วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
พฤศจิกายน 56
สังเกตได้ว่าเวลาโมโหนั้น หนังตาจะได้รับผลกระทบเร็วที่สุดตามันบวมๆ หนักๆ เกร็งๆ ยังไงบอกไม่ถูก แต่ต่อมาก็พบว่า เวลามีราคะก็เป็นเช่นนั้นเช่นกัน
การสังเกตต่อมา เกิดจากเมื่อได้ยินเรื่องพระฤาษี ทำไมมันจึงเป็นโทสะ หาเหตุไม่ได้จริงๆ เป็นเพราะไม่ชอบความมืดหรือไรไม่ทราบ
ในบางเรื่องที่เราเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีความเห็น (น่าสังเกตดูว่ามันตัดสินจากอะไร) ดูเหมือนว่าจิตจะได้สร้างความว่างขึ้นมาบางอย่าง เป็นลูกโป่งที่ปรับผิวน้ำให้ราบเรียบ แม้จะรู้สึกว่าคลื่นใต้น้ำก็มีอยู่ มันไม่ใช่ว่างแบบดีเนาะอย่างไรก็ได้ แต่เป็นว่างที่มีขอบเขต และมีอะไรบางอย่างขัดกับสิ่งแวดล้อมอยู่
มีความกลัวในการที่จะออกความเห็นบางเรื่อง อะไรกันที่เป็นเดิมพัน
- กลัวผิด
- กลัวอิน
- กลัวเสียมิตร
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556
13 ส.ค. 56 มุฑิตาลพ.อำนาจ
ถ้ามันรู้ที่มาขนาดนี้จะไม่ไปทำอะไรแปลกด้วยหวังว่าจะมีความสุข
อย่างนั่งสมาธิท่านู้นท่านี้ ต้องทำอันนั้น ต้องท่องอันนี้ ทำแล้วจะสุข
สีลัพพตปรามาสเท่านั้นเอง ถ้าไม่เห็นเป็นอัตตาไปเรื่องศีลพรตจะไม่เกิด
จะไม่มีคร่ำครวญไม่สงบ จะต้องให้สงบ อยากหาย... อันนี้ไปไกลแล้ว คร่ำครวญปริเทว
ผู้ใดยังไม่เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นพึงไปเจริญสติปัฏฐานก่อน
เมื่อสุขก็เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังจะเอาศีลพรตกฏกติกามาทำอะไร
ก่อนไปใจดิ้นรน ใจมันเฉยเฉื่อยเนือยหน่าย อ้อยๆ อิ่งๆ ลังๆ เลๆ ไปๆ มาๆ สุดท้ายก็กึ่งขากึ่งใจสลับกันทำงานฉุดๆ ลากๆ กันไปถึงจนได้ ด้วยความที่เป็นที่ๆ ไม่ได้ไปทุกวันมัน แถมไม่ใช่เป็นวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมอะไรคิดแล้วจะมีแรงฝืดเทียบกับวัดปทุมที่เข้าไปเกือบทุกวันแล้วก็ใกล้เหมือนไปขำๆ ไปแล้ว เหอๆ
ระหว่างลังเลเห็นความดิ้นของใจ ซึ่งก็คิดว่าต่อให้ตัดสินใจอะไรไปหรือไม่ไปก็คุ้มว่ะ ดูมันดิ้นพล่านชัดเลย 5555 ตอนลังเลอยู่ก็คิดว่าจะหมุนเหรียญ แต่แรงจะตั้งอธิษฐานยังไม่มีเรยว่ะ ก๊ากก
คิดๆ ดู ไปถึงได้ยังไงยังไม่แน่ใจ
- ลืมมาทั้งวันมานึกได้ประมาณบ่าย 3 แถมนึกได้แล้วยังมีสลดหน่อยด้วย (ขี้เกียจไป) แต่ก็คิดว่าตรูอุตส่าห์โทรไปขอแลก จะทิ้งไปฟรีๆ เหรอ....
- พอเลิกงานก็ยังคิดเบาๆ ว่าจะไป พอไปหาท่านแม่คุยด้วยยาว + ช่วยทำงาน (มันก็แอบเอางาน + คุยนั่นเป็นข้ออ้าง ถามตัวเองเบาๆ จะไปมั้ยวะ)....
- จนถึงวินาทีที่ถ้าจะไปก็ต้องออกจากสถานที่ตอนนี้แหละ มันก็ยังลังเล อ้อยอิ่งจะกลับบ้านดีมั้ย ไปวัดปทุมดีมั้ง.....
- ด้วยความที่คิดว่า ตัวเลือกการกลับบ้านเป็นอะไรที่แย่ที่สุดเลยตัิดทิ้ง (เบาๆ) ไม่ดาบเดียวสะพายแล่ง ประมาณไม่ได้บีบคั้นตัวเองหากจะเปลี่ยนใจอ้อยสร้อยกลับบ้านก็ไม่ว่ากัน .....ดูมัน
- ถ่วงเวลาจนว่าเอาไว้กินข้าวเสร็จแล้วค่อยว่ากันใหม่ ตัดสินใจพาตัวไปกินที่พารากอนเพราะใกล้ต่อการเลือกทั้ง 2 ช้อยส์
- สุดท้ายก็คิดแบบเนือยๆ ว่า ไอ้สภาพจิตตอนนี้จะปล่อยให้เนือยต่อไปก็ใช่ที่ ไปแปลกที่แปลกถิ่นอาจจะตื่นตัวมากขึ้น ใช้เหตุผลนี้เดินขึ้นรถไฟฟ้าไป และก็ดีจริงซื้อตั๋วได้เร็วดี ไม่ต้องต่อแถว
- ตอนจะเข้ารถไฟฟ้ายังมีความคิดเลื้อยๆ ยุรยาตรออกมาว่าเออ รถเต็มก็ไม่เป็นไรรอคันหลังก็ได้
- ช่วงนี้นับเป็นโหมดอ้อยสร้อยกันสุดๆ ไปเรย แอบมีอยากหายด้วยนะ กลัวติด 5555
ไปแล้วได้ฟังก็ดี ดีแบบกึ่งเฉยๆ ไม่ได้ดีฉูดดีฉาดอะไร ที่แน่ๆ คือดีกว่าไม่ไป 5555
ธรรมที่ออกจากท่่านมันตรงประเด็นเดินเข้าบ้านดี ไม่อ้อมเลาะกำแพงไปๆ มาๆ แต่อย่างใด
ท่านยังฝากว่าพวกเราที่ฟังมามากหลาย แต่ไม่รู้เรื่องสักทีเพราะัฟังเสร็จไม่เอาไปใช้
ไปหาของเรียนเพิ่มนู่นนี่นั่นเยอะแยะ ไม่เอามาสังเกตุสังกา มันเลยไม่ไปไหนสักทีแค่นั้นแหละ
เจอพี่บัวก็บังเอิญได้ดอกไม้จากพี่บัว อะไรที่ลังๆ เลๆ แกก็สอนให้เอาเหตุผลเป็นเครื่องมือ
ลังเลด้วยดิ้นรน ยังไม่เป็นกลาง เป็นคุณพี่ที่น่ารักเสมอเรย ^ ^
เจอพี่ซา แกก็เรียกไปเข้าแถว "รดน้ำศพ" (ลพ.พูดเอง) นะ
ได้ไปดูฉากเด็กร้องแฮปปี้เบิร์ทเดย์แล้วก็รู้เรยว่า สุขมันก็เกิดจากผัสสะนี่แหละ ^_^
ตอนรดน้ำท่านก็ไม่ได้คิดอะไร ออกมาจึงนึกได้ว่าอยากจะกล่าวขอบคุณท่าน
ธรรมที่ท่านนำมาบอกต่อช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากหลาย เป็นปัญญา เป็นกำลัง ได้อย่างดี
ขากลับบ้านจะข้ามถนนมีมอไซค์มาจากไหนก็ไม่รู้เล่นเอาตกใจ แต่ตกใจวงแคบเว้ยเฮ้ย
ใจยืดไปไม่ไกล กลับบ้านอย่างรวดเร็ว ไม่มีโทสะต่อ แต่มีระลึกต่ออีกนิดหน่อย
ตอนเดินเข้าซอย เห็นแระมีรถสวนมา ซอยแคบไม่นึกว่ามันจะขับเร็ว
น้ำกระเซ็นไปครึ่งขา (แต่กระโปรงไม่เปียกแฮะ ดีจัง) มีโทสะจางๆ หรือไม่มี
สติไปโฟกัสอยู่ที่ขาเย็นๆ เพราะน้ำ ยังนึกอยู่ว่าขอบคุณคนขับที่ทำให้มีอะไรให้ดู
หลังๆ วาจาเริ่มเรียบร้อยขึ้นตามอัตภาพ
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เรื่อยเปื่อย 31 ก.ค.56
มันมีความรู้สึกไม่ค่อยแคร์
ไม่จำเป็นต้องแคร์ใครมากกว่าเดิม
กระนั้นนี่ไม่ใช่จิตที่รู้ ตื่น เบิกบาน ดูมันออกจะเป็นจิตที่เมินๆ เฉยๆ ซะมากกว่า
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
อดีตมีพิษเพี้ยงสุริโย
ไปเยี่ยมญาติซื้อของไปให้ กลับมาหาแม่
แต่ด้วยความหมกมุ่นกับตัวของเขาทำให้รู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจ แม้เราจะพยายามทำอย่างเต็มที่ก็ตามเกิดเป็นอาการน้อยใจ เสียใจ พอเสียใจปุ๊บน้ำตาก็เอ่อๆ แล้วก็พบว่ามีอาการชาหัวเข้ามา แล้วมันคุ้น จำได้ว่าอาการนี้เคยเกิดสมัยตกนรกอยู่นั่น ตอนนั้นมันดิ้นด้วยเพราะอาการชานั่นทำให้ไม่รับรู้ ปิดกั้นการรับรู้ แล้วก็มาต่ำต้อยด้อยค่าว่าตัวโง่อยู่เป็นนานสองนาน แต่ตอนนี้ เออจะชาก็ชาไป เสียใจก็ยังเป็นเราเสียใจอยู่ดี ก็ไม่รู้จะทำอะไรให้มันดีขึ้นมาทำไม ขี้เกียจไล่ตาม 555 ช่างมัน แต่ก็ทำให้เห็นว่ามันยังมีชิ้นส่วนที่ยังต้องการการดูแลทะนุถนอม และยังโง่ไม่เสื่อมคลายอยู่
เมื่อวานมีความคิดขำๆ ลอยเข้ามาว่าถ้าญาติสนิทตายไปจะเป็นยังไง แว่บหนึ่งนั่นก็เสียใจและรู้สึกถูกดึงติดเข้ากับอดีต แต่อีกแว่บหนึ่งมันก็มีคำว่า "ปรากฏการณ์ญาติสนิท" เกิดขึ้นในใจ มันสอนตัวเองว่า เกิดขึ้นแล้วดับไปน๊า
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เข้าพรรษาวัดมเหยงคณ์
- ดูเบาๆ ดูแบบแตะๆ ไม่เพ่ง ไม่ได้จ้อง ชำเลืองๆ เหลือบๆ
- ถ้าอารมณ์มันแรงจนเอาไม่อยู่ดูไม่รอดก็ต้องใช้สมถะหยุดมันไว้ก่อน ไม่ไหวก็ใช้ความคิด
- นั่งสมาธิแล้วเครื่องบินตกวูบมี 2 แบบ สัปหงก กับ ...
- จิตให้กับจิตรับต่างกันนิดหน่อย การรับแม้จะดีใจแต่ถ้ามองดีๆ จะมีจิตโลภอยู่ด้วย
- ตอนนั่งสมาธิท่านก็ย้ำอีกครั้งว่าให้นั่งให้สบาย เพื่อไม่ให้ง่วงก็ไปซื้อพัดมานั่งพัด นั่งริมสระรับลมเย็น เหมือนจะมีอยู่ 2 ขณะที่คล้ายว่ากำลังจะเข้าใจอะไรสักอย่าง เห็นความ "ผ่านไป" เกิดเป็นความสุขขึ้น และเหมือนจะมีช่วงที่เกือบจะเข้าใจว่า มีอาการดีใจแบบไม่ีมีผู้ดีใจ ไอ้การมีผู้ดีใจเนี่ย ความดีใจมันไปชิดติดอยู่กับแกนอะไรสักอย่าง แต่การมีอาการดีใจเนี่ยความดีใจมันลอยอยู่กลางอากาศ แต่เห็นแค่ขณะเดียว ไม่ชัดเท่าไร การเสียบหูฟังธรรมะคาไว้ก็ดี พอรู้สึกตัวปุ๊บฟังเสียงธรรมะก็ตื่นทันที ไม่ทันที่จะไหลฟุ้งซ่านเละเทะ ความคิดฟุ้งซ่านทำให้การนอนเหมือนไม่ได้นอน
- ได้ยินท่านตอบคำถามโยมเกี่ยวกับปีติที่ว่าน้ำตาไหล ท่านว่ามันเป็นธรรมดา เรามีชีวิตปกติที่ทุกข์มากพอได้รับความสุขจากสมาธิมันก็น้ำตาไหลเป็นธรรมดา ในตอนที่ไปกราบพระที่เจดีย์โบราณสถานน้ำตาก็ไหลแต่เข้าใจเองว่าไม่เกี่ยวกับปีติ แต่คงเกี่ยวกับการที่ได้นั่งสมาธิมามากอยู่บ้าง แต่เหตุที่ไหลที่รับรู้ได้คือรู้สึกสะเทือนใจที่เห็นซากปรักหักพังของพระพุทธรูป จากที่ตอนเช้าเพิ่งอธิษฐานขอทำร่วมบุญสร้างอุโบสถว่าขอให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ใจเฉยๆ กายเฉื่อยๆ
มีความแปลกเวลาเจอ
มันไม่ชอบในความง๊องแง๊ง
จริงๆ แล้วเราคาดหวังอะไรกับเขากันนะ
มันจะมีกระบวนการวนซ้ำอันน่าระอา
แน่นอนที่สุดว่าผู้ที่เราคบหาเป็นคนดี บางทีสิ่งที่ควรทำแม้ยังไม่รู้อะไรคือการเน้นย้ำในข้อดีอันนี้ ขยายมันจนข้อเสียนั้นไม่มีนัยสำคัญไป
การบันทึกอะไรย้อนหลังนี้แปลก เหมือนไม่สามารถรำลึกไปได้ทันที
มันเหมือนมีกระแสคลื่นสั่นไหวบังอยู่ให้เห็นไม่ชัด
และมันก็ไม่ได้อยากระลึกจึงไม่มีอะไรให้บันทึก หรือจดจำเป็นเรื่องเป็นราวสักเท่าไร ทั้งๆ ที่หากจะเอาจริงๆ เค้นมาบันทึกมันก็จะเห็นอะไร แต่ด้วยความรุ้สึกว่ามันปรุงแต่ง มันจะเห็นแค่เงาของความจริง เพราะความจริงมันจมไปอยู่ไหนแล้ว ดีไม่ดีหายไปแล้ว
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั่น 2
เกิดจากความหงุดหงิด เป็น stress เวลาเจออะไรที่ต้องรีบๆ เร็ว
บังเกิดเป็นความสั่นไหวขึ้นมา
ครั่น
ความครั่น ปัญหาในสายราคะ
ครั่นทั้งตัว ครั้นทั้งใจทรมานดีแท้
ระหว่างเดินจงกรมรอบพระธาตุ ก็ได้ยินจิตบอกว่า "ขันตี ปรมัง ตโปตีติกขา"
ทนๆ เอาเด้ิอ
หลายครั้งในช่วงนี้ รู้สึกว่า อะไรๆ เคยทำมาหมดแล้ว
การเห็นไม่ยาก ตาไม่เปิด ถ้าตั้งได้เมื่อไรก็เห็นทันที
ลองเอาคำพูดของคนอื่นมาทวนดู
บางคำจะพบว่า ด้วยความเป็นเราแล้ว ไม่มีทางพูดอย่างนั้นออกมาได้
เช่น มีคนมาขอร้องให้ช่วยเหลือ เราไม่มีทางพูดว่า "ขอเล่นตัวพองามก่อนนะ"
หรือการพูดยอกย้อนอย่าง
จำเรื่องวันก่อนได้มั้ย ด้วยความเป็นเรา ไม่มีทางพูดว่า "เรื่องวันก่อนมีตั้งหลายเรื่องเธอหมายถึงเรื่องไหน"
เห็นหน้ากากอัตโนมัติ เมื่อคนอื่นมีกระแสมา เห็นทางเลือกมาเสนอว่า มันน่าจะทำอย่างนี้นะ แต่ด้วยสภาวะจิตที่มีความเฉื่อยในการปรับทำให้ยัง "ไม่ยอม" ปรับ
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เบื่อ
เป็นความเบื่อในความคิด
รักนะแต่แค่คิดว่ารัก ประโยคนี้เป็นความจริงนะ
แต่ยังไม่เห็นเป็นความจริง เพราะยังไม่เห็นมันจึงยังไม่ยอมรับและไม่ปล่อยไปนี่ไง
หงุดหงิดแต่ไม่คิดว่าหงุิดหงิดก็จบ แต่ไม่จบจริงนะ มีอะไรบางอย่างหลุดรอดไปได้
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เจ้าความคิดซะเหลือเกิน
ความทนได้ต่อความทุกข์ คือทนที่จะให้กิเลสลากคอไปๆ มาๆ ได้ มองแง่นึงมันก็เป็นกำลังอย่างนึงเหมือนกัน แต่ออกจะบ้าใบ้หนวกบอดไปหน่อย
ที่น่าสนใจคือกำลังตรงนี้ถ้ารวมเข้ามา ในทิศทางอันถูกต้องและเป็นระเบียบน่าจะเพียงพอ
ถ้าเช่นนั้นมนุษย์จึงมีศักยภาพในตัว
ปัญญา กับสมาธิ??
ทำไมแว่บหนึ่งของความรู้สึกรู้สึกว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
3 กรกฏาคม 2556
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เพราะฉันอยู่ตรงนี้
เพราะฉันอยู่ตรงนี้ เธอจึงอยู่ตรงนี้ไม่ได้
เพราะเธออยู่ตรงนั้น ฉันจึงอยู่ตรงนั้นไม่ได้
การสวัสดีค่ะ ขอให้โชคดีนะคะ ช่วยกันความหงุดหงิดเล็กๆ เวลาข้ามถนนได้
อยู่ใกล้อะไรมากๆ จะติดภาพลักษณ์ของสิ่งนั้น
สองสามวันที่ผ่านมาดูคุณนายจะดูละเอียดละออนุ่มนวลขึ้นกว่าปกติ
ดอกไม้เริ่มโรยรา
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556
งานมุฑิตาลพ.มิตซูโอะ 1-2 มิ.ย.56
ที่ช่วยได้คือ
ลมหายใจเข้า - ที่ลึกพอ 1 วาบทำให้หัวสว่างได้ (แต่ดึงได้แค่ครั้งเดียว ครั้งอื่นไม่สำเร็จ) มีการหายใจสั้นๆ 29 ครั้งแล้วดึงยาวในครั้งที่ 30 อาจจะช่วยฝึกได้
ที่สังเกตชัดคือ การอยู่กรุงเทพหายใจลำบาก ในท่า vertical หายใจปกติยากมาก ไม่มีปัญหานี้ตอนอยู่ผาซ่อนแก้ว
อีกอย่างที่(อาจ)จะช่วยได้ให้คุมความง่วงคือ เมตตา - เห็นมีเขียนในบทสวดมนต์
ข้อสังเกตคือ พอง่วงจะมีความสำออยตามมาด้วย เหตุผลเนียนๆ ว่าทำไรอ่ะ ทำเพื่ออะไร มันไม่ตอบโจทย์นะ บลาๆ มาทำให้ลังเล
แต่สังคมวัดเป็นสังคมที่เห็นการให้ได้ชัดเจนมาก
- แดดร้อนเดินมาด้วยกัน คุณลุงส่งหมวกให้
- การล้างเท้าให้พระที่กลับจากบิณฑบาต
- การไม่ปฏิเสธคำขอ
- การคอยประกาศให้ข้อมูล อย่างเต็มใจ
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
เ่ล่าสู่กันฟัง 22 พฤษภาคม 2556
เมื่อวันก่อนที่รู้สึกถึง "พุทโธใหญ่" กับ "พุทโธเล็ก" มาคิดดูอีกที มันจะมีใหญ่มีเล็กไปได้อย่างไร ในเมื่อ 1 พุทโธก็เติมเต็ม 1 ขณะจิต จึงเป็นทฤษฏีขึ้นมาได้ว่า ไอ้ที่รู้สึกว่า "ใหญ่" นั้น ความจริงคือ "หลาย" หมายถึง หลายขณะ ส่วนเล็กนั้นก็เป็นขณะสั้นๆ ที่ถูกคั่นด้วยกระแสฟุ้งซ่าน
เวลาที่พุทโธไปแล้วมันถูกแทรกด้วยกระแสฟุ้งบ่อยๆ มันจะทำให้เกิดความท้อแท้ได้ แต่เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็อย่าไปท้อมัน ถึงจะเป็นพุทโธเล็ก มันก็คือตัดเวลาให้สั้นลง อย่าไปว่ามันด้วย
เมื่อวานระหว่างทางเดินก็พบทูตจากพระเจ้า ตอนแรกว่าขี้เกียจฟัง แต่ก็หยุดฟังด้วยตั้งใจว่าเอามาเป็นเครื่องเปลี่ยนอารมณ์ก็ดี และก็ฟังด้วยจิตที่คิดว่าให้กำลังใจคนพูดไปเขาคงยืนมาทั้งวัน ฟังไปฟังมาก็รู้สึกว่าเขาพูดเรื่องพระเจ้า ถ้าแทนคำว่าพระเจ้าด้วยจิตเดิมแท้นี่จะลงกันเป๊ะเลยกับพุทธ เขาว่า...
พระเจ้านั้นสร้างเราขึ้นมา ประกอบด้วยส่วน กาย จิต และวิญญาณ ซึ่งพระเจ้านั้นอาศัยอยู่ในวิญญาณ ..อีกนัยนึงก็คือ พระเจ้านั้นอยู่กับเราตลอดเวลา
สิ่งที่ทำให้เข้าไม่ถึงพระเจ้าก็คือบาป เพราะมนุษย์มีบาปจึงเข้าไม่ถึงพระเจ้า .. ฟังดูคำว่าบาปนี่ก็คล้ายกับคำว่ากิเลส
ดังนั้นเมื่อชำระบาปออกไปก็ย่อมเข้าถึงพระเจ้า รับรู้การคงอยู่ของพระเจ้า
การสารภาพบาปเป็นการประกาศจิตใจที่ซื่อตรง กำจัดอธรรมออกไป พระเจ้าให้อภัย
ฟังดูแล้วก็เย็นดี ^^
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สิ่งที่ได้เรียนรู้เอง
จากว่าง สักพัก มันก็เข้าไปจับที่ความคิดในใจ จับไปจับมา แล้วพบว่าหลงอยู่กับความคิดในใจ - มโนผัสสะเป็นสัดส่วนมากกว่าอายตนะอื่นๆ พอใจว่างแล้วกลายเป็นที่ตั้งให้กับความฟุ้งซ่านได้อย่างง่ายดาย นี่เองที่เขาต้องพุทโธ ปิดรอยนี้เอาไว้ ไม่ให้ความเผลอเพลินเอาไปกิน
มันคงไม่เคยชินที่จะอยู่กับความว่าง
อีกคืนต่อมาที่กลับจากเดินธุดงค์ขึ้นเขา
ปวดขามาก เมื่อยขามาก แต่บอกกับตัวเองว่าก็ดี ดูเป็นเวทนาไม่ใช่ตัวเราไป
ทู่ซี้เดินบนพระเจดีย์ ด้วยท่าทียังไงก็ได้ เอาให้เมื่อยๆ สุดๆ หมดแรงกันไปข้างเลย
พอง่วงได้ประมาณนึง มันก็เริ่มแยกผู้รู้ออกมา
จิตที่คิดอกุศล เออก็คิดไป เรื่องของแก ไม่เอาตัวเข้าไปรับความเศร้าหมองใดๆ
ตอนไปทำพื้นโมเสก กลับลืมคำว่า Harmony ไปซะฉิบ ฟังแล้วก็ให้ขำตัวเอง
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๗) - 12 พ.ค.56
- ที่แจ้วๆ ว่าเรา ก็คือ สังขาร นั่นหมายถึง มีเพียงความคิดที่เป็นเรา
- ถ้าไม่มีเราก็ไม่มีอะไรไปรองรับทุกข์
- การอธิษฐานก็ต้องเข้มแข็ง ตั้งใจจริง ไม่เหลาะแหละ
- มันต้องชัด และแรงพอที่จะตัด นิพพานเป็นอัพยากฤตธรรมที่ชัด
- ขณะที่มันแจ้วๆ อยู่ว่า "เราอย่างนู้นอย่างนี้" มันก็เกิดเฉลียวขึ้นมาว่า "เอ๊ะ! นี่มันไม่ใช่เรา"
- ภพชาติมันแค่เวทนา
- ถ้าเข้าไปสู่ความตั้งมั่นเป็นกลางบ่อยๆ มันจะออกจากภพชาติเอง
- มาตรฐานลพ. 4 ชั่วโมง ทำไมต้องนั่งนาน เพราะยิ่งนาน ยิ่งชัด กิเลสยิ่งอ่อนกำลัง
- อ่อนแอ งมงาย ขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๖) - 10 พ.ค.56
- หัดแยกความรู้สึกกับความคิด
- ความคิดจะไม่ล้ำเกินไปจากความจำ แต่ความรู้สึกนั้นจะต่างออกไป และเป็นแค่สภาวะ ไม่ได้แสดงสถานภาพของความรู้สึก
- ความอยากได้ปัญญาก็เพื่อมาสนองอัตตา
- มีแต่ทุกข์ (ความไม่คงที่) เกิดขึ้นแล้วดับไป -- ธรรมฐีติญาณ
- วจีสังขารก็เป็นสัญญาที่ผสมขึ้น
- มีความพึงพอใจในรูป ก็คือ มีอุปาทานในรูป
- ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ก็แค่เผลอเพลินประเดี๋ยวเดียวก็หาย
- บุคคลคิดถึงสิ่งใด วิญญาณก็ตั้งในสิ่งนั้น
- ในสังขารมีสัญญา ในสัญญา มีเวทนา (เราจำเฉพาะเรื่องที่ทำให้เราสุข หรือทุกข์)
- ญาณก่อนนิพพานนั้นจะเกิดเป็นภาพรวมๆ
- ความคร่ำครวญอยากได้เวทนา มันก็ส่งผลให้คิดใหม่ ปรุงใหม่ ออกเป็นบุญ เป็นบาป เป็นการข่มอารมณ์ วิญญาณก็เข้าไปรับรู้ ส่งผลสู่นามรูป
- เวทนาเกิดจากกายส่วนใหญ่ มีที่สุดแค่กาย
- สังโยชน์ก็เกิดจากเวทนา
- สิ่งหนึ่งเมื่อปรากฏขึ้นแล้ว มันปรากฏลักษณะอื่นด้วยเสมอ -- มันเสื่อม
- สมาธิทั้งหมดคือการออกจากความคิดมาอยู่ที่ความรู้สึก มันจึงเทลาดไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง นั่นคือ นิพพาน
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๕) - 9 พ.ค.56
- มันเป็นกระแส ไม่ได้มีใครไปเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครมีอุปาทาน ไม่มีใครมีเวทนา เพียงแค่เกิดจากผัสสะ เป็นกระแสขึ้นต่อเนื่องกันเท่านั้น
- เมื่อไม่รู้จักผัสสะจึงเกิดเป็นเวทนา เป็นตัณหา เป็นอุปาทาน ภพชาติ ความคับแค้นใจ
- รูปนั้นก็เกิดจากธาตุ 4 ดับจากธาตุ 4 เซลล์คนเราก็ผลัดทุกวัน เกิดดับตลอดเวลา copy ถ่ายสำเนาไปเรื่อยๆ เสื่อมลงไปเรื่อยๆ
- อวิชาชาพูดง่ายๆ คือความไม่รู้ขันธ์ 5
- รูปกระทบกันทำให้เกิดเวทนา แล้วเวทนาก็ทำให้เกิดจิตที่มีราคะ / โทสะ / โมหะ
- สัมปชัญญะ เข้ามารู้สึกตรงจิตเดิมแท้ ไม่ใช่ตัวราคะ โทสะ ซึ่งอันนั้นเป็นจิตสังขาร
- ความคิดนั้นไม่ได้เกิดจากสัญญาบริสุทธิ์ มันเต็มไปด้วยความคิดความเห็น ที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส ซึ่งวิปลาสก็หมายถึง ความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
- สรุปว่า จำผิด ก็คิดผิด
- เท้ากระทบพื้น ท่องไปในใจ โป้ง ชี้ กลาง นางก้อย แต่ไอ้ตัวปรมัตถ์มันไม่ได้รู้ด้วยหรอก
- กลับมารู้สึกที่ตัวเดิมแท้, จิต, วิญญาณ
- ที่เราฟังไปทั้งหมดก็เพื่อไปปรุงเป็นภาพ สร้างขึ้นมาก็ไม่มีตัวตน พอนึกปุ๊บก็มีเวทนาไปผสมทันที เช่น เราพูดถึงกุ้ง (รสกุ้ง สีกุ้งก็ตามมา)
- ความเห็นลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- เวทนานั้นทำให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
- พรหม มีรูปเดียวกัน สัญญาเดียวกัน
- เวลาเราดูวีดีโอ อ่านนิยาย จริงๆ เราเห็นจินตนาการ ไม่ได้เห็นคนจริงๆ ทุกอย่างนั้นมันไปกระตุ้นจินตนาการ สุดท้ายก็คือไปจบอยู่ที่เวทนา ไปกระตุ้นเวทนา
- ถ้าขาดจินตนาการ เช่น เวลาจะซื้อเสื้อผ้า มันก็อะไรก็ได้ สีอะไรก็ได้ ไม่มีรสชาติ
- ภพทั้งหมดก็ตอบสนองเวทนา
- การดูจิตในจิต ก็ดู ราคะ โทสะ โมหะ (ความพอใจในอุเบกขา) ถ้าเมื่อละสามสิ่งนี้ได้แล้วมันก็ไม่ได้เหลืออะไร
- พระโสดาบัณ - ละความเห็นผิดในตัวตน (แต่ยังละไม่ได้) มีความฟุ้งซ่านในธรรม (มันไม่แล้วใจ)
พระอรหันต์ - ละอุปาทานขันธ์ 5 - ถ้าไม่รอบรู้ในสิ่งทั้งปวง จะยังไม่ไปนิพพาน
คำว่า "สิ่งทั้งปวง" หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส
คำว่า "มาร" ไม่ใช่อะไร หมายถึง สภาวะที่มาบดบังนิพพาน หรือก็คือการปรุงแต่ง - อาจหาญ ร่าเริง สง่างาม เป็นตัวของตัวเอง
- ใน 1 วัน อยู่กับความรู้สึกตัวที่ไม่ถูกครอบงำโดยการปรุงแต่ง
- ถูกผัสสะบังหน้า ถูกผัสสะปุ๊บก็กระโดดเข้าไปปรุงแต่ง ให้มาดูแค่ "มีการกระทบเกิดขึ้นนี่นา"
- อาศัยสติ - ทำให้ไม่เหม่อ ไม่เผลอ ไม่เพลิน
- เพราะเวทนาทั้งหมดให้ผลเป็นความเผลอเพลิน
- ความรู้สึกตัวไม่เคยหายไปไหน ส่วนสิ่งที่เป็นผัสสะนั้นเกิดแล้วก็ดับ
- ไปเทอดค่าว่ามันต้องอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นเวทนาเท่านั้น แท้ที่จริง ความสุขจากอย่างหนึ่งไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือด้อยค่าไปก่วาความสุขจากอีกอย่างหนึ่ง
- คำว่าทุกข์นั้น หมายถึง ทุกขลักษณะ - แปลว่า ลักษณะอันคงที่อยู่ไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงทุกขเวทนา
- นิวรณ์ธรรม ไม่ได้เรียนเพื่อจะกำจัด แต่เรียนเพื่อดูลักษณะ
- สติปัฏฐาน 4 ทุกตัวเป็นการดูลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- อุปาทาน มันจะเทอดค่าให้ยิ่งใหญ่ หรือต่ำต้อย
- สังโยชน์ เคยมีเพราะอะไรก็รู้ ไม่มีเพราะอะไรก็รู้
- เสน่ห์ของโพชฌงค์ 7 นั้นอยู่ที่ ปัญญานำสมาธิ มันไม่ได้เกิดมั่วๆ เป็นการเก็บข้อมูลวิจัย พอสติบริบูรณ์ (ตามดูลักษณะ) งานวิจัยก็บริบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน
- ถ้าโลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ตลอดเวลา ใครมันจะไปนิพพานได้
- จิตที่ไม่แส่ส่ายมันก็ตั้งอยู่กับที่ เรียกมันว่า สมาธิสัมโพฌชงค์
- มองสมาธิด้วยใจที่เป็นกลางๆ
- อุปาทาน มีหน้าที่ยึดกับความอยากแบบไม่ปล่อย
- ภพชาติ ไม่ได้มีอยู่ก่อน
- พุทธะเป็นสภาวะธรรม ความหายสงสัยในในพุทธ ธรรม สงฆ์ คือความเห็นในสภาวธรรม ไม่ใช่หายสงสัยในพระพุทธเจ้า
- ถ้ายินดีกับการคลุกคลีเป็นหมู่คณะ จะไม่เห็นนิมิตแห่งจิต เมื่อไม่เห็นนิมิตแห่งจิต จะไม่ขึ้นสัมมาทิฏฐิ
- เผชิญหน้ากับความสงัด
- เห็นจิตไม่ได้มีตัวตน ลบความรู้สึกว่าเราเป็นนู่นนี่ในหมู่คณะ
- กลับไปดูตัวเองว่ายังเป็นตัวนี้อยู่กี่ %
- ปมด้อยนั้นมันทำให้เกิดการต้องการความยอมรับ
- ต้องละวาทะตัวตน
- ศีลพรตลองไปดูว่ายังติดความงมงายอะไร
- กระแส เวลาคิดเมื่อ + ด้วย สัมมาทิฏฐิ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ จะเข้าสู่กระแส
- ไม่ว่าคิดอะไรมันก็ไม่มีทางใช่สิ่งนั้น
- เวลาโกรธ - "เขาผิด เราถูก"
- รักษาจิตอันปกติ (เป็นเครื่องอยู่ที่ง่ายสุด)
- ดูเกิดดับ
- ละการแสวงหา
- กายสังขารสงบระงับ (พวกเข้าฌาน)
- แค่กำจัดนิวรณ์ 5 ก็เข้าสมาธิได้
- จะมีญาณเกิดขึ้นว่า คนชั่วและคนถ่อยทำสมาธิไม่ได้
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๔) - 8 พ.ค.56
- "ว่าง ไปไหนกันดี"
- ต้องทำอะไรเสียวๆ จิตจะอยู่กับที่ดี ป่ะ ปีนกำแพงวัดกัน
- เนสัชชิกนี่ห้ามหลับนะ โงกปุ๊บโดนเพี๊ยะเลย นั่งแล้วหลับนี่ใช้ไม่ได้
- อารมณ์นั้นเป็นอาหารของจิต พอจิตไม่มีอารมณ์มันก็หมดหน้าที่
- เพลงระบำสุโขทัย, ทวารวดี เพลงสมัยก่อนฟังแล้วสงบเย็นใจ
- เป็นผู้นำไม่ต้องเครียดก็ได้ พอจ.อยู่กลางป่าเขายังทำงานได้ เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลยเห็นไหม ไม่ใช่ว่าต้องวางอำนาจสั่งเอาๆ
- เพลงไม่มีเวลา ของอ.พุทธทาส - แค่มีสติรู้ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นก็พอ
- เพลงขลุ่ยทิเบต
- เดินป่าเดินเขา อยู่แต่กับปัจจุบัน จะพลาดตกหรือเปล่า ไม่ปฏิบัติก็เหมือนปฏิบัติ
- ผลการเดิน - เหนื่อยน้อย เมื่อยน้อยกว่าการเดินจงกรม
- อยู่วิเวกป่าเขาซักฟอกอารมณ์ได้ดี ทำไมหนอเจอหน้าคนนี้ทีไรเราไม่สบายใจทุกที ใครมันมาบังคับให้เราทุกข์หรือ
- รู้น้อยเพียรปฏิบัติ ดีกว่ารู้สารพัดแต่ไม่ทำอะไร
- กุหลาบเนี่ย มันก็มาจากดินนะ แต่ก่อนจะออกดอก พลิกหาที่ไหนในแผ่นดินก็ไม่มีนะ จะจุดธูปเป็นเข่งๆ นั่งสมาธิเจ็ดวันเจ็ดคืน ขุดลึกลงไปในดินเป็นกิโลๆ มันก็ไม่ได้อยู่ในนั้น พวกเราปฏิบัติไปก็อย่าได้ไปท้อแท้ มันกำลังบ่มเพาะอยู่ถึงเวลาก็เบ่งบานออกมาเอง
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๓) - 7 พ.ค.56
- เสพติดโลก โลกก็เกิดดับ
- รูปรสกลิ่นเสียงทั้งหลายไม่ใช่กาม
- ความกำหนัดในรูปรสกลิ่นเสียงนั้นต่างหากที่เป็นกาม
- ความงามมี 4 ระดับ beauty, สุนทรีย์, จริยะ (เช่นความเมตตาเล็กๆ น้อยๆ ต่อสรรพชีวิต), สัจจะ
- จะเข้าใจความจริงได้จะต้องกล้า
- ได้บุญมาเยอะเลย หมายความว่า ได้ความสุขมาเยอะเลย (บุญเป็นชื่อของความสุข)
- ความรู้สึกเท้ากระทบ อยู่กันคนละที่กับความคิดว่า "นี่เท้าๆ"
- อวิชชามันอยากจะมีตัวตน
- ใจปกติไม่เพิ่มไม่ลด มันเป็นความอ่อนแอที่จะเอานู่นเอานี่มาเปรียบเทียบ
- ความอยากได้ อยากเป็น อยากพ้น ต่างก็มาประชุมกันที่เวทนา
- จิตมีราคะ / โทสะ / โมหะ ก็เป็นไปด้วยสนองเวทนา
- มันไม่เกี่ยวกับว่าจริตใคร ทิฏฐิใครเหมาะกับเราหรือไม่ มันอยู่ที่ว่าเราเอาจริงหรือเปล่า พระพุทธเจ้าไม่เคยกักขังใครเป็นบริวาร มีแต่ปลดปล่อยให้ไปสู่อิสรภาพที่แท้จริง
- ยิ่งโตยิ่งมีโทสะ เพราะสำคัญว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
- เท้าที่ลอยอยู่จะพบว่ามันหายไปเลย พอแตะใหม่ก็มีใหม่
- พอเห็นได้นี่เกิดๆ ดับๆ มันจะสนใจไปในอีกอย่างที่ไม่เกิดไม่ดับ
- จมูกเนี่ย เราไม่รู้สึกว่ามันโด่งๆ หรอก เราแค่รู้สึกว่ามันอยู่แถวๆ นี้
หูก็เหมือนกัน เราไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นรูปหูหรอก รู้แค่ว่ามันอยู่แถวๆ นี้ พอไปส่องกระจกถึงได้มโนออกมาเป็นรูปร่าง - ดูไปเรื่อยๆ มันก็จะไม่ไปยึดเวทนาว่าเป็นเรา ของเรา พอมันแปรปรวนก็ไม่คร่ำครวญ
- ตัวรู้สึกนั้น มันไม่ได้รู้สึกทั้ง 5 นิ้ว เรามันสมมตินิ้วขึ้นเอง
- แยกผัสสะออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้อีกตัวหนึ่ง
- มีแต่ผัสสะที่ดับไปๆ
- มันต้องกลัว จึงจะหาทางออกอย่างจริงจัง กลัวการกลับมามีขันธ์ 5
- กายนั้นก็เกิดจากกรรมเก่าที่เจตนาก่อขึ้นมารองรับเวทนา ถ้าไม่ได้อยากได้มาเสวยสุขเวทนาจะเกิดมาทำอะไร
- รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย
- เอาเท้าแช่ให้นานๆ ชัดๆ ที่สุดเลย เมื่อชัดความคิดจะไม่เกิด สักพักความรู้สึกจะลามไปทั้งตัว รู้สึกว่างไปทั่วร่าง ให้ฝึกบ่อยๆ ให้รู้สึกตัวโดยเฉพาะพวกที่วอกแวกบ่อย ที่มันรู้สึกไม่ได้ เพราะอยุ่กับความคิด
- นิพพานก็เหมือนกระพริบตาและลืมตา
- จิตที่เข้าสู่อิสรภาพจะเกิดปาฏิหาริย์ 3 อย่างเป็นของแถม - อิทธิปาฏิหาริย์, เทศนาฯ, อนุสาสนีฯ
- เหมือนดาบที่อยู่กับฝักดาบ
- ให้ผ่านด่านความรู้สึกตัวให้มันโปร่งก่อน ถ้าไปเริ่มจากปาฏิหาริย์จะไปติดที่ตัวโลภ
- ทุกขาปฏิปทาเหมาะกับกิเลสหยาบๆ โลภจัด/หลงจัด/โทสะจัด
- ถ้าสุขาปฏิปทาก็ใช้ปัญญา
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๒) - 5 พ.ค.56
- แยกตัวผุ้รู้ออกมา
- อยู่ตรงผัสสะไว้ไม่มีกำลังก็พุทโธไป ให้จิตมีเครื่องอยู่ ตื่นขึ้นมาเมื่อใดก็มีเครื่องอยู่ พุทโธไว้
- ถ้ามันไม่เคยมีมาก่อน พอมามีขึ้นจะมีตัวตนถาวรได้ยังไง มันก็มีแล้วก็ไม่มีเป็นแบบนี้ไปเรื่อย
- เรียนโลกมามากก็จะยึดได้มากกว่า คนที่ไม่เห็นผัสสะ อุปาทานจะก่อตัวเข้ม ยึดเอาไว้ไม่ปล่อย แล้วจิตก็เสียอิสรภาพ
- พอไม่เข้าไปอาศัยก็จะเห็นในความไม่ปรุงแต่ง
- คนทั่วไปคุยด้วยเหตุผลตรงไปตรงมาไม่เข้าใจ เลยต้องเอาอะไรประหลาดๆ มาจัดฉากเพื่อหว่านล้อมเข้ามา มนุษย์ติดนิสัยงมงาย อ่อนแอ เราก็ปล่อยโลกไปตามประสา
- ความคิดนี่มันไม่มีมาก่อน พอจำอันนี้มาจึงมีความคิดอันนี้
- ธรรมะนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากถ้อยคำของสมณะ ไม่ต้องอาศัยว่าเชื่อไม่เชื่อ มันก็เห็นกันอยู่โต้งๆ ถ้าเห็นแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อ ถ้ายังไม่เห็นถึงจะต้องเชื่อๆ ไปก่อน
- ระบบชนชั้นนั้น เป็นความสมยอมกัน 2 ฝ่าย ผู้ที่ยอมก็ศิโรราบมากเกินไปจนไม่ยอมมองความจริง เป็นการข่มขี่ทางจิตวิญญาณ
- อย่าไปดูถูกพระเจ้า นั่นมันก็เป็นกลไกให้คนอยู่ร่วมกัน
- สัมมาทิฏฐิ - เบื้องต้น ก็เช่น บุญมี สวรรค์มี นรกมี ทานมี
อริยะ - เป็นปัญญา ปัญญินทรีย์ บุญก็เป็นเพียงสภาวธรรม - ใช้พิธีกรรมอย่างฉลาดและมีความสุข
- ความรู้ที่เข้าในในกฏของความเป็นจริงในธรรมชาติจะไม่เสื่อม
- คนที่เข้าสู่ศาสนาแรกๆ เจตนามักไม่บริสุทธิ์ มักจะมีโลภะที่อยากจะได้อะไรพิศดาร แต่ยิ่งศึกษาไปๆ ก็เจอแต่สภาวธรรม
- อวิชชา คือ ไม่รู้ในขันธ์ 5 เกิดเพราะอะไร ดับเพราะอะไร
4 ตัวแรก เกิดเพราะผัสสะ ดับเพราะผัสสะ
วิญญาณ เกิดจาก 4 อันข้างต้น - พอเคลียร์ โลภะ โทสะ โมหะ หมด พอว่างแล้ว แต่ก็ดันมีคำถาม "อันนี้อะไร?" เจอวิจิกิจฉาปิดท้ายอีกที ปัญหามันก็อยู่ที่โลภุ เพราะความที่ไม่รู้จักพอ (ตั้งคำถาม แล้วก็สนใจคำถาม แล้วก็ดิ้นกระแด่วๆ)
- ความพอ คือ ความอัศจรรย์ เช่น เท้าที่กระทบพื้นนะ ถ้ามันพอ มันจะรู้สึกอัศจรรย์มากเลย เฮ้ย มันรู้สึกได้ยังไง
- เวทนาเป็นศูนย์กลางแห่งความกระเสือกกระสน
- หลับก็หลับ ตื่นมาก็พุทโธ
- ทั้งวันดูผัสสะตัวเดียวเลยให้มันต่อเนื่องนานๆ ให้เห็นจุดยืนมันเปลี่ยน
- ช่วงกลางคืน นิวรณ์แรงๆ จะทำงานน้อย ช่วงเคลิ้มจัดจิตจะกระโดดเข้าอัปนาสมาธิ แต่ถ้าสติไม่พอมันจะหลับ
- หาเวลาอยู่ลำพังมากๆ ช่วงแรกๆ มาวัด จิตจะพักตัว ไม่เป็นไร
- ถ้ามุ่งไปที่ความอยากจะได้มรรคผล มันจะไม่ได้ผล
- ให้ทำชีวิตให้เรียบง่าย อยู่กับตัวเอง อยู่กับธรรมชาติ
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๑) - 4 พ.ค.56
- ละความงมงาย
- ธรรมะนั้นตรงไปตรงมา แต่จะต้องยืนอยู่บนขาของเหตุและผล
- จะเชื่อต้องเชื่อด้วยต้องพิสูจน์เอา
- พระโสดาบัณละความงมงายในศีลพรต เป็นผู้มีเหตุมีผล เช่นว่า ถ้าไม่อยากให้มีใครมาพูดจาขาดสติกับเรา เราก็อย่าไปพูดจาขาดสติกับใคร
- การตกอบายภูมิเป็นไปไม่ได้ด้วยเพราะไม่ได้สร้างเหตุอย่างนั้นเอาไว้
- ผัสสะเกิดจากอะไร?...มีเสียง มีหู ย่อมมีผัสสะ
อย่ามัวไปตั้งคำถามว่า "ใครหนอผัสสะ"
เมื่อมีกาย, วาจา, ใจ ก็ย่อมมีเจตนาทางกาย, วาจา, ใจ - เมื่อดูแค่ผัสสะ ตัณหาจะไม่ก่อตัว
- จุดสังเกตเมื่อเกิด "เรา" คือมันจะ คร่ำครวญ และ คับแค้น
- ผู้ที่เห็นผัสสะจะไม่คร่ำครวญเมื่อเวทนานั้นแปรปรวนไป และเมื่อไม่คร่ำครวญได้ ชีวิตก็เข้าสู่ความ "พอ" คำว่า "พอ" นี้สำคัญ
- อาศัยสิ่งใดไปดูผัสสะ? - ตอบ "สติ"
- การดูให้เริ่มต้นดูที่ผัสสะ จะเป็นรอยต่อที่สำคัญ
- หากกำลังยังไม่มากนั้น มันก็จะมีเพียง "ความเชื่อว่า..."
- เมื่อเห็นผัสสะบ่อยๆ สมาธิจะค่อยๆ มั่นคงขึ้นเป็นลำดับ เนื่องเพราะ จะให้มันไม่ชอบ (พยาบาท) / หดหู่(ถีนะมิทธะ) / หรืออยากได้อะไร (กามราคะ) / หรือฟุ้งซ่านไปในอะไรๆ ได้อย่างไรในเมื่อมันไม่เห็นว่าเวทนาเป็นเรา
- ตัณหาจะไม่ก่อตัว ถ้ามันรู้ว่าผัสสะดับไปได้
การที่อยากจะได้อะไรๆ ก็เพราะจะเอาไปสนองผัสสะ แต่จะไปเอาอะไรกับมันได้ในเมื่อเห็นมันดับไปๆๆ - เทคโนโลยีก็สร้างเพื่อรองรับอายตนะ 6
- จะเก่งแค่ไหน ถ้าไม่รู้จักที่มาของสุข-ทุกข์มันก็แก้ปัญหาไม่ได้
- กฏแห่งกรรมนั้นไปไกลถึงขนาดที่ว่า "ไม่มีใครอยู่ในกรรม"
- มีเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่จะไม่ทิ้งความงมงาย มันก็ดื้อตาใสไปเรื่อย
- สมาธิคือ ธรรมชาติแห่งจิตที่จะไม่ถูกรบกวนด้วยนิวรณ์
- การรับรู้ - วิญญาณ - concious
- ความคิดก็เอาความจำนั่นแหละมาปรุงเป็นวจีสังขาร เป็นเพียงความประมวลเปรียบเทียบ
- ความสุขที่ไม่ขึ้นไม่ลง ไม่ต้องเปรียบเทียบ ไม่ต้องคร่ำครวญ
- กลับเข้าสู่วิธีการมันคือ การใช้ "สติรู้ชัดลงไปเรื่อยๆ"
- การจะไปคาดหวังให้เกิดอะไรพิลึกพิศดาร มันเป็นเพียงแค่ ความไม่รู้จักพอ ซึ่งถึงจะมีอะไรพิศดารแต่มันก็ไม่ได้ประหลาด เช่น การท่องพุทโธ โลภะ โทสะ โมหะก็ไม่มี ก็จบแล้ว
- ถ้าดูมันตรงไปตรงมา มันก็จะแค่นั้นเอง ไม่ต้องมีอะไรประหลาดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
- อุปาทาน คือ การยึดกับตัณหา แล้วไม่ปล่อย ถ้าไม่มีตัณหามันจะยึดกับอะไร ชอบเอาความงมงายเข้ามาขวาง
- วิปัสสนา มันก็เกิดตรงปัจจุบันขณะได้เลย รู้จักตรงผัสสะ สมถะวิปัสสนาเจริญพร้อมกันเลย ไม่ได้เกิดแยกกัน ไม่ได้เกิดขณะหลับตา
- เห็นขันธ์ 5 อายตนะ 6 เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยทั้งหมด
- แค่มีชีวิตที่ไม่คร่ำครวญ ไม่คับแค้น ก็สุดยอดแล้ว
- นักวิทยาศาสตร์ เขาใช้แค่สมาธิ กับจินตนาการเท่านั้น แล้วก็ใส่เป็นตัวเลขเข้าไป
- ศาสนาถ้าขาดวิทยาศาสตร์ก็ตาบอด วิทยาศาสตร์ถ้าขาดศาสนาก็ไปไม่รอด
- แม้สวรรค์ก็สร้างจากจินตนาการ
- ยมกปาฏิหาริย์, อิเล็คตรอนปรากฏสองที่พร้อมกัน มันเกิดได้เพราะมันเกิดบนความว่างมันก็ดับไปบนความว่าง
- สวรรค์หกชั้น จำแนกเป็นตามเหตุแห่งการทำความดีคือ ทำเพื่อตัวเอง, ทำเพราะเห็นว่ามันดี, ทำเพราะทำตามๆ กันมา, ทำเพราะเสียสละ, ทำเพราะมันเป็นนิสัยไปแล้ว, ทำด้วยความปลาบปลื้มประณีต
- เรานั้นมองโลกด้วยสายตาแบบไหน?
- เด็กน้อยเกิดจากพื้นดิน ขึ้นมาวิ่งเล่นบนพื้นดิน รอยเท้าเด็กน้อยก็ไปจุมพิตกับพื้นดิน
- ปัจจุบันขณะนั้นไม่เคยหายไปไหน
- ความรู้นั้นคือรู้ว่า นี่คือขันธ์5, มันเกิดจากอะไรก็รู้, มันดับเพราะอะไรก็รู้, คุณของขันธ์ 5 (จะทำให้มีความสุขกับมันได้), โทษของขันธ์ 5 (ทำให้แม้จะแปรปรวนก็ไม่คร่ำครวญ), และรู้จักวิธีทางที่จะออกจากมัน
- ศรัทธาพละ - เห็นในโสดาปัตติยังคะ 4
วิริยพละ - เห็นในสัมมัปปทาน 4
สมาธิพละ - เห็นใน ฌาณ 4
ปัญญาพละ - เห็นในอริยสัจ 4 - แถมท้าย เวลาจะคิด/ทำ/พูดใดๆ ให้บวก...
สัมมาทิฏฐิ - สุขทุกข์ไม่ได้มาจากเรา เขาทำ หรือเกิดลอยๆ
สัมมาวายามะ - เพียรปิดกั้นอกุศลที่จะเข้ามา
สัมมาสติ - รู่ชัดในผัสสะ
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556
23 เม.ย.56
วันนี้ได้ฟังแง่มุมจากพี่พ.ก็พอจะได้ข้อเสียมาอย่างหนึ่งซึ่งชัดเจนว่า มันทำให้จิตใจ "ฟุ้งซ่าน"
ด้วยส่วนตัวตอนนี้ยังคิดหาเหตุผลไม่ออกถึงข้อที่จะคัดค้านไม่ให้มันออกสู่สังคม ในกรณีที่เรามีอำนาจน่ะนะ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ชัดเจนคือผู้เขียนไม่ใช่ผู้ที่ศึกษาธรรมวินัย จะรู้ก็เพียงในกรอบรูปธรรมที่เห็นกันโดยทั่วไปผิวเผิน และหยิบยกมาแซวได้อย่างขำขัน ยังไม่มีความละเอียดในแง่ที่แสดงออกถึงความซาบซึ้ง ความประจักษ์ในธรรม ซึ่งสิ่งที่มืดบอดเช่นนี้ แม้จะยังไม่แสดงตัวออกมา แต่ด้วยเนื้อหาบทตอนที่เพิ่มมากขึ้นสักวันย่อมต้องมีออกมาจนได้ด้วยเหตุแห่งความที่ไม่รู้
ถ้าหากว่าการ์ตูนล้อเลียนลักษณะเดียวกันนี้ออกมาจากผู้มีความเห็นอันตรงแล้ว นั่นคงจะเป็นสิ่งที่งดงาม และวิเศษเป็นอย่างยิ่ง น่าคิดตรงว่า ในความงดงามอันปราณีตนั้น อารมณ์ขันไม่น่าจะอยู่ในขั้นหยาบลักษณะนี้ แม้มีอารมณ์ขันก็จะเป็นไปในทางอันละเอียดอันก่อให้เกิดปีติหล่อเลี้ยง และเพิ่มพูนทั้งศรัทธาและปัญญา เป็นอารมณ์ขันอันมีความโน้มน้อมพาเข้าสู่กระแสธรรม ไม่น่าเกิดขึ้นเป็นก้อนหยาบๆ ลอยๆ ฮาก๊ากแล้วจบ
--------------------------------------
เวลาถามคำถามอะไรใครไป
บางทีก็ไม่ได้ใส่ใจว่าเขาจะตอบเราได้หรือไม่ได้
หลายครั้งที่ถามพี่พ.เธอก็ใช่ว่าจักรู้ทุกสิ่ง
แต่สิ่งที่เธอธรรมคือ วกเข้าสู่แกนหลัก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี และข้าพเจ้าก็มีศรัทธาที่จะฟัง แม้จะฟังมาแล้วหลายครั้ง ก็ยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งงดงามที่น่าเน้นย้ำ และแต่ละครั้งก็จะจับสิ่งต่างๆ ได้ต่างๆ กันไป
วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556
คัดลอกจากหนังสือหลวงปู่หล้า
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556
18 เม.ย.56
นั่งเล่นเก้าอี้ล้อเลื่อนไปมา ร่วงตกพื้นอย่างสวยงาม
รีบลุกขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วบอก "ไม่เป็นไรๆ เจ็บนิดหน่อย"
-----------------------
หลายวันนี้มีข้อมูลฟุ้งซ่านลอยไปๆ มาๆ เต็มหัว
ยิ่งนอนมาก ยิ่งฟุ้งซ่านมาก นอนคิดเรื่อยเปื่อย เพลิน
ง่วงบ้างลุกขึ้นมาขยับแข้งขาดีกว่า (น่าจะ)
-----------------------
พากย์ตัวเองเป็นอย่างหนึ่งว่า
ไม่ใช่ผู้ที่ยินดีในการจะอยู่
แต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่พร้อมในการจะไป
ยังติดในอะไรก็ไม่รู้ ไม่ชัดเจน อาจจะเป็นความกลัว
กลัวการเปลี่ยนแปลง
กลัวการไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก
หรือเหล่านี้เป็นเพียงดราม่า?
-----------------------
สิ่งที่เสียใจจากนายเมื่อวันก่อนจนรู้สึกว่าไม่น่าจะกลับไปพูดจาด้วยท่าทีปกติ
แต่จนแล้วจนรอด เมื่อเวลาผ่านไป
อะไรบางอย่างก็กลับมา "เพลิดเพลิน" เหมือนเดิม
แล้วก็เหมือนจะรู้ว่า เมื่อความเพลินได้ที่แล้ว
สักวัน เมื่อเผลอ มันจะเหยียบย่ำให้จมดินลงไปอีกครั้ง
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
คั่งค้าง 10 เม.ย.56
มันจะหลีกเลี่ยงในการเข้าหาผัสสะอย่างชัดเจน มันไม่ไว้ใจสิ่งที่ทำให้มันบาดเจ็บ หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ด้วย และไ่ม่สามารถวางใจให้สนิทชิดเชื้อได้ดังเดิม
มาดูกันว่าอะไรเกิดขึ้น .... เท่าที่เห็นได้ก็คือ
- มันรักตัวเอง และกำลังป้องกันตัวเองแล้ว
- การหลบเลี่ยงแบบนี้ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็เริ่มเห็นว่าเป็นวัฏฏะที่ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป แต่ยังทำอะไรไม่ได้ (ทำไม) ไม่รู้ขาดอะไรไป เหมือนไม่มีเหตุให้ทำเรื่องดีๆ ไม่มีแรงส่ง หรือไม่มีสิ่งแวดล้อม หรือไม่มีอะไรก็ไม่รู้
วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556
นิดๆ หน่อยๆ วันนี้ 7 เม.ย.56
- You are therefore I am
- Breath and you are home
- 我已到了,已到家了
- อวิชชาปัจจยาสังขารา แปลแบบปัญญาบ้านๆ ว่า "มึงถูกหลอกแล้ว" 5555
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556
เก็บคำเก็บความ - DMG ลพ.อำนาจ
อ่ะลอง พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ สักห้าครั้ง
มันจะไปโกรธใครได้มั้ย ใจมันก็ปกติเห็นมั้ย ถ้าเราไม่ทำสมาธิด้วยความโลภ
ลองคิดถึงชื่อนายก, ชื่อพี่นายก, พุทโธๆๆ ห้าครั้ง เห็นมันหายไปไหม เห็นมันดับไปไหม
แต่ละวันเรารับข้อมูลข่าวสารตั้งเท่าไร
ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เก็บเอามาเป็นความจำ
จากความจำก็เอามาคิด
จำมาตั้งแต่เด็ก คิดมาตั้งแต่เด็ก แล้วมันจะเป็นอย่างนี้ไปตลอดทั้งชาติมั้ย?
มันก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นั่นแหละ
หลีกหนีไปไหนได้ไหม?
ไม่ได้หรอก
แล้วเอาความจำมาคิดๆ อะไรเกิดขึ้น?
เกิดความชอบไม่ชอบ
สลับวนเวียนกันอยู่อย่างนี้
เราจะต้องสั่นไหวไปกับความกระเพื่อมขึ้นลงอย่างนี้ไปทั้งชาติหรือ
การภาวนาก็เลยทำไปเพื่อให้รู้ว่าไอ้ที่เป็นอย่างนี้มันมีเหตุนะ
มันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นนะ
เมื่อเห็นใหม่ จำใหม่ ก็คิดใหม่ ไอ้ชอบไม่ชอบมันก็เปลี่ยนแปลงไป
เป็นการเข้ามาเรียนรู้ก่อน เข้ามาเตรียมพร้อม
ว่าถ้าหากเราไปเห็นอะไร เราจะได้ระลึกได้ว่ามันเป็นอะไร
เรียกว่ามันเกิดสติขึ้น
อย่างเราคิดดี อารมณ์เราก็ดี หน้าตาเราก็ดี
คิดไม่ดี หน้าตาก็ดูไม่ได้ อารมณ์ก็ไม่ดี
กลับกัน ตอนนี้อารมณ์ไม่ดี ก็สาวไปหาเหตุได้ว่า อ่อ ก็คิดไม่ดีอยู่น่ะสิ
ตอนนี้อารมณ์ดีแจ่มใสเบิกบาน ก็สาวไปถึงเหตุได้ว่า อ่อ เพราะมันคิดดีอยู่นั่นเอง
มันเชื่อมเหตุเชื่อมผลได้เช่นนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นความจำที่ถูก
หาเหตุหาผลที่มาที่ไป ไอ้สิ่งอะไรที่มันส่วนเกินไม่จำเป็นเช่นความโกรธอะไรนี้มันจะสลัดทิ้งไปอัตโนมัติ
เพราะไม่รู้จะทำไปทำอะไร
หลวงพ่อชวนคนอธิษฐานไม่โกรธตลอดชีวิต
ไอ้การอธิษฐานนี่มันประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบนะ
- อย่างแรกคือปัญญา คือมันเห็นประโยชน์ของความไม่โกรธ และมันเห็นโทษของความโกรธ มันจึงรู้ว่าอะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ
- อย่างที่สองคือ สัจจะ เมื่อเห็นอย่างนั้นจึงตั้งใจเอาไว้ว่า จะไม่โกรธนะ
- อย่างที่สามคือ จาคะ แต่ถ้าเผลอโกรธ หงุดหงิดขึ้นมา ก็จะรีบสละทิ้งทันที ไม่เก็บเอาไว้ ให้รำคาญใจ
- อย่างที่สี่คือ อุปสมะ นั่นคือ เพียรรักษาใจอันปกติที่ไม่โกรธเอาไว้
ไม่เกี่ยวกับว่าเราเป็นหรือไม่เป็นนะ แค่ลองคิดแบบท่าน ลองดูสักสามเดือนก็จะรู้ว่าชีวิตเปลี่ยนมหาศาล
พระโสดาบัณเขาคิดอย่างนี้นะ
- เขาคิดแบบเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และ
- เขาไม่คิดว่าความทุกข์นั้นเกิดจากผู้อื่นทำ (รวมทั้งไม่คิดว่าเกิดจากเราทำเอง)
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
ใครดูถูกดูหมื่นศิลปะ
ใครดูถูกดูหมื่นศิลปะ
อนารยะไร้สกุลสถุลสัตว์
ราวลิงค่างเสือสางกลางป่าชัฏ
ใจมืดจัดกว่าน้ำหมึกดำ
เพียงกินนอนสืบพันธ์นั้นฤา
ชื่อว่าสิ่งประเสริฐเลิศล้ำ
หยาบยโสกักขฬะอธรรม
เหยียบย่ำทุกหย่อมหญ้าสาธารณ์
ภพหน้าอย่ามีรูปมนุษย์
จงผุดเกิดในร่างดิรัจฉาน
หน้าติดดินกินขี้เลื้อยคลาน
ทรมานทุกข์ร้อนร้ายนิรันดร์เอย .
อังคาร กัลญาณพงศ์
ฉันทะ
มันก็แห้งแล้งเอาการอยู่
สำคัญก็ต้องรู้ให้มาก
เพราะคุณไม่มีก้อนเมฆแห่งสวรรค์รองรับ
เมื่อตกบัลลังก์ก็คือลงนรกแห่งความสลดหดหู่ เวิ่งว้าง
ซึ่งเป็นเหวที่ลึกเอาการ
ขออย่าได้ใส่ใจกับอาการนั้น
อาการ เป็นสิ่งที่มาแล้วก็ไป
ความหมาย เป็นสิ่งที่คิดเท่านั้นจึงจะเกิดได้
ขอให้โชคดีในการเดินทาง
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
ศีล
สิ่งนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับฉันทะ
ไปสู่จิตอันเบิกบาน แกล้วกล้า และร่าเริง
ด้วยไม่เหลือความละอายใจใดๆ เป็นภาระจึงสง่าผ่าเผย
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556
ศีล
แต่สิ่งใดที่ทำแล้วละอายใจ นั่นละผิดศีล
สิ่งใดแม้ไม่แน่ใจแล้วทำ ผลคือให้คงค้างวนเวียนกับความไม่แน่ใจอันนั้น
น่ะล่ะผิดศีล
่บัณฑิตจึงแนะว่าไม่แน่ใจอย่าทำ
มารจะหลอกล่อให้เวียนวนในความคิดแบบละทิ้้งไปไม่ได้
ความละอายใจมีลักษณะเป็นทุกข์
ทุกข์มีลักษณะร้อน
ความละอายใจเช่นนี้มีสภาวะเป็นอกุศล ให้รีบละทิ้ง
แต่ผลหลังความละอายใจเกิดเป็นความเกรงกลัวที่จะทำในครั้งใหม่
เกิดเป็นความระวังสังวร
ปีติ -
ยังมาซึ่งปีติอย่างยิ่ง พลิกขึ้นจากหล่มหดหู่ได้อย่างอัศจรรย์
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556
เพื่อน
แม้ในใจจะรู้สึกอึกอักเล็กน้อย แต่ก็นึกขอบคุณเขาหน่อยๆ
มันก็ประหลาดที่แต่เด็กมาไม่เจอใครที่จะสามารถเรียกคำว่า "เพื่อน"
ได้อย่างสนิทปากสนิทใจ
เวลาเจอคำถาม "มีเพื่อนหรือเปล่า" จะเผลอคิดลึกคิดหนักทุกครั้ง
ว่าจะให้ตอบระนาบไหนดี
ด้วยการตีความหมายนีี่่จริงกับเท็จก็เหวี่ยงไปๆ มาๆ เสมอ
เพื่อนมีอยู่ในโลกนี้ไหมไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือไม่มีศัตรู
ไอ
ไอมาไอไปจะเกือบเดือนแล้ว ก็ยังเลี้ยงไข้อยู่ ไม่ตัดเหตุให้หมดเรื่องหมดราวไป
ดูเหมือนว่าแม้กระทั่งความตั้งใจที่จะหยุดเหตุก็ไม่มี ไม่มีแรงจูงใจจะถอนโรค??
ความเป็นจริงคือ นึกอยากกินอะไรก็ยังกินอยู่ เพียงแต่บันยะบันยังขึ้น แต่ไม่ถึงกับหยุดกิน
จัดการเพียงในระดับที่ไม่ให้โรครุมเร้ารบกวนความปกติ
แล้วก็ย้อนนึกแล้วการปฏิบัติล่ะ เราเอาแค่ไหน?
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
ไปวัด 8-10 มี.ค.56
ได้ส่งการบ้าน
วันแรก
- ลพ.เทศน์ ฝึกให้ดูจิตที่ไหลไป ดูพระพุทธรูป กลับมาที่หัวแม่เท้่า ที่ฟัน ที่คิ้ว ให้เห็นว่าไหลไปได้
- เข้ากลุ่มกะพี่ส. ให้นั่งสมาธิไปพร้อมกัน พี่ว่าก็ดีแล้วไม่ได้เครียดนี่นา ให้ไปเดินก็มีความเกร็งๆ อยู่บ้าง ก็โอเค ถ้ามันเหม่อมากเครียดมากท้อมากก็สมน้ำหน้ามันไปเรย 5555 แล้วก็ของเรานะให้ไปดูผู้บงการเืบื้องหลัง กิเลสก้าวหน้ากว่าเราหนึ่งขั้นเสมอ
- ตัวอย่างการยกสอนคนใหม่ เขาถามว่าแล้วทำไมเราจะต้องมาดูว่ามันไม่ใช่ตัวเราด้วยล่ะ คำตอบไอ้รถสีขาวเนี่ยจะคันไหนโดยทฤษฏีมันก็เหมือนกัน ได้ยินข่าวคันไหนโดนงัด รถชน ไฟไหม้ น้ำท่วมก็เฉยๆ แต่จำเพาะไอ้ทะเบียนเนี้ย ขีดนิดข่วนหน่อยเป็นเรื่อง ขับไปไหนก็เกร็งกลัวไปโดนอะไร เพราะมันเข้าไปยึดว่านั่นน่ะของเรา มันจะดีกว่ามั้ยถ้าพี่ก็เป็นพี่ต่อไปเนี่ยแหละ รถก็ขับไปเนื่ยแหละ แต่ไม่ต้องไปกังวลกับมัน มันจะขับได้ดีขึ้นด้วยนะ
- เกมส์ติ๊กความคิด
- หลวงพ่อเทียนนับ 1-14 ไปด้วย ถ้าทำคนเดียวปุ๊บนับเลขเพี้ยนเมื่อไรรู้ได้เรย
- พี่บ. นั่งหลังตรงมันจะทรงอยู่ได้แขน 3 เหลียมค้ำพอโงกมันจะตื่น ตรงไม่ตรงให้ไล่จากก้นกบขึ้นไป, ลองไม่ต้องมองหายใจเข้า ดูแค่หายใจออก อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ต้องทั้งสองอย่าง
วันที่สอง
- สติปัฏฐาน ไม่ใ่ช่มหาสติปัฏฐาน คือสูตรทีี่กล่าวถึงสติปัฏฐานมีหลายสูตร แต่สูตรที่ใหญ่ที่สุดเรียกมหาสติปัฏฐานสูตร
- ส่งการบ้านว่าสัปหงก แล้วเดี๋ยววูบเดี๋ยวรู้ ลพ.ว่าดูงั้นก็ได้ จริงๆ ตอนที่วูบน่ะมันไม่รู้ มันมีจิตอีกดวงไปรู้ไอ้ตัวที่วูบไปเมื่อกี้ ส่วนไอ้ที่ครอบหัวนั่นให้ไปแผ่เมตตาซะ
- เข้ากลุ่มกับพี่อ."คือเราทำได้น่ะ แล้วทำแล้วมันสนุก อยากทำอีก" ^_^ "ความเห็นที่มีข้อสงสัย สงสัยก็รู้ว่าสงสัย"
- พี่บ. ฝึกแผ่เมตตา ใครส่งการบ้านเราก็อนุโมทนา, เดินจงกรมเสร็จก็แผ่ให้เป็นนิสัย
- ตามดูตามรู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง สำคัญที่ความตั้งมั่นและเป็นกลาง คือความเป็นกลางเนี่ยจะมีเป็นด้วยสติคือเห็นสภาวะด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลางแล้วสภาวะขาดฉับ กับเป็นกลางด้วยปัญญาคือมันเห็นบ่อยจนเห็นกี่ครั้งมันก็เท่านี้ พอต่อๆ มามันมากระทบก็เลยไม่ได้ไหวกระเพื่อมไปกะมัน
- ทำทำจังหวะ 14 อยู่ใต้ต้นโพธิ์สัปปายะดีมาก
- พี่หมอณ."เวลาดูเหมือนเดินชมธรรมชาติอย่างงั้น เดินเล่นในสวนสบายๆ ", "เวลารู้นี่มันรู้ทั้งข้างในข้างนอกนะ", "มันไม่ได้ตั้งมั่นตลอดเวลานะ เวลานี้ผมก็ไม่ได้ตั้งมั่นนะ มันมาอยู่แถวข้างหน้าๆ อย่างเงี้ย"
- ความแน่ใจว่าทีึ่่ทำมาไม่ผิด
- ความคิดเหมือนเลือดที่ไหลซึมบาดแผล สติเหมือนเครื่องเลเซอร์ยิงให้แผลหายไร้ร่องรอย สักพักปริใหม่ไหลอีกแล้ว ไหลหนักๆ เอาผ้าก๊อซหนาๆ ซับๆๆๆ เอาผ้าออกแผลยังอยู่เลือดแห้งลงไปหน่อย
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
เกร็ดลงทุน
เป็นกฏว่าในเงิน 100 ส่วนควรแบ่งลงทุนเป็น
40 ส่วน ลงในอสังหาริมทรัพย์ พวกบ้าน ที่ดิน
30 ส่วน เป็นทองคำ
20 ส่วนเป็น หุ้น
5-10 ส่วน เป็นเงินสดในธนาคาร
เกณฑ์ทั่วไปที่ป.ใช้
สมมติมีทุน 100 บาท
เล่นจนมีกำไร มารวมเป็น 200 บาท
ก็จะขายไปสัก 100 บาทเอาไปซื้อเป็นทอง
ที่เหลือก็ทิ้ง 100 บาทเหมือนเป็นของแถม
ถ้าอยากจะเล่นจริงจังให้ไปซื้อหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นมาอ่าน
ราคาหุ้นกับราคาทองจะแปรผกผันกัน
ในช่วงสงครามทองจะขึ้น หุ้นจะตก
ก็ขายทองมาซื้อหุ้น (พอหุ้นขึ้นก็ขายหุ้นมาซื้อทอง)
ในช่วงเกิดสงคราม, การปฏิวัติรัฐประหาร, การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
หุ้นจะตก ตรงกันข้าม ถ้าเป็นช่วงเลือกตั้ง, สงครามเลิกแล้วหุ้นจะขึ้น
สถาบันการเงินถ้าล้ม หรือมีวี่แววจะล้มแห่งใดแห่งหนึ่งให้รีบทิ้งหุ้น (เรียกว่าล้างพอร์ต) เพราะมันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
เวลาเกิดสงคราม แม้ขาดทุนก็ต้องขาย ขายในช่วงขาดทุนนิดหน่อยไม่ต้องสนใจ เช่น ขาดทุน 10 เปอร์เซ็นต์ก็ขายไปเลย ราคามันจะลงไปเรื่อยๆ ไม่มีใครรู้ว่าลงต่ำสุดถึงเท่าไร มีทฤษฏีว่าเมื่อลงไปสัก 60-70 เปอร์เซ็นต์หรือ 2/3 ให้รีบเก็บ (เวลาลงมันลงเป็นปี ลงนาน ก็ค่อยๆ ทยอยๆ ซื้อไป)
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
อุบัติเหตุ
สิ่งน่าสังเกตคือ ความทนไม่ได้ในจิตใจ ด้วยรู้สึกว่าถูกกล่าวโทษ ทั้งๆ ที่การกระทำดังกล่าวได้มีพื้นฐานทางคุณธรรม ศีลธรรม ที่ไม่ละอายแก่ใจแล้ว
สิ่งนี้อาจแยกออกได้เป็น
- ตัณหา ในการอยากได้รับการยอมรับ ว่าตนนั้นทำดีแล้ว เราเป็นเจ้าของความดีนั้น
- พื้นฐานศีลธรรมนั้นยังไม่มั่นคงเพียงพอ กล่าวคือ ที่ว่าได้ทำจนไม่เหลือที่ละอายแก่ตนแล้วนั้น อันที่จริงยังมีส่วนที่ผิดพลาดไป
- อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง
- อยากจะจัดการให้ดีที่สุด โดยจะได้ไม่มีความรู้สึกติดค้างในฝ่ายเรา ไม่อยากให้ฝ่ายนายเราเกิดความรู้สึกผิด - ความจริง ดีที่สุดสำหรับฝ่ายหนึ่งโดยบกพร่องต่ออีกฝ่ายหนึ่ง
- คิดว่านายฝ่ายเราทำอะไรไม่ถูก จึงไม่ทำอะไร - ความจริง เราไม่รู้ว่านายฝ่ายเรามีความคิดอะไรขณะนั้น
- เกิดอะไรขึ้น
- ถ้าคราวหน้าเกิดขึ้นอีกจะทำอย่างไร
- จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเรา, จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเขา
清清爽爽 เบอะเบ้อ เ่บ่งบาน
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกหลายๆ วันที
- ในเมฆหมอกความไม่ตัดสินแห่งความคิด พอกลายเป็นวาจา หรือข้อเขียนออกมา จากที่ไม่ใช่ทั้ง(ใช่หรือไม่ใช่) ก็กลายเป็นใช่อะไรบางอย่างขึ้นมา จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไรกัน ไอ้การที่เราฟังอะไรแล้วรู้สึกเหมือนจะเข้าใจเหมือนจะไม่เข้าใจ แต่พอได้พูดออกมา ได้อธิบายให้กับใครบางคนฟัง กลับรู้สึกว่าเราเข้าใจมันมากขึ้น ... ปรากฏการณ์แบบนี้อะไรกันที่มันชัดขึ้นมา ความเข้าใจจริงๆ หรือว่า สัญญา
- เมื่อวานขณะเอาที่คีบคีบขนมมาม่อน ใจก็ซาบซ่านไปด้วย "โอโห" ในความนุ่มของเค้ก เห็นมันชอบและจะเข้าไปเคล้าเคลียสัมผัสอันอ่อนนุ่มอันนี้
- เมื่อเช้ามาคิดต่อในเรื่องของมาม่อน เห็นใจที่มันกลัวความชอบอันนี้ มันรู้ว่ามันสามารถติดกับดักกับความชอบ ความย้อมอันนี้ แล้วมันก็เคยชินที่จะติดเบรกเต็มกำลัง ไม่ให้รับรสสุขจากสัมผัสอันนั้น ... จุดนี้ถือว่าปัญญายังไม่แทง
- เมื่อวานไปฟังหลวงพ่อ พอลืมตาฟังก็เหมือนจะตั้งใจหาจุดจับเพ่ิงยึดอะไรสักอย่าง พอหลับตาฟังมันก็เหมือนจะปล่อยๆ มาดูัตัวเองบ้าง เหม่อๆ บ้าง มัวๆ บ้าง ไปฟังบ้าง กลับไปกลับมา แต่พอลืมตาขึ้นมาถามว่าเมื่อกี้ฟังได้อะไร กลับกลายเป็นไม่รู้เรื่องว่าอะไร แสดงว่ามันก็ไหลไป แม้จะไม่รู้ว่าไหลไปไหน แต่ถ้าลืมตาฟังมันจะรู้ว่าท่านพูดอะไร ... ทั้งสองสภาวะนี้ยังไม่ใช่การฟังที่แท้ เป็นสภาพอันคว่ำถ้วยอยู่ทั้งคู่
- การหลับตาลง มีบางครั้งที่เป็นสภาวะที่ใจมันไหลออกไปทันที ไม่รู้ไปไหน ไม่มีที่หมาย แต่มันคือ "ไป" น่ะแหละ ... ลองสังเกตุ
- เมื่อวานไปฟังอ.สุภีร์ ตื่นมาฟังตอนอาหารของ โพชฌงค์ อนึ่งคำว่า "อาหาร" คือ สิ่งที่ทำให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดนั้นเกิดขึ้น และทำให้โพชฌงค์ที่มีอยู่แล้วบ้างเต็มบริบูรณ์ ทั้งนี้ "อาหารนี้ไม่ใช่ตัวโพชฌงค์"
- มีคนถามไปว่า การให้อาหารเหล่านี้คือการ "คิด" ใช่หรือไม่ ตอบคือมันคือการโยนิโสมนสิการ คำว่า "การ" คือการกระทำ, มนะ คือ การใส่เข้าไปในใจ, โยนิโส คือ "เลือกในสิ่งอันเหมาะสม" เหมือนกับการค่อยๆ สอนมัน ว่า ต้องมองอย่างนี้ ต้องคิดอย่างนี้ ไม่ใช่ไปมองอย่างนั้น ไม่ใช่ไปคิดอย่างนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวองค์มันจริงๆ เป็นเพียง "อาหาร" เป็นเหตุต้นให้เริ่มเกิด
- อาหารของสติ คือการฝึกให้รู้ ให้ดู (กาย เวทนา จิต ธรรม) ไม่ใช่ตัวสติ เป็นแค่อารมณ์ว่าถ้าจะฝึกให้มาดูในสี่อย่างนี้
- อาหารของ ธัมมวิจัยยะ คือ การฝึกให้มองดูสภาวะทั้งหลายเป็นธรรม นั่นคือ สิ่งที่ดีก็เป็นธรรม สิ่งที่ชั่วก็เป็นธรรม หยาบก็เป็นธรรม ละเอียดก็เป็นธรรม ไปเห็นคนเลว นั่นเป็นกระบวนการธรรมะอย่างหนึ่ง มันไม่ได้เป็นคนจริงๆ ที่เลว ไปเห็นคนดี มันก็เป็นกระบวนการทางธรรมอย่างหนึ่งอันเป็นกุศล มันไม่ใช่ว่ามี "คนดี" อยู่จริงๆ
- อาหารของวิริยะ คือ การนึกถึงว่า ไอ้สภาวะที่ลุกขึ้นเนี่ยมีอยู่, สภาวะที่ก้าวออกจากจุดเดิมนี้มีอยู่, สภาวะที่ก้าวต่อไปในทิศทางอันถูกต้องพัฒนาจากเดิมเนี่ยมีอยู่ มันเป็นการน้อมนึกแบบให้กำลังใจนั่นเอง เหมือนอย่างเวลาที่ไปอบรม ตื่นตีสามตีสี่ ทำไมทำได้ แต่อยู่บ้านทำไมมันทำไม่ได้ นั่นก็คือ จริงๆ แล้วไอ้สภาวะที่ตื่นเช้าขยันลุกขึ้นเนี่ยมันมี "ธาตุ" ตัวนี้อยู่นะ นี่ให้กำลังใจมัน แล้วเราก็เคยทำได้นะ หรืออ่านหนังสือครูบาอาจารย์แล้วเห็นท่านทำได้ นั่นคือไอ้ "ธาตุ" ที่จะลุกขึ้น เหมือนนอนอยู่แล้วก็ลุกตั้งขึ้น แล้วก็ก้าวออกไปจากที่เดิม ก้าวไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ เนี่ย ท่านทำได้นะ "ธาตุ" นี้มันมีอยู่ในตัวมนุษย์นะ การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้นะ ฝึกนึกอย่างนี้บ่อยๆ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
กลอนจิวยี่
กลอนพุทธ (1)
พระมาลัย(บทสวดสังคหะ-แปล)
โอ้โอ๋อนิจจา สังขาราไม่เที่ยงตรง
หนุ่มแก่ย่อมจักปลง ชีวิตม้วยอย่าสงกา
อุบัติเกิดแล้วก่อกลับ วิญญาณดับจากสรีรา
ขาดสิ้นแห่งปาณา วิการกายก็เป็นไป
บ่เที่ยงบ่ทนทาน บ่อยู่นานสักเพียงใด
ย่อมเสื่อมย่อมสิ้นไป ทุกคณานิกรชน
สิ่งสุขอันประเสริฐ สุขล้ำเลิศสถาผล
คือจิตอย่ากังวล เบญจกามคุณา
ดับสนิทในสังขาร ที่จิตสร้านคือตัณหา
ไม่ใคร่ในภาวะ วิภาวะประเสริฐแล
โอ้กายไม่นานหนอ บังเกิดต่อแล้วกลับกลาย
ดุจฟองแห่งน้ำหมาย ย่อมแตกดับโดยฉับพลัน
สิ้นลมแห่งหายใจ ชีพบรรลัยบ่กลับหัน
ห่อนมีสิ่งสำคัญ เพื่อประโยชน์สักนิดเดียว
ทอดทิ้งดุจท่อนฟืน กลิ้งเหนือพื้นสุธาเทียว
ฟองช้ำเน่าดำเขียว สิ่งกลิ่นฟุ้งบ่เว้นวาย
ดูเถิดท่านทั้งหลาย บุรุษนายคณานาง
ควรปลงปัญญาทาง ปรมัตอัตถธรรม
พยาปรากฏแก่ จักษุแท้บ่ปิดงำ
ควรคิดวินิจจำ หีบศพนั้นอันเห็นแล
เพียงแต่จะประมาณ เร็วและช้าก่อนหน้าหลัง
ความตายบ่เลือกหน้า กษัตราพราหมณัง
มีจนชนทุพลัง และเรืองฤทธิ์อิสโร
หรือใครจะโกรธกริ้ว ชักหน้านิ่วทุโมโห
หรืออ่อนหย่อนกาโย น้อมคำนับอภิวันท์
หรือให้แก้วเงินทอง เป็นก่ายกองมากครามครัน
หรืออ้อนวอนจำนรรจ์ ด้วยคำหวานสมานใจ
มัจจุราชไป่ยำเยง และบ่เกรงผู้ใดใด
ไปรับคำนับใคร และบ่เอื้อกรุณา
ถึงคราวแล้วเร่งรีบ เข้าค้นชีพดวงชีวา
ดุจเพชฌฆาตฟัง คำบัญชาไม่รารอ
ลงดาบโดยทันใด ฟันลงไปที่ตรงศอ
เชือดช้ำกระหน่ำคอ แห่งนักโทษก็ปานกัน
โอ้สัตว์ทั้งหลายเกิด เอากำเนิดมาเป็นคน ย่อมจะบันลุตน มลชีพทำลายราน…….
หรือสัตว์ที่ตายอยู่ อีกสัตว์ผู้ที่วายปราณ ก็ไม่ยืดไม่ยืนนาน เหมือนกันสิ้นบ่เว้นวาย….
แม้เราก็ฉันนั้น บ่ผิดผันหรือกลับกลาย เราคงจะต้องตาย ตามไปดุจพิมพ์เดียว…….
เออเราไม่สงสัย ไม่ตกใจแลหวาดเสียว เห็นแท้แน่ใจเจียว แลบ่มีที่สงกา……..
นี่แหละท่านทั้งหลาย ฟังบรรยายที่กล่าวมา จงเร่งพิจารณา เมื่อแจ้งแล้วบ่กลัวตาย…….
ความที่ได้เกิดยากนักหนา และตัวของเต่าตน แอกน้อยลอยล่องชล ใช่ว่าพ้นให้เกิดไป……
ประเภทสัตว์อุบัติตน ทั้งว่ายคลานบินเวหน สุดจะร่ำพรรณาเผ่าพันธุ์ พื้นสัตวาจะนับถ้วน-
ประมวลมี ได้แคล้วคลาดจากโรคี โดยยากจะรอดมา อีกได้ฟังคำพระ สัทธัมมะเทศนา…..
พบองค์พระสัมมา สัมพุทธอรหันต์ นานนับด้วยกัปป์กัลป์ จึงจะตรัสอุบัติมี…….
นี่แหละท่านทั้งหลาย ทั้งผู้ชายและนารี ฟังแล้วเร่งยินดี จงชื่นชมสมมนา……..
ที่ได้เกิดเป็นคน และรอดพ้นจากตายมา ได้ฟังเทศนา ของพระพุทธอรหันต์……..
เป็นลาภอันประเสริฐ แสนล้ำเลิศอนันต์ครัน อย่าหลงคิดสำคัญ ว่าเกิดง่ายหมายผิดครัน ฯลฯ….
ยากมีฉันใด ชีวิตไซร้อุประมา ดุจนายโคปาลา จูงโคชักสู่หลักพลัน…….
ก้าวไปก็ใกล้ถึง ที่คำนึงจะอาสัญ นายโคคาดคอยฟัน ชีวิตม้วยด้วยอาญา…….
ด้วยเราทุกผู้คน ปฏิสนธิเกิดมา คืนวันอันชรา นำยาตรเยื้องเปลืองสิ้นไป……
มัตยุราชคือความตาย ดุจดาบร้ายคมเหลือใจ ห่อนเลือกว่าใครใคร
หนุ่มแก่เด็กและปานกลาง……. เชือดแหวะชำแหละจิต ให้ปลดปลิดชีวาวาง
ทอดทิ้งสรีร่าง ทุกถ้วนหน้าคณาชน ฯลฯ……..
ชีวิตเป็นอยู่นั้น ส่วนของมันน้อยนักหนา เพราะเหตุความชรา เร่งเร้ารีบบีบคั้นกาย…….
จะร้องให้ใครช่วย ไม่ให้ม้วยชีวาวาย ญาติมิตรสิ้นทั้งหลาย อีกบิดรและมารดา…….
เมียมิ่งและบุตรรัก อยู่พร้อมพรักทั้งซ้ายขวา มรึตตะยูอาจจู่มา ปลดชีวิตให้ปลิดปลง…..
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ที่มุ่งหมายตัดความตรง ให้เร่งคิดจิตจำนง สิ่งใดดีให้เร่งทำ……
ความดีคือบุญนั้น จะป้องกันช่วยแนะนำ ให้สบสุขเลิศล้ำ พ้นสิ่งชั่วไม่กลัวตาย……
อย่าฟังแต่สนุก คิดว่าสุขสบาย รื่นเริงบันเทิงกาย หัวเราะร่าเฮฮาครืน…….
ควรรู้สึกสำนึกตัว อย่าเมามัวคิดฝ่าฝืน ชีวีไม่ยั่งยืน ทุกถ้วนหน้าคณาชน ฯลฯ……..
โลกคือเบญจขันธ์ ชรามันนำเข้าไป ใกล้ต่อความบัลลัย อนาถแท้บ่มั่นคง……..
โลกนะใช่ใหญ่ยิ่ง บ่มีสิ่งต้องประสงค์ จำต้องวายชีวง ของทั้งสิ้นละทิ้งไป…….
โลกนั้นมักพร่องอยู่ จึงไม่รู้เบื่อเบือนไป เพราะมันไม่เป็นไทย มันเป็นธาตุแห่งดับ……..
ควรท่านผู้เป็นปราชญ์ ผู้ฉลาดซึ่งปัญญา เร่งคิดพิจารณา ให้เห็นแท้เป็นแน่นอน…….
อย่าฟังแต่เสียงเพราะ และเสนาะด้วยคำกลอน จงฟังคำสอน แล้วตริตรึกระลึกตาม ฯลฯ…….
ความไม่เมาทั่วไป คือแจ้งในกองสังขาร ไม่เมาไม่ทะยาน ในรูปรสแลกลิ่นเสียง…..
เป็นทางบทจร สู่อมรนิเวศน์เวียง มัตยุราชหรืออาจเมียง และจะมองบ่แลเห็น…….
ความทั่วไปนั้น คือใฝ่ฝันทุกเช้าเย็น เมายิ่งในสิ่งเบ็ญ- จกามะคณารมณ์……..
เป็นทางจะก้าวสู่ มรึตตะยูประสบสม ความตายตามระดม ติดตามปรับชีวาวาย…….
นรชาติทั้งหลายใด ผู้มีใจเองเมามาย แม้ชีพบ่ทำลาย ประดุจม้วยซึ่งชีวี……..
นี่แหละท่านทั้งหลาย คณาชายหมู่สตรี ฟังแล้วจงได้มี กมลมุ่งกำหนดจำ……
………………..สังคหะ(สงเคราะห์)จบบริบูรณ์……………….
ของโบราณถ่ายทอดจากหลวงตาแสง
วัดราษฎร์บำเพ็ญ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา(9กย2510)
ตรวจสอบทานสำนวน แล้วโดย ฐีติญาโณภิกขุ ปรากฏว่าเป็นสำนวนของพระอาจารย์สิงห์
ขันธยาคโม นั่นเอง
ไชยา กุมภาพันธ์
พาหัวใจ รกๆ ไปออกหน่วย
ได้ยินแหล่ง แห่งธรรม อันร่ำรวย
คุณพระช่วย ให้ฉัน ได้เยือนที
ถึงเลิกงาน ควานใคร่ ห่างไกลบ้าน
มิแจ้งการ อ่านความ คลับคล้ายหนี
แต่จิตแก้ ไม่อยากให้ ห่วงรอรี
พอถึงที กลับไม่ สงบใจ
มาถึงถิ่น แห่งราช ปราชญ์แห่งยุค
ความตั้งใจ ใฝ่สุข ครอบครองใหญ่
พกตัณหา บ้าบอ พะนอใจ
เอามันใส่ ในชื่อ แห่งความดี
ความตั้งใจ แรกสุด คือหักกลัว
ลดละมัว ชั่วช้า อย่าคิดหนี
ลองบุกเดี่ยว เที่ยวป่า ดูสักที
ไปค้นหา สิ่งดี กันเถิดเรา
ไปอยู่สวน สามวัน ฝันความว่าง
ครั้นไม่วาง อ้างว้าง กลับกลายเหงา
ความอยากว่าง อยากวาง มอมมัวเมา
ใครก็ได้ ช่วยบรรเทา เอาออกไป
แล้วก็พบ พานเจอ กัลยาณมิตร
ช่วยปัดเป่า ความคิด ให้ผ่องใส
จะมาวัด เอาให้ชัด มาทำไม
จะมาเอา จะมาได้ นี่แหละ "กู"
จะว่าไป ก็ได้ ประสบการณ์
ออกจากม่าน บังมิด ปิดตาหู
ออกมามอง ของจริง ที่เป็นดู
เมื่อไปสู่ บ้านอื่น เป็นอย่างไร
เจอพี่แมะ แคะใจ ให้คลายออก
ให้สำรอก ออกดู ความยิ่งใหญ่
ความเมตตา ที่แท้ เป็นอย่างไร
ต้องวางใจ ให้ได้ เอาอย่างนาง
นึกย้อนถึง พี่น้อง นอนร่วมห้อง
ช่วยสลาย ความขัดข้อง ไม่หมองหมาง
การใหญ่น้อย ถอยหนัก เป็นเบาบาง
ช่วยสะสาง อุปสรรค อยู่ในที
ในการช่วย ครานี้้ มิมีบอก
การกระทำ สำแดงนอก ออกราศี
จักเป็นคน เป็นได้ ใช่พูดดี
ดูกันที่ การกระทำ กันนานนาน
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
6 กุมภา 56
อะไรบางอย่างก็เห็นในผู้อื่นก่อน
ยังไม่เห็นในตัวเอง
-------
ในแว่่บขณะเหลือบไปมองกระจก
เป็นอัตโนมัติที่จะมองตา แล้วก็หาว่าเอ๊ะ จิตอยู่ไหนหนอ
美人计
(อันนี้ไปเจอมาเพิ่มเติม)
เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ
หญิงย่อมเกี้ยวชายด้วยฐานะ ๔๐ คือ
- สะบัดสะบิ้ง
- ก้มลง
- กรีดกราย
- ชมดชม้อย
- เอาเล็บดีดเล็บ
- เอาเท้าเหยียบเท้า
- เอาไม้ขีดแผ่นดิน
- ชูเด็กขึ้น
- ลดเด็กลง
- เล่นเอง
- ให้เด็กเล่น
- จูบเอง
- ให้เด็กจูบ
- รับประทานเอง
- ให้เด็กรับประทาน
- ให้ของเด็ก
- ขอของคืน
- ล้อเลียนเด็ก
- พูดดัง
- พูดค่อย
- พูดคำเปิดเผย
- พูดลี้ลับ
- (ทำนิมิต) ด้วยการฟ้อน ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วยการร้องไห้ ด้วยการเยื้องกราย ด้วยการแต่งตัว
- ซิกซี้
- จ้องมองดู
- สั่นสะเอว
- ยังของลับให้ไหว
- ถ่างขา
- หุบขา
- แสดงถัน
- แสดงรักแร้
- แสดงสะดือ
- ขยิบตา
- ยักคิ้ว
- เม้มริมฝีปาก
- แลบลิ้น
- เปลื้องผ้า
- นุ่งผ้า
- สยายผม
- เกล้าผม
70/30
บันทึกย้อนหลัง
ไปฟังพระอาจารย์ที่วัดสนามในมา
ท่านพูดถึงเรื่อง 70/30
ความหมายคือ ...จำไม่ได้แล้ว
(นึกออกแล้วมันคือในการทำงาน ให้ใส่ใจในงาน 30 ใส่ใจในตัว 70)
พักหลังๆ เมื่อฟังเทศน์จะค่อนข้างไวต่อคำว่า "ชัด" "แม่น"
นี่คงเป็นสิ่งที่ขาดอยู่
มันรู้แต่มันรู้ไม่ชัด มันจึงจับเอามาใช้ไม่ได้ทันท่วงที และไม่ได้ประโยชน์เ่ท่าที่ควรจะเป็น
ได้ยินคำว่า อภิ-
มีฉันทะ ให้เป็นอภิสังขาร
มีวิริยะให้เป็นอภิสังขาร
เรื่อยไปจนถึงวิมังสาเป็นอภิสังขาร
อันนี้เริ่มต้นต้องมีฉันทะ ทำแล้วไม่มีฉันทะให้ถอยออกมาดูเลยเกิดอะไรขึ้น
คำว่าอภิสังขาร หมายถึง มีความเกิดขึ้นจนเป็นอัตโนมัติ
ท่านว่าใหม่ๆ จะต้องคอยหมั่นฝึกให้มันอยู่ตัว
-----------------------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556
28 ม.ค.2556
- ให้ทำความสนิทสนมคุ้นเคยกับความปกติ (สภาวะก่อนเกิด) การมีสติเพียงชั่วขณะที่เกิดเรื่องจะกลับกลายเป็นว่า เราจำได้แต่สภาวะอันทนได้ยากนั้น
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556
24 ม.ค.2556
พบว่าเมื่อร่างกายเหนื่อย จิตใจจะทดท้อหดหู่อยากดับเครื่องชัทดาวน์ไปทั้งอย่างนั้นเลย
กลับมาบ้านเห็นนายป่วย ใจก็เฉยไม่อินังขังขอบ
แต่ดูเหมือนเฉยเพราะไม่แรงจะขยับ มีอะไรก็แก้ๆ ไป
ยังชัทดาวน์ไม่ได้ก็ทำไป จะว่าไม่มีสติก็ไม่เชิง จะว่ามีสติแจ่มใสก็ไม่ใช่
มันก็อย่างนั้น
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556
21 มกราคม 2556
- ง่วงมาตั้งแต่ช่วงปีใหม่ นอนหลับไม่ฝันแต่ตื่นมาเหมือนยังไม่ได้นอน มาหายตอนที่ได้ไปหาหลวงพ่อสมบูรณ์ เข้าใจว่าเป็นเพราะดูความรู้สึกไม่ชัด พอท่านบอกว่ามันง่วงก็ดูไป ความง่วงมันมีลักษณะเป็นอย่างนี้นั่นแหละ มันก็เป็นอย่างเงี้ยๆ มันก็วางได้
- ข้อสังเกตที่ได้ก็คือ ช่วงแรกมันมีความไม่แน่ใจว่าเป็นอาการง่วง"ทางกาย" หรือว่า "ทางใจ" เพราะดูจะไม่มีเหตุทั้งสองอย่าง
- แต่พอตอนหลังมาคิดว่า อาการง่วงนั้นไม่ได้อยู่ตลอด เวลาทำงาน หรือตั้งสมาธิจริงจังมันก็พอจะต้านอยู่ได้ ก็น่าจะบอกอะไรบางอย่างได้
- เมื่อคืนขณะกำลังเคลิ้้มๆ จะหลับ ได้ยินนายส่งเสียงเล่าอะไรบางอย่าง พบว่ามันเกิดความรับรู้ขึ้นไม่ใช่แค่เสียง แต่เป็นความรู้สึกว่ามีอะไรถูกใส่เข้ามาร่างกาย เหมือนการเติมสีลงในน้ำแล้วกระจายไปทั่วอย่างนั้น นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ว่านอนแล้วเหมือนไม่ได้นอน เพราะมันถูกกระตุ้นกวนระบบอยู่อย่างนั้น ความรู้สึกจึงไม่ได้พักอย่างแท้จริง
- เวลาเอาภาพสวยๆ ให้นายดู นายมักจะมีความเคยชินที่ถามกลับมาว่า "นี่ของจริงหรือของปลอม" เป็นที่น่าสังเกตุว่า เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหลือเกิน
- คำพูดบางอย่างเวลาจะพูดกับใคร หากเขาไม่ได้ปวารณาตัว ก็ไม่ควรพูด ให้อดพูดเสียให้ไ้ด้ ความตัดการพูดไม่ได้ด้วยเกรงใครจะเสียประโยชน์เป็นเพียงกิเลสตัวหนึ่งเท่านั้น เพียงการตัดสินคุณค่าเพียงด้านเดียวว่าดีสำหรับเขาแล้วพูดไปนั้น อาจเสียประโยชน์ เพราะผู้ใหญ่นั้นไม่ใช่เด็ก ความโอนอ่อน ความน้อมรับ ไม่เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับเด็กซึ่งเป็นธรรมชาติที่ยังไงก็ได้ไม่ตัดสิน
- กระแสความไม่รู้บางอย่างเมื่อทำลงไป บางทีมีความเคยชินที่จะหาความชอบธรรม สอบถามหาความเหมือนกับผู้อื่น แอบอ้างเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ให้คอยระมัดระวังให้ดี
- เมื่อได้พูดบรรยายลักษณะความรู้สึกออกไป ไม่รู้เป็นไงมันกลับมีความรู้สึกว่า "ชัด" ขึ้น น่าแปลกที่ว่าทั้งๆ ที่ "รู้" นั่นก็คือรู้อันเดิม ต่างตรงที่มันพูดหรือไม่พูดออกมา ความ "ชัด" กลับเกิดขึ้น
- รู้แต่ไม่รู้ว่ารู้ นั่นคือความหลงอย่างหนึ่ง