วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิธีเจริญอิทธิบาททั้ง 4

ย่อมเจริญฉันทะ (วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา) สมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า

ฉันทะ (วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา) ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป
ไม่ประคองเกินไป

ไม่หดหู่ในภายใน
ไม่ฟุ้งไปในภายนอก

มีความสำคัญในเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ว่า
เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

(ผล - จิตที่ไม่มีนิวรณ์)
เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่

ถ้าทำแบบตามบุญตามกรรม ไม่รู้หลักการ ไม่รู้เทคนิค
มันก็อาจจะได้ผลถ้าขยันทำ แต่มันใช้เวลานาน

มาเรียนไว้ก่อน
แต่เรียนไปแล้ว พอไปทำมันก็ผิดๆ ถูกๆ เหมือนเดิมแหละ
ไม่ใช่ว่า (คิดว่า) เข้าใจแล้วเวลาทำจะไม่ผิด
ไปทำจริงมันก็หลงๆ ลืมๆ ตามเรื่องน่ะแหละ ก็กลับมาทวนบ่อยๆ ด้วย กลับมาฟังธรรม
มันชอบลืมเรื่อย 5555

เหมือนฟังเรื่องมีสติ เรื่องรู้ตัว
ในชีวิตประจำวันมันก็ยังลืมเรื่อย
เลยต้องฟังซ้ำ วนไป 5555

ตอนนี้มาฟังเรื่องสมาธิ ก็เป็นขั้นกลางๆ
ถ้าทำไม่ถึงสมาธิชีวิตไม่เปลี่ยน นิสัยไม่เปลี่ยน
มันต้องใช้เวลาช่วงนึง ต่อเนื่องพอสมควร

บางคนก็ไม่กล้า
ห่วงทำนู่นทำนี่
พอจะทำอะไรได้นิดหน่อยก็เลิก ล้มกระดาน ทำใหม่

ฉะนั้นถ้าจะทำอะไรก็ทำให้ถึงสมาธิ
มันจึงจะเป็นตัวเปลี่ยนนิสัยเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน
ตัวเปลี่ยนนี่ก็จะเป็นคุณธรรมฝ่ายดีที่เข้ามาแทนที่
เรียก "อินทรีย์"

จะให้กลับไปเชื่อมงคลตื่นข่าว ไปหวั่นไหวกับเรื่องนู้นเรื่องนี้ มันทำไม่เป็น
เพราะมีสัทธินทรีย์เข้ามาแทนในจิตแล้ว

ถ้าทำไม่ถึงสมาธิ
แม้จะไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ทุกวัน
แต่พอคนอื่นมาว่าอะไรมันก็ไหวไปตามเขา คือ มัน "ทำไม่ถึง"

บอกแก่แล้ว รีบๆ ทำ ไปๆ มาๆ ก็ไม่ทำ
แต่ถ้าถึงสมาธิแล้ว วิริยินทรีย์เกิด ความขี้เกียจก็ไม่มีความหมายไป

---
ขยายความต่อ

ฉันทะของเราจะต้องไม่ย่อหย่อนเกินไป
ต้องไม่ใส่ความขี้เกียจเข้ามานะ (ฉันทะที่ประกอบด้วยความขี้เกียจ)
ถ้าความขี้เกียจเข้ามา ก็หาทางให้มันออกไปหน่อย

ไม่ต้องประคองจนเกินไป
ฉันทะบางทีก็ทำให้ฟุ้งได้ (ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ)
เดี๋ยวไปเรื่องนู้น เดี๋ยวไปเรื่องนี้ ไม่เป็นเรื่องสักที
ฉะนั้นจะทำอะไร แม้ไม่ถึงกับต้องห้ามจิตห้ามใจ แต่ก็เลือกเรื่องให้ดีๆ

ไม่หดหู่ในภายใน
(ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ)
พวกโงกง่วง เศร้าซึม ไม่เอาอะไรแล้ว ไม่อยากบรรลุด้วย เอาออกให้หมด
ไม่ใช่ทำไปด้วยหดหู่ไปด้วย เรามันบารมีน้อย
คิดงี้ก็ใช้ไม่ได้

จริงอยู่ สิ่งผิดนี่ก็ไม่มีตัวตนต้องไม่เที่ยง แต่ต้องเอาออก
สิ่งถูก ก็ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง แต่ต้องเอาเข้า

ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก
(ฉันทะที่ฟุ้งไปในกามคุณ)
ภายนอกคืออารมณ์กามคุณ ลักษณะของสมาธิต้องสงัดจากกามคุณ
การดู การฟัง การดมกลิ่ม ลิ้มรส สัมผัส อย่าให้จิตมันออกไปทำนองนั้น
ก็ต้องรู้จักดูแลอย่าให้มันฟุ้งไปทำนองนั้น

มีความสำคัญในเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ว่า
เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
คือรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรเพื่ออะไร
ทำอะไรมาแล้ว และจะทำอะไรต่อ ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ทำมาแล้ว แล้วต่อไปจะเป็นยังไง
รู้เป้าหมาย รู้อะไรที่ตนทำอยู่ ทำด้วยความรู้

เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
รู้จักตัวเอง มีสติอยู่กับตัว
แต่พื้นเท้าขึ้นมา แต่ปลายผมลงไป

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
กลางวันเป็นไง สว่างโล่ง ทำความเพียรยังไง กลางคืนก็ทำอย่างงั้น

เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่
สมาธิเป็นการอบรมจิตให้สว่าง หมดจากนิวรณ์
ซึ่งสติปัฏฐานก็นำกิเลสออกไปได้ประมาณนึง เพราะขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
แต่กิเลสก็ยังเข้าได้อยู่ ก็ต้องสัมมัปปธานป้องกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น