คือ ตั้งใจเอาไว้ก่อน
สมาทานนี้ก็ดี
แต่มันไม่แน่ไม่นอน
อยากรู้ว่าสมาทานแล้วได้ผลดีแค่ไหน
มาดูตอนกระทบอารมณ์
ถ้ากระทบแล้ว
สามารถรักษาเจตนาที่ดีเอาไว้ได้
ถือว่าใช้ได้
เวลามีคนด่า
โกรธได้ปกติ
แต่ต้องรักษาเจตนาเอาไว้ว่า
อย่าไปทำร้ายเขา
อย่าไปอยากให้เขาเสียประโยชน์
สามารถไม่ชอบเขาได้
แต่ไม่ใช่ไปดีใจเวลาเขาเสียประโยชน์
อันนี้เป็นอาการ "เกินกรรม"
คือเขาก็เป็นไปตามกรรมนั่นแหละ เราไปสะใจนี่มัน "เกิน"
เรามักจะรักษาเจตนาพวกนี้ไม่ได้
เพราะใจมันไม่มีศีล
เวลาเห็นคนไม่ดี โดนจับเข้าคุกก็ "โอ้ย สมควรแล้ว สมน้ำหน้ามัน"
อันนี้เรียกว่าใจไม่มีศีล
เวลาได้กำไรมา
คนอื่นจะเสียผลประโยชน์ก็ไม่เป็นไร
อันนี้เรียกใจไม่มีศีล
เวลาไปเรียนอะไรมา
ก็มี "เราถูก" "เขาผิด"
อันนี้ก็ใจไม่มีศีล เรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่น
จะรักจะชอบสามีคนอื่นก็ได้
แต่ต้องไม่คิดไปแย่งเขามา
ทำการงานอยู่ แล้วบอกความจริงไม่หมด
เพื่อให้เราได้รับประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นมา
อันนี้ก็ผิดศีล
ใครมาทำไม่ดีกับเรา
ก็โกรธเป็นธรรมดา
แต่อย่าไปมีเจตนาทำร้าย
อย่าไปมีเจตนาเบียดเบียน
ต้องมีเจตนาให้เขาพบความสุข
อย่ามีเจตนาให้เขาเสียประโยชน์
ชอบไม่ชอบเป็นเรื่องปกติ
รักไม่รักเป็นเรื่องปกติ
โกรธ ก็เป็นเรื่องปกติ
แต่การเห็นคนอื่นฉิบหายแล้วดีใจ (อันนี้ผิดปกติ - เรียกว่าผิดศีล)
เห็นใครแล้วชอบ อันนี้ปกติ
แต่เจตนาที่จะไปหลอกเขา (อันนี้ผิดปกติ)
เจตนาที่จะให้เขามาหลงเรา ชอบเรา (อันนี้ผิดปกติ)
ทำท่าเป็นให้โอกาส (อันนี้ผิดปกติ)
อาการไม่ปกตินี้คือ
การที่มีเจตนาแอบแฝงอยู่
ทำให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ
การกระทำที่ออกมาจากเจตนาไม่ดี เรียกว่า "ทุจริต"
ทุจริตทางใจ เช่น
คิดให้เขาเสียประโยชน์
คิดดีใจเมื่อเขาเสียประโยชน์จริง
รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด เป็นธรรมชาติธรรมดาทั่วไป
ถ้าเราอยู่กับมันได้
เราก็จะเป็นปกติ
เรียกว่าเป็น "คนมีศีล"
คือ ไม่เสียเจตนาไป
สิ่งที่จะรักษาเจตนาเวลาที่กระทบอารมณ์ต่างๆ นี้คือ "สติ"
พอกิเลสตัวใหญ่ไปแล้ว ถูกครอบงำแล้ว
ก็เสียศีลไป คำพูดและการกระทำก็ออกมาตามนั้น
คนที่จะไม่โกรธ ไม่รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด คือ อนาคามี
ดังนั้น เบื้องต้นไม่ใช่ปฏิบัติให้ไม่โกรธ ไม่รัก ไม่ชอบ
การจะละมันได้ต้องละอคติก่อน
เป็นกลางกับมันก่อน
ถ้าไปปฏิบัติให้ "อคติ" กับมัน อันนี้มัน "ผิดปกติ" ตั้งแต่ต้น
ปุถุชนอยู่กับความโลภ โกรธ หลงอย่างเป็นปกติ
ก็คือ อยู่กับมันด้วยความปกติ
มีมันอยู่ แต่ไม่ให้มันครอบ
คือ ครอบ ก็อยู่ในระดับนิวรณ์ ไม่ใช่ครอบจนกลายเป็นทุจริต
ถ้านิวรณ์ครอบงำใจ ก็ไม่มีสมาธิ
ถ้าทุจริตครอบงำใจ ก็ไม่มีศีล
หมายเหตุ การเห็นคำด่าเป็นเสียงกระทบนี่ ระดับสติต้องเยอะพอตัว
ถ้ายังไม่มากพอ ต้องหาธรรมะแวดล้อมหมวดนั้นหมวดนี้มาเป็นตัวช่วย
สรุปว่าศีลมีการงดเว้นอยู่ 3 ระดับ
- สมาทานวิรัติ - งดเว้นด้วยการตั้งใจเอาไว้ (ตั้งใจเฉยๆ ยังไม่ได้กระทบ)
- สัมปัตตวิรัติ - งดเว้นตอนที่มีการกระทบ
อันนี้ต้องมาดูว่าเรามีเจตนาอะไรเกิดขึ้นหลังจากกระทบอารมณ์ไปแล้ว - สมุทเฉทวิรัติ - พระโสดาบันงดเว้นเจตนาทำร้ายเบียดเบียนโดยสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น