เป็นความโล่ง โปร่งสบาย
ตรงข้ามกับสังขารที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับอะไรไม่ได้
ไม่ใช่แก่นสาร
จึงจะเกิดอนุโลมิกขันติ
ถ้ายังเห็นสังขารบางอย่างเป็นของเที่ยง เป็นสุข
ถ้ายังเห็นธรรมบางอย่างว่าเป็นตัวตน
เช่นนี้ยังไม่ได้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ถ้าไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ย่อมไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม
เมื่อไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม (อริยมรรค)
ก็ไม่หยั่งลงสู่อริยผล
อนุโลมิกขันติ
เป็นปัญญาวิปัสสนา
ที่เมื่อได้แล้ว สามารถทำให้อดทน คงที่ต่อสังขารได้
ภิกษุย่อมได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการ 40
หมายถึง ตอนอริยมรรคจะเกิด
มองเห็นสังขารในแง่มุมไหน จึงจะเกิดอริยมรรคขึ้น
ไม่ต้องทุกแง่ แง่ใดแง่นึงก็พอ
อาการเห็น คือ เห็น "ขันธ์ทั้ง 5 ของตน"
ตามอาการ 40 เช่น
เห็นกายโดยความ....
เห็นเวทนาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นวิญญาณโดยความ....
- โดยความไม่เที่ยง (อนิจฺจโต)
ไม่ใช่แค่เห็นว่าโกรธ ว่าโลภ แต่เห็น อนิจโต คือความไม่เที่ยงของมัน
จากไม่มี แล้วมามีขึ้น
จากมีแล้ว ก็หายไป
ผ่านมาแล้วผ่านไป - โดยความเป็นทุกข์ (ทุกฺขโต)
โดยความบีบคั้น ถ้าแรงๆ ก็เป็นทุกขเวทนา นั่งนานๆ โอ๊ยยยย
เครียดมาก็มึน โอ๊ยยยย ไม่ไหว
มีหัวจึงได้ปวดหัว ไม่มีหางเลยไม่ปวดหาง 555
เพราะมีการงาน จึงโดนการงานบีบคั้น
มีเจ้านาย จึงมีเจ้านายบีบคั้น - โดยความเป็นโรค (โรคโต)
โดยความเป็นรังของโรค มีตาก็มีโรคตา มีตับก็มีโรคตับ
มีใจ เดี๋ยวก็กิเลสครอบ - โดยความเป็นดังหัวฝี (คณฺฑโต)
อักเสบเป็นหนอง เป็นของเสียดแทง น่ารำคาญ - โดยความเป็นดังลูกศร (สลฺลโต)
แทงเอาๆ ถอนก็ยาก ตอนถอนก็เจ็บ
ฉะนั้นต้องยอมเจ็บบ้าง - โดยเป็นความลำบาก (อฆโต)
ต้องมากินอยู่ทุกวัน ไม่กินก็ไม่ได้
มีตาก็ต้องพาไปดูนั่นดูนี่ มีหูก็ต้องพาไปฟังนั่นฟังนี่
ฟังเท่าไรก็ไม่พอ ดูเท่าไรก็ไม่พอ
ถ้ายังมองเห็นว่า ฟังแล้วสุขเหลือเกิ๊นนน ...อันนี้อีกนาน - โดยเป็นอาพาธ (อาพาธโต)
ไม่สามารถทนได้ ทนไม่ไหว - โดยเป็นอย่างอื่น (ปรโต)
เหมือนเป็นของคนอื่น บังคับเอาไม่ได้
อยากให้ดีก็ไม่ได้
ไม่ให้คิดมากก็ไม่ได้
ไม่มีผู้สามารถบังคับบัญชาได้อย่างแท้จริง - โดยเป็นของชำรุด (ปโลกโต)
ชำรุด แตกเสียหายได้
โลก = แตกสลาย, ป = ทั่ว - โดยเป็นอัปมงคล (อีติโต)
เป็นเสนียด เป็นจัญไร
ความจัญไรทั้งปวงรวมลงที่ขันธ์ คือมีขันธ์ก็นำมาซึ่งความพินาศมากมาย - โดยเป็นอันตราย (อุปทฺทวโต)
เพราะมีคอจึงถูกตัดคอ
มีมือนี่ตบชาวบ้านได้นะ ....อันตราย
ฆ่าปลวกก็ได้
มีปากนี่ ด่าคนก็ได้ ...อันตราย
การใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่มีเครื่องรับรองนี้มันอันตราย
มีสติก็พออุ่นใจ แต่ยังไม่เด็ดขาด
ต้องหยั่งลงสู่สัมมตนิยาม
คือ อริยมรรคเกิดนั่นแหละจึงจะวางใจได้ - โดยเป็นภัย (ภยโต)
เป็นของน่ากลัว อีก 5 นาทีข้างหน้าจะไปตีหัวใครรึป่าวก็ไม่รู้
ตอนนี้คิดดีอยู่ อีก 2 นาทีข้างหน้าอาจจะคิดร้ายก็ได้
ถ้าตอนนี้ไม่มีกิเลส โอ๊ยดีแล้ว ... ประมาท
รูปก็เป็นที่ัตัึ้งแห่งอันตราย ใจก็เป็นที่ตั้งของอกุศล - โดยเป็นอุปสรรค (อุปสคฺคโต)
จะทำอะไรก็รู้สึกติดขัด เป็นอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ
อยากบรรลุเหลือเกินแต่...เสียดายยย
ฟังธรรมะดีๆ กำลังอยากบรรลุ ...ออกจากห้องไป ....เรียบร้อย อยากกินนู่นนี่
เป็นความขัดข้อง เป็นอุปสรรคแก่ความสงบที่น่ายินดี - โดยเป็นความหวั่นไหว (จลโต)
จิตไปไหวไปเรื่องนู้นทีเรื่องนี้ที
เหมือนรู้เรื่อง เหมือนเข้าใจ สักพักไม่เข้าใจอีกแล้ว ไหวไปมา
ขันธ์มันก็ทะเลาะกันเอง สับสนวุ่นว
หวั่นไหวด้วยความแก่และความตาย
หวั่นไหวด้วยอำนาจโลกธรรม ที่ไหนมีความโลภ ที่นั่นมีความวุ่นวาย - โดยเป็นของผุพัง (ปภงฺคโต)
ภังค = แตกสลาย, ป = ทั่ว
โดยที่สุดแม้รูปพระศาสดาก็แตกสลายที่กุสินารา - โดยเป็นของไม่ยั่งยืน (อทฺธุวโต)
- โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน (อตาณโต)
เรากำลังเดินหน้าไปสู่ความตาย อะไรจะยื้อไว้ได้บ้าง
ไม่รู้จะหาอะไรมาคุ้มครองให้มันปลอดภัย - โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน (อเลณโต)
ไม่มีที่หลีกเร้น ไปอยู่เกาะไหนถึงจะไม่ตาย
เปลี่ยนที่อาจจะหนีพ้นเสียงนินทา แต่ไม่พ้นความตายไปได้
จะไปซ่อนที่ไหนก็ไม่ได้ จะเป็นที่ให้ใครมาซ่อนก็ไม่ได้ - โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง (อสรณโต)
ที่พึ่งไม่มีในโลก ที่พึ่งไม่มีในขันธ์ 5
จะเอาจิตไปพึ่งกับเวทนาใดๆ สัญญาใดๆ สังขารใดๆ รูปใดๆ ก็พึ่งใครไม่ได้
และก็เป็นที่พึ่งให้ใครก็ไม่ได้ - โดยเป็นความว่างเปล่า (ริตฺตโต)
ว่างจากตัวตน
ว่างจากความยั่งยืน
ว่างจากความงดงาม
ว่างจากสิ่งที่คนพาลถือเอาว่าเป็นเช่นนั้น เช่น ไปซื้อดอกบัวก็หวังว่ามันจะบานตลอดไป - โดยความเปล่า (ตุจฺฉโต)
คำพูด "เรา" ก็เป็นเพียง "วาทะ" ไม่ได้เป็นอะไร
ถึงจะจับให้มันเป็นมันก็ไม่ได้เป็นอะไรอยู่ดี
ถ้ายังเห็นว่าอันใดอันนึงเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นนั่นนี่ ย่อมไม่หยั่งลงอนุโลมิกขันติ - โดยเป็นสุญญะ (สุญฺญโต)
เว้นจากผู้เป็นเจ้าของ ผู้สร้าง ผู้เสพเสวย ผู้สิงสถิต ผู้อาศัย - โดยเป็นอนัตตา (อนตฺตโต)
ไม่มีตัวตน ไม่มีเจ้าของ ไม่มีอำนาจไปบังคับอะไรได้
แม้แต่ตนยังไม่ได้เป็นเจ้าของตน และขันธ์ก็ไม่ได้เป็นของใครๆ - โดยเป็นโทษ (อาทีนวโต)
ไปติดข้องเมื่อไรจะเห็นผลทันใจทีเดียว ... เครียดดดดทันที
เมื่อขันธ์เกิดมา โทษของขันธ์ก็ติดตามมาด้วย
ดำเนินการไปสู่ความเข็ญใจ
อาทีนว เป็นคำเรียกเด็กกำพร้า ต้องพึ่งพาเขาไปหมด - โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา (วิปริณามโต)
ความแปรปรวนเป็นธรรมชาติ เป็นปกติของมัน
มีปกติเปลี่ยนไปโดยสองอาการ คือ แก่ และตาย - โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร (อสารกโต)
คิดว่ามีแก่น ลอกออกมาก็ไม่มี เหมือนต้นกล้วย
ไม่มีแก่นคือ ความเที่ยง ความสุข ความเป็นอัตตา ไม่มีเลย - โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก (อฆมูลโต)
ความลำบากที่กำเนิดขึ้นมาภายหลังนี่มีมูลมาจากกายใจ
ต้องมากินข้าว มาหายใจ มาทำมาหากิน
มีลูกมาคนนึง ลำบากไปนาน
ถ้ามีลูกก็เพลิดเพลินเพราะลูก ... อันนี้ก็ยังอีกนาน 555
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขอย่างอิสระ ไม่ติดข้อง
เห็นเหตุแห่งความทุกข์ยาก - โดยเป็นดังเพชฌฆาต (วธกโต)
เป็นผู้ฆ่า ฆ่าไม่บอกไม่กล่าว
หลอกเราไปทำนู่นนี่ แล้วก็ฆ่าทิ้ง
ให้เราไปหาเงินหาทอง รักษาหน้า ทำความดี
ยังไม่ทันทำถึงที่สุดเลย
วันดีคืนดีฟันคอฉึบ ตายด่วนๆ โหดสัสรัสเซีย
ไม่สามารถไว้วางใจได้เลย
เป็นผู้ฆ่าความไว้วางใจ
เป็นศัตรูที่หน้าเหมือนมิตร เหมือนจะไว้ใจได้ แต่ในที่สุดจะเป็นที่ตั้งแห่งน้ำตาจนได้ - โดยเป็นความเสื่อมไป (วิภวโต)
ปราศจากความเจริญ มีแต่ความเสื่อม - โดยเป็นของมีอาสวะ (สาสวโต)
เป็นอารม์ของอาสวะ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของกามาสวะ
เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์ของ ภวาสวะ
วิญญาณ เป็นอารมณ์ของอวิชชาสวะ - โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขตโต)
ขันธ์ทั้ง 5 จะปรุงไปเรื่อยแหละ ลองนั่งดู
หน้าที่ของเราคือมี ขันติ
ขันธ์ปรุงอย่าปรุงตามมัน อันนี้เรียกขันติ
เป็นของถูกปรุงแต่งไว้ เป็นสิ่งที่เหตุปัจจัยทั้งหลายสร้างขึ้น ถ้าหมดเหตุจะคงอยู่ไม่ได้เลย - โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร (มารามิสโต)
มารก็มีหลายอย่าง เช่น มัจจุมาร กายได้มาแล้วก็เป็นเหยื่อของความตาย
เป็นเหยื่อของกิเลส หัวปั่นอยู่ทุกวันนี้คือเป็นเหยื่อกิเลสอยู่
ท่านไม่ได้สอนให้เราต้องทำความดีเยอะๆ
แต่สอนให้เห็นว่า นี่ที่พูด ที่ทำอยู่นี่ เป็นเหยื่อกิเลสอยู่เห็นไหม?
อย่าฮุบเหยื่อนะ จะตกเป็นเหยื่อเอง 5555
หลงทำตามความคิดนี้อีกละ...
กายก็เป็นเหยื่อของความตาย ใจก็เป็นเหยื่อของกิเลส - โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา (ชาติธรมฺมโต)
ขันธ์เกิดเป็นปกติ เดี๋ยวก็เกิด เดี๋ยวก็เกิด
ธมฺมโต = เป็นปกติ เป็นอย่างนั้นเอง - โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา (ชราธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา (พยาธิธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา (มรณธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา (โสกธมฺมโต)
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา (ปริเทวธมฺมโต)
มีความคร่ำครวญร้องไห้
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา (อุปายาสธมฺมโต)
ความแห้งใจ
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา (สงฺกิเลสิกธมฺมโต)
แป๊บเดียวก็เศร้าหมองแล้ว
เศร้าหมองเพราะกิเลส
ธมฺมโต = เป็นเหตุ
การพิจารณาขันธ์ 5 โดยอาการ 40
- นัยพิจารณาเช่นนี้ เรียกว่า วิปัสสนา หรือ กลาปสัมมสน
ปัญญาที่ตามเห็นอย่างนี้เรียกว่าอนิจจานุปัสสนา
50
ไม่เที่ยง/แตกทำลาย/หวั่นไหว/แตกสลาย/ไม่คงทน
มีความแปรไปเป็นธรรมดา/ไม่มีแก่น/เป็นความเสื่อม/เป็นสังขาร/มีมรณะเป็นธรรมดา
ปัญญาเห็นตามอย่างนี้อนัตตนุปัสสนา 25
ฝ่ายอื่น/อาการว่าง/อาการเปล่า/อาการสูญ/เป็นอนัตตา
ที่เหลือเป็นทุกขานุปัสสนา 125
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น