วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ดูเหมือนกัน เห็นไม่เหมือนกัน

เห็นรูป เห็นนาม
เห็นกาย เห็นใจ

เห็นกายเป็นอย่างนี้
กายเดินไปมา

เห็นใจเป็นอย่างนี้
เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวโลภ
อย่างนี้เรียกเป็นสมถะ

แต่ถ้าเห็นไตรลักษณ์ของมัน
เช่น อ้าว กายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของไม่เที่ยง
อันนี้เรียกเป็นวิปัสสนา

ตามดูเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน

ฝึกใหม่ก็เป็นสมถะกัน
ใจไปอยู่กับอารมณ์
ใจไม่มีกำลัง

จิตที่ยัังเกาะอารมณ์เป็นสสังขาริก
สูงสุดไปพรหม
จิตนี่ก็เกาะได้หมด รูป นาม ความนิ่ง ความว่าง

แต่วิปัสสนาเขาใช้อสังขาริก

อารัมนูปนิชฌาน
คือการสนใจอารมณ์
เช่น สนใจว่ากายมันเป็นอย่างนี้
มันนั่ง มันยืน มันเดิน มันนอน

เสียงในหัว

วิตก วิจารณ์ ก็เสียงในหัวนั่นแหละ
วิจารณ์ไปทุกเรื่องแหละ
ตัดสินคนนั้นคนนี้
นี่หมา นี่แมว
คนนี้สวย คนนี้ไม่สวย
นี่ถูก นี่ผิด

ถ้าฝึกสติสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นเสียงในหัว
นั่งดูบ่อยๆ ก็จะเห็นอันนี้หยาบนิ ก็ทิ้งไป
ก็เข้าฌานแล้ว

เวลาปกติวิตกวิจารณ์นี่มันอารมณ์เยอะ
เปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย

เวลาคนจะตาย
ถ้าไม่เคยฝึกอะไรมาเลย
ก็จะชวนให้มาวิตกที่ พุทโธ หรืออะไรที่ดีๆ จะได้ไปสุคติ
อันนี้เขาเลยเรียกว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (ความหมายคือ พามันมาอยู่อารมณ์นี้)

อีกชื่อของวิตกวิจารณ์คือ วจีสังขาร = เสียงในหัว

โดยทั่วไป
เมื่อวิตกเรื่องนึงดับไป
ก็ขึ้นเรื่องใหม่มา โผล่ไปโผล่มา

ถ้าจะฝึกสติสัมปัชัญญะไม่เอาฌาน
ก็ฝึกให้เห็นไตรลักษณ์ไป
แต่ถ้าจะเอาฌานต้องมาอยู่อารมณ์เดียว

ถ้าสติดีๆ ก็จะเห็นวิตกวิจารณ์
วิ่งเข้าวิ่งออก ไปๆ มาๆ
และก็เห็นช่วงที่มันไม่มีด้วย

ทำท่าเป็นพระอริยะ ไม่ศึกษาไปตามลำดับ

นักปฏิบัติชอบไปทำท่าเหมือนพระอริยะ

เช่น

คุณสมบัติพระโสดาบัน คือศีล 5 บริบูรณ์
เราก็ดันไปนึกว่า ถ้ารักษาศีล 5 ได้สมบูรณ์
จะได้เป็นโสดาบัน
การปฏิบัติ "ไม่ได้" ทำกลับข้างอย่างนี้นะ

หรือ

คุณสมบัติพระอนาคามี คือ หมดกามราคะ ปฏิฆะ
บางคนก็พยายามไม่มีราคะ พยายามไม่มีปฏิฆะ
ก็คงจะได้เป็นพระอนาคามี

ตัณหาพอมันอยากเป็นก็ชอบกลับข้างอยู่เรื่อย

หรืออีกตัวอย่าง
ไปรู้ว่าคุณสมบัติพระอรหันต์คือ มีสติสมบูรณ์
ก็ไปพยาย้าม พยายาม ปฏิบัติให้สติสมบูรณ์อยู่นั่น
ข้ามโสดาบันไปเสียฉิบ
ทำกลับข้าง

ไม่ทำตามลำดับ
ไม่ศึกษาโดยการรู้จักตนเอง

พอเห็นความเป็นจริงตามอริยสัจ
สังโยชน์จึงจะถูกละ
ไม่ใช่ละสังโยชน์ก่อน

เห็นตามความเป็นจริงก่อน
สังโยชน์จึงถูกละ
ศีลจึงสมบูรณ์
ไม่ใช่ไปทำศีลให้สมบูรณ์ก่อน

เราชอบไปทำแบบนี้
สลับขั้นตอน
ก็อาจจะเพราะเรียนมาแบบนี้ด้วยล่ะ

"ชอบรักษาดี"
แต่ลืมไปว่า "ชั่วยังไม่ได้ละ"
อันนี้ยังใช้ไม่ได้

เช่นว่า เราอยากจะคิดให้มันดี
ก็ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ ว่าไป
รักษาภพสวรรค์ ถ้าไม่ดีแตกก็ได้ไปสวรรคล่ะ
แต่ไม่ปิดอบาย
ความหมายคือ นรกยังอยู่


ฝึกแบบนี้ คือ
รอวันดีแตก เละตุ้มเป๊ะเหมือนเดิม

วิธีการแบบพระพุทธศาสนาคือ
ละฝ่ายไม่ดี
เมื่อละฝ่ายไม่ดี
ก็จะเหลือแต่ฝ่ายดี

ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์นะ
ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ

พอรู้ว่ามันไม่ดี การละเป็นเรื่องของมันเอง ตามธรรมชาติ

เห็นธรรม

เห็นธรรมะคือเห็นปฏิจจสมุปบาท
เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้ัน

ไม่ได้ไปเห็นความไม่มีตัวไม่มีตน
นิ่งๆ โล่งๆ อะไร

คำว่า อนัตตาไม่ใช่ไม่มีอะไร
ความหมายคือ มีเมื่อมีเหตุ ไม่มีเหตุก็ไม่มี
จึงเรียกว่าอนัตตา

อนัตตาคือ ไม่มีอะไรนิ่งๆ ถาวร

สมัยก่อนเห็นชัดๆ ก็เช่น แสวงหาความเป็นอมตะ
สมัยนี้ก็เช่น แก่แล้วไปทำสาวอยู่นั่น
อันนี้เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายรูป

การแสวงหาจิตให้สงบตลอด
นิ่งตลอด ดีตลอด
ว่างตลอด ไม่มีกิเลสตลอด
ให้สามารถเห็นไม่มีตัวไม่มีตนตลอด
อันนี้ก็เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายนาม

เราปฏิบัติเพื่อละความเห็นผิด และละความยึดมั่นถือมั่น

ความรู้สึกว่ามีตัว มีตน มีเรา มีเขา
ก็เกิดจากตัณหาบ้าง
มานะบ้าง
ทิฏฐิบ้าง
เป็นไปตามกระบวนการปฏิจจ.

พอเข้าไปเห็นความจริงขึ้นมาว่า
อ้อ พอเข้าไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา
จึงเกิดมี "เรา" ที่สำคัญเช่นนี้ขึ้น
เราจึงไม่มี
มีเมื่อกระทบผัสสะ

เมื่อผัสสะก็รู้สึก
เมื่อรู้สึกก็ชอบใจ
เกิดตัณหาทะยานอยากของจิต
เกิดจริงจังเกินเหตุ เป็นอุปาทาน
เห็นเป็นกระบวนการอย่างนี้
ไม่มีตัวตนจริงในที่ไหน

อย่างนี้เรียกเห็นธรรมะ


วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ยอม

วิปัสสนา
ไม่ได้ต้องการให้เห็นว่ามันดับวับๆ อยู่ตลอด

ดูให้มันเห็นแจ้ง ไม่ได้ดูให้มันดับ
ไม่ได้ดูให้มันหาย
ไม่ได้ดูให้เป็นอะไรๆ

บางครั้งก็อยู่นาน บางครั้งก็อยู่ไม่นาน
บางครั้งทุกข์มาก บางครั้งทุกข์น้อย
บางครั้งปฏิบัติดี บางครั้งปฏิบัติไม่ดี
บางครั้งสงสัย บางครั้งไม่สงสัย

ใครไม่สงสัยเลยแปลว่าปฏิบัติไม่ถูก

อวิชชาอยู่ที่อทุกขมสุขเวทนา
มันเฉยๆ จะไม่มารู้อริยสัจ ไม่รู้จะรู้ทำไม แล้วก็งง 55555

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

จิตพลิกเอง - ช่วยพลิก

เวลาฝึกสติสัมปชัญญะถูกต้อง
ด้วยความรู้ตัว

มันจะมีช่วงเวลาที่จิตพลิก
ไปรู้อารมณ์เดียว
สบายๆ
อันนี้เขาทำสมถะ

สักหน่อยก็จะกลับมารู้กายรู้ใจ

พอเหนื่อยก็พลิกไปรู้อารมณ์เดียวสบายๆ อีก
ฝึกถูกต้องจิตจะพลิกไปทำสมถะเอง

เวลาดูจิตไปนานๆ
เกิดฟุ้งซ่าน
มันก็พลิกมาดูกายได้เอง

การพลิกมาดูกาย
ปกติแล้วจะทำให้กำลังของจิตเยอะขึ้น
มันก็มาดูท้องบ้าง ดูธาตุบ้าง ตามเรื่อง

ปกติถ้าไม่แทรกแซงจิตก็ทำเอง
ถ้าจะช่วย ก็ได้ แต่ต้องรู้หลัก

ถ้าวิถีชีวิตเราไม่ได้สบายๆ พอที่จิตจะพลิกไปมาได้เอง
บางครั้งการงานวุ่นวายมากเกินไป
จิตพลิกไม่ได้เพราะงานมันยุ่งอยู่ทั้งวัน
จิตมันจะเหนื่อย

อันนี้ก็ช่วยมันพลิก
มันพลิกเองไม่ได้ มันเหนื่อยเกินไป

เราก็ดูไป
นี่ จิตมันเหนื่อย
มันพลิกมางี้
แล้วมันจะมีกำลัง
มันก็จะจำไว้ว่า อ้อ ทำแบบนี้
เราก็จะรู้วิธีช่วยมันได้

การปฏิบัติ

การปฏิบัติ

ไม่ใช่ให้ไปทำสิ่งที่ถูก
แต่ให้ละสิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆ

ละหลง ไม่รู้กายรู้ใจ
ละความอยากจะเอา อยากจะดี

ทำอะไรอยู่

เอาสติไปกำหนดที่อารมณ์
อันนี้จะไม่ใช่สติปัฏฐาน

เราแค่เอาอารมณ์ของสติปัฏฐาน
มาเป็นอารมณ์ของสมถะเท่านั้นเอง

ที่ถูกคือ
สติปัฏฐานนั้นเป็นฐานที่ตั้งของการเกิดสติ
เราต้องหัดไปจนมีสติ
คือให้เกิดความมีสติขึ้นใน 4 ฐานนี้

เช่น กายเราแต่เดิมมีอยู่
มันหลงตลอด
เราก็ใช้มันเป็นฐาน

เช่น ตามันกระพริบอยู่
แต่เดิมมันหลงไป
เราก็ใช้การกระพริบตานี่เป็นฐานของการรู้สึก

ไม่ใช่เอาสติไปกำหนดที่ฐาน
ถ้าทำแบบนี้จะเป็นวิธีการของสมถะ

เหมือนกับเราไปจดจ่อข้างนอกนั่นแหละ
เช่น เราเอาอารมณ์กสิณมาอันนึง
วางไว้ แล้วเอาสติไปจดจ่อที่นั่น
แบบนี้เรียกว่าเอาสติไปจ่อที่อารมณ์

ทีนี้แทนที่จะไปจ่ออารมณ์ภายนอก
ก็เอากาย ใจมาเป็นอารมณ์แทน
คือ เอาสติไปกำหนดที่กายที่ใจ  ที่ใดที่นึง
อันนี้ก็เป็นสมถะ

หลังๆ นี่มักฝึกจนกลายเป็น
เอาสติไปจมอยู่กับฐาน

ที่ถูกคือ เอาฐาน เป็นที่ตั้งให้กับสติ หรือความรู้สึกตัว
เดิมมันหลงมาก ก็เอา กาย เวทนา จิต ธรรมเนี่ย
เป็นฐานให้รู้สึกตัวเข้าไว้

สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าตอนนี้ทำอะไร

จะกำหนดก็ไม่ผิด
ทำสมถะก็ไม่ได้เสียหาย
แต่ต้องรู้ว่านี่กำลังทำสมถะ
อย่าไปหลงว่ากำลังทำอย่างอื่นอยู่

สมถะมันคือการที่ไปใส่ใจ สนใจในตัวอารมณ์
จะข้างนอก ข้างใน
จะบัญญัติ จะปรมัตถ์ก็ได้หมด

ความอยากกับสมถะเกิดร่วมกันไม่ได้

ความอยากกับสมถะเกิดร่วมกันไม่ได้

โลภ หวังผล
ไม่ได้จริง

สติจำเป็นในที่ทั้งปวง

สัมปชัญญะโดยย่อ

ทำอะไร
ทำเพื่ออะไร
ทำอย่างไร
ทำไปด้วยความรู้ตัว

ทำไปแล้วสามารถระลึกได้
ทำอันนี้ด้วยจิตอะไร
พูดอย่างนี้ด้วยจิตอะไร


ธรรมปีติ - โลภปีติ

ได้ดังใจแล้วมีปีติ
อันนี้เรียก โลภะ

ดูไม่ยาก
ถ้าอยากรู้ว่าโสมนัสเกิดกับโลภะรึป่าว
ดูตรงกันข้าม
โดนขัดแล้วโทสะมั้ย

คนละเรื่องกับธรรมปีติ
ยิ่งเห็นไม่ได้ดั่งใจ
ยิ่งเข้าใจธรรม
ยิ่งปีติ
โอ้ว ทุกข์นี่จะให้หายไม่ยอมหายนะนี่

วิริยสัมโพชฌงค์

เพียรให้เกิดปัญญา
เพียรรู้
ไม่ใช่เพียรแก้ทุกข์

อย่างอื่นเสื่อมไม่เป็นไร
ปัญญาอย่าเสื่อม

เห็นโทษ จึงขยันขึ้นมา

เห็นโทษ จึงขยันขึ้นมา

แต่ถ้ากลบเอาไว้
อยากเอาดี
อยากหนีร้าย
อยากเอาแต่สงบ
ก็เมาหมกอยู่อย่างนั้น

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด!!!

โปรดสังเกตระหว่างบรรทัด
เพื่ออนาคตจะได้ดีๆ 


...เธอเห็นตัณหานั่นมั้ย...

วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อโยนิโสมนสิการ

การใส่ใจไม่ถูกต้อง
ไม่ถูกตัว
มัวสนใจเรื่องคนนั้นคนนี้ ทำให้ขาดสติ

หลงของวิปัสสนา

การที่จิตรู้นั่นนี่
เช่นโกรธเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ
คือ ยังไม่รู้รวบยอดสรุป
รู้แยกส่วน

อันนี้ยังเป็น "เรารู้" อยู่
แต่ก็รู้ไปอย่างนี้เป็นการฝึก

หรือบางทีมันพากษ์รายละเอียด
รู้อย่างนู้นอย่างนี้ สภาวะนั่นนี่
อันนี้จริงๆ จัดเป็นความหลง
แต่ความหลงแบบนี้ก็เอามาทำสมถะได้เหมือนกัน

วิปัสสนาไม่ได้สนใจสภาวะ
วิปัสสนาสนใจลักษณะ

รู้กายรู้ใจไม่จำเป็นต้องเป็นวิปัสสนา
อย่างสติปัฏฐานนี่ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง
สนใจอารมณ์ว่าหายใจเข้าหายใจออก
สนใจท้องพองเข้า ยุบออก
อันนี้เป็นสมถะ

วิปัสสนาสนใจไตรลักษณ์ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
รู้สภาวะเหมือนกัน
แต่ไม่สนใจ

สมถะสนใจสภาวะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

ณาณสมถะ
มันก็เห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
แต่เห็นแบบเทียบเอา
ไม่เห็นจริง
พูดตรงๆ ก็ วิปัสสนูปกิเลส

จิตที่เกิดปัญญา

จิตที่เกิดปัญญาจะมองเห็นเป็นภาพรวม

ไม่ได้มาแยกว่า
ความโกรธเกิดขึ้นดับไป
ความโลภเกิดขึ้นดับไป
รูปเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ

มันรวบเลย อะไรที่มันเกิด ดับหมด


วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สังวรไม่ใช่ทำช้าๆ

ไม่ใช่มาฝึกทำอะไรช้าๆ
แต่ฝึกสติให้เร็ว

กิเลสเป็นอสังขาริก
ไม่ต้องเชิญก็มา
เกิดเอง

สติต้องสู้กับอสังขาริก
ช้าไม่ได้กินอ่ะ

ทางเลือก

ธรรมดาของจิตจะติดสัญญาอดีต
เวลามี 2 ทางให้เลือก

จะไปทางคุ้นเคยก่อน
รู้สึกปลอดภัยดี

พึงสะสมสัญญาดีๆ เอาไว้


วิตก วิจารณ์ - วจีสังขาร

สังเกตเวลานั่งสมาธิ
ดูลม ดูกาย ดูอะไรไปสบายๆ

วิตก
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นมาของจิตเอง
ผุดขึ้นมา
ไม่ใช่เราไปช่วยคิด

แล้วพอขึ้นมาแล้ว
เราก็ไปสนใจมัน
อยากรู้เรื่องนั้นให้มากขึ้น
อันนี้เรียกว่าวิจารณ์

ถ้าสติสัมปชัญญะดี
พวกวิตกวิจารณ์ก็จะไม่ค่อยเข้ามาสู่ใจ
มีอยู่ก็เห็นอยู่ห่างๆ
ไม่มีนิวรณ์

พวกนี้มันเป็นวจีสังขาร
จิตเรามันพูดได้เอง
คอยพูดอยู่นั่น

ที่บอกว่าปฏิบัติไปห้ามพูด
เอาจริงทำไม่ได้หรอก ว่าไปอย่างนั้นเอง
วจีสังขารมันทำงานได้เอง
พูดเป็นธรรมดา
เหมือนหายใจเข้าออก

มันคอยพูด
คอยไปรู้นั่นรู้นี่
เป็นธรรมดาของจิต

ไม่ต้องไปปฏฺิบัติเพื่อพยายามจะไม่รู้ จะไม่พูด
ดูความเป็นธรรมดา

มันพากษ์ของมันเอง
มันบอกของมันเอง
มันสนใจของมันเอง
สักพักก็เลิกสนใจของมันเอง ไปสนใจอย่างอื่นต่อ

ให้เห็นมันก็พอ
ว่ามันเป็นไปเอง
เป็นธรรมดาของมัน

รังเกียจกิเลสคนอื่น

ส่วนใหญ่ชอบรังเกียจกิเลสคนอื่น
มันก็เป็นกิเลสตัวนั่นแหละ

เมื่อคนนั้นยังไม่มีปัญญา
ยังเป็นปุถุชน
มันก็มีโอกาสหลงผิดแล้วก็ไปทำ

ไปทำก็เป็นธรรมดา
เกิดแล้วก็ดับไป
มันก็ไม่ใช่คนนั้นละ
เปลี่ยนคน

มันเป็นชั่วขณะ
แล้วก็ดับไป

ทีนี้เราชอบมองไปที่ความผิดของคนอื่น
ทำไมทำอย่างงี้ ทำไมพูดอย่างงี้
ที่จริงเป็นอาการกิเลสเราเอง

เพราะความจริงมันคือ "ไม่มีคน"

ง่ายที่สุดคือ
เมื่อไร "เห็นคนอื่นผิด แสดงว่าเราผิด"




อวิชชาไม่มีตัวตน

อวิชชาไม่มีตัวตน
กิเลสก็ไม่มีตัวตน
ปีศาจก็ไม่ได้มีตัวตน

มีเหตุเกิดขึ้นก็มีเหมือนมีจริง
เหตุหมดก็ดับไป

ในกาลก่อนแต่บัดนี้ อวิชชามิได้มี
แต่ต่อมาก็เกิดขึ้นในภายหลัง

มีเหตุก็เกิดขึ้น
ต่อมาก็ดับไป
มีเหตุใหม่ก็เกิดขึ้นใหม่
แล้วก็ดับลง

อะไรเกิดขึ้นดับได้หมด
ทุกข์ สุข สงบ ก็เหมือนกัน

จึงไม่ต้องไปรังเกียจรังงอนกิเลสนักหนา
ส่วนมากชอบรังเกียจกิเลสคนอื่น

อาสวะ

กิเลสประเภทอาสวะ
ครอบคลุมจิตใจอยู่

ทำให้จิตไม่เป็นอิสระ
ไม่โปร่ง ไม่ใส
ไม่เบา
รู้สึกว่ามีอะไรครอบอยู่

ไม่ทิ้งโลก
ไม่ทิ้งความสงบ
ไม่ทิ้งความรู้

กิเลสกลุ่มนี้
ต้องผู้ปฏิบัติถึงจะเห็น
เหมือนไม่ออกไปสักที
เหมือนมีอะไรเคลือบๆ ใจอยู่

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อาการอุปาทาน - ยึดก็ทุกข์

ปฏิบัติไปลองสังเกต
น้ำหนักในตัวกับน้ำหนักภายนอกมันไม่เท่ากัน
ภายนอกสบายๆ โล่งๆ
น้ำหนักแท้จริงอยู่แถวๆ อก

ความหนักๆ ในอก
เป็นอาการแสดงความยึด
ยึดมากหนักมาก
น้ำหนักของอุปาทาน

ถ้าไม่มีความยึดจะไม่เกิดน้ำหนัก
ยิ่งทำกรรมก็เกิดน้ำหนักมาก

ถ้าเคยเห็นน้ำหนัก
เวลามีน้ำหนักเกิดขึ้นจะรู้เร็วมาก
เพ่งนิด เพ่งหน่อย จะทำเพื่อตัวเองหน่อย
หนักขึ้นมาละ

อันนี้เป็นอาการ "ยึดเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น

ต่อมาฝึกต่อไป
น้ำหนักภายใน ภายนอกเท่ากัน
เป็นธาตุเหมือนกัน
เห็นภายในภายนอกโดยความเสมอกัน
คนเห็นแบบนี้ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

พระอรหันต์จึงมีจิตเดียว
ที่ท่านชอบพูด จิตหนึ่ง จิตเดียว คือมันเท่ากัน

เวลาท่านพูดถึงนิพพาน
ท่านไม่ได้พูดถึงจิต
ท่านพูดถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
ส่วนตัวจิตที่ไปรู้เข้าเรียกว่า มหากิริยาจิต ไม่มีน้ำหนัก

ไม่มีน้ำหนัก
มันก็ไม่ก่อกรรม
สิ่งที่มหากิริยาจิตไปรู้เข้าก็เท่ากันหมดทั้งโลก
เขาเรียกว่า หนึ่ง
ไม่มีแบ่งแยก ไม่มีบวกไม่มีลบ ไม่มีมาไม่มีไป ไม่มีเกิดไม่มีตาย
เราไปฟัง ... จึงไม่รู้เรื่อง 5555

ความเข้าใจผิดที่แฝงมากับคำว่า อนัตตา

ความเข้าใจผิดที่แฝงมากับคำว่า อนัตตา
คือมันเลยไปเข้าใจว่า "มีอัตตา" ให้ละ
เป็นกลของภาษาเฉยๆ

จริงๆ
ไม่ได้แปลว่ามีตัวตนอะไรจะให้ละ
ที่ให้ละคือ
"ความเข้าใจผิดว่ามีอัตตา" และ "ความยึดถือมั่น"

เรียนมากๆ ว่าพระอรหันต์ละนู่นละนี่
เราก็จะอยากไปละบ้าง
ละบ้านลูกเดียวเลย

คือมันยังไม่ทันละความเห็นผิดเลย
จะไปทำอะไรมันก็เป็น "เราละ" อยู่
มีตัวตนไปละ
ก็ออกปากอ่าวไทยไป...

ได้ยินว่า พระอรหันต์ไม่มีกิเลส
ก็อยากเอาบ้าง
ทำนู่นทำนี่ ยังไม่ได้ละความเห็นผิด
ก็กลายเป็น "เรามีความสามารถละกิเลสได้"
มี "เรา" ไปกำหนดให้กิเลสมันหาย
เข้าป่าไปอีก...

จำให้แม่นๆ ว่า
การปฏิบัตินี้ เบื้องแรก
ละความเห็นผิดก่อน
ละข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดที่เป็นสีลัพพตปรามาส

ที่เป็นความยึดว่า
เพื่อเราจะได้ดี
เพื่อเราจะมีความสุข
เพื่อเราจะพ้นทุกข์
พวกนี้เป็น สีลัพพตปรามาส

ละความรู้สึกว่าปฏิบัติเพื่อตัวเรา

ความรู้สึกว่ามีตัวเรา

ความรู้สึกว่ามีตัวเราก็ไม่เที่ยง
ความรู้สึกว่าไม่มีตัวเราก็ไม่เที่ยง
เมื่อเข้าใจอย่างนี้
จะรู้ว่า ตัวเราจริงๆ ไม่มี

พระโสดาบันรู้สึกว่ามีตัวเรา
ยึดว่าตัวเราเหมือนกัน แขนเรา ขาเรา
แต่ไม่เข้าใจผิด

พระโสดาบันนั้นเห็นสุขบ้างทุกข์บ้าง
ยังไม่เห็นความล้วนๆ
ก็ยังเห็นว่าเป็นตัวเรา แต่เห็นว่ามันไม่เที่ยง


กิเลสเกิดขึ้นต้องดับมัน?

มีกิเลสมาให้รู้กิเลส
ให้ฝึกที่รู้ (ไม่ใช่ไปฝึกละ)

ฝึกให้รู้ว่ากิเลสไม่ใช่เรา
เป็นนามธรรมอย่างนึง
เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พอรู้ก็จะละ
การละไม่ใช่ละกิเลส
มันเกิดมาแล้ว ไม่ต้องไปละ

สิ่งไหนเกิดแล้วมันดับเองทั้งนั้นแหละ

แต่ที่ละไป
คือฉันทราคะในกิเลสนั้นเท่านั้นเอง

สังเกตมาที่ความเข้าใจผิดว่า
"กิเลสเกิดขึ้นต้องดับมัน"

ถ้าคิดอย่างนี้
ก็จะติดแหง่กอยู่ที่สมถะตลอดกาลนานเทอญ

เข้าใจใหม่ว่า สิ่งที่ละคือ ละฉันทราคะ
ละฉันทราคะเป็นอย่างไร

เช่น
เวลากิเลสเกิดขึ้น
เราไม่ชอบกิเลส
เนี่ย..ที่ละคือละตัว "ไม่ชอบกิเลส"

เพราะกิเลสมันเกิดขึ้นแล้ว
เดี๋ยวมันก็ดับไป
สักหน่อยก็เกิดอีก
เราไม่เกิดฉันทราคะ คือ ไม่เกิดความไม่ชอบกิเลส
อย่างนี้ชื่อว่า "ละ"

ไม่ไปเกิดความเข้าใจผิดในกิเลสว่ามันเป็นตัวเรา



ว่าด้วยโลกุตตรจิต

ฝึกปฏิบัติไป
เห็นความปรุงแต่งทั้งดีทั้งไม่ดีก็ชั่วคราว
ก็เลิกจะเอาดี เลิกผลักไสไม่ดี
จิตก็เข้าสู่ภาวะความเป็นกลางต่อความปรุงแต่ง
แล้วก็ไปเห็นสภาวะความไม่ปรุงแต่งเข้า

โลกุตตรจิต
เป็นจิตที่ปรุงแต่ง เป็นสังขาร

ไปรู้ความไม่ปรุงแต่ง
ไปรู้นิพพาน ซึ่งเป็นวิสังขาร

ทั้งนี้โลกุตตรจิต
เป็นสังขารประเภทที่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์

แต่เดิมสังขารเกิดขึ้นเราปรุงต่อ
มันเลยวนเวียน

ต่อมาสังขารเกิดขึ้นเราไม่ปรุงตาม
อาการไม่ปรุงตามนี้เป็นลักษณะแบบโลกุตตระ
จนเมื่อสมบูรณ์ก็เป็นโลกุตตรจิตเห็นนิพพาน

นิพพานนั้นไม่เกิดดับ
แต่โลกุตตรจิตเกิดดับ

มหากิริยาจิต หรือจิตหนึ่ง
เห็นทุกอย่างทั้งภายในภายนอกเป็นหนึ่ง
จิตนี้เกิดดับ
แต่สิ่งที่เห็น ไม่เกิดดับ
เป็นความว่าง เป็นสุญญตา ตามแต่จะพูด ตรงหมดแหละ

วิญญาณในปฏิจจฯ

เพราะความไม่รู้จึงไปทำกรรม
เป็นสังขาร
สังขารนี้ก็ไปเก็บไว้ในวิญญาณ ตัวนี้กล่าวถึงภวังคจิต
วิญญาณนี้ไปก่อนามรูป
ไม่ใช่แบบเที่ยง แต่แบบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย

เมื่อนามรูปขึ้นมาทำหน้าที่
ก็เรียกเป็นอายตนะ
อายตนะนี้กระทบ ไปก่อให้เกิดวิญญาณ (พวกวิญญาณ 6)

วิญญาณ 2 แห่งนี้กล่าวถึงวิญญาณคนละอย่างกัน

อย่างหนึ่ง กล่าวถึงวิญญาณที่สร้างนามรูป
ซึ่งเป็นตัวเก็บสะสมกรรมต่างๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง

จุติจิต กับปฏิสนธิจิต
จริงๆ เป็นจิตอันเดียวกัน คือ ภวังคจิต
เปลี่ยนแค่ที่อยู่
เปลี่ยนแค่รูปร่างที่มันไปอาศัย

สมมติทำดี
ตาย
ได้นามรูปใหม่เป็นเทวดา

นามรูปเทวดานี้
ก็เพื่อไปรับผลแบบเทวดา
เกิดอายตนะ เกิดตาเพื่อไปกระทบรูปต่างๆ
เกิดหูไปกระทบเสียง
ก็เกิดวิญญาณ
อันนี้เป็นวิญญาณที่เกิดจากนามรูป

พอได้เห็นได้ยิน
ก็ไปทำกรรม
ทำกรรมก็สะสม
ก็ไปก่อนามรูปใหม่ขึ้นมา

มันก็วนๆ กันอยู่อย่างนี้
กิเลส - กรรม - วิบาก

จิต มโน วิญญาณ

วิญญาณคือการรู้แจ้งอารมณ์
คือการรู้อารมณ์ลงไปธรรมดาๆ ตรงๆ
การรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
การรู้ว่ามีโลกนี้

จิตก็มีลักษณะนี้
คือลักษณะการรู้
รู้แจ้งอารมณ์

วิญญาณเป็นชื่อเรียกของจิต
จิตที่เกิดจากการกระทบอารมณ์เรียกว่า วิญญาณ

ตาไปกระทบกับรูป
เกิดการรับรู้อารมณ์ขึ้นมา
มีโลกปรากฏขึ้นมาทางตา
เรียกว่า จักขุวิญญาณ

ธัมมารมณ์ คือความคิด ความรู้สึกอะไรต่างๆ
กระทบกับใจ (หรือมโน)
กระทบแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น เรารู้สึกอย่างนี้ เราคิดอย่างนี้
เรียก มโนวิญญาณ

วิญญาณ เป็นชื่อของจิต
แต่ว่าเป็นจิตที่เกิดจากการกระทบสัมผัส
ของอายตนะภายในและภายนอก

ในพระสูตรจะเจออยู่ 3 คำ
จิต มโน วิญญาณ

มโน จะเจอในแง่ว่า เอาไว้กระทบกับอารมณ์ทางใจ
มโน กระทบกัน ธรรมะ (หรือธัมมารมณ์) เช่น พวกความคิด ความรู้สึก
พอกระทบกับใจ ก็เกิดความรับรู้ขึ้น เรียกว่า "มโนวิญญาณ"

พอรู้สิ่งเหล่านี้ไปจนหมด
รู้ เข้าใจถูกต้อง เกิดปัญญา
จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อ่าว
คนพ้นกลับกลายเป็น "จิต" พ้น 5555

จิต มโน วิญญาณ เป็นอันเดียวกัน ก็มีแง่นี้ จะว่าอันเดียวกันก็ใช่
แล้วก็มีแง่ที่การใช้คำมันไม่เหมือนกันด้วย
ถ้าจะเรียน ก็เรียนครบๆ จะเข้าใจมากขึ้น

สรุปตกลงต่างกันยังไง
ตอบ ต่างกันที่ความคิดนั่นแหละ
เหมือนกุศล/อกุศลต่างกันยังไง
ก็ต่างที่ความคิดนั่นไง

การบอกความต่างแล้วประกอบเหตุผล
ก็เอาไว้สงบคำพวกทีี่ชอบเหตุผล
ให้ยอมมาปฏิบัติ

พอสักหน่อยปฏิบัติได้ผล
ก็ทิ้งเหตุผลอยู่ดี 5555

เรียนๆ ไปเจอคำว่า จิตหนึ่ง
จิตหนึ่ง หรือกิริยาจิต
หมายถึงจิตของพระอรหันต์
ที่ไม่แยกธรรมชาติกับตัวเรา

เรียนไปก็งงอีก
เป็นนักเรียนไม่ต้องไปงง
งง เป็นสังขาร
เลิกคิดก็เลิกงงเอง
รู้ไปตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ในการฝึกนั้นจะดูที่อะไรก็ได้
จะดูที่ความโกรธที่มากระทบ
จะดูที่มโน
หรือจะดูที่มโนวิญญาณก็ได้
รู้อะไรก็เอาอันนั้น

เหมือนการดู
จะรู้ที่จักขุประสาทก็ได้
จะรู้ที่รูปก็ได้
จะรู้ที่จักขุวิญญาณก็ได้
จะรู้ที่จักขุสัมผัสก็ได้
ถ้าไม่ทัน...จะรู้ที่เวทนาก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่สัญญาที่ผุดเนื่องด้วยรูปก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่ความปรุงแต่งทางใจที่ตามมาก็ได้

ดูการใช้คำเพิ่มเติม

เวลาใจกระทบธัมมารมณ์
พอกระทบก็เกิดขึ้นว่า
เราคิดอย่างนี้ เรารู้สึกอย่างนี้
การรับรู้อันนี้เรียกว่า มโนวิญญาณ

พอรับรู้แล้ว
สังขารก็ครอบงำจิตอีก
เป็นจิตชนิดใหม่ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
พอเป็นจิตชนิดใหม่นี้ ก็เรียกว่าเป็นจิต
คือ กุศลจิต อกุศลจิต

พอกุศลจิต อกุศลจิต ก็กระทบกับมโน
ก็เกิดมโนวิญญาณเกิดขึ้นมารู้ว่า เออ อันนี้กุศล

ตอนนึงเป็นวิญญาณ
ตอนนึงเป็นจิต
5555


5 พ.ย.60

นอกจากผัสสะแล้ว
ก็ไม่มีหลักฐานใดๆ
แสดงความคงอยู่ของโลกเลย

ติดสมถะ

แม้เข้าฌานไม่ได้
ทำสมาธิไม่เก่ง
แต่ก็ยังติดสมถะได้

ในแง่ที่ว่า
ติดว่าการปฏิบัติต้องสงบ

คือไปยึดเอาเป้าหมายที่พลาดไป
จริงๆ แล้วการปฏิบัติ
ก็เพื่อพ้นทุกข์เท่านั้น

ิเริ่มจากความหลง

มีเรา มีเขา
มีผู้หญิง มีผู้ชาย
หลงไปตั้งแต่ต้น
มันเริ่มมาจากความไม่รู้

จึงไปทำอะไรเพื่อเรา

ความเคยชินที่่เกิดจากความหลง เรียกว่า อนุสัย
นอนเนื่องนี้ ความหมายคือ "ละไม่ได้"
เพราะยังไม่มีความรู้
ยังไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีปัญญา

หลงเสร็จก็มีเรา มีเขา
หลงไปเรียบร้อย
เจอของดีก็ชอบ เกิดราคะ

จำไว้อย่างนั้น

สํญญานี้จำไว้ว่า "ถ้าได้อย่างใจ จะมีความสุข"
สัญญานี้จำไว้ว่า  "ถ้าไม่ได้อย่างใจ จะมีความทุกข์"

เลยทำตามใจเรื่อยไป
พอไม่ได้ด่ั่งใจก็ทุกข์มาก

ทีนี้การฝึกไม่ตามใจ
มันก็จะเริ่มจำใหม่
ว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง
พอมาเจอได้บ้างไม่ได้บ้าง
มันก็จะไม่ทุกข์หนักเท่าพวกที่เคยได้อะไรก็ได้ตลอด

สังขารก็ปรุงไปตามที่จำไว้

สิ่งใดครอบจิตได้จะเคยชิน
จะผุดขึ้นมาว่าอยากได้อยากเอาแบบเดิมอีก

อาการที่ผุดเรื่องเดิมๆ เมื่อเจอเหตุการณ์แบบเดิมๆ
เรียก อนุสัย

การจะละความเคยชิน
ต้องอาศัยปัญญาเท่านั้น
คือการรู้ทัน

กระทบอารมณ์
สัญญาผุด
อันนี้ + อันนี้ - คิดกันไป

อยากรู้ว่าสังขารครอบงำจิตรึป่าว
ดูว่ามันคิดเรื่องอื่นออกบ้างมั้ย

เช่น ยืนรอสามี
ไม่มาสักที มันหายหัวไปไหน ไปมีกิ๊กรึป่ว
คือมันคิดอย่างอื่นไม่ออกแล้ว
คิดออกแต่ว่าจะด่ามันยังไง
คนเดินผ่านไปผ่านมาไม่รู้เลย เป็นต้น

ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ อย่าไปทำอย่างอื่น
หยุดเลย
มันถูกครอบแล้ว
คิดทำพูดอะไรจะผิดหมด
แต่ส่วนมากก็ชอบจะไปแก้ปัญหากันตอนนี้ล่ะ
วุ่นวายไปกันใหญ่

เวลาทำอะไรที่สังขารครอบงำเบ็ดเสร็จอย่างนี้
กรรมหนักมาก
เจตนาแรง

ราคะ

เห็นแล้วอยากเห็นอีก
ยินแล้วอยากยินอีก
คิดแล้วอยากคิดอีก

สังขารครอบงำจิต

พอสังขารครอบงำได้
มันก็คืออาการมีอารมณ์ร่วม
พอมีอารมณ์ร่วมมันก็พากาย พาวาจาไปเป็นนักแสดง

สัญญาผุดเพราะไปฟังเขามา
นักปฏิบัติธรรมจะต้องเป็นอย่างนี้
เรียบร้อย

ปรุงทำยังไงดีน้า
เพื่อจะแสดงให้สมบทบาท
ไม่ได้อะไรเลย
นอกจากได้ "แสดง"

วิธีคือรู้ทัน
ก็ไม่ทำตามมันได้
ปล่อยเด็กมันวิ่งเล่นไป
ดูมันคิดประหลาดๆ ไป

ไม่ทันก็หลงไปตามมันบ้าง
บางอารมณ์ก็รู้สึก
บางอารมณ์ก็เฉยๆ กะมันได้

ที่ฝึกสติก็เพื่อให้รู้ทันสังขารยิ่งๆ ขึ้นไป
สีล สมาธิ ปัญญาจริงๆ ก็เป็นสังขาร
แต่เป็นประเภท "แพข้าม"
ไม่ได้ฝึกเพื่อเอากุศลหรืออะไร
ฝึกให้ละความเห็นผิดเท่านั้น

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สังขารเวลาปรุงแต่ง

สังขารเวลาปรุงแต่งนั้น
ส่งผลกระทบต่อกาย ต่อความรู้สึก ต่อสัญญา
และกระทบต่อวิญญาณต่างๆ
รวมถึงส่งผลต่อสังขารใหม่ๆ ในรูปความเคยชินที่มากขึ้น
เห็นไม่ดีมากขึ้น คิดไม่ดีมากขึ้น


ไปร้านอาหาร สังเกตการปรุง
อยากกินอันนั้นอันนี้
ส่งผลไปสู่ร่างกาย (สังขารปรุงรูป)

บ๋อยมาช้า ก็ปรุงอีก 
เพราะมันจำว่า ถ้ามาเร็วจะถูกต้อง จะมีความสุข
โกรธละทีนี้ ลมหายใจเปลี่ยน
กายกระสับกระส่าย
เริ่มบ่น ระบาย หาคนแชร์ 

พอมีคนยิ่งถมมา
บ่นมากขึ้น ต้องมีกิริยา
ต้องเรียก ต้องจัดการ

หัดดูขันธ์ 5 ที่เปลี่ยนแปลงตามสังขาร
รู้เท่าทันกระบวนการเกิดแล้วดับ มันก็ไม่ปรุงต่อ

สัญเจตนา

ความรู้สึกว่ามีเรา และต้องทำเพื่อเรา

กรรมที่ทำเพื่อตัวเอง
อยากให้เราสุข
อยากให้เราพ้นทุกข์
อยากให้เราเก่ง
อยากให้เรา ...

สัญญาเก่า

สัญญาเก่าเป็นไง
ดูเสียงพากษ์

เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร
เป็นเสียงพากษ์ทั้งหมดเลย

สัญญาเก่านี่ลบยาก
แต่เราก็ไม่ได้ฝึกลบสัญญาเดิม
เราฝึกสร้างสัญญาใหม่

จิตมันเกิดทีละดวง
เราเล่นเก้าอี้ดนตรีกัน

ไม่ใช่ "จงอย่าเป็นแก้ว"

ถ้าจะสะสมสัญญา
ท่านแนะให้สะสมสัญญาที่ดี
เช่น คบบัณฑิต ก็จะได้ฟังแต่เรื่องพ้นทุกข์ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา
พวกนี้มันก็จะเก็บสะสมไว้

สัญญาเกิดกับผัสสะ
เราอยากรู้ว่าเราสะสมสัญญาประเภทไหน
ดูว่าผัสสะ แล้วอะไรผุดขึ้น

โดนรถบีบแตร เกิดอะไรขึ้นลองดู
แม่พูดอย่างนี้ ความจริงสอน คิดว่าแม่ด่ารึป่าว
สัญญาผุดแล้วดับ
แต่เรื่องไม่ดับ ถ้าผุดเรื่องไม่ดี ปรุงต่อ ก็เป็นอกุศล

จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่อารมณ์กระทบ
ถ้าเราสะสมสัญญาที่ดี
มันก็ผุดเรื่องดีๆ ขึ้นมา
มันก็ปรุงดี จิตก็เป็นกุศล

จิตเป็นกุศล ก็ใกล้เคียงกับการที่จะรู้ความจริง
ใกล้เคียงกับสติสัมปชัญญะ

ไม่ไปไหนสักทีเพราะ
สัญญาสะสมแต่เรื่องไม่ดี
สังคม การคบคน เขาใส่มา
โดยเฉพาะคือผู้หวังดีทั้งหลาย มีพ่อแม่เป็นต้น
ความหวังดี เช่น ต้องหาสามีดีๆ ถึงจะมีความสุข เป็นต้น



สัญญา

ความจำได้

เวลาจำเหตุผลอะไรได้เยอะๆ
มันก็จะพอใจ
สักหน่อยก็สงสัยอะไรขึ้นมาถามใหม่

แต่สัญญานี้ไม่ใช่ความรู้

ความหมายรู้

ถ้ามีความยึดมากๆ
มองไปจะรู้สึกว่าเป็นคนจริงๆ นะ

สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง
อยู่ที่ว่าจิตเป็นแบบไหน
ถ้ามีความไม่รู้ ยึดว่ามีคน มันก็จำเอาไว้
"อัตตสัญญา"