วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ุบุคคลบัญญัติ

สมยวิมุตฺโต = ผู้ได้สมาบัติ 8 และหลุดพ้นด้วย
อสมยวิมุตฺโต = ผู้ไม่ได้สมาบัติ 8 และได้หลุดพ้น

กุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม = ผู้มีธรรม (คือสมาบัติ 8) ที่เสื่อมได้
อกุปฺปธมฺโม, อปริหานธมฺโม = ผู้มีธรรม (คือสมาบัติ 8) อันไม่เสื่อม

เจตนาภพฺโพ, อนุรักฺขนาภพฺโพ
ภพฺพ = เหมาะสม สมควร
คือ ผู้ที่ได้สมาบัติ 8 แต่ไม่คล่องแคล่ว
ถ้าตามใส่ใจก็จะไม่เสื่อม ถ้าตามรักษาก็จะไม่เสื่อม

ปุถุชฺชโน
ปุถุ = หนา, เยอะ
ผู้ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อไม่ละสภาวะเหล่านั้น

ผู้ที่ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้
แต่กำลังปฏิบัติเพื่อที่จะละสังโยชน์ 3 ก็ไม่ได้เรียกปุถุชน

ฉะนั้น ปุถุชน ไม่ได้หมายถึง ผู้ที่ยังละสังโยชน์ 3 ไม่ได้เท่านั้น
ถ้าจะใช้คำนั้นจะใช้คำว่า อนริโย
(อนริโย ก็จะแบ่งเป็น ผู้ที่เป็นปุถุชน และไม่เป็นปุถุชน)

โคตฺรภู
ผู้ถึงโคตร ผู้ข้ามโคตร ครอบงำโคตรปุถุชนได้ ก้าวล่วงญาณของปุถุชน
โคตร = เหล่ากอ พืื้นฐาน นามสกุล เชื้อสาย
หมายถึง บุคคลก่อนจะเป็นพระอริยะ

ภยูปรโต
ผู้ที่งดเว้นจากบาปเพราะความกลัว = ปุถุชนผู้มีศีล และพระเสขะ 7 จำพวก
อุปรโต = งดเว้น
ภย = กลัว
อภยูปรโต
ผู้ที่งดเว้นจากการทำชั่วโดยไม่ต้องใช้ความกลัว
คือพระอรหันต์

ภพฺพาคมโน
ภพฺพ = เหมาะสม สมควร เป็นไปได้
คมโน = ไปสู่การตรัสรู้
ผู้ควร ผู้สามารถที่จะตรัสรู้ได้
อภพฺพาคมโน
ผู้ที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ธรรม
มีเครื่องกั้น 7 อย่าง ได้แก่

  1. กรรม - อนันตริยกรรม 5
  2. กิเลส - นิยตมิจฉาทิฏฐิ (นัตถิก~, อกิริย~, อเหตุก~) ความเห็นผิดที่ดิ่งมั่นคงไม่ยอมเปลี่ยน ไม่ยอมเชื่อใครแล้ว ฉะนั้น จะเห็นผิดก็อย่ามั่นเกินไป เอาให้อ่อนน้อมไว้ ให้แบบยังพอแก้ไขได้
    พวกดิ่งมักจะเป็นอาจารย์ พวกเจ้าลัทธิ พูดบ่อย พูดจนตัวเองเชื่อไปด้วย
  3. วิบาก - เกิดในภพภูมิไม่ดี หรือเป็นคนแต่บ้าใบ้บอดหนวก
  4. ไม่มีศรัทธา
  5. ไม่มีฉันทะ ไม่มีความรัก ความพอใจในคุณความดี ไม่รักดีใฝ่ดี
  6. ไม่มีปัญญา โดยเฉพาะ สชาติปัญญา ฟังไม่ออกโกหกมันไม่ดียังไง แยกแยะไม่ได้
  7. โง่เขลา ไม่มีอุปนิสัยมาในทางศีล สมาธิ ปัญญาเลย องค์มรรคไม่มีเลย
นิยโต
ผู้เที่ยงในทางไม่บรรลุ - นิยตมิจฉาทิฏฐิ
ผู้เที่ยงในทางจะบรรลุ - อริยบุคคล 8 จำพวก
ที่เหลืออเป็นผู้ไม่เที่ยง อนิยโต

ปฏิปนฺนโก = ผู้กำลังปฏิบัติ
หมายถึง ผู้ที่อยู่ในมรรค ผู้ที่มรรคเกิดรวม
ผเลฏฺฐิโต = ผู้ตั้งอยู่ในผล


สมสีสี
สม = เสมอ
สีส = สิ่งที่เป็นประธาน เป็นหลัก ศีรษะ
มีสิ่งที่เป็นประธานจบพร้อมกัน สิ้นพร้อมกัน
เป็นชื่อของพระอรหันต์ สิ้นอาสวะพร้อมสิ้นชีวิต

สิ่งที่เป็นหัวได้แก่ อวิชชา และชีวิตสีส (ชีวิตเป็นหัว)
พร้อมกัน หมายถึง ในวาระเดียวกันต่อเนื่องกัน
มรรค (ทำลายอวิชชา) - ปัจจเวก - จุติ (ทำลายชีวิตินทรีย์) - จบ

ฐิตกปฺปี
ผู้ทำกัปป์ให้ดำรงอยู่
ผู้ที่ยังอยู่กัปป์จะไม่ถูกทำลาย
บุคคลนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และเป็นเวลาที่กัปถูกไฟไหม้ กัปไม่พึงถูกไฟไหม้ตราบ เท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด (แม้ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นสกทาคามี, อนาคามี, อรหันต์ ก็เช่นกัน)
ความหมายคือ ถ้ายังมีคนปฏิบัติเพื่อบรรลุอยู่ เมื่อศาสนายังอยู่กัปป์จะไม่มีวันพินาศไป

อริโย = พระอริยะ 8 จำพวก
อนริโย = ที่ไม่ใช่พระอริยะ แบ่งเป็น เป็นปุถุชน และไม่เป็นปุถุชน

เสกฺโข = พวกเข้าโรงเรียน (มรรค 4 ผล 3)
อเสกฺโข = พวกเรียนจบแล้ว
เนวเสกฺขนาเสกฺโข = ทั้งไม่ได้เข้ารร.และก็ไม่ได้จบหลักสูตร

เตวิชฺโช 
จุตูปปาตญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อาสวักขยญาณ

ชื่อพระโสดาบัน
สตฺตกฺขตฺตุปรโม = ผู้มี 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง
ท่องเที่ยวสลับกันระหว่างเทวโลกและมนุษยโลก
ไม่ได้เกิดบนเทวโลก หรือมนุษย์โลกอย่างเดียว

โกลํโกโล = จากตระกูลสู่ตระกูล
ท่องเที่ยวไป 2-3 ตระกูล อันนี้ไปที่เดียวได้ไม่ต้องสลับ
เทพก็เทพตลอด มนุษย์ก็มนุษย์ตลอด

เอกพีช = 1 พืช
เกิดในมนุษยโลกอีก 1 ชาติ
อันนี้เกิดในมนุษย์เท่านั้นบรรลุเลย

สกทาคามี = มาสู่โลกนี้ หมายถึง กามภูมินี้ อีกครั้งหนึ่ง
สกึ = 1
ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นมนุษยืเท่านั้น

อนาคามี = ไม่มาสู่โลกนี้ คือ ไม่มาสู่กามภูมินี้อีก
น + อาคามี

อนฺตราปรินิพฺพายี
ไปเกิดในสุทธาวาส ชั้นใดชั้นนึง - อวิหา, อตัปปา, สุทัสสา, สุทัสสี, อกนิษฐ
(ในบาลีก็ยังใช้คำว่าสัคคะ - สวรรค์ คือไม่ได้แยกเทพกับพรหมออกมาชัดเจน)
อนฺตรา = ในระหว่าง, ในลำดับต่อมา
เกิดปุ๊บบรรลุเลย หรืออายุไม่ถึงครึ่งก็บรรลุ (ช่วงต้นถึงท่อนกลาง)
(อายุแต่ละชั้นก็ไม่เท่ากัน)

อุปหจฺจปรินิพฺพายี
ไปเกิดในสุทธาวาส ชั้นใดชั้นนึง
บรรลุตอนใกล้ตาย (ช่วงท่อนกลางถึงบั้นปลายชีวิต)

อสงฺขารปรินิพฺพายี
อสงฺขาร = ไม่ต้องขวนขวาย ไม่ต้องพยายาม

สสงฺขารปรินิพฺพายี
สสงฺขาร = ต้องใช้ความพยายามมาก

อุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐคามี
เกิดครบทั้ง 5 ชั้น (4 ประเภทขั้นต้นจะเกิดชั้นใดชั้นหนึ่ง)
อุทฺธํ = เบื้องบน
โสโต = กระแส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น