วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อุปาทาน

อุปาทาน
ความยึดมั่น ถือมั่น ยึดเอาไว้แน่น
ยึดไว้แบบไม่ปล่อย
ยึดมั่น คือยึดแน่น ไม่ปล่อย เหมือนงูรัดเหยื่อ

อุป (แน่น, มั่นคง) + อาทาน (ถือไว้)

คือถ้าถือไม่แน่นก็ไม่เป็นไร จับมาแล้วปล่อยก็ไม่เป็นไร
อันนี้ไม่ถือว่า "ยึด" 

แต่ถ้า "ยึด" นี่คือ ถือแล้วไม่ปล่อย
ถือไว้อย่าง ผิดๆ พลาดๆ แล้วไม่ยอมปล่อย เรียกว่า อุปาทาน

อุปาทานมี 4

กามุปาทานํ 
ความถือไว้อย่างเหนียวแน่นว่า อันนี้เป็นกาม
คือถือไว้ว่า "อันนี้จะให้ความสุขแก่เราได้"
"อันนี้ให้ความเพลิดเพลินแก่เราได้"

อันที่จริงสิ่งนั้นมันก็เป็นสิ่งนั้น
แต่การไปถือว่า สิ่งนั้นมันให้ความเพลิดเพลิน นี่เป็นกามุปาทาน

ตัวกามุปาทานไม่ใช่วัตถุ
แต่เป็นนามธรรม
คือตัวที่ "ไปถือ" นั่นแหละ

คือของสวยมันก็เป็นของสวยนั่นแหละ
แต่ตัวที่ไปถือว่าเป็น "ของสวย"
หรือแม้แต่บางทีไม่สวย แต่ก็ไปถือว่า "ให้ความเพลิดเพลินได้" เช่น หน้าตาตัวเอง
อันนี้ก็ถือ ถือว่าหน้าตานี่มันน่าพอใจแก่ตนเอง

กามแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน
กามที่ดีที่สุดสำหรับเขา ก็คือสิ่งที่เขาพอใจ
กามที่ดีที่สุดจึงไม่มีจริง มันอยู่ที่เขาพอใจ
เหมือนอาหารที่ดีที่สุดนี่ ไม่มีจริง มันคือสิ่งที่เขาพอใจที่สุดนั่นแหละ

การไปถือนี่ ถ้าไปถือธรรมดาๆ
เห็นว่าเป็นของสวยงาม  เป็นของน่าพอใจ ชอบ ไม่ชอบเฉยๆ นี่
ไม่จัดเป็นอุปาทาน

แต่ถ้าไปยึด "จริงๆ"
ว่านี่มันเป็นเพราะอันนี้จริงๆ อันนี้จัดเป็นอุปาทาน
ยึดโดยมุ่งหมายว่าเป็น "กาม"

กามุปาทาน ตัวสภาวะคือ ตัณหา
คือเป็นความต้องการ แต่เป็นความต้องการที่รุนแรง และก็ไม่ยอมปล่อย
เป็นตัณหาที่มีกำลังแรง

ทิฏฺฐุปาทานํ
ถือด้วยทิฏฐิ
ถือด้วยความเห็นที่ผิดๆ
เช่น พวกมิจฉาทิฏฐิ 10, ทิฏฐิ 62
ของมันผิดแล้วไปถือไว้อย่างเหนียวแน่น มั่นคง

จริงๆ ของผิดมันก็มีในโลกเป็นเรื่องธรรมดา
แต่การไปถือนี่เป็นอุปาทาน
อันนี้ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 

สีลพฺพตุปาทานํ
ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 
แต่เป็นทิฏฐิที่ไปจับและยึดศีลและวัตรว่าจะทำ "เพื่อตัวตน"
ให้เราได้นั่นได้นี่ ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่งว่าไป
ให้เราเป็นสุข ประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า
"จะทำให้ตนได้"

ตัวยึด คือตัวทิฏฐิ
ตัวถูกยึด คือ ศีล พรต

ศีล ก็หมายถึง ตัวสิกขาบทต่างๆ เป็นข้อๆ
ตัวงด ตัวเว้น ตัวสำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิด เรียก ศีล
การฝึกปฏิบัติจนจิตมีศีล อันนี้เรียก ศีล

วัตร คือการสมาทาน
เป็นความตั้งใจ ปรารภความเพียรอันใดอันหนึ่ง
ตั้งใจทำตามนั้นเพื่อขัดกิเลส
เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น อันนี้เป็นวัตร ไม่ได้เป็นศีล

ดังนั้น ศีลนี่ เป็นได้ทั้งศีล และวัตร
บางอย่างเป็นวัตร ไม่เป็นศีล เช่น ธุดงค์

อตฺตวาทุปาทานํ
การยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน

ตัวตนนี้ไม่มีอยู่จริง
เป็นความสมมติ เป็นภาพฉายขึ้นมา

การไปถือในภาพนั้นว่ามีจริงๆ
มีตัวตนอยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน
ก็คือ สักกายทิฏฐิ 20 นั่นเอง
อัตตวาทุปาทาน ตัวสภาวะคือตัวทิฏฐิ 

อุปาทานทั้ง 4 พูดย่อๆ ก็คือ ตัณหาและทิฏฐิ
เวลาท่านพูดถึงข้อปฏิบัติอะไร
ก็เป็นไปเพื่อป้องกันตัณหา และทิฏฐิ
ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา อย่าไปใช้ชีวิตด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ความหมายก็เท่ากับ อย่าไปใช้ชีวิตด้วยอุปาทาน นั่นเอง

เพราะหลังจากอุปาทาน มันจะเกิดกรรม
พอทำเพื่อตัวตน แล้วก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิด
ถ้าทำผิดก็ไปทำทุจริต
จริงๆ ก็คืออยากให้ตนได้สุขนั่นแหละ แต่ทำผิดก็ไปตกอบายเอา

===
ความยึดนี่มีหลายระดับ

ความยึดที่หยาบที่สุด คือ ความยึดแม้แต่ของที่อยากจะทิ้ง
ยึดแม้แต่ของที่จำเป็นต้องทิ้ง รู้ทั้งรู้ว่าไม่มีประโยชน์เลย
เช่น พวกทุจริตต่างๆ
อันนี้เลวมาก อาการหนัก

เรื่องอดีต พูดขึ้นมาก็ไม่มีประโยชน์
เรื่องบ่น รู้ว่าพูดไปก็ทุกข์ บ่นแล้วจะเถียงกัน แต่ก็ยังขอสักนี๊ดเถอะ
อันนี้อุปาทานหยาบมาก เป็นความยึดที่เหลวไหลที่สุดแล้ว

ความยึดความถือนี่ตัวร้าย
โดยเฉพาะทิฏฐินี่เวลามันยึดขึ้นมานี่ กลับขั้วความจริงได้เลย
เวลาที่ไม่ยึดนี่ดูเหมือนจะเข้าใจอะไรได้พอสมควรอยู่
แยกได้อะไรดีอะไรไม่ดี

แต่พอยึดขึ้นมาปุ๊บนี่...
ความรู้ทั้งหมดจะหายไป 5555

อันที่รู้โทษกันจะจะนี่ยังละไม่ได้ ก็เป็นอวิชชาชั้นรุนแรง
ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงอันที่ยังไม่รู้

บางคนเป็นโสดาบัน
ก็ยังเข้าใจผิดว่า ถ้าเรารู้แล้วว่าไม่มีตัวตน ก็ไม่ต้องยึดแล้วสิอะไรๆ ก็ว่าไป
เป็นการยกตัวอย่างว่า ความรู้กับความยึดนี่มัน คนละชั้นกัน!!!
รู้นะว่าไม่ดี ไม่มีประโยชน์แต่ทิ้งไม่ได้ เปรียบเทียบเหมือนกันเลย

บางคนว่า อ่าวรู้แล้วว่าไม่มีตัวตน งั้นก็ไม่ยึดบ้านยึดอะไรแล้ว
หารู้ไม่...ความรู้กับความยึดนี่มันคนละชั้นกัน
ง่ายๆ เลย  ทุจริต ก็รู้ๆ ว่าไม่ควรทำด้วยประการทั้งปวง แต่...ขอหน่อยนะ ...นั่น!!!

รู้ว่าขุดอดีตมาไม่มีประโยชน์แต่ก็ยัง...จำไว้ เผื่อเอาไว้...นั่น!!!
จำไว้ให้สบายใจว่ามีอำนาจเล่นคืนได้...นั่น!!!

มันไม่ใช่ว่ากิเลสฝังลึกอะไร
มันแค่...ไม่มีอริยมรรค 5555

===
อุปาทาน 4 ไม่ได้มีอยู่ก่อน
จะมีก็เมื่อมันเกิด

ถ้าจะพิจารณา
โอ้ นี่มันเพิ่งมี
มีเพราะมีอย่างนี้ๆ มันมีตัณหา

การคิดแบบไม่ระวัง
โอ้ นี่ดี นี่น่ารัก น่าอร่อย (ความหมาย = นี่จะให้ความสุขแก่เราได้)
จะกลายเป็นอุปาทาน

อุปาทานที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ อัตตวาทุปาทาน
เพราะอีก 3 อุปาทาน ไม่ใช่พระพุทธเจ้าก็สอนได้
สักกายทิฏฐิ  20 จึงต้องแม่น !!

ไม่ใช่ไม่ให้มีของตน
แต่ให้รู้ว่า "ของตน" เป็นสมมติ
ไม่ใช่ไม่ให้ทำเพื่อตน
แต่ให้รู้ว่า "เพื่อตน" เป็นสมมติ

สังเกตว่าการสอนทั่วไปจะไปเน้นกามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน
ซึ่งเน้นผิด

ตรงนี้ต้องแม่นๆ ถ้าไม่แม่นจะไม่เป็นญาณ

ที่บ่นสามี เพราะสามีทำผิด (ไม่ใช่)
เพราะยึดว่าเป็นสามีของเรา...เรามีสิทธิ
จะเป็นอย่างนี้อีกนานมั้ย...จะเป็นไปจนกว่าสามีจะเปลี่ยนนั่นล่ะค่ะ (ไม่ใช่)
จนกว่าจะเลิกเห็นผิด

ที่ฆ่ามด เพราะมดมาตอมอาหาร (ไม่ใช่)
เพราะยึดว่าขนมของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น