ตัวเวทนานี่คือตัวความรู้สึก
ทนได้
ทนไม่ได้
เฉยๆ
ฝึกสังเกตบ่อยๆ ก็จะรู้จักมัน
เห็นคนนี้แล้วเป็นไง
ทนได้ รึทนไม่ได้ รึเฉยๆ
ถ้าเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นชัด
ยังไม่ต้องไปถึงเรื่องชอบ ไม่ชอบ
ตรงนี้ฝึกใส่ใจให้ดี ถ้าดูเป็นแล้วจะง่าย
รับรู้เรื่องนี้แล้วทนไม่ค่อยได้
ฝึกตั้งคำถามขึ้นมา...ใครทนไม่ได้
เวทนาทนไม่ได้ ไม่ใช่เราทนไม่ได้
เวทนาเกิดได้ยังไง เกิดเพราะผัสสะ
เท่านี้แหละ เท่านี้เอง เกิดเป็นครั้งๆ
ฝึกตรงนี้ได้จะไม่มีอคติ เพราะมันเป็นวิบาก
จะเห็นง่าย
เกิดจากผัสสะเป็นครั้งๆ
เสวยอารมณ์
บางอารมณ์กลืนง่าย บางอารมณ์กลืนยาก
===
เวลาพิจารณานี่
พิจารณาเป็นกระบวนการ
เวลามีเรื่องอะไรขึ้นมา ยึดอะไรขึ้นมา
อ่อ นี่มันเกิดจากตัณหา
ตัณหานี้ก็เกิดเพราะเวทนา
ถ้าไม่เกิดตัณหานี่จะพิจารณาได้ง่าย
พอเกิดตัณหาขึ้นมามันเกิดตัวตนมันก็จะมีอคติ
พออคติมันจะพิจารณาอะไรยาก มันยินดียินร้าย
แต่ช่วงผัสสะเกิดเวทนานี่ง่าย
แต่ต่อให้เลยไปเป็นตัณหาแล้ว ก็ยังได้อยู่
ถ้ามีสัมมาทิฏฐิมันก็กั๊กไว้อยู่ คิดอย่างนี้มันผิดไม่ควรทำนะ เป็นต้น
แต่ก็จะยากขึ้นมา เพราะพอรักตน ยึดของตนขึ้นมาแล้วมันจะอคติไปหมด
ถ้ามาดูที่เวทนา ซึ่งมันเป็นวิบากเฉยๆ
เวทนาเกิดจากผัสสะ
พิจารณาแบบนี้มันตรงตัว ไม่มีกิเลสเข้ามาบัง
มันก็พิจารณาได้ชัด ปัญญาก็เกิดไว
ดังนั้นในหลักของการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาที่ให้พิจารณากันจะจะ
จึงให้ทำกันตอนจิตมีสมาธิ ไม่มียินดียินร้าย
จึงพิจารณาได้ชัด
ทีนี้พอพิจารณาได้ชัดจนมีพื้นฐานพอสมควรแล้ว
ต่อมาแม้จะมีตัณหาเกิดขึ้นบ้างอะไรบ้าง
อย่างน้อยก็จะมีปัญญามาคานมันไว้ได้
จริงๆ แล้วปฏิจจฯ สามารถนำเป็นเครื่องพิจารณาช่วงไหนก็ได้
เป็นอารมณ์ของมนสิการได้ทั้งหมดเลย
แม้เกิดทุกข์ขึ้นมาแล้ว โศกจะเป็นจะตายแล้วก็ยังพิจารณาได้
สติตั้งขึ้นมาเมื่อไรก็พิจารณาได้เมื่อนั้นแหละ
ช่วงเวทนานี่พิจารณาดีสุด ไม่รักไม่ชัง
ถ้าปล่อยตัวตนขึ้นมามันก็จะชอบ จะชัง ก็ดูยากแล้ว
ถ้าปล่อยไปถึงโสกะปริเทวะ มันก็แรงไปอีก ดูยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น