วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การศึกษาในสิกขาบท ต้องตามไตรสิกขา

การจะมีญาณ ต้องฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา

ฝึกอธิศีลเสียก่อน
สมาทานสิกขาบท 5 ตั้งเจตนาเอาไว้

ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะเวลาที่รับรู้อารมณ์
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง
จะได้ไม่ถูกกิเลสหลอก
ไม่ถูกความยินดี ยินร้ายหลอกไปทำ
ใจก็จะมีศีลขึ้นมา

เมื่อละสิ่งหยาบๆ ได้แล้ว
ก็ศึกษาเรียนรู้จิตให้มันมากขึ้น
เรียนรู้ว่าจิตใดเป็นกุศล - อกุศล
เรียกว่าเรียนรู้อธิจิต

การไปทำแล้วก่อให้เกิดอภิสังขารอย่างไรบ้าง
มันผิดอย่างไรบ้าง
เมื่อไปอยากได้ ไปต้องการ ไปยึด แล้วมันผิด
ใจจะเกิดความหนักความแน่นขึ้นมา เป็นอกุศล

ถ้าปล่อยวาง
ก็เป็นจิตที่เบาสบาย ปลอดโปร่ง เป็นกุศล

ถ้าไปเอามาเป็นอกุศล
ถ้าให้ไปเป็นกุศล
ถ้ายึดเป็นอกุศล
ถ้าปล่อยวางเป็นกุศล

จิตแบบไหนเป็นสมถะ
จิตแบบไหนเป็นวิปัสสนา

จิตที่เป็นสมถะ
จิตก็เป็นกุศล เบาสบาย ปลอดโปร่ง
แต่สนใจตัวอารมณ์
รู้จิตที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
มันก็ไม่เห็นไตรลักษณ์

จิตที่เป็นวิปัสสนา
สนใจลักษณะ เห็นแต่ความผ่านมาผ่านไป
ไม่ได้สนใจว่าเป็นอะไร
เป็นธาตุ เป็นสิ่งไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใส่ใจอารมณ์ ใส่ใจลักษณะ

เรียนรู้อย่างนี้ก็จะได้จิตมีสมาธิ
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง

สรุปใหม่

สติสัมปชัญญะฝึกให้เพื่อมีศีล
เพื่อให้มาสนใจภายในมากขึ้น
ถ้าจิตไม่มีศีลมันจะสนใจแต่ภายนอก
คนนู้นว่ายังไง คนนี้ว่ายังไง
ไม่สนใจความรู้สึกตนเอง

ต้องฝึกสติบ่อยๆ มันจึงจะปล่อยอารมณ์ภายนอกได้ง่าย
ไม่ถูกความยินดียินร้ายครอบงำ
มันก็จะไม่ผิดศีล

พอไม่ผิดศีล
มันก็จะได้มาเรียนรู้จิตใจตนเอง
เป็นการฝึกอธิจิต

การฝึกนี้จะเป็นไปตามลำดับ
หากศีลยังไม่มี จะไปฝึกเดินปัญญา
ทำแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์ ทำจนตายก็ไม่ได้ผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น