วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ฝ่ายรับ ฝ่ายกระทำ

สังขารนี้เป็นฝ่ายกระทำ เช่นเดียวกับสัญญา
เวลาจำแนกสัญญา ก็จำแนกเป็นสัญญา 6

ส่วนเวทนาเป็นฝ่ายรับ เป็นสุุข/ทุกข์/อทุกขมสุข

พอมีเวทนาแล้วก็เกิดภาคกระทำ
ในหลักปฏิจจฯ จึงไม่ต้องมีทัั้งสัญญา ไม่ต้องมีทั้งเจตนา
เพราะเป็นฝ่ายกระทำเหมือนกัน ก็เอาตัณหามาพูดเลย

ฝ่ายรับ
จะมีอุปกรณ์คือผัสสะ
ฝ่ายรับคือเวทนา

ฝ่ายกระทำ
สัญญา และเจตนา
ถ้าเป็นแบบปฏิจจฯ เพื่อให้เห็นชัด ก็จะแสดงในลักษณะว่าทำตามอำนาจของตัณหา
เวทนาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาไปเลย
จริงๆ ก็คือมีทั้ง สัญญา เจตนา ตัณหา รวมอยู่ในนี้

(ฝ่ายรับ) เมื่อเวทนาแล้ว
ก็จะเกิดสัญญาที่พิสดารซับซ้อนขึ้นมา ปรุงนู่นนี่นั่นขึ้นมาตามสังขาร
ความคิดซับซ้อนพวกนี้ ก็จะกลายเป็นวิตกวิจารณ์ต่างๆ นานา
จุดต่อนี้จึงพูดตัณหาไปเลย เนื่องจากมีความซับซ้อนหลายประการ

เมื่อเกิดสุขทุกข์ ก็จะมีความคิดที่ซํบซ้อนตามองค์ความรู้ที่เคยได้รับมา
ซึ่งความรู้นั้น เกิดจากการกระทำในอดีตแล้วสั่งสมความรู้เอาไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น