุทัยเป็นสมุทัย เห็นสมุทัยเป็นของควรละ

แต่ปุถุชน อยากให้ตนสำคัญ อยากให้โดดเด่น (อันนี้มานะ)
และเชื่อว่ามีตนจริงๆ ซะด้วย (มีทิฏฐิ)
จึงเสริมกันไป ออกอ่าวไทยไปเลย

กิเลสออกหน้า กิเลสลับหลัง

กิเลสออกหน้า
มักจะกล่าวถึงตัณหาและทิฏฐิ

กิเลสลับหลัง
มักจะกล่าวด้วยอวิชชา และภวตัณหา

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ตัณหาวิจริต

เมื่อมีความคิดว่าเรามี เราเป็น ก็เกิดความนึกไปตามอำนาจตัณหา ว่า

เรามีอยู่ เราเป็นอยู่    
เราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น

เราเป็นผู้เที่ยง
เราเป็นผู้ไม่เที่ยง

เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่
เราพึงมีอย่างนี้
เราพึงมีอย่างนั้น
เราพึงมีอย่างอื่น

ขอให้เรามีอยู่ เราเป็นอยู่
ขอให้เรามีอย่างนี้
ขอให้เรามีอย่างนั้น
ขอให้เรามีอย่างอื่น

เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่
เราจักมีอย่างนี้
เราจักมีอย่างนั้น
เราจักมีอย่างอื่น

---
ภายนอก...ความนึกทั้ง 18 ด้วยสิ่งนี้

เชิดชูตนดุจธง

หมายถึง อยากให้เขามองเห็นมาแต่ไกล
อยากให้โดดเด่น

ปฏิภาณ

ความสามารถในการนำองค์ความรู้ต่างๆ มาจัดสรร
และตอบให้ตรงกับคำถาม
เรียกว่ามีความสามารถในการจัดการกับความรู้

คนรู้เยอะมีมาก
แต่คนมีปฏิภาณมีไม่มากนัก

ปฏิภาณก็เป็นเหตุให้เกิดความถือตัวได้เช่นกัน

อัสมิมานะ

เมื่อสำคัญว่าเรามี
ก็อยากให้เราที่สำคัญว่ามีนี้สำคัญ

เราจริงๆ ไม่มี
แต่ความสำคัญว่าเรามีมันมี (คืออาการมานะ)

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ุบุคคลบัญญัติ

สมยวิมุตฺโต = ผู้ได้สมาบัติ 8 และหลุดพ้นด้วย
อสมยวิมุตฺโต = ผู้ไม่ได้สมาบัติ 8 และได้หลุดพ้น

กุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม = ผู้มีธรรม (คือสมาบัติ 8) ที่เสื่อมได้
อกุปฺปธมฺโม, อปริหานธมฺโม = ผู้มีธรรม (คือสมาบัติ 8) อันไม่เสื่อม

เจตนาภพฺโพ, อนุรักฺขนาภพฺโพ
ภพฺพ = เหมาะสม สมควร
คือ ผู้ที่ได้สมาบัติ 8 แต่ไม่คล่องแคล่ว
ถ้าตามใส่ใจก็จะไม่เสื่อม ถ้าตามรักษาก็จะไม่เสื่อม

ปุถุชฺชโน
ปุถุ = หนา, เยอะ
ผู้ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อไม่ละสภาวะเหล่านั้น

ผู้ที่ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้
แต่กำลังปฏิบัติเพื่อที่จะละสังโยชน์ 3 ก็ไม่ได้เรียกปุถุชน

ฉะนั้น ปุถุชน ไม่ได้หมายถึง ผู้ที่ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้เท่านั้น
ถ้าจะใช้คำนั้นจะใช้คำว่า อนริโย
(อนริโย ก็จะแบ่งเป็น ผู้ที่เป็นปุถุชน และไม่เป็นปุถุชน)

โคตฺรภู
ผู้ถึงโคตร ผู้ข้ามโคตร ครอบงำโคตรปุถุชนได้ ก้าวล่วงญาณของปุถุชน
โคตร = เหล่ากอ พืื้นฐาน นามสกุล เชื้อสาย
หมายถึง บุคคลก่อนจะเป็นพระอริยะ

ภยูปรโต
ผู้ที่งดเว้นจากบาปเพราะความกลัว = ปุถุชนผู้มีศีล และพระเสขะ 7 จำพวก
อุปรโต = งดเว้น
ภย = กลัว
อภยูปรโต
ผู้ที่งดเว้นจากการทำชั่วโดยไม่ต้องใช้ความกลัว
คือพระอรหันต์

ภพฺพาคมโน
ภพฺพ = เหมาะสม สมควร เป็นไปได้
คมโน = ไปสู่การตรัสรู้
ผู้ควร ผู้สามารถที่จะตรัสรู้ได้
อภพฺพาคมโน
ผู้ที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ธรรม
มีเครื่องกั้น 7 อย่าง ได้แก่

  1. กรรม - อนันตริยกรรม 5
  2. กิเลส - นิยตมิจฉาทิฏฐิ (นัตถิก~, อกิริย~, อเหตุก~) ความเห็นผิดที่ดิ่งมั่นคงไม่ยอมเปลี่ยน ไม่ยอมเชื่อใครแล้ว ฉะนั้น จะเห็นผิดก็อย่ามั่นเกินไป เอาให้อ่อนน้อมไว้ ให้แบบยังพอแก้ไขได้
    พวกดิ่งมักจะเป็นอาจารย์ พวกเจ้าลัทธิ พูดบ่อย พูดจนตัวเองเชื่อไปด้วย
  3. วิบาก - เกิดในภพภูมิไม่ดี หรือเป็นคนแต่บ้าใบ้บอดหนวก
  4. ไม่มีศรัทธา
  5. ไม่มีฉันทะ ไม่มีความรัก ความพอใจในคุณความดี ไม่รักดีใฝ่ดี
  6. ไม่มีปัญญา โดยเฉพาะ สชาติปัญญา ฟังไม่ออกโกหกมันไม่ดียังไง แยกแยะไม่ได้
  7. โง่เขลา ไม่มีอุปนิสัยมาในทางศีล สมาธิ ปัญญาเลย องค์มรรคไม่มีเลย
นิยโต
ผู้เที่ยงในทางไม่บรรลุ - นิยตมิจฉาทิฏฐิ
ผู้เที่ยงในทางจะบรรลุ - อริยบุคคล 8 จำพวก
ที่เหลืออเป็นผู้ไม่เที่ยง อนิยโต

ปฏิปนฺนโก = ผู้กำลังปฏิบัติ
หมายถึง ผู้ที่อยู่ในมรรค ผู้ที่มรรคเกิดรวม
ผเลฏฺฐิโต = ผู้ตั้งอยู่ในผล


สมสีสี
สม = เสมอ
สีส = สิ่งที่เป็นประธาน เป็นหลัก ศีรษะ
มีสิ่งที่เป็นประธานจบพร้อมกัน สิ้นพร้อมกัน
เป็นชื่อของพระอรหันต์ สิ้นอาสวะพร้อมสิ้นชีวิต

สิ่งที่เป็นหัวได้แก่ อวิชชา และชีวิตสีส (ชีวิตเป็นหัว)
พร้อมกัน หมายถึง ในวาระเดียวกันต่อเนื่องกัน
มรรค (ทำลายอวิชชา) - ปัจจเวก - จุติ (ทำลายชีวิตินทรีย์) - จบ

ฐิตกปฺปี
ผู้ทำกัปป์ให้ดำรงอยู่
ผู้ที่ยังอยู่กัปป์จะไม่ถูกทำลาย
บุคคลนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และเป็นเวลาที่กัปถูกไฟไหม้ กัปไม่พึงถูกไฟไหม้ตราบ เท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด (แม้ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นสกทาคามี, อนาคามี, อรหันต์ ก็เช่นกัน)
ความหมายคือ ถ้ายังมีคนปฏิบัติเพื่อบรรลุอยู่ เมื่อศาสนายังอยู่กัปป์จะไม่มีวันพินาศไป

อริโย = พระอริยะ 8 จำพวก
อนริโย = ที่ไม่ใช่พระอริยะ แบ่งเป็น เป็นปุถุชน และไม่เป็นปุถุชน

เสกฺโข = พวกเข้าโรงเรียน (มรรค 4 ผล 3)
อเสกฺโข = พวกเรียนจบแล้ว
เนวเสกฺขนาเสกฺโข = ทั้งไม่ได้เข้ารร.และก็ไม่ได้จบหลักสูตร

เตวิชฺโช 
จุตูปปาตญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อาสวักขยญาณ

ชื่อพระโสดาบัน
สตฺตกฺขตฺตุปรโม = ผู้มี 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง
ท่องเที่ยวสลับกันระหว่างเทวโลกและมนุษยโลก
ไม่ได้เกิดบนเทวโลก หรือมนุษย์โลกอย่างเดียว

โกลํโกโล = จากตระกูลสู่ตระกูล
ท่องเที่ยวไป 2-3 ตระกูล อันนี้ไปที่เดียวได้ไม่ต้องสลับ
เทพก็เทพตลอด มนุษย์ก็มนุษย์ตลอด

เอกพีช = 1 พืช
เกิดในมนุษยโลกอีก 1 ชาติ
อันนี้เกิดในมนุษย์เท่านั้นบรรลุเลย

สกทาคามี = มาสู่โลกนี้ หมายถึง กามภูมินี้ อีกครั้งหนึ่ง
สกึ = 1
ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นมนุษยืเท่านั้น

อนาคามี = ไม่มาสู่โลกนี้ คือ ไม่มาสู่กามภูมินี้อีก
น + อาคามี

อนฺตราปรินิพฺพายี
ไปเกิดในสุทธาวาส ชั้นใดชั้นนึง - อวิหา, อตัปปา, สุทัสสา, สุทัสสี, อกนิษฐ
(ในบาลีก็ยังใช้คำว่าสัคคะ - สวรรค์ คือไม่ได้แยกเทพกับพรหมออกมาชัดเจน)
อนฺตรา = ในระหว่าง, ในลำดับต่อมา
เกิดปุ๊บบรรลุเลย หรืออายุไม่ถึงครึ่งก็บรรลุ (ช่วงต้นถึงท่อนกลาง)
(อายุแต่ละชั้นก็ไม่เท่ากัน)

อุปหจฺจปรินิพฺพายี
ไปเกิดในสุทธาวาส ชั้นใดชั้นนึง
บรรลุตอนใกล้ตาย (ช่วงท่อนกลางถึงบั้นปลายชีวิต)

อสงฺขารปรินิพฺพายี
อสงฺขาร = ไม่ต้องขวนขวาย ไม่ต้องพยายาม

สสงฺขารปรินิพฺพายี
สสงฺขาร = ต้องใช้ความพยายามมาก

อุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐคามี
เกิดครบทั้ง 5 ชั้น (4 ประเภทขั้นต้นจะเกิดชั้นใดชั้นหนึ่ง)
อุทฺธํ = เบื้องบน
โสโต = กระแส

สัมมัตตนิยาม

นิยามที่ถูกต้อง
หมายถึง อริยมรรคมีองค์ 8

นิยาม = กฏเกณฑ์ ข้อกำหนด
สัมมัตต = ที่ถูกต้อง

ถ้ามี 8 มารวมกัน ถูกแน่นอน
ถ้าไม่รวม จะถูกขนาดไหน ก็ยังไม่ถูก

ภัย 4


  1. ทุคติภัย
  2. วัฏฏภัย - กลัวภัยในวัฏฏ อะไรที่ทำให้นมนานในวัฏฏะไม่กล้าทำ
  3. กิเลสภัย - กลัวกิเลสเกิด ระมัดระวัง
  4. อุปวาทภัย - กลัวการติเตียน ทั้งติเตียนตน ติเตียนผู้อื่น
ปุถุชน (ผู้มีศีล) กลัวทุกภัย 
ไม่มีศีลก็ไม่กลัว
เป็นภยูปรโต

พระเสขะ กลัวข้อ 2-4 เป็นภยูปรโต
กลัวอยู่นาน
พูดมาก อยู่นาน 
โม้เยอะ อยู่นาน
กินอร่อย อยู่นาน

พระอรหันต์ งดเว้นบาปแต่ไม่ใช่เพราะกลัวอะไร 
เป็นอภยูปรโต



ปรามาส

ปรามาส เป็นชื่อของทิฏฐิ

สีลัพพตปรามาส
ไปจับยึดศีลและวัตรมาปฏิบัติเพื่อตน เพื่อของตน
ทำแบบนี้แล้วตนจะดีขึ้น
ทำแบบนี้แล้วตนจะได้นั่นนี่

พวกจับผิด
ก็คือไปจับเอาว่า
"เรามีศีล" 
"ศีลของเรา"
"ถ้าเราทำอย่างนี้เราจะบริสุทธิ์ขึ้น"

วัตถุประสงค์ของศีลและวัตร เพื่อฝึกสติสัมปชัญญะ
ให้มีพื้นฐานที่ดีเพื่อไปทำสมาธิ และปัญญาต่อไป

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิธีสร้างสุขแบบโง่ๆ

สร้างทุกข์ขึ้นมาก่อน
แล้วก็ไปหาทางดับทุกข์
รู้สึกสุขแล้ว....

อยากเย็น
หาไฟมาเผาตัวเองก่อน
ดับไฟ อาบน้ำ มีความสุข

เพื่อที่จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเรื่อง
ก็หาเรื่องมาก่อน
แก้ปัญหา
รู้สึกหมดเรื่อง

วนอยู่อย่างนี้
จะทำไปทำอะไรเนี่ย

ไม่เห็นว่าตอนไม่มีกิเลส ไม่มีความอยากอะไรมันก็อยู่ได้
นั่นเป็นอาการอย่างนึงของนิพพาน
ไม่มีตัณหา
ลองมาสังเกตอาการอย่างนี้ดู
เกิดบ่อยนะ

อนุโลม โคตรภู มรรค

เอียงไปทางดับ
ไม่เอียงมาในทางเกิด
ในความรู้สึกไม่ได้มีเรามาโผล่ในความคิดความรู้สึก

เอียงไปนิพพาน
ไม่เอียงไปสังขาร
ตอนเอียงเรียก อนุโลม

ตอนล้ม ล้มค่อยๆ ล้ม เรียกค่อยล้ม

ล้มพอดี เรียก มรรค

ปัญญาบริบูรณ์

ไม่ได้อยากรู้อะไรต่อแล้ว
เหมือนเดิมนั่นแหละ

สมาธิพอสมควร

เมื่อมีสมาธิพอสมควร
จะเห็นกิเลสแต่ไม่ถูกครอบงำ

เห็นรัก เห็นโกรธ เห็นง่วง
แต่ไม่โดนครอบงำ

ยังถูกครอบงำเพราะกำลังจิตน้อย
ยังเห็นผิดเพราะปัญญายังน้อย
จึงต้องฝึกทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา

จักขุง อุทะปาทิ

จักขุง ชื่อว่าดวงตา เพราะเห็น
ญาณัง ชื่อว่า ญาณ เพราะรู้ตามเป็นจริงไม่ผิดเพี้ยน
ปัญญา ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้โดยรอบ รู้ทั่วถึง
วิชชา ชื่อว่า วิชชา เพราะแทงตลอด
อาโลโก ชื่อว่า อาโลโก เพราะสว่างไสว

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ขันธ์ VS กิเลส

ขันธ์
ความธรรมดาที่ได้สะสมมาเป็นอย่างนั้น
เป็นไปตามความเคยชิน

กิเลส
มาเป็นครั้งๆ แล้วก็มาจับยึดขันธ์ว่าเป็นตัวเราของเรา
จะทำอะไร ก็ใช้ขันธ์ไปทำ
ทำเสร็จก็จากไป
คนรับเคราะห์คือ ขันธ์

ขันธ์ เวลามันติด
มันก็คิดเอนเอียงไปทางนั้น
อย่างเคยอยู่ที่นี่แล้วสบายใจ ก็จะมาที่นี่
ขันธ์มันคุ้นเคย
เหมือนพระอรหันต์ โดยทั่วไปก็มักกลับไปถิ่นที่ท่านเคยอยู่

พวกเรื่องอากาศ เรื่องอาหาร
เรื่องพื้นฐานการกินอยู่ ที่นอน กิริยาท่าทาง
ทำไปนานๆ จนติด ไม่ได้มีกิเลสก็ทำ
ไม่ได้ทำเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง
จะเป็นขันธ์

หรือติดบุหรี่
ตอนแรกๆ จะอยากโก้ อยากเท่ อันนี้เป็นกิเลส
แต่ทำไปนานๆ ก็ไม่ได้อยากจะเท่อะไร แต่ติดแล้ว
มันจะอยู่ไม่ได้ มันต้องมีธาตุตัวนี้ใส่เข้าไป

หรือกินกาแฟ
กินใหม่ๆ ก็อร่อย
ไปๆ มาๆ จริงๆ จะไม่กินก็ได้ แต่ก็เหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง

หรือบางคนพูดแต่เรื่องเมตตาอยู่เสมอ
บ่อยๆ ก็จะติด
ใจก็จะเอียงไปทางนี้ ความคิดความนึกก็จะเอียงไปทางนี้
ความคิดความนึกอันนี้ไม่ได้เป็นความต้องการ แต่เป็นขันธ์ไปแล้ว

หรือต้องดูข่าวตอนเช้า

ตัวติดจริงๆ
ที่ติดจรงๆ เป็นขันธ์ คือ เป็นผล เป็นอุปาทานขันธ์

แต่ตัวที่อยาก ตัวที่ต้องการเพื่อสนองความอยากนี่ เป็นตัวกิเลส
ซึ่งเกิดไม่นาน แป๊บเดียวก็ดับ

เมื่อกิเลสยังมีอยู่
และเมื่อขันธ์เป็นอย่างนี้
กิเลสก็ไปยึดครองขันธ์ว่า "นี่เป็นเราติด" "เป็นการติดของเรา"
ทั้งที่จริงไม่ต้องมีตัวเรามันก็ติดแบบนั้นเหมือนกัน

เอาหมามาเลี้ยงตอนแรกเพราะชอบ
ต่อมาแม้ไม่มีความรู้สึกอย่างนี้ ก็ยังเลี้ยงอยู่
ไปกอด ไปจูงมันเล่น
เป็นนิสัยอันใหม่ เป็นขันธ์ไป กิเลสมันไปตั้งนานแล้ว

ทีนี้นิสัยบางอันมันเสียเวลา
แม้จะไม่เป็นกิเลส
แต่เป็นเหตุให้เกิดกิเลส

ดังนั้น ขันธ์ จะมีทั้งที่แบบเป็นเหตุให้เกิดกิเลส และทั้งที่เป็นวิบากเฉยๆ
จึงต้องมาดูว่าการติดแบบไหนที่มันเป็นเหตุให้เสียเวลาเยอะ
บางอย่างเป็นโทษ
หรือเป็นเหตุให้กิเลสก็ต้องลดละ หรือให้มันไปติดอีกอย่าง เช่น ไปติดฟังธรรม
"ถึงแม้จะไม่ใช่กิเลส ก็ต้องลดเช่นกัน"

ขันธ์มันทำงานเองของมันได้
กิเลสมันก็จะมายึดครองว่า "เราเป็นผู้..." นั่นนี่อะไรต่างๆ
อันที่่จริงมันเป็นการเป็นไปของกองทุกข์ล้วนๆ เลย

แม้กระทั่ง การไปยึดขันธ์ว่าเป็นเรา ที่ว่าเป็นกิเลสเนี่ย
ก็เป็นความเคยชินที่เกิดขึ้น
เนื่องจากไม่มีตัวตัดความเคยชินมา (สตินั่นเอง)
เขาถึงให้ฝึกสติบ่อยๆ ให้คอยตัดความเคยชิน
เอาจริงๆ แม้กิเลสก็เป็นความเคยชิน

คิดไปบางทีก็คิดไม่ออก มีความซํบซ้อนอยู่เหมือนกัน

สรุปเป็นว่า
อันไหนเสียเวลา เกิดกิเลสเยอะ อย่าไปทำ
เราก็มาฝึกสติ สมาธิ ปัญญา

บ่อยเข้าก็แยกออกอันไหนเป็นกิเลส อันไหนเป็นขันธ์
ก็ปล่อยวางขันธ์ ให้ขันธ์มันทำงานเอง
เหมือนปวดเข้าห้องน้ำ ไม่ต้องมีกิเลสก็เข้าได้

โดยส่วนใหญ่แล้วขันธ์ทำงานเองด้วยซ้ำ
หายใจเข้าออก ขันธ์ก็ทำงานเอง
ย่อยอาหารที่กินเข้าไป ขันธ์ก็ทำงานเอง
สนใจเรียนธรรมะ ขันธ์มันก็ทำงานเองของมันได้

แต่กิเลสดันมารวบรัด
ตัณหาโผล่มาเอาหน้าว่า "เราทำ"
เช่น เราขยันเรียน (จริงๆ ขยันเรียนโดยไม่ต้องมีเราก็ได้นะ)
จริงๆ ตัวขยันเรียนจริงๆ น่ะเป็นขันธ์

ส่วนตัวที่มารวบ มาถือขันธ์ว่าเป็นเรา เป็นของเรา อันนี้คือ...กิเลส

ข้อสังเกต
โดยส่วนใหญ่ เป็นขันธ์ที่ทำงาน
ส่วนกิเลส โผล่มาจับขันธ์ว่าเป็นเรา เป็นของเรา

ลองถ่ายวีดีโอตัวเอง
กิริยาแสดงออกมาเอง มันจะเยอะกว่าที่ เรานึกว่าจะทำ
ไอ้เรานึกเนี่ย เป็นการไปถือครองว่า "เราทำ" จริงๆ ขันธ์มันทำเอง
ดังนั้นที่จะให้เอาออกเนี่ยคือ ไอ้ยึดว่าเราทำ วางลง ให้ขันธ์มันทำ
อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์

ตัวสติมันก็จะไปรับรู้
เออ มันคิดอย่างนี้ มันก็ไปทำอย่างนี้ๆ
โดยไม่ต้องมีเราไปทำเลยสักกะคนนึง
ดูไปก็จะเห็นว่า อ่อ ตอนกิเลสเป็นตอนนึง ตอนขันธ์เป็นอีกตอนนึง

กิเลสคือตรงที่ยึดขันธ์ว่าเป็นตัวเรานี่แหละ
เห็นผิดว่าขันธ์เป็นตัวเรานี้คือ สักกายทิฏฐิ
พอยึดว่าเป็นตัวเราแล้วก็อยากให้เราอยู่รอดปลอดภัย อันนี้ก็คือตัณหา
แล้วก็ไปทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็น อุปาทาน

ระวังให้ดี
ความเคยชิน ไม่เท่ากับ กิเลส
พระอรหันต์อาจจะพูดเสียงดังโดยที่ไม่ได้โกรธ
ฉะนั้น อย่าไปว่าใคร...ดีที่สุด
ว่าเจอพระอริยะ ก็ตัว who ตัว it

-473-

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความจริงบางอย่างพิจารณาแล้วกิเลสไม่ลด

แม้ฉลาด แม้รู้มาก แม้มองความจริงตามจริง
แม้มองเป็นเหตุเป็นผล เป็นเงื่อนไข
แต่มองกว้างๆ มองความเปลี่ยนแปลงของโลก ของจักรวาล ของสังคม ของยุคสมัย
ได้ความรู้มาก แต่กิเลสไม่ลด
ยังเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิ

โลกิยสัมมาทิฏฐิ
ออกแนวกว้างๆ
ออกแนวโลกๆ

ความจริงบางอย่าง พิจารณาแล้วกิเลสลด
ความจริงบางอย่าง พิจารณาแล้วกิเลสไม่ลด

ความจริงที่พิจารณาแล้วกิเลสลดคือพิจารณาแบบอริยสัจ 4
ถ้าจะคิด คิดแบบอริยสัจ 4
ถ้าจะพูด พูดแบบอริยสัจ 4
โยนิโสฯ แบบที่กิเลสลด คือ โยนิโสแบบอริยสัจ 4
โยนิโสฯ เฉพาะอริยสัจ 4

โลกิยฯ มองกว้างๆ เพื่อให้เกิดศรัทธาในปัญญาตรัสรู้เท่านั้นเอง
เมื่อศรัทธาเกิดแล้ว ต่อไปก็จะไม่มองไปทางโลกอีกต่อไป
จนกระทั่งไม่คิดจะช่วยเหลือโลกอะไรอีกต่อไป
จะมองแค่อริยสัจสี่

หลังจากมีศรัทธา
ถ้าต้องการที่จะหมดกิเลส
ให้โยนิโสแค่อริยสัจ 4 ก็พอ

พิจารณาว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
พิจารณาว่า กิเลส เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

จะรู้ละเอียด หรือรู้ย่อๆ
ถ้าละกิเลสได้ เสมอกันด้วยวิมุตติ

เหตุเงื่อนไขอื่นๆ ไม่ใช่อริยสัจ
แม้จะถูก แต่ยาว อยู่กันอีกนาน กิเลสไม่ลด

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สติปัฏฐาน 4 สามแบบ สองนัยยะ

ใช้ปัญญาจากสติปัฏฐานที่ฝึกมา
ไปในทางไหนบ้าง

3 แบบ
แบ่ง 2 นัยยะ

3 แบบ (นัยยะที่ 1)
ภายใน
ภายนอก
ภายในและภายนอก

เกิดบ้าง (นัยยะที่ 2)
ดับบ้าง
ทั้งเกิดทั้งดับบ้าง

การกล่าวนี้ไม่เป็นตามลำดับปฏิบัติ
เป็นเพียงลำดับเทศนาเท่านั้น
แปล เห็นอะไรก่อนก็เห็นอันนั้้นแหละ

ใช้วิธียังไงก็ได้ให้มันลงเอาในใจ
ฝ่ายไม่ดีอย่าให้มันลง ฝ่ายดีเอาให้มันลง
นึกเอา คิดเอา ก็ได้
ดูภายในประจักษ์เอา ก็ได้
ดูภายนอกแล้วน้อมภายใน ก็ได้

ฝ่ายดีนึกแล้วเอาไม่ลง
ก็นึกฝ่ายไม่ดีแทน เอาให้มันลงใจ

เพื่อให้รู้ว่าทั้งเราทั้งคนอื่นเสมอกัน คือไม่เที่ยง
ประเด็นคือ ไม่ยึดทั้งเราและผู้อื่น

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ฝ่ายรับ ฝ่ายกระทำ

สังขารนี้เป็นฝ่ายกระทำ เช่นเดียวกับสัญญา
เวลาจำแนกสัญญา ก็จำแนกเป็นสัญญา 6

ส่วนเวทนาเป็นฝ่ายรับ เป็นสุุข/ทุกข์/อทุกขมสุข

พอมีเวทนาแล้วก็เกิดภาคกระทำ
ในหลักปฏิจจฯ จึงไม่ต้องมีทัั้งสัญญา ไม่ต้องมีทั้งเจตนา
เพราะเป็นฝ่ายกระทำเหมือนกัน ก็เอาตัณหามาพูดเลย

ฝ่ายรับ
จะมีอุปกรณ์คือผัสสะ
ฝ่ายรับคือเวทนา

ฝ่ายกระทำ
สัญญา และเจตนา
ถ้าเป็นแบบปฏิจจฯ เพื่อให้เห็นชัด ก็จะแสดงในลักษณะว่าทำตามอำนาจของตัณหา
เวทนาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาไปเลย
จริงๆ ก็คือมีทั้ง สัญญา เจตนา ตัณหา รวมอยู่ในนี้

(ฝ่ายรับ) เมื่อเวทนาแล้ว
ก็จะเกิดสัญญาที่พิสดารซับซ้อนขึ้นมา ปรุงนู่นนี่นั่นขึ้นมาตามสังขาร
ความคิดซับซ้อนพวกนี้ ก็จะกลายเป็นวิตกวิจารณ์ต่างๆ นานา
จุดต่อนี้จึงพูดตัณหาไปเลย เนื่องจากมีความซับซ้อนหลายประการ

เมื่อเกิดสุขทุกข์ ก็จะมีความคิดที่ซํบซ้อนตามองค์ความรู้ที่เคยได้รับมา
ซึ่งความรู้นั้น เกิดจากการกระทำในอดีตแล้วสั่งสมความรู้เอาไว้

ปฏิฆสัมผัส อธิวจนสัมผัส

ปฏิฆะ แปลว่า การกระทบกัน
มีวัตถุและอารมณ์มากระทบกันจริงๆ

วัตถุคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ

อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

กระทบกันแล้วเกิดวิญญาณขึ้น
ตามาชนรูป รูปมาชนตาแล้วเกิดการรับรู้
การประชุมของ 3 องค์นี้เรียกว่า ผัสสะ

แต่รูปชนตาแล้วไม่เกิดการรับรู้ก็ได้
ถ้าไม่มีมนสิการ

ผัสสะนี้จะนับเฉพาะ รูป และตา ชนกันแล้วเกิดวิญญาณได้
จะเกิดวิญญาณได้ต้องมีการมนสิการ คือ มีการใส่ใจถึง

ดังนั้นแต่ละคนกระทบแล้วจึงเกิดการรับรู้อารมณ์ที่ต่างกันบ้างตามการใส่ใจ
เช่นว่า มองคนๆ เดียวกัน บางคนมองเสื้อเขา บางคนมองกางเกง


เมื่อมีสัมผัส สัญญาก็เกิด
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (ปฏิฆสมฺผสฺสชา สญฺญา)
คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร

เป็นสัญญาหยาบ

----

อธิวจนะ คือ สักว่าเป็นแต่ชื่อ
คือ สักแต่ว่ามาชนกัน เพราะใจก็อยู่ในใจ ไม่ได้มาชนกับอารมณ์จริงๆ
สร้างขึ้นมา เช่น สร้างขึ้นมาว่าเขาด่า เขาก็ไม่ได้มายืนด่าอยู่จริงๆ
เป็นการนึกเอาลอยๆ
เหมือนเขาวิ่งมาชนใจ แต่จริงๆ มีที่ไหน

สัญญาที่เกิดแต่ อธิวจนสัมผัส (คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร)
เป็นสัญญาละเอียด

สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ทูเร วา สันติเก วา

ไกล คือ ไม่เสมอกัน ไม่เหมือนกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน
ใกล้ คือ เสมอกัน เหมือนกัน เกี่ยวข้องกัน

แบ่งเหมือนหยาบ / ละเอียด / ทราม / ประณีต

อยากใกล้คนเจ็บ เจ็บด้วย

โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปณีตา วา

ความหยาบ ความละเอียด / ทราม ประณีต
แบ่งโดยชาติ (การเกิด)

อกุศล หยาบกว่า กุศล
แม้จะเป็นเวทนาที่เพลิดเพลินอย่างร้องคาราโอเกะ ก็ยังเร่าร้อน

กุศล หยาบกว่า อพยากต
เพราะยังมีวิบากให้จัดแจง

กุศลอกุศล ยังต้องลำบากปรุงแต่งขึ้นมา และก็ให้ผลด้วย
อพยากต เป็นผลแล้ว ไม่ต้องขวนขวายปรุงขึ้นมา
สิ่งที่ให้ผล กับสิ่งที่เป็นผล
สิ่งที่เป็นผล มีความละเอียดกว่าโดยธรรมชาติ

กุศล อกุศล เป็นเหตุ
อัพยากต เป็นผล หรือเป็นกิริยา

---
ความหยาบ ความละเอียด  / ทราม ประณีต
แบ่งโดยสภาวะ

ทุกข์ หยาบกว่า เพราะทนได้ยาก
สุข ละเอียดกว่า
อทุกขมสุข ยิ่งละเอียดกว่า

สุขทุกข์ ยังมีรู้สึกหวั่นไหว กระจัดกระจาย
อทุกขมสุข รู้สึกสงบ

จะหยาบละเอียดก็สักแต่ว่าเวทนา

---
ความหยาบ ความละเอียด  / ทราม ประณีต
แบ่งโดยบุคคลที่เข้าสมาบัติได้

เวทนาของผู้ที่ไม่ได้เข้าสมาบัติ (คือเข้าไปพักจุดใดจุดหนึ่ง) เป็นของหยาบ
เพราะมันหลายอารมณ์ กระโดดไปมา

เวทนาของผู้ที่เข้าสมาบัติได้ เป็นของละเอียด (เข้าฌาน 1-2-3-4 ได้)

---
ความหยาบ ความละเอียด / ทราม ประณีต
แบ่งโดยความเป็นโลกิยะ โลกุตตระ

เวทนาที่ไม่มีอาสวะเข้าไปจับ ไปถือ ไปครอง เป็นของละเอียดกว่า
เวทนาที่เกิดกับโลกิยะ เป็นของหยาบ

---
พึงทราบเวทนาที่หยาบและละเอียด / ทราม ประณีต โดยการเปรียบเทียบเป็นลำดับๆ ไป

เช่น ในของหยาบด้วยกัน ก็มีหยาบละเอียดมากน้อย

โทสะ ก็หยาบกว่า โลภะ
ในโลภะ สสังขาริก (มีการกระตุ้น) ก็หยาบกว่า อสังขาริก
มีทิฏฐิประกอบ ก็หยาบกว่า ไม่มีทิฏฐิประกอบ

หรือเปรียบเทียบกุศล
กามาวจร ก็หยาบกว่า รูปาวจร
รูปาวจร ก็หยาบกว่า อรูปาวจร
อรูปาวจร ก็หยาบกว่า โลกุตตระ

ในกุศล ญาณสัมปยุต ละเอียดกว่า ญาณวิปยุต

สรุปคือ จะหยาบ จะละเอียดอันใด ก็สักว่าเวทนา ก็เป็นเพียงความรู้สึก
ก็ไม่มีตัวตนเหมือนกันนั่นแหละ
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

รู้จักเจ็บ รู้จักตาย กลัวเจ็บ กลัวตาย

จิตไม่มีว่าทนไหว ทนไม่ไหว
ที่ทนไหว ทนได้ ทนอย่างสบาย คือเวทนาที่เป็นสุข

จิตไม่รู้จักเจ็บ
ที่รู้จักเจ็บ รู้จักทนไม่ไหว คือ เวทนาที่เป็นทุกข์

ผู้ใดรู้เรื่องเวทนาดีก็จะไม่กลัวเจ็บอีกต่อไป
เพราะจิตมันไม่รู้จักเจ็บ
ตัวรู้จักเจ็บคือ เวทนา

ถ้าใครรู้จักกายดี
ก็จะไม่กลัวตายอีกต่อไป
เพราะจิตนั้นไม่ตาย
ตัวรู้จักตายคือ ... กาย

ความเจ็บก็ไม่รู้จักตายเหมือนกัน
เจ็บจนจะตาย ก็ยังไม่ตาย
จนกว่ากายจะพัง
ฉะนั้น กายพังไม่เจ็บ ส่วนเจ็บนี้ไม่ตาย 555
มีแต่เกิดดับเฉยๆ

ฉะนั้นที่ว่า "เราจะตาย" นี่ยังโง่อยู่

ของที่รู้จักตาย มันไม่รู้ตัวว่ามันตายด้วยซ้ำไป
ของที่รู้จักตาย มันไม่เจ็บปวดด้วยซ้ำ (กายไม่เคยร้องโอ๊ย~~~)

ตัวที่เจ็บปวด (คือเวทนา) ก็ไม่รู้จักตาย

ตัวที่รู้ว่าเจ็บปวด รู้ว่ากายพัง...ก็ไม่รู้จักพัง ก็คือตัววิญญาณ 5555

ฉะนั้น ความกลัวตาย เป็นแค่กิเลส
และความกลัวตายไม่ได้ตายไปกับความตาย
ก็อยู่เหมือนเดิม เหมือนเราตายมาหลายรอบ ก็ยังกลัวตายอยู่เหมือนเดิม
และของทีตายจริง ก็ไม่รู้จักกลัว (คือกายมันไม่รู้เรื่อง)

แม้กระทั่งความแก่ ก็ครอบงำจิตไม่ได้
ครอบงำกายได้เท่านั้น

ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา - ประมวลเข้า

ตตฺถ กตโม เวทนากฺขนฺโธ? ....

อภิสญฺญูหิตฺวา  ประมวลแล้ว
อภิสงฺขิปิตฺวา ย่อแล้ว
ตเทกชฺฌํ (ตํ + เอกชฺฌํ) โดยความเป็นอันเดียวกัน


สังเกตการเรียนว่าตอนแรกจะเรียนแบบแยกแยะก่อน
แยกแยะรายละเอียดที่มีอยู่มากมายแล้วประมวลเข้ามา
รวมเป็นลักษณะหรืออาการเดียว (เช่น สำหรับเวทนาขันธ์ คือ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น)

จะเห็นละเอียดขนาดไหน ท้ายที่สุดแล้ว
มารวมทีหลังแล้วก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า
"นี่แหละสักแต่ว่าเวทนา"
ซึ่งเวทนานี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตัวตนของเรา

เห็นเท่านี้พอหรือไม่พอ?
ไม่เกี่ยวกับเห็นมากน้อยแค่ไหน
เกี่ยวกับแค่ว่า แล้วมันเลิกเห็นผิดได้มั้ย
ถ้าไม่ได้ ความหมายคือว่า ปฏิบัติเท่านั้นก็ "ไม่พอ"

แล้วถ้าไม่พอต้องทำอะไรเพิ่ม?

ก็มาดูตามพุทธพจน์
วัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่ดูเพื่อให้เก่งกาจอะไร แต่เพื่อละความเห็นผิดที่ยังมีอยู่
ยิ่งมีอุบายเพิ่มเติม (เรียนแบบแยกแยะ) ก็ยิ่งมีอุบายละความเห็นผิดได้ง่ายเข้า ก็เท่านั้นเอง

บางทีไม่มีอุบายก็ไม่รู้จะไปทางไหน .
พิจารณาทางเดิมก็ได้เท่าเดิม (ซึ่งยังไม่พอสำหรับการละความเห็นผิด)
แก้ปัญหาไม่ได้

การปฏิบัติธรรมไม่เกี่ยวกับรู้มากไม่มาก
เกี่ยวกับว่าแก้ปัญหาได้มั้ย
ปัญหาก็คือกิเลส แก้กิเลสได้ไหม แก้ความเห็นผิดได้หรือยัง

การ "รวบ" ด้วย "ปัญญาอันชอบ" จะเกิดเองโดยธรรมชาติ
หน้าที่เราก็แค่ มาฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ในกรรมฐาน ในองค์มรรคนี่แหละ
เพื่อ "ผล คือ ปัญญาอันชอบ" นี้ให้เห็นชัด เพื่อ...เพื่อ...เพื่อ ละกิเลสออกไป


วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิจารณาไตรลักษณ์

ผู้ที่พิจารณาเด่นในความไม่เที่ยง
จะเห็นสังขารปรากฏเป็นของสิ้นไป เสื่อมไป
ในใจจะรู้สึกว่ามีแต่ของหมดไปๆ แม้ของยังไม่หมด ก็ปรากฏในใจว่าหมด
แม้กำลังมีอยู่ ก็ปรากฏว่าหมด

เมื่อพิจารณาความไม่เที่ยงบ่อยๆ
จิตจะมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เชื่อพระพุทธเจ้า
จิตก็จะดิ่งลงในลักษณะเป็นอธิโมกข์ คือมีสัทธินทรีย์เป็นตัวนำ
คนที่เดินตามสัทธินทรีย์ที่นำหน้าไป นี้เรียกว่า สัทธานุสารี
เดินตามมรรคมีองค์ 8 เรื่อยไปจนบรรลุธรรม ก็เรียกว่า สัทธาวิมุตติ
ได้อนิมิตตวิโมกข์ คือความหลุดพ้นโดยเห็นว่า
โลกนั้นไม่มีเครื่องหมายใดๆ ที่พอจะไปจับ ไปถือ ไปต้องเอาไว้ได้
เพราะมีแต่ของสิ้นไป หมดไปๆ
ท่านก็เห็นมุมอนัตตาเช่นกัน เพียงแต่จุดเน้น เน้นมาทางไม่เที่ยง

ผู้ที่พิจารณาเด่นในความเป็นทุกข์ เป็นของบีบคั้น
จะเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
จิตก็จะหงอย เหงา
ปฏิบัติก็มักต้องฝ่าฟันความลำบากนานาประการ 
 จิตท่านจึงเน้นไปทางสมาธิ คือมีจิตมั่นคง ไม่หวั่นไหว
เพราะโลกมันมีแต่ทุกข์ เป็นของน่ากลัวอยู่เสมอ จึงระมัดระวังจิตใจมาก
มักจะไม่เข้าไปยุ่งกับคนนั้นคนนี้ เพราะสิ่งต่างๆ ปรากฏแก่ใจแล้วว่าน่ากลัวทุกอย่าง
อินทรีย์ที่เป็นตัวนำคือ สมาธินทรีย์ มีความไม่หวั่นไหวไปกับโลกเป็นตัวนำ
เรียกท่านเหล่านี้ว่า กายสักขี
เห็นโลกเป็นทุกข์ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ ต้องพึ่งจิตตนเท่านั้น
เมื่อบรรลุธรรม ก็เรียกว่า กายสักขี เช่นเดิม
เมื่อบรรลุธรรมเรียก อัปปนิหิตวิโมกข์ คือบรรลุโดยเห็นว่า
โลกสังขารมีแต่ทุกข์ ไม่อาจจะหยั่งลงตรงไหนได้


ผู้ที่พิจารณาเด่นในควาเป็นอนัตตา
สังขารจะปรากฏเป็นความไม่ใช่ตัวตน ว่างจากตน
ไม่มีใครทำเหตุ ไม่มีใครรับผล
อินทรีย์ที่มากคือ ปัญญินทรีย์
ท่านที่หยั่งลงสู่ปฏิปทาเช่นนี้ เรียก ธัมมานุสารี
เมื่อบรรลุธรรม เรียก ทิฏฐิปปัตตะ บรรลุเพราะความเห็นตรงถูกต้อง
เมื่อได้บรรลุ ก็เรียกว่าเป็นแบบสุญตวิโมกข์

สตินทรีย์และวิริยินทรีย์ ทุกคนมีเหมือนกัน
แต่ความโดดเด่นจะแตกต่างกัน 3 อินทรีย์