ตตฺถ กตโม เวทนากฺขนฺโธ? ....
อภิสญฺญูหิตฺวา ประมวลแล้ว
อภิสงฺขิปิตฺวา ย่อแล้ว
ตเทกชฺฌํ (ตํ + เอกชฺฌํ) โดยความเป็นอันเดียวกัน
สังเกตการเรียนว่าตอนแรกจะเรียนแบบแยกแยะก่อน
แยกแยะรายละเอียดที่มีอยู่มากมายแล้วประมวลเข้ามา
รวมเป็นลักษณะหรืออาการเดียว (เช่น สำหรับเวทนาขันธ์ คือ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น)
จะเห็นละเอียดขนาดไหน ท้ายที่สุดแล้ว
มารวมทีหลังแล้วก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า
"นี่แหละสักแต่ว่าเวทนา"
ซึ่งเวทนานี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตัวตนของเรา
เห็นเท่านี้พอหรือไม่พอ?
ไม่เกี่ยวกับเห็นมากน้อยแค่ไหน
เกี่ยวกับแค่ว่า แล้วมันเลิกเห็นผิดได้มั้ย
ถ้าไม่ได้ ความหมายคือว่า ปฏิบัติเท่านั้นก็ "ไม่พอ"
แล้วถ้าไม่พอต้องทำอะไรเพิ่ม?
ก็มาดูตามพุทธพจน์
วัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่ดูเพื่อให้เก่งกาจอะไร แต่เพื่อละความเห็นผิดที่ยังมีอยู่
ยิ่งมีอุบายเพิ่มเติม (เรียนแบบแยกแยะ) ก็ยิ่งมีอุบายละความเห็นผิดได้ง่ายเข้า ก็เท่านั้นเอง
บางทีไม่มีอุบายก็ไม่รู้จะไปทางไหน .
พิจารณาทางเดิมก็ได้เท่าเดิม (ซึ่งยังไม่พอสำหรับการละความเห็นผิด)
แก้ปัญหาไม่ได้
การปฏิบัติธรรมไม่เกี่ยวกับรู้มากไม่มาก
เกี่ยวกับว่าแก้ปัญหาได้มั้ย
ปัญหาก็คือกิเลส แก้กิเลสได้ไหม แก้ความเห็นผิดได้หรือยัง
การ "รวบ" ด้วย "ปัญญาอันชอบ" จะเกิดเองโดยธรรมชาติ
หน้าที่เราก็แค่ มาฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ในกรรมฐาน ในองค์มรรคนี่แหละ
เพื่อ "ผล คือ ปัญญาอันชอบ" นี้ให้เห็นชัด เพื่อ...เพื่อ...เพื่อ ละกิเลสออกไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น