นามในปฏิจจฯ
จะนำสภาวะ 5 อย่างมา
เวทนา สญฺญา เจตนา ผสฺโส มนสิกาโร
เอาสภาวะที่เกิดในจิตมาเป็นนาม
คือเอาเจตสิกมา (สังเกตไม่ได้เอาวิญญาณมา)
เอามาเท่านี้เพราะนามในปฏิจจะ
จะเอาอันที่เห็นชัดๆ มา และก่อให้เกิดภาครับ และภาคกระทำที่ชัดเจน
ภาครับ ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา
ภาคกระทำ ก็ได้แก่ เจตนา ผัสสะ มนสิการ
ถ้าพูดแบบขันธ์ ก็เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และเจตนา ผัสสะ มนสิการเป็นสังขารขันธ์
นามนี่ไม่ได้แสดงตัวอื่นด้วยเพราะต้องการเน้นการเชื่อมโยงไปสู่อายตนะ
ตัวอื่นๆ เช่น ชีวิตินทรีย์ เอกัคคตา มันเหมือนกับนักเรียนที่มาให้เต็มห้องเฉยๆ
ต้องดูว่ากระบวนการมันต่อยังไง จึงดึงตัวที่ชัดเจนมาแสดง
คือนามรูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะมีอะไรบ้าง
ไม่ได้พูดถึงนามรูปทั้งหมด
รูป
มหาภูตรูป
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป
นามนี้ด้วยรูปนี้ด้วย
นามรูปํ กล่าวถึงสิ่งเดียวกันที่มาประชุมกัน เรียกเป็นเอกพจน์
===
นามรูป ถ้าพูดอธิบายแบบแยกแยะขันธ์
ก็คือกองทุกข์ หรือผลของปฏิจจะ
เป็นการเกิดขึ้นของกองทุุกข์ล้วนๆ
เวลาเรียนเรื่องขันธ์ คือเรียนเรื่องกองทุกข์ล้วนๆ
ไม่ได้เรียนเรื่องกระบวนการ
ขันธ์ คือเรียนนามรูป ให้เข้าใจว่ามันมีแต่นามกับรูป ไม่มีตัวตน
ปฏิจจะนี้เรียนเรื่องกระบวนการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น