ภพ
กามภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับกาม
เกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
รูปภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์สมาธิฝ่ายรูป
อรูปภพ
ภพที่เกี่ยวเนื่องกับสมาบัติที่มีอารมณ์เป็นอรูป
คำว่าภพ หรือภวะ
มีความหมายหลักๆ อยุ่ 2 ประการ
ภพที่หมายถึง กรรม ก็อันหนึ่ง
ภว มีความหมายเท่ากับ กมฺม
ภพ = กรรม = เจตนา
จะพูดว่าภพก็ได้ จะพูดว่ากรรมก็ได้ จะพูดเหมาว่ากรรมภพก็ได้ ความหมายเท่ากัน
ถ้าแปล ก็แปลได้ว่า
กามภพ กรรมที่ทำให้เกิดในกามภูมิ
รูปภพ กรรมที่ทำให้เกิดในรูป
อรูปภพ กรรมที่ทำให้เกิดในอรูป
ความหมายที่ 2 อุปปัตติภพ
ก็คืออุบัติ หรือการเกิด
ซึ่งความหมายก็เหมือนกับ ชาตินั่นแหละ
แต่สื่อถึง "สถานที่" เกิด (ขณะที่ชาติกล่าวถึงตัวความเกิดเลย)
กามภพ ก็คือสถานที่เกิดในกาม ก็ได้แก่ กามภูมิ 11 (มนุษย์ 1 + อบาย 4 + เทวโลก 6)
รูปภพ 16
อรูปภพ 4
ในปฏิจจฯ ภพมีความหมาย 2 ประการ
กรรมภพก็จะหมายถึง ตัวเจตนาที่ต้องการจัดแจงนั่นนี่เพื่อตน
ถ้าปรารภ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือจ้องจะเอาสิ่งเหล่านี้
จ้องจะเอาอำนาจ เงินทอง ชื่อเสียงมาเพื่อแล้วตน แล้ว "ทำ"
นี้เรียก กามภพ
ถ้าทำเพื่อตัวตน แต่ทำในแง่ฌาน
ทำให้ตนมีความสุข สงบ เข้าสู่นิพพาน แต่เข้าใจผิดนึกว่าฌานเป็นนิพพาน
เข้าสู่รูปฌาน/อรูปฌาน
อันนี้เรียก รูปภพ/อรูปภพ
อุปปัตติภวะ ความหมายเท่ากับ ชาติ
เพียงแต่ชาติ พูดในแง่ความเกิด
ส่วนอุปปัตติภวะ ความเกิดนี่เกิดต่างกันอย่างไร
จะอธิบายแง่ไหนก็ได้
พูดแบบกรรม ภพเป็นเจตนาให้ไปเกิด (ตัวสภาวะคือตัวเจตนา)
พูดแบบภพภูมิ ก็ได้ผลเป็นอุบัติในภพ (ผลของเจตนาที่ทำให้ไปเกิด)
===
ภพ
มีเจตนาจ้องผลอันใดอันหนึ่งเพื่อตัวตนแล้วทำ เรียกว่า ภพ
ความรู้สึกอย่างนี้มันไม่ได้เกิดตลอด
นานๆ เกิดที
คบเพื่อนคบใคร
ก็หวังว่าคบๆ กันไว้
พอลำบากจะได้ช่วยเหลือกัน
จึงสร้างสังคม สร้างกลุ่ม สร้างครอบครัว
เกิดเพราะมีอุปาทาน
เกิดเมื่อมีอุปาทาน
ถ้าไม่ยึดไม่เห็นผิดว่าเป็นตัวตน
การกระทำอะไรๆ ก็เหมือนเดิม
แต่ไม่มีการจ้องเอาผลเพื่อตน
เมื่ออุปาทานไม่มี
การกระทำโดยจ้องจะเอาผลก็ไม่มี
อดีตเป็นอย่างนี้ อนาคตเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น