วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ชรา

ชรา มีสองอย่าง

  • สงฺขตลกฺขณฺจ, 
  • ขณฺฑิจฺจาทิสมฺมโต สนฺตติยํ เอกภวปริยาปนฺนขนฺธปุราณภาโว จ
    (ภาวะความเก่าลงของขันธ์ ที่นับเนื่องในภพหนึ่งๆ ที่ต่อเนื่องกัน) คือจะต้องเป็นขันธ์ชุดเดียวกัน (ไม่ใช่ขันธ์เดียวกัน) ที่ต่อเนื่อง ที่สืบต่อกันไปเรื่อยๆ โดยมีอาการสมมติเรียกกัน
ชราในอริยสัจ หมายเอา อันที่ 2 ยาวๆ นี่แหละ 
ไม่ได้หมายถึง สังขตลักษณะ (เกิดขึ้น แล้วแปรปรวน)
อันนี้เป็นชราของสังขาร ไม่ได้หมายเอาในอริยสัจ

ขณฺฑิจฺจาทิสมฺมโต สนฺตติยํ เอกภวปริยาปนฺนขนฺธปุราณภาโว จ

  • ภาวะความเก่าลงของขันธ์ ที่นับเนื่องในภพหนึ่งๆ ที่ต่อเนื่องกัน คือจะต้องเป็นขันธ์ชุดเดียวกัน (ไม่ใช่ขันธ์เดียวกัน) ที่ต่อเนื่อง ที่สืบต่อกันไปเรื่อยๆ โดยมีอาการสมมติเรียกกันว่า ขณฺฑิจฺจ (ผมหงอก)
  • ขันธ์โบราณ
ลักขณาทิจตุกะ
  • ขนฺธปริปากลกฺขณา  ชรา มีความแก่ของขันธ์เป็นลักษณะ
  • มรณูปนยนรสา มีกิจหน้าที่คือนำไปสู่มรณะ?
  • โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺานา อาการปรากฏคือความเป็นหนุ่มสาวพินาศไป
ความหมายคือ ถ้ายังหนุ่มสาว ยังไม่ใช่ชราในอริยสัจ
บางคนไปอธิบาย เด็กก็ยังมีชราอยู่ในนั้น (อันนี้มันสังขตลักษณะ)

ทำไมชราจึงเป็นทุกข์
  • ทุกฺขา สงฺขารทุกฺขภาวโต เจว ทุกฺขวตฺถุโต จ
  • เป็นทุกข์โดยตัวมันเองด้วย และเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ด้วย
  • (อันนี้ต่างจากเกิด เพราะเกิดเป็นที่ตั้งเฉยๆ)

ชาติ (ความหมายของชาติ)

ความหมายของชาติ ตาม ชาติปิ ทุกขา

ถ้าพูดแบบปริยาย คือเอากำเนิดมาเกี่ยวข้อง


  • ถ้าเป็นคัพพเสยยกสัตว์ (สัตว์ที่เกิดจากท้องแม่) นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงออกจากท้องแม่
  • ถ้าเป็นกำเนิดอื่น เอาตอนปฏิสนธิขันธ์ 


ชาติ ถ้าเอาตามนิปปริยาย โดยตรง ในวิสุทธิมรรคท่านขยายไว้แบบนี้ คือ
ปฐมปาตุภาโว การปรากฏขึ้นครั้งแรกของสัตว์นั้นๆ
การได้อายตนะครบ

อธิบายตามลักขณาทิจตุกะ
- ชาติ มีลักษณะเกิดขึ้นครั้งแรกในภพนั้นๆ เหมือนโผล่ขึ้นมาจากภพอดีต

ทำไมชาติจึงเป็นทุกข์

  • เพราะภาวะที่เป็นที่ตั้ง เป็นแหล่งกำเนิด เป็นที่ก่อเกิด ที่ตั้งของทุกข์เป็นเอนกประการ


ดังนั้น ก็จะคนละแบบกับที่อภิธรรมอธิบาย
เช่นว่า สภาวะมันเกิดมันดับ ก็จะผิดไป

หรือที่ยุคหลังใช้คำ "พอเกิดตัวตนขึ้นมา ก็เรียกว่าเกิดหนึ่งชาติ" อันนี้ก็เท่ากับผิดไป


ทำไมเรียงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์
มาก่อนเพื่อให้เกิดความสังเวช (ปัญญา + โอตตัปปะ)
แก่สัตว์ท.ผู้ที่ติดรสชาติความสุขในภพ

สมุทัย
ถัดมาเพื่อแสดงว่าทุกข์นั้น ก็ไม่ได้มีพระอิศวรเป็นต้น เป็นผู้กระทำ
ไม่ได้มีผู้สั่งการ ดลบันดาลอะไรต่างๆ
แต่มาจากตัณหา

นิโรธ
เพื่อให้เกิดความเบาใจสบายใจ แก่สัตว์ท.ที่ถูกความทุกข์ทับเอาไว้
และแสวงหาทางที่จะออกจากความทุกข์นั้น
อสฺสาสชนลตฺถํ (ไม่รู้สะกดถูกมั้ย)
อัสสาสะ = เฮ่อ โล่ง ออกจากทุกข์ได้

มรรค
เพื่อประโยชน์ให้รู้ว่านี่เป็นทางให้ถึงนิโรธ

ขันธ์ที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดรู้ จึงเป็นอารมณ์ของอุปาทาน

คำอธิบายของอุปาทานขันธ์ 5

ขันธ์ที่ได้มาจากอุปาทานอดีต และเป็นอารมณ์ของอุปาทานปัจจุบัน

พูดอีกอย่างคือขันธ์ที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดรู้ จึงเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้

เรียกว่า อุปาทานขันธ์ห้า

อุปาทานสี่ไปยึดขันธ์ที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดรู้

พระอรหันต์กำหนดรู้ขันธ์หมดแล้ว จึงไม่มีที่ตั้งแห่งอุปาทาน แต่ยังมีขันธ์อยู่

---
NbN impression

ฟังแว่บแรกก็จะเซ็งว่า ทำไมท่านไม่ว่าอุปาทานเป็นทุกข์ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย?
ยอกย้อนวกวนทำไม

ทีนี้ถ้าแปลอุปาทานขันธ์ ว่าขันธ์ที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดรู้
ก็จะพอได้เค้ามาว่า

อุปาทาน (กิเลส) มันไม่ได้มีตลอดเวลา
ถ้าว่าให้อุปาทานเป็นทุกข์ ก็เหมือนไม่มีหน้าที่ตลอดเวลา
มีหน้าที่เฉพาะตอนมีอุปาทาน แบบนี้พวกเข้าฌานก็จะประมาทไป

แต่ถ้าขันธ์เนี่ยมันตั้งอยู่ทนโท่
เมื่อไรที่ไม่ได้ไม่กำหนดรู้
เมื่อนั้นคือไม่รู้ทุกข์ (มันคือไม่ทำเหตุแห่งการพ้นทุกข์) สมุทัยจึงละไม่ได้
และยังถือว่ามีเหตุแห่งทุกข์ (และทุกข์) อยู่ตราบนั้น เพราะการรู้มันยังไม่ "สมบูรณ์"

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ปหานะ

ในทางบาลี แปลว่า ทำให้มันหมดเหตุ

ธรรมควรละ - สมุทัย
เหตุของสมุทัย คือ การไม่รู้ทุกข์
การไม่รู้ทุกข์ ย่อมก่อสมุทัย และก่อทุกข์

ทุกข์เป็นของเกิดดับ จึงยึดไม่ได้
สมุทัยเป็นของเกิดดับ จึงละไม่ได้
ควรละ คือ ควรละความเห็นผิดในสมุทัย 

ให้รู้ว่าเป็นของควรละ แต่ไม่ต้องละมัน

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ตัณหาอยากกินก๋วยเตี๋ยว

อยากกินก๋วยเตี๋ยว ~~~

ความอยากเกิดขึ้นมาละ
กำหนดว่าไม่เที่ยง

จากนั้นก็อดทน ดูว่ามันจะต้องดับไป
จะดับจิงอ่ะ?
จริงสิ
เราแค่อยู่เป็นพยานการดับไปของมัน

มัดมือมัดเท้าไว้อย่าเพิ่งไปกิน
นี่ก็เป็นการประกอบความเพียร
ความเพียรในการรู้ชัดว่านี่คือทุกขสมุทัย
รู้ชัดคือต้องเห็นว่ามันดับ

เบื้องแรกชี้ก่อน นี่เป็นเหตุเกิดทุกข์
ถัดมาก็ต้องชี้ได้ว่า นี่เป็นของที่ต้องดับไป

คือถ้าไปทำตามมันเลยนี่จะไม่เห็นว่ามันดับไป อันนี้จะรู้ไม่ชัด
ถ้างั้นคือเราปฏิบัติไม่ถูกต่อตัณหา

ต้องอยู่เป็นพยานว่ามันดับไป จึงจะชัดเจน

ไปกินก๋วยเตี่ยวไปนิพพานได้มั้ย?
มันไม่เกี่ยวกับก๋วยเตี๋ยว
แต่การไปทำตามตัณหามันไปนิพพานไม่ได้ !

ระหว่างก๋วยเตี๋ยวกับนิพพานเลือกอะไร?
เสียดายก๋วยเตี๋ยว?
ไม่เกี่ยวกะก๋วยเตี๋ยว ไว้หายอยากค่อยไปกินก็ได้ แต่ตอนอยากอยู่เนี่ยถ้าไปกินจะไม่เห็นตัณหาดับไป

ก็ดูว่าตัณหา ขนาดแค่เกิดในใจยังสร้างทุกข์ขนาดนี้
ถ้ามันเกิดไปสร้างรูปใหม่มาจะทุกข์ขนาดไหน

ดูความเร่าร้อนในใจ ให้รู้ว่านี้เป็นเหตุเกิดทุกข์
และให้รู้ว่านี้เป็นของที่ต้องหมดไป
ดูดีๆ ตอนมันหาย "วับ" ไป
ความทุกข์ในใจที่กระวนกระวายหายไปด้วย
ก็จะรู้จักความดับทุกข์ เพราะตัณหาดับ

ไม่ใช่ฟังเพลงไปด้วย สักพัก อ้าว หายแล้ว อันนี้ไม่เห็นดับ จะเห็นไม่ครบสัจจะ

ถ้าชำนาญแป๊บเดียวก็ดับ
ถ้าไม่ชำนาญ 5-10 นาทีถึงจะดับ

แต่มันยากนะ !!
หน้าที่เราไม่เกี่ยวกับยากง่าย หน้าที่เราคือเจริญมรรคให้มั่นคง เยอะๆ เข้าไว้
ชัดเจนในมรรคไว้

#อดทนเป็นพยาน เพื่อรู้ชัดว่ามันไม่เที่ยง

2255 ตอบปัญหา

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

โคลงทุกข์สี่สุภาพ ๒

Cr. รังสิมันต์
รูป..ปานสมบัติใบ้                 ชอบ-ชัง
รส..ซ่านหวานว่ายัง               เจื่อนได้
กลิ่น..หอมย่อมกำลัง              จางกลิ่น
เสียง..สื่อสรรพสิ่งไร้               สิ่งรั้งยั่งยืน

หลง.. ลักษณ์ ลวง เล่ห์ ลิ้น หลากล้วนหลอกหลอน

Cr. ฉัตรปกรณ์
เกิดมารับทุกข์แล้ว                รู้ยัง                                          
มัวแต่หลงวัฏฏัง                   แต่งต้อง                                    
ทุกข์เกิดแต่กายัง                  แรกเริ่ม                                    
เราอาจลืมทุกข์พ้อง               แรกร้องอุแว

Cr. ธนพร
ใจเจ็บกายย่อมสิ้น                เรี่ยวแรง
มืดบอดก่อกาแพง                 ปิดกั้น
ระทมไม่ชี้แจง                     ว่างเปล่า
ถึงผิดยังดื้อรั้น                     ไม่รู้ตักเตือน

เหมือนจับหินเหล็กร้อน           บีบกำ
เจ็บปวดเพราะตนทำ             เหนี่ยวไว้
สุขทุกข์เราเลือกจำ                ลิขิต
ปล่อยทุกข์ที่ถือไว้                 ย่างข้ามผ่านไป

Cr. คนเขียนค่าว เมากะโลง
ทุกข์คือหนึ่งเพื่อนแท้....เกิดมา
ทุกข์ยิ่งสิ่งธรรมดา........คู่แท้
เรียนรู้ทุกข์ทุกเวลา.......ค่ายิ่ง
ทุกข์ห่างเพียงรู้แก้........เหตุนั้นทุกข์มี
Cr. ทันย่า วิลล่า
๏ ปลายสายของสุขแล้                 แลทุกข์
ปลายหนึ่งสนานสนุก                   เหนี่ยวรั้ง
อีกปลายอาจแปรสุข                    เปลี่ยนสิ่ง สลับนา
กลายโศกกำสรดครั้ง                    ผิดพลั้งไผลเผลอ ๚

๏ เจอทุกข์รู้ทุกข์ไว้                      สังวร
ให้ทุกข์เป็นครูสอน                      สั่งไซร้
หาคำตอบตัดตอน                        เริ่มแต่ จิตเฮย
พรากสุขพบทุกข์ไร้                      มนัสรู้อาตม์มนา ๚

๏ สาวหาสาเหตุต้น                     ปลายสาย
ถือมั่นอยู่มากมาย                        หม่นไหม้
วางลงจึ่งคลี่คลาย                        ขันธ์นี่ เปล่านอ

หมดทุกข์หมดโศกได้                    ละถ้วนอุปาทาน ๚ะ๛

โคลงทุกข์สี่สุภาพ ๑

ผูกหนึ่ง     ความสุข

ชุดโคลงถูกผูกขึ้น                  มาสาม
ความสุข ความทุกข์ ความ-       ว่างไว้
อิงแนวอัตถ์ลงตาม                 สัตถุ-   ศาสน์แฮ
ถูกอรรถผิดพยัญชน์ไท้            อ่านแล้วจงลืม

ยอจิตอภิวาทน้อม                 พุทธองค์
นมัสวรธรรมทรง                  ตรัสรู้
นมามิพระสงฆ์                    พหูสูต
จงนิวรณ์อย่าสู้                    อุดอั้นปัญญา
    
ตถาคตภาษิตชี้                    เวทนา
สุข ทุกข์ อุเบกขา                 หนึ่งนั้น
จักบังเกิดทุกครา                  ผัสสะ
เป็นภพเป็นกรรมกั้น              สัตว์ไว้ในวน

ผัสสะเกิดเมื่อพร้อม               ปัจจัย
อายตนะนอก ใน                  จิตด้วย
ครบสามกระทบไป                เป็นกฏ
ตราบชาติจนชีพม้วย              กลับฟื้นคืนเวียน

ณ คราวลอยน้ำคร่ำ               นานเดือน
สายรกยึดโยงเรือน-               ร่างวุ้น
ลำเลียงธาตุมาเตือน               นามรูป   เกิดนา
หูเปิดเสียงกระตุ้น                 สุขคุ้นมารดา

เปิดตาดูโลกครั้ง                   ยังเยาว์
สุขรูปคือมาตุเรา                  ท่านยิ้ม
โอบสัมผัสหนักเบา                ถนอมเห่ กล่อมแฮ
หอมอร่อยเกษียรลิ้ม              อิ่มพริ้มมโนนอน          

เพลินหลงจนใหญ่เข้า             วัยฉกรรจ์
เบญจกามคุณพันธ์                สุขข้อง
ตาจักฉุดอาตมัน                   หารูป งามแล
รูปไม่งามเนตรต้อง                ติล้วนชวนแขยง

กายหูจมูกลิ้น                     เหมือนตา
เพราะบ่มเพาะกันมา              เยี่ยงนั้น
จักฉุดวิจิตรอา-                    รมณ์สู่ กันแฮ
อึดอัดอยากหลีกครั้น              เมื่อพ้องอจิตรา

กลางคนจนเสพรู้                  สัจธรรม
สุขจากเครื่องล่องำ                สัตว์ไว้
วินิบาตนรกจำ                    ทุคติ อบายเอย
สุขปราศเครื่องล่อไซร้             อาจเปลื้องภพลง

สติปัฏฐานสี่นี้                     กุศลกอง
กำจัดอกุศลผอง                   ทิศแล้ว
รู้กายเท่ากับครอง                 อุเบก-ขาแล
เป็นอยู่อนามิสแพร้ว              บทแผ้วสุญญตา.
                         

ผูกสอง ความทุกข์
ทุกข์คือทนได้ยาก                 จำปลง
สรรพเกิดย่อมตายลง              สุดแก้
ทั้งจิต รูป นามผจง               คงนิ-  โรธแฮ
เพราะเกิดจึงดับแล้                แน่แท้ธรรมดา

ทุกข์เพราะรูปแก่เข้า              วัยชรา
ความเสื่อมของหูตา               จมูกลิ้น
ผิวกายย่นยวบปรา-               กฏอยู่
อาพาธก็รุมดิ้น                    ไม่พ้นกลไก

ทุกข์เพราะตายบีบคั้น            เกินทน
จะยากดีมีจน                      สุดลี้
ทุกภพที่มีตน                      ยึดอยู่
สุคติทุคตินี้                        ต่างล้วนกลัวตาย

ยามสุขไม่เที่ยงแล้ว               ดับลง
ความดับคือทุกข์ตรง              สภาพนั้น
ทุกข์อีกอื่นธำรง                   โสกะ   โศกแล
สุดปริเทวะกลั้น                   ร่ำไห้โพยพาย

เพราะโทมนัสขัดแค้น             เสียดาย
ความอิ่มเอิบใจกาย               เปลี่ยนขั้ว
ปรวนแปรเสื่อมคลอนคลาย     โดยสม่ำ   เสมอนา
เป็นอุปายาสกลั้ว                  เหี่ยวแห้งขัดเคือง

การพลัดพรากสิ่งต้อง-            ใจรัก
ปิยวิปโยคชัก                      ทุกข์กล้า
สัมปโยคอัปรีย์ดัก                    จิตตก  นรกแฮ
เพราะสบของเกลียดอ้า             โกรธขึ้นในทรวง

ปรารถนาใดไม่ได้                 ครองมา
คืออิจฉาวิฆา-                     ตะช้ำ
เป็นทุกข์ที่นานา                  ภพประ-   สบแฮ
รวมทุกข์ทุกแบบกล้ำ             ตอกย้ำอัตตา

สรุปสังเขปแล้ว                    ทุกข์คือ
ความอุปาทานถือ                 มั่นไว้
ในปัญจขันธ์ฤๅ                    รูป เวท-   นาแล
สัญญะ สังขารไหม้                จิตด้วยยางตัณห์

เวทนาทุกอย่างล้วน               รวมลง
ในทุกขสัจจ์ยง                     ยั่งพื้น
สุข ทุกข์ อุเบกข์ปลง              ลงทุกข์   ยืนแล
เพราะเกิดจึงดับฟื้น               ดับฟื้นโดยกรรม    

สุข ทุกข์ กรรมไม่ได้               ลอยลอย เกิดเอย
มิใช่ตนเองคอย                    เกิดให้
หรือคนอื่นมาพลอย               ทำยิ่ง   เท็จนา
เกิดเพราะผัสสะไสร้               เพ่งเฝ้าตามดู.

ผูกสาม ความว่าง

นิยามความว่างด้วย               วรธรรม
ธ กล่าวสุญญตากำ-               หนดต้อง
สัมมาสมาธินำ                     ในจิต
ฌานหนึ่งสองสามคล้อง           สี่พ้องวิญญาณ
    
วิญญาณคือจิตนั้น                 คือมโน
สุดแต่เรียกในโอ-                  กาสอ้าง
วิชานาติก็โบ-                     ราณเรียก
แปลว่าความรู้กว้าง               แจ่มแจ้งอารมณ์

อารมณ์คือรูปทั้ง                  เวทนา
สัญญะ สังขารา                   สี่ข้อง
รวมจิตเรียก"ปัญจา-              ขันธ์"ที่   ยึดแล
"สิ่งหนึ่ง"หลงขันธ์ต้อง             เรียกเจ้า"สัตตา"

สัตตาปางอยากพ้น                สงสาร
ฟังสุตตะในวาร                    ชอบแล้ว
ทำมนสิการ                       จิตมุ่ง   มรรคแฮ
วิมุตติสุญญัตแก้ว                  เริ่มต้นโดยฌาน

ฌานคือการเพ่งด้วย               สติชอบ
จนเกิดสมาธิรอบ                  สี่ขั้น
วิตก วิจารกอปร                  ปีติ   สุขนา
เอกัคคตาดั้น                      สลับรู้เบญจางค์

ฌานหนึ่งว่างชั่วกลั้ว              ในใจ
ความคิดอกุศลไป                  หมดห้วน
กาม พยาบาทละใน               การเพ่ง
ความคิดเบียดเบียนด้วน          ตริล้วนมวลธรรม

ฌานสองว่างตรึกทั้ง               วิตก
และวิจารก็ยก                     ออกได้
เหลือปีติ สุขปรก                  ในจิต
เอกัคคตาให้                       สลับรู้ไตรยางค์

ฌานสามว่างจิตพ้น               ปีติ
เหลือสุขในสมาธิ                  แวดล้อม
เป็นสุขเสพมากมิ                  ควรหวั่น-   เกรงนา  
เอกัคคตาน้อม                     สลับรู้ทวิยางค์

ฌานสี่ว่างสุขรู้                    วิเวก
ทรงอุเบกขาเอก-                  อัคคต์เบ้า
ไม่สุขไม่ทุกข์เฉก                   อุเปก-   ขาแล
จิตเกาะรูปปราณเข้า              ออกนี้อารมณ์
     
ในฌานทั้งสี่นั้น                    ตามดู
ขันธ์สี่และจิตตู                    เกิดม้วย
เกิดดับเกิดดับพรู                  จนเบื่อ   คลายแฮ
ความว่างจักโพลงด้วย             สัจจ์ข้ออนัตตา.
     
                                    ศราพก

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กิเลส - เก็บวรรคทอง

จากหนังสือ สิ่งที่เรียกว่ากิเลส และวิธีทำให้สิ้นไป
https://www.bia.or.th/ebook/content/web/index.php?bookid=177


กิเลส

  1. ตัณหา คืออยากด้วยความโง่
  2. สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา คืออยากด้วยปัญญา
  3. กิเลสมาจากอวิชชา ถ้ามาจากปัญญาไม่เรียกกิเลส
  4. กิเลสจำง่าย : ตัณหาจะเอา (ราคะ) ตัณหาจะทำลาย (โทสะ) ตัณหาจะมัวเมาเวียนอยู่ (โมหะ)
  5. พวกนี้เป็นกิเลสชั้นต้น ธรรมดา ให้รู้จักให้ดีเหมือนรู้จักวัตถุ
อนุสัย
  1. เมื่อกิเลสผ่านไป จะเหลือสิ่งที่เรียกว่า "ความเคยชินแห่งกิเลส" (= ความเคยชินที่จะเกิดอีก)
อาสวะ
  1. กิเลสที่ไหลออก เพราะอนุสัยมากเข้า จึงพร้อมที่จะดันกลับออกมา
    นัยว่าเกิดเร็วและแรงจนบังคับไม่ไหว (ตรงนี้ฟังแล้วยังงงๆ)
วิธีทำให้สิ้นกิเลส
  1. แม้จะใช้วิธีบังคับก็ทำเถิด  อนุสัยจะไม่เพิ่มพูน เป็นอุบายลดนิสัย

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในปฐมโพธิสูตร

ปาตุภวนฺติ อาจแปลได้ 2 อย่าง

  1. เกิดขึ้น
  2. ปรากฏ


นั่นขึ้นกับว่าจะ อธิบาย ธมฺมา เป็นอะไร

ถ้าแปลว่า เกิดขึ้น ก็คือ อธิบายว่า ธมฺมา หมายถึง โพธิปักขิยธรรม (อธิบายเป็นตัวรู้)
ถ้าแปลว่า ปรากฏ ก็คือ อธิบายว่า ธมฺมา หมายถึง อริยสัจ (อธิบายเป็นตัวถูกรู้)

หเว

หเว นิยมแปลว่า แล

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
เช่น ในกาลใด ธรรมท.ปรากฏอย่างชัดเจน

หเว ความหมาย คือ ชัดเจน กระจ่างแจ้ง

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความดับของอภิธรรม VS ความดับของพระสูตร

ความดับในความหมายแง่ของพระสูตรคือ
ไม่มีเงื่อนไขการเกิด คืออวิชชาถูกละไป

การใช้งาน
คือจะได้โฟกัสถูกจุดว่า "ความรู้" น่ะมีไหม?
ไม่ต้องสนใจว่าตัณหาแรง - เบา
ให้สนใจที่ความเข้าใจนะถูกหรือยัง

===

ความดับในความหมายแง่อภิธรรม
คือความเกิดดับเป็นขณะๆ ของจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นแล้วดับไป

การใช้งาน
ให้รู้ว่าตัณหาก็เป็นสิ่งที่เกิดแล้วดับ
อวิชชาก็เป็นสิ่งที่เกิดแล้วดับ
ฉะนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรกับตัณหา หรืออวิชชาเลย (แต่ขั้นต้นยังต้องบริหารจัดการอยู่)
คือมันเหมือนผี จะไปทำการดับอะไรกับสิ่งที่เกิดดับอยู่แล้ว บ้าเปล่าๆ

ให้สนใจว่า แล้วความรู้น่ะประกอบอยู่ไหม
ไม่ต้องไปวุ่นวายกับการดับ
ให้มาโฟกัสกับการเดินมรรค การประกอบความรู้ ตอนนี้รู้หรือเปล่า

ตัณหาลดลงดูอย่างไร

กำลังของตัณหานี่
กิเลสมีกำลังมากน้อยนี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ !!!

การมาสนใจกิเลสยิบย่อย
เหมือนมาคอยนั่งลิดใบของต้นไม้
แล้วสักพักก็งอกใหม่

ประเด็นของสติปัฏฐานคือ ขุดรากถอนโคน
ฉะนั้นอาจจะลิดใบบ้างอะไรบ้าง แต่ไม่ใช่จุดสนใจเป็นพิเศษ

ตัณหาเบา - แรง ไม่ได้ดูตรงมันเกิดแรงหรือไม่แรง
เขาดูที่ เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์หรือไม่

ถ้าไม่เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ถือว่ายังมีตัณหาอยู่ (ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีตัณหาก็ตาม !!! )


เข้าใจไหมว่าสิ่งนั้นมันไม่เที่ยง

ถ้าไม่เข้าใจ ถือว่าตัณหานั้น "ยังแรงอยู่" (ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีตัณหาก็ตาม)

เช่น ลูกตาของเรา
ตอนนี้ไม่ได้รู้สึกเสียดายอะไรเลย เฉยมาก
แต่ "ถ้ายังไม่ได้เห็นว่าลูกตานี้มันเป็นของไม่เที่ยง 
ลูกตานี้มันเป็นของเป็นทุกข์
ยังไม่รู้จักว่าลูกตานั้นเป็นของที่จะผุพังเป็นธรรมดา"
ถือว่า "ตัณหาในลูกตายังแรงอยู่" 
แม้ว่าตอนนี้จะแทบไม่ได้นึกถึงลูกตาเลยก็ตาม

คือสติปัฏฐานจะให้มองลึกลงไปถึงหัวเชื้อ ต้นตอตัณหาเลย
คือถ้ายังไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์
แสดงว่ายังมีความติดในสิ่งนั้นอยู่

สติปัฏฐานจะไม่มารอดูว่ามีกิเลสเกิดมั้ย
แต่จะยังดูว่า "มีกิเลสอยู่ไหม"

มีกิเลสอยู่ ไม่แปลว่า กิเลสเกิดนะ
มีกิเลสอยู่ แปลว่า เงื่อนไขของกิเลสยังอยู่

การลดลงของตัณหา
จึงดูที่การเจริญขึ้นของมรรค
ถ้าความเข้าใจมากขึ้น ตัณหาก็ลดลงนั่นเอง

สรุปคือวัดที่การเห็นทุกข์
ไม่ได้วัดที่ตัณหาไม่เกิดในสิ่งนั้นๆ

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

แม่ทำไปเรื่อยๆ

ถาม
ระลึกถึงความเกิด ไม่ค่อยจะรู้สึกว่าอะไรเกิด
ดูเลือนๆ ไม่ชัดใจ และจะไปแกล้งทำนึกถึงความดับ
จะเป็นประโยชน์อะไรจ๊ะ

ตอบ
นึกถึงความเกิดที่เลือนๆ ก็เป็นประโยชน์จ้ะ
เพราะเป็นเรื่องให้รู้ได้ว่า เป็นความเกิดขึ้นของความรู้สึกจริงๆ
เมื่อเปลี่ยนเรื่องใหม่ก็รู้ได้ว่า
ความรู้สึกเก่าดับไปแล้ว

ถาม
ที่ว่ารู้เรื่องเก่าดับไป เรื่องใหม่เกิดขึ้น
เมื่อทำความเห็นตามที่ว่ามานี้ 
สังเกตดูอัชฌาศัยใจคอก็เรื่อยๆ 
ไม่เห็นเป็นอะไรเข้าได้

ตอบ/ถาม
แม่ทำความเห็นเรื่องเกิดดับนั้น
นึกถึงความเกิดอย่างไร
อัชฌาศัยใจคอจึงเรื่อยๆ
เล่าให้ฉันฟังที

ตอบ
เมื่อฉันคิดไปในเรื่องอะไร
ฉันก็นึกว่าเป็นความเกิดขึ้น
เมื่อเปลี่ยนเรื่องใหม่
ฉันก็นึกว่า เรื่องเก่าดับไป
เรื่องที่รู้อยู่จำเพาะหน้าเดี๋ยวนี้เป็นเรื่องเกิดใหม่
เรื่องใหม่นี้แล้วก็จะดับไปเหมือนเรื่องก่อนอย่างเดียวกัน

ถาม
ที่ไปนึกถึงเรื่องก่อนดับไปนั้น
ดับไปแต่ส่วนเรื่องที่ปรากฏกับความรู้ 
หรือส่วนความรู้ในเรื่องนั้นก็ดับไปพร้อมกันกับเรื่องนั้นด้วย

ตอบ
ฉันรู้สึกกับเรื่องที่ปรากฏกับความรู้สึกดับไปจ้ะ
แต่ความรู้สึกมารู้เรื่องใหม่
จึงรู้ได้ว่า เรื่องเก่าดับไป เรื่องที่รู้อยู่เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องใหม่เกิดขึ้น

อธิบาย
อ้อ กำหนดความเกิดดับอย่างนี้
ไม่ใช่วิธีทำทางปัญญา
เป็นวิธีทำทางสมาธิ
เพราะเห็นแต่เรื่องที่คู่กับความรู้สึกดับไปอย่างเดียว
ไม่เห็นความรู้สึกในเรื่องนั้นดับไปพร้อมกันด้วย

ถาม
กำหนดความเกิดดับทางปัญญานั้นทำอย่างไรจ๊ะ

ตอบ
การกำหนดทางปัญญานั้น
เมื่อรู้สึกเรื่องอะไรขึ้น ก็นึกว่าความรู้สึกนี้คงดับไป

เมื่อความรู้สึกในเรื่องนั้นดับไปแล้ว 
เกิดความรู้สึกเกิดขึ้นในเรื่องใหม่
แล้วนึกถึงความรู้สึกเรื่องเก่าที่ดับไปแล้ว
มาเทียบดูกับความรู้สึกเรื่องใหม่ให้รู้ชัดว่า
ความรู้สึกเรื่องเก่าดับไปแล้วจริงๆ
ส่วนความรู้สึกเรื่องใหม่ก็รู้สึกขึ้นใหม่จริงๆ 
ไม่ได้เกี่ยวกันกับความรู้สึกเรื่องเก่าเลย
แล้วคงดับไปเหมือนกัน

เมื่อเทียบดูรู้ชัดใจขึ้นขณะใด ขณะนั้นใจคงไม่เรื่อยๆ อยู่อย่างเดิม
คงรู้สึกแปลกใจไม่มากก็น้อยเป็นแน่
แล้วจำสัญญานั้นไว้ 

ต่อไปเมืื่อรู้สึกขึ้นในเรื่องอะไร
ก็นึกถึงสัญญาที่เห็นชัดนั้น
เอามาเทียบเป็นพยานร่ำไปว่า
ความรู้สึกในเรื่องอะไรทั้งสิ้นคงดับไปทั้งนั้น

เมื่อทำความรู้สึกเช่นนี้เนืองๆ อยู่
ใจก็ไม่ไปเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ความรู้สึกก็ช้าเข้าทุกที
เมื่อความรู้สึกช้าเข้า
ก็ยิ่งเห็นความเกิดชัดขึ้น
ไม่เลือนๆ เหมือนอย่างเดิม

ที่รู้ความเกิดดับเช่นนี้แหละ เรียกว่าได้ทำสัญญา
เป็นหนทางจะให้ปัญญาเกิดขึ้นต่อไป

หัดธรรมบทที่ 26


ทางปฏิบัติของสัญญาและปัญญาในการรู้เกิดดับ

ครู
เชิญแม่ชี้แจงข้อปฏิบัติต่อไปเถิดจ้ะ

ศิษย์ 
การปฏิบัติก็ต้องตั้งสติทำสัญญา 
ระลึกอยู่ที่ดับอย่างเดียว 
เพราะเกิดเป็นตัวรู้สึกขึ้น ไม่ต้องระลึกก็คงรู้อยู่ตามธรรมดาแล้ว 
เพราะแต่ก่อนรู้เกิดอยู่อย่างเดียว จึงต้องเติมดับเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง

เมื่อทำสัญญาดับมากขึ้นจนเท่ากับความเกิดได้ 
ภายหลังพอเห็นเกิดก็รู้ถึงดับด้วยทีเดียวพร้อมกัน 
เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดเลยรู้ถึงดับพร้อมกัน 
อย่างนี้แหละเรียกว่า ได้รู้ความตามเป็นจริงของความจริงแท้ 
เพราะของมีอยู่สองอย่าง ก็รู้ทั่วหมดสิ้นทั้งสองอย่าง

ครู
ที่เรียกว่าทำสัญญานึกถึงเกิดดับ
กับเห็นและรู้เกิดดับที่เรียกว่าปัญญานั้น ต่างกันอย่างไรจ๊ะ

ศิษย์ 
สัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว 
ต้องนึกถึงดับเป็นสองขณะ 
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าสัญญา

ปัญญานั้น เมื่อเห็นความรู้สึกเกิดขึ้น 
ก็เลยรู้ถึงดับพร้อมกันขณะเดียว 
เห็นและรู้อย่างนี้แหละเรียกว่าปัญญา

หัดธรรมบทที่ 26

มี 2 รู้ 1 จึงเรียกหลง

ธรรมดาความจริงของคนก็มี
ความรู้สึกขึ้น ๑
กับความรู้สึกนั้นหายไป ๑
เป็นสองอย่างเท่านั้น

ไม่ว่าจะรู้สึกสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
ขึ้นชื่อว่าความรู้สึกเกิดขึ้นแล้ว
ความรู้สึกนั้นคงดับหายไปเป็นธรรมดา
อย่างนี้เรียกว่าธรรมดาของคน

เมื่อความจริงมีอยู่ ๒ อย่างดังที่ว่ามานี้
ธรรมดาของคนที่ไม่รู้ความจริง 
ก็ไปรู้แต่เกิดอย่างเดียว 
ความดับเท่ากันกับความเกิดไม่ได้รู้สึกด้วย 

เมื่อไม่รู้สึกความดับเท่ากับความเกิดแล้ว
ก็ชื่อว่า รู้ผิดจากความจริง
คือของมีอยู่ ๒ สิ่งไปรู้แต่สิ่งเดียว จึงเรียกชื่อว่าหลง

เมื่อหลงคือรู้ไม่ทั่วในของจริงเป็นพื้นอยู่แล้ว
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องที่เขานิยมกันว่าดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกรักขึ้น
ถ้าเครื่องกระทบเป็นเรื่องนิยมกันว่าไม่ดีมากระทบเข้า เกิดความรู้สึกขึ้นก็ชัง
รวมใจความหลงที่ไม่รู้ทั่วในของจริงนี่แหละ
เป็นสิ่งสำคัญทำให้รักให้ชัง

หัดธรรมบทที่ 25

===
มีสอง รู้หนึ่ง จึงหลง
เกิดขึ้น ดับลง เป็นสอง
รู้เกิด เตลิดไถล ไม่มอง
ใฝ่ปอง จ้องเกิด ราคา

เห็นเกิด พึงหมาย ดับด้วย
กระทบสวย จึงรู้ อุเบกขา
เห็นเกิด ไม่เห็นดับ นำพา
โทสา โลภา มาจริง

หัดธรรม วาจาสุภาษิต 5

ศิษย์
ถึงจะชี้แจงอย่างไร
เนื้อความและถ้อยคำของฉัน
คงอยู่ในร่มเงาของครูที่สั่งสอนแนะนำให้ฉันทั้งนั้น

ครู
แม่อย่าพูดเช่นนั้นไม่ถูก
สิ่งที่ครูชี้แจงแนะนำ ก็ชี้แจงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นแม่ควรจะพูดว่า อยู่ในร่มเงาของพระพุทธเจ้าดีกว่า

หัดธรรมบทที่ 25

เห็นเกิดดับ vs ปล่อยวาง

ถาม 
เห็นเกิดดับ กับปล่อยวางได้ ไม่ใช่อย่างเดียวกันหรือเจ้าคะ ?
อิฉันฟังดูเป็นเห็นเกิดดับแล้วจึงปล่อยวาง

ตอบ
อย่างนั้นสิจ๊ะ
ความเห็นเกิดดับเหตุ
ปล่อยวางได้เป็นผล

ถาม 
ความเห็นเกิดดับเป็นเหตุ แล้วไม่ได้รับผลปล่อยวางมีบ้างหรือเจ้าคะ ?

ตอบ
มีจ้ะ
ใจมัวทำความรู้อยู่แต่เกิดดับยังไม่ทันปล่อยได้
มีอารมณ์อื่นมากระทบใจเข้า
ใจก็ทิ้งความรู้สึกเกิดดับเสีย
เผลอไปกับอารมณ์ใหม่จ้ะ

ถาม 
ที่รู้สึกเกิดดับแล้ว เลยปล่อยได้มีความรู้สึกอย่างไรเจ้าคะ ?

ตอบ
ที่ปล่อยได้เพราะความรู้สึกเห็นตัวเองเกิดรู้ถึงดับ
เลยปล่อยตัวเองได้
จึงรวมเห็นทีเดียวเป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งเห็นเกิดเลยรู้ถึงดับ
ส่วนหนึ่งปล่อยวางไม่เกี่ยวกับเกิดดับ

ถาม 
ความเห็นเกิดดับ กับ ปล่อยวางเกิดดับได้ 
สองอย่างนี้เห็นพร้อมกันทีเดียวได้หรือเจ้าคะ

ตอบ
เห็นได้จ้ะ
ความเห็นทีเดียวรวบรวมมาซึ่งความเกิดและดับทั้งสิ้น
กับเห็นความที่ไม่ยึดถือเกิดดับ
ก็รวมเห็นทีเดียวสองอย่าง คือ รู้สึกเกิดดับ กับปล่อยวางเกิดดับได้ ใจเฉยอยู่

หัดธรรมบทที่ 22

หัดธรรม ของเล่น

เรื่องเคร่งครัดหรือไม่เคร่งครัดเอาประมาณมิได้
เพราะแกล้งทำเอาได้

เรื่องทายใจ เรื่องเห็นไปได้ไกลๆ
นั้นไม่ใช่เรื่องทำให้กิเลสหมดไป
เป็นแต่วิชาที่เกิดจากใจที่สงบจากนิวรณ์เท่านั้น

หัดธรรมบทที่ 22

หัดธรรม วาจาสุภาษิต 4

จะพูดเรื่องขัดเกลากิเลส
ต้องพูดเรื่องรู้สึกในร่างกายจิตใจของเรา

ถ้าฉันถามอะไรที่รู้สึกใจอย่างไร
ต้องบอกตามจริง อย่าทำสองเงื่อนสองเงา

บางทีคำถามอย่างนี้
รู้ชัดว่าเขาถามประสงค์อย่างนี้
แกล้งบิดเบือนไปเสียอย่างอื่น
เป็นอันทำลายความจริงและปิดความจริงตนเอง

ที่รู้ก็บอกว่ารู้ ที่ไม่รู้ต้องบอกว่าไม่รู้ดีกว่า
และอย่าพูดเรื่องที่จำไว้ที่ตนยังไม่รู้สึกจริงมาพูดหรือมาตอบเลยเป็นอันขาด

เรื่องพูด
ถ้าไม่ซักไซ้จนได้ความชัดเจน
จะพูดกันทำไม เสียเวลา
ไม่เป็นประโยชน์ทั้งผู้พูดผู้ฟัง

หัดธรรมบทที่ 22

หัดธรรม วาจาสุภาษิต 3

ข้อ ๑
เมื่อพูด
ก็พูดให้เต็มความรู้ความเห็นของตน
ไม่ต้องถ่อมตน
ไม่ต้องยกตนให้ขาดให้เกินกับความรู้ความเห็นของตน

ข้อ ๒
มีผู้ออกความเห็นอย่างไร
ถึงจะไม่เห็นด้วย ก็อย่าปัดติเสียว่าผิด
เอาไปพูดติเตียนต่อในภายหลัง

ข้อ ๓
คำใดในใจเห็นว่าถูกแล้ว
ต้องรับว่าถูก อย่าอ้อมแอ้ม อึกอักแชเชือน
แกล้งหาเหตุมาโต้เถียง แก้เพลงขอไปที

ข้อ ๔
เมื่อคนหนึ่งกำลังพูดอยู่ คนทั้งหลายให้ฟัง
หาคำซักไซ้ให้ได้เต็มความเห็นของตนจนได้ความชัดเจน
จะยอมๆ ให้กันแล้ว แล้วไปแบบเกรงใจไม่ได้

ข้อ ๕
เมื่อโต้ตอบอย่าแสดงโทสะและคำเสียดสี

หัดธรรมบทที่ 9

หัดธรรม วาจาสุภาษิต 2

ไม่ใช่พูดเพื่อบังคับให้เชื่อ
เป็นแต่โวหารโต้ตอบกันให้เรืองปัญญาเท่านั้น
จะมาเอาแพ้เอาชนะอะไรกันในเรื่องพูด
พูดดีพูดถูกพูดไม่มีใครสู้แล้วนะได้อะไรในเรื่องพูด

ถ้าคนฟังมาก
ก็ต้องว่าเรื่อยไปตามธรรม
จะให้เข้าใจทุกคนไม่ได้

แต่ถ้าพูดฟังกันตัวต่อตัว
ก็ต้องว่าให้ผู้ฟังเข้าใจทีเดียว
จะว่าเรื่อยไปจนคนฟังไม่รู้เรื่องอย่างนั้นไม่เป็นประโยชน์

ต้องระวัง
เมื่อพูดต้องหวังให้ผู้ฟังเข้าใจ
พูดแล้วต้องถามว่าเขาเข้าใจไหม
ถ้าไม่เข้าใจหรือไม่เต็มใจฟัง
ก็หาทางหยุดให้สนิท
อย่าให้เขารู้ว่าเรากระดาก พูดเพ้อจนเขาไม่อยากฟัง

หัดธรรมบทที่ 8

หัดธรรม วาจาสุภาษิต 1

คำเช่นใดเป็นเสี้ยนโสตรแก่ผู้ฟัง
ถึงเห็นแน่ใจว่าของตนถูก
ก็ไม่ควรยกของตนขึ้น
เป็นแต่อธิบายของตนไปให้สิ้นเชิงก็แล้วกัน

หัดธรรมหน้า 11

ถ้อยความเป็นเสี้ยนโสต
ละประโยชน์ลงทันควัน
ยกตนข่มเพื่อนกัน
เมตตาพลันลับลาไป

ทานใดชำระใจให้เอื้อเฟื้อ
คือบุญเหนือมลทิลอันยิ่งใหญ่
ศีลใดชำระความเบียดเบียนไป
คือบันไดก้าวใกล้พระนิพพาน

เมื่อชี้แจงพึงแจ้งในสื่งชี้
ไม่ริกรี้สิ่งไม่รู้ทู่ตัดสิน
ถ้าพุ่งหอกเข้ารกจะวกจินต์
เป็นราคินหม่นใจในวาจา

เมื่อไม่รู้อย่าเพิ่งรับเป็นถูกผิด
อย่าเพิ่งรั้นความคิดชนิดแน่
หากจำกัดในพิสัยคือจริงแท้
จะไม่แย่ถ้าแถตามแบบแผนไป

short note 15 Jan 19

ภายใต้บารมีของพี่ ทำให้หนูได้ดิบได้ดีในวันนี้

มหาเวทย์ดูดดาว คนคนนี้มีข้อดีอะไร ดูดมาเป็นของตน

อัพเกรด ทักษะที่จำเป็น
อัพเกรด วิธีทำงาน
อัพเกรด ความเป็นผู้ตาม
อัพเกรด ความเป็นผู้นำ
อัพเกรด การเรียนรู้ decoding ดูดนิสัย ไม่ต้องหวงสันดานตัว เอานิสัยผู้หลักผู้ใหญ่มา
ดูด connection
เรียนวิชา coach fa diplomat
รัฐศาสตร์ strategy social skill how to think วิศวอุตสาหการ

5 ปีแรกหานาย
ใครคือเจ้านายจริงๆ
นายของนายคือใคร
อีก 5 ปีเขาจะไปตรงไหน
ผมจะแทนที่เขาได้เมื่อไร
คุณลองสอนงานหนู 1 เรื่อง
ขอดูประวัติการพัฒนาคน
เพื่อนพี่ที่ประสบความสำเร็จ
ใครบ้าง

You can blame me only once

จงงมงายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

ถามคนเก่ง มึงทำไง

Purpose ต้องแรง พูดบ่อยๆ พลังจะมา

สัมมา dialogue สะท้อนรีเฟล็กซ์

สัมมากัมมันตะ ie technic

สัมมาอาชีพ AI แทนไม่ได้

สัมมาวายามะ อึดสัดๆ ทำเรื่องนี้ทำให้เสร็จ ยังไม่เสร็จอย่างเพิ่งเสือก

ฝึกสติ

สัมมาสมาธิ Feeling ส่งผลต่อกระบวนการ กระบวนการส่งผลต่อ result รักษาความชิลๆ  key feeling indicator

วิปัสสนา vs มรรค

วิปัสสนาเน้นรู้ขันธ์ห้า
มรรครู้อริยสัจสี่

อุจเฉททิฏฐิกับความหายป่วย

เพลินกับความคิดที่ว่ามันจะไม่มีอีกแล้ว
ไม่ต้องเจออีกแล้ว

เช่น ป่วยแล้วหายป่วย
สวดมนต์แล้วทุกข์หายก็ยินดีว่าเออฟาดเคราะห์หมดไปละ
เพลินภาวะที่ไม่มีอันนั้นๆ นึกว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
นึกว่ามันจะไม่มีอีกแล้ว (อุจเฉททิฏฐิ)

ความอยากจะได้ผลไม่ใช่ความเพียร

ความอยากจะได้ผลนี้
ไม่ใช่ความเพียร (แม้จะดูเหมือน)

รู้มรรคเป็นมรรค

อารมณ์ฝ่ายสังขาร

ทำอะไรเกิดผลขึ้นมี เช่น ความสงบ ความรู้ความเห็น
ต้องกำหนดเป็นทุกขสัจ และกำหนดมรรคเป็นเหตุ (ต้องทำเพิ่มขึ้นไป)
ไม่งั้นอวิชชาแทรก

รู้มรรคเป็นมรรคด้วย
ทำแล้วได้ผลขึ้นมาก็ต้องกำหนดว่าเป็นเหตุด้วย

ถ้าไม่กำหนดอวิชชาก็จะเข้าไปอยู่ในมรรค

ความรู้ต้องครบทั้ง 4 ประเด็น
ต้องรู้สมุทัยเป็นสมุทัย รู้นิโรธเป็นนิโรธ
รู้มรรคเป็นมรรคด้วย ไม่ใช่แค่รู้ทุกข์เป็นทุกข์

จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น

บางท่านอารมณ์เหมือนไม่มีกิเลส
แต่ตราบเท่าที่ไม่แจ้งนิพพาน
กิเลสไม่เกิดทั้งชาติมันก็ยังไม่เที่ยง

ในสติปัฏฐานท่านจึงกันเอาไว้ว่า
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
บางคนศีลดี วัตรดี กิเลสไม่ค่อยเกิด
ก็เข้าใจไปว่าจิตบริสุทธิ์ แม้ทำได้ทั้งชาติ
พอตายลง ชาติหน้ากิเลสก็เกิดใหม่

สิ่งที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์มีเพียงมรรคแปด
และต้องเป็นมรรคแปดแบบมารวมกันด้วยไม่ใช่มรรคแปดแบบโลกิยะ
ตรงนี้ต้องแม่น

ถ้าแบบโลกิยะ เช่น พวกสติปัฏฐาน
มันจะละได้เฉพาะแบบตทังคะ และ วิกขัมภนะ

พอไม่กำหนด มรรคที่สร้างขึ้นมา
จะหลงว่า "เราบริสุทธิ์ขึ้น" อันนี้ไม่ใช่นะ

สิ่งที่สร้างขึ้นกำหนดเป็นเหตุ
หน้าที่ต่อเหตุคือต้องทำให้เจริญขึ้น
ส่วนผลกำหนดเป็นทุกขสัจ เรื่อยไปจนถึงนิพพาน

ไม่รู้อะไรก็ได้ในอริยสัจ ก็เป็นอวิชชา
จะไปนิพพาน แต่ไม่กำหนดนิพพานก็เป็นอวิชชา

ฉันก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
อันนี้ก็เป็นอวิชชาเพราะไม่กำหนดนิพพานว่าเป็นเป้าหมาย

บางคนพูดดี นิพพานอยากไม่อยากก็ถึง
อันนี้ก็โง่ที่ไม่กำหนดเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าสอนแล้วสอนอีก
ให้จิตเอียงไปนิพพาน สอนจะจะขนาดนี้ยังจะไปเฉยๆ อยู่ได้

ภาวนามันก็จะสบายไปเรื่อย
สบายไปเรื่อยมันก็คือทุกขสัจนั่นแหละที่มันเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ละเอียดขึ้น

วิธีจึงต้องเดินไปเรื่อย
และต้องกำหนดมรรคเป็นมรรคด้วย
ไม่งั้นมันก็ไม่เดิน มันก็คาอยู่ที่เดิม


为而不争

圣人之道 为而不争

---

不负责任的那个快乐是很短暂的

---


息怒

王爷息怒
我等带世子来县衙
也是为了他的声誉着想

如今所有人都怀疑世子是凶手
倘若李大人不作为
将世子放了
恐怕难堵悠悠众口
反倒会引得流言四起
无中生有

不如请世子占据县衙
我等尽快查明真相
还世子一个清白
也不至于让世子落人口舌
影响了前程

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

นอนเนื่อง

อย่างไรคือนอนเนื่อง

กามราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนา ด้วยอาการดังต่อไปนี้

  • มีความเพลิดเพลินยินดี
  • ชื่นชม ยึดติด
  • แสวงหา
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องในทุกขเวทนา ด้วยอาการดังต่อไปนี้
  • เศร้าโศก
  • ลำบาก ร่ำไร
  • ทุบอกชกตัว
  • ถึงความหลงไหลลุ่มหลงว่าเราเป็นทุกข์ เราเป็นผู้ทุกข์ เราไม่น่าจะทุกข์
อวิชชานุสัยนอนเนื่องในอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอาการดังต่อไปนี้
  • ไม่รู้ชัดความเกิด
  • ไม่รู้ชัดความดับ
  • ไม่รู้ชัดอัสสาทะ - อาทีนวะ
  • ไม่รู้ชัดนิสสรณะ

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

12 ม.ค.63 กราบพระเกสา

กรรมจัดสรร จากที่ไปไม่ทันเข้าไม่ได้
เป็นได้นั่งข้างๆ ท่านอย่างนาน
เมื่อกราบก็ปีติกระทบไปตามธรรม
ทุกครั้งที่ก้มกราบ หรือแม้แต่นะโมในใจน้ำตาก็จะรื้นขึ้นมา

สวดมนต์ตามคณะเจ้าภาพ
พยายามฟังสำเนียงแขก
ฟังออกเพียงกรณียเมตตสูตร
ราวกะท่านเทศน์ให้ฟัง
โดยเฉพาะตอนจบท่านบอกนะว่า
ทำอย่างนี้นะ แล้วการไปอยู่ในครรภ์จะไม่ต้องมีอีกต่อไป

ถวายสติลมหายใจไป 100 ลมหายใจเป็นพุทธบูชา
เพื่ออยากจะดูว่า ด้วยศรัทธาแล้วประกอบเข้ากับความตั้งใจที่จะถวายต่อท่าน
มีผลเป็นอย่างไร

สิ่งที่สังเกตได้คือ
ความประณีตในงานที่ทำ
ลมหายใจไม่ได้สมบูรณ์แบบไม่มีที่ติ
มีขาดมีหายเป็นปกติ แต่ก็ด้วยความรู้ในแต่ละลมเข้าออกว่ามันขาดหายไปอย่างไร
ความคิดที่แทรก ก็แว่บมาแล้วจากไป ไม่แทรกยาวกว่าลมหายใจ

ผลหลัง 100 คือ
ความสงัดระงับนิ่งต่อหน้าท่าาน
แม้หลวงปู่อร่ามจะอยู่เบื้องหลังก็แน่วแน่ต่อการปฏิบัติบูชาท่าน

สรุปผลของศรัทธาที่ประกอบนี้
จะมีสติปัญญาประกอบอยู่เป็นเบื้องหลัง
มีความประณีต และแน่วแน่คอยประคอง
มีความตั้งมั่นเดี่ยวที่จะทำถวายแม้จะแว่บ แต่ไม่วอกแว่ก
และเห็นทางแห่งความแนบสนิทที่เป็นไปได้