วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

โอโก

โอกํ ปหาย       อนิเกตสารี
คาเม อกุพฺพํ     มุนิ สนฺถวานิ
กาเมหิ ริตฺโต    อปุรกฺขราโน
กถํ น วิคฺคยฺห   ชเนน กยิรา

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

วิมุตตายตนะ

อายตนะ
ช่องทาง
ช่องทางให้เกิด

ธรรมทานเป็นวิมุตตายตนะ
เป็นช่องทางให้เกิดวิมุตติ

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจากผู้รู้โดยตรง
ให้นำธรรมที่เรียนมา มาบอกต่อ
แสดงให้ตรงตามที่ท่านทรงแสดงเอาไว้
แสดงด้วยความซื่อตรงต่อธรรม

ระหว่างแสดงจะมีการทบทวน
มีการรู้ทันขึ้นมา
การรู้ทันในระหว่างแสดงธรรม ก็เป็นช่องทางของวิมุตติ

ช่องแรกฟังธรรม
ช่องถัดมา แสดงธรรม
ถัดมา สาธยายธรรม มนต์ที่เป็นพุทธพจน์ หรือจากพระไตรปิฎก

ศีล 5 ละเมิดข้อใดบาปสุด

ศีลไม่พึงมีเปรียบเทียบว่าข้อไหนหนักเบากว่าข้อไหน
ท่านแสดงไว้ในลักษณะของโทษ
ว่าทำแล้วผลเป็นอย่างไร
ยิ่งองค์แห่งการขาดมาก (เช่น รู้ทั้งรู้, ตั้งใจทำ, ทำสำเร็จ)
ผลแห่งการทำนั้นยิ่งมาก
คือยิ่งกิเลสมาก กรรมยิ่งบรรจง วิบากก็ยิ่งมาก

อะไรเกิดขึ้นเมื่อเห็นว่าข้อนี้ "เบา" กว่าอีกข้อ
ถ้ามีความเห็นข้อนี้เบา มันจะเอนเอียงว่า ข้อนี้ "พอทำได้"
พอทำข้อนึงได้ จะเริ่มลามไปข้ออื่น

จะบอกว่าข้อ 5 หนักสุด ว่าขาดสติแล้วทำไรก็ได้
อันนี้ก็จริง แต่ไม่ได้จริงเสมอไป
ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบ กินเหล้าแล้วหลับไปก็ได้ อันนี้โทษก็จำกัดวง

ศีลข้อ 3
ตัดผิดที่มรรคล่วงมรรค
ไม่เกี่ยวกับสมยอมหรือไม่

ศีลข้อ 5
ตัดผิดที่ล่วงลำคอ
ไม่เกี่ยวกับเมาไม่เมา

ถอดความภวังค์ ฌาน สมาธิ

ท่องพุทโธ ท่องไปท่องมาเคลิ้ม
เคลิ้มนี้เป็นภวังค์ เหมือนตอนง่วงนอน
พอง่วงนอน มันตกภวังค์ มันจะไม่สนใจ มันจะไม่ส่งออก

ในช่วงขณิกสมาธิเล็กๆ มันยังไม่เข้มข้น มันก็เป็นภวังค์แล้วนะ (ถ้าดูเป็นจะเห็น นี่เริ่มเป็นภวังค์แล้ว)
ภวังค์ ก็เป็นความรู้สึกตัว ที่จิตมันจะไม่ส่งออกไปข้างนอก มันเข้าไปที่สภาพเดิมของมัน

ในขณิกสมาธิ นี่เรียก ภวังคุบาท 
เช่น ท่องพุทโธๆๆ ไม่ส่งออก อันนี้เป็นภวังค์ 
หยุดท่องภวังค์ขาดทันที

แต่ถ้าเริ่มไม่ขาด จิตเริ่มละเอียดขึ้น 
ก็จะเริ่มเห็นอ่อที่เกิดดับไปไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้ 
จะเป็นภวังค์ตัวที่สอง ชื่อภวังคจลนะ (อยู่ในอุปจารสมาธิ) 
ภวังค์นี้เขาใช้เจริญวิปัสสนาญาณ

พอเข้าอัปปนาแล้วเจริญวิปัสสนาญาณไม่ได้ 
ในอัปปนาสมาธิจะเป็นภวังคุปัจเฉท มันตัดขาดหมด เรียกว่า แนบสนิทเป็นหนึ่ง 
พอเป็นหนึ่งก็แน่วแน่ ไอ้ตัวกระบวนการทำงานภายใน ที่จะไปคิดนั่นนี่ก็หยุด 
แต่ว่ามันก็ยังมี “เจตนา” อยู่ เป็นตัวภพ คือยังไม่ใช่มรรคผลนิพพานนั่นแหละ 
ฌานนี่แปลว่าเพ่ง เจตนาที่จะเพ่งยังมีอยู่ จึงเป็นภพ

อัปปนาสมาธิ จึงเข้าฌาน ถ้ายังไม่อัปปนา ยังไม่เป็นฌาน ฌานแปลว่าเพ่ง
ถ้าเพ่งลมหายใจ เพ่งกสิณ พวกนี้เรียกรูปฌาน
ถ้าเพ่งอากาศ ช่องว่า เรียกอรูป

ทีนี้พอเพ่งแล้วแน่วแน่เป็นหนึ่ง เรียก เอกัคคตา
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ตัวเอกัคคตานี้คือตัวสมาธิ
ฌานจึงทำให้เกิดสมาธิ ในสัมมาสมาธิก็คือฌานสี่ เพราะอาศัยการเพ่งจนเกิดเอกัคคตา


ทีนี้เวลาเจริญวิปัสสนา จะถอยออกจากฌานมาที่อุปจารสมาธิ 
เขาไม่ได้ทิ้งสมาธิ เขาเก็บความตั้งมั่นไว้ แต่ถอนออกจากการเพ่ง 
เพราะจิตที่มันได้ความตั้งมั่นจากการเพ่งนี่มันได้มาแล้ว 
แต่ทีนี้ถ้ามันแน่วแน่เกินไป มันจะไม่มีการทำงานภายใน 
เขาก็ถอยออกจากการเพ่ง แต่ความตั้งมั่นยังอยู่ 

พอมาอยู่ในอุปจารสมาธิ ความจำปรากฏขึ้นมันก็เห็น 
“อ้าว ความจำไม่มีตัวตนนี่” เพราะตัวตั้งมั่นมันเป็นผู้ดู

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

เพื่ออะไร ทำอย่างไร

มาศึกษาเพื่ออะไร
ก็ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติหรือปฏิปทานี่เป็นอย่างไร

จะศึกษาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
จะศึกษาเพื่อความปล่อยวาง
จะศึกษาเพื่อความสำรอกราคะ
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่เกิด ไม่แก่ ฯลฯ ไม่ต้องทุกข์ อุปายาส
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่ต้องพบกับสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป
จะศึกษาเพื่ออะไรก็แล้วแต่

ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติทำอย่างไร
ไม่งั้นมันก็จะเป็นการพูดลอยลมไป

ข้อปฏิบัติให้ถึงสิ่งเหล่านี้ คืออริยมรรคมีองค์ 8
แค่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้รับประโยชน์
ได้รับประโยชน์ตามส่วนที่เห็น
คิดถูกขึ้น ก็สงบขึ้น
สติมากขึ้น ก็สงบขึ้น ตามส่วน

เพราะมันเป็นทางเดิน
เมื่อเดินไปมันก็ชัดขึ้นๆ

ถ้าไม่มีมรรคนี่
เรียนๆ ไปอาจจะเหมือนปล่อยวาง
มันก็วางแค่เรื่องนี้แหละ
เรื่องอื่นมันก็ไม่วาง ถ้าไม่ได้เดินมรรค

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

สามัญญ พรหมัญญ

มรรคชื่อว่าสามัญญบ้าง พรหมัญญบ้าง

สามัญญ
แห่งความสงบ
สามัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

พรหมัญญ
แห่งความประเสริฐ
พรหมัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

จะปล่อยวางได้ ก็ต้องมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง

จะปล่อยวางได้
ก็ต้องมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง

จะมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
ก็ต้องทำให้ถูก...ถูกทั้งหมด
ทั้งความเห็น ความคิด คำพูด กระทำ การใช้ชีวิต

อริยมรรคจึงทำให้เกิดวิชชา ญาณ

แยกแยะผิดถูก

อริยมรรคนี่เป็นตัวแยกผิดถูก
แยกง่ายมากๆ
ไม่ต้องดูอะไรเยอะ
ตามมรรค - ถูก
ไม่ตามมรรค - ผิด

เอาตัวสภาวะมาพูดเลย
ไม่ได้ผิดถูกแบบเปรียบเทียบอะไร
มิจฉัตตธรรม ผิดแน่ๆ
เรื่องสุข ตัวตน เรา ของเรา อันนี้ผิดแน่ๆ
จะเอากามคุณ จะเอาสุข ติดข้อง คิดพยาบาท เบียดเบียน ผิดแน่ๆ

ดูความเห็น
มันเห็นว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง
มันเห็นว่าแน่หรือไม่แน่
ถ้ายังเที่ยง ยังแน่ อันนี้ผิด

อกุศลธรรม = มิจฉาทิฏฐิ --- มิจฉาสมาธิ
กุศลธรรม = สัมมาทิฏฐิ --- สัมมาสมาธิ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

ผู้มีการศึกษา

การได้รับการศึกษา
แม้จะพูดเป็นลำดับว่าศีล สมาธิ ปัญญา
แต่การศึกษาเขาไม่ได้วัดที่ศีล
แต่วัดที่ มีสัมมาทิฏฐิมั้ย

การศึกษาเริ่มต้นที่ความรู้
ไม่ได้เริ่มต้นที่ศีล

ความเห็ฯที่ถูกต้องนี่จะทำให้เข้าใจว่า
สิ่งต่างๆ นี่มันเป็นตามเหตุตามปัจจัย
อยากได้อะไรก็เพียรทำเหตุให้เต็มที่เอา
คนมีการศึกษาจึงไม่บ่นอะไรตามธรรมชาติ

ปฏิปทา

ปฏิบัติอริยมรรค ต้องทำจนเป็นปฏิปทา
เป็นปฏิปทา หมายถึง
ทำจนเป็นวิถีชีวิต
ทำจนเป็นธรรมชาติ
ทำจนเป็นคนแบบนี้ เป็นนิสัยไปแล้ว เป็นข้อปฏิบัติของตนเอง

เป็นปฏิปทาแล้วมันจะแน่นอน
คือ มันจะเป็นอย่างนี้แหละ

มรรคที่เป็นหนทาง
เป็นปฏิปทา
ต้องทำอย่างสืบต่อ ต่อเนื่อง
มากน้อยไม่เป็นไร ทำไปเรื่อย

เหมือนจุดไฟ
ก็ปั่นไปเรื่อย
อันนี้เปรียบมรรคที่เป็นปฏิปทา/หนทาง
จนไฟลุก อันนี้จะเป็นมรรคที่เปรียบถึงการเผาทำลาย

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

คำแปลธาตุ (โดยภาษา)

ธาตุในพระไตรปิฎกมักแปลว่า elements

ในพจนานุกรม ธาตุถูกใช้ในความหมายของ
เนื้อแท้ เนื้อเดิม สิ่งที่สำคัญ ส่วนที่สำคัญ nature

อสังขตธาตุ ส่วนตัวเห็นว่าการแปลเป็น the unconditioned nature ฟังดูเหมาะดี

คำแปลของอินทรีย์ (แบบภาษา)

อินทรีย์ ถ้าไม่ทับศัพท์
ในพระไตรปิฎกมีใช้คำแปลว่า faculties

ซึ่งเมื่อไปเปิดดู ก็ว่าคำแปลคือ
[N] ศักยภาพหรือความสามารถในด้านร่างกายและจิตใจ
สมรรถพล, อินทรีย์ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]

๑. ความสามารถที่จะกระทำการได้

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

อริยะ 4 ความหมาย

อริยะ มี 4 ความหมาย

ไกลจากกิเลส
ไม่ดำเนินไปทางเสื่อม
ไปทางเจริญ
คนอื่นๆ ควรเดินตาม

เราเป็นรูป รูปของเรา

อุจเฉททิฏฐิ
อหํ รูปํ
อหํ เวทนา
อหํ สญฺญา
อหํ สังขารา
อหํ วิญฺญานํ

สัสสตทิฏฐิ
มม รูปํ
มม เวทนา
มม สญฺญา
มม สังขารา
มม วิญฺญานํ



ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน 
ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ

อริยานํ อทสฺสาวี 
ผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า

อริยธมฺมสฺส อโกวิโท 
ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรม

อริยธมฺเม อวินีโต 
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำให้ฝึกหัดในอริยธรรม

สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี 
ไม่ได้พบสัตบุรุษ (ผู้สงบระงับจากกิเลส)

สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท 
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ

สปฺปุริสธมฺเม อวินีโต 
ไม่ได้รับการแนะนำให้ฝึกหัดในธรรมของสัตบุรุษ
วินย = การฝึกหัดเพื่อขัดเกลากิเลส

เมื่อกายกระสับกระส่ายอยู่

อาตุรกายสฺส เม สโต จิตฺตํ อนาตุรํ ภวิสฺสตี

"เมื่อกายของเราเป็นสิ่งที่กระสับกระส่ายอยู่
จิตจักไม่กระสับกระส่าย"
เธอพึงศึกษาอย่างนี้

กระสับกระส่ายด้วยความยึดถือ
ด้วยกิเลส

บาลี

กิตฺตาวตา นุ โข (ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด)
น หิ (หรือไม่)

รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ย่อมเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน

รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนว่ามีรูป

อตฺตนิ วา รูปํ
ย่อมเห็นซึ่งรูปในตน

รูปรสมึง วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนในรูป

อหํ รูปํ มม รูปํ
เราเป็นรูป รูปของเรา


เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา เวทนํ
เวทนาย วา อตฺตานํ

อหํ เวทนา มม เวทนา

สญฺญํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สญฺญาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สญฺญํ 
สญฺญาย วา อตฺตานํ

อหํ สญฺญา มม สญฺญา

สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สงฺขารวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สงฺขาเร
สงฺขาเรสุ วา อตฺตานํ

อหํ สงฺขารา มม สงฺขารา

วิญฺญานํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
วิญฺญานวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา วิญฺญานํ 
วิญฺญานสมึ

อหํ วิญฺญานํ มม วิญฺญานํ 

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

อนิจฺจ

อนิจฺทสฺสาวี ไม่ได้เห็นเป็นประจำ ไม่ได้เห็นเนืองๆ

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

ตาเป็นที่ตั้งของสังโยชน์

อายตนะเป็นที่ตั้งของสังโยชน์
เมื่อทำงานอยู่ก็ต้องไปรับรู้เรื่องดีบ้างไม่ดีบ้าง

รับรู้เรื่องดี ก็อยากอยู่ต่อ
รับรู้เรื่องไม่ดี ก็อยากอยู่ต่อเหมือนกัน ... เพื่อแก้มัน 5555
คิดว่ามีเราแล้วจะแก้ได้
ความจริงไม่มีเราแก้ได้ง่ายกว่านะ หมดปัญหาไปตัวนึง 5555
คิดไปได้เรื่อยเปื่อย

ธรรมที่เป็นตัวช่วยว่า
ตาไปเห็นแล้วจะได้ไม่ผูกไว้
หูไปยินแล้วจะได้ไม่ผูกไว้ ฯ
ธรรมตัวนี้คือ โพชฌงค์

อันที่จริงหูกับเสียงนี่ไม่เกี่ยวข้องกัน
เสียงกับการรับรู้นี่ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน
เป็นเพียงธรรมะอย่างนึงที่เกิด
เกิดแล้วก็ดับ...

สิ่งที่มองเห็นเอาจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรานะ
ลูกก็ไม่เกี่ยวกับเรา
โดยธรรมดา ... มันไม่ได้เกี่ยวกัน
แค่สังโยชน์มันจับผูกเฉยๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สิ่งต่างๆ ในโลกก็อยู่ของมัน
ตาเราก็อยู่ของมัน
สิ่งภายในก็ไม่มีตัวตน
สิ่งภายนอกก็ไม่มีตัวตน
มากระทบกันแล้ว เป็นเหตุให้เกิดกิเลส

ถ้าไม่ต้องการให้อายตนะเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ต้องมีโพชฌงค์ ๗ จะได้ไม่ผูกกับโลก

7 อุบายละกิเลส


  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยทัสสนะ
    คือ ละด้วยมรรค
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการสังวร
    บางอย่างต้องใช้สำรวมตา หูเอา
    ไม่ไปติดในนิมิต อนุพยัญชนะ
    ไม่ต้องไปดูไปเห็นบ้าง หรือเห็นแล้วก็ต้องทำเป็นไม่เห็นบ้าง
    อย่าไปจริงจังกับมัน
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการใช้สอย
    ใช้สอยให้มันถูกต้อง เช่น พวกเงิน ปัจจัย 4
    ต้องใช้มัน และใช้ให้เป็น ก็จะละความยึดติดในสิ่งเหล่านี้ได้
    คือถ้าไม่มีเลยมันก็ต้องไปงมหาอยู่นั่นน่ะ
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการอดกลั้น
    พวกความลำบากที่จะเป็นเหตุให้อกุศล แดดร้อน หิว คนด่า
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการงดเว้น
    ไม่เข้าไปยุ่งเลย
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการบรรเทา
    ด้วยการไม่รับมันเข้ามา ค่อยๆ บรรเทา
    เช่น พวกความคิดต่างๆ กามวิตก พยาบาทวิตก
  • อาสวะบางอย่าง ต้องละด้วยการเจริญ
    ไม่ใช่เจริญอาสวะ แต่คือเจริญบางสิ่งให้มีขึ้น แล้วอาสวะมันจะถูกละไป
    ธรรมคู่ตรงข้ามนั่นเอง
    ปลูกต้นโพชฌงค์ ต้นนิวรณ์ก็มาขึ้นตรงนี้ไม่ได้

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง

ของเก่าก็สิ้นไป
(กรรมเก่าก็สิ้นไป)

อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจมันยังมี
ยังไม่เป็นผู้รู้
ผลของความไม่รู้อันนี้ก็ส่งผลมาได้
สังขารก็มาเรื่อย

ส่วนพระอรหันต์
ของเก่าก็สิ้นไป
ของใหม่ก็ไม่มี
ดับสนิทเหมือนประทีปนี้

แต่ละคนก็ต้องรับผิดชอบของของตน
ไม่ได้เกี่ยวกับใครหรอก

ที่รู้สึกว่าเกี่ยว เพราะตัณหาและสังโยชน์ไปผูกไว้
ตามจริงโดยธรรมชาติ
ไม่มีใครเกี่ยวกับใคร
ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย

ท่านพูดชัด
มีกรรมเป็นของๆ ตน
ไม่ใช่มีรถ มีบ้าน มีสามีเป็นของๆ ตน

แค่ความมีสติสัมปชัญญะ คอยวิจัยธรรมเนืองๆ
ท่านว่า เท่านี้แหละ เป็นไปเพื่อความ "สิ้นกรรม"
นี้เป็นความสำคัญของโพชฌงค์

โพชฌงค์นัยที่ 3 : เป็นเหตุให้วิชชา วิมุตติ นิพพาน

โพชฌงค์ที่เป็นเหตุให้วิชชา วิมุตติ นิพพาน
สังเกตจะมีคำสร้อยต่อท้าย

ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ ..ฯลฯ..อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โดยอิงอาศัยวิเวก
โดยอิงอาศัยวิราคะ
โดยอิงอาศัยนิโรธะ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง

คือนอกจากจะมีคุณธรรมต่างๆ ของโพชฌงค์แล้ว
ต้องนำมาพัฒนาให้ "โน้มเอียงไปทางนิพพาน"

ไม่ใช่มีสติแล้วใช้ชีวิตไปวันๆ
ต้อง อิงอาศัยวิเวก
คือการอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวเป็นอย่างยิ่ง นึกถึง คนเดียว ไว้เสมอ

ไม่ใช่มีสติปัญญาแล้วแล่นไปช่วยชาวโลก
คิดอย่างนี้ก็ยังโง่อยู่
ที่จริงเราเกิดมาก็มาคนเดียว เราไม่ได้เป็นของใคร  และใครก็ไม่ได้เป็นของเรา

สิ่งเดียวที่เป็นของเราคือ กรรม
มีกรรมเป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ก็ไม่ได้

ฉะนั้นมีสติมีปัญญาวิจัยธรรมแล้ว
มันต้องมาอิงอาศัยวิเวก คิดมาด้าน คนเดียว
ถ้ายังคิดถึงหลายคนนี้ยัง "กลับข้าง" อยู่ ถ้าจะไปนิพพาน

ฟังดูเห็นแก่ตัว
แต่การคิดมาด้านตนเองนี่แหละ
เป็นการช่วยตนเอง และช่วยคนอื่น

มาเห็นตนเอง เออยังกิเลสเยอะอยู่ จะขัดเกลายังไงได้บ้าง
การช่วยเหลือผู้อื่นตามเหมาะสม ก็เป็นการขัดเกลา
การพูดดีๆ ก็เป็นการขัดเกลา
การสัมพันธ์กับผู้อื่นมันก็จะดียิ่งขึ้น เพราะทำเพื่อขัดเกลาตน
คนรอบตัว อยู่ในฐานะอุปกรณ์ฝึก เพื่อขัดกิเลสตน
นี่เรียกว่า อิงอาศัยวิเวก

อยู่คนเดียวก็ไปฝึกๆๆๆ
ออกสังคมมาก็ขัดๆๆๆ
ทำนองนี้

อิงอาศัยวิราคะ
ก็คอยเช็คว่าแต่เดิมยึดติดเยอะ
มันก็จะต้องเป็นไปเพื่อคลายออก

อิงอาศัยนิโรธะ
คอยเช็คความห่วงใย อาลัยอาวรณ์ (ความไม่ดับสนิทในส่ิ่งต่างๆ)

และ น้อมเอียงไปเพื่อความปล่อยวาง
เราภาวนามีคุณธรรมต่างๆ
ก็ต้องให้มันเอียงไปทางนู้น
ไม่ใช่จับเอียงมาทางโลก

โพชฌงค์นัยนี้ท่านเน้นมาก
เป็นแบบ "เอียงข้าง" 
ไม่ใช่เป็นกลางนะ เอียงข้าง 5555

ธรรมะ เอาจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นกลางนะ
เอียงเสมอ !!!
เอียงไปนิพพาน

เอียงไป ก็จะเข้าใกล้นิพพานมากขึ้นเรื่อยๆ
สัมผัสนิพพานมากขึ้นเรื่อยๆ

โพชฌงค์นัยที่ 2 (โพชฌงค์ 14)



  1. สติสัมปชัญญะ ในธรรมภายในตน
    สติสัมปชัญญะ ในธรรมภายนอกตน
  2. ธัมมวิจัย ในธรรมภายในตน
    ธัมมวิจัย ในธรรมภายนอกตน
  3. วิริยะ ทางกาย
    วิริยะ ทางใจ
  4. ปีติ ที่มีวิตกวิจารณ์
    ปีติ ที่ไม่มีวิตกวิจารณ์
  5. ปัสสัทธิ ในกาย
    ปัสสัทธิ ในใจ
  6. สมาธิ ที่มีวิตกวิจารณ์
    สมาธิ ที่ไม่มีวิตกวิจารณ์
  7. อุเบกขา ในธรรมภายในตน
    อุเบกขา ในธรรมภายนอกตน

คนมี - ไม่มีโพชฌงค์

ลักษณะมีโพชฌงค์
ก็จะใช้ชีวิตตามความรู้
ไม่ใช่ใช้ชีวิตตามความรัก ความชัง หรือตามอคติ

รู้ตื่นเบิกบาน
ไม่หลับ ไม่หลง

พิจารณาภายในหรือภายนอก

สติในธรรมภายในตน
สติในธรรมภายนอกตน

ขยายความต่อมาจากสติปัฏฐาน
อันนี้เนื่องจากเป็นสติสัมโพชฌงค์แล้ว

ตอนฝึกใหม่ๆ ท่านให้ฝึกภายในก่อน
ถ้าฝึกเก่งแล้ว ก็ระลึกสภาวะคนอื่นได้
ระลึกในฐานะที่ว่า "มันเสมอกันโดยความเป็นธรรมะ"

ตัวเองเดินก็เป็นกาย
คนอื่นเดินก็เป็นกาย
ไม่ใช่คนเดินนะ

ตอนฝึกตอนต้นๆ 
เราก็ฝึกแค่ให้มีสติ ไม่หลงลืมกายใจตัวเอง
พอมีสติดีแล้ว...ก็ฝึกให้เห็นกายและใจว่าเป็นธรรมะ
สติอันหลังนี่แหละ ที่สังเกตเห็นความเป็นธรรม จึงจะเป็นสติสัมโพชฌงค์ได้

ฝึกจนมองตัวเอง ก็เป็นรูปเป็นนาม
มองคนอื่น ก็เป็นรูปเป็นนาม
มีสติในตนเอง มีสติในคนอื่น...ก็เหมือนกัน โดยความเป็นธรรมะ

ผู้เหมาะจะตรัสรู้

คนไหน "เหมาะ" จะตรัสรู้
ก็มาดูตามคุณสมบัติ 7 ประการนี้

ต้องเป็นคนมีสติสัมปชัญญะดี
มองอะไรก็เป็นธรรมะ
จิตใจเอิบอิ่มเป็นสุข
สงบระงับอยู่ภายใน
ตั้งมั่น
เฉย

ประมาณนี้...
ไม่ได้เอาไปดูใครนะ เอามาดูตัวนั่นล่ะ

ไม่ใช่เฉยแบบไม่รู้อะไรเลย อันนั้นอีกยาว
ไม่ใช่เฉยอย่างเดียวนะ ต้องมี 7 อันเลย

โพชฌงค์นี่คือคุณสมบัติที่ "เหมาะ" จะตรัสรู้
แต่ยังไม่ตรัสรู้ ถ้าตรัสรู้ต้องมรรคมีองค์ 8

อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดี
ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น
เรียก อุเบกขาสัมโพชฌงค์

เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิดี
มันก็ไม่รัก ไม่ชัง ไม่แทรกแซง ไม่จัดการจัดแจง อย่างนั้นอย่างนี้
มันก็มีสติตั้งมั่น
มีปัญญาสอดส่องดู
มันก็ไม่เข้าไปแทรกแซงเพราะมันตั้งมั่นดี

มันทำดีแล้ว ... มันทำดีแล้ว...โอเค
ไม่ใช่วางเฉยแบบไม่สนใจ
แต่วางเฉยแบบ "ดูอยู่" เฉยๆ ดูอยู่ห่างๆ เพราะมันทำดีแล้ว
หรือดูอยู่แบบพร้อมจะจัดการเมื่อมันขาดตกบกพร่อง

ถ้าสติมันน้อย ก็จัดการมันหน่อย
แต่ถ้า 1-6 องค์ข้างต้นมันดีมาแล้ว  ได้จิตตั้งมั่นแล้ว
มันก็เป็นผู้วางเฉย ดูอยู่ด้วยดี

เรียกว่า วางเฉยเฉพาะในจิตที่เป็นสมาธิ คอยดูอยู่
ถ้ายังไม่ถึงสมาธิก็...จัดการมันหน่อย ปรับนี่นั่นนู่น
แต่พอจิตเป็นสมาธิตั้งมั่นดี มันก็เฉยๆ

เหมือนขับรถ
พอมันเป็นทางตรง ขับพอดีแล้ว ก็ขับไป
ไม่ได้เลิกขับนะ ขับอยู่อย่างนั้นแหละ
ทีนี้พอมันมีหลุมมีอะไร ก็หลบซะหน่อย
แบบนี้เรียก อุเบกขา คือวางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่มีความตั้งมั่น

ปีติ-ปัสสัทธิ-สมาธิสัมโพชฌงค์

เมื่อมีสติสัมปชัญญะ
เมื่อมีธรรมวิจัย
เมื่อมีความเพียรกระทำไปข้างหน้า

ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร

ปีติสัมโพชฌงค์ไม่ใช่ปีติธรรมดา
เป็นปีติที่ปราศจากอามิส
คำแปลคือ ปีติที่ไม่ต้องอาศัยแรงกระตุ้น
คือไม่ใช่ต้องรอลูกรับปริญญา หรือรอหุ้นขึ้น ค่อยมาเอิบอิ่มเบิกบานสักทีนึง

ปีติพวกนี้มันมาจาก
มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้ และได้ทำความเพียรในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม

แค่การทำถูกเท่านั้นล่ะ
ง่วงนอน แต่ไม่ยอมนอนตามมัน
ก็ปลาบปลื้มใจที่มันทำอย่างนี้ได้

เคยโกรธ แต่เดิมก็ของขึ้น
คราวนี้มีสติสัมปชัญญะ วิจัยลงไปเลย
ดูความไม่มีประโยชน์ของมัน ก็อดทนทำ
เมื่อมองย้อนกลับไป ปีติอันปราศจากอามิสมันจะเกิด

จะรู้สึกเหมือนทำสิ่งที่สมกับเป็นลูกพระพุทธเจ้า
หรือกินเนื้อหนังชาวบ้าน (หมูเห็ดเป็ดไก่) มาหลายครั้ง
คุ้มค่ากับที่เขาเสียสละให้เรามาหน่อย
เป็นความรู้สึกว่า มันคุ้มนะ พ่อแม่อุตส่าห์คลอดมา เราได้ทำอะไรที่มันขัดเกลากิเลส
ท่านก็ได้บุญไปกับเรา
แม้จะไม่ได้มีเงินมีทองไปตอบแทน แต่เขาจะรู้สึกว่ามันคุ้มละที่ดูแลมา

เป็นความรู้สึกภูมิใจ เอิบอิ่มขึ้นมา
เกิดมาชาตินึง เออ...ได้เดินหน้าเลยไปจากเดิมแล้ว
ถ้าระดับเดิมคือ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ คุ้มดีคุ้มร้ายตามชอบชัง
---

สังเกต
โพชฌงค์ตัวหลังๆ จะเป็นผลมาจากโพชฌงค์อันแรกๆ

กายของภิกษุผู้มีใจปีติ
ย่อมสงบระงับ
เรียก ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

พอมีปีติสัมโพชฌงค์
มันก็จะไม่ค่อยเอนไปทางโลก
ก็จะเอนมาทางขัดกิเลสยิ่งๆ ขึ้น

ใช้ชีวิตให้มันเหมาะสมยิ่งๆ ขึ้น
มันก็จะสงบระงับ
กายก็ระงับ จิตก็ระงับ
---

จิตของผู้มีกายสงบ
ย่อมตั้งมั่น ปลอดโปร่ง โล่งสบาย
เรียก สมาธิสัมโพชฌงค์

วิริยสัมโพชฌงค์

ความเพียร ความไม่ย่อท้อ
อันภิกษุผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมะนั้นด้วยปัญญา ได้ปรารภแล้ว

วิริยะเป็นความฮึกเหิม ไม่ย่อท้อ
ใส่ใจที่จะทำเรื่องนี้เสมอ

ส่วนใหญ่พวกเราไม่ค่อยกล้า
คอยจะหวงนิสัยเก่า
แต่นิสัยเก่านี่มันทำให้ลำบาก

มันก็ต้องอาศัยความกล้าหาญ
กล้าที่จะทำอะไรใหม่ๆ ที่มันดี (ไม่ใช่กล้าสะเปะสะปะ)

ธัมมวิจจยสัมโพชฌงค์

สติจับเอาไว้ แล้ว...
วิจัย ทบทวน สอบสวน เลือกสรร ธรรมะนั้นด้วยปัญญา
เรียกอีกอย่างคือ เจริญวิปัสสนานั่นเอง

สตินี่ฝึกเอาไว้ให้อยู่กับตัว ให้มีความตั้งมั่น และประกอบด้วยปัญญา

สติสัมโพชฌงค์

เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง
ก็คือสติและสัมปชัญญะนั่นแล

ประสงค์จะตรัสรู้
สติต้องมีก่อน ไม่มีสติไม่ต้องพูดถึง
และต้องเป็นสติที่ถูกต้องด้วย

ในสติสัมโพชฌงค์ เน้นสติที่ประกอบไปด้วยปัญญา
ตามรู้กายในกาย ฯ อยู่เสมอ

ความรู้ตัว เป็นสัมปชัญญะ
ปัญญานี่ถ้าเกิดจะมีสติประกอบเสมอ จึงพูดมาทีส่ัมปชัญญะเลย
แต่มีสติ อาจจะไม่มีปัญญาก็ได้
เช่น พวกกรรมฐานภายนอก ได้สติ แต่ไม่ประกอบปัญญา

สติที่จะทำลายกิเลสจะต้องมีกำลัง
สติที่มีกำลังจะต้องมีปัญญา (อันยิ่ง) ประกอบจึงจะมีกำลัง (ทำลายกิเลส)
เหมือนอำมาตย์ยืนอุ้มราชกุมาร มีกำลังกว่าอำมาตย์ยืนเดี่ยวๆ

ปัญญาอันยิ่ง รู้ควรไม่ควร
และเป็นควรไม่ควรจริงๆ ไม่ใช่คิดเอาเอง
ต้องไปเช็คกับคำพระพุทธเจ้าดีๆ
อะไรมีโทษรู้ตามท่านมั้ย ไม่ใช่ว่าเอาเอง

เราไปทำนี้ด้วยวัตถุประสงค์อะไร
ทำไปด้วยกิเลสหรือเปล่า

คำที่พูดนี่พูดด้วยจิตยังไงจึงพูดไป
แล้วมันดับไปได้ยังไง
พวกนี้ถ้าสติไม่ดีจะนึกไม่ค่อยได้


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

โมหะ

โมหะย่อมเกิดเพราะการไม่พิจารณา

ไม่อยากฟุ้งซ่านทำไง

ไม่อยากฟุ้งซ่านก็หลับไง
ไม่อยากหลับก็ฟุ้งซ่านไง

ถ้าไม่มีสติก็ทำได้เท่านี้....

เพราะลักษณะของจิตมีอยู่ 2 อันนี่แหละ ไม่หดหู่ ก็ฟุ้งกระจาย
ทำไมโพชฌงค์มี 7
ก็เพราะมี 7 นั่นแหละ มีเท่านั้นท่านก็ตรัสเท่านั้น
โพชฌงค์มันเป็นเรื่องของการปรับจิต หดหู่/ฟุ้งซ่าน


กำลัง คือละกิเลส

โพชฌงค์นั้นตรงข้ามกับนิวรณ์
ฝึกสติให้เป็นสติสัมโพชฌงค์
หมั่นรู้ตัวอยู่เสมอ ทุกอิริยาบถ มันก็จะกันนิวรณ์ได้

นิวรณ์เครื่องกางกั้น
เป็นเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา

ส่วนโพชฌงค์ เป็นความสะอาด ไม่เศร้าหมอง
บุคคลเจริญมาก ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งวิชชา/วิมุตติ

สติที่ต่อเนื่องก็จะรวมจิตเข้ามาได้

สมัยใดอริยสาวก ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้นนิวรณ์ 5 ประการ ย่อมไม่มีแก่เธอ

การรวมจิตนี้ก็สำคัญ มันคือสมาธินั่นเอง

สมาธินั้นจะมาได้ก็ต่อเมื่อสติมันมีกำลังมากต่อเนื่อง
สติจะมีกำลัง ก็ต้องอาศัยปัญญา

สตินี่อาจจะมีเยอะ แต่ไม่มีกำลังก็ได้นะ
สติที่เป็นสติสัมโพชฌงค์นี่ หมายเอาสติที่เฉพาะในบางประเด็นเท่านั้น
เรียกว่ามันต้องเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่งถึงจะมีกำลัง

กำลังที่ว่า นี่หมายถึง "เกี่ยวข้องกับการละกิเลส"
ไม่ใช่ว่า เก่ง แข็งทื่อ แต่ละกิเลสไม่ได้สักอย่าง

ฉะนั้น มีปัญญามากน้อยไม่เกี่ยว
อยู่ที่ว่าละกิเลสได้หรือเปล่า
ไม่ใช่ถามไรรู้หมด กิเลสเพียบ ... แบบนี้เรียกว่าไม่เก่ง ไม่มีกำลัง

สังเกต สติปัฏฐาน เริ่มด้วย "มีความเพียร..."
อันนั้นเป็นตอนต้น
แต่โพชฌงค์ พวกจะบรรลุแล้ว เริ่มด้วย "สติ..."
พอสติมารวมแล้วปัญญาก็วิจัยธรรม

โพธิ ปัญญาตรัสรู้

โพธิ เป็นชื่อของปัญญา ไม่ใช่ปัญญาทั่วไป แบบรู้รูปนาม รู้ไตรลักษณ์ อันนี้ปัญญาทั่วไป

ปัญญาโพธิ มีลักษณะคือ

  1. มันละกิเลสได้ (รู้หมดแต่ละไม่ได้นี่ยังไม่ใช่ปัญญาตรัสรู้)
  2. รู้สิ่งที่ควรรู้อย่างแจ่มแจ้ง
    คืออริยสัจนั่นเอง
    รู้ทุกข์โดยความเป็นทุกข์ รู้สมุทัยโดยความเป็นสมุทัย
    รู้นิโรธโดยความเป็นนิโรธ รู้มรรคโดยความเป็นมรรค
  3. นำไปสู่นิพพาน

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

สติปัฏฐาน สตินทรีย์ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ

แรกๆ ยังไม่มีสติ
มาฝึกสติปัฏฐาน 4
พอฝึกไปได้สักหน่อย เริ่มสติเริ่มมีกำลัง
สามารถนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด อันนี้เรียก สตินทรีย์ (จะไม่เรียกสติปัฏฐานละ)
คือรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักรักษาเนื้อรักษาตัว

ถ้าสามารถตั้งมั่นแน่วแน่ วิจัยธรรมได้
ก็เรียกสติสัมโพชฌงค์

พอมากขึ้นจนสตินี้ไปรวมกับอันอื่นๆ ทำลายฝ่ายตรงข้าม (ความประมาท) ได้
เรียก สัมมาสติ

ตอนสติปัฏฐาน 4 นี่ยังทำลายกิเลสไม่ได้
ความประมาทยังเข้ามา

อิทธิบาท VS สมาธินทรีย์

ตอนเจริญอิทธิบาทนั้นอาจจะได้สมาธิ...หรือไม่ได้
คืออิทธิบาทนี่เป็นสมาธิตอนต้น
แจกแจงว่าการทำสมาธินี่มายังไงได้บ้าง

สมาธินทรีย์ อินทรีย์นี่คือ ตอนที่มันเป็นใหญ่
ต่อเมื่อมันมีกำลังแล้วจึงเรียกว่าเป็นอินทรีย์

สัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ สัมมาวายามะ

สัมมาวายามะ
องค์ธรรมมันก็อันเดียวกับสัมมัปปธาน
แต่ตอนเรียกสัมมัปปธานนี่คือเน้นไปที่การทำความเพียร
สัมมัปปธานพูดถึงการทำความเพียร ยังไม่มีกำลัง
เมื่อมันมีกำลังสมบูรณ์แบบแล้ว ไปทำลายฝ่ายตรงข้ามได้
ก็จะไม่เรียกสัมมัปปธาน ไม่เรียกวิริยินทรีย์
เรียก สัมมาวายามะ

ถ้าเป็นสัมมัปปธานนี่ยังละฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ ไม่มีกำลังพอ
ทำๆ ไปเริ่มมีกำลังไปในทางตรัสรู้ เรียกอินทรีย์ มันเริ่มทำหน้าที่ เริ่มสู้ได้บ้าง
ตอนแรกที่มันยังไม่ทำหน้าที่ เราก็ต้องทำแทนมัน เรียก สัมมัปปธาน
ต่อมาเมื่อมันเต็มที่แล้ว จนสามารถละฝ่ายตรงข้ามได้ ฝ่ายตรงข้ามทำอะไรไม่ได้เลย เป็นดวงไฟใหญ่เผาฝ่ายตรงข้ามสิ้นซากไปเลย นี่เรียกสัมมาวายามะ

เอานิพพานเป็นอารมณ์?

สมาธินทรีย์
สมาธิที่เอานิพพานเป็นมุ่งหมาย หรือเอานิพพานเป็นอารมณ์เรียก สมาธินทรีย์
สมาธินี่บางคนฝึกเพื่อสงบ บางคนฝึกเพื่อเป็นพรหม เพื่อฤทธิ์
มันจะคนละอารมณ์กับ ฝึกเพื่อพ้นทุกข์ เพื่อนิพพาน

จะเอานิพพานเป็นอารมณ์ มันก็ขึ้นกับว่ารู้จักนิพพานขนาดไหน
นิพพานเอาจริงๆ คือวิสังขาร

ทีนี้สำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมันก็จะไม่รู้
ก็จะเป็นการเอาบางลักษณะของนิพพานมาเป็นอารมณ์
เช่น ไม่มีตัณหาบ้าง สงบเย็นบ้าง สิ้นราคะโทสะโมหะบ้าง
แล้วก็ฝึกสมาธิ

เมื่อเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นอารมณ์
แล้วได้เอกัคคตาจิต
สมาธิอันนี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

อินทรีย์ 5 4 3 2 1

การกล่าวอินทรีย์ในแบบอื่นๆ

อินทรีย์อาจไม่กล่าวครบ 5 ก็ได้
ก็ถือว่าปฏิบัติครบ
พยากรณ์อรหัตผลได้

อินทรีย์ 4
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ 3
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ 2
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ 1
ปัญญินทรีย์

เหตุผลที่ต้องเพียรละกิเลส

เหตุที่ต้องเพียรละกิเลส
ไม่ใช่เพื่อให้กิเลสหมดนะ
แต่เพื่อให้มันมีความเพียร

การละกิเลสได้ไม่ได้เป็นอีกเรื่องนึง
อันนั้นต้องใช้มรรคมีองค์ 8
แต่ความเพียรนี้เป็นองค์ประกอบนึงของมรรค

เหมือนเดินมรรคเพื่อให้มันได้เดิน
มันถึงมันก็ถึง
มันไม่ถึงมันก็ไม่ถึง
แต่ให้มันได้เดิน

เพียรก็เพียงเพื่อให้ได้เพียร

บาปที่เกิดแล้วก็ละเสีย

กิเลสมันจะมากับความคิดที่ไม่มีสติคุม
พอมันมาแล้วทำไง
ก็อย่าไปจมกับมัน

พอจมแล้วจะเคยชิน
เคยชินจะเสียดายกิเลส

เสียดายนิสัยไม่ดี
เช่น ความขี้เกียจ เสียดายเวลานอน

ชอบว่าคนอื่นไว้ก่อน เขาจะได้ไม่ยุ่งกับเรา

นิสัยพวกนี้ไม่ดี ควรทิ้ง
แต่ดันรู้สึกเสียดาย เพราะมันเคยชิน
กิเลสมันโม้ ไม่ต้องไปฟัง

บาปที่ยังไม่เกิดอย่าให้เกิด

เทคนิคคือสำรวมอินทรีย์ไว้
ถ้ายังไม่มีอะไรจะทำอย่าไปหาเรื่อง
กิเลสมันจะมากับเรื่องที่แส่ไปหานี่แหละ

ลุกขึ้นทำความเพียรซะ
อย่าปล่อยใจนั่งคิดไปเรื่อย มันจะหลง

ว่างละก็มาพิจารณา ป้องกันกิเลสไว้