ย่อมเจริญฉันทะ (วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา) สมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า
ฉันทะ (วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา) ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป
ไม่ประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน
ไม่ฟุ้งไปในภายนอก
มีความสำคัญในเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ว่า
เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
(ผล - จิตที่ไม่มีนิวรณ์)
เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่
ถ้าทำแบบตามบุญตามกรรม ไม่รู้หลักการ ไม่รู้เทคนิค
มันก็อาจจะได้ผลถ้าขยันทำ แต่มันใช้เวลานาน
มาเรียนไว้ก่อน
แต่เรียนไปแล้ว พอไปทำมันก็ผิดๆ ถูกๆ เหมือนเดิมแหละ
ไม่ใช่ว่า (คิดว่า) เข้าใจแล้วเวลาทำจะไม่ผิด
ไปทำจริงมันก็หลงๆ ลืมๆ ตามเรื่องน่ะแหละ ก็กลับมาทวนบ่อยๆ ด้วย กลับมาฟังธรรม
มันชอบลืมเรื่อย 5555
เหมือนฟังเรื่องมีสติ เรื่องรู้ตัว
ในชีวิตประจำวันมันก็ยังลืมเรื่อย
เลยต้องฟังซ้ำ วนไป 5555
ตอนนี้มาฟังเรื่องสมาธิ ก็เป็นขั้นกลางๆ
ถ้าทำไม่ถึงสมาธิชีวิตไม่เปลี่ยน นิสัยไม่เปลี่ยน
มันต้องใช้เวลาช่วงนึง ต่อเนื่องพอสมควร
บางคนก็ไม่กล้า
ห่วงทำนู่นทำนี่
พอจะทำอะไรได้นิดหน่อยก็เลิก ล้มกระดาน ทำใหม่
ฉะนั้นถ้าจะทำอะไรก็ทำให้ถึงสมาธิ
มันจึงจะเป็นตัวเปลี่ยนนิสัยเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน
ตัวเปลี่ยนนี่ก็จะเป็นคุณธรรมฝ่ายดีที่เข้ามาแทนที่
เรียก "อินทรีย์"
จะให้กลับไปเชื่อมงคลตื่นข่าว ไปหวั่นไหวกับเรื่องนู้นเรื่องนี้ มันทำไม่เป็น
เพราะมีสัทธินทรีย์เข้ามาแทนในจิตแล้ว
ถ้าทำไม่ถึงสมาธิ
แม้จะไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ทุกวัน
แต่พอคนอื่นมาว่าอะไรมันก็ไหวไปตามเขา คือ มัน "ทำไม่ถึง"
บอกแก่แล้ว รีบๆ ทำ ไปๆ มาๆ ก็ไม่ทำ
แต่ถ้าถึงสมาธิแล้ว วิริยินทรีย์เกิด ความขี้เกียจก็ไม่มีความหมายไป
---
ขยายความต่อ
ฉันทะของเราจะต้องไม่ย่อหย่อนเกินไป
ต้องไม่ใส่ความขี้เกียจเข้ามานะ (ฉันทะที่ประกอบด้วยความขี้เกียจ)
ถ้าความขี้เกียจเข้ามา ก็หาทางให้มันออกไปหน่อย
ไม่ต้องประคองจนเกินไป
ฉันทะบางทีก็ทำให้ฟุ้งได้ (ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ)
เดี๋ยวไปเรื่องนู้น เดี๋ยวไปเรื่องนี้ ไม่เป็นเรื่องสักที
ฉะนั้นจะทำอะไร แม้ไม่ถึงกับต้องห้ามจิตห้ามใจ แต่ก็เลือกเรื่องให้ดีๆ
ไม่หดหู่ในภายใน
(ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ)
พวกโงกง่วง เศร้าซึม ไม่เอาอะไรแล้ว ไม่อยากบรรลุด้วย เอาออกให้หมด
ไม่ใช่ทำไปด้วยหดหู่ไปด้วย เรามันบารมีน้อย
คิดงี้ก็ใช้ไม่ได้
จริงอยู่ สิ่งผิดนี่ก็ไม่มีตัวตนต้องไม่เที่ยง แต่ต้องเอาออก
สิ่งถูก ก็ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง แต่ต้องเอาเข้า
ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก
(ฉันทะที่ฟุ้งไปในกามคุณ)
ภายนอกคืออารมณ์กามคุณ ลักษณะของสมาธิต้องสงัดจากกามคุณ
การดู การฟัง การดมกลิ่ม ลิ้มรส สัมผัส อย่าให้จิตมันออกไปทำนองนั้น
ก็ต้องรู้จักดูแลอย่าให้มันฟุ้งไปทำนองนั้น
มีความสำคัญในเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ว่า
เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
คือรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรเพื่ออะไร
ทำอะไรมาแล้ว และจะทำอะไรต่อ ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ทำมาแล้ว แล้วต่อไปจะเป็นยังไง
รู้เป้าหมาย รู้อะไรที่ตนทำอยู่ ทำด้วยความรู้
เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
รู้จักตัวเอง มีสติอยู่กับตัว
แต่พื้นเท้าขึ้นมา แต่ปลายผมลงไป
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
กลางวันเป็นไง สว่างโล่ง ทำความเพียรยังไง กลางคืนก็ทำอย่างงั้น
เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่
สมาธิเป็นการอบรมจิตให้สว่าง หมดจากนิวรณ์
ซึ่งสติปัฏฐานก็นำกิเลสออกไปได้ประมาณนึง เพราะขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
แต่กิเลสก็ยังเข้าได้อยู่ ก็ต้องสัมมัปปธานป้องกันด้วย
วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สมาธิต้องทำให้เกิดมี
สมาธิต้องทำให้มีขึ้น
ถ้าไม่มีมันไม่มีฐานของความสำเร็จ
ถ้าว่า "แค่มีสติก็พอแล้ว"
ก็ได้ แต่ว่ากิเลสมันไม่หมด
เพราะกำลังไม่พอจะตัดกิเลส
ต้องเกลากิเลสให้ลดลงก่อนด้วยความเพียร
อันไหนพอขูดได้ก็ป้องกัน
กุศลอันไหนพอทำได้เพื่อลดกำลังกิเลสก็ทำ
สมาธิเหมือนหินลับมีด
แต่ไม่ใช่สมาธิดีแล้วไม่เอาไปฟัน (เจริญวิปัสสนา)
ปล่อยไว้เฉยๆ เดี๋ยวมีดจะทื่อใหม่
ทำสมาธิให้มี
มีวิธีให้เลือกตั้ง 4 อัน เลือกดู
แต่พื้นต้องดี ต้องมีความรู้ตัวอยู่เสมอ
รู้จักงดเว้นของชั่ว กล้าที่จะละของไม่ดี ไม่ใช่หวงเอาไว้
รู้จักเติมของดี
เรานี่ก็ใช่ว่าไม่รู้นะว่าอะไรดีไม่ดี
แต่นิสัยไม่ดีถ้าไม่กล้าทิ้ง
จะขึ้นสู่สมาธิไม่ได้
จึงต้องกล้าหาญนะ
ถ้าไม่มีมันไม่มีฐานของความสำเร็จ
ถ้าว่า "แค่มีสติก็พอแล้ว"
ก็ได้ แต่ว่ากิเลสมันไม่หมด
เพราะกำลังไม่พอจะตัดกิเลส
ต้องเกลากิเลสให้ลดลงก่อนด้วยความเพียร
อันไหนพอขูดได้ก็ป้องกัน
กุศลอันไหนพอทำได้เพื่อลดกำลังกิเลสก็ทำ
สมาธิเหมือนหินลับมีด
แต่ไม่ใช่สมาธิดีแล้วไม่เอาไปฟัน (เจริญวิปัสสนา)
ปล่อยไว้เฉยๆ เดี๋ยวมีดจะทื่อใหม่
ทำสมาธิให้มี
มีวิธีให้เลือกตั้ง 4 อัน เลือกดู
แต่พื้นต้องดี ต้องมีความรู้ตัวอยู่เสมอ
รู้จักงดเว้นของชั่ว กล้าที่จะละของไม่ดี ไม่ใช่หวงเอาไว้
รู้จักเติมของดี
เรานี่ก็ใช่ว่าไม่รู้นะว่าอะไรดีไม่ดี
แต่นิสัยไม่ดีถ้าไม่กล้าทิ้ง
จะขึ้นสู่สมาธิไม่ได้
จึงต้องกล้าหาญนะ
สมาธิเป็นผล
สมาธินี่เหมือนรางวัล
ไม่ได้เป็นตัวเหตุ
แต่เป็นตัวผล
ต้องทำให้ถูกต้อง
คือทำอย่าง "มีสติ" และ "ต่อเนื่อง"
พอทำถูก "ถ้าถูกเหตุถูกปัจจัย"
ผลจึงเกิด
มันต้องเริ่มจากสติ
รู้ด้วยว่าถ้ากิเลสมาเยอะจะทำไงให้มันลดได้บ้าง
ป้องกันไงได้บ้าง
กุศลยังน้อยจะทำไงได้บ้าง
พอทำอย่างนี้ได้ก็มีโอกาสที่สมาธิจะเกิดได้
ถ้าอาศํยฉันทะแล้วได้จิตอารมณ์เป็นหนึ่ง ก็เรียกฉันทสมาธิ
ชำนาญก็คือเคยชิน
ถ้าไม่ชำนาญ มีสติทีไรก็ไม่เคยถึงสมาธิ
ถ้าชำนาญ มีสติขึ้นมาทีไรก็ถึงสมาธิ เพราะมันชำนาญ
พอถึงสมาธิแล้วก็เอามาใช้งานพิจารณา
ต่อมาพอชำนาญก็
มีสติปั๊บ เจริญปัญญาเลย
มีสติปั๊บ เจริญปัญญาเลย
มีสภาวะอะไรเข้ามาปั๊บ พอมีสติตั้งขึ้น สมาธิก็ตั้งขึ้น เดินปัญญาเลย
อันนี้คือความชำนาญ
แต่ถ้าไม่ชำนาญ
ก็ต้องทำสติให้ต่อเนื่อง ทำสมาธิให้เกิด แล้วก็พิจารณาขันธ์ทั้ง 5
ไม่ได้เป็นตัวเหตุ
แต่เป็นตัวผล
ต้องทำให้ถูกต้อง
คือทำอย่าง "มีสติ" และ "ต่อเนื่อง"
พอทำถูก "ถ้าถูกเหตุถูกปัจจัย"
ผลจึงเกิด
มันต้องเริ่มจากสติ
รู้ด้วยว่าถ้ากิเลสมาเยอะจะทำไงให้มันลดได้บ้าง
ป้องกันไงได้บ้าง
กุศลยังน้อยจะทำไงได้บ้าง
พอทำอย่างนี้ได้ก็มีโอกาสที่สมาธิจะเกิดได้
ถ้าอาศํยฉันทะแล้วได้จิตอารมณ์เป็นหนึ่ง ก็เรียกฉันทสมาธิ
ชำนาญก็คือเคยชิน
ถ้าไม่ชำนาญ มีสติทีไรก็ไม่เคยถึงสมาธิ
ถ้าชำนาญ มีสติขึ้นมาทีไรก็ถึงสมาธิ เพราะมันชำนาญ
พอถึงสมาธิแล้วก็เอามาใช้งานพิจารณา
ต่อมาพอชำนาญก็
มีสติปั๊บ เจริญปัญญาเลย
มีสติปั๊บ เจริญปัญญาเลย
มีสภาวะอะไรเข้ามาปั๊บ พอมีสติตั้งขึ้น สมาธิก็ตั้งขึ้น เดินปัญญาเลย
อันนี้คือความชำนาญ
แต่ถ้าไม่ชำนาญ
ก็ต้องทำสติให้ต่อเนื่อง ทำสมาธิให้เกิด แล้วก็พิจารณาขันธ์ทั้ง 5
วิมังสาสมาธิ
อาศัยการใส่ใจให้ถูกแล้วเกิดสมาธิ
การใส่ใจเพื่อให้เข้าใจเหตุผลอย่างถูกต้อง
หัดมองความเป็นเหตุ ปัจจัย เข้าใจเรื่องอย่างถูกต้อง
ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำความเพียร
มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นก็รู้จักมองในแง่ที่จะเห็ฯความจริง ทะลุความจริง
มองงี้แล้วสมาธิเกิด ปลอดโปร่ง สบาย สมาธิเกิด นิวรณ์หมด
เกิดแล้วรักษาด้วยปธานสังขาร
พิจารณาเป็นบางทีสมาธิมันก็เกิด
อย่าไปคิดไรมาก ปล่อยวาง เย็นใจวาบขึ้นมา
อาการสมาธิก็ขึ้นมานิดหน่อย
แต่ฐานไม่ดี เลยไม่ต้องเนื่อง เลยไม่เป็นอิทธิบาทขึ้นมา
ได้แต่อาการสมาธิเล็กๆ น้อยๆ
ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
อาการฝ่ายสมาธิพวกนี้ เกิดได้เนืองๆ ในชีวิต
แต่ไม่รู้เทคนิคการเอามาใช้ต่อ หรือการรักษาไว้
การใส่ใจเพื่อให้เข้าใจเหตุผลอย่างถูกต้อง
หัดมองความเป็นเหตุ ปัจจัย เข้าใจเรื่องอย่างถูกต้อง
ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำความเพียร
มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นก็รู้จักมองในแง่ที่จะเห็ฯความจริง ทะลุความจริง
มองงี้แล้วสมาธิเกิด ปลอดโปร่ง สบาย สมาธิเกิด นิวรณ์หมด
เกิดแล้วรักษาด้วยปธานสังขาร
พิจารณาเป็นบางทีสมาธิมันก็เกิด
อย่าไปคิดไรมาก ปล่อยวาง เย็นใจวาบขึ้นมา
อาการสมาธิก็ขึ้นมานิดหน่อย
แต่ฐานไม่ดี เลยไม่ต้องเนื่อง เลยไม่เป็นอิทธิบาทขึ้นมา
ได้แต่อาการสมาธิเล็กๆ น้อยๆ
ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
อาการฝ่ายสมาธิพวกนี้ เกิดได้เนืองๆ ในชีวิต
แต่ไม่รู้เทคนิคการเอามาใช้ต่อ หรือการรักษาไว้
จิตตสมาธิ
อาศัยจิตแล้วเกิดสมาธิ
อาศัยความจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เหมือนกับเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
ทำอะไรก็จดจ่อเรื่องนั้นไม่ไปเรื่องอื่น เพ่งลงไปเป็นพิเศษ
ใช้ชีวิตด้วยสติสัมปชัญญะ มีความเพียร
เวลาทำอะไรก็จดจ่อลงไปในเรื่องนั้น ไม่เอาเรื่องอื่นมาเกี่ยวข้อง
ถ้าจดจ่อแล้วเกิดสมาธิ สมาธินั้นเรียก จิตตสมาธิ
(ถ้าจดจ่อแล้วไม่เกิดก็ไม่เรียกนะ)
อาศัยความจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เหมือนกับเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
ทำอะไรก็จดจ่อเรื่องนั้นไม่ไปเรื่องอื่น เพ่งลงไปเป็นพิเศษ
ใช้ชีวิตด้วยสติสัมปชัญญะ มีความเพียร
เวลาทำอะไรก็จดจ่อลงไปในเรื่องนั้น ไม่เอาเรื่องอื่นมาเกี่ยวข้อง
ถ้าจดจ่อแล้วเกิดสมาธิ สมาธินั้นเรียก จิตตสมาธิ
(ถ้าจดจ่อแล้วไม่เกิดก็ไม่เรียกนะ)
วิริยสมาธิ
อาศัยความกล้าหาญ บากบั่น เข้มแข็ง
ไม่เหมือนคนชอบ คนชอบนี่จะทำทุกวันอยู่แล้ว
คนชอบเขาจะทำเสมอๆ เป็นแบบฉันทะ
ส่วนวิริยะนี่คล้ายกับว่า
ใช้ชีวิตอย่างมีสติแล้ว ทำความเพียรตามสมควรแล้ว
พอจะทำสมาธิก็หาเวลาไปทำเลย
อุปมาเหมือนคนไปสมัครงานกับพระราชา
คนนึงทำงานที่ชอบ ทำทุกวันๆ พระราชาก็ให้รางวัล
อีกคนไม่ได้ทำทุกวัน
มีเรื่องถึงจะไป เช่น มีศึกสงครามค่อยสมัครไปเป็นทหาร
สู้ๆๆ ด้วยเข้มแข็งอดทน พระราชาก็ให้รางวัลมา
คือเวลาตั้งใจก็ตั้งใจเอาเป็นเอาตาย
สมาธิที่เกิดด้วยเหตุแบบนี้เรียก วิริยสมาธิ
แล้วก็รักษาสมาธิที่ได้มาด้วยวิธีนี้ไว้ด้วยปธานสังขาร
เช่นนี้เรียกว่า เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ปธานสังขาร
พวกไม่ค่อยมีเวลา
ถ้าหาเวลาได้
ลองวิธีนี้บ้างก็ได้ บู๊เลย เอาเลย
ไม่เหมือนคนชอบ คนชอบนี่จะทำทุกวันอยู่แล้ว
คนชอบเขาจะทำเสมอๆ เป็นแบบฉันทะ
ส่วนวิริยะนี่คล้ายกับว่า
ใช้ชีวิตอย่างมีสติแล้ว ทำความเพียรตามสมควรแล้ว
พอจะทำสมาธิก็หาเวลาไปทำเลย
อุปมาเหมือนคนไปสมัครงานกับพระราชา
คนนึงทำงานที่ชอบ ทำทุกวันๆ พระราชาก็ให้รางวัล
อีกคนไม่ได้ทำทุกวัน
มีเรื่องถึงจะไป เช่น มีศึกสงครามค่อยสมัครไปเป็นทหาร
สู้ๆๆ ด้วยเข้มแข็งอดทน พระราชาก็ให้รางวัลมา
คือเวลาตั้งใจก็ตั้งใจเอาเป็นเอาตาย
สมาธิที่เกิดด้วยเหตุแบบนี้เรียก วิริยสมาธิ
แล้วก็รักษาสมาธิที่ได้มาด้วยวิธีนี้ไว้ด้วยปธานสังขาร
เช่นนี้เรียกว่า เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ปธานสังขาร
พวกไม่ค่อยมีเวลา
ถ้าหาเวลาได้
ลองวิธีนี้บ้างก็ได้ บู๊เลย เอาเลย
ฉันทสมาธิ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า ฉันทะสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ด้วย
ฉันทสมาธินี้ด้วย
และปธานสังขารนี้ด้วย
เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร
เรียกว่าอาศัยความชอบแล้วทำนั่นเอง
พวกชอบก็จะทำบ่อยๆ
ทั้งนี้การทำสิ่งที่ชอบนั้นต้องผ่านการฝึกสองขั้นแรกมาก่อน คือสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน
คือ เราเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำความเพียรเสมอ เพียรละอกุศลเสมอ
ทีนี้เมื่อได้ไปทำสิ่งที่ชอบ แล้วทำแล้วจิตตั้งมั่น
สมาธิอันนี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
ทีนี้พอได้ฉันทสมาธิแล้ว
ก็ต้องรักษาสมาธิอันนั้นไว้ด้วยความเพียร
ตัวความเพียรนั้นเรียกว่า ปธานสังขาร
หลายครั้งเราก็ได้สมาธิกับเขาเหมือนกัน เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ
แต่รักษาไม่ได้ ก็จะไม่เป็นอิทธิบาท
เช่น บางคนชอบฟังธรรม
ฟังไปเจอจุดที่ตัวเข้าใจก็รู้สึกว่า เออ ใจเบิกบาน ตั้งมั่น
แต่รักษาไม่ได้ เพราะไม่มีปธานสังขาร
แป๊บเดียวอารมณ์กระทบ ไปแล้ว...
ไปสวดมนต์ เบิกบาน เป็นหนึ่ง
แต่ไม่รู้วิธีรักษา ไม่รู้ว่ามันมาจากอะไร
ไม่รู้ว่าถ้าจะให้สมาธิมันเกิดบ่อยๆ ต้องเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความเพียร
ป้องกันกิเลส รักษากุศลเสมอๆ
ทีนี้สมาธิมันมาจาก 4 ลักษณะ
นี้เรียกว่า ฉันทะสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ด้วย
ฉันทสมาธินี้ด้วย
และปธานสังขารนี้ด้วย
เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร
เรียกว่าอาศัยความชอบแล้วทำนั่นเอง
พวกชอบก็จะทำบ่อยๆ
ทั้งนี้การทำสิ่งที่ชอบนั้นต้องผ่านการฝึกสองขั้นแรกมาก่อน คือสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน
คือ เราเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำความเพียรเสมอ เพียรละอกุศลเสมอ
ทีนี้เมื่อได้ไปทำสิ่งที่ชอบ แล้วทำแล้วจิตตั้งมั่น
สมาธิอันนี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
ทีนี้พอได้ฉันทสมาธิแล้ว
ก็ต้องรักษาสมาธิอันนั้นไว้ด้วยความเพียร
ตัวความเพียรนั้นเรียกว่า ปธานสังขาร
หลายครั้งเราก็ได้สมาธิกับเขาเหมือนกัน เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ
แต่รักษาไม่ได้ ก็จะไม่เป็นอิทธิบาท
เช่น บางคนชอบฟังธรรม
ฟังไปเจอจุดที่ตัวเข้าใจก็รู้สึกว่า เออ ใจเบิกบาน ตั้งมั่น
แต่รักษาไม่ได้ เพราะไม่มีปธานสังขาร
แป๊บเดียวอารมณ์กระทบ ไปแล้ว...
ไปสวดมนต์ เบิกบาน เป็นหนึ่ง
แต่ไม่รู้วิธีรักษา ไม่รู้ว่ามันมาจากอะไร
ไม่รู้ว่าถ้าจะให้สมาธิมันเกิดบ่อยๆ ต้องเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความเพียร
ป้องกันกิเลส รักษากุศลเสมอๆ
ทีนี้สมาธิมันมาจาก 4 ลักษณะ
อิทธิบาทซ่อมร่าง
อิทธิบาทนี่เป็นธรรมฝ่ายสมาธิ
ต่างจากธรรมหมวดอื่นๆ ตรงที่
นอกจากจะเกี่ยวกับการบรรลุธรรมแล้ว
ยังเกี่ยวกับการได้ฤทธิ์ ได้อภิญญาต่างๆ ด้วย
อิทธิบาทนี่ถ้าพูดในแง่การบรรลุธรรม
จะใช้คำแค่ว่า "เจริญ และกระทำให้มาก"
แต่ถ้าจะเอามาซ่อมร่างกาย
จะมีคำเพิ่ม "เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่ว"
คือ ต้องมีวสี ต้องชำนาญ
สรุปต้องเก่ง
ถ้าแค่กิ๊กๆ ก๊อกๆ ยังซ่อมร่างกายไม่ได้
ถ้าต้องการจะอายุยืนยาวด้วยสมาธิ ต้องคล่องแคล่ว
ใช้ไปซ่อมไป เหมือนพระพุทธเจ้าตอนจะปรินิพพาน
เดินทางไป เข้าสมาธิซ่อมไป
เหมือนพระโมคฯ โดนทุบหักไปหมดยังไม่ตาย
คอหักนี่หายใจออกทางสะดือ หรือทางผิวหนังก็ยังได้ ไม่ตาย
ที่ตายเพราะไปยึดว่าเป็นรูป หักก็ตายเลย
ท่านก็ซ่อม ประสานกระดูก ไปลาพระพุทธเจ้าก่อน
นี่เป็นอานิสงส์ของความชำนาญสมาธิ
ต่างจากธรรมหมวดอื่นๆ ตรงที่
นอกจากจะเกี่ยวกับการบรรลุธรรมแล้ว
ยังเกี่ยวกับการได้ฤทธิ์ ได้อภิญญาต่างๆ ด้วย
อิทธิบาทนี่ถ้าพูดในแง่การบรรลุธรรม
จะใช้คำแค่ว่า "เจริญ และกระทำให้มาก"
แต่ถ้าจะเอามาซ่อมร่างกาย
จะมีคำเพิ่ม "เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่ว"
คือ ต้องมีวสี ต้องชำนาญ
สรุปต้องเก่ง
ถ้าแค่กิ๊กๆ ก๊อกๆ ยังซ่อมร่างกายไม่ได้
ถ้าต้องการจะอายุยืนยาวด้วยสมาธิ ต้องคล่องแคล่ว
ใช้ไปซ่อมไป เหมือนพระพุทธเจ้าตอนจะปรินิพพาน
เดินทางไป เข้าสมาธิซ่อมไป
เหมือนพระโมคฯ โดนทุบหักไปหมดยังไม่ตาย
คอหักนี่หายใจออกทางสะดือ หรือทางผิวหนังก็ยังได้ ไม่ตาย
ที่ตายเพราะไปยึดว่าเป็นรูป หักก็ตายเลย
ท่านก็ซ่อม ประสานกระดูก ไปลาพระพุทธเจ้าก่อน
นี่เป็นอานิสงส์ของความชำนาญสมาธิ
วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561
อิทธิบาท
บาทแห่งความสำเร็จ
ความสำเร็จในที่นี้พูด 2 อย่างคือ ทางฌาน/อภิญญา และวิปัสสนาญาณ/มรรคผล
อิทธิบาทเป็นชื่อของสมาธิ 4 ลักษณะ
คือวิธีการทำสมาธินั่นแหละ
เหตุที่ทำให้เกิดสมาธิ 4 อย่าง
อินทรีย์นี่ถ้าไม่ผ่านสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทมันไม่เกิด
การปฏิบัติธรรมถ้าไม่ถึงขั้นสมาธินี่นิสัยมันไม่เปลี่ยน
ไม่ต้องถึงขั้นฌานก็ได้
แต่ให้ต่อเนื่อง ให้ถึงอิทธิบาท
อิทธิบาทนี่เป็นความสำเร็จฝ่ายสมาธิ
เหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
พื้นฐานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
อยากมีปัญญาถึงความหลุดพ้นก็ต้องผ่านสมาธิ
สมาธิตามหลักโพธิปักฯ ท่านเรียก อิทธิบาท
พอมีสมาธิจิตก็จะอ่อนโยนควรแก่การงาน
พอควรแก่การงานแล้ว ธรรมฝ่ายดีก็มาประชุม มาเป็นใหญ่แทน
ทั้งอินทรีย์ ทั้งพละ
เมื่อมีคุณธรรมเหล่านี้เป็นพื้นฐาน
ต่อไปก็สามารถเจริญวิปัสสนาตามโพชฌงค์ให้อริยมรรครวมลงได้ตามลำดับ
ฝึกสติไม่พอ
ต้องเพียรตามสัมมัปปธาน
พวกเราฝึกสติแล้วลองเช็คดูก็ได้
ว่ากิเลสยังเยอะรึป่าว
ถ้ายังเยอะ แสดงว่าบุญมาน้อย (ของเก่าทำมาน้อย)
ของเก่าน้อยก็ต้องทำความเพียร กันกิเลส เจริญกุศลใส่เข้ามา
เมื่อใช้ชีวิตอย่างผู้ไม่หลงลืมแล้ว
ก็ควรต้องมีเวลามาทำสมาธิเหมือนกัน
ไม่ใช่ว่าใช้ชีวิตมีสติทั่วไปแล้วสมาธิมันจะเกิด
แต่บางสมาธิมันก็เกิดจากเรื่องธรรมดาพื้นๆ ที่ทำประจำ
พวกนี้เรียก ฉันทะสมาธิ
คือทำเป็นประจำ และทำด้วยความมีสติรู้ตัว กันกิเลสได้ กุศลเจริญได้ในเรื่องนั้นๆ
พอทำบ่อยๆ สมาธิก็เกิดได้จากเรื่องนั้นๆ
นิวรณ์ถ้าหมดของเก่าถ้ามีก็จะขึ้นมา
แต่ถ้านิวรณ์ยังมีของเก่าก็ขึ้นไม่ได้
แต่บางพวกพอฝึกให้จิตมีสมาธิแล้ว...เงียบ
อันนี้คือพวกไม่ได้ฝึกมา พวกนี้ก็จะต้องมาฝึกวิปัสสนาต่อไป
ความสำเร็จในที่นี้พูด 2 อย่างคือ ทางฌาน/อภิญญา และวิปัสสนาญาณ/มรรคผล
อิทธิบาทเป็นชื่อของสมาธิ 4 ลักษณะ
คือวิธีการทำสมาธินั่นแหละ
เหตุที่ทำให้เกิดสมาธิ 4 อย่าง
อินทรีย์นี่ถ้าไม่ผ่านสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทมันไม่เกิด
การปฏิบัติธรรมถ้าไม่ถึงขั้นสมาธินี่นิสัยมันไม่เปลี่ยน
ไม่ต้องถึงขั้นฌานก็ได้
แต่ให้ต่อเนื่อง ให้ถึงอิทธิบาท
อิทธิบาทนี่เป็นความสำเร็จฝ่ายสมาธิ
เหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
พื้นฐานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
อยากมีปัญญาถึงความหลุดพ้นก็ต้องผ่านสมาธิ
สมาธิตามหลักโพธิปักฯ ท่านเรียก อิทธิบาท
พอมีสมาธิจิตก็จะอ่อนโยนควรแก่การงาน
พอควรแก่การงานแล้ว ธรรมฝ่ายดีก็มาประชุม มาเป็นใหญ่แทน
ทั้งอินทรีย์ ทั้งพละ
เมื่อมีคุณธรรมเหล่านี้เป็นพื้นฐาน
ต่อไปก็สามารถเจริญวิปัสสนาตามโพชฌงค์ให้อริยมรรครวมลงได้ตามลำดับ
ฝึกสติไม่พอ
ต้องเพียรตามสัมมัปปธาน
พวกเราฝึกสติแล้วลองเช็คดูก็ได้
ว่ากิเลสยังเยอะรึป่าว
ถ้ายังเยอะ แสดงว่าบุญมาน้อย (ของเก่าทำมาน้อย)
ของเก่าน้อยก็ต้องทำความเพียร กันกิเลส เจริญกุศลใส่เข้ามา
เมื่อใช้ชีวิตอย่างผู้ไม่หลงลืมแล้ว
ก็ควรต้องมีเวลามาทำสมาธิเหมือนกัน
ไม่ใช่ว่าใช้ชีวิตมีสติทั่วไปแล้วสมาธิมันจะเกิด
แต่บางสมาธิมันก็เกิดจากเรื่องธรรมดาพื้นๆ ที่ทำประจำ
พวกนี้เรียก ฉันทะสมาธิ
คือทำเป็นประจำ และทำด้วยความมีสติรู้ตัว กันกิเลสได้ กุศลเจริญได้ในเรื่องนั้นๆ
พอทำบ่อยๆ สมาธิก็เกิดได้จากเรื่องนั้นๆ
นิวรณ์ถ้าหมดของเก่าถ้ามีก็จะขึ้นมา
แต่ถ้านิวรณ์ยังมีของเก่าก็ขึ้นไม่ได้
แต่บางพวกพอฝึกให้จิตมีสมาธิแล้ว...เงียบ
อันนี้คือพวกไม่ได้ฝึกมา พวกนี้ก็จะต้องมาฝึกวิปัสสนาต่อไป
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ดูอะไรดี
สติปัฏฐานมีให้ดูตั้งหลายอัน
ดูอะไรดี
บอกกันไม่ได้
ต้องลองไปฝึกดูเอง
แล้วสังเกตว่าจิตใจมันดีงามขึ้นมั้ย
ได้ผลจากการฝึกมั้ย
สติปัฏฐาน
เขาฝึกเพื่อละอภิชฌาและโทมนัส
ละอุปกิเลส ละนิวรณ์
สังเกตนิมิต สังเกตเครื่องหมาย
ถ้าฝึกถึงจุด มันจะไม่หดหู่ ไม่ง่วงนอน
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
ถ้าไปถูก
มันนึกถึงคนเกลียดก็ไม่โกรธ
ตื่นตอนเช้าก็ไม่งัวเงีย
เจอของน่ารักก็ไม่รัก ไม่ยินดี
อันนี้คือนิวรณ์มันหมด
ถ้าทำแล้วมันได้ผลอย่างนี้ก็ใช้ได้ทั้งนั้นแหละ
จะดูลม ดูกาย ดูอิริยาบถ ดูจิต ฯลฯ
ถ้าทำแล้วมันไม่ได้ผลอย่างนี้
ก็คือมันไม่เหมาะ
จะไปทำตามเขาก็ไม่ได้ผล
มันแล้วแต่คน
ไม่ต้องฝึกทั้งหมด เอาไม่กี่อันก็ได้
หรืออันเดียวเลยก็ได้
พอไม่มีนิวรณ์แล้วจะฝึกสมถะก็ฝึก
จะฝึกวิปัสสนาก็ฝึก
ดูอะไรดี
บอกกันไม่ได้
ต้องลองไปฝึกดูเอง
แล้วสังเกตว่าจิตใจมันดีงามขึ้นมั้ย
ได้ผลจากการฝึกมั้ย
สติปัฏฐาน
เขาฝึกเพื่อละอภิชฌาและโทมนัส
ละอุปกิเลส ละนิวรณ์
สังเกตนิมิต สังเกตเครื่องหมาย
ถ้าฝึกถึงจุด มันจะไม่หดหู่ ไม่ง่วงนอน
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
ถ้าไปถูก
มันนึกถึงคนเกลียดก็ไม่โกรธ
ตื่นตอนเช้าก็ไม่งัวเงีย
เจอของน่ารักก็ไม่รัก ไม่ยินดี
อันนี้คือนิวรณ์มันหมด
ถ้าทำแล้วมันได้ผลอย่างนี้ก็ใช้ได้ทั้งนั้นแหละ
จะดูลม ดูกาย ดูอิริยาบถ ดูจิต ฯลฯ
ถ้าทำแล้วมันไม่ได้ผลอย่างนี้
ก็คือมันไม่เหมาะ
จะไปทำตามเขาก็ไม่ได้ผล
มันแล้วแต่คน
ไม่ต้องฝึกทั้งหมด เอาไม่กี่อันก็ได้
หรืออันเดียวเลยก็ได้
พอไม่มีนิวรณ์แล้วจะฝึกสมถะก็ฝึก
จะฝึกวิปัสสนาก็ฝึก
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วิญญาณทางตา
วิญญาณ
ความรู้แจ้งอารมณ์
วิญญาณทางตา ความรู้สึกทางตา
เมื่อกี้หลับตาอยู่
พอลืมตาก็รู้สึกว่ามีอะไรแปลกจากเมื่อกี้
นั่งมองทางนี้ รู้สึกอย่างนี้
หันหน้าไปอีกทาง รู้สึกอีกอย่าง
เป็นกระบวนการธรรมชาติ
ยังมีลูกตา ยังมีจักขุประสาท มันก็เห็นอยู่เรื่อย
เป็นเรื่องธรรมดาจึงต้องบริหารไป
ก็พามันไปเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ไม่ทุกข์ทรมาน
ถ้ารู้ว่าเป็นแค่สิ่งมากระทบให้รับรู้
ก็ไม่เดือดร้อน มันก็ผ่านไป
ถ้ารับรู้แล้วมันเดือดร้อนมาก ก็ไปรับรู้ให้มันน้อยลงหน่อย
บริหารไป
ถ้าปีกกล้าขาแข็ง
รับรู้แล้วไม่ทุกข์ไปกับสิ่งที่รับรู้
อยากจะช่วยเขา ก็บริหารไป
ถ้าอยากเอาอยู่ ก็บริหารไป
ท้ายที่สุดก็รู้ว่า ที่ดีที่สุดคือปล่อยวางมันดีสุดเลย
จะบริหารมันก็เหนื่อยอยู่
มีอะไรก็เหนือยเพราะอันนั้นแหละ
ความรู้แจ้งอารมณ์
วิญญาณทางตา ความรู้สึกทางตา
เมื่อกี้หลับตาอยู่
พอลืมตาก็รู้สึกว่ามีอะไรแปลกจากเมื่อกี้
นั่งมองทางนี้ รู้สึกอย่างนี้
หันหน้าไปอีกทาง รู้สึกอีกอย่าง
เป็นกระบวนการธรรมชาติ
ยังมีลูกตา ยังมีจักขุประสาท มันก็เห็นอยู่เรื่อย
เป็นเรื่องธรรมดาจึงต้องบริหารไป
ก็พามันไปเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ไม่ทุกข์ทรมาน
ถ้ารู้ว่าเป็นแค่สิ่งมากระทบให้รับรู้
ก็ไม่เดือดร้อน มันก็ผ่านไป
ถ้ารับรู้แล้วมันเดือดร้อนมาก ก็ไปรับรู้ให้มันน้อยลงหน่อย
บริหารไป
ถ้าปีกกล้าขาแข็ง
รับรู้แล้วไม่ทุกข์ไปกับสิ่งที่รับรู้
อยากจะช่วยเขา ก็บริหารไป
ถ้าอยากเอาอยู่ ก็บริหารไป
ท้ายที่สุดก็รู้ว่า ที่ดีที่สุดคือปล่อยวางมันดีสุดเลย
จะบริหารมันก็เหนื่อยอยู่
มีอะไรก็เหนือยเพราะอันนั้นแหละ
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้คนเป็นคนดี
คำสอนพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้คนเป็นคนดีแค่นั้น
แต่สอนให้คนเป็นพระอริยะ
พระอริยะ หมายถึง ห่างไกลจากกิเลส
คนห่างไกลจากกิเลส กับคนดีไม่เหมือนกัน
คนดีจะมีกิเลสก็ได้
ก็มีกิเลสแบบคนดี
ก็ต้องทุกข์แบบคนดี
อยากช่วยเหลือคนอื่น ก็ต้องทุกข์เพราะอยากช่วยเหลือคนอื่น ก็ต้องไปหาทาง ฯลฯ
อยากเป็นเทวดา ก็ต้องทุกข์เพราะอยากเป็นเทวดา ก็ต้องไปทำบุญ ฯลฯ
อยากจิตสงบ ก็ต้องทุกข์เพราะอยากจะสงบ ก็ต้องไปหาวิธี ฯลฯ
ทุกข์มากทุกข์น้อยว่ากันไป
ส่วนทางพุทธสอนให้คนรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง
แล้วเลิกยึดถือมันเสีย
ทั้งดี - ไม่ดีนั่นแหละ
พูดแปลกๆ ก็คือ ที่อื่นสอนให้คนเป็นคนดี
พระพุทธศาสนาสอนให้เลิกเป็นคน
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
พระพุทธศาสนาสอนให้เลิกเป็นสัตว์โลกเสีย
มันวนเวียน วุ่นวาย ปัญหาแยะ
แต่สอนให้คนเป็นพระอริยะ
พระอริยะ หมายถึง ห่างไกลจากกิเลส
คนห่างไกลจากกิเลส กับคนดีไม่เหมือนกัน
คนดีจะมีกิเลสก็ได้
ก็มีกิเลสแบบคนดี
ก็ต้องทุกข์แบบคนดี
อยากช่วยเหลือคนอื่น ก็ต้องทุกข์เพราะอยากช่วยเหลือคนอื่น ก็ต้องไปหาทาง ฯลฯ
อยากเป็นเทวดา ก็ต้องทุกข์เพราะอยากเป็นเทวดา ก็ต้องไปทำบุญ ฯลฯ
อยากจิตสงบ ก็ต้องทุกข์เพราะอยากจะสงบ ก็ต้องไปหาวิธี ฯลฯ
ทุกข์มากทุกข์น้อยว่ากันไป
ส่วนทางพุทธสอนให้คนรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง
แล้วเลิกยึดถือมันเสีย
ทั้งดี - ไม่ดีนั่นแหละ
พูดแปลกๆ ก็คือ ที่อื่นสอนให้คนเป็นคนดี
พระพุทธศาสนาสอนให้เลิกเป็นคน
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
พระพุทธศาสนาสอนให้เลิกเป็นสัตว์โลกเสีย
มันวนเวียน วุ่นวาย ปัญหาแยะ
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561
รอบรู้ทุกข์
เวลารู้กายกับใจไปตามความเป็นจริง
เราก็จะไม่ทุกข์ไปกับมัน
จะเจ็บปวดบ้าง จะเป็นไข้บ้าง
ก็ช่างมัน มันจะป่วยมันก็ไม่บอกเรา
มันจะหายมันก็ไม่บอกเรานะ
บังคับบัญชาไม่ได้
เราก็จะไม่ทุกข์ไปกับมัน
จะเจ็บปวดบ้าง จะเป็นไข้บ้าง
ก็ช่างมัน มันจะป่วยมันก็ไม่บอกเรา
มันจะหายมันก็ไม่บอกเรานะ
บังคับบัญชาไม่ได้
จริงหรือปลอม
ก็ดูให้เห็นว่ามันไม่เที่ยงนั่นแหละ
เห็นว่ามันไม่ใช่เราทั้งหมดนั่นแหละ
ไม่ต้องไปดูว่าจริงหรือปลอมก็ได้
ถ้าเรียนว่ามีนามกับรูป แล้วเข้าใจว่าก็เท่านั้น
ไม่มีตัวเรา
ก็เรียนแค่นี้ก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจสักทีก็เรียนไปเรื่อยๆ
เห็นว่ามันไม่ใช่เราทั้งหมดนั่นแหละ
ไม่ต้องไปดูว่าจริงหรือปลอมก็ได้
ถ้าเรียนว่ามีนามกับรูป แล้วเข้าใจว่าก็เท่านั้น
ไม่มีตัวเรา
ก็เรียนแค่นี้ก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจสักทีก็เรียนไปเรื่อยๆ
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เจริญโพชฌงค์
โพชฌงค์ ถ้าจะทำก็ทำ 3 อย่าง
ตามองค์มรรคประจำ
สติ
ธัมมวิจัย
วิริยสัมโพชฌงค์
ที่เหลืออีก 4 เกิดเอง
ไปสร้างขึ้นก็ผิด
ตามองค์มรรคประจำ
สติ
ธัมมวิจัย
วิริยสัมโพชฌงค์
ที่เหลืออีก 4 เกิดเอง
ไปสร้างขึ้นก็ผิด
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปัญญาก็เสมอกับความหลง
ปัญญาก็เสมอเหมือนกันความหลง
กิเลสมา
บางครั้งมีปัญญา เห็นแล้วดับไวเชียว
บางครั้งปัญญาไม่มา เห็นก็ไม่ได้ดับ กิเลสค้างอยู่นานเชียว
หรือปัญญามา
กิเลสมาปัญญาก็ดับได้เฉยเลยเหมือนกัน
ปัญญากับความหลงก็เสมอกัน
เกิดแล้วดับเหมือนกัน
กิเลสมา
บางครั้งมีปัญญา เห็นแล้วดับไวเชียว
บางครั้งปัญญาไม่มา เห็นก็ไม่ได้ดับ กิเลสค้างอยู่นานเชียว
หรือปัญญามา
กิเลสมาปัญญาก็ดับได้เฉยเลยเหมือนกัน
ปัญญากับความหลงก็เสมอกัน
เกิดแล้วดับเหมือนกัน
ปีติ
ปีติ
กำหนดแล้ว โอ้วววว มีความสุข
ปีติสมถะ
มีความสุขก็ดีกว่าไม่มีนะ
ปีติเด็กน้อย
ปีติผู้ใหญ่
เกิดจากการเข้าใจธรรม
เกิดจากความเข้าใจความจริง
เราฝึกเพื่อเข้าใจโลก
เพื่อเข้าใจความจริง
ปีติที่เกิดขึ้นมาเองเพราะว่าเห็นธรรมมันเปลี่ยนแปลงต่อหน้าต่อตา
มันเข้าใจ ปีติก็เกิด
กำหนดแล้ว โอ้วววว มีความสุข
ปีติสมถะ
มีความสุขก็ดีกว่าไม่มีนะ
ปีติเด็กน้อย
ปีติผู้ใหญ่
เกิดจากการเข้าใจธรรม
เกิดจากความเข้าใจความจริง
เราฝึกเพื่อเข้าใจโลก
เพื่อเข้าใจความจริง
ปีติที่เกิดขึ้นมาเองเพราะว่าเห็นธรรมมันเปลี่ยนแปลงต่อหน้าต่อตา
มันเข้าใจ ปีติก็เกิด
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ความรู้เกี่ยวกับอินทรีย์โดยถูกต้อง
สังเกตการแปล ความรู้อริยสัจของอินทรีย์
สทฺธินฺทฺริยํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยสมุทยํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธคามินีปฏิปทํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยํ ปชานนฺติ
ย่อมรู้ชัด สัทธินทรีย์
กล่าวคือ ย่อมรู้ชัดว่าสัทธินทรีย์ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและก็แตกทำลายไป
เช่นเดียวกับธรรมอืีนๆ เช่นเดียวกับรูปนามอื่นๆ
มาเรียนรู้อินทรีย์ ไม่ใช่ว่าเพื่อไปกอดมันเอาไว้ว่าเป็นของดี
มีความไม่เที่ยง บังคับบัญชาเอาตามใจไม่ได้
สทฺธินฺทฺริยสมุทยํ ปชานนฺติ
รู้ชัดเหตุเกิดของสัทธินทรีย์
หน้าที่ของเราคือทำเหตุ
พอทำเหตุแล้ว มันจะมาเมื่อไร ก็บังคับบัญชาไม่ได้นะ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธํ ปชานนฺติ
รู้ความอิสระจากสัทธินทรีย์
ไม่ต้องใช้สัทธินทรีย์อีกต่อไปแล้ว
ผู้ที่อินทรีย์สมบูรณ์ก็คือพระอรหันต์
อินทรีย์ทั้ง 5 นี้อยู่ในฐานะแพข้ามเฉยๆ
เมื่อถึงที่สุดก็ปล่อยวาง
ฉะนั้น มีปัญญา ก็ไม่ใช่เพื่อมีปัญญา
มีปัญญาเพื่อจะละความเห็นผิด
ละความเห็นผิดในปัญญา ละความเห็นผิดในสภาวะธรรมอื่นๆ
มารู้จักอินทรีย์
ไม่ใช่เพื่อเอาอินทรีย์
ไม่ใช่เพื่อมีอินทรีย์เยอะๆ
แต่เพื่อละความเห็นผิดในอินทรีย์
เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์
เพื่อปล่อยวางอินทรีย์
สทฺธินฺทฺริยนิโรธคามินีปฏิปทํ ปชานนฺติ
รู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะทำให้ถึงความเป็นอิสระจากอินทรีย์
เห็นธรรมทั้งหมดรวมลงที่อริยสัจ
ไม่เว้นแม้ของดีๆ เหล่านี้ด้วย
สทฺธินฺทฺริยํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยสมุทยํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธคามินีปฏิปทํ ปชานนฺติ
สทฺธินฺทฺริยํ ปชานนฺติ
ย่อมรู้ชัด สัทธินทรีย์
กล่าวคือ ย่อมรู้ชัดว่าสัทธินทรีย์ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและก็แตกทำลายไป
เช่นเดียวกับธรรมอืีนๆ เช่นเดียวกับรูปนามอื่นๆ
มาเรียนรู้อินทรีย์ ไม่ใช่ว่าเพื่อไปกอดมันเอาไว้ว่าเป็นของดี
มีความไม่เที่ยง บังคับบัญชาเอาตามใจไม่ได้
สทฺธินฺทฺริยสมุทยํ ปชานนฺติ
รู้ชัดเหตุเกิดของสัทธินทรีย์
หน้าที่ของเราคือทำเหตุ
พอทำเหตุแล้ว มันจะมาเมื่อไร ก็บังคับบัญชาไม่ได้นะ
สทฺธินฺทฺริยนิโรธํ ปชานนฺติ
รู้ความอิสระจากสัทธินทรีย์
ไม่ต้องใช้สัทธินทรีย์อีกต่อไปแล้ว
ผู้ที่อินทรีย์สมบูรณ์ก็คือพระอรหันต์
อินทรีย์ทั้ง 5 นี้อยู่ในฐานะแพข้ามเฉยๆ
เมื่อถึงที่สุดก็ปล่อยวาง
ฉะนั้น มีปัญญา ก็ไม่ใช่เพื่อมีปัญญา
มีปัญญาเพื่อจะละความเห็นผิด
ละความเห็นผิดในปัญญา ละความเห็นผิดในสภาวะธรรมอื่นๆ
มารู้จักอินทรีย์
ไม่ใช่เพื่อเอาอินทรีย์
ไม่ใช่เพื่อมีอินทรีย์เยอะๆ
แต่เพื่อละความเห็นผิดในอินทรีย์
เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์
เพื่อปล่อยวางอินทรีย์
สทฺธินฺทฺริยนิโรธคามินีปฏิปทํ ปชานนฺติ
รู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะทำให้ถึงความเป็นอิสระจากอินทรีย์
เห็นธรรมทั้งหมดรวมลงที่อริยสัจ
ไม่เว้นแม้ของดีๆ เหล่านี้ด้วย
ปัญญินทรีย์
ปัญญามีหน้าที่เห็นสภาวะธรรมตามจริง
เห็นรูปเป็นรูป ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นเวทนาเป็นเวทนา ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นสัญญา ความจำได้หมายรู้ เป็นสัญญา ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นความคิด จับเอาสัญญากับเวทนามายำรวมกัน ปรุงขึ้น ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นเป็นแต่รูป เป็นแต่นาม ไม่ใช่ตัวเรา เป็นไปตามไตรลักษณ์
ไม่ใช่แค่เห็นรูป เห็นนาม
แต่เห็นด้วยว่ารูป เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา จึงเป็นปัญญา
อวิชชาจะทำให้ติดสมมติบัญญัติ
ติดชื่อเสียง ลาภยศ
ปัญญาจะทำให้เห็นสภาพแท้จริง
ไม่หลงงมงายไปกับสมมติบัญญัติทางโลก
เห็นรูปเป็นรูป ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นเวทนาเป็นเวทนา ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นสัญญา ความจำได้หมายรู้ เป็นสัญญา ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นความคิด จับเอาสัญญากับเวทนามายำรวมกัน ปรุงขึ้น ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นเป็นแต่รูป เป็นแต่นาม ไม่ใช่ตัวเรา เป็นไปตามไตรลักษณ์
ไม่ใช่แค่เห็นรูป เห็นนาม
แต่เห็นด้วยว่ารูป เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา จึงเป็นปัญญา
อวิชชาจะทำให้ติดสมมติบัญญัติ
ติดชื่อเสียง ลาภยศ
ปัญญาจะทำให้เห็นสภาพแท้จริง
ไม่หลงงมงายไปกับสมมติบัญญัติทางโลก
สมาธินทรีย์
สมาธินทรีย์
คอยทำให้จิตตั้งมั่นในการเรียนรู้ศึกษา
อารมณ์จะดีไม่ดี จะแรง จะเบา ก็ตั้งมั่นในการเรียนรู้
เห็นความเท่ากันของอารมณ์
ไม่ซัดส่าย
ไม่วิ่งตะครุบของดี
ไม่วิ่งหนีของไม่ดี
สมาธินทรีย์ทำหน้าที่
ทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย
เห็นความเป็นของเกิดแล้วดับไปเสมอกัน
สงบก็รู้ว่าไม่เที่ยง
ไม่สงบก็รู้ว่าไม่เที่ยง
ทั้งสองสภาวะ ก็เป็นเพียงสภาวะหนึ่ง
เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดูเหมือนกัน
ถ้ามีสมาธิพละ คือกำจัดความฟุ้งซ่านได้
ความฟุ้งซ่านไม่ใช่แค่คิดเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ความฟุ้งซ่านต่อธรรมะ ก็คือความยินดียินร้าย
ความเที่ยวตะครุบนั่นนี่
เที่ยววิ่งหนีนั่นนี่
คอยทำให้จิตตั้งมั่นในการเรียนรู้ศึกษา
อารมณ์จะดีไม่ดี จะแรง จะเบา ก็ตั้งมั่นในการเรียนรู้
เห็นความเท่ากันของอารมณ์
ไม่ซัดส่าย
ไม่วิ่งตะครุบของดี
ไม่วิ่งหนีของไม่ดี
สมาธินทรีย์ทำหน้าที่
ทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย
เห็นความเป็นของเกิดแล้วดับไปเสมอกัน
สงบก็รู้ว่าไม่เที่ยง
ไม่สงบก็รู้ว่าไม่เที่ยง
ทั้งสองสภาวะ ก็เป็นเพียงสภาวะหนึ่ง
เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดูเหมือนกัน
ถ้ามีสมาธิพละ คือกำจัดความฟุ้งซ่านได้
ความฟุ้งซ่านไม่ใช่แค่คิดเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ความฟุ้งซ่านต่อธรรมะ ก็คือความยินดียินร้าย
ความเที่ยวตะครุบนั่นนี่
เที่ยววิ่งหนีนั่นนี่
จิตที่ขาดความสุขคือขาดสติดูแล - สตินทรีย์
ถ้ามีสติทำหน้าที่อยู่
ก็จะไม่หลงล่องลอยไปตรงนั้นตรงนี้
คอยคุ้มครองรักษาจิตเอาไว้
จิตก็จะมีความสุข
มีที่พึ่งด้วยตัวของจิตเอง
อาการที่จิตมีสติมาดูแลจิตใจบ่อยๆ
จิตใจจะมีความอบอุ่น
ทำให้ไม่เบื่อ
แต่ถ้าไม่ค่อยมีสติ
อยู่คนเดียวมันก็จะออกอาการมาทำนองเบื่อๆ
อาการเบื่อๆ เปิดทีวีหน่อย ทำนั่นหน่อยนี่หน่อย ไปคุยหน่อย
อาการที่จิตไม่มีความสุขในตัวเอง เป็นอาการที่จิตไม่มีสติ
แต่ถ้าสติคุ้มครองอยู่
สติจะทำหน้าที่ให้จิตมีความสุข ไม่หลงไปเรื่องนั้นเรื่องนี้
ไม่เกิดทุกข์มาก
ดังนั้นที่เป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้
ก็ไม่มีอะไรมาก
คือจิตมันหลงไป หลงไปก็ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้
แล้วก็ทุกข์ วนไป ไม่มีอะไร มีแค่นี้แหละ
ถ้าสติไม่ดูแลอยู่
จิตก็จะเป็นทุกข์ได้ง่าย
มีความสามารถในการเป็นทุกข์
สติที่พัฒนาจะทำให้จิตมีความสามารถในการเป็นสุข
สติที่ตามศึกษาอยู่กับกายใจไปเรื่อยๆ นี่จะกำจัดความประมาท
เห็นหน้าแม่ก็รู้ แม่ต้องตายแหงๆ เลย
นึกขึ้นได้ก็ทำหน้าที่ของลูกตามสมควร
พอแม่ไปจริงๆ เราก็ไม่เศร้า เพราะทำหน้าที่ดีแล้ว
เหมือนเห็นแก้ว ก็คิดว่ามันต้องแตกแหงๆ
แต่ถ้าไม่มีสติ มันจะไม่เคยคิดอย่างงี้เลย
มีแต่หลงประมาทมัวเมาอยู่ แก้วไม่แตกก็ดีใจ สบาย
พอวันนึงมันแตกขึ้นมาก็โศกเสียใจ
เหมือนร่างกายนี่แหละ
มันยังขยับเขยื้อนได้ พูดได้ กินได้ ก็สบายใจ
พอนอนรพ.ทีนึงก็นึกขึ้นได้ว่ามันตายได้
อันนี้มันไม่มีสติ
ต้องมาฝึกดูกายดูใจจนกลายเป็นสตินทรีย์
จึงสามารถกำจัดความประมาทเลินเล่อ
ถ้าไม่ประมาท ศึกษากายใจ จนเข้าใจความจริง
เหตุการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทุกข์
ก็จะไม่หลงล่องลอยไปตรงนั้นตรงนี้
คอยคุ้มครองรักษาจิตเอาไว้
จิตก็จะมีความสุข
มีที่พึ่งด้วยตัวของจิตเอง
อาการที่จิตมีสติมาดูแลจิตใจบ่อยๆ
จิตใจจะมีความอบอุ่น
ทำให้ไม่เบื่อ
แต่ถ้าไม่ค่อยมีสติ
อยู่คนเดียวมันก็จะออกอาการมาทำนองเบื่อๆ
อาการเบื่อๆ เปิดทีวีหน่อย ทำนั่นหน่อยนี่หน่อย ไปคุยหน่อย
อาการที่จิตไม่มีความสุขในตัวเอง เป็นอาการที่จิตไม่มีสติ
แต่ถ้าสติคุ้มครองอยู่
สติจะทำหน้าที่ให้จิตมีความสุข ไม่หลงไปเรื่องนั้นเรื่องนี้
ไม่เกิดทุกข์มาก
ดังนั้นที่เป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้
ก็ไม่มีอะไรมาก
คือจิตมันหลงไป หลงไปก็ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้
แล้วก็ทุกข์ วนไป ไม่มีอะไร มีแค่นี้แหละ
ถ้าสติไม่ดูแลอยู่
จิตก็จะเป็นทุกข์ได้ง่าย
มีความสามารถในการเป็นทุกข์
สติที่พัฒนาจะทำให้จิตมีความสามารถในการเป็นสุข
สติที่ตามศึกษาอยู่กับกายใจไปเรื่อยๆ นี่จะกำจัดความประมาท
เห็นหน้าแม่ก็รู้ แม่ต้องตายแหงๆ เลย
นึกขึ้นได้ก็ทำหน้าที่ของลูกตามสมควร
พอแม่ไปจริงๆ เราก็ไม่เศร้า เพราะทำหน้าที่ดีแล้ว
เหมือนเห็นแก้ว ก็คิดว่ามันต้องแตกแหงๆ
แต่ถ้าไม่มีสติ มันจะไม่เคยคิดอย่างงี้เลย
มีแต่หลงประมาทมัวเมาอยู่ แก้วไม่แตกก็ดีใจ สบาย
พอวันนึงมันแตกขึ้นมาก็โศกเสียใจ
เหมือนร่างกายนี่แหละ
มันยังขยับเขยื้อนได้ พูดได้ กินได้ ก็สบายใจ
พอนอนรพ.ทีนึงก็นึกขึ้นได้ว่ามันตายได้
อันนี้มันไม่มีสติ
ต้องมาฝึกดูกายดูใจจนกลายเป็นสตินทรีย์
จึงสามารถกำจัดความประมาทเลินเล่อ
ถ้าไม่ประมาท ศึกษากายใจ จนเข้าใจความจริง
เหตุการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทุกข์
ความขี้เกียจ VS วิริยินทรีย์
เมื่อได้ผลดีก็ขยัน
เมื่อไม่ได้ผลดีก็ขี้เกียจ
อันนี้พลาดตรงที่ไม่ได้ดูอาการที่จิตมันขยัน อยากจะทำ
หน้าที่วิริยะคือ ประคองให้มันอยู่ในลู่ทางแห่งการศึกษากายใจ
ไม่ใช่ไปหลบตรงนั้น ไปพักตรงนี้
เกียจคร้านคือ มันไปทำอย่างอื่นนอกจากมารู้กายรู้ใจ
คือไม่ใช่แค่ว่า ไปดูทีวี ที่เรียกว่าเกียจคร้าน
แม้แต่การไปทำอะไรประหลาดๆ หรือขยันทั้งวันทั้งคืน
คือ ไม่เกิดความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง
แทนที่จะตามดูกายดูใจ มีความรู้สึกตัว
บางครั้งหลง บางครั้งรู้สึก
นานบ้าง ไม่นานบ้าง
แทนที่จะเป็นอย่างนี้ไปตามลำดับ ดันไปทำ "อย่างอื่น" แบบนี้เรียก ขี้เกียจ
เช่น ทำให้จิตสงบนานๆ บ้าง
ทำให้มีความสุขบ้าง
คือจะทำสมถะบ้างตามสมควร
ก็ต้องมีสัมปชัญญะประกอบ คือ ทำเพื่ออะไร (สาตถกสัมปชัญญะ)
ควรจะทำตอนไหน ใช้เวลาเท่าไร (สัปปายสัมปชัญญะ)
ไม่ใช่มีอะไรนิดอะไรหน่อยก็เข้าสมถะ
มันก็จะเนิ่นช้าในการเกิดปัญญา
เมื่อไม่ได้ผลดีก็ขี้เกียจ
อันนี้พลาดตรงที่ไม่ได้ดูอาการที่จิตมันขยัน อยากจะทำ
หน้าที่วิริยะคือ ประคองให้มันอยู่ในลู่ทางแห่งการศึกษากายใจ
ไม่ใช่ไปหลบตรงนั้น ไปพักตรงนี้
เกียจคร้านคือ มันไปทำอย่างอื่นนอกจากมารู้กายรู้ใจ
คือไม่ใช่แค่ว่า ไปดูทีวี ที่เรียกว่าเกียจคร้าน
แม้แต่การไปทำอะไรประหลาดๆ หรือขยันทั้งวันทั้งคืน
คือ ไม่เกิดความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง
แทนที่จะตามดูกายดูใจ มีความรู้สึกตัว
บางครั้งหลง บางครั้งรู้สึก
นานบ้าง ไม่นานบ้าง
แทนที่จะเป็นอย่างนี้ไปตามลำดับ ดันไปทำ "อย่างอื่น" แบบนี้เรียก ขี้เกียจ
เช่น ทำให้จิตสงบนานๆ บ้าง
ทำให้มีความสุขบ้าง
คือจะทำสมถะบ้างตามสมควร
ก็ต้องมีสัมปชัญญะประกอบ คือ ทำเพื่ออะไร (สาตถกสัมปชัญญะ)
ควรจะทำตอนไหน ใช้เวลาเท่าไร (สัปปายสัมปชัญญะ)
ไม่ใช่มีอะไรนิดอะไรหน่อยก็เข้าสมถะ
มันก็จะเนิ่นช้าในการเกิดปัญญา
สัทธินทรีย์ สัทธาพละ
ศรัทธา
การทำหน้าที่ : น้อมจิตไปอย่างเด็ดเดี่ยว
มีกำลังในการ : กำจัดความไม่เชื่อถือ
ศรัทธา
เป็นความเชื่อในเหตุผลที่พระองค์แสดง
ไม่ใช่เชื่อในตัวบุคคล
เมื่อเห็นเหตุเห็นผล
จิตมันก็น้อมไปทางนั้น
เพราะถ้าน้อมไปทางอื่นมันก็ทุกข์
พิจารณาก็เห็นๆ อยู่
เมื่อศรัทธามีอยู่
ก็จะกำจัดความไม่เชื่อถือ กำจัดความไม่มีเหตุผล
ปกติจิตมันไม่ค่อยมีเหตุผล
แดดร้อนก็ด่าแดด
ฝนตกก็ด่าฟ้า
หมาเห่าทำไมไม่เกรงใจเราเลย
คือหมาไม่ได้มีหน้าที่เกรงใจเรา
แต่เรามีหน้าที่เข้าใจโลกตามความเป็นจริง
ต่อมาเมื่อมีศรัทธามากขึ้น
เราจะฟังใครก็ได้ที่มีเหตุผล
เพราะศรัทธาต่อความจริง ศรัทธาต่อธรรม
แม้ตอนนี้ยังไม่เห็น ก็วางเอาไว้ก่อน
ไม่ได้เป็นแบบว่า แบบเราเท่านั้นจริง แบบนี้ถูกเสมอ
แบบอื่นไม่ใช่ แบบอื่นผิด
ที่เราคิด อาจถูก อาจผิด เราก็ศึกษาไป ปฏิบัติไป
ส่วนความจริงเป็นอย่างไร ก็วางเอาไว้ก่อน
การทำหน้าที่ : น้อมจิตไปอย่างเด็ดเดี่ยว
มีกำลังในการ : กำจัดความไม่เชื่อถือ
ศรัทธา
เป็นความเชื่อในเหตุผลที่พระองค์แสดง
ไม่ใช่เชื่อในตัวบุคคล
เมื่อเห็นเหตุเห็นผล
จิตมันก็น้อมไปทางนั้น
เพราะถ้าน้อมไปทางอื่นมันก็ทุกข์
พิจารณาก็เห็นๆ อยู่
เมื่อศรัทธามีอยู่
ก็จะกำจัดความไม่เชื่อถือ กำจัดความไม่มีเหตุผล
ปกติจิตมันไม่ค่อยมีเหตุผล
แดดร้อนก็ด่าแดด
ฝนตกก็ด่าฟ้า
หมาเห่าทำไมไม่เกรงใจเราเลย
คือหมาไม่ได้มีหน้าที่เกรงใจเรา
แต่เรามีหน้าที่เข้าใจโลกตามความเป็นจริง
ต่อมาเมื่อมีศรัทธามากขึ้น
เราจะฟังใครก็ได้ที่มีเหตุผล
เพราะศรัทธาต่อความจริง ศรัทธาต่อธรรม
แม้ตอนนี้ยังไม่เห็น ก็วางเอาไว้ก่อน
ไม่ได้เป็นแบบว่า แบบเราเท่านั้นจริง แบบนี้ถูกเสมอ
แบบอื่นไม่ใช่ แบบอื่นผิด
ที่เราคิด อาจถูก อาจผิด เราก็ศึกษาไป ปฏิบัติไป
ส่วนความจริงเป็นอย่างไร ก็วางเอาไว้ก่อน
อินทรีย์ และพละ
ตัว "องค์ธรรม" และ "สภาวะ"
ทั้งอินทรีย์และพละเหมือนกัน
อาการที่ธรรมะได้เกิดขึ้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ศรัทธา เมื่อเกิดขึ้น
ก็ทำหน้าที่ให้จิตดิ่ง มุ่งตรงต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เราศึกษาแล้ว พิจารณาแล้ว เราก็จิตใจโน้มเอียงดิ่งไปทางนั้น
เช่นนี้เรียกว่า ศรัทธาได้ทำหน้าที่
หรือเมื่อความเพียรที่ถูกต้องเกิดขึ้น
มันก็จะทำหน้าที่ประคองจิตไม่ให้วอกแว่กออกนอกทาง
สามารถศึกษากายใจ ไม่ว่าจะดีบ้างไม่ดีบ้าง
ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เพื่อเห็นความจริง
ว่ามันไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้
แบบนี้เรียกว่า วิริยะได้ทำหน้าที่
ส่วนพละ คือกำลังที่กำจัดอกุศลได้
อกุศล ก็เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับพละหมวดนั้น
เช่น ศรัทธา ฝ่ายตรงข้ามก็คือความไม่มีเหตุไม่มีผล
ความไม่เชื่อ ความไม่โน้มน้อมดิ่งไป
ศรัทธานี่ เชื่อในเหตุในผล ในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา
แต่ไม่ใช่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามี เจ้าชายสิทธัตถะมี ออกบวชตอน 29 (อันนี้โลกๆ ไปหน่อย)
เมื่อเชื่อในเหตุในผล ก็พร้อมจะเปิดใจฟัง
ไม่ยึดอยู่กับความเห็นใดความเห็นหนึ่ง
ไม่ได้ยึดว่าเราต้องถูกเสมอ
เชื่อการตรัสรู้ว่ามีจริง ก็มุ่งไปที่ความจริงเป็นหลัก
ไม่ได้เอาทิฏฐิ เอาความเห็นตัวเองเป็นใหญ่
แบบนี้เรียกว่า ศรัทธาได้ทำหน้าที่
เมื่อศรัทธาทำหน้าที่
มันก็จะเป็นไปเพื่อการเจริญปัญญายิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อศรัทธาทำหน้าที่
ก็จะกำจัดอกุศลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามได้
ตอนทำหน้าที่ เรียกสัทธินทรีย์
เมื่อมีกำลังมากขึ้น สามารถกำจัดอกุศลได้ เรียก ศรัทธาพละ
สมมติวิริยะ
เมื่อวิริยะเกิดขึ้น ทำหน้าที่
สภาวะธรรมอะไรเกิดขึ้น ก็พร้อมจะประคองจิตเอาไว้
ให้ตรงต่อการเฝ้ารู้ เฝ้าดูไป ศึกษาไปตามความเป็นจริง
มันจะได้ผล ไม่ได้ผล
ได้ผลเร็ว ได้ผลช้า
ได้ผลเหมือน หรือไม่เหมือนคนอื่น ก็ไม่เป็นไร
อาการอย่างนี้เรียกว่ามีความเพียรดี (ความเพียรที่จะทำให้จิตเกิดปัญญา)
ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น
ไม่ใช่ว่า เราทำความเพียรมาเท่านั้นเท่านี้ปีแล้ว
น่าจะเห็นนั้นบ้าง น่าจะเห็นนี้บ้าง
อันนี้ออกนอกทาง ชื่อว่าไม่เพียร กลายเป็นตัณหา
ถ้าความเพียรได้ทำหน้าที่
ก็จะเกิดพละ เป็นกำลังที่กำจัดอกุศลฝ่ายตรงข้าม
ก็คือความขี้เกียจ
ตัวองค์ธรรมนั้นเหมือนกัน
แต่ความมีกำลังนั้นแตกต่างกันออกไป
ถ้าสมบูรณ์ก็รวมตัวลงเป็นอริยมรรค
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปหานปธานละอะไร ละความเคยชิน
ที่ละคือ
ละความเคยชินของจิตที่จะทำให้คิดไปในแง่เบียดเบียน ต้องการเหนือ ต้องการเอาชนะ
ความเคยชินของจิตที่เป็นไปในแง่กาม
หน้าที่คือดูมัน
ดูไป มันจะไปละความเคยชินที่สั่งสมมานาน
ส่วนกิเลสนั้นที่เกิดขึ้นจากความเคยชิน
อันนั้นเป็นตัวทุกข์ มันเกิดเพราะเหตุปัจจัย
เกิดแล้วต้องดับเป็นเรื่องปกติ
ละความเคยชินของจิตที่จะทำให้คิดไปในแง่เบียดเบียน ต้องการเหนือ ต้องการเอาชนะ
ความเคยชินของจิตที่เป็นไปในแง่กาม
หน้าที่คือดูมัน
ดูไป มันจะไปละความเคยชินที่สั่งสมมานาน
ส่วนกิเลสนั้นที่เกิดขึ้นจากความเคยชิน
อันนั้นเป็นตัวทุกข์ มันเกิดเพราะเหตุปัจจัย
เกิดแล้วต้องดับเป็นเรื่องปกติ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็คือความเคยชินของจิต
ได้ยินเสียงนินทาแล้วเป็นยังไง
เห็นป้ายลดราคาแล้วเป็นยังไง
ถ้าทำความเพียรได้ถูกต้อง
ผลของความเพียรก็จะเป็น 4 อย่าง
ก็คือความเคยชินของจิต
ได้ยินเสียงนินทาแล้วเป็นยังไง
เห็นป้ายลดราคาแล้วเป็นยังไง
ถ้าทำความเพียรได้ถูกต้อง
ผลของความเพียรก็จะเป็น 4 อย่าง
- ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด
- ละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
- รักษากุศลที่เกิดแล้ว
- ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด
วายมติ วิริยมฺ อารภติ
วายมติ วิริยมฺ อารภติ
วิริยะคือ ก้าวหน้าไปไม่ท้อถอย กล้าหาญยิ่งๆ ขึ้นไป
ตามเห็นความขยัน ขี้เกียจของจิต
มันก็ไม่เที่ยงหรอกนะ
จิตตัง ปัคคัณหาติ
ประคองจิต
ไม่ใช่ประคองจิตให้ดี
แต่ประคองให้มันเดินไปในทางที่ถูกต้อง ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง
จิตมันจะดีบ้างไม่ดีบ้างก็ไม่เป็นไร
ขยันบ้าง ขี้เกียจบ้าง
ก็ยังประคองมันให้อยู่ทางนี้ตลอด
ประคองให้อยู่ในทางที่จะเห็นความจริง
ก็คือความจริงมันเป็นยังไง ก็ประคองให้มันเป็นไปตามนั้น
ส่วนมากจะหลงตรงนี้ !!!!
คือบางทีความเป็นมันเป็นอย่างนี้
ก็ประคองจิตให้มันเห็นตามนี้
ถ้าไปปรับ ไปดัดแปลง ไปกลับกลอก มันก็ไม่เห็นความจริงสักที
อาการดัดแปลง ถ้าทำถูกมันก็เป็นสมถะ
ก็ทำได้ตามสมควร ไม่ใช่ทำตลอด
ถ้าทำตลอด มันก็ไม่เห็นความจริง
ขี้เกียจบ้าง ก็ขยันดูความขี้เกียจ
ขยันบ้าง ก็ขยันดูความขยัน
ความเพียรที่เป็นสัมมัปปธาน ไม่ได้ต้องการเอาดี
เป็นความเพียรที่ต้องการพ้นทุกข์
เป็นความเพียรที่ให้เกิดปัญญา ก้าวหน้าไปในธรรม
เช่น มันขี้เกียจก็มาดูให้เห็นว่าความขี้เกียจนี่ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
บังคับไม่ได้ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ
พอหมดขี้เกียจ สักหน่อยมันก็เฉยๆ หรือขยัน
ขยันก็ดูว่ามันขยัน วิธีดูก็เหมือนดูขี้เกียจนั่นแหละ
เพียรให้จิตมันเดินก้าวหน้าไปในธรรม
คำว่าก้าวหน้าไปในธรรมนี่
ไม่ได้แปลว่า เห็นอะไรแล้วมันดับหมด หรือจิตดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
เราไม่ได้ดูให้มันดับนะ เราดูให้มันเห็นความเป็นจริง
ดูให้มันเห็นว่าทุกสิ่งทีเกิดขึ้นมันก็ดับไปนั่นแหละ
แต่จะดับตอนไหนก็ขึ้นกับเหตุ เหตุน้อยก็ดับเร็ว
ความก้าวหน้าไปในธรรม หมายถึง จิตเป็นกลางต่อสภาวะธรรม
สภาวธรรมจะดีหรือไม่ดี จะสุขหรืออะไร ก็เป็นกลาง
เห็นว่าทุกอย่างเป็นธรรมะเท่านั้น จนมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นทุกข์ล้วนๆ นั่นแหละจึงปล่อยได้
ไม่ใช่เพียรเอาดี เพียรหนีร้าย
วิริยะคือ ก้าวหน้าไปไม่ท้อถอย กล้าหาญยิ่งๆ ขึ้นไป
ตามเห็นความขยัน ขี้เกียจของจิต
มันก็ไม่เที่ยงหรอกนะ
จิตตัง ปัคคัณหาติ
ประคองจิต
ไม่ใช่ประคองจิตให้ดี
แต่ประคองให้มันเดินไปในทางที่ถูกต้อง ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง
จิตมันจะดีบ้างไม่ดีบ้างก็ไม่เป็นไร
ขยันบ้าง ขี้เกียจบ้าง
ก็ยังประคองมันให้อยู่ทางนี้ตลอด
ประคองให้อยู่ในทางที่จะเห็นความจริง
ก็คือความจริงมันเป็นยังไง ก็ประคองให้มันเป็นไปตามนั้น
ส่วนมากจะหลงตรงนี้ !!!!
คือบางทีความเป็นมันเป็นอย่างนี้
ก็ประคองจิตให้มันเห็นตามนี้
ถ้าไปปรับ ไปดัดแปลง ไปกลับกลอก มันก็ไม่เห็นความจริงสักที
อาการดัดแปลง ถ้าทำถูกมันก็เป็นสมถะ
ก็ทำได้ตามสมควร ไม่ใช่ทำตลอด
ถ้าทำตลอด มันก็ไม่เห็นความจริง
ขี้เกียจบ้าง ก็ขยันดูความขี้เกียจ
ขยันบ้าง ก็ขยันดูความขยัน
ความเพียรที่เป็นสัมมัปปธาน ไม่ได้ต้องการเอาดี
เป็นความเพียรที่ต้องการพ้นทุกข์
เป็นความเพียรที่ให้เกิดปัญญา ก้าวหน้าไปในธรรม
เช่น มันขี้เกียจก็มาดูให้เห็นว่าความขี้เกียจนี่ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
บังคับไม่ได้ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ
พอหมดขี้เกียจ สักหน่อยมันก็เฉยๆ หรือขยัน
ขยันก็ดูว่ามันขยัน วิธีดูก็เหมือนดูขี้เกียจนั่นแหละ
เพียรให้จิตมันเดินก้าวหน้าไปในธรรม
คำว่าก้าวหน้าไปในธรรมนี่
ไม่ได้แปลว่า เห็นอะไรแล้วมันดับหมด หรือจิตดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
เราไม่ได้ดูให้มันดับนะ เราดูให้มันเห็นความเป็นจริง
ดูให้มันเห็นว่าทุกสิ่งทีเกิดขึ้นมันก็ดับไปนั่นแหละ
แต่จะดับตอนไหนก็ขึ้นกับเหตุ เหตุน้อยก็ดับเร็ว
ความก้าวหน้าไปในธรรม หมายถึง จิตเป็นกลางต่อสภาวะธรรม
สภาวธรรมจะดีหรือไม่ดี จะสุขหรืออะไร ก็เป็นกลาง
เห็นว่าทุกอย่างเป็นธรรมะเท่านั้น จนมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นทุกข์ล้วนๆ นั่นแหละจึงปล่อยได้
ไม่ใช่เพียรเอาดี เพียรหนีร้าย
ฉันทัง ชเนติ
ฉันทัง ชเนติ
เบื้องแรกท่านให้สร้างฉันทะก่อน
เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ คือ พอใจที่จะทำเหตุ
ส่วนได้ไม่ได้เป็นอีกเรื่อง
เหมือนฟังธรรม
จะฟังเข้าใจไม่เข้าใจ
ก็สร้างฉันทะที่จะฟัง
ไม่เข้าใจก็ไม่โกรธตัวเอง
เข้าใจแล้วลืมก็ไม่โกรธตัวเอง
ความเพียรถ้าไม่สร้างฉันทะ
เมื่อพอใจแล้วความพยายามก็เป็นไปในทางที่ถูกต้อง
ถ้าไม่พอใจมันจะกลายเป็นทำด้วยตัณหาจะเอาผลไป
เป็นความคิดไปว่า ทำเยอะแล้วจะได้ผลอย่างนั้นอย่างนี้
มันจะเพี้ยนไป
สมมติเดิน
ก็สร้างความพอใจที่จะเดิน
ไม่ใช่เอาความคิดมาใส่ว่าเดินเยอะๆ แล้วจะเป็นยังไง
เบื้องแรกท่านให้สร้างฉันทะก่อน
เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ คือ พอใจที่จะทำเหตุ
ส่วนได้ไม่ได้เป็นอีกเรื่อง
เหมือนฟังธรรม
จะฟังเข้าใจไม่เข้าใจ
ก็สร้างฉันทะที่จะฟัง
ไม่เข้าใจก็ไม่โกรธตัวเอง
เข้าใจแล้วลืมก็ไม่โกรธตัวเอง
ความเพียรถ้าไม่สร้างฉันทะ
เมื่อพอใจแล้วความพยายามก็เป็นไปในทางที่ถูกต้อง
ถ้าไม่พอใจมันจะกลายเป็นทำด้วยตัณหาจะเอาผลไป
เป็นความคิดไปว่า ทำเยอะแล้วจะได้ผลอย่างนั้นอย่างนี้
มันจะเพี้ยนไป
สมมติเดิน
ก็สร้างความพอใจที่จะเดิน
ไม่ใช่เอาความคิดมาใส่ว่าเดินเยอะๆ แล้วจะเป็นยังไง
สัมมัปปธาน
สัมมัปปธาน = สัมมา + ปธาน
ความเพียรชอบ
ชอบ, ถูกต้อง คือพ้นทุกข์ได้ คือละกิเลสได้
ความเพียรที่จะเผากิเลสได้จริง
ต้องเพียรเพ่งลงใจกายในใจนี้
เพียรเจริญกุศล
ส่วนมากเพียรกันไม่จริง
เพียรตอนทุกข์มาก
พอสุขแล้ว สงบแล้วก็เลิกเพียร โอลัลล้าเหมือนเดิม
นั่งสมาธิพอสบายก็แช่อยู่อย่างนั้น
ท่านว่าสุขก็เป็นทุกข์
มันก็ต้องอาศัยการเพียรตามรู้ว่ามันเป็นตามนั้นจริงๆ มันจึงจะละแม้สุขไปได้
ด้วยเห็นว่ามันไม่สามารถเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้จริง
ความเพียรชอบ
ชอบ, ถูกต้อง คือพ้นทุกข์ได้ คือละกิเลสได้
ความเพียรที่จะเผากิเลสได้จริง
ต้องเพียรเพ่งลงใจกายในใจนี้
เพียรเจริญกุศล
ส่วนมากเพียรกันไม่จริง
เพียรตอนทุกข์มาก
พอสุขแล้ว สงบแล้วก็เลิกเพียร โอลัลล้าเหมือนเดิม
นั่งสมาธิพอสบายก็แช่อยู่อย่างนั้น
ท่านว่าสุขก็เป็นทุกข์
มันก็ต้องอาศัยการเพียรตามรู้ว่ามันเป็นตามนั้นจริงๆ มันจึงจะละแม้สุขไปได้
ด้วยเห็นว่ามันไม่สามารถเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้จริง
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ความคิดแบบตั้งใจ แบบไม่ตั้งใจ
- ความคิดแบบตั้งใจคิด
- ความคิดแบบไม่ตั้งใจคิด
ความคิดแบบไม่ตั้งใจคิด
แอบมากับความหลง
อันนี้แหละที่หลอกจิตได้
หลงไปปุ๊บก็ปรุงๆๆๆ เยอะขึ้น
หลอกไปเรื่อย
หลอกได้จนทุกข์
อันนี้แหละทำให้เกิดทุกข์
ทุกข์ไปเรื่อย
พวกนี้แหละที่เรียกว่า อโคจร
ฝึกสติสัมปชัญญะ
เพื่อรู้ทันความคิดประเภทที่ 2
สมาทานคือการเลือก
สมาทาน
ลักษณะของจิตที่รู้ว่าทางนี้มันดี ทางนี้มันเบาสบาย
ก็เลือกทางนี้ เลือกที่จะดำเนินทางนี้
คือการเลือก
ไม่ใช่การปฏิเสธ
ลักษณะของจิตที่รู้ว่าทางนี้มันดี ทางนี้มันเบาสบาย
ก็เลือกทางนี้ เลือกที่จะดำเนินทางนี้
คือการเลือก
ไม่ใช่การปฏิเสธ
วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง
ความพอใจ ไม่พอใจในโลก (คือรูปนาม)
ละได้ด้วยปัญญา
ละได้ด้วยความรู้ทัน
ที่ละคือ ละความยินดียินร้ายในความโกรธ
ไม่ใช่ละความโกรธ
ไม่ใช่ละของดี
ละความยินดีในของดี
ละความพอใจในของดี
ละความยินร้ายในของไม่ดี
ละความพอใจ ไม่พอใจในโลก
ไม่ได้ห้ามมันเกิดขึ้น
แต่ละด้วยการรู้ทัน
เมื่อมีปัญญา - สิ่งเหล่านี้จะแสดงไตรลักษณ์ให้จิตเห็น
ถ้าระลึกได้แต่ไม่มีปัญญา มันก็ไม่แสดงไตรลักษณ์ให้เห็น ก็ไม่เป็นไร ดูไปเรื่อย
พูดง่ายๆ ก็คือ
หัดเอาอคติในใจออกไป
ก็จะได้รู้อะไรตามที่มันเป็น
ไม่ตัดสิน ไม่ดัดแปลง
ไม่รู้จักตนเอง ก็ไปดัดแปลงตัวเอง ดัดแปลงชาวบ้าน
ละได้ด้วยปัญญา
ละได้ด้วยความรู้ทัน
ที่ละคือ ละความยินดียินร้ายในความโกรธ
ไม่ใช่ละความโกรธ
ไม่ใช่ละของดี
ละความยินดีในของดี
ละความพอใจในของดี
ละความยินร้ายในของไม่ดี
ละความพอใจ ไม่พอใจในโลก
ไม่ได้ห้ามมันเกิดขึ้น
แต่ละด้วยการรู้ทัน
เมื่อมีปัญญา - สิ่งเหล่านี้จะแสดงไตรลักษณ์ให้จิตเห็น
ถ้าระลึกได้แต่ไม่มีปัญญา มันก็ไม่แสดงไตรลักษณ์ให้เห็น ก็ไม่เป็นไร ดูไปเรื่อย
พูดง่ายๆ ก็คือ
หัดเอาอคติในใจออกไป
ก็จะได้รู้อะไรตามที่มันเป็น
ไม่ตัดสิน ไม่ดัดแปลง
ไม่รู้จักตนเอง ก็ไปดัดแปลงตัวเอง ดัดแปลงชาวบ้าน
สัมปชาโน สติมา
คือรู้บ้างหลงบ้าง
ถ้ารู้ตลอด ให้รู้ว่ามันหลง 5555
ระลึกลงที่ไหนก็ได้
กายก็ได้ ใจก็ได้
เวลาระลึกแล้ว
ให้มีความรู้สึกตัว คือสัมปชัญญะด้วย
ไม่งั้นระลึกแล้วจะไปแช่อารมณ์
ถ้ารู้ตลอด ให้รู้ว่ามันหลง 5555
ระลึกลงที่ไหนก็ได้
กายก็ได้ ใจก็ได้
เวลาระลึกแล้ว
ให้มีความรู้สึกตัว คือสัมปชัญญะด้วย
ไม่งั้นระลึกแล้วจะไปแช่อารมณ์
ตามดู ไม่มีอะไรเกินนั้น
การเจริญสติปัฏฐาน
คือการตามดู ไม่มีอะไรเกินนั้น
ตามดูไปตามธรรมดา
เมื่อเข้าใจธรรมดา
อยู่กับธรรมดาได้โดยไม่แทรกแซงไม่เปลี่ยนแปลง
นี้แหละคือการถึงธรรม
ปกติชอบคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้เกิดอะไรสักอย่าง
ไม่มีอะไรทำเลย รู้สึกยังไงชอบกล นั่งสักบัลลังก์เถิด
ไม่รู้จะทำไร ทำสักหน่อย เดินจงกรมสักลู่เถิด
อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิจากตัณหา อุปาทานที่เกิดจากตัวเรา
อยากให้ตัวเรามีสุข
อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์
อยากให้ตัวเราถึงนิพพาน
คือการตามดู ไม่มีอะไรเกินนั้น
ตามดูไปตามธรรมดา
เมื่อเข้าใจธรรมดา
อยู่กับธรรมดาได้โดยไม่แทรกแซงไม่เปลี่ยนแปลง
นี้แหละคือการถึงธรรม
ปกติชอบคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้เกิดอะไรสักอย่าง
ไม่มีอะไรทำเลย รู้สึกยังไงชอบกล นั่งสักบัลลังก์เถิด
ไม่รู้จะทำไร ทำสักหน่อย เดินจงกรมสักลู่เถิด
อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิจากตัณหา อุปาทานที่เกิดจากตัวเรา
อยากให้ตัวเรามีสุข
อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์
อยากให้ตัวเราถึงนิพพาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)