อิสสา
เป็นกิเลสฐานเดียวกับสักกายทิฏฐิ
ถ้าไม่มีตนจะไปอิจฉาเขาทำไม
เขาได้ดีไปอิจฉาเขา
เป็นกิเลสกลุ่มที่พระโสดาบันละได้
อิสสา
ความไม่ชอบเวลาคนอื่นได้ลาภสักการะ ได้คำสรรเสริญ
หรือได้อะไรที่เขาควรจะได้
ความจริงทุกคนก็ได้ในสิ่งที่เขาควรจะได้
เขาทำเหตุมา
เราดันไม่ชอบ
ที่ถูกคือเขาได้ดี ก็ควรจะดีใจด้วย
ไม่ใช่ จะไปมีอะไร๊ ของพ่อแม่มันให้มาทั้งนั้น (อันนี้มันเลวมาก)
ความต่างของมักขะ VS อิสสา
คนอื่นทำความดีเราไม่เห็น เป็นมักขะ (ลบหลู่ในเหตุ - ทำงี้ก็งั้นๆ แหละ)
คนอื่นอื่นได้ผลความดี เราไม่ชอบ เป็นอิสสา (ไม่ชอบในผลที่เขาได้รับ)
เห็นคนทำความดี ก็ให้อนุโมทนา (ไม่ใช่เฉย หรือลบคุณเขา)
เห็นคนได้ผลดี ก็มุฑิตา (ไม่ใช่เฉย หรืออิจฉาเขา)
มัจฉริยะ
หวงแหน รักษา ไม่ให้ไปจากตัวเอง
ยื้อยุดกันไว้
รักของตัวเองก็ไม่ว่า (อันนี้ตัณหาธรรมดา)
แต่หวงกันรักษาไม่ให้มันไปจากเรา ต้องอยู่กับเราเท่านั้น
กีดกันคนอื่นไม่ให้มายุ่งเกี่ยว
ไม่ให้ไปในทางที่เราไม่ชอบใจ (อันนี้มัจฉริยะ)
คู่ตรงข้ามคือ มุฑิตา
ดีใจกับเขาที่เขาได้รับผล
ดีใจด้วยที่เขาที่เขาได้ความดีนั้น ความดีก็จะติดตัวเขาไปเรื่อยๆ
หรือเขาทำชั่ว
กรุณาเขาที่ได้เหตุชั่ว
คิดช่วยเหลือ ช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา
คนละส่วนกัน
จะให้หมดมัจฉริยะ
ฝึกจาคะ ฝึกความพร้อมจะให้ มีฝ่ามืออันล้างไว้แล้ว
จาคะไม่ใช่การให้ แต่คือความพร้อมจะให้ตามความเหมาะสม
ความต่างของโลภ และตระหนี่
ตระหนี่นี่ดูคล้ายโลภะ แต่จริงๆ เป็นตระกูลโทสะ
โลภะ เหนียวหนืด ยืดดดด ติด แต่ไม่หวง ก็แค่ชอบสิ่งที่ตนมี แต่ไม่มีลักษณะกีดกัน
ตระหนี่นี่ เข้าขั้นกีดกันคนอื่นเลย ปกปิดสมบัติที่มี หวงแหนไม่ให้คนอื่่นยุ่งเลย
มีลักษณะที่ทำให้ใจแคบเข้า จนทำให้กลายเป็น "ส่วนบุคคล"
ใจกว้างเป็นกุศล เป็นความฉลาด
ใจแคบนี่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น