ปฏิฆะ แปลว่า การกระทบกัน
มีวัตถุและอารมณ์มากระทบกันจริงๆ
วัตถุคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ
อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
กระทบกันแล้วเกิดวิญญาณขึ้น
ตามาชนรูป รูปมาชนตาแล้วเกิดการรับรู้
การประชุมของ 3 องค์นี้เรียกว่า ผัสสะ
แต่รูปชนตาแล้วไม่เกิดการรับรู้ก็ได้
ถ้าไม่มีมนสิการ
ผัสสะนี้จะนับเฉพาะ รูป และตา ชนกันแล้วเกิดวิญญาณได้
จะเกิดวิญญาณได้ต้องมีการมนสิการ คือ มีการใส่ใจถึง
ดังนั้นแต่ละคนกระทบแล้วจึงเกิดการรับรู้อารมณ์ที่ต่างกันบ้างตามการใส่ใจ
เช่นว่า มองคนๆ เดียวกัน บางคนมองเสื้อเขา บางคนมองกางเกง
เมื่อมีสัมผัส สัญญาก็เกิด
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (ปฏิฆสมฺผสฺสชา สญฺญา)
คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร
เป็นสัญญาหยาบ
----
อธิวจนะ คือ สักว่าเป็นแต่ชื่อ
คือ สักแต่ว่ามาชนกัน เพราะใจก็อยู่ในใจ ไม่ได้มาชนกับอารมณ์จริงๆ
สร้างขึ้นมา เช่น สร้างขึ้นมาว่าเขาด่า เขาก็ไม่ได้มายืนด่าอยู่จริงๆ
เป็นการนึกเอาลอยๆ
เหมือนเขาวิ่งมาชนใจ แต่จริงๆ มีที่ไหน
สัญญาที่เกิดแต่ อธิวจนสัมผัส (คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร)
เป็นสัญญาละเอียด
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น