วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

อธิบาย

อธิปฺปาโย ไม่ได้แปลว่า อธิบาย
ถ้าอธิบายโดยทั่วไปในความหมายแบบภาษาไทย บาลีใช้คำว่า วณฺณนา

แต่อธิปฺปาโย จะหมายถึง ความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ 
อารมณ์ประมาณ what do you mean

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เววจน

คำไวพจน์

คำศัพท์ อาจจะแปลต่างกันตามธาตุปัจจัย
คำไวพจน์ คำแปลออกมาอาจจะต่างกัน

แต่องค์ธรรมเดียวกัน

การแปล อาปตฺติ

อาปตฺติ ปาราชิกสฺส

วิธีแปลที่ 1
อาปตฺติ = การต้อง, การเข้าถึง
ปาราชิกสฺส ธมฺมสฺส = ซึ่งอาบัติปาราชิก (ฉัฏฐี หักเป็นทุติยา : ไม่นิยมหักจตุตถีเป็นทุติยา)
(โหติ) = ย่อมมี
(ตสฺส ภิกฺขุโน) = แก่ภิกษุนั้น

วิธีแปลที่ 2
อาปตฺติ ปาราชิกา + อสฺส = การอาบัติปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดนั้น (อสฺส)

การแปล
อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส
อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส (ถุลฺล หนัก + อจฺจย โทษ)
อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
อาปตฺติ ปาฏิเทสนียสฺส
อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส

ก็แปลได้ 2 นัยแบบนี้เช่นกัน

การแปลพระไตรปิฎก ให้ทราบไว้เลยว่า บางคราวมันแปลได้หลายนัย
เรียกว่า สามตฺถิย 
หมายถึง ความสามารถทางภาษามันปรากฏเป็นอย่างนั้น 
คือมันคือความเป็นไปได้ทางภาษา
การแปลจึงต้องอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ บางครั้งจะแปลพระไตรปิฎกเอาทื่อๆ เลยไม่ได้

โบราณท่านแปลมาก็อาศัยอรรถกถา
ถ้าแปลพระไตรปิฎกล้วนเลย จะไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกต้อง

อาชีวปาริสุทธิ

อาชีพไม่บริสุทธิ์ ประมาณหาปัจจัยทางลัด

เพราะอาชีพเป็นเหตุ หมายถึง เพราะความอยากเลี้ยงปากท้องเป็นหลัก
เพราะความอยากเป็นเหตุ

อุตริมนุสสธรรม

คำแปลที่ 1
อุตริมนุสสธรรม = อุตฺตริมนุสฺสานํ + ธมฺโม
ธรรมของมนุษย์ผู้ประเสริฐ (มนุษย์ผู้ประเสริฐ หมายถึง ฌานลาภี และอริยบุคคล)
องค์ธรรม ฌาน อภิญญา มรรค ผล

ความหมายที่ 2
อุตริมนุสสธรรม = อุตฺตริ + มนุสฺสธมฺม
ธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เรียก อุตตริมนุสสธรรม
มนุสสธรรม คือ ศีล 5
องค์ธรรม ฌาน อภิญญา มรรค ผล

คำแปลต่าง องค์ธรรมเหมือน

ศีลแปด ไม่ใช่ อุตตริมนุสสธรรม

สุภนิมิต ปฏิฆนิมิต อุเปกขานิมิต

  1. ไม่ไปเห็น
  2. เห็นแล้วไม่ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่ยึดว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือเห็นว่าสวยว่างาม เป็นต้น 
  • สุภนิมิต = อิฎฐารมณ์ = อารมณ์ที่งามและเป็นหตุให้ราคะเกิด 
  • ปฏิฆนิมิต = อนิฏฐารมณ์ (สังเกตไม่เรียก อสุภนิมิต แต่เรียก ปฏิฆนิมิต ในความหมายว่า ช่วยกระตุ้นให้โทสะเกิด
  • อุเปกขานิมิต = อารมณ์กลางๆ อารมณ์ไม่ชัดเจน (มัชฌัตตารมณ์) อารมณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดขึ้นอีก เป็นเหตุให้เกิดโมหะ = หมายเอา อญฺญาณุเปกขา คือ นิ่งด้วยความไม่รู้
ทิฏฺเฐ ทิฏฐมตฺตํ 
เห็นสักแต่ว่าเห็น
คือเห็นแล้วเห็นในความเป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่ใช่เห็นแล้วไม่ใส่ใจ

อนุพยัญชนะ เป็นตัวกระทำให้กิเลสเกิดขึ้นบ่อยๆ 

ปรารถนาลามก

ปาปิจฺโฉ = ปาปา + อิจฺฉา
= มีความปรารถนาอันเป็นบาป
มักแปลกันว่า ผู้ปรารถนาลามก 

ความหมายเท่ากับ อิจฺฉาปกโต (อิจฺฉา + อปกโต) ถูกความอยากเข้าครอบงำ
อปกโต = ครอบงำ = อภิภูโต

ปาป นี่เป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์
เช่น ปาปิจฺฉา - ภิกษุณี
ปาปิจฺโฉ - ภิกษุ
ปาปิจฺฉํ - จิต

หมายถึง โลภอยากได้มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ๆๆๆๆๆ
ผู้ที่ถูกความอยากครอบงำ
ไม่รู้จักพอ ไม่บันยะบันยัง 

คือทำอะไรเพื่อลาภ เพื่อสักการะ เพื่อคำสรรเสริญ เรียกปรารถนาลามก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

โวหาร

ภาษาชาวบ้าน หรือภาษาในพระสูตร = เห็นรูปด้วยตา (จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา)

ภาษาอภิธรรม = เห็นรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ 
เป็นภาษาที่ตรงไปตรงมา

ตา เป็นรูป จะไปเห็นได้ยังไง
จักขุวิญญาณ เป็นนาม ถึงจะเห็นได้

ตา ในที่นี้ เรียกว่าเป็น อุปจารโวหาร คือเป็นสำนวนที่ใช้แต่หมายถึงอีกสิ่งหนึ่ง พูดโดยอ้อม

ประเภทของโวหาร

  1. มุขยโวหาร พูดโดยตรง พูดอะไรหมายถึงอันนั้น
  2. อุปจารโวหาร พูดโดยอ้อม พูดอะไรต้องเชื่อมโยงถึงอีกสิ่งหนึ่ง แบ่งเป็น 12 ประเภท
การณูอุปจารโวหาร พูดถึงเหตุแต่หมายเอาผล เช่น
ตาเห็นรูป ตาในที่นี้จะหมายถึง จักขุวิญญาณ ไม่ได้หมายถึง ตาที่เป็นรูป

อโคจร

ที่เที่ยวของวัว

มันแปลไม่ได้ จะแปลว่า พระคือวัว ก็ตลก
เวลาแปลก็ต้องแปลแบบอธิบาย

เช่น

  • ที่ที่ควรเข้าไปบิณฑบาต
  • สถานที่ที่พระพึงเที่ยวไป
  • สถานที่ที่เหมาะสมที่พระจะไป
เที่ยวไป นี่หมายถึง ไปบ่อยๆ ไปแล้วไปอีก ประมาณแหล่งหากิน 
ไม่ได้หมายถึง ไปครั้งเดียว

อโคจร

สถานที่ หรือบุคคลที่ภิกษุควรเว้นระยะห่าง
นอกเหนือจากที่ที่มีสาวๆ แล้วก็ อื่นๆ 
การเสพกับบุคคลต่อไปนี้ ก็ชื่อว่า เสพอโคจร
การคบหากับราชา มหาอำมาตย์

การคลุกคลีกับฆราวาสที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ที่ไม่มีศรัทธา ผู้ไม่เกื้อกูล หรือสาวกของศาสนาอื่น 

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

พูดแบบแกงถั่ว

มุคฺคสูปยตา พูดแบบแกงถั่ว
พูดถูกบ้างผิดบ้าง
พูดให้ได้ใจญาติโยม

การเลี้ยงชีพอย่างนี้ ชื่อว่า อนาจาร

วิหรติ

วิหรติ

วิ + หรติ = นำไปโดยวิเศษ
นำอิริยาบถไปโดยวิเศษ

คือนำอิริยาบถให้เป็นไป บริหารอิริยาบถให้อยู่ได้
ถ้าต้องการเลี้ยงชีวิตให้ธาตุอยู่อย่างสมดุลได้

จะต้องควบคุมอิริยาบถ ไม่นั่งนานเกิน ฯลฯ
ทุกอย่างจะต้องสม่ำเสมอกัน

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปาติโมกขสังวรศีล

ปาติ = ผู้รักษา, ถาด, ถ้วย, ชาม ในที่นี้ แปลว่าผู้รักษา

โมกข = หลุดพ้น

สังวร = ปิดกั้น, สำรวม

 ศีล คือการสำรวมกายวาจาอันเป็ฯเหตุให้ผู้รักษาพ้น (จากอบาย)

ปหาตัพพะ ควรละ

ควรละ หมายถึง ไม่ทำให้มันเกิด

ในทางพุทธถือว่ากิเลสไม่ได้มีอยู่ตลอด
เป็นแค่แขกที่จรมาเป็นครั้งๆ 

ถ้ารู้วิธีก็อย่าให้มันเกิดบ่อยด้วยวินัย 2 อย่างด้วยวิธี

  1. สังวร (มีห้าอย่าง) 
  2. ปหานวินัย (มีห้าอย่าง) - เป็นการทำให้ออกไปโดยสิ้นเชิงสักวันหนึ่ง
  • วิกขัมภน ละด้วยการข่ม อันนี้ไม่ได้หมายถึงเอา สมาธิไปข่มกิเลส (ถ้าแปลอย่างนี้คือเข้าใจความหมายของคำว่า "ละ" ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่ว่าสมาธิชนะกิเลส) ตรงนี้คือ กิเลสไม่เกิดด้วยการทำสมาธิ (ในชั่วเวลาที่ทำสมาธิ) 
  • ตทังคปหาน ตอนวิปัสสนาอยู่ กิเลสก็ไม่เกิด
  • สมุจเฉทปหาน
  • ปฏิปัสสัทธิปหาน
  • นิสสรณปหาน

อนุโมทนา สาธุ

คนไทยเห็นใครทำอะไรดีก็มักอนุโมทนาสาธุ
ทั้งนี้บางทีก็ออกแนว สาธุกินเปอร์เซ็นต์

ซึ่งถ้าออกมาทรงนี้ ความหมายมันจะผิดจากวัตถุประสงค์คำสอนไป
คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องเป็นลักษณะให้ลงมือทำ ให้ขยัน ไม่ประมาท
พอสาธุเรื่อยเปื่อย ลองดูใจเถิดว่าเป็นลักษณะนั้นไหม
หรือออกแนวประมาท ทำง่ายๆ ได้บุญมา

คำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าไม่ออกแนวกิริยาวาท วิริยวาทนี่ผิดหมดเลยนะ
มันต้องออกแนวให้เกิดความเพียรให้ได้ ให้เกิดการลงมือทำ

ลองดูผลที่เกิดขึ้น เมื่อสาธุ รู้สึกเราได้อะไรขึ้นมารึป่าว
ถามว่าเป็นกุศลไหม ก็เป็น แต่มันน้อย
เมื่อกุศลน้อย ความหลงคนมันเยอะกว่า
ทำกุศลบางทีก็ต้องดูผลมันด้วยว่ามันออกมาเป็นยังไง 

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ 2 แบบ

 มุขปโยชน - ประโยชน์เฉพาะหน้า

ปรมฺปรปโยชน - ประโยชน์ที่สืบทอดต่อๆ ไป หมายถึง ไม่ใช่ประโยชน์โดยตรง ยังต้องไปอีกหลายต่อ
เช่น สีเลน นิพฺพุตึยนฺติ คือศีลเป็นปัจจัยสู่พระนิพพาน
แต่ศีลเพียงอย่างเดียวจะไม่พอพาไปสู่นิพพาน

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ยถาห

ยถา + อาห

เป็นคำที่แสดงการยกอ้างอิงว่า ....กล่าว

ถ้าเจอคำนี้ในอรรถกถา ก็คือกำลังยกอ้างพระบาลีอยู่

ถ้าเจอคำนี้ในฎีกา ก็คือกำลังยกอ้างอรรถกถา หรือพระไตรปิฎกอยู่

หมายเหตุ ฎีกา จะอธิบายอรรถกถา หรืออธิบายพระไตรปิฎกที่อรรถกถายังไม่ได้อธิบาย

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ขึ้นลง

อาโรหณะ แปลว่า ขึ้น

โอโรหณะ แปลว่า ลง

 

วันเทวาโรหณะ วันที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จแล้วก็เสด็จขึ้นสวรรค์

วันเทโวโรหณะ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์หลังแสดงอภิธรรม

ประโยชน์ของการรักษาศีล

ประโยชน์ของการรักษาศีล

  • ละความเกียจคร้านในการทำกุศล
  • ละความเพลิดเพลินในอกุศล

ยทิ, สเจ, เจ

ยทิ

สเจ

เจ

แปลเหมือนกันว่า ถ้าว่า, ผิว่า, หากว่า

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สวรรค์

สคฺค

สุ+อคฺโค

อคฺค = อารมณ์

สุ = ดี

เป็นภพภูมิที่เลิศด้วยอารมณ์


โลก (สวรรค์)

ที่แสดงผลบุญอันยิ่งใหญ่
(ภูมิอันเป็นที่ปรากฏแห่งผลบุญอันโอฬาร)

โลกิยติ เอตฺถ อุฬารํ ปุญฺญผลนฺติ โลโก


อตฺตโนมติ (อัตตโนมติ)

อตฺตโนมติ (อัตตโนมติ)

ไม่ได้แปลว่า มั่วมา และไม่ใช่การแสดงความเห็นแบบงูๆ ปลาๆ อันนั้นยังไม่ถึงชั้นอัตตโนมติ

 

อตฺตโนมติ

เป็นความเห็นที่ผ่านการวิเคราะห์เทียบเคียงหลักฐานพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา มาแล้ว

แต่ว่ามันไม่มีที่มาที่ไปโดยตรง

จึงสรุปความคิด เสนอเป็นสมมติฐานของเราขึ้นไปอย่างมีเหตุมีผล

เรียกว่าเป็นความเห็นของผู้คงแก่เรียน

 

ระดับน้ำหนักของหลักฐาน

  1. สุตฺต – พระไตรปิฎก (ในที่นี้ สุตฺต ไม่ได้หมายถึงแค่พระสูตร)
  2. สุตฺตานุโลม – มหาปเทส 4
  3. อาจาริยวาท – อรรถกกา
  4. อตฺตโนมติ

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

วุตฺตญฺเหตํ

เป็นคำที่บ่งบอกว่า คำที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นคำที่อ้างอิงมา

วุตฺตญฺเหตํ – “.....(แล้วก็ต่อด้วยประโยคที่อ้างอิง).....”ติ

 

ตัดบทได้เป็น

วุตฺตํ + หิ + เอตํ

เอตํ = คำที่จะกล่าวต่อไปนี้

วุตฺตํ = อัน somebody ได้กล่าวแล้ว (ซึ่งถ้าในที่นี้อ้างพุทธพจน์ วุตฺตํ นี้จึงมีอนภิหิตกตา เป็น ภควตา)

หิ = นั่นเทียว

 

สำนวนแปลนิยม

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คนมีศีลไม่ใช่คนดี

 คนมีศีลไม่เท่ากับคนดี

คนมีศีล คือคนที่งดเว้นสิ่งไม่ดีได้


คนมีสมาธิ ใช่จะมีศีล เพราะมันไม่มีอะไรให้งดเว้น

เมื่อออกจากสมาธิถ้าไม่ระวังให้ดี บางทีจะยิ่งแรงกว่าปกติ


ศีลนี่จะเกิดเป็นบางครั้ง

เวลาอยากจะด่า งดเว้นได้ นั่นคือมีศีล

ศีลไม่ได้เกิดตลอดเวลา เกิดเป็นบางครั้ง


ศีลดีไม่ดี ดูที่เมื่อเกิดเจตนาไม่ดีขึ้นมาในใจ และเหมือนจะมีเงื่อนไขให้ทำได้ด้วย เขาทำหรือเปล่า

ลักขณาทิจตุกะของศีล

 ลักขณาทิจตุกะของศีล


1. ลักษณะ : 

สีลํสมาธานลกฺขณํ ปติฏฺฐานภาวลกฺขณํ วา

คือความสำรวมกายวาจาให้เป็นระเบียบ และความเป็นที่ตั้งของกุศล

(หมายเหตุ ในบาลีใช้ สีลนํ ลกฺขณตสฺส แต่ต้องไข สีลนํ ออกมาเป็น สมาธานํ และปติฏฺฐานภาว จากการตอบคำถามข้อที่ 1,2)


2. รส : 

ทุสฺสีลฺยวิทฺธํสนรสํ อนวชฺชรสํ วา

มีการปิดกั้นอกุศลที่เป็นเหตุให้กลายเป็นคนทุศีล

และมีคุณสมบัติอันไม่มีโทษ


3. ลักษณะปรากฏ :

โสเจยฺยปจฺจุปฏฐานํ

มีความหมดจดเป็นอาการปรากฏ


4. เหตุใกล้ :

หิโรตฺตปฺปปทฏฺฐานํ

มีความละอายและกลัวต่อบาปเป็นเหตุใกล้


Note จากวิสุทธิมรรค > สีลนิเทส

ความหมายของศีล

 ความหมายของศีล


  1. สมาธานํ คือไม่ปล่อยกายกรรม วจีกรรม ให้กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ
  2. อุปธารนํ ความเป็นที่ตั้งของจตุภูมกกุศล เป็นธรรมชาติรองรับจตุภูมกกุศล 


อันนี้เอาไว้แก้ การอธิบายสำหรับที่มีแปล สีล ว่าปกติ งั้นทำความชั่วเป็นปกติก็เป็นศีลน่ะสิ

แต่สีลตรงนี้องค์ธรรม คือ กุศล
กุศลทั้งหลายแหล่มีศีลเป็นต้น 

มีกายเป็นระเบียบ มีวาจาเป็นระเบียบ
พูดอีกอย่างก็คือมีมารยาททางกาย วาจา


ศีล คือ สำรวม ตั้งกายวาจาไว้อย่างดี

ส่วนสมาธิ คือการตั้งจิตไว้อย่างมั่นคง

อาจารย์เหล่าอื่น

 ในหนังสือ บางครั้งจะพบการอ้างถึงความเห็นของบุคคลอื่น


อปเรวาท

อญฺเญวาท

เอเกวาท

เกจิวาท


อญฺเญ, เอเก, อปเร แปลว่า อาจารย์ท.เหล่าอื่น 

อันนี้ระดับความน่าเชื่อถือเดียวกันกับผู้เขียน


เกจิ แปลว่า อาจารย์ท.เหล่าอื่น 

ถ้าใช้คำว่า เกจิ หมายถึงว่า อ.ที่กล่าวถึงนี้มีได้รับการยอมรับน้อยกว่าผู้เขียน

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ความหมายของ อุปนิสัย อุปนิสสยะ

 อุปนิสสยะ = พลวการณํ = เหตุที่มีกำลัง

ศีล เป็นอุปนิสสย แก่วิชชา 3 (เป็นเหตุให้เมื่อพระอรหันต์บรรลุแล้วได้วิชชา 3)
สมาธิ เป็นอุปนิสสย แก่อภิญญา 6
ปัญญา เป็นอุปนิสสย แก่ปฏิสัมภิทา

มีตนส่งไป

 มีตนส่งไป = มีจิตส่งไป

ตน หรืออตฺต ศัพท์ในที่นี้ หมายถึงจิต

อตฺต ศัพท์ อาจมีความหมายได้ 4 อย่างแล้วแต่บริบท
กาย จิต สภาวะ อาตมัน ในที่นี้คือ แปล "ตน" ว่า "จิต"

คำว่า "ส่งไป"
แปลไทยได้ว่า อุทิศ คือแบบพุ่งไปเลย ไม่สนอย่างอื่น

อธิสีลสิกขา

 อธิสีลสิกขา ศีลที่ใหญ่กว่าศีลทั่วไป

เป็นศีลพื้นฐานเพื่อการได้มรรคผลนิพพานโดยตรง
ศีลที่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่มรรคผลนิพพาน
ถ้าเป็นศีลที่นำไปสูสวรรค์ เรียก ศีลสามัญ

อธิศีล จะไม่ใช่ สีล ใน สีเลน สุคตึ ยนฺติ (เป็นศีลที่ยังนำไปสู่ภพชาติ)

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา เทสนา

 สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อันนี้เป็นการแสดงแบบ สพฺพสงฺคหกวาจา

คือเป็นการพูดรวบเอาทั้งหมด


แต่เวลาปฏิบัติจริง เห็นรูปก็คือเห็นรูป ไม่ได้เห็นนาม เห็นทีละ  อารมณ์นั่นแหละ ไม่มีใครเห็นครอบจักรวาลในขณะเดียว เพราะฉะนั้นการเห็นสพฺเพฯ จริงๆ น่ะ เป็นไปไม่ได้ อันนี้เป็นแบบแห่งการเทศนาเฉยๆ 


การบรรลุ ก็เป็นปจฺกขญาณ เห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เหลือเป็นอนุมานญาณ เช่น เห็นรูปไม่เที่ยงอย่างไร ก็อนุมานว่านามไม่เที่ยงอย่างนั้น 

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

How do you professionally say


I’m not accepting that meeting because it’s a waste of my time

Declining this invite as I don’t feel my participation in this disscussion is required

 

I’m not working for free

Our current work agreement reflects a 40 hour work week. I understand there will be weeks where this number will fluctuate but those circumstances are the exception as opposed to the rule if the expectation is moving toward I am to work over 40 hours per week then I would be happy to review my contract and compensation to better reflects this change

 

How many times do I need to tell you this

I encourage you to write down this information to refer back to in the future instead of relying on me to communicate it again

 

I can’t keep doing the job of 4 people so hire someone

Do you have a timeline of when we are planning to hire someone to assist with my workload the number of responsibilities I have absorbed are not sustainable long term and would benefit from some additional support

 

That timeline is ridiculous why would you commit us to that

Thank you for sharing that timeline with me can you help me understand how this amount of work is acheivable in such a short period of time

 

I can’t take anymore work right now

I’m unable to take that on at the moment as my current workload is quite heavy is there someone else who can assist with this?

 

Your micromanaging isn’t making this go any faster

Though I appreciate your attention to this, I feel as though I could be more productive if had an opportunity to work independently here

 

If I’m doing your job for you, then what are you doing all day?

Is there a higher priority task that is consuming all of your capacity at the moment?

 

These meetings are unnecessary

Being respectful of everyone’s time can we communicate about this via email?

 

If you want it done your way then just do it yourself

As you seem to have a very clear vision for the execution of this I encourage you to take the lead here and I am happy to support where necessary

 

You’re not my boss stop trying to assign me work

Have you connected with my boss in regards to me taking this on? As it has not been communicated that I will be woring on this

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เหตุของทิฏฐิ 8

 เหตุเกิดของทิฏฐิ 8

  1. ขันธ์ 5 เป็นฐานให้ทิฏฐิยึด
  2. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ
  3. ผัสสะ กระทบแล้วไม่รู้จักการกระทบ ทิฏฐิจึงเกิด
  4. สัญญา หมายไว้แล้วเชื่อมัน
  5. วิตก
  6. อโยนิโสมนสิการ คิดไม่ระวัง
  7. ปาปมิตร
  8. ปรโตโฆษะ

สังวรรณนา

สํวณฺเณตพฺพ - สิ่งที่พึงอธิบาย
สํวณฺณนา - คำอธิบาย


เช่น เมื่อพิจารณา พระไตรปิฎก - อรรถกถา

สํวณฺเณตพฺพ - พระไตรปิฎก
สํวณฺณนา - อรรถกถา


เมื่อพิจารณา อรรถกถา - ฎีกา

สํวณฺเณตพฺพ - อรรถกถา
สํวณฺณนา - ฎีกา

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปจฺจเวกขติ

 ปฏิ + อิกฺขติ = ปจฺจเวกฺขติ
= มองดูอย่างเฉพาะเจาะะจง (พิจารณา)
คือมองเฉพาะมุมนี้ๆ ที่กำลังพูดถึงอยู่

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ไม่ใช่มรณสติ

รู้จัก มรณะ ที่เป็นอารมณ์ของมรณสติให้ดี

คือ 

  1. จุติ ความเคลื่อนจากความเป็นสัตว์นั้น จากความเป็นหมา เป็นแมว เป็นคน เป็นเทวดา
    จะมีภาวะเคลื่่อนอันหนึ่ง่ อันนั้นแหละ เรียกว่า มรณะ
  2. จวนตา ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน
  3. เภโท 
  4. อันตรธานํ ความหายไปจากความเป็นสัตว์นั้น
  5. มจฺจุ
  6. มรณํ
  7. กาลกิริยา
  8. ขนฺธานํ เภโท ความแตกของขันธ์
  9. กเฬวรสฺส นิกฺเขโป ความทิ้งกายหยาบเอาไว้ (กายทิพย์ก็แตกแต่ไม่ทิ้งกายหยาบ ที่ทิ้งได้มีแต่กายหยาบ ส่วนพวกที่มีกายหยาบ กายยังรวมกันอยู่ทั้งๆ ที่ขันธ์แตก ทิ้งกายหยาบ แต่อีกไม่กี่วันก็จะแตกนั่นแหละ ส่วนพวกกายทิพย์เมื่อขันธ์แตกก็สลายหายไปเลย)
  10. ชีวิตินทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท ความเข้าไปตัดของรูปชีวิตินทรีย์ ที่ทำให้รูปที่เกิดจากกรรมไม่เกิดอีกต่อไป ชีวิตไม่ต่อแล้ว

มรณสติ ไม่ได้หมายรวมถึง

  1. - สมุจเฉทมรณะ ความตายของพระอรหันต์
  2. - ขณิกมรณะ ความตายของสภาวธรรม จิตทุกดวงเกิดดับ อันนี้เอาไว้เจริญวิปัสสนา (อนิจจานุปัสสนา)
  3. - สมมติมรณะ ความตายแบบสมมติ เช่น แก้วแตก ต้นไม้หัก แม่ตาย พ่อตาย คนนั้นคนนี้ตาย เวลามองไม่ได้มองสัตว์ตาย แต่มองความตายที่มีอยู่ในตัวสัตว์

ให้นึกถึงความเคลื่อนของสัตว์หนึ่ง ไปสัตว์หนึ่ง สักวันหนึ่งความเคลื่อนจากความเป็นคนจะมี

ให้นึกถึงความจริง คือ ภาวะที่ทำให้สัตว์เคลื่อนจากความเป็นอย่างนั้น นั้นมีอยู่ ชื่อว่า มรณะ
เมื่อเกิดขึ้นปุ๊บความเป็นคนจะหายไป
ความเป็นบุคคลนี้จะหมดไป
เมื่อเกิดขึ้นความเป็นหมาก็จะหายไปเลย
เท่ากัน

ความเป็นสัตว์นั้นจะมี มรณะ เป็นที่่สุด
จะไม่ข้าม มรณะ ไป
จะไม่กระโดดเลย มรณะ ไป

เป็นการนึกถึงอนาคต
ภาวะอันหนึ่งนี้ ที่ชื่อว่า ความตาย
วันหนึ่งจะมาถึงแน่ๆ
มีสภาพนี้เป็นธรรมดา

ให้นึกถึงภาวะมรณะนั้น

ไม่ห่างจากฌาน คืออยู่่กับอารมณ์ที่ถูกต้อง

ฌาน หมายถึง


การเพ่งจิตลงไป ใส่ใจในอารมณ์ที่ควรจะอยู่ ทำให้ไม่มีนิวรณ์ แล้วก็สามารถทำให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น นำไปเจริญสมถะวิปัสสนาต่อไปได้

ฌานมี 2 แบบ
- การเพ่งอารมณ์ จับอารมณ์ไว้ทำให้จิตสงบอย่างหนึ่ง
- การจับลักษณะของอารมณ์เพื่อให้เกิดปัญญาอย่างหนึ่ง

เมื่อทำอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ก็ชื่อว่าอยู่ไม่ห่างฌาน (อารมณ์อนุสสติ 10) ทำใช้ได้ ทำถูกต้อง ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

หลงกาย ลืมกาย

 หลงกาย ลืมกายหลายๆ แบบ

ลืมกาย ลืมไปเลยว่ามีกายใจลอยออกข้างนอกไปเลย

หลงกาย ไม่ลืม แต่...

  • หลงว่ามันสวย 
  • หลงว่ากายเรา เรายืน เราเดิน เรานั่่ง่ เรานอน
  • หลงเอากายไปทำนั่นนี่โดยนึกว่ากายจะได้รับผลประโยชน์ พามันไปกินอร่อยๆ ไปดูรูปสวยๆ ถ้าหลงไปอันนี้จะเกิดโทษต่อจิต จิตจะเศร้าหมอง
  • หลงว่ากายจะไม่รู้จักตาย แท้จริงนี่เป็นแค่ศพเดินได้ เดินได้เพราะจิตยังอยู่ก็เท่านั้น

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

15-23 พ.ย.65

 สังขารระหว่างทางในคอร์สยาว

  • แม้จะผ่านมาขั้นหนึ่งแล้ว เมื่อมาอยู่ต่่อหน้ากาม ก็ยังเหมือนกับภาวนาอะไรไม่เป็น ความยึดอาการเป็นแท่งนั่นไม่ได้ต่างอะไรกับสมัยเมื่อเริ่มภาวนาเลย แค่เปลี่ยนตัวละคร ที่เหมือนจะดีขึ้น้มาหน่อยก็คือไม่ไปคว้ามาเป็นของเรา ได้แต่ดูเวทนาแบบไม่มีสัญญาเก่า ไม่มีสังขารอะไรมาประกอบ เพราะระลึกอะไรที่เป็นเรื่องราวก็ไม่ได้ เท่านั้นก็สำแดงอาการความยึดออกมาอย่างเต็มที่ของมันเลยทีเดียว แค่รู้้สสึกว่าอารมณ์ "เก่า" เท่าานั้้น และก็ปรุงเลยเถิดไปว่า เคยอธิษฐานอะไรไว้หนอ ทำไมจึงได้้ปักใจขนาดนี้ ก็ถอนอย่างงูๆ ปลาๆ ไป แต่ไม่หมดหรอก เขาหยุดพักชั่วคราวเท่านั้น้เอง 
  • ทำไปทำมาระหว่างนั้นก็ปล่อยสังขารทำงานไปเก้อๆ จิตก็ทักจิตขึ้นมาว่่า นี่ล่ะหนา ความวุ่นวาายของผู้ไม่จบกิจ นี่่ทุกข์กับเรื่องไม่ควรทุกข์ พิจารณากับเรื่องที่เอาจริงถ้้้าไม่ใส่ใจก็ไม่เดือดร้อนนะ แต่่ด้้วยรู้้ตัวว่่่ายังไม่่ผ่าน งานยังมี ก็เลยเดือดร้อนอยู่อย่างนั้น
  • ในความวุ่นวายหลวมนี้ ดูจะเชื่องกับบริกรรมดีอย่างน่าประหลาดใจ "ความตายจักมี ชีวิตจักหมด" จิตเชื่องกับวลีนี้อย่างประหลาดก็ได้อาศัยเปป็นเครื่องอยู่ไป
  • จิตเหมือนจะสอนการเพ่งให้้ตัวมันเองเป็นครั้งแรก จาากที่เคยอับจนกับการเพ่งอาารมณ์ที่ไม่เห็นทางเลยว่าอะไรคือความเป็นหนึ่ง ไม่สามารถเห็็นความนิ่งจากภายนอกได้ไม่ว่าอย่างไร คราวนี้มันวกเข้้าเพ่งข้างใจ อารมณ์ภายนอกเลยดูจะนิ่งไป ในช่วงจงกมสั้้นๆ 15 ก้าว มันดูจะนิ่งตามสั่งให้ได้พอเห็นว่า ออ เป็นอย่างนี้้
  • ลองใช้จิตอย่างนี้้ดูอารมณ์ ใบโพธิ์ที่ตอนแรกสวยสด ดูไปดูมาเหี่ยว ใจก็สลดไปตามอารมณ์
  • หลังจากกามุปาทานมาสอนอารมณ์อาลัยอาวรณ์ เมื่อเวทนานั้นผ่านไป ก็เข้าสสู่ภาวะความสงบ หลังจากนั้้น ความสงบก็สอนการติดความสงบให้เห็น ภวราคะเป็นอย่างนี้
  • งานต่อไปก็ถึงคิวพิจารณาอสุภะ ใจไม่ได้คุ้น ก็ต้องค่อยๆ พามันมา
  • รอบนี้ก็็ได้มุมมองอีกอันหนึ่งมาที่ติดจิต คือ ขันธ์ทั้งหมดเกิดใหม่เสมอ ปัญญาเห็นไกลๆ ว่าจับตรงนี้มาพิจารณาได้ คนที่เราคุยด้วยเมื่อเช้าเขาตายไปแล้ว และจะไม่กลับมาอีก แต่ตรงนี้พิจารณาแล้วยังเศศศร้าอยู่ ปัญญายังน้อยนิด
  • นั่งดูไหติดบ้านพาไปเกิด ไหเรียบร้อย ไหเลอะเทอะ ก็ไปติดบ้านที่ไม่เหมือนกัน 
  • มีโมเม้นต์ที่ผ่าศพพ่อแม่ น้ำตาไหลเป็นทาง
  • สัมปชัญญะน่ะสอนไปหมดแล้วนะ อะไรมีประโยชน์ก็เลือกเอาบ้างซี่ จะทำให้มันเป็นเหมือนเดิมเหรอ

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

30 ต.ค.65

ปัญญาในกาม สำหรับอินทรีย์อ่อนๆ

1. มีสติรู้อาการให้ทัน
2. เห็นว่าการถูกครอบงำนั้นเป็นทุกข์

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ข้อสังเกตในอกุสลาธัมมา (ยังไม่รู้คำตอบ)

  • อโทสะ มีในกุสลา ธัมมา แต่ โทสะ ไม่มีใน อกุสลา ธัมมา
  • อัพยาปาท มีในกุสลา ธัมมา แต่ พยาปาท ไม่มีใน อกุสลา ธัมมา
  • มิจฉาทิฏฐิ มีกล่าวซ้ำ 2 ครั้ง
  • สัทธา สติ และปัญญา พบเฉพาะในกุสลา ธัมมา
  • ยุคลธรรม 6 คู่ พบเฉพาะในกุสลา ธัมมา

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

Stupid rules

 When the rules get pathological 

if you gonna stand up and break a rule
think about it and you willing to take the consequences

But there's the consequences to not standing up to stupid rules too
and if you think that's those consequences are lesser,
then you suffer from the DELUSION
that there's an easy path through life

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

12 - 15 ส.ค.65

ไปวัด ส่งการบ้านแค่ว่าเห็นมันหลบผัสสะ หลวงตาไม่ได้ว่ากระไร หลบก็ไม่เห็นสิ


สังเกตเห็นว่าจากคลิปที่ฟังๆ ลต.พูดเรื่องการพิจารณากาย พิจารณาอสุภะ
แม้ไม่ได้รู้สึกถึงความต่อต้านอะไร
แต่ใจเหมือนจะนิ่งๆ ไม่น้อม
คือ เมื่อมีผู้บรรยาย ใจก็เคลื่อนตามไปดูความไม่สวยงามตามนั้น
แต่ภายใต้การไม่มีอะไรเหนี่ยวนำ มันไม่สนใจในอารมณ์ดังกล่าว

แต่สิ่งที่กระแทกใจได้เสมอๆ คือ
ความพลัดพราก
เหมือนคลิปนางปฏาจารา ดูเป็นสิบรอบก็ยังร้องไห้ได้เฉยๆ

ในสมาธิอธิษฐานขอสิ่งที่ติดอยู่ให้ปรากฏ
และอธิษฐานให้ท่านอธิบายทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เพราะเหมือนมั่วไปมั่วมาอยู่ภายในอยู่นั่น

ในสมาธิมีภาพแว่บหนึ่งเป็นความวุ่นวายของสงคราม
ทุกคนแตกกระสานซ่านเซ็นไปคนละทิศละทาง
ดูจริงเสียอย่างกับเคยผ่านเหตุการณ์นั้นมาก่อน
แต่ก็แค่แวบเดียวและไม่เห็นอีกเลย

เป็นความรู้สึกถึงความพลัดพรากอย่างช่วยไม่ได้
พร้อมกับเปรียบเทียบว่า ความโกลาหลอย่างนั้น ภาวนาได้ยากหนอ

ในจิตเกิดความรู้สึกราวกับว่า
กาลครั้งหนึ่งเคยอยู่ร่วมกับบุคคล หรือไม่ก็สิ่งที่ดีมากๆ
มันดีจนติดใจมาถึงทุกวันนี้
ไม่รู้ว่าคือใคร หรือเป็นอะไร
ดีเสียจนเข้าใจได้ว่าทำไมชาตินี้จึงไม่สนใจจะหาคู่หรืออะไร
เมื่อเคยมองเห็นท้องทะเลกว้างขวางแล้ว ก็ไม่มองสระน้ำเล็กๆ ในสายตา
ในความรู้สึกมันเป็นแบบนั้น

ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นชัดอีกหลังกลับมาวันแรกและระหว่างจะเดินไปเข้างาน
อินจนน้ำตาซึม และพยายามจะอยู่กับความรู้สึกนั้นอย่างตรงไปตรงมา
ถึงที่ทำงานเสียก่อน เลยทำได้แค่ญาตปริญญา
ขอบคุณความดีงามอันนั้น พร้อมกับสังเกตรอบตัวว่ามันเป็นอารมณ์ที่แม้เดินอยู่ท่ามกลางความวุ่นวาย
แต่ใจก็ fixate อยู่ตรงนั้น
ความรู้สึกนี้ในวันถัดๆ มา พัฒนาเป็นความหลบเข้า safe zone อ่อนๆ
ราวกับเรื่องอื่นดูไร้สาระ ไม่ก็พยายามจะพิจารณาสิ่งที่มันยังทำไม่จบ

อีกประเด็นที่กระแทกใจได้เสมอคือ
"แล้วมันก็จบลง" 
"จะไม่จบลงก็ไม่ได้"
มีน้องอธิบายให้ฟังถึงความเป็นวัฏจักรของเหตุการณ์ต่างๆ
น้ำตาไหลไม่หยุดราวกับใจนี้พยายามจะเหนี่ยวรั้งอะไรบางอย่างไว้
และก็รู้อยู่แก่ใจด้วยว่า "มันเป็นไปไม่ได้"

น้ำตาไหลจนปวดหัว
ทั้งหมดทั้งมวล ลึกๆ รู้สึกว่าเป็นอารมณ์เก่าอย่างไรชอบกล
ตอนน้ำตาไหล ภายในก็งงๆ ว่าเสียใจอะไรหนักหนาหนอ

ความเป็นวัฏจักรนี้ยังไม่รวมลงเป็นนิพพิทากระมัง
ความเห็นไม่พียงพอ

การไปวัดรอบนี้
เมื่อสวดพระปริตรใจรู้สึกอินกับพุทธานุภาเวนะ และธัมมานุภาเวนะเป็นพิเศษ
ใจมันสะท้านมั่นใจขึ้นมาเหลือเกินว่าด้วยอานุภาพนี้นี่แหละ
จะพาสู่ โสตถิ เม/เต โหตุ สัพพทา ได้

ในสมาธิที่เดิน

ทุกข์คืออะไร?
ก็สังขารหมดนั่นแหละทุกข์ เป็นสิ่งเกิด เป็นสิ่งต้องดับ

ตัณหาคืออะไร?
อะไรทีค้างเติ่งนั่นแหละตัณหา

แล้วละตัณหาคือยังไง?
ก็ละความเห็นผิดในมัน มันก็เป็นสังขารแหละ ค้างเติ่งไม่ได้หรอก

...(เงียบ)...
เนี่ยแหละ ชิมๆ ให้พอรู้ สัจฉิกิริยา


วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

กำหนด

กำหนด ไม่แค่รู้เฉยๆ
ไม่ใช่การเพ่งใส่ให้มันกลายเป็นอะไร (ทำงั้นจะโง่กว่าเดิม)

กำหนดคือ
แยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร

เช่น เจ็บขา

เจ็บ - เวทนา
ขา - เป็นกาย ไม่ได้เจ็บ

อยากกลืนน้ำลาย

อยากกลืน - เป็นจิต
น้ำลาย - เป็นรูป

แยกไม่ออก คือยังกำหนดไม่ได้

ใจเย็นๆ ค่อยๆ ค้น ค่อยๆ ดู

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า

เห็นจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตอกุศล ก็มีจิตที่ดียิ่งกว่า คือจิตกุศล
จิตกามวจรกุศล ก็มีจิตที่ดียิ่งกว่า คือจิตรูปาวจรกุศล
จิตรูปาวจรกุศล ก็มีจิตที่ดียิ่งกว่า คือจิตอรูปาวจรกุศล

คือการรู้จักจิตในระดับต่างๆ ว่ามีหลายๆ แบบ
แต่จิตก็คือจิตที่เป็นของไม่เที่ยง

เห็นจิตในจิต คือเห็นจิตสักว่าเป็นจิตเท่านั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น

กายคตาสติ VS สติปัฏฐาน

อารมณ์เหมือนกัน วัตถุประสงค์ต่างกัน

กายคตาสติ เน้นฝึกให้ใจไม่ลอย เอามาอยู่กับกายไว้

สติปัฏฐาน เน้นฝึกปัญญา ให้เห็นว่าไม่เที่ยง ไม่เป็นตัวตน

เชื่อมต่อกันได้ ใจไม่ลอยแล้วมาเจริญปัญญา

เวทนา VS นิวรณ์

เวทนา เกิดจากผัสสะ เกิดได้แม้ไม่ต้องมีสัญญา
นิวรณ์ เป็นสังขาร เกิดจากสัญญาที่จำเอาไว้มาปรุงแต่ง

บุญ VS กุศล

บุญ เป็นฝ่ายสมาธิ เพื่อกั้นตัณหา
กุศล เป็นฝ่ายปัญญา เพื่อแก้ทิฏฐิ

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ติดกามคือติดกายวิสัยกล่าว

15 ก.ค.65 

รู้สึกตัวกลางดึกมานั่งสมาธิ
ก่อนนั่งแผ่กรุณาขอให้สัตว์โลกทั้งปวงจงพ้นจากทุกข์
จงเข้าถึงสัมมาทิฏฐิ
จงมีโอกาสเข้าถึงอริยสัจที่ทรงตรัสรู้มาโดยยากนี้ด้วยเทอญ

ในความว่าง...

ติดกามมีรากมาจากติดกาย
จิตกับกายแท้จริงนั้นไม่เกี่ยวข้อง
แต่อยู่ด้วยกันมานาน ก็เสือกเข้าไปรับสุข รับทุกข์ของกายมาร่วมรับรู้

เหมือนมนุษย์เมื่อมาติดอยู่กับโลกนานๆ ก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปกับโลก

การมีอยู่ของกายที่คล้ายจะเป็นเรานี้
เพราะกายมาจากกรรม
เป็นเครื่องฟ้องกรรม ถึงความอยากได้แสวงหา ณ กาลหนึ่งในอดีต
จึงกอบโกยเอาดินน้ำมาปั้นเป็นรูปร่างอิงอาศัยกันไว้

ลองมองในมุมมะนาวต่างดุ๊ดดูบ้าง
ทุกอย่างในโลกจะไม่ใช่เรื่องใหญ่
เฉกเช่นทุกอย่างในกายก็เป็นไปของมันอย่างนั้น
ไม่ต้องพูดถึงกาม ที่เล็กน้อยมาก

มองในมุมที่พร้อมจะกลับดาวแม่ตลอดเวลา
พร้อมจะออกจากโลกตลอดเวลา
พร้อมจะออกจากกายตลอดเวลา
กามจะกลายเป็นเรื่องทีห่างไกลเสียจนไม่มีค่าจะกล่าว

วิสัยอย่างนี้บทจะมาก็มา
เมื่อวิสัยมาเยือน มุมมองก็ต่างออกไป
เหมือนออกมาอยู่อีกมิติหนึ่ง แล้วมองไปอีกมิติหนึ่ง 

กิเลสจุกจิกระหว่างวันดูจะกลายเป็นธุลีไร้ความหมาย
จะมีเยอะมีน้อยก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับเส้นทาง
ความไม่เข้าใจเหตุผล ไม่เข้าใจหลักการ
ความงี่เง่าที่หาความเชื่อมโยงไม่ได้ ดูไร้สาระเมื่ออยู่ต่อหน้าวิสัย

เรื่องที่เคยใหญ่ก็กลายเป็นเรื่องเล็ก
เรื่องที่ใกล้ ก็เป็นเรื่องที่ไกลห่างออกไป
เป็นอย่างอื่นไป ไม่ได้มีธุระจะต้องไปเกี่ยวไปข้องอะไร

แล้ววิสัยก็หยุดลง
คงเหลือความสบาย สงบเย็น และเงียบเชียบ

ขอบคุณที่มาเยือน

บันทึกถึงความขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พร 6 ประการ

 พร 6 ประการ

  1. ชนทั้งหลายยังไม่อิ่มด้วยความโลภใด ขอความโลภนั้นอย่ามีแก่เราเลย
  2. ทรัพย์ทั้งหลายจะเสื่อมสิ้นไปด้วยโทสะใด ขอโทสะนั้นอย่ามีแก่เราเลย
  3. ขอเราอย่าได้ต้องเห็น อย่าได้ต้องฟัง อย่าได้ต้องอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ขอกระทำและไม่ขอชอบในในการเจรจาปราศรัยกับคนพาล เพราะคนพาลย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ คนพาลนั้นถึงจะพูดดีก็โกรธ เขาไม่ได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี
  4. ขอเราจงได้เห็น จงได้ฟัง จงได้อยู่ร่วมกับนักปราชญ์ ขอกระทำและขอชอบใจในการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์
  5. ขอให้เรานั้น เมื่อให้อยู่ ศรัทธาไม่พึงเสื่อมไป ครั้นเมื่อให้แล้ว ก็ไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง
  6. ขอท่านอย่ามาหาเราอีกเลย การเห็นท่านเช่นเทวดาที่จะสำเร็จสมประสงค์ทุกอข่างแล้ว ก็จะประมาททำความเพียรปรารถนาเป็นเทวดา การเห็นท่านจึงเป็นภัยต่อเรา

3-5 มิ.ย.2022 / 2565

 3-5 มิ.ย.65

ณ ภูเขาห้าลูก พระพุทธรูปมัว ใจแข็งกระด้าง สร้างเป็นขอบเขต ไม่กลมกลืนขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะไปกับน้อง จึงเกิดคู่ควบอย่างนั้นขึ้น

มานะนี้ ทำงานโดยการเปรียบเทียบ เห็นคนอื่นดีกว่าแล้ว ก็เกิดปฏิกิริยา แต่มันก็เป็นเช่นนั้นเอง

ความไม่รู้นี่จู่โจมหลายทาง

รอบนี้เริ่มต้นด้วยส่งเสริมให้ไปสงสัยเรื่องการแช่ก่อน

แช่อารมณ์ไม่สดชื่น แล้วคิดว่าไม่ต้องแก้

ซึ่งโดยหลักแล้วก็ไม่ต้องแก้จริงๆ แต่ก็ดันไม่ ตื่นรู้ด้วยไง ปล่อย อยากแช่ก็แช่ไป

สงสัยว่า จะต้องแก้ด้วยหรือ เดี๋ยวก็หายนิ เกิดเป็นความสองจิตสองใจว่าจะเอายังไงกับอารมณ์นี้

ความสองจิตสองใจนี้ก็เป็นพลาดดอกที่ 1 ... ต้องการทำอะไรเพื่ออะไร (ยกนี้เธอชนะ)

(จริงๆ เทศน์ก่อนกลับวันนี้ก็ได้คำตอบว่า ถ้าออกจากอารมณ์ทางใจไม่ได้จริงๆ มันติดจริงๆ ให้กลับสู่กาย)

อุบายที่ได้ในรอบนี้ คือ มันไม่ไปแก้ แต่ก็ต้องไม่ปล่อยจม 1 อารมณ์

การแช่ เป็นการที่อารมณ์เป็นใหญ่ และลืม background ลืมผู้รู้
ซึ่งเมื่อลืมผู้รู้นี่ มันเลยถูกครองงำในสิ่งเดียว ไม่มีส่วนแบ่งภาคมาเปรียบเทียบ

 

ไป 3 วัน เห็นมานะ 3 แบบ

วันแรก – เห็นอารมณ์อึนๆ

วันที่สอง – ฟังเทศน์แล้วใจคลาย คลายตรงคำว่า “พระพุทธเจ้าชักสะพานกลับ”

วันที่สาม – เห็นความกระด้างตั้งอยู่คนละส่วนกับใจ

 

ขอขมาพระรัตนตรัยไปในใจก็สั่นสะเทือนอย่างมาก ครูบาอาจารย์ว่าให้ขอขมาออกมาจากใจ

อีกองค์ว่า ที่เขาเคยติด และหลุดได้ก็เพราะ “กลัวตัวเอง”

ดังนั้นให้มาเห็นโทษ เมื่อเห็นแล้วว่ามันเป็นขี้ ไม่มีใครกำอยู่ได้หรอก

 

มีคำชี้แนะมาว่ามันมีเคสที่มานะขึ้นแล้วเป็นทุกข์

กับมีเคสที่ มานะขึ้นมา แล้วทุกข์ แล้วหลบ เช่นเห็นหน้าคนนี้แล้ว

 

ข้อสังเกตด้วยตัวเองสำหรับรอบนี้คือ

มานะมาพร้อมกับโทสะ แต่ไม่ได้เกรี้ยวกราด อาจจะไม่ปรากฏแล้วตัดเข้าหลบเลยก็ได้

ตากระทบ – ใจเปรียบเทียบ – ไม่ชอบใจ – โทสะ – แช่ว่าง / หลบผัสสะไปอารมณ์อื่น

 

ขมวดมาลงที่ประเด็น ว่าที่ว่ารู้ รู้นั้นเป็นกลางต่ออารมณ์หรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่พึงแยบคาย

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

20 พ.ค.2022

20 พ.ค.65
เมื่อใช้ชีวิตหย่อน กามราคะก็กลุ้มรุม
เมื่อใช้ชีวิตตึง ปฏิฆะ ก็กลุ้มรุม

เมื่อไรหนอ เราจึงจะใช้ชีวิตอยู่ผู้เดียวโดยปราศจากตัณหาเป็นเพื่อนได้

ความไม่เป็นดังใจก็มาจากการมีสเปคนี่แหละ เห็นอะไรไม่ตรงอยู่ ค่อยๆ ดูไปนะจิต

17 พ.ค.2022

17 พ.ค.65

วันนี้ใช้เวลาแบบไม่มีช่องว่างจะโอลัลลา เอาจริงใจก็เฉยๆ แต่ก่อนนอนกลับไปเห็นเกมเติมน้ำ เลยโหลดมาเล่น สังเกตดูใจ เหมือนกับอยากไร้สาระวันละนิดก็ยังดี

ตั้งแต่วิเวก ก็ฝึกน้อมอรูปมาเป็นอารมณ์เสมอๆ แล้วก็พบว่าอยู่ดีไม่ว่าดีก็จะชอบไปอยากข้องแวะในรูป 

แต่สำรวจดูเวทนาเอาจริงแล้วเฉยนะ หรือนี่คือความต่างระหว่างรูปราคะและกามราคะ? (สันนิษฐานเองล้วนๆ)

เวลาต่อมาจึงทราบว่าไม่ใช่ สงสัยเองตอบเองเสร็จสรรพ

ได้เป็นข้อสังเกตว่า ความเพลินในกามนี้ มีเวทนาเป็นอุเบกขาก็ได้

15 พ.ค.2022

15 พ.ค.65 วิสาขบูชา ขอนอบน้อบแด่พระรัตนตรัย

ระหว่างนั่งสมาธิพิจารณาอรูป อากาศความไม่สิ้นสุด อะไรๆ ก็ไม่มี ความเป็นช่องว่างระหว่างโมเลกุล โดยสรุปคือทำในใจโดยอรูป

ผลที่ได้ ข้อดี เมื่อกระจายความเป็นรูปออก กามก็ไม่มีที่ตั้ง 

และแม้การพิจารณาอรูปจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ช่วยให้เกิดฉากหลัง ไม่ไปโฟกัสกับกาม มีตัวเทียบว่า กามนี่เป็นเป็นสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น ค่อยๆ ถอดถอนความรู้สึกครอบงำ

ข้อสังเกต ระหว่างพิจารณา ความว่าง เมื่อเอาสัญญาคนสลับเข้ามา และทำให้ว่างไปทีละคน สลายไปทีละคน ถึงจุดหนึ่งกลายเป็นจินตภาพว่าคล้ายกับอยู่ในเกมส์แล้วยิงคนทิ้ง ยุติความเป็นคน หล่นกองแต่เสื้อผ้า ผลคือใจรู้สึกเฉยๆ ไม่ต่างจากผลักตุ๊กตาให้ล้ม ถึงจุดนี้สติเตือนว่าระวัง เพราะดูจะใกล้กับอุจเฉททิฏฐิมาก 

เมื่อสติเตือนดังนี้แล้ว ได้ตามพิจารณาต่อ จึงเห็นว่านี้ก็ความคิดที่ปรากฏขึ้น อาศัยเหตุคือสติเข้าประกบทัน อาศัยเหตุคือฉากหลังปรากฏขึ้น ความคิดที่สืบต่อจากความว่างนี้จึงไม่เตลิด

ได้บทเรียนว่า
การฝึกพิจารณาโดยที่ฐานสมาธิไม่ได้แข็งแรงดี พึงยึดวัตถุประสงค์ให้แม่นมั่น ว่าเพื่อกระจายรูปไม่ให้เป็นที่ตั้งแห่งกามเท่านั้น อาจจะโดนลากเลยเถิดถ้าสติตามไม่ทันได้

7 พ.ค.2022

กลับจากวิเวก 7 วัน 1-7 พ.ค.65 พิจิตร

กลับมารู้สึกว่าการออกจากกาม ใช้มุมอนัตตา / สุญญตา จะสะดวกสบายแก่จิตกว่าใช้มุมอนิจจัง

11 พ.ค. 65
อยู่ดีๆ ก็นึกขึ้นมาว่า ทำงานเป็นเครื่องอยุ่ไปอย่างนั้น

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

งงใจ

 

ความรู้ที่ว่ามีอยู่ เมื่อเห็นอกุศล ก็รู้ว่ามันจะผ่านไป จึงไม่มีอะไรให้ไปทำ

การเข้าไปเสพอกุศลต่อขณะที่รู้ว่ามันก็จะผ่านไป

สิ่งที่น่าสังเกต คือการเข้าไป “เฝ้ามอง” ราวกับจะรอดูว่าเมื่อไรจะผ่านไป

สุดท้ายจิตตก

ตกได้ยังไงวะ

ข้อสังเกตคือพอตกแล้ว สักพักเดือดร้อน ผ่านไปสักพักถึงได้นึกได้ “ลืมไปว่า จิตตกก็จะผ่านไป”...งงกับใจ


3 APR 2022


ส่วนหนึ่งจากธรรมหลวงตา


การที่ความคิดไม่ชัดเจน ทำให้เห็นตัวเองไม่ชัด ให้กลับมาหายใจเข้าพุท-ออกโธ มันจะไม่หลงไป สัมปชัญญจะได้ไม่ขาด มันต้องเอาความรู้สึกตัวคานไว้ ไม่งั้นตัวรู้จะไปจี้ใส่จิตจนมันเงียบ แต่ไม่รู้ตัว จึงดูเหมือนเงียบสงบนิ่งเฉย แต่ไอ้ที่ตัวที่เข้าไปดูนี่ไม่ได้นิ่งเฉยเลย

 เป็นผู้รู้ที่มีการกระทำ

 คนที่จะละลมหายใจเข้าออก ละการรู้กายคานอำนาจจิตไว้ จะต้องเห็นผู้รู้ เห็นความไม่มีเสียก่อนจึงจะทำได้ (ต้องเอากายเป็นหลักไว้ก่อนเสมอ)ถ้าย้ายผู้รู้ไปดูจิตตรงๆ จะเกิดอาการจี้ใส่จิต แล้วมันจะเงียบไป เหมือนโปร่งโล่งเบาสบาย แท้จริงไม่ใช่ มันไม่เห็นผู้รู้ ตัวกระดุกกระดิกย้ายไปที่ผู้รู้ ตัวถูกรู้นิ่งสนิท


ว่าด้วยสติและการดับทุกข์ (NbN)

 

ทุกข์ขาดลงเมื่อเกิดสติ                                                   ใช่

สติทำให้ทุกข์ขาดลง                                                       ใช่

สติเป็นเหตุเดียวที่ทำให้ทุกข์ขาดลง                               ไม่ใช่

ไม่มีสติทำให้ทุกข์ไม่ขาดลง                                            ไม่ใช่

ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ทุกข์ก็จะดับ                                            ใช่

เมื่อสติเกิด...สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะไม่เชื่อว่า “ทุกข์ไม่ดับ”       ใช่

เมื่อเชื่อว่าทุกข์ไม่ดับ จะเหมือนไม่มีทางออก                     ใช่

เมื่อคิดว่าไม่มีทางออก จะรู้สึกทุกข์มาก                             ใช่

เมื่อไม่คิดว่าทุกข์ไม่มีทางออก จะรู้สึกเฉยๆ ไม่อินมาก       ใช่

ทุกข์ยังคงเกิดดับ แม้ความเห็นจะถูกหรือไม่                        ใช่

สิ่งที่ต่างไปคือ ความเข้าไปอิน หรือไม่อิน                            ใช่ แค่นั้นเอง

ถ้าไม่รู้ สิ่งที่ไม่ดับคือ ความเห็นผิด ... เมื่อความเห็นผิดว่า “ทุกข์ไม่ดับ” ยังคงอยู่ สังขารนี้จะทำให้ทุกขเวทนายิ่งขึ้น สัญญาจำมากขึ้น

การวางใจในงานอาสา

  1.  อยู่กับรู้รู้
  2. จักหน้าที่
  3. มีกัลยาณมิตร (ผู้ชักชวนให้ละอกุศล)
  4. ตัดใจ (แก้ปัญหาเรื่องอกุศล ละอกุศล 5 วิธี)

a.       เห็นประโยชน์ของกุศล

b.       เห็นโทษของอกุศล

c.       เคลื่อนสายตาไปจากอกุศล ย้ายโฟกัส ไม่เพ่งโทษ ไม่สนใจในทิฏฐิที่แตกต่างกันออกไป สนใจคนเอาจริงก่อน

d.       พิจารณาปัจจัยที่เกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท)

e.       ข่มอารมณ์ ถ้าทำมา 4 ข้อแล้วไม่ได้ผล

 

  • กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ พวกเธอควรมีเราเป็นกัลยาณมิตร มีพระพุทธ พระธรรมเป็นกัลยาณมิตร
  • ผู้ใดเป็นกัลยาณมิตร เคารพความทุกข์ของคนอื่น ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ทุกคนเจอความไม่เที่ยง แปรปรวน เหมือนกัน ไม่พึงไปรังเกียจความทุกข์ หรือไปเพิ่มทุกข์ให้แก่เขา
  • จะไม่เพิ่มทุกข์ให้แก่ผู้มีทุกข์ จะไม่สร้างความสุขอันสดใส ไม่ก่อความนเศร้าหมองให้กับใจ จะไม่ทำร้ายแม้ใครจะร้ายกับเรา

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565

note lecture (1)

 มหาวิปากจิต = จิตที่เป็นผลจากมหากุศลจิต 8 ดวง

วิปากจิต = จิตที่เป็นผลจากทั้งกุศลและอกุศล 36 ดวง / หรือ 52 ดวง

 

จิตที่ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความหมายนี้ใช้ได้ทั้ง มหากุศลจิต และกุศลจิต สองคำนี้ไม่ต่างในความหมาย

มหากุศลจิต = หมายเอาแค่ 8 ดวง

กุศลจิต = หมายเอากุศลทั้งหมด

 

มหากิริยาจิต จิตที่เหมือนกับมหากุศลจิต (เหมือนเฉพาะในแง่ “ไม่มีโทษ”, แต่ “ไม่เหมือน” ในแง่ที่กิริยามันไม่ได้พาไปให้ผลเหมือนกุศล) เกิดในสันดานของจิตพระอรหันต์

กิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยลำพัง (คือไม่เกี่ยวว่าต้องทำกุศล-อกุศลมาก่อน, แต่กิริยา ไม่ต้องอาศัยกุศล-อกุศลเป็นพ่อแม่เหมือนวิปากจิต) จิตที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป

กิริยาไม่ได้อาศัยกรรมเหล่านั้นเกิด แต่อาศัยกระบวนการตามจิตนิยาม

 

อเหตุกจิต = หมายเอาจิต 18 ดวง คือ จิตที่ไม่มีเหตุ 6 เป็นองค์ประกอบ

เหตุ 6 หมายเอา เจตสิก 6 เป็นองค์ประกอบ

 

กามาวจรวิปากจิต

กามาวจร หมายเอา 54

เอาเฉพาะที่เป็นวิปาก 23 [อเหตุกวิปากจิต 15 + มหาวิปากจิต 8]

 

โลกิยอกุศลจิต

ตัดโลกุตตระออกเหลือโลกิยะ

 

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565

ลักขณาทิจตุกกะ

  1. ลักษณะ = สภาวะ สิ่งที่เป็นตัวแท้ของสิ่งนั้น
  2. รส = มีความหมาย 2 อย่าง ได้แก่ 
    • กิจรส : สิ่งนี้มันไปทำอะไร ไปทำให้เกิดอะไร มันมีหน้าที่อะไร
    • สมปตฺติรส : คุณสมบัติ
  3. ปัจจุปัฏฐาน = มีความหมาย 2 อย่าง ได้แก่ 
    • อุปฏฺฐานการ (เครื่องปรากฏ) : มีลักษณะอย่างไรปรากฏจึงรู้ว่าเป็นสิ่งนี้ อาการที่ปรากฏทางใจ
    • ผล : สิ่งที่เกิดขึ้นจากการอาศัยสิ่งนี้
  4. ปทัฏฐาน = เหตุใกล้ เหตุอันสำคัญยิ่ง เมื่อไม่มีสิ่งนั้น สิ่งนี้จะไม่เกิด ธรรมอื่นที่เป็นเหตุให้เกิด
    (ปท+ฐาน ก็แปลว่าเหตุทั้งคู่ ท่านเอามาซ้อนกันก็อารมณ์ประมาณ เฮ้ดเหตุ)