วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

สติสัมโพชฌงค์

เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง
ก็คือสติและสัมปชัญญะนั่นแล

ประสงค์จะตรัสรู้
สติต้องมีก่อน ไม่มีสติไม่ต้องพูดถึง
และต้องเป็นสติที่ถูกต้องด้วย

ในสติสัมโพชฌงค์ เน้นสติที่ประกอบไปด้วยปัญญา
ตามรู้กายในกาย ฯ อยู่เสมอ

ความรู้ตัว เป็นสัมปชัญญะ
ปัญญานี่ถ้าเกิดจะมีสติประกอบเสมอ จึงพูดมาทีส่ัมปชัญญะเลย
แต่มีสติ อาจจะไม่มีปัญญาก็ได้
เช่น พวกกรรมฐานภายนอก ได้สติ แต่ไม่ประกอบปัญญา

สติที่จะทำลายกิเลสจะต้องมีกำลัง
สติที่มีกำลังจะต้องมีปัญญา (อันยิ่ง) ประกอบจึงจะมีกำลัง (ทำลายกิเลส)
เหมือนอำมาตย์ยืนอุ้มราชกุมาร มีกำลังกว่าอำมาตย์ยืนเดี่ยวๆ

ปัญญาอันยิ่ง รู้ควรไม่ควร
และเป็นควรไม่ควรจริงๆ ไม่ใช่คิดเอาเอง
ต้องไปเช็คกับคำพระพุทธเจ้าดีๆ
อะไรมีโทษรู้ตามท่านมั้ย ไม่ใช่ว่าเอาเอง

เราไปทำนี้ด้วยวัตถุประสงค์อะไร
ทำไปด้วยกิเลสหรือเปล่า

คำที่พูดนี่พูดด้วยจิตยังไงจึงพูดไป
แล้วมันดับไปได้ยังไง
พวกนี้ถ้าสติไม่ดีจะนึกไม่ค่อยได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น