วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปัจจเวกขณะ

ปัจจเวกขณวิถี
มีการพิจารณาอยู่ 5 อย่าง

พิจารณามรรค
พิจารณาผล
พิจารณานิพพาน
พิจารณากิเลสละแล้ว
พิจารณากิเลสเหลืออยู่

บุคคลธรรมดาทั่วไป บางคนท่านก็ว่ารู้ครบบ้างไม่ครบบ้าง รู้อันเดียวบ้าง สองอันบ้าง
บางคนรู้มรรค
บางคนรู้ผล
บางคนรู้นิพพาน
บางคนรู้กิเลสละแล้ว
บางคนรู้กิเลสเหลืออยู่
บางคน....รู้ไม่ทัน 5555

คนเห็นจิตเขายังตัดสินภูมิธรรมเขาไม่ได้เลย
มองจิตเขาเห็นเลยนะ
สาอะไรกับคนทั่วไป

คือมันไวมาก ตามจิตนิยามไม่ทัน
คือตามจิตนิยามมันก็รู้ได้ตามนั้น
แต่เวลาปัญญาเดินจริงอาจไม่ได้รู้ตามนั้นทั้งหมด
เหมือนอภิญญา ก็ใช่จะรู้ได้ทั้งหมดตามที่ท่านว่า

พระอรหันต์จึงยังต้องไปฟังธรรมพระพุทธเจ้า
เพราะบางทีไม่รู้เรื่อง
หรือรู้ก็ไม่รู้ว่าอะไร คือ อะไรก็ไม่รู้
จิตตนิยามมันไว ปัญญาอาจจะตามไม่ทัน

ท่านจึงไม่ได้ให้เอาอาการเหล่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นโสดาบัน
แต่ให้ใช้คุณธรรมภายใน "โสดาปัตติยังคะ"

ถ้าผ่านโสดาปัตติมรรคมา
คุณธรรมเหล่านี้จะครบถ้วน

  • ความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
  • ความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม
  • ความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
  • มีอริยกันตศีล




วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

แค่ไม่ทำไม่ดี แค่นี้ก็ดีแล้ว?

แค่ไม่คิดไม่ดี
แค่ไม่พูดไม่ดี
แค่ไม่ทำไม่ดี
แค่นี้ก็ดีแล้ว? แค่นี้ก็พอแล้ว?

มโนทุจริต vs อกุศลสังกัปปะ

สังกัปปะ
เหมือนเราคิดขึ้นมาเฉยๆ
วันๆ คิดไม่ดีมีเยอะแยะ
แต่ถ้าไม่มี "เจตนาประกอบ" ก็ไม่ถือเป็นมโนทุจริต

แต่เป็นอกุศลสังกัปปะ
คือเป็นความคิดที่เป็นอกุศล
แต่ไม่เป็นทุจริต

การที่เจตนาเข้าประกอบ
ชักนำไปทางนู้นทางนี้ จึงจะเป็นทุจริต/สุจริต

ส่วนความคิดเฉยๆ เช่น เห็นคนเดินมา "กระแดะจังคนนี้"
อันนี้เป็นคิดเฉยๆ ไม่ได้มีกรรมอะไร
แต่ความคิดนี้จะดับไป (ไม่เกิดอีก) ก็ต่อเมื่อเป็นอนาคามี

พระโสดาบันก็ยังคิดอย่างนี้ แต่ไม่มีปัญหากับมัน
แต่ปุถุชนบางทีไปถูกมันครอบต่อ "กระแดะจริงๆ ด้วย"

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

อาโรคฺยปรมา ลาภา 
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง

สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ 
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

วิสฺสาสปรมา ญาติ 
ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

นิพฺพานปจฺจโย โหตุ

เขียนได้ 2 แบบ
นิพฺพานปจฺจโย โหตุ
นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ 
(ขอให้การกระทำนี้ๆ) จงเป็นปัจจัย แก่พระนิพพาน

อะไรที่เป็นฝ่ายบุญฝ่ายกุศล สามารถเป็นปัจจัยแก่นิพพานได้ทั้งนั้น

ทั้ง 2 คำนี้ไม่มีในบาลี

ในบาลีมีคำว่า นิพฺพานาย สํวตฺตติ
แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ "นิพฺพานาย สํวตฺตติ" (อันนี้พบในธรรมจักร)
"นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย" (อันนี้พบในสติปัฏฐานสูตร)

"นิพฺพานสฺส เม ภนฺเต สจฺฉิกรณตฺถาย กมฺมฏฺฐานํ เทหิ"
อันนี้ปรากฏในคำขอกรรมฐาน อันนี้คำแต่งขึ้น


เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด
ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

นิสสรณะ

ทางออก

ออกคือออกจากโทษ
ใช้แต่ส่วนที่เป็นประโยชน์

ใช้ประโยชน์จากโลกตามปกติ
แต่เมื่อมันไม่เที่ยง ก็ไม่เป็นไร ถอนตัวออกมาจากมันแล้ว

อริยมรรคนี่เดินไปบนฐานของความสุข
ตัวปัญญาก็กวาดทางไปเรื่อยๆ

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เราถูกยุงกัด

เรา-ถูก-ยุงกัด
ถ้าจะเรียงตามสภาวะมันจะออกมาเป็น
ถูกกัด-คัน-เรา
นี่เรียงแบบปฏิจจฯ

แท้ที่จริงสิ่งที่มีอยู่ก่อนคือรูปนาม ขันธ์ 5 ที่มาตามกรรม
มีลมหายใจเข้าออก กรรมเก่ารักษาไว้ ยังไม่ตาย
ดินน้ำไฟลมยังประชุมอยู่ในร่างนี้
มีจิตเกิดดับอยู่ในร่างนี้

ร่างนี้มีเลือดเนื้อ
ยุงเห็นความหอมหวล
ก็เลยเอาปากยุงมาสัมผัสเสียหน่อย
ปากมันก็จี้ลงไปในผิวหนัง

ในหนังนี้มันมีกายประสาทซึมซาบอยู่
เมื่อกายประสาทกับปากของยุงชนกัน
ก็เกิดการรับรู้ คือกายวิญญาณ
ธรรม 3 ประการรวมเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะ ย่อมเกิดเวทนา
เพื่อเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อปากของยุง
เพราะกายนี้มันเป็นของทุกข์ทนยาก
เมื่อมีอะไรจิ้มเข้าไป มันก็ออกอาการ ทนไม่ได้ ทนไม่ไหว เรียกว่า คัน เป็นต้น
(นี่ก็เป็นเวทนา ไม่ได้มีคนอะไรในที่ไหน)

พอคันแล้ว
ถ้าไม่รู้จักเวทนาตามความเป็นจริง
ตัณหาก็โผล่มา ความรักตนออกหน้า
แล้วก็ยึดว่า
     "ตน" เป็นผู้ถูก "ยุงกัด"
           "ตน" คัน
                 "ตน" เป็นผู้ถูกกระทำ

เรียงถูกต้องก็จะช่วยพิจารณาสภาวะ
ถ้าเรียงไม่ทันก็ตบพั๊วะ!!!




วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พิธีกรรม

พิธีที่เป็นกรรม

แต่งงาน
รดน้ำพรวนดินเสร็จแล้วเขาก็ว่ามีสิทธิ
พอยึดว่า "เรามี" สิทธิในคนนี้ (นี่ผิดรึถูกเนี่ย...ผิด)
เราก็หวงคนนี้ เป็นกรรม

เซ็นสัญญาว่าที่ดินนี้เป็น "ของเรา"
การเซ็นนี้ก็เป็นกรรม
พอยึดถือมาเป็นของเรา
แล้วก็ไปอะไรต่ออะไรเยอะแยะ

สวดมนต์
บางคนก็ทำให้เป็นกรรม
สวด "ให้ตน" อายุยืน
ของอยู่ดีไม่ว่าดีก็ไปทำให้มันเป็นกรรม

เอาเงินไปซื้อของ
นี่ก็พิธี
เรามีสิทธิในของนั้น

พิธีรีตองเข้ากลุ่มนู้นกลุ่มนี้
เกิดความยึดว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ทำตามนั้นนี้เพื่อตน เพื่อของตน

ถ้าพิจารณาไม่ครบสาย ตน ของตน เกิดอยู่เรื่อย

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เบื่อโลก

เบื่อโลก

คือเบื่อจะต้องไปทำตามตัณหา

ความเกิดขึ้นของโลกนี้เกิดเพราะตัณหา
เพราะเหตุปัจจัย
เบื่อที่จะต้องทำเพื่อตัวตน
มารักของไม่เที่ยง

ที่อาศัย

ความหมายของที่อาศัย หรือปัจจัย

เหมือนมาอาศัยห้องเรียนเพื่อจะได้ปัญญา
แต่มานั่งแล้วจะได้ปัญญารึป่าวนี่ต้องมีเหตุอื่นประกอบด้วย

เช่น ท่านบอกว่า
สมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา
หมายถึงว่า สมาธิเป็น "พื้นฐานที่ดี"
แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ก็ต้องประกอบเอา เพราะมันเป็นสังขาร

ถ้าทำเหตุไม่ถูก ถึงจะมีสมาธิ ก็ไม่ได้ปัญญา
แต่ถ้าทำเหตุถูก มีสมาธิ ก็ได้ปัญญา
ทีนี้ถ้าทำเหตุถูก แต่ไม่มีสมาธิ ก็ไม่ได้ปัญญาเหมือนกัน

เหมือนพื้นฐานการปฏิบัติ
ท่านให้อาศัยศีล แต่ไม่ได้แปลว่า มีศีลแล้วจะได้ทั้งหมด
ต้องเจริญสมถะและวิปัสสนาต่อ

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ดวงตาและทาง

ทางนั้นทำให้ได้ดวงตา
ไม่ว่าจะทำโดยรู้หรือไม่รู้ก็ตาม

และเมื่อมีตาแล้วจึงรู้ชัดว่าทางเป็นทาง

เมื่อยังไม่มีตา แม้อยู่บนทางก็นึกว่ายังไม่ได้อยู่บนทาง 
จึงแยกชีวิตเป็นสองตอน 

ว่าตอนนี้ๆ ทำตามผู้มีตาดีชื่อว่าอยู่บนทาง 
การใช้ชีวิตปกติไม่ได้อยู่บนทาง

ธัมจักรจึงกล่าวถึงนิโรธคามินีปฏิปทา 2 ครั้ง

ตัดส่วนที่ผิด 2 ส่วนออกไปก่อน
ส่วนที่ถูกคือทำตามนี้
เมื่อทำตามนี้จึงได้ดวงตา
ดวงตาไปเห็นทุกข์ ไปเห็นเหตุ ไปแจ้งนิโรธ และไปเห็นว่าที่ทำเช่นนี้แหละ เป็นทาง

เหมือนกับตาบอด
เดินอยู่บนถนน
เดินๆ ไปก็ชื่อว่าเดินอยู่บนถนน
แต่เจ้าตัวไม่รู้ว่าเดินอยู่บนถนน

ต่อเมื่อตาดี
ก็จะเห็นว่าที่ตัวเดินอยู่
และที่เดินผ่านๆ มา นั่นแหละเป็นทาง

สีลัพตปรามาสในเมตตา

จะมาปฏิบัติเมตตาภาวนา
ก็ต้องละสีลัพตปรามาสในเมตตาภาวนาออกไปก่อน
จึงจะได้ผล

บางทีอาจจะมีเมตตา
แต่ไปเมตตาเพื่อหวังคนั้นคนนี้เจริญนี้ก็ผิด

อันที่จริงเมตตาเป็นองค์ของมรรค
พาไปสู่นิพพาน
ไม่ใช่เพื่อให้คนอื่นมีความสุขตามที่ใจเราต้องกัน
เพราะมันเป็นไปไม่ได้

เมตตาถ้าทำถูกเป็นสัมมาสังกัปปะ
แต่ไม่ใช่แผ่ให้ร่มเย็น แผ่ไปแผ่มา วนกันอยู่
แผ่ให้เชื้อโรค ให้มะเร็ง จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ก็ทำได้ แต่ละกิเลสไม่ได้สักตัว เป็นสีลัพตปรามาสอยู่

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ลัทธิกรรมเก่า

บาปทำก็ไปยึดว่าเราทำ
เราทำเราต้องได้รับผล
บาปของเราจะหมดก็ด้วยการบำเพ็ญตบะ

บุญทำแล้วก็สบายใจ
ได้ดีแน่นอน ไม่ต้องทำอะไรอีก
ประมาทน้ำลายยืดไป

แบบนี้เรียกว่าลัทธิกรรมเก่า

อันที่จริงบุญบาปก็เป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วดับ
มีเป็นครั้งๆ เกิดแล้วก็ดับไป
เหตุนี้ดับไปแล้ว การจะเกิดอีกก็ต้องมีเหตุมีปัจจัยแวดล้อม

เวลาบอกว่าท่านบุญเยอะนี่ แปลจริงๆ คือมีอวิชชานะ 5555

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิบาก

วิบากเป็นผลของกรรมก็จริง
แต่วิบากยังไม่เกิด
จะเกิดเมื่อมีปัจจัย

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อวิชชา

อวิชชา
คือไม่รู้อริยสัจ 4 ไม่ใช่ไม่รู้อย่างอื่น

ทุกฺเข อญฺญาณํ ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ ทุกฺขนิโรเธอญฺญาณํทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทายอญฺญาณํ

อญฺญาณํ
คือรู้ตรงข้ามอริยสัจ
รู้ผิด
คือไม่ใช่ไม่รู้ แต่รู้ผิด

คือเวลาแปลอวิชชาว่า ไม่รู้
มันจะฟังดูเกลื่อนกลาด ว่าไม่รู้เรื่อง

แต่คำว่า อญฺญาณํ นี่มันคู่กับ "ญาณ"
คือมันตรงข้าม
ญาณ คือรู้อริยสัจ

ญาณ คือ รู้ทุกข์ ว่าไม่เที่ยง ไม่เป็นของเรา
อัญญาณ ก็คือ รู้ว่าสุข รู้ว่าของเรา รู้ว่าควบคุมได้ เป็นต้น

===
สังขาร กรรมเก่านี่ไม่ได้มีจริงๆ
บาป/บุญ มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะมีอวิชชา สิ่งที่ทำไว้แล้วมันจึงมี
การไปเน้นว่ากรรมมีแบบเป็นจริงๆ เป็นจัง เป็นตัวเป็นตน จึงผิด

มันเป็นสังขาร ไม่มีสิ่งไหนเที่ยง
บาปที่ทำแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นเจตนาทีเกิดเป็นครั้งๆ
บาปที่ทำแล้วจะว่า "มี" ก็มีเหมือนกัน
แต่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ "มีเมื่อมันเกิด" มีเมื่ออวิชชาเป็นปัจจัย
(เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด)

ถ้าหมดอวิชชา บาปก็หมดเหมือนกัน
ทั้งๆ ที่ทำไว้แล้วนี่แหละ บาปก็หมดได้
หมดได้เพราะ?...ไม่มีปัจจัย

ต้องแม่นเรื่องพวกนี้

ไม่งั้นจะคิดว่า "เรา" ได้ทำ "บาป" จริงๆ
เราไปทำบาปเอาไว้ เราต้องคอยกลัวบาป

"เรา" ทำ "บุญ" เอาไว้
เราจึงสบายใจ เราทำบุญไว้เยอะ จะได้เสวยผลจนน้ำลายยืดแน่งานนี้
กลายเป็นความประมาทไปหมด เพราะไปยึด

แบบนี้ผิด ... เรียกลัทธิกรรมเก่า









สังขาร

สังขาร
มี 3 ประการ

กายสงฺขาโร
ตัวปรุงแต่งกาย

วจีสงฺขาโร
ตัวปรุงแต่งให้เกิดคำพูด

จิตฺตสงฺขาโร
ตัวปรุงแต่งให้เกิดจิต

สังขารในตัวปฏิจจฯ
พูดถึงสิ่งที่รักษาผลของของเก่าเอาไว้ (ผลมาจากของเก่า สังขารเป็นตัวรักษาไว้)
(รูปนาม ขันธ์ 5 วิญญาณ และอายตนะ)
สังขาร 3 แบบนี้เรียก สังขารปัจจุบัน
สังขาร 3 นี้ เป็นตัวรักษาผลจากกรรมเก่านี้ไว้ ออกหน้าออกตามายังไง
สิ่งปัจจุบันมันรักษาผลของของเก่าอย่างไร

ถ้าพูดถึงตัวกรรมตรงๆ จะใช้คำว่า "อภิสังขาร" (ปุญญา, อปุญญา, อเนญชา)
ถ้าอภิสังขารนี้จะพูดถึงตัวเหตุในอดีต
ที่สร้างผลให้มา

กายสังขาร คือลมหายใจเข้าออก
มีลมหายใจเข้าออก ก็รักษาร่างกายไว้ได้

วจีสังขาร คือวิตกและวิจารณ์
เสียงพูดในหัว เจอนั่นก็พูดนี่ เจอนี่ก็พูดนั่น
เป็นนิสัยเก่าๆ

ถ้าไม่มีวิตกวิจารณ์นี่ อยู่ไม่ได้โดยธรรมชาติ
แต่อาจอยู่ได้โดยผิดธรรมชาติ 5555 คือทำฌาน
ถ้าไม่มีความคิดความนึก จิตก็ทำงานไม่ได้ มันจะเพี้ยน
วิตกวิจารณ์นี่ทำให้จิตทำงาน

จิตตสังขาร คือเวทนาและสัญญา
เหล่านี้เป็นตัวรักษาขันธ์ปัจจุบัน
ถ้าไม่มีเวทนา สัญญา จิตก็เกิดไม่ได้เหมือนกัน
เวทนา สัญญาทำให้จิตเกิด
เพื่อให้อายตนะมันทำงานได้ เพื่อให้มีผัสสะ เพื่อให้มีเวทนา

อันนี้เป็นของเก่าที่รักษาไว้
แต่ถ้าเราทำกรรมใหม่ อาจจะไม่ต้องพึ่งของเก่าโดยประการทั้งปวง
เช่น ทำสัญญาเวทยิตนิโรธ

พูดแบบบ้านๆ คือ
ยังมีลมหายใจอยู่ ตาจึงใช้การได้ หูจึงใช้การได้


===
ปฏิจจฯ นั้นไม่มีเงื่อนต้น
มีแต่ปัจจัยเชื่อมโยงกันและกันตามชื่อ
อวิชชาตั้งต้นก็จริง แต่ไม่ได้ตั้งต้นแบบ "เป็นตัวต้น"
มันแค่เชื่อมกับอืันอื่นอยู่เฉยๆ

จึงเริ่มต้นด้วยชื่อ "อวิชชา ปัจจยา..."
ไม่ได้ขึ้นต้นว่าอวิชชาเฉยๆ
มันเชื่อมกับอะไรบ้าง เชื่อมกับสังขารบ้าง วิญญาณบ้าง ... โสกะปริเทวะ

ฉะนั้นถ้าเราร้องไห้อยู่ รู้สึกว่าเราทุกข์
อวิชชาก็อยู่ตรงนั้นเหมือนกัน

ทำกรรมอยู่ ทำบุญอยู่
แล้วรู้สึกว่าเราเป็นผู้ทำบุญ
อวิชชาก็อยู่ตรงนั้นเหมือนกัน

เวทนาเกิดขึ้น
แล้วไปหลงผิดว่าเราเป็นผู้สุข เราเป็นผู้ทุกข์
อวิชชาก็อยู่ตรงนั้นเหมือนกัน

ปฏิจจฯ จึงไม่มีเงื่อนต้น
ทุกอันก็เชื่อมโยงไปสู่อวิชชาได้

วิญญาณ

วิญญาณ

วิญญาณในปฏิจจฯ
อาศัยช่องทางทั้งหก กระทบแล้วเกิด
เกิดจากช่องทางไหน เรียกชื่อตามช่องทางนั้น
เป็นวิบาก

นามรูป

นามในปฏิจจฯ
จะนำสภาวะ 5 อย่างมา
เวทนา สญฺญา เจตนา ผสฺโส มนสิกาโร
เอาสภาวะที่เกิดในจิตมาเป็นนาม
คือเอาเจตสิกมา (สังเกตไม่ได้เอาวิญญาณมา)

เอามาเท่านี้เพราะนามในปฏิจจะ
จะเอาอันที่เห็นชัดๆ มา และก่อให้เกิดภาครับ และภาคกระทำที่ชัดเจน

ภาครับ ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา
ภาคกระทำ ก็ได้แก่ เจตนา ผัสสะ มนสิการ

ถ้าพูดแบบขันธ์ ก็เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และเจตนา ผัสสะ มนสิการเป็นสังขารขันธ์

นามนี่ไม่ได้แสดงตัวอื่นด้วยเพราะต้องการเน้นการเชื่อมโยงไปสู่อายตนะ
ตัวอื่นๆ เช่น ชีวิตินทรีย์ เอกัคคตา มันเหมือนกับนักเรียนที่มาให้เต็มห้องเฉยๆ
ต้องดูว่ากระบวนการมันต่อยังไง จึงดึงตัวที่ชัดเจนมาแสดง

คือนามรูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะมีอะไรบ้าง
ไม่ได้พูดถึงนามรูปทั้งหมด

รูป
มหาภูตรูป
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป

นามนี้ด้วยรูปนี้ด้วย
นามรูปํ กล่าวถึงสิ่งเดียวกันที่มาประชุมกัน เรียกเป็นเอกพจน์


===
นามรูป ถ้าพูดอธิบายแบบแยกแยะขันธ์
ก็คือกองทุกข์ หรือผลของปฏิจจะ
เป็นการเกิดขึ้นของกองทุุกข์ล้วนๆ

เวลาเรียนเรื่องขันธ์ คือเรียนเรื่องกองทุกข์ล้วนๆ
ไม่ได้เรียนเรื่องกระบวนการ
ขันธ์ คือเรียนนามรูป ให้เข้าใจว่ามันมีแต่นามกับรูป ไม่มีตัวตน

ปฏิจจะนี้เรียนเรื่องกระบวนการ

อายตนะ

จุดเชื่อมต่อ

อุปาทานขันธ์ 5 นี้มันเกิดขึ้นมาแล้ว
แล้วมันจะเชื่อมต่อไปอุปาทานขันธ์ 5 อันต่อๆ ไปได้อย่างไร
มันก็มีจุดเชื่อมต่อกัน 6 จุด
กรรมเก่ากับกรรมใหม่มันเชืื่อมกัน

พอมีตาหูจมูกลิ้นกายใจ
มันก็มีที่ลงของวิบาก ก็มีการรับผลเก่า
แล้วก็ทำกรรมใหม่
จึงมีการเชื่อมโยงจากอดีต สู่ปัจจุบัน และไปสู่อนาคต

อายตนะเป็นที่ต่อให้สังสารวัฏยาวไปเรื่อย
ถ้ารู้จักที่ต่อ เราก็ฝึกไม่ให้มันต่อได้
หมั่นมาดูว่ามันไม่ได้เป็นตัวเป็นตน มันก็ไม่ยืดเยื้อ

อยู่ในท้องแม่นี่อายตนะก็ยังใช้ไม่ได้
ต้องรอให้คลอดออกมา อายตนะใช้การได้ครบ
จึงก่อให้เกิดกรรมใหม่

นิสัยเก่า แม้จะอยู่ในท้องแม่ตั้ง 9 เดือน
ไม่มีราคะตั้ง 9 เดือนแน่ะ
พอถูกกระตุ้นใหม่ กิเลสก็ขึ้นมาเหมือนเดิม เรียบร้อย

กิเลสนี่ไม่เห็น ไม่ขึ้นมาหลายวัน หลายเดือน จนถึงหลายกัปป์
แต่ก็ประมาทไม่ได้
พอถูกกระตุ้นใหม่มันก็กลับมา

ท่านจึงให้พิจารณา ความไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปของกิเลสที่ละได้แล้ว
จะมีด้วยเหตุใดก็ต้องรู้จัก
ก็คือ...ด้วยอริยมรรคเท่านั้นแหละ

ไม่ใช่เห็นมันไม่มาเลย เราก็สบายใจ
อันนี้ประมาท

อายตนะภายในนี่ยึดเหนียวแน่น
รูปนี่ดูจะเปลี่ยนได้เรื่อย ส่วนตานี่ยังไงก็ของเราตลอด

ตัวอายตนะที่มีประโยชน์จริงๆ มี 3
คือ ตา หู ใจ พวกพรหมจะมี 3 อายตนะ
ตา เอามาพิจารณาสิ่งดีๆ เอามาอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้เกิดทัสสนานุตตริยะ
หู ทำให้เกิดสวณานุตตริยะ

อายตนะอื่นต้องใช้ด้วยระมัดระวัง
โดยเฉพาะลิ้น แค่อยากกิน กินสดๆ กินเป็นๆ
ไปอบายเรียบร้อย



เวทนา

ตัวเวทนานี่คือตัวความรู้สึก
ทนได้
ทนไม่ได้
เฉยๆ
ฝึกสังเกตบ่อยๆ ก็จะรู้จักมัน

เห็นคนนี้แล้วเป็นไง
ทนได้ รึทนไม่ได้ รึเฉยๆ
ถ้าเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นชัด

ยังไม่ต้องไปถึงเรื่องชอบ ไม่ชอบ
ตรงนี้ฝึกใส่ใจให้ดี ถ้าดูเป็นแล้วจะง่าย

รับรู้เรื่องนี้แล้วทนไม่ค่อยได้
ฝึกตั้งคำถามขึ้นมา...ใครทนไม่ได้
เวทนาทนไม่ได้ ไม่ใช่เราทนไม่ได้
เวทนาเกิดได้ยังไง เกิดเพราะผัสสะ
เท่านี้แหละ เท่านี้เอง เกิดเป็นครั้งๆ

ฝึกตรงนี้ได้จะไม่มีอคติ เพราะมันเป็นวิบาก
จะเห็นง่าย

เกิดจากผัสสะเป็นครั้งๆ
เสวยอารมณ์
บางอารมณ์กลืนง่าย บางอารมณ์กลืนยาก
===
เวลาพิจารณานี่
พิจารณาเป็นกระบวนการ
เวลามีเรื่องอะไรขึ้นมา ยึดอะไรขึ้นมา
อ่อ นี่มันเกิดจากตัณหา
ตัณหานี้ก็เกิดเพราะเวทนา

ถ้าไม่เกิดตัณหานี่จะพิจารณาได้ง่าย
พอเกิดตัณหาขึ้นมามันเกิดตัวตนมันก็จะมีอคติ
พออคติมันจะพิจารณาอะไรยาก มันยินดียินร้าย

แต่ช่วงผัสสะเกิดเวทนานี่ง่าย
แต่ต่อให้เลยไปเป็นตัณหาแล้ว ก็ยังได้อยู่
ถ้ามีสัมมาทิฏฐิมันก็กั๊กไว้อยู่ คิดอย่างนี้มันผิดไม่ควรทำนะ เป็นต้น
แต่ก็จะยากขึ้นมา เพราะพอรักตน ยึดของตนขึ้นมาแล้วมันจะอคติไปหมด

ถ้ามาดูที่เวทนา ซึ่งมันเป็นวิบากเฉยๆ
เวทนาเกิดจากผัสสะ
พิจารณาแบบนี้มันตรงตัว ไม่มีกิเลสเข้ามาบัง
มันก็พิจารณาได้ชัด ปัญญาก็เกิดไว

ดังนั้นในหลักของการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาที่ให้พิจารณากันจะจะ
จึงให้ทำกันตอนจิตมีสมาธิ ไม่มียินดียินร้าย
จึงพิจารณาได้ชัด

ทีนี้พอพิจารณาได้ชัดจนมีพื้นฐานพอสมควรแล้ว
ต่อมาแม้จะมีตัณหาเกิดขึ้นบ้างอะไรบ้าง
อย่างน้อยก็จะมีปัญญามาคานมันไว้ได้

จริงๆ แล้วปฏิจจฯ สามารถนำเป็นเครื่องพิจารณาช่วงไหนก็ได้
เป็นอารมณ์ของมนสิการได้ทั้งหมดเลย
แม้เกิดทุกข์ขึ้นมาแล้ว โศกจะเป็นจะตายแล้วก็ยังพิจารณาได้
สติตั้งขึ้นมาเมื่อไรก็พิจารณาได้เมื่อนั้นแหละ

ช่วงเวทนานี่พิจารณาดีสุด ไม่รักไม่ชัง
ถ้าปล่อยตัวตนขึ้นมามันก็จะชอบ จะชัง ก็ดูยากแล้ว
ถ้าปล่อยไปถึงโสกะปริเทวะ มันก็แรงไปอีก ดูยาก

ตัณหา

ความต้องการ
ความติดข้อง
ความชอบใจ พอใจ เพลิดเพลิน
เยื่อใยในอารมณ์ 6 เพื่อตัว
ความกลัวที่จะไม่ได้อันนู้นอันนี้ เพื่อตน

ตัณหานี่เป็นนามธรรม
เวลาเรียน สภาวะไหนไม่เข้าใจ
ให้แยกก่อนว่าเป็นรูป หรือนาม
พอแยกได้ก็จะค่อยๆ ทำความเข้าใจได้มากขึ้น
เวลานำไปปฏิบัติ เวลาใส่ใจจะได้ถูกตัว

กามตัณหานี่ไม่เกี่ยวกับตัววัตถุ

ความติดที่หนักที่สุดนี่คือ ติดแม้แต่ในเรื่องที่ไม่ชอบ
พูดอีกอย่างคือ ชอบที่จะไม่มีเรื่องนี้
อันนี้เป็นความติดที่หยาบที่สุด เรียก วิภวตัณหา

ก็ตัณหา 6 นี่แหละ แต่แยกออกมาเป็น 3 ให้เห็นว่าอันไหนหยาบสุด
เหมือนอุปาทาน หยาบสุดคือยึดแม้ในเรื่องที่รู้ๆ อยู่ว่าไม่มีประโยชน์

ตัณหานี่มีลักษณะอาการเป็น
ความชอบ ความรักตัวเอง ความพอใจ

ทีนี้ต้องเข้าใจความพอใจแบบตัณหา
ความอยากแบบตัณหา

ความอยากนี่อาจไม่ได้เป็นตัณหาเสมอไป
บางทีความอยากนี่เป็น ความอยากจะทำอะไรบางอย่าง อันนี้เป็น ฉันทะ
หรือความอยากจะได้อะไรที่ประเสริฐ อันนี้เป็นสติปัญญา

ส่วนความอยากแบบตัณหานี่เป็นความอยากแบบเยื่อใยเพื่อตัวตน
หาเอาผลมาให้ตน ให้ตนได้เสวยผล
ให้ตนได้อยู่นาน ให้ตนได้นั่นได้นี่ ให้ตนได้เจอ/ไม่ได้เจอภาวะแบบนั้นแบบนี้

กามตัณหา
ให้ตนได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ภวตัณหา
ให้ตนได้อยู่ในภาวะนี้นานๆ
นิ่งๆ อยู่อย่างนั้น ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

วิภวตัณหา
ให้ตนเพลิดเพลินพอใจ ชอบที่จะไม่มีภาวะแบบนั้น
อันนี้จะหนักกว่าเขา จะแสดงอาการในทำนอง "ผลักทิ้ง" ปฏิเสธ ไม่ชอบมัน ไม่พอใจมัน

ซึ่งจริงๆ อาการปฏิเสธนี้เป็นอาการแสดงของอาการ "รักตัว" นั่นเอง
"ความไม่ชอบมัน" เป็นอาการปรากฏของ ความ "รักตัว"
พอเจอสภาพที่มันไม่อยากได้มันจึงผลัก จริงๆ มันคืออาการรักตัว

เหมือนเราไม่ชอบเจอหน้าไอ้หมอนี่
ก็แสดงว่าไอ้หมอนี่มันจะมีอิทธิพลอะไรที่ไม่น่าพอใจกับตัว
ทำให้ตัวเครียด ทำให้ตัวไม่สบายบ้างอะไรบ้าง
ตัวพื้นฐานของการปฏิเสธผลักไส ก็คือตัณหานั่นเอง

ตัณหา ถ้าขยายความตามอารมณ์ของมัน ก็ตาม 6 ช่องทาง
ถ้าขยายความตามภาวะลักษณะของมัน ก็แยกเป็น 3
เวลาท่านแยกละเอียดๆ จึงได้เป็น 108
ตัณหา 3 ในอารมณ์ 6 ทั้งภายใน-ภายนอก ใน 3 กาล

ตัณหาในปฏิจจฯ นี้จะกล่าวในแบบอารมณ์
เนื่องจากว่าต้องการที่จะเอาไปมองในแบบอริยสัจด้วย
คือจะให้มองให้เป็นทุกข์ได้ด้วย

ถ้าพูดแบบตัณหา 3 อันนี้ถูกจัดเป็นทุกขสมุทัย อยู่แล้ว
แต่ตัณหาในปฏิจจฯ นี้จะมองเป็นทุกข์ก็ได้ มองเป็นทุกขสมุทัยก็ได้
คือมองได้ทั้งเหตุและผลในตัว

===
ความหยาบของตัณหา

ความรักตัวที่หยาบที่สุดก็คือ วิภวตัณหา
เบื้องต้นจึงต้องละตัวนี้ก่อน

รักตนจนกลัวความจริง
ไม่อยากเจอนั่นเจอนี่ มันปฏิเสธ
อันนี้หยาบสุด

ปฏิเสธครอบครัว ปฏิเสธหน้าที่
แล้วก็ไปฝึกสมาธิอะไรต่ออะไร
สมาธิที่ทำก็ไม่ใช่ของจริง มันกลายเป็นมิจฉาอาชีวะไปแล้ว เพราะสัมมาทิฏฐิมันไม่มี

ไม่รู้จักว่านี่เป็นแค่การบริหารให้เป็นไปได้
ไม่ใช่ไม่ให้ทำสมาธิ แต่ต้องมีสัมมาทิฏฐิ
ว่าโลกมันทุกข์มันยากอย่างนี้ เราจึงต้องบริหารไป

ตอนนี้อยู่ตรงนี้แล้วฝึกสติไม่ได้
ทำแล้วกิเลสมาก เลยต้องออกไปฝึกข้างนอกเป็นต้น

การปฏิเสธนี่เป็นการทำตามตัณหา
ไม่อยากอยู่ก็เลยไป
แทนที่จะทำตามปัญญา
การปฏิบัติองค์มรรคนี่ต้องทำตามปัญญา

การทำตามตัณหามันเป็นทุกขสมุทัย
มันจึงไม่พ้นทุกข์

ตัณหาหยาบๆ เมืือรักตนก็จะ "กลัว" ตนถูกกระทบกระทั่ง
กลัวตัวเองจะเจ็บปวด กลัวตัวเองจะเป็นนู่นเป็นนี่
กลัวตัวเองจะถูกว่าจากผู้อืืน
กลัวตัวเองจะถูกล้วงความลับอันนี้อันนี้

จึงหาวิธีปกปิด หาวิธีหลายๆ อย่างเพื่อรักษาภาวะที่ไม่มีอะไรทิ่มแทง
ไม่มีอะไรมาทำร้ายตนได้
ทีนี้ความไม่เที่ยงมันก็แสดงอาการมาให้เห็นอยู่เรื่อง
ตัณหาจึงแสดงอาการออกมาในลักษณะ ความกลัว หรือหวาดหวั่น
กลัวว่าจะเป็นอย่างนั้น กลัวจะเสียอย่างนี้ - อันนี้วิภวตัณหา ยังหยาบอยู่

ความคิดที่จะเอามาให้ตัวนี่ เป็นอาการของการคิดที่มีตัณหา
เป็นลักษณะพิเศษของตัณหาเลยคือ จะเอาผลประโยชน์บางอย่างมาให้ตน

วิภวตัณหา พระโสดาบันละได้
กามตัณหา พระอนาคามีละได้
ภวตัณหา พระอรหันต์ละได้

ไม่ต้องไปคิดมากเรื่องละกิเลส
เพราะทางเดินคือ การเจริญมรรค
เพียงแต่ถ้าเข้าใจในเรื่องกิเลสให้มากขึ้น
ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องไปออกแรงในเรื่องที่ไม่จำเป็น 5555

สู้เก็บแรงมาใช้กับเรื่องที่ควรจะจัดการจะดีกว่า
ยังละหยาบๆ ไม่ได้ ไม่ต้องไปกังวลเรื่องตัณหาละเอียด ทำนองนั้น

ความเพียรมีน้อย ใช้สอยให้ถูกเรื่อง 5555
ถ้าความเพียรมีน้อย ดันจะไปละกามตัณหา ไปดูอสุภะ ดูขี้ ดูอะไรก็แล้ว
เจออาหารอร่อยมันก็น้ำลายไหลอยู่นั่น
กำลังไม่ถึง มันจะเครียดเอาได้ ถอดใจเอาได้
มารู้จักความหยาบ ละเอียดของกิเลสมันก็มีประโยชน์ตรงนี้
===

ตัณหา 3 เป็นสมุทัย อย่างเดียวล้วน (แสดงในอริยสัจ)
ยายัง ตัณหา โปโนพภวิกา ก่อให้เกิดภพได้ด้วย (บางตัณหาไม่เป็นเหตุก่อภพ)

ตัณหา 6 เป็นทั้งทุกข์ทั้งสมุทัย (แสดงในปฏิจจ)

ตัณหาที่ทำให้เกิดภพชาติได้ อันนั้นเป็นตัณหาที่เป็นสมุทัย

ตัณหาบางอย่างเป็นแค่ทุกข์เฉยๆ
เป็นความพอใจในรูป อยากได้นั่นนี่เฉยๆ
อันนี้เป็นทุกข์ แต่ไม่พอให้เป็นอุปาทาน ไปเกิดกรรม
ถ้าแรงจึงจะเป็นสมุทัย

อาการที่ออกมาจากความรักตนก็คือ ยินดียินร้าย
สรุปคือมันรักตน
อยากให้ตนได้อันนึง
อีกอันนึงเห็นว่าจะเป็นอันตรายก็เอาออกไป

ซาบซ่าน ชอบใจ ลึกซึ้ง มีประโยชน์


อุปาทาน

อุปาทาน
ความยึดมั่น ถือมั่น ยึดเอาไว้แน่น
ยึดไว้แบบไม่ปล่อย
ยึดมั่น คือยึดแน่น ไม่ปล่อย เหมือนงูรัดเหยื่อ

อุป (แน่น, มั่นคง) + อาทาน (ถือไว้)

คือถ้าถือไม่แน่นก็ไม่เป็นไร จับมาแล้วปล่อยก็ไม่เป็นไร
อันนี้ไม่ถือว่า "ยึด" 

แต่ถ้า "ยึด" นี่คือ ถือแล้วไม่ปล่อย
ถือไว้อย่าง ผิดๆ พลาดๆ แล้วไม่ยอมปล่อย เรียกว่า อุปาทาน

อุปาทานมี 4

กามุปาทานํ 
ความถือไว้อย่างเหนียวแน่นว่า อันนี้เป็นกาม
คือถือไว้ว่า "อันนี้จะให้ความสุขแก่เราได้"
"อันนี้ให้ความเพลิดเพลินแก่เราได้"

อันที่จริงสิ่งนั้นมันก็เป็นสิ่งนั้น
แต่การไปถือว่า สิ่งนั้นมันให้ความเพลิดเพลิน นี่เป็นกามุปาทาน

ตัวกามุปาทานไม่ใช่วัตถุ
แต่เป็นนามธรรม
คือตัวที่ "ไปถือ" นั่นแหละ

คือของสวยมันก็เป็นของสวยนั่นแหละ
แต่ตัวที่ไปถือว่าเป็น "ของสวย"
หรือแม้แต่บางทีไม่สวย แต่ก็ไปถือว่า "ให้ความเพลิดเพลินได้" เช่น หน้าตาตัวเอง
อันนี้ก็ถือ ถือว่าหน้าตานี่มันน่าพอใจแก่ตนเอง

กามแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน
กามที่ดีที่สุดสำหรับเขา ก็คือสิ่งที่เขาพอใจ
กามที่ดีที่สุดจึงไม่มีจริง มันอยู่ที่เขาพอใจ
เหมือนอาหารที่ดีที่สุดนี่ ไม่มีจริง มันคือสิ่งที่เขาพอใจที่สุดนั่นแหละ

การไปถือนี่ ถ้าไปถือธรรมดาๆ
เห็นว่าเป็นของสวยงาม  เป็นของน่าพอใจ ชอบ ไม่ชอบเฉยๆ นี่
ไม่จัดเป็นอุปาทาน

แต่ถ้าไปยึด "จริงๆ"
ว่านี่มันเป็นเพราะอันนี้จริงๆ อันนี้จัดเป็นอุปาทาน
ยึดโดยมุ่งหมายว่าเป็น "กาม"

กามุปาทาน ตัวสภาวะคือ ตัณหา
คือเป็นความต้องการ แต่เป็นความต้องการที่รุนแรง และก็ไม่ยอมปล่อย
เป็นตัณหาที่มีกำลังแรง

ทิฏฺฐุปาทานํ
ถือด้วยทิฏฐิ
ถือด้วยความเห็นที่ผิดๆ
เช่น พวกมิจฉาทิฏฐิ 10, ทิฏฐิ 62
ของมันผิดแล้วไปถือไว้อย่างเหนียวแน่น มั่นคง

จริงๆ ของผิดมันก็มีในโลกเป็นเรื่องธรรมดา
แต่การไปถือนี่เป็นอุปาทาน
อันนี้ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 

สีลพฺพตุปาทานํ
ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 
แต่เป็นทิฏฐิที่ไปจับและยึดศีลและวัตรว่าจะทำ "เพื่อตัวตน"
ให้เราได้นั่นได้นี่ ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่งว่าไป
ให้เราเป็นสุข ประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า
"จะทำให้ตนได้"

ตัวยึด คือตัวทิฏฐิ
ตัวถูกยึด คือ ศีล พรต

ศีล ก็หมายถึง ตัวสิกขาบทต่างๆ เป็นข้อๆ
ตัวงด ตัวเว้น ตัวสำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิด เรียก ศีล
การฝึกปฏิบัติจนจิตมีศีล อันนี้เรียก ศีล

วัตร คือการสมาทาน
เป็นความตั้งใจ ปรารภความเพียรอันใดอันหนึ่ง
ตั้งใจทำตามนั้นเพื่อขัดกิเลส
เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น อันนี้เป็นวัตร ไม่ได้เป็นศีล

ดังนั้น ศีลนี่ เป็นได้ทั้งศีล และวัตร
บางอย่างเป็นวัตร ไม่เป็นศีล เช่น ธุดงค์

อตฺตวาทุปาทานํ
การยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน

ตัวตนนี้ไม่มีอยู่จริง
เป็นความสมมติ เป็นภาพฉายขึ้นมา

การไปถือในภาพนั้นว่ามีจริงๆ
มีตัวตนอยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน
ก็คือ สักกายทิฏฐิ 20 นั่นเอง
อัตตวาทุปาทาน ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 

อุปาทานทั้ง 4 พูดย่อๆ ก็คือ ตัณหาและทิฏฐิ
เวลาท่านพูดถึงข้อปฏิบัติอะไร
ก็เป็นไปเพื่อป้องกันตัณหา และทิฏฐิ
ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา อย่าไปใช้ชีวิตด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ความหมายก็เท่ากับ อย่าไปใช้ชีวิตด้วยอุปาทาน นั่นเอง

เพราะหลังจากอุปาทาน มันจะเกิดกรรม
พอทำเพื่อตัวตน แล้วก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิด
ถ้าทำผิดก็ไปทำทุจริต
จริงๆ ก็คืออยากให้ตนได้สุขนั่นแหละ แต่ทำผิดก็ไปตกอบายเอา

===
ความยึดนี่มีหลายระดับ

ความยึดที่หยาบที่สุด คือ ความยึดแม้แต่ของที่อยากจะทิ้ง
ยึดแม้แต่ของที่จำเป็นต้องทิ้ง รู้ทั้งรู้ว่าไม่มีประโยชน์เลย
เช่น พวกทุจริตต่างๆ
อันนี้เลวมาก อาการหนัก

เรื่องอดีต พูดขึ้นมาก็ไม่มีประโยชน์
เรื่องบ่น รู้ว่าพูดไปก็ทุกข์ บ่นแล้วจะเถียงกัน แต่ก็ยังขอสักนี๊ดเถอะ
อันนี้อุปาทานหยาบมาก เป็นความยึดที่เหลวไหลที่สุดแล้ว

ความยึดความถือนี่ตัวร้าย
โดยเฉพาะทิฏฐินี่เวลามันยึดขึ้นมานี่ กลับขั้วความจริงได้เลย
เวลาที่ไม่ยึดนี่ดูเหมือนจะเข้าใจอะไรได้พอสมควรอยู่
แยกได้อะไรดีอะไรไม่ดี

แต่พอยึดขึ้นมาปุ๊บนี่...
ความรู้ทั้งหมดจะหายไป 5555

อันที่รู้โทษกันจะจะนี่ยังละไม่ได้ ก็เป็นอวิชชาชั้นรุนแรง
ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงอันที่ยังไม่รู้

บางคนเป็นโสดาบัน
ก็ยังเข้าใจผิดว่า ถ้าเรารู้แล้วว่าไม่มีตัวตน ก็ไม่ต้องยึดแล้วสิอะไรๆ ก็ว่าไป
เป็นการยกตัวอย่างว่า ความรู้กับความยึดนี่มัน คนละชั้นกัน!!!
รู้นะว่าไม่ดี ไม่มีประโยชน์แต่ทิ้งไม่ได้ เปรียบเทียบเหมือนกันเลย

บางคนว่า อ่าวรู้แล้วว่าไม่มีตัวตน งั้นก็ไม่ยึดบ้านยึดอะไรแล้ว
หารู้ไม่...ความรู้กับความยึดนี่มันคนละชั้นกัน
ง่ายๆ เลย  ทุจริต ก็รู้ๆ ว่าไม่ควรทำด้วยประการทั้งปวง แต่...ขอหน่อยนะ ...นั่น!!!

รู้ว่าขุดอดีตมาไม่มีประโยชน์แต่ก็ยัง...จำไว้ เผื่อเอาไว้...นั่น!!!
จำไว้ให้สบายใจว่ามีอำนาจเล่นคืนได้...นั่น!!!

มันไม่ใช่ว่ากิเลสฝังลึกอะไร
มันแค่...ไม่มีอริยมรรค 5555

===
อุปาทาน 4 ไม่ได้มีอยู่ก่อน
จะมีก็เมื่อมันเกิด

ถ้าจะพิจารณา
โอ้ นี่มันเพิ่งมี
มีเพราะมีอย่างนี้ๆ มันมีตัณหา

การคิดแบบไม่ระวัง
โอ้ นี่ดี นี่น่ารัก น่าอร่อย (ความหมาย = นี่จะให้ความสุขแก่เราได้)
จะกลายเป็นอุปาทาน

อุปาทานที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ อัตตวาทุปาทาน
เพราะอีก 3 อุปาทาน ไม่ใช่พระพุทธเจ้าก็สอนได้
สักกายทิฏฐิ  20 จึงต้องแม่น !!

ไม่ใช่ไม่ให้มีของตน
แต่ให้รู้ว่า "ของตน" เป็นสมมติ
ไม่ใช่ไม่ให้ทำเพื่อตน
แต่ให้รู้ว่า "เพื่อตน" เป็นสมมติ

สังเกตว่าการสอนทั่วไปจะไปเน้นกามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน
ซึ่งเน้นผิด

ตรงนี้ต้องแม่นๆ ถ้าไม่แม่นจะไม่เป็นญาณ

ที่บ่นสามี เพราะสามีทำผิด (ไม่ใช่)
เพราะยึดว่าเป็นสามีของเรา...เรามีสิทธิ
จะเป็นอย่างนี้อีกนานมั้ย...จะเป็นไปจนกว่าสามีจะเปลี่ยนนั่นล่ะค่ะ (ไม่ใช่)
จนกว่าจะเลิกเห็นผิด

ที่ฆ่ามด เพราะมดมาตอมอาหาร (ไม่ใช่)
เพราะยึดว่าขนมของเรา

ภพ

ภพ

กามภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับกาม
เกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

รูปภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์สมาธิฝ่ายรูป

อรูปภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับสมาบัติที่มีอารมณ์เป็นอรูป

คำว่าภพ หรือภวะ
มีความหมายหลักๆ อยุ่ 2 ประการ

ภพที่หมายถึง กรรม ก็อันหนึ่ง
ภว มีความหมายเท่ากับ กมฺม
ภพ = กรรม = เจตนา
จะพูดว่าภพก็ได้ จะพูดว่ากรรมก็ได้ จะพูดเหมาว่ากรรมภพก็ได้ ความหมายเท่ากัน
ถ้าแปล ก็แปลได้ว่า

กามภพ กรรมที่ทำให้เกิดในกามภูมิ
รูปภพ กรรมที่ทำให้เกิดในรูป
อรูปภพ กรรมที่ทำให้เกิดในอรูป

ความหมายที่ 2 อุปปัตติภพ
ก็คืออุบัติ หรือการเกิด
ซึ่งความหมายก็เหมือนกับ ชาตินั่นแหละ
แต่สื่อถึง "สถานที่" เกิด (ขณะที่ชาติกล่าวถึงตัวความเกิดเลย)

กามภพ ก็คือสถานที่เกิดในกาม ก็ได้แก่ กามภูมิ 11 (มนุษย์ 1 + อบาย 4 + เทวโลก 6)
รูปภพ 16
อรูปภพ 4

ในปฏิจจฯ ภพมีความหมาย 2 ประการ

กรรมภพก็จะหมายถึง ตัวเจตนาที่ต้องการจัดแจงนั่นนี่เพื่อตน

ถ้าปรารภ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือจ้องจะเอาสิ่งเหล่านี้
จ้องจะเอาอำนาจ เงินทอง ชื่อเสียงมาเพื่อแล้วตน แล้ว "ทำ"
นี้เรียก กามภพ

ถ้าทำเพื่อตัวตน แต่ทำในแง่ฌาน
ทำให้ตนมีความสุข สงบ เข้าสู่นิพพาน แต่เข้าใจผิดนึกว่าฌานเป็นนิพพาน
เข้าสู่รูปฌาน/อรูปฌาน
อันนี้เรียก รูปภพ/อรูปภพ

อุปปัตติภวะ ความหมายเท่ากับ ชาติ
เพียงแต่ชาติ พูดในแง่ความเกิด
ส่วนอุปปัตติภวะ ความเกิดนี่เกิดต่างกันอย่างไร

จะอธิบายแง่ไหนก็ได้
พูดแบบกรรม ภพเป็นเจตนาให้ไปเกิด (ตัวสภาวะคือตัวเจตนา)
พูดแบบภพภูมิ ก็ได้ผลเป็นอุบัติในภพ (ผลของเจตนาที่ทำให้ไปเกิด)

===
ภพ

มีเจตนาจ้องผลอันใดอันหนึ่งเพื่อตัวตนแล้วทำ เรียกว่า ภพ
ความรู้สึกอย่างนี้มันไม่ได้เกิดตลอด
นานๆ เกิดที

คบเพื่อนคบใคร
ก็หวังว่าคบๆ กันไว้
พอลำบากจะได้ช่วยเหลือกัน
จึงสร้างสังคม สร้างกลุ่ม สร้างครอบครัว

เกิดเพราะมีอุปาทาน
เกิดเมื่อมีอุปาทาน

ถ้าไม่ยึดไม่เห็นผิดว่าเป็นตัวตน
การกระทำอะไรๆ ก็เหมือนเดิม
แต่ไม่มีการจ้องเอาผลเพื่อตน

เมื่ออุปาทานไม่มี
การกระทำโดยจ้องจะเอาผลก็ไม่มี
อดีตเป็นอย่างนี้ อนาคตเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้

ป่วยและหายป่วย

ชรามรณะมีอยู่

เวลาพูดว่าว่าอะไรมีอยู่
ไม่ได้หมายความถึงว่ามัน "มีอยู่จริงๆ"
แต่มี "เมื่อมันเกิด"

พวกเรายังไม่เห็นชัดในข้อนี้
พอพูดถึงว่าสิ่งใดมีอยู่ ก็จะรู้สึกว่ามัน "มีจริงๆ"

การรู้สึกว่ามีจริงๆ ก็เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง
พอรู้สึกว่ามันดับ ก็รู้สึกว่ามัน "ดับจริงๆ"
การรู้สึกว่ามันหมดไปจริงๆ ดับไปจริงๆ ก็เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง
ต้องแม่นๆ ตรงนี้

การจะเข้าใจตรงนี้ต้องเข้าใจสายกลาง
คือปฏิจจฯ เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นนี่มันไม่ได้มีจริงนะ
มันมีเพราะมันเกิด ที่มันเกิดก็เพราะเหตุเพราะปัจจัย

ที่มันอยู่นี่มันก็ไม่ได้อยู่จริงๆ
แต่มันอยู่ตามเงืื่อนไข
พอหมดเงื่อนไขมันก็ไป

แต่มันไปมันก็ไม่ได้ "ไปจริงๆ"
แต่มันไปเพราะมันหมดเงื่อนไข
ถ้าเงื่อนไขมาอีก มันก็มาอีกแหละ

เหมือนเวลาป่วย
ก็จะรู้สึกว่าป่วยจริงๆ รักษากันเข้ารพ.ว่ากันไป
พอหายป่วย ก็รู้สึก "หายจริงๆ" สบายใจ
สักหน่อยป่วยอีก "ป่วยจริงๆ" อีก

มันก็รู้สึกวนเวียนอยู่อย่างนี้
มีก็มีจริงๆ หายก็หายจริงๆ
อันนี้เป็นความเข้าใจผิด
งง ไม่มีปัญญา

มันมีก็เมื่อมันเกิดขึ้นนั่นแหละ
มีอยู่ก็ด้วยเงื่อนไขมันมีอยู่
เดี๋ยวสักหน่อยมันก็หมดไป

สักหน่อยนี่เมื่อไรล่ะ
ก็เมื่อมันหมดเงื่อนไขนั่นแหละ

แล้วเมื่อมันหมดเงื่อนไขแล้ว
มันสงบแล้ว
มันสงบจริงๆ มั้ย

ไม่
พอมีเงื่อนไขมันก็มาอีกแหละ 5555

ในโลกจึงไม่มีที่ที่ปลอดภัย
ธรรมจึงมี 2 ส่วนนี่แหละ คือสังขาร กับนิพพาน
ผู้ที่เข้าใจชัดก็คือพระโสดาบัน

ผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็จะวุ่นวายอยู่นั่น
อยู่ในโลกก็จะให้มันเหนือโลก
ทุกข์ก็จะให้มันสุข
ของไม่เที่ยงก็จะให้มันเที่ยง

เขาเรียกเห็นผิด

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชาติ

สญฺชาติ ความเกิดพร้อม
โอกฺกนฺติ ความหยั่งลง
นิพฺพตฺติ ความเกิดขึ้น
อภินิพฺพตฺติ ความบังเกิดขึ้น

ความเกิดขึ้น หมายถึง ความมาประชุม ความรวมกันขึ้น
ที่รวมกันขึ้นมา ประชุมกัน เรียก นิพฺพตฺติ

ความบังเกิดขึ้น ก็คล้ายๆ กับ โผล่ขึ้นมา ผุดขึ้นมา
เหมือนไม่เคยมี วันดีคืนดีก็มีขึ้นมา
คล้ายกับว่าเดิมไม่มี แล้วมันก็มีขึ้น โผล่ขึ้นมา
แต่แน่นอนว่า "โผล่ขึ้นมา" นี้มันไม่ได้มาลอยๆ ก็ต้องมีเหตุมีปัจจัย

อันที่จริงที่มีขึ้น เพราะมีชันธ์ 5
พอไม่มีขันธ์ 5 มันก็หาบัญญัติไม่ได้
พอมีขันธ์ 5 ก็เลยตั้งขึ้นมาว่ามีคนนู้นคนนี้

ขนฺธานํ ปาตุภาโว ความปรากฏแห่งขันธ์ท.
ความปรากฏขึ้นของรูป
ความปรากฏขึ้นของเวทนา
ความปรากฏขึ้นของสัญญา
ความปรากฏขึ้นของสังขาร
ความปรากฏขึ้นของวิญญาณ

อายตนานํ ปฏิลาโภ ความได้อายตนะ

นี้เรียกว่าชาติ ความเกิด
(สังเกต ไม่ได้เรียกว่าคน)

อริยมรรคมีองค์ 8

ท่านประกาศธรรมจักรนี่
ประกาศอริยมรรคมีองค์ 8 มาก่อนเลย
ถ้าไม่มีอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นฐานมา
ไปฟังอะไรมันก็จะเลื่อนลอยไปหมด
เจริญมั่ว ไม่สมส่วน จึงไม่บริบูรณ์

สติก็อย่างหนึ่ง เจริญสติก็อีกอย่างหนึ่ง สมาธิก็อันหนึ่ง เจริญสมาธิก็อีกอันหนึ่ง

สติภาวนา (การเจริญสติ) ก็คือ การทำให้สติมีมากๆ เยอะๆ?
การเจริญสติ คือการทำให้มีสติทั้งวัน?
ดูเหมือนจะถูก
แต่เข้าใจผิด !!!

ถ้าทำอย่างนี้ไม่มีวันที่สติจะเจริญ
และไม่มีวันที่สติจะสมบูรณ์ได้
เพราะสติมันคือความรู้ ความไม่หลง
มันจึงคู่กับกิเลสซึ่งเป็นความหลง

ถ้ากิเลสไม่ลด
สติก็ไม่มีวันบริบูรณ์ เพราะมันมีคู่ตรงข้ามมันอยู่

การทำให้สติสมบูรณ์ไม่ใช่เจริญแต่สติ
แต่หมายถึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
เมื่อเจริญมรรคก็ไปทำลายกิเลสฝ่ายตรงข้าม

อันนี้เป็นความเข้าใจผิด
ไม่รู้จัก ภาเวตัพพธรรม
ข้อสังเกตถ้ามีคำว่าภาวนาอยู่ข้างหลัง
จำแม่นๆ มันจะต้องเกี่ยวกับอริยมรรคมีองค์ 8

สติเป็นอันหนึ่ง
สติภาวนาเป็นอันหนึ่ง

เช่นเดียวกัน
สมาธิก็อย่างนึง
การเจริญก็อีกอย่างนึง

การเจริญสมาธิ ไม่ได้หมายความว่า ทำให้จิตมันตั้งมั่นเยอะๆ
การเจริญสมาธิ หรือสมาธิภาวนา ความหมายคือเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
การภาวนา ก็คือภาเวตัพพธรรม ธรรมที่ควรเจริญมีองค์ 8 ไม่ใช่องค์ 1

สมาธิคือ ความตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้าย
ที่มันยังยินดียินร้ายอยู่เพราะมันไม่เข้าใจตามความเป็นจริง
เลยไปรักของที่มันน่ารัก เกลียดของที่น่าเกลียด

เช่นนี้วิธีที่จะทำให้จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวก็คือ
ไปเจริญมรรค ให้มันเข้าใจสิ่งนั้นตามความเป็นจริง
ความหวั่นไหวก็ลดลง สมาธิก็มากขึ้น

ไม่ใช่ว่า อ่ะจิตสงบ ก็เจริญให้ลึกซึ้งไปเรื่อย แล้วนึกว่านี่เจริญสมาธิ

กุศลก็อันหนึ่ง
การเจริญกุศลก็อีกอันหนึ่ง

ทำบุญเยอะๆ เป็นการเจริญกุศลมั้ย
ไม่ใช่
ทำไมไม่ใช่ ... ก็เพราะมันไม่ใช่ไง

ถ้าจะถูกมันก็ต้องถูกตามธรรม
เอาธรรมมาวาง อะไรคือธรรมที่ควรเจริญ
ต้องแม่นหลักอริยสัจ และสงเคราะห์เรื่องต่างๆ ลงหลักนี้ให้ได้ก่อน

บุญและทานควรเจริญน่ะใช่
แต่การจะทำให้บริบูรณ์ต้องปฏิบัติอริยมรรค
ไม่ได้บริบูรณ์ด้วยการให้เยอะๆ

หรือวิปัสสนาก็อันนึ่ง
วิปัสสนาภาวนาก็อีกอันหนึ่ง

วิปัสสนา คือการเห็นแจ้งตามจริง
แต่วิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่การเจริญตัวนั้น
มันคือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8

คือวิปัสสนานี่ปฏิบัติเพื่อให้เห็นทุกข์เกิดดับ
เห็นทุกข์เกิดดับก็เพื่อให้เข้าใจว่าโลกมันก็เท่านี้ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อวิราคะ

วิปัสสนาเป็นการฝึกสัมมาทิฏฐิข้อ "รู้ทุกข์"
ต่อมาก็ต้องรู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
วิปัสสนาเป็นการเจริญสัมมาทิฏฐิแต่ยังไม่ครบ
สัมมาทิฏฐินี่ต้องเจริญครบ 4 ข้อ