วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

กำลัง คือละกิเลส

โพชฌงค์นั้นตรงข้ามกับนิวรณ์
ฝึกสติให้เป็นสติสัมโพชฌงค์
หมั่นรู้ตัวอยู่เสมอ ทุกอิริยาบถ มันก็จะกันนิวรณ์ได้

นิวรณ์เครื่องกางกั้น
เป็นเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา

ส่วนโพชฌงค์ เป็นความสะอาด ไม่เศร้าหมอง
บุคคลเจริญมาก ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งวิชชา/วิมุตติ

สติที่ต่อเนื่องก็จะรวมจิตเข้ามาได้

สมัยใดอริยสาวก ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้นนิวรณ์ 5 ประการ ย่อมไม่มีแก่เธอ

การรวมจิตนี้ก็สำคัญ มันคือสมาธินั่นเอง

สมาธินั้นจะมาได้ก็ต่อเมื่อสติมันมีกำลังมากต่อเนื่อง
สติจะมีกำลัง ก็ต้องอาศัยปัญญา

สตินี่อาจจะมีเยอะ แต่ไม่มีกำลังก็ได้นะ
สติที่เป็นสติสัมโพชฌงค์นี่ หมายเอาสติที่เฉพาะในบางประเด็นเท่านั้น
เรียกว่ามันต้องเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่งถึงจะมีกำลัง

กำลังที่ว่า นี่หมายถึง "เกี่ยวข้องกับการละกิเลส"
ไม่ใช่ว่า เก่ง แข็งทื่อ แต่ละกิเลสไม่ได้สักอย่าง

ฉะนั้น มีปัญญามากน้อยไม่เกี่ยว
อยู่ที่ว่าละกิเลสได้หรือเปล่า
ไม่ใช่ถามไรรู้หมด กิเลสเพียบ ... แบบนี้เรียกว่าไม่เก่ง ไม่มีกำลัง

สังเกต สติปัฏฐาน เริ่มด้วย "มีความเพียร..."
อันนั้นเป็นตอนต้น
แต่โพชฌงค์ พวกจะบรรลุแล้ว เริ่มด้วย "สติ..."
พอสติมารวมแล้วปัญญาก็วิจัยธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น