วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความขี้เกียจ VS วิริยินทรีย์

เมื่อได้ผลดีก็ขยัน
เมื่อไม่ได้ผลดีก็ขี้เกียจ

อันนี้พลาดตรงที่ไม่ได้ดูอาการที่จิตมันขยัน อยากจะทำ

หน้าที่วิริยะคือ ประคองให้มันอยู่ในลู่ทางแห่งการศึกษากายใจ
ไม่ใช่ไปหลบตรงนั้น ไปพักตรงนี้

เกียจคร้านคือ มันไปทำอย่างอื่นนอกจากมารู้กายรู้ใจ

คือไม่ใช่แค่ว่า ไปดูทีวี ที่เรียกว่าเกียจคร้าน
แม้แต่การไปทำอะไรประหลาดๆ หรือขยันทั้งวันทั้งคืน
คือ ไม่เกิดความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง

แทนที่จะตามดูกายดูใจ มีความรู้สึกตัว
บางครั้งหลง บางครั้งรู้สึก
นานบ้าง ไม่นานบ้าง
แทนที่จะเป็นอย่างนี้ไปตามลำดับ ดันไปทำ "อย่างอื่น" แบบนี้เรียก ขี้เกียจ

เช่น ทำให้จิตสงบนานๆ บ้าง
ทำให้มีความสุขบ้าง

คือจะทำสมถะบ้างตามสมควร
ก็ต้องมีสัมปชัญญะประกอบ คือ ทำเพื่ออะไร (สาตถกสัมปชัญญะ)
ควรจะทำตอนไหน ใช้เวลาเท่าไร (สัปปายสัมปชัญญะ)
ไม่ใช่มีอะไรนิดอะไรหน่อยก็เข้าสมถะ
มันก็จะเนิ่นช้าในการเกิดปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น