ทั้งอินทรีย์และพละเหมือนกัน
อาการที่ธรรมะได้เกิดขึ้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ศรัทธา เมื่อเกิดขึ้น
ก็ทำหน้าที่ให้จิตดิ่ง มุ่งตรงต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เราศึกษาแล้ว พิจารณาแล้ว เราก็จิตใจโน้มเอียงดิ่งไปทางนั้น
เช่นนี้เรียกว่า ศรัทธาได้ทำหน้าที่
หรือเมื่อความเพียรที่ถูกต้องเกิดขึ้น
มันก็จะทำหน้าที่ประคองจิตไม่ให้วอกแว่กออกนอกทาง
สามารถศึกษากายใจ ไม่ว่าจะดีบ้างไม่ดีบ้าง
ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เพื่อเห็นความจริง
ว่ามันไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้
แบบนี้เรียกว่า วิริยะได้ทำหน้าที่
ส่วนพละ คือกำลังที่กำจัดอกุศลได้
อกุศล ก็เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับพละหมวดนั้น
เช่น ศรัทธา ฝ่ายตรงข้ามก็คือความไม่มีเหตุไม่มีผล
ความไม่เชื่อ ความไม่โน้มน้อมดิ่งไป
ศรัทธานี่ เชื่อในเหตุในผล ในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา
แต่ไม่ใช่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามี เจ้าชายสิทธัตถะมี ออกบวชตอน 29 (อันนี้โลกๆ ไปหน่อย)
เมื่อเชื่อในเหตุในผล ก็พร้อมจะเปิดใจฟัง
ไม่ยึดอยู่กับความเห็นใดความเห็นหนึ่ง
ไม่ได้ยึดว่าเราต้องถูกเสมอ
เชื่อการตรัสรู้ว่ามีจริง ก็มุ่งไปที่ความจริงเป็นหลัก
ไม่ได้เอาทิฏฐิ เอาความเห็นตัวเองเป็นใหญ่
แบบนี้เรียกว่า ศรัทธาได้ทำหน้าที่
เมื่อศรัทธาทำหน้าที่
มันก็จะเป็นไปเพื่อการเจริญปัญญายิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อศรัทธาทำหน้าที่
ก็จะกำจัดอกุศลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามได้
ตอนทำหน้าที่ เรียกสัทธินทรีย์
เมื่อมีกำลังมากขึ้น สามารถกำจัดอกุศลได้ เรียก ศรัทธาพละ
สมมติวิริยะ
เมื่อวิริยะเกิดขึ้น ทำหน้าที่
สภาวะธรรมอะไรเกิดขึ้น ก็พร้อมจะประคองจิตเอาไว้
ให้ตรงต่อการเฝ้ารู้ เฝ้าดูไป ศึกษาไปตามความเป็นจริง
มันจะได้ผล ไม่ได้ผล
ได้ผลเร็ว ได้ผลช้า
ได้ผลเหมือน หรือไม่เหมือนคนอื่น ก็ไม่เป็นไร
อาการอย่างนี้เรียกว่ามีความเพียรดี (ความเพียรที่จะทำให้จิตเกิดปัญญา)
ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น
ไม่ใช่ว่า เราทำความเพียรมาเท่านั้นเท่านี้ปีแล้ว
น่าจะเห็นนั้นบ้าง น่าจะเห็นนี้บ้าง
อันนี้ออกนอกทาง ชื่อว่าไม่เพียร กลายเป็นตัณหา
ถ้าความเพียรได้ทำหน้าที่
ก็จะเกิดพละ เป็นกำลังที่กำจัดอกุศลฝ่ายตรงข้าม
ก็คือความขี้เกียจ
ตัวองค์ธรรมนั้นเหมือนกัน
แต่ความมีกำลังนั้นแตกต่างกันออกไป
ถ้าสมบูรณ์ก็รวมตัวลงเป็นอริยมรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น