วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฉันทสมาธิ

ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า ฉันทะสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด 
พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทะนี้ด้วย
ฉันทสมาธินี้ด้วย
และปธานสังขารนี้ด้วย
เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร

เรียกว่าอาศัยความชอบแล้วทำนั่นเอง
พวกชอบก็จะทำบ่อยๆ

ทั้งนี้การทำสิ่งที่ชอบนั้นต้องผ่านการฝึกสองขั้นแรกมาก่อน คือสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน
คือ เราเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำความเพียรเสมอ เพียรละอกุศลเสมอ
ทีนี้เมื่อได้ไปทำสิ่งที่ชอบ แล้วทำแล้วจิตตั้งมั่น
สมาธิอันนี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

ทีนี้พอได้ฉันทสมาธิแล้ว
ก็ต้องรักษาสมาธิอันนั้นไว้ด้วยความเพียร
ตัวความเพียรนั้นเรียกว่า ปธานสังขาร

หลายครั้งเราก็ได้สมาธิกับเขาเหมือนกัน เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ
แต่รักษาไม่ได้ ก็จะไม่เป็นอิทธิบาท

เช่น บางคนชอบฟังธรรม
ฟังไปเจอจุดที่ตัวเข้าใจก็รู้สึกว่า เออ ใจเบิกบาน ตั้งมั่น
แต่รักษาไม่ได้ เพราะไม่มีปธานสังขาร
แป๊บเดียวอารมณ์กระทบ ไปแล้ว...

ไปสวดมนต์ เบิกบาน เป็นหนึ่ง
แต่ไม่รู้วิธีรักษา ไม่รู้ว่ามันมาจากอะไร
ไม่รู้ว่าถ้าจะให้สมาธิมันเกิดบ่อยๆ ต้องเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความเพียร
ป้องกันกิเลส รักษากุศลเสมอๆ

ทีนี้สมาธิมันมาจาก 4 ลักษณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น