คิดแบบมีเจตนาไม่ดีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับความคิดที่ประกอบด้วยเจตนา
ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สิ่งของ หรือเหตุการณ์
มี 3 อภิชฌา, พยาบาท, มิจฉาทิฏฐิ
อภิชฌา - คิดทำนอง "ทำยังไงเราจะได้ของคนนี้มา" --- ทำยังไง~~~
อันนี้เป็นทุจริตแล้ว
ที่รั่วเยอะๆ กัน เช่น เลี่ยงภาษี
คือถ้าคิดอยากได้เฉยๆ
อันนี้เป็นกิเลสธรรมดา ไม่ได้มีเจตนา เป็นนิวรณ์ เป็นสังโยชน์ ฯลฯ
อย่างนี้ไม่ใช่อภิชฌา
พยาบาท - คิดอยากให้เขาวอดวาย "เมื่อไรไอ้หมอนี่จะตายๆ ไปซะที"
"ตายแล้วประเทศจะได้สงบ"
มิจฉาทิฏฐิ - เห็นผิด 10 เรื่อง
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
โสภณ
อัญญสมานา - เกิดกับใครก็เหมือนคนนั้น
เกิดกับของดีก็ดีกััับเขา
เกิดกับของไม่ดีก็ไม่ดีกับเขา
อกุศล - เกิดแล้วไม่ดีอย่างแน่นอน
โสภณ - สวย งาม
สวยงามนี่ไม่ได้หมายถึง ไปทำให้มันสวยงาม
แต่หมายถึง มันไม่มีที่ไม่งาม (ชั่ว) เข้ามา
ไม่ได้เหมือนแต่งหน้า คือ เพิ่มเข้ามาให้งาม
แต่งามใน โสภณ คือ ไม่มีของเละๆ เข้ามา ก็เรียก งาม แล้ว
ไม่ต้องแต่งให้ดูดี แต่เอาของดูไม่ดีออก
คือ จะเป็นกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา ก็เรียก โสภณหมด
กุศลนี่ฟังดูเหมือนจะแต่งให้ดี
แต่พวกวิบาก พวกกิริยา ไม่ได้แต่งอะไร ก็เรียก โสภณ เช่นกัน
วีรตีนี่ เป็นโสภณ ที่เป็นกุศลเท่านั้น
ความหมายคือ มันต้องปรุงต้องแต่ง ต้องทำขึ้นมา
เกิดกับของดีก็ดีกััับเขา
เกิดกับของไม่ดีก็ไม่ดีกับเขา
อกุศล - เกิดแล้วไม่ดีอย่างแน่นอน
โสภณ - สวย งาม
สวยงามนี่ไม่ได้หมายถึง ไปทำให้มันสวยงาม
แต่หมายถึง มันไม่มีที่ไม่งาม (ชั่ว) เข้ามา
ไม่ได้เหมือนแต่งหน้า คือ เพิ่มเข้ามาให้งาม
แต่งามใน โสภณ คือ ไม่มีของเละๆ เข้ามา ก็เรียก งาม แล้ว
ไม่ต้องแต่งให้ดูดี แต่เอาของดูไม่ดีออก
คือ จะเป็นกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา ก็เรียก โสภณหมด
กุศลนี่ฟังดูเหมือนจะแต่งให้ดี
แต่พวกวิบาก พวกกิริยา ไม่ได้แต่งอะไร ก็เรียก โสภณ เช่นกัน
วีรตีนี่ เป็นโสภณ ที่เป็นกุศลเท่านั้น
ความหมายคือ มันต้องปรุงต้องแต่ง ต้องทำขึ้นมา
ยิ่งมีสมาธิยิ่งรู้ทุกข์
ไม่ใช่ยิ่งมีสมาธิยิ่งสุขนะ
ยิ่งสุขยิ่งติดอยู่ อันนี้ยังไม่เป็นใรรค
สมาธิในอริยมรรค ยิ่งมีสมาธิยิ่งรู้ทุกข์
ยิ่งสุขยิ่งติดอยู่ อันนี้ยังไม่เป็นใรรค
สมาธิในอริยมรรค ยิ่งมีสมาธิยิ่งรู้ทุกข์
วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เวรมณี - งดเว้น
"งดเว้น" นี่แปลมาจาก เวรมณี
มณี (กิริยา) หมายถึง ขุดขึ้น เหยียบย่ำ ทำให้หมด ทำลาย
หมายถึง ทำลายสิ่งที่มันเป็นเวร
อย่าให้เรามาเป็นเวรกับโลกนี้
อย่าเป็นเวรกับตนเอง
เวร ก็หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เวรทั้ง 5
เวรอันแรก คิดฆ่าสัตว์
คิดอย่างนี้ "เวรละ" อย่าไปคิดยาว
คิดโกหก -- นี่ก็ "เวรละ"
ไอ้เวร !! นี่ไม่ใช่ด่าเขานะ
หมายถึง เจตนาจะด่าชาวบ้านนี้น่ะ "เวร"
ก็มีระดับกำลังต่างๆ
เบื้องต้นก็งดเว้นในสิ่งที่ไม่ควร
สูงขึ้นก็ไม่ยินดีในการทำสิ่งที่ไม่ควร
สูงขึ้นก็เห็นด้วยปัญญาแล้วว่าจะไปทำอย่างนั้นไปทำอะไร ... มันก็ไม่ทำ
มณี (กิริยา) หมายถึง ขุดขึ้น เหยียบย่ำ ทำให้หมด ทำลาย
หมายถึง ทำลายสิ่งที่มันเป็นเวร
อย่าให้เรามาเป็นเวรกับโลกนี้
อย่าเป็นเวรกับตนเอง
เวร ก็หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เวรทั้ง 5
เวรอันแรก คิดฆ่าสัตว์
คิดอย่างนี้ "เวรละ" อย่าไปคิดยาว
คิดโกหก -- นี่ก็ "เวรละ"
ไอ้เวร !! นี่ไม่ใช่ด่าเขานะ
หมายถึง เจตนาจะด่าชาวบ้านนี้น่ะ "เวร"
ก็มีระดับกำลังต่างๆ
เบื้องต้นก็งดเว้นในสิ่งที่ไม่ควร
สูงขึ้นก็ไม่ยินดีในการทำสิ่งที่ไม่ควร
สูงขึ้นก็เห็นด้วยปัญญาแล้วว่าจะไปทำอย่างนั้นไปทำอะไร ... มันก็ไม่ทำ
กุศล
ตอนท่านออกบวชท่านว่า
เราแสวงหากุศล เราไม่ได้แสวงหาบุญ
บุญ เป็นเครื่องชำระจิต
กุศล หมายถึง สิ่งที่ทำลายฝ่ายตรงข้ามได้
กุศลสูงสุดคือ อรหัตตมรรค
อริยมรรค เรียก กุศล (ไม่เรียกบุญ)
ไม่ได้เป็นบุญ ไม่ได้เป็นบาป แต่เป็นกุศล
เป็นกรรมไม่ดำไม่ขาว
มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
เราแสวงหากุศล เราไม่ได้แสวงหาบุญ
บุญ เป็นเครื่องชำระจิต
กุศล หมายถึง สิ่งที่ทำลายฝ่ายตรงข้ามได้
กุศลสูงสุดคือ อรหัตตมรรค
อริยมรรค เรียก กุศล (ไม่เรียกบุญ)
ไม่ได้เป็นบุญ ไม่ได้เป็นบาป แต่เป็นกุศล
เป็นกรรมไม่ดำไม่ขาว
มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
เก็บตกฟังธรรมบิ๊กซี
ที่สงสัย เพราะโหยหาสภาวะอะไรสักอย่าง
อกุศลก็ทำให้เกิดกุศลได้
แม้จะมีแต่อกุศลให้ดู ไม่มีสภาวะดีๆ ให้ดู
แต่การเห็นอกุศล และความเกิดดับของมัน...นี่แหละกุศล
อกุศลก็ทำให้เกิดกุศลได้
แม้จะมีแต่อกุศลให้ดู ไม่มีสภาวะดีๆ ให้ดู
แต่การเห็นอกุศล และความเกิดดับของมัน...นี่แหละกุศล
แค่ ๕ นาที
เคล็ดลับ มันต้องดูเบา ๆ สบาย ๆ
ไม่ไปสร้างเงื่อนไขว่าเป็นภาระใหญ่
แค่ ๕ นาที ...หรือแค่ ๕ ลมหายใจ
ให้มันรู้ชัดเบา ๆ
จนเห็นความรู้สึกที่ไม่มีขอบเขต - ที่ว่าเอาสติตั้งไว้ในกายมีจิตหาประมาณมิได้
ถ้ามันจำสภาวะตรงนี้ได้
มันจะอาศัยสภาวะตรงนี้แหละเป็นวิหารธรรม
ไม่ไปสร้างเงื่อนไขว่าเป็นภาระใหญ่
แค่ ๕ นาที ...หรือแค่ ๕ ลมหายใจ
ให้มันรู้ชัดเบา ๆ
จนเห็นความรู้สึกที่ไม่มีขอบเขต - ที่ว่าเอาสติตั้งไว้ในกายมีจิตหาประมาณมิได้
ถ้ามันจำสภาวะตรงนี้ได้
มันจะอาศัยสภาวะตรงนี้แหละเป็นวิหารธรรม
ความกระโดดโลดแล่น
ความกระโดดโลดแล่นไปทางโน้นไปทางนี้
เป็นความปรารถนา
อารมณ์ที่น่ายินดี
เป็นความหวั่นไหว
ไปหาบุคคลที่ตอบคำถามได้
ไปหาคำตอบที่น่ายินดี
ก็เป็นความหวั่นไหว
โคลนดูดคือกาม
ขึ้นได้ยาก
การปฏิบัติเบื้องต้นท่านสอนละกามคุณเป็นส่วนมาก
กิเลสหยาบนี้เกิดจากกามคุณทั้งนั้น
ตบตีกันเพื่อแย่งสมาธิมีที่ไหน แย่งกามคุณกันทั้งนั้น
ถ้าลดได้บ้าง
ความทุกข์จากการแสวงหา
จากความหวงแหนก็ลดลงได้บ้าง
กามคุณเป็นสุขที่ควรกลัว
สุขจากสมาธิเป็นสุขที่ไม่ควรกลัว
อันนี้ไม่มีใครมาแย่ง ไม่ต้องกลัว
แต่สุขทั้งสองอย่าง --- ก็ไม่เที่ยง
เป็นความปรารถนา
อารมณ์ที่น่ายินดี
เป็นความหวั่นไหว
ไปหาบุคคลที่ตอบคำถามได้
ไปหาคำตอบที่น่ายินดี
ก็เป็นความหวั่นไหว
โคลนดูดคือกาม
ขึ้นได้ยาก
การปฏิบัติเบื้องต้นท่านสอนละกามคุณเป็นส่วนมาก
กิเลสหยาบนี้เกิดจากกามคุณทั้งนั้น
ตบตีกันเพื่อแย่งสมาธิมีที่ไหน แย่งกามคุณกันทั้งนั้น
ถ้าลดได้บ้าง
ความทุกข์จากการแสวงหา
จากความหวงแหนก็ลดลงได้บ้าง
กามคุณเป็นสุขที่ควรกลัว
สุขจากสมาธิเป็นสุขที่ไม่ควรกลัว
อันนี้ไม่มีใครมาแย่ง ไม่ต้องกลัว
แต่สุขทั้งสองอย่าง --- ก็ไม่เที่ยง
ความประมาท 3 ลักษณะ
1. ปล่อยจิตไปเรื่อย
จิตนี้ควบคุมไม่ได้ แต่เราต้องควบคุมมัน
ถ้าปล่อยมันไปเรื่อย
มันจะรู้จะเห็นอะไรปล่อยไป...ประมาท !
ต้องควบคุมให้มันเห็นในสิ่งที่ควรจะเห็น
นึกในสิ่งที่ควรจะนึก
เหมือนมีลูก ต้องไม่ปล่อยลูก
จึงเรียกว่า เลี้ยงลูกดี
ถ้าปล่อยปละ มันก็คือไม่ได้เลี้ยง
2. การเพิ่มพูนจิตในกามคุณ 5
เช่น ไปดูของสวยๆ เยอะๆ
ไปฟังเพลงเพราะๆ เยอะๆ
พามันไปกินของอร่อยๆ
3. ไม่ทำให้ติดต่อในกุศล
ทอดทิ้งธุระ
ทอดทิ้งฉันทะ
ทำกุศลแล้วไม่ทำให้ต่อเนื่อง
จิตนี้ควบคุมไม่ได้ แต่เราต้องควบคุมมัน
ถ้าปล่อยมันไปเรื่อย
มันจะรู้จะเห็นอะไรปล่อยไป...ประมาท !
ต้องควบคุมให้มันเห็นในสิ่งที่ควรจะเห็น
นึกในสิ่งที่ควรจะนึก
เหมือนมีลูก ต้องไม่ปล่อยลูก
จึงเรียกว่า เลี้ยงลูกดี
ถ้าปล่อยปละ มันก็คือไม่ได้เลี้ยง
2. การเพิ่มพูนจิตในกามคุณ 5
เช่น ไปดูของสวยๆ เยอะๆ
ไปฟังเพลงเพราะๆ เยอะๆ
พามันไปกินของอร่อยๆ
3. ไม่ทำให้ติดต่อในกุศล
ทอดทิ้งธุระ
ทอดทิ้งฉันทะ
ทำกุศลแล้วไม่ทำให้ต่อเนื่อง
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
นิวรณ์ VS อุปกิเลส
นิวรณ์ - จ้องจะดี ก็มากั้น
อุปกิเลส - อยู่เฉยๆ ก็หมอง
นั่นสมาธิแล้วไม่ง่วงนี่ ไม่ใช่ไม่มีนิวรณ์
การไม่สบายแล้วไม่เอาอะไรแล้ว
นี่พวกทำสมาธิจะติดมาก
แบบนี้คือ มันปล่อยวัตถุประสงค์เดิม มันขี้เกียจ
นั่งเมื่อย จะขยับตัว
แทนที่จะดูความไม่เที่ยง
กลายเป็นการขยับเพื่อให้ "สบาย"
อันนี้ ก็นิวรณ์แทรกแล้ว มันบิดด้วยอำนาจกิเลส
ฉะนั้นต้องดูดีๆ มีสติสัมปชัญญะดีๆ
อุปกิเลส - อยู่เฉยๆ ก็หมอง
นั่นสมาธิแล้วไม่ง่วงนี่ ไม่ใช่ไม่มีนิวรณ์
การไม่สบายแล้วไม่เอาอะไรแล้ว
นี่พวกทำสมาธิจะติดมาก
แบบนี้คือ มันปล่อยวัตถุประสงค์เดิม มันขี้เกียจ
นั่งเมื่อย จะขยับตัว
แทนที่จะดูความไม่เที่ยง
กลายเป็นการขยับเพื่อให้ "สบาย"
อันนี้ ก็นิวรณ์แทรกแล้ว มันบิดด้วยอำนาจกิเลส
ฉะนั้นต้องดูดีๆ มีสติสัมปชัญญะดีๆ
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ปล่อยวางความยึด...ไม่ยึดสักอย่าง?
ลักษณะของทิฏฐิคือ การยึดที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ถือเอาไว้แต่ของไม่เป็นประโยชน์
ยังเห็นว่าจำเป็นต้องเอาไว้
การยึดนี่ถ้ายึดถูก หมายถึง ยึดตรงกับความเป็นจริงเช่น
ยึดว่า คนนี้ เป็นแค่การประชุมของขันธ์ 5
อยากยึดอย่างงี้ยึดไป ไม่เป็นไร
หรือมายึดว่า อาจารย์นี่เชื่อใจไม่ได้หรอก
อย่างนี้จะยึดก็ยึดไปเลย
คือมันสอดคล้องความจริง
แต่ถ้ายึดผิด
ผิดคือ ไม่สอดคล้องความจริง
บางทีจะได้ยิน ปฏิบัตินี้ต้องปล่อยวาง
ไม่ยึดสักอย่าง
มันไม่ได้นะ...
"ปล่อยวางความยึด" นี่เป็นคำพูดเฉยๆ
จริงๆ คือปล่อยอันเลวๆ
พอปล่อยอันเลวๆ แล้ว อันดีๆ มันก็ยังอยู่
แต่ที่ไปยึดดีนี่ "มันเลว" พอเราปล่อยแล้ว มันก็ยังดีเหมือนเดิม ^_^
คราวนี้ดีแบบไม่มีเลวเกี่ยว
จบ
อันไหนที่รู้ถูกแล้ว
ก็รู้ไป ถูกแล้วก็ถูกไป
ไม่ใช่ปล่อยเละเทะทุกเรื่อง
ที่ไม่มีจุดยืนเพราะไม่เข้าใจอันนี้
พอบอกว่าปล่อย มันก็ปล่อย
จริงๆ คำว่า "ปล่อย" นี่ หมายถึง ปล่อยอันที่มันผิดเท่านั้น !
ไอ้ปล่อยสะเปะสะปะนั่นไม่ใช่ไม่ยึด
แต่เป็นยึดจะเอาแต่ใจตัวเอง
บางคนเขาว่า
"โห ถ้าไปทำตามอย่างเคร่งครัด อย่างนี้มันยึดน่ะสิ เป็นคนใจแคบนะนี่"
อันที่จริงถ้าเราเป็นทำตามเคร่งครัดได้นี่ใจกว้างมากนะ
ถ้าเราใจแคบ เราก็จะทำตามใจ อยากทำไรก็ทำ
ของเป็นประโยชน์ต้องถือไว้
ไม่ใช่ไปวาง วางสิ่งไม่ควรวางเรียก "โง่" นะ
อะไรจำเป็นต้องใช้ เสือกไปวาง
ถือเอาไว้แต่ของไม่เป็นประโยชน์
ยังเห็นว่าจำเป็นต้องเอาไว้
การยึดนี่ถ้ายึดถูก หมายถึง ยึดตรงกับความเป็นจริงเช่น
ยึดว่า คนนี้ เป็นแค่การประชุมของขันธ์ 5
อยากยึดอย่างงี้ยึดไป ไม่เป็นไร
หรือมายึดว่า อาจารย์นี่เชื่อใจไม่ได้หรอก
อย่างนี้จะยึดก็ยึดไปเลย
คือมันสอดคล้องความจริง
แต่ถ้ายึดผิด
ผิดคือ ไม่สอดคล้องความจริง
บางทีจะได้ยิน ปฏิบัตินี้ต้องปล่อยวาง
ไม่ยึดสักอย่าง
มันไม่ได้นะ...
"ปล่อยวางความยึด" นี่เป็นคำพูดเฉยๆ
จริงๆ คือปล่อยอันเลวๆ
พอปล่อยอันเลวๆ แล้ว อันดีๆ มันก็ยังอยู่
แต่ที่ไปยึดดีนี่ "มันเลว" พอเราปล่อยแล้ว มันก็ยังดีเหมือนเดิม ^_^
คราวนี้ดีแบบไม่มีเลวเกี่ยว
จบ
อันไหนที่รู้ถูกแล้ว
ก็รู้ไป ถูกแล้วก็ถูกไป
ไม่ใช่ปล่อยเละเทะทุกเรื่อง
ที่ไม่มีจุดยืนเพราะไม่เข้าใจอันนี้
พอบอกว่าปล่อย มันก็ปล่อย
จริงๆ คำว่า "ปล่อย" นี่ หมายถึง ปล่อยอันที่มันผิดเท่านั้น !
ไอ้ปล่อยสะเปะสะปะนั่นไม่ใช่ไม่ยึด
แต่เป็นยึดจะเอาแต่ใจตัวเอง
บางคนเขาว่า
"โห ถ้าไปทำตามอย่างเคร่งครัด อย่างนี้มันยึดน่ะสิ เป็นคนใจแคบนะนี่"
อันที่จริงถ้าเราเป็นทำตามเคร่งครัดได้นี่ใจกว้างมากนะ
ถ้าเราใจแคบ เราก็จะทำตามใจ อยากทำไรก็ทำ
ของเป็นประโยชน์ต้องถือไว้
ไม่ใช่ไปวาง วางสิ่งไม่ควรวางเรียก "โง่" นะ
อะไรจำเป็นต้องใช้ เสือกไปวาง
เด็ดๆ สามตัว
พอวิตกจับแล้ว
มีตัวบอกผิดๆ ตามอีกเพียบเลย "นั่นของเรา" - ตัณหามาละ
"เราเป็นนั่นเป็นนี่" - มานะ
"นั่นเรา" - ทิฏฐิ
มีตัวบอกผิดๆ ตามอีกเพียบเลย "นั่นของเรา" - ตัณหามาละ
"เราเป็นนั่นเป็นนี่" - มานะ
"นั่นเรา" - ทิฏฐิ
ท่านให้มาสังเกตตัวพวกนี้ ตัวหลักๆ
ถ้าสังเกตเยอะไปมันสะเปะสะปะ
มาจ้องไว้
ถ้า "นั่นของเรา" เมื่อไร
ถ้า "เราเป็นนั่น" เมื่อไร
ถ้า "นั่นเรา" เมื่อไร
ผิดจ้ะผิด !!!
ไม่ต้องไปดูมากก็ได้
เอาสามตัวเด็ดๆ เลย
วิญญาณ สัญญา และการใช้วิตก
สัญญา
เป็นการทำเครื่องหมาย
เช่นว่า แดง เขียว เหลือง
สัญญาไปใส่เครื่องหมายให้มัน
เมื่ออารมณ์ปรากฏแก่จิต
จิตเป็นตัวรู้แจ้งอารมณ์
พร้อมกันนั้น ก็ยังมีการ "แยกแยะได้"
แยกแยะส่วนประกอบว่า เป็นแดง เขียว สูงต่ำ เป็นคน เป็นหมู ฯลฯ
ตัวที่มันแยกได้นี้คือ สัญญา
พร้อมกันนั้น
ตัวที่ไปจับหรือสนใจที่ใดที่หนึ่ง
ทั้งๆ ที่มีตั้งหลายจุดให้เราสนใจ แต่เราก็ไปจับเอาอันนั้น
จ้องจดมันเป็นพิเศษ อันนี้เป็น วิตก
เช่น คนนึงเดินมา
เสื้อที่เขาใส่ รองเท้าที่สวม แว่นตา ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ที่ปรากฏแก่สายตา ปรากฏในคลองจักษะ
อันนี้คือ วิญญาณ
พร้อมกันนั้น
มันก็แบ่งได้ว่า อันนี้เป็นคนนะ อันนี้เป็นถนนนะ
มันยืนอยู่นะ ถือกระเป๋านะ อันนี้คือตัว อันนี้คือเสื้อ
มันแยกแยะออก
อันนี้คือ สัญญา
ทีนี้ตัววิตก
มันจะเป็นตัวจับจุดใดจุดหนึ่ง
สนใจจุดใดจุดหนึ่ง
มองเห็นทั้งหมดนั่นน่ะ แต่สนใจจุดเดียว
.
พอวิตกเรียบร้อย
ก็เกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่อไป
ฉะนั้น ความคิดนึกปรุงแต่ง จึงมาจากการจับอารมณ์เพียง "ส่วนเดียว"
นิดเดียวเท่านั้น แล้วมาปรุงต่อ
ว่าไปแล้ว มันจึง "ผิดแน่นอน !!!"
เพราะอะไร? เพราะไม่ได้เอาภาพรวมมา
ดังนั้น การจะใช้วิตก หรือการจับยึด
ก็เลือกอารมณ์ให้ดีๆ
ใช้ในแง่ที่ว่า จะเอาให้จิตมันนิ่งเฉยๆ
เอาอย่างอื่นไม่ได้ เพราะมันต้องผิดแหงๆ มันเสียภาพรวมไป
เป็นการทำเครื่องหมาย
เช่นว่า แดง เขียว เหลือง
สัญญาไปใส่เครื่องหมายให้มัน
เมื่ออารมณ์ปรากฏแก่จิต
จิตเป็นตัวรู้แจ้งอารมณ์
พร้อมกันนั้น ก็ยังมีการ "แยกแยะได้"
แยกแยะส่วนประกอบว่า เป็นแดง เขียว สูงต่ำ เป็นคน เป็นหมู ฯลฯ
ตัวที่มันแยกได้นี้คือ สัญญา
พร้อมกันนั้น
ตัวที่ไปจับหรือสนใจที่ใดที่หนึ่ง
ทั้งๆ ที่มีตั้งหลายจุดให้เราสนใจ แต่เราก็ไปจับเอาอันนั้น
จ้องจดมันเป็นพิเศษ อันนี้เป็น วิตก
เช่น คนนึงเดินมา
เสื้อที่เขาใส่ รองเท้าที่สวม แว่นตา ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ที่ปรากฏแก่สายตา ปรากฏในคลองจักษะ
อันนี้คือ วิญญาณ
พร้อมกันนั้น
มันก็แบ่งได้ว่า อันนี้เป็นคนนะ อันนี้เป็นถนนนะ
มันยืนอยู่นะ ถือกระเป๋านะ อันนี้คือตัว อันนี้คือเสื้อ
มันแยกแยะออก
อันนี้คือ สัญญา
ทีนี้ตัววิตก
มันจะเป็นตัวจับจุดใดจุดหนึ่ง
สนใจจุดใดจุดหนึ่ง
มองเห็นทั้งหมดนั่นน่ะ แต่สนใจจุดเดียว
.
พอวิตกเรียบร้อย
ก็เกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่อไป
ฉะนั้น ความคิดนึกปรุงแต่ง จึงมาจากการจับอารมณ์เพียง "ส่วนเดียว"
นิดเดียวเท่านั้น แล้วมาปรุงต่อ
ว่าไปแล้ว มันจึง "ผิดแน่นอน !!!"
เพราะอะไร? เพราะไม่ได้เอาภาพรวมมา
ดังนั้น การจะใช้วิตก หรือการจับยึด
ก็เลือกอารมณ์ให้ดีๆ
ใช้ในแง่ที่ว่า จะเอาให้จิตมันนิ่งเฉยๆ
เอาอย่างอื่นไม่ได้ เพราะมันต้องผิดแหงๆ มันเสียภาพรวมไป
ความคิดเกิดที่ไหน
ความคิดนี่ใช้สมองคิดก็มี
พวกใช้สมองคิด
พวกติดรูป จะติดสามมิติ
พวกรวมตัวอยู่กับรูปนี่จะแยกจิตออกจากรูปยาก
จะติดเอาเรื่องกายภาพเป็นตัวแบ่งแยก
เช่น แยกคนกับสัตว์
ที่ไม่มีหาง ที่ยืนสองขา เป็นต้น
จริงๆ สมองเป็นรูปธรรม
รูปธรรมนี้ก็เป็นที่เกิดของจิต
เพราะพวกขันธ์ 5 นี่ รูปกับนามมันแยกกันไม่ได้
แต่ถ้าพวกขันธ์ 4 นี่ จิตไม่มีรูปก็เกิดได้
สมองก็เป็นที่เกิดของจิต
หมายความว่า จิตไปเกิดที่สมองก็ได้ ไม่เกิดที่สมองก็ได้
จริงๆ ทั้งร่างกายนี้เป็นที่เกิดของจิตได้ทั้งนั้น ที่มีประสาทอยู่
จะว่าไปสมองก็เป็นเครื่องมือของจิต
แต่จิตก็เป็นจิต จะไม่ใช้สมองก็ได้
ถ้าเราเจริญสมาธิวิปัสสนา สามารถแยกจิตออกมาได้
เดินอยู่นอนอยู่ จิตเป็นคนรู้นะ
แล้วดันคิดได้อีกว่า 'ใครเดินอยู่วะนั่น'
ไม่ได้ใช้สมองคิดนะนี่
จิตที่คิด สำหรับคนที่ยึดติดกับรูป
แล้วแต่ความยึดติดของเขาว่าจะให้มันเกิดที่ไหน
ยุคหลังนี่ก็มักมายึดติดสมอง นักวิทยาศาสตร์เขาก็บอกว่า สมองเป็นตัวคิด
พอยึดงั้นมันก็เลยไปอยู่ตรงนั้นกะเขาด้วย
จริงๆ มันเป็นการใส่เครื่องหมาย
ถาม สมองคิดได้มั้ย
ตอบ ก็จิตมันไปเกิดตรงนั้นมันก็คิดได้สิ
ถาม เปลี่ยนจุดคิดได้มั้ย
ตอบ เปลี่ยนได้ ใช้ใจคิดก็ได้ จิตเกิดได้ทั้งตัวแหละ ใช้ขาคิดก็ได้
เมื่อจิตตั้งมั่น จะสามารถเห็นได้ว่า
จิตสามารถคิดได้ต่างหากเลย
ไม่ต้องอาศัยรูปก็ได้
คำว่าไม่ต้องอาศัยในที่นี้หมายถึงว่า
ไม่ต้องไปเกิดกับรูปอย่างนู้นอย่างนี้โดยเฉพาะเจาะจง
แต่ว่ามันก็เกิดกับรูปนั่นแหละ
คนฝึกสมาธินี่เขาจะเห็นว่าสมองมันก็ว่างอยู่ของมันต่างหาก
จิตก็เป็นตัวคิดได้ของมันต่างหาก
ถ้าเขาอยากให้สมองคิด เขาก็มาจดจ่อกับงาน
อันนี้คือมายึดติดกับรูป
เวลามายึดติดกับรูป
ก็จะเป็นทำนองเอามาทำงานทางโลก
ต้องขุดข้อมูลนั่นนี่มาจดจ่อ
สรุปคือ จะให้สมองคิดก็ได้ ไม่ให้มันคิดก็ได้ แล้วแต่
แต่ว่าจิตนี่ "ยังไงมันก็ต้องคิด"
ถ้าจะแยกก็ สมองนี้เป็นตัว "รูป"
ส่วนจิต เป็นตัวนามธรรม เป็น "นาม"
จิตไปเกิดตรงไหนก็ได้
โดยส่วนมากจิตที่คิดที่นึก เราก็ว่ามันอยู่ที่สมอง
แต่จริงๆ อยู่ที่ไหนก็ได้
ปกติถ้าฝึกสูงๆ ขึ้นไปมันจะอยู่ที่ "หทย"
หทยวัตถุ อยู่แถวๆ กลางตัว
เวลาคิด จะรู้สึกเหมือนมันคิดแถวๆ กลางตัว
เวลาหายใจเข้า-หายใจออก มันจะไม่ขึ้นข้างบน
มันจะอยู่ข้างล่าง อยู่แถวสะดือบ้าง หน้าอกบ้าง
จริงๆ หทยวัตถุนี่ก็อยู่ได้ทุกที่
แต่ตามหลักทั่วไป ท่านว่า พวกจิตที่คิดที่นึก มโนวิญญาณธาตุนี้มันเกิดที่หทย
หทย นี่จะถือเอาที่ไหนก็ได้ มันเป็น "รูป"
รูปใดเป็นทีเกิดวิญญาณธาตุ รูปนั้นเป็น หทย (หทยวัตถุ)
มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเกิด รูปนั้นเป็น หทยวัตถุ
สมองก็เป็น หทย ได้ เพราะเราไปยึดมัน ให้มโนวิญญาณธาตุมันเกิด
หทยวัตถุ จึงอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมันอยู่กลางตัว
ตาก็เป็นจักขุวัตถุ (เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ)
หูก็เป็นโสตวัตถุ (เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณ) ฯลฯ
มันก็มีหลายวัตถุรวมกันอยู่ คือเป็นทีเ่กิดของจิต
และพวกนี้ก็ยังเป็นหทยวัตถุได้ด้วย ถ้ามโนวิญญาณมันมาเกิดที่นี่
(ถ้าความคิดความนึกมันมาเกิดที่นี่)
เรื่อง "วัตถุ" นี่ดูที่ว่าจิตมันไปเกิดที่ไหนเป็นหลัก
สมมติ ตา ไปเกิดตรงตูดงี้ ก็ต้องว่า จักขุวัตถุไปเกิดที่นั่น
ความคิดนึกปรุงแต่งมันไปเกิดที่ไหน สถานที่นั้นก็เรียก หทยวัตถุ
ใช้ใจคิด ไปคิดกลางๆ ตัวนี่
มันจะลึกซึ่้งกว่า มันใกล้กับการที่เราเชื่อมต่อกับโลกมากกว่า
การเชื่อมต่อกับโลกนี้มันเชื่อมต่อผ่านสะดือ
เวลาคิดแถวๆ สมองนี้มันจะรู้สึก
แบล้งๆ เบลอๆ ล่องลอยยังไงไม่รู้
แต่ถ้ารู้สึกเข้ามาที่ใจ แถวๆ กลางตัว
มันจะรู้สึกลึกซึ้งกว่าเยอะ เพราะมันสัมพันธ์กับโลกมากกว่า มันผ่านมาทางสะดือ
จะว่าไปมันก็เป็นความเคยชิน
แต่ว่าหลังๆ พอเรียนวิทย์เยอะๆ ก็ให้เราไปคิดนู่นคิดนี่
พอคิดนู่นคิดนี่ มันก็ไม่ค่อยรวม
เพราะว่ามันห่างไกลกับธรรมชาติของตัวเอง
พอไกลก็ฟุ้งสิ ไปเรื่อย จับไม่อยู่
ฉะนั้น ในการปฏิบัติเจริญสติสมาธิ
ถ้าเกิดความคิดแถวๆ สมอง
ท่านจึงให้ปล่อยไปก่อน มันไกลไป
ให้รู้สึกเข้ามาที่จิตที่ใจกลางๆ ตัว
เมื่อจิตมันเข้ามากลางๆ ตัวแล้วมันจะใกล้กับความจริงมากกว่า
จิตที่มารวมนี้ เขาเรียก จิตมีสมาธิ ตั้งมั่น
ดังนั้น สมองเป็นอันนึง
จิตก็เป็นอันนึง
ความคิดก็เป็นอีกอันนึง
ความคิดก็มีหลายอย่างรวมกัน
วิตก ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิด
วิจารณ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิด
พวกใช้สมองคิด
พวกติดรูป จะติดสามมิติ
พวกรวมตัวอยู่กับรูปนี่จะแยกจิตออกจากรูปยาก
จะติดเอาเรื่องกายภาพเป็นตัวแบ่งแยก
เช่น แยกคนกับสัตว์
ที่ไม่มีหาง ที่ยืนสองขา เป็นต้น
จริงๆ สมองเป็นรูปธรรม
รูปธรรมนี้ก็เป็นที่เกิดของจิต
เพราะพวกขันธ์ 5 นี่ รูปกับนามมันแยกกันไม่ได้
แต่ถ้าพวกขันธ์ 4 นี่ จิตไม่มีรูปก็เกิดได้
สมองก็เป็นที่เกิดของจิต
หมายความว่า จิตไปเกิดที่สมองก็ได้ ไม่เกิดที่สมองก็ได้
จริงๆ ทั้งร่างกายนี้เป็นที่เกิดของจิตได้ทั้งนั้น ที่มีประสาทอยู่
จะว่าไปสมองก็เป็นเครื่องมือของจิต
แต่จิตก็เป็นจิต จะไม่ใช้สมองก็ได้
ถ้าเราเจริญสมาธิวิปัสสนา สามารถแยกจิตออกมาได้
เดินอยู่นอนอยู่ จิตเป็นคนรู้นะ
แล้วดันคิดได้อีกว่า 'ใครเดินอยู่วะนั่น'
ไม่ได้ใช้สมองคิดนะนี่
จิตที่คิด สำหรับคนที่ยึดติดกับรูป
แล้วแต่ความยึดติดของเขาว่าจะให้มันเกิดที่ไหน
ยุคหลังนี่ก็มักมายึดติดสมอง นักวิทยาศาสตร์เขาก็บอกว่า สมองเป็นตัวคิด
พอยึดงั้นมันก็เลยไปอยู่ตรงนั้นกะเขาด้วย
จริงๆ มันเป็นการใส่เครื่องหมาย
ถาม สมองคิดได้มั้ย
ตอบ ก็จิตมันไปเกิดตรงนั้นมันก็คิดได้สิ
ถาม เปลี่ยนจุดคิดได้มั้ย
ตอบ เปลี่ยนได้ ใช้ใจคิดก็ได้ จิตเกิดได้ทั้งตัวแหละ ใช้ขาคิดก็ได้
เมื่อจิตตั้งมั่น จะสามารถเห็นได้ว่า
จิตสามารถคิดได้ต่างหากเลย
ไม่ต้องอาศัยรูปก็ได้
คำว่าไม่ต้องอาศัยในที่นี้หมายถึงว่า
ไม่ต้องไปเกิดกับรูปอย่างนู้นอย่างนี้โดยเฉพาะเจาะจง
แต่ว่ามันก็เกิดกับรูปนั่นแหละ
คนฝึกสมาธินี่เขาจะเห็นว่าสมองมันก็ว่างอยู่ของมันต่างหาก
จิตก็เป็นตัวคิดได้ของมันต่างหาก
ถ้าเขาอยากให้สมองคิด เขาก็มาจดจ่อกับงาน
อันนี้คือมายึดติดกับรูป
เวลามายึดติดกับรูป
ก็จะเป็นทำนองเอามาทำงานทางโลก
ต้องขุดข้อมูลนั่นนี่มาจดจ่อ
สรุปคือ จะให้สมองคิดก็ได้ ไม่ให้มันคิดก็ได้ แล้วแต่
แต่ว่าจิตนี่ "ยังไงมันก็ต้องคิด"
ถ้าจะแยกก็ สมองนี้เป็นตัว "รูป"
ส่วนจิต เป็นตัวนามธรรม เป็น "นาม"
จิตไปเกิดตรงไหนก็ได้
โดยส่วนมากจิตที่คิดที่นึก เราก็ว่ามันอยู่ที่สมอง
แต่จริงๆ อยู่ที่ไหนก็ได้
ปกติถ้าฝึกสูงๆ ขึ้นไปมันจะอยู่ที่ "หทย"
หทยวัตถุ อยู่แถวๆ กลางตัว
เวลาคิด จะรู้สึกเหมือนมันคิดแถวๆ กลางตัว
เวลาหายใจเข้า-หายใจออก มันจะไม่ขึ้นข้างบน
มันจะอยู่ข้างล่าง อยู่แถวสะดือบ้าง หน้าอกบ้าง
จริงๆ หทยวัตถุนี่ก็อยู่ได้ทุกที่
แต่ตามหลักทั่วไป ท่านว่า พวกจิตที่คิดที่นึก มโนวิญญาณธาตุนี้มันเกิดที่หทย
หทย นี่จะถือเอาที่ไหนก็ได้ มันเป็น "รูป"
รูปใดเป็นทีเกิดวิญญาณธาตุ รูปนั้นเป็น หทย (หทยวัตถุ)
มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเกิด รูปนั้นเป็น หทยวัตถุ
สมองก็เป็น หทย ได้ เพราะเราไปยึดมัน ให้มโนวิญญาณธาตุมันเกิด
หทยวัตถุ จึงอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมันอยู่กลางตัว
ตาก็เป็นจักขุวัตถุ (เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ)
หูก็เป็นโสตวัตถุ (เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณ) ฯลฯ
มันก็มีหลายวัตถุรวมกันอยู่ คือเป็นทีเ่กิดของจิต
และพวกนี้ก็ยังเป็นหทยวัตถุได้ด้วย ถ้ามโนวิญญาณมันมาเกิดที่นี่
(ถ้าความคิดความนึกมันมาเกิดที่นี่)
เรื่อง "วัตถุ" นี่ดูที่ว่าจิตมันไปเกิดที่ไหนเป็นหลัก
สมมติ ตา ไปเกิดตรงตูดงี้ ก็ต้องว่า จักขุวัตถุไปเกิดที่นั่น
ความคิดนึกปรุงแต่งมันไปเกิดที่ไหน สถานที่นั้นก็เรียก หทยวัตถุ
ใช้ใจคิด ไปคิดกลางๆ ตัวนี่
มันจะลึกซึ่้งกว่า มันใกล้กับการที่เราเชื่อมต่อกับโลกมากกว่า
การเชื่อมต่อกับโลกนี้มันเชื่อมต่อผ่านสะดือ
เวลาคิดแถวๆ สมองนี้มันจะรู้สึก
แบล้งๆ เบลอๆ ล่องลอยยังไงไม่รู้
แต่ถ้ารู้สึกเข้ามาที่ใจ แถวๆ กลางตัว
มันจะรู้สึกลึกซึ้งกว่าเยอะ เพราะมันสัมพันธ์กับโลกมากกว่า มันผ่านมาทางสะดือ
จะว่าไปมันก็เป็นความเคยชิน
แต่ว่าหลังๆ พอเรียนวิทย์เยอะๆ ก็ให้เราไปคิดนู่นคิดนี่
พอคิดนู่นคิดนี่ มันก็ไม่ค่อยรวม
เพราะว่ามันห่างไกลกับธรรมชาติของตัวเอง
พอไกลก็ฟุ้งสิ ไปเรื่อย จับไม่อยู่
ฉะนั้น ในการปฏิบัติเจริญสติสมาธิ
ถ้าเกิดความคิดแถวๆ สมอง
ท่านจึงให้ปล่อยไปก่อน มันไกลไป
ให้รู้สึกเข้ามาที่จิตที่ใจกลางๆ ตัว
เมื่อจิตมันเข้ามากลางๆ ตัวแล้วมันจะใกล้กับความจริงมากกว่า
จิตที่มารวมนี้ เขาเรียก จิตมีสมาธิ ตั้งมั่น
ดังนั้น สมองเป็นอันนึง
จิตก็เป็นอันนึง
ความคิดก็เป็นอีกอันนึง
ความคิดก็มีหลายอย่างรวมกัน
วิตก ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิด
วิจารณ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิด
ทิฏฐิ ตัณหา ... แม้กระทั่งปัญญา ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดได้
คิดแบบมีเหตุผล นี้ก็เป็นปัญญา แต่เป็นขั้นพื้นฐาน
ถ้าขั้นสูงขึ้นไปท่านจะไม่ใช้คำว่าคิด ท่านใช้คำว่า "รู้" และ "เห็น"
วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
คิด VS วิตก
คิด
นี่เป็นคำรวมๆ หลายๆ อย่างของสังขาร
เป็นหลายสภาวะมารวมกัน แล้วแต่คิดแบบไหน
คิดดี ไม่ดี
คิด...อยากได้ - ไอ้ตัวไปหยิบเรื่องมาคิดนี่วิตก, ตัวอยากได้นี่ ตัณหา
คิด...อันนี้น่าจะจริง อันนี้ไม่น่าจะจริง - ไอ้ตัวไปหยิบเรื่องมาคิดนี่วิตก ไอ้อันที่ว่าจริงไม่จริงนี้ ทิฏฐิ
คิด...อิจฉา ทำไมคนนี้ได้ดี - ตัวที่จับให้มาคิดแง่นี้เรียกวิตก
ส่วนอิจฉานี่ก็มีทั้งเห็นผิดมีเรา-มีเขา มีอิจฉา มีกิเลสอื่นๆ ผสมเข้ามาเยอะแยะ
จะเห็นว่า คำว่า "คิด" นี่มันรวมหลายๆ อย่างเข้ามาด้วยกัน
ตัวขยันมาสังเกต อะไรเป็นอะไร
สังเกตใส่ใจ เฝ้าดูบ่อยๆ เอ๊ะ นี่เป็นไง - อันนี้อนุปัสสนา
ยังไม่ถึงขั้นปัญญา แต่เป็นการเจริญให้เกิดปัญญา
วิตก แปลว่า จับอารมณ์
จะดูชัดๆ ได้ในฌาน
คือ จะทำฌาน พอใจไปที่อื่น ก็คอยมาจับไว้ที่นี่
ตัวที่จับไว้นี่ ตัววิตก
ถ้ามันเคล้าเคลีย
ไม่ไปที่อื่นแล้ว มาวนๆ อยู่แถวนี้
เรียก วิจารณ์
วิตก ถ้าจะสังเกตในชีวิตประจำวันก็เช่น
มีเรื่องเยอะแยะทำไมมาคิดเรื่องนี้เท่านั้น
ตัวที่หยิบเรื่องนี้มาคิดนี่คือ วิตก
วิตกเป็นเจตสิก
เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต
นี่เป็นคำรวมๆ หลายๆ อย่างของสังขาร
เป็นหลายสภาวะมารวมกัน แล้วแต่คิดแบบไหน
คิดดี ไม่ดี
คิด...อยากได้ - ไอ้ตัวไปหยิบเรื่องมาคิดนี่วิตก, ตัวอยากได้นี่ ตัณหา
คิด...อันนี้น่าจะจริง อันนี้ไม่น่าจะจริง - ไอ้ตัวไปหยิบเรื่องมาคิดนี่วิตก ไอ้อันที่ว่าจริงไม่จริงนี้ ทิฏฐิ
คิด...อิจฉา ทำไมคนนี้ได้ดี - ตัวที่จับให้มาคิดแง่นี้เรียกวิตก
ส่วนอิจฉานี่ก็มีทั้งเห็นผิดมีเรา-มีเขา มีอิจฉา มีกิเลสอื่นๆ ผสมเข้ามาเยอะแยะ
จะเห็นว่า คำว่า "คิด" นี่มันรวมหลายๆ อย่างเข้ามาด้วยกัน
ตัวขยันมาสังเกต อะไรเป็นอะไร
สังเกตใส่ใจ เฝ้าดูบ่อยๆ เอ๊ะ นี่เป็นไง - อันนี้อนุปัสสนา
ยังไม่ถึงขั้นปัญญา แต่เป็นการเจริญให้เกิดปัญญา
วิตก แปลว่า จับอารมณ์
จะดูชัดๆ ได้ในฌาน
คือ จะทำฌาน พอใจไปที่อื่น ก็คอยมาจับไว้ที่นี่
ตัวที่จับไว้นี่ ตัววิตก
ถ้ามันเคล้าเคลีย
ไม่ไปที่อื่นแล้ว มาวนๆ อยู่แถวนี้
เรียก วิจารณ์
วิตก ถ้าจะสังเกตในชีวิตประจำวันก็เช่น
มีเรื่องเยอะแยะทำไมมาคิดเรื่องนี้เท่านั้น
ตัวที่หยิบเรื่องนี้มาคิดนี่คือ วิตก
วิตกเป็นเจตสิก
เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต
วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
นิมิต ๓ ในการฝึกอธิจิต
การฝึกอธิจิตสำคัญ
ฝึกให้พร้อม อ่อนโยน นิ่มนวล
ให้พร้อมเห็นธรรม
ปกติการฝึกอธิจิตก็ฝึก 3 เรื่องหลักๆ
ได้แก่
1.สมาธินิมิต
ทำให้จิตมันตั้งมั่นดี ไม่ฟุ้ง
รู้จักอยู่อารมณ์เดียว ไม่ไปหาเรื่องทำ
เช่น สติปัฏฐาน 4
มาอยู่กับลม มาอยู่่กับกาย
2. ปัคคาหนิมิต
การวิจัยธรรม การมองดูธรรม
อันนี้เป็นกุศล ไม่เป็นกุศล
ให้จิตมันเที่ยวดูสิ่งต่างๆ ให้มันขยัน
3. อุเบกขานิมิต
ใช้ตอนจิตเป็นหนึ่ง มันดีแล้ว
มีสติ สมาธิดีแล้ว ได้ทำงานดูกายดูใจ
ปล่อยมันเฉยๆ ไม่ต้องอทำอะไรมัน
ต้องทำ 3 อย่างประกอบกัน
ทำอันไหนเวลาไหนก็ดูเอา
นิมิตทั้ง 3 ต้องฝึกหมด
ฝึกอันใดอันนึงไม่ได้
สมาธิมากไป >> ขี้เกียจ
ปัคคาหะมากไป >> เหนื่อย ฟุ้งซ่าน
อุเบกขา >> ไม่อ่อนโยน ไม่ตั้งมั่น ไม่มีแรงพอจะสิ้นอาสวะ เพราะโดนปล่อยตลอด
ทำถึงเมื่อไร
ถึงเมื่อจิตอ่อนโยนควรแก่การใช้งาน
ฝึกให้พร้อม อ่อนโยน นิ่มนวล
ให้พร้อมเห็นธรรม
ปกติการฝึกอธิจิตก็ฝึก 3 เรื่องหลักๆ
ได้แก่
1.สมาธินิมิต
ทำให้จิตมันตั้งมั่นดี ไม่ฟุ้ง
รู้จักอยู่อารมณ์เดียว ไม่ไปหาเรื่องทำ
เช่น สติปัฏฐาน 4
มาอยู่กับลม มาอยู่่กับกาย
2. ปัคคาหนิมิต
การวิจัยธรรม การมองดูธรรม
อันนี้เป็นกุศล ไม่เป็นกุศล
ให้จิตมันเที่ยวดูสิ่งต่างๆ ให้มันขยัน
3. อุเบกขานิมิต
ใช้ตอนจิตเป็นหนึ่ง มันดีแล้ว
มีสติ สมาธิดีแล้ว ได้ทำงานดูกายดูใจ
ปล่อยมันเฉยๆ ไม่ต้องอทำอะไรมัน
ต้องทำ 3 อย่างประกอบกัน
ทำอันไหนเวลาไหนก็ดูเอา
นิมิตทั้ง 3 ต้องฝึกหมด
ฝึกอันใดอันนึงไม่ได้
สมาธิมากไป >> ขี้เกียจ
ปัคคาหะมากไป >> เหนื่อย ฟุ้งซ่าน
อุเบกขา >> ไม่อ่อนโยน ไม่ตั้งมั่น ไม่มีแรงพอจะสิ้นอาสวะ เพราะโดนปล่อยตลอด
ทำถึงเมื่อไร
ถึงเมื่อจิตอ่อนโยนควรแก่การใช้งาน
กระทำไว้ในใจ
กระทำไว้ในใจให้ดี ก็ประมาณว่าคอยมาสอนตัวเองบ่อยๆ
ต้องกระทำ ไม่ใช่ไม่กระทำ
ธรรมะนี่ก็เรียนไปเยอะแยะ
แต่ไม่เอามาหมั่นทบทวน หมั่นศึกษา
ต้องกระทำ ไม่ใช่ไม่กระทำ
ธรรมะนี่ก็เรียนไปเยอะแยะ
แต่ไม่เอามาหมั่นทบทวน หมั่นศึกษา
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
บุญนี่เป็นไปเพื่อปล่อยวาง
เจริญอะไรทุกอย่างนี่ก็เพื่อปล่อยวาง
การทำบุญในพระพุทธศาสนา
อานิสงส์มากน้อย ดูตามว่าได้ผลในการปล่อยวางมาก-น้อย
ท่านก็เรียงมาตั้งแต่
ให้ทาน (แยกเป็นให้ใคร...)
รักษาศีล (อานิสงส์ก็เพิ่มขึ้น)
เจริญเมตตาจิต แม้ชั่วเวลาสูดดมของหอม
เจริญอนิจจสัญญา แม้ชั่วลัดนิ้วมือ --- อานิสงส์มากที่สุด
อานิสงส์ ดูตามประสิทธิภาพการปล่อยวาง
จะมาเห็นความจริง...ก็เพื่อปล่อยมัน
ปล่อยคือไม่เอามาเป็นของเรา
ปล่อยแล้ว ก็เอามาเป็นเครื่องใช้
มีไมค์ ก็เอามาใช้ขยายเสียง
มีสามี ก็เอามาใช้ขับรถ
มีเงิน ก็เอามาใช้เป็นปัจจัย
เอามาใช้เฉยๆ...ไม่ได้เป็นของเรา หรือของใคร
การทำบุญในพระพุทธศาสนา
อานิสงส์มากน้อย ดูตามว่าได้ผลในการปล่อยวางมาก-น้อย
ท่านก็เรียงมาตั้งแต่
ให้ทาน (แยกเป็นให้ใคร...)
รักษาศีล (อานิสงส์ก็เพิ่มขึ้น)
เจริญเมตตาจิต แม้ชั่วเวลาสูดดมของหอม
เจริญอนิจจสัญญา แม้ชั่วลัดนิ้วมือ --- อานิสงส์มากที่สุด
อานิสงส์ ดูตามประสิทธิภาพการปล่อยวาง
จะมาเห็นความจริง...ก็เพื่อปล่อยมัน
ปล่อยคือไม่เอามาเป็นของเรา
ปล่อยแล้ว ก็เอามาเป็นเครื่องใช้
มีไมค์ ก็เอามาใช้ขยายเสียง
มีสามี ก็เอามาใช้ขับรถ
มีเงิน ก็เอามาใช้เป็นปัจจัย
เอามาใช้เฉยๆ...ไม่ได้เป็นของเรา หรือของใคร
ถ้าเป็นอัตตาแล้วไซร์ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
เพราะไม่ใช่ตัวตน
จึงบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้
"เมื่อบังคับไม่ได้"
จึงต้องมาเรียนรู้มัน
มาเรียนรู้ มาสังเกต ว่าสิ่งใดเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
เกิดได้ยังไง ดับได้ยังไง
จึงบริหารสังขารไปตามสมควร ให้มันเป็นไปได้ หรือพอเป็นไปได้
เมื่อรู้จักมัน จึงปล่อยวางได้
การรู้นี้ก็เพื่อวางลงได้ ทุกข์จึงไม่เกิด
ไม่ "อยาก" อะไรนอกเหตุ
เพราะรู้จักแล้วว่าเป็นไปไม่ได้
จึงบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้
"เมื่อบังคับไม่ได้"
จึงต้องมาเรียนรู้มัน
มาเรียนรู้ มาสังเกต ว่าสิ่งใดเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
เกิดได้ยังไง ดับได้ยังไง
จึงบริหารสังขารไปตามสมควร ให้มันเป็นไปได้ หรือพอเป็นไปได้
เมื่อรู้จักมัน จึงปล่อยวางได้
การรู้นี้ก็เพื่อวางลงได้ ทุกข์จึงไม่เกิด
ไม่ "อยาก" อะไรนอกเหตุ
เพราะรู้จักแล้วว่าเป็นไปไม่ได้
วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ศรัทธาในมุมสัมมาทิฏฐิ
การวางจิตถูกต้อง
เมื่อวางถูก วางอยู่ในเรื่องที่ตรงตามความเป็นจริง
มันก็จะโน้มเอียง ไหลไป ผ่องใส แจ่มใสไปในทางที่ถูก
ตถาคตโพธิสัทธานี่ก็เป็นหนึ่งใน สัมมาทิฏฐิ
ในบรรดา "ทาง" สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
คือมันรู้จัก มิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
คือไม่ใช่รู้จักว่า ไอ้นี่เลว
แต่รู้จักว่า อิทธิพลของมิจฉาทิฏฐิว่า มันเป็นไปได้ขนาดนี้เลยนะ
รู้จักว่าความคิดนี่ อะไรเป็นสัมมา อะไรเป็นมิจฉา
คือรู้ว่าความคิดเช่นนี้ ดีไม่ดี ถูกไม่ถูก
ตัวที่แยกแยะได้นี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
เมื่อวางถูก วางอยู่ในเรื่องที่ตรงตามความเป็นจริง
มันก็จะโน้มเอียง ไหลไป ผ่องใส แจ่มใสไปในทางที่ถูก
ตถาคตโพธิสัทธานี่ก็เป็นหนึ่งใน สัมมาทิฏฐิ
ในบรรดา "ทาง" สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
คือมันรู้จัก มิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
คือไม่ใช่รู้จักว่า ไอ้นี่เลว
แต่รู้จักว่า อิทธิพลของมิจฉาทิฏฐิว่า มันเป็นไปได้ขนาดนี้เลยนะ
รู้จักว่าความคิดนี่ อะไรเป็นสัมมา อะไรเป็นมิจฉา
คือรู้ว่าความคิดเช่นนี้ ดีไม่ดี ถูกไม่ถูก
ตัวที่แยกแยะได้นี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
โทมนัสแล้วแย่?
สมมติพระอริยะเจ้ามีคุณธรรมอะไร
เราก็ทำตามแบบอย่างบ้าง
ผล ทำไม่ได้
ทำไม่ได้ก็จะโทมนัส
โทมนัสเกิดขึ้ืนแล้วดีก็มี
โทมนัสลักษณะนี้มันละปฏิฆะ
ปฏิฆานุสัยจะไม่นอนเนื่องในปฏิฆะนี้
ปกติโดยธรรมชาตินี้ ปฏิฆานุสัยมันจะนอนเนื่องในทุกขเวทนา
แต่ถ้าเราพยายามทำความดี
เรายังทำไม่ได้ แล้วรู้สึกเสียใจ
ปฏิฆานุสัยมันจะไม่นอนในความรู้สึกอันนี้
เทียบกับเวลาเสียใจเรื่องอื่น เช่น แฟนทิ้ง หมาตาย ฯลฯ
อย่างนี้ปฏิฆานุสัยมันไปนอน
แต่ถ้าเราเสียใจเพราะทำไม่ได้อย่างพระอริยะเจ้า
ปฏิฆานุสัยมันไม่นอน
ไหนๆ ก็ต้องเสียใจ
ไปเสียใจที่ตัวเองทำไม่ได้
ฉะนั้น ก็ให้ดีเยอะๆ ไว้ 5555
ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะ
เป็นปุถุชนคนมีกิเลส
ยังไงก็ต้องเสียใจ
พอมารู้งี้แล้วเราก็ "เลือกเรื่องที่เสียใจให้เข้าท่าหน่อย"
ฉลาดเลือก
ทำไม่ได้ ร้องไห้เสียใจ
แต่ทำไปๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้นี่แหละ
กิเลสลดนะ ผ่านไปหลายเดือนหลายปีจะเห็นเลย
เพราะปฏิฆานุสัยมันไม่นอนไง ... ฉะนั้น เสียใจก็ทำไปนะ ยังทำไม่ได้ก็ทำต่อไป
ทุกขเวทนา
ก็มีที่ทั้งปฏิฆานุสัยนอน และไม่นอน
สุขเวทนา
ก็มีทั้งที่ราคานุสัยมันนอน และไม่นอน
อทุกขมสุขเวทนา
ก็มีทั้งที่อวิชชานุสัยนอน และไม่นอน
สมมติสบาย ดูทีวี
กามราคานุสัยมันเยอะขึ้น
ถ้าไม่ดูแล้วสบาย ไปนั่งสมาธิ
มีความสุขและปีติอันเกิดจากวิเวก กามราคานุสัยมันไม่นอน
สังเกตว่า ทั้งๆ ที่ทำทั้งสองอย่าง
ก็มีความสุขเหมือนกัน
แต่ทำอันนึงราคานุสัยมันนอน
ทำอันนึงราคานุสัยมันไม่นอน
อทุกขมสุขที่อวิชชานุสัยนอนก็มี
ที่ไม่นอนก็มี - ฌาน 4 อันนี้อวิชชานุสัยไม่นอน
ละอวิชชานุสัยได้อีกตะหาก
สุขที่ราคานุสัยนอนก็มี
ที่ไม่นอนก็มี - สุขและปีติอันเกิดจากวิเวก
ละราคานุสัยได้อีกตะหาก
(คือก็ให้เลือกสุขแหละ แต่เลือกสุขที่ละกามราคะ)
เราก็ทำตามแบบอย่างบ้าง
ผล ทำไม่ได้
ทำไม่ได้ก็จะโทมนัส
โทมนัสเกิดขึ้ืนแล้วดีก็มี
โทมนัสลักษณะนี้มันละปฏิฆะ
ปฏิฆานุสัยจะไม่นอนเนื่องในปฏิฆะนี้
ปกติโดยธรรมชาตินี้ ปฏิฆานุสัยมันจะนอนเนื่องในทุกขเวทนา
แต่ถ้าเราพยายามทำความดี
เรายังทำไม่ได้ แล้วรู้สึกเสียใจ
ปฏิฆานุสัยมันจะไม่นอนในความรู้สึกอันนี้
เทียบกับเวลาเสียใจเรื่องอื่น เช่น แฟนทิ้ง หมาตาย ฯลฯ
อย่างนี้ปฏิฆานุสัยมันไปนอน
แต่ถ้าเราเสียใจเพราะทำไม่ได้อย่างพระอริยะเจ้า
ปฏิฆานุสัยมันไม่นอน
ไหนๆ ก็ต้องเสียใจ
ไปเสียใจที่ตัวเองทำไม่ได้
ฉะนั้น ก็ให้ดีเยอะๆ ไว้ 5555
ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะ
เป็นปุถุชนคนมีกิเลส
ยังไงก็ต้องเสียใจ
พอมารู้งี้แล้วเราก็ "เลือกเรื่องที่เสียใจให้เข้าท่าหน่อย"
ฉลาดเลือก
ทำไม่ได้ ร้องไห้เสียใจ
แต่ทำไปๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้นี่แหละ
กิเลสลดนะ ผ่านไปหลายเดือนหลายปีจะเห็นเลย
เพราะปฏิฆานุสัยมันไม่นอนไง ... ฉะนั้น เสียใจก็ทำไปนะ ยังทำไม่ได้ก็ทำต่อไป
ทุกขเวทนา
ก็มีที่ทั้งปฏิฆานุสัยนอน และไม่นอน
สุขเวทนา
ก็มีทั้งที่ราคานุสัยมันนอน และไม่นอน
อทุกขมสุขเวทนา
ก็มีทั้งที่อวิชชานุสัยนอน และไม่นอน
สมมติสบาย ดูทีวี
กามราคานุสัยมันเยอะขึ้น
ถ้าไม่ดูแล้วสบาย ไปนั่งสมาธิ
มีความสุขและปีติอันเกิดจากวิเวก กามราคานุสัยมันไม่นอน
สังเกตว่า ทั้งๆ ที่ทำทั้งสองอย่าง
ก็มีความสุขเหมือนกัน
แต่ทำอันนึงราคานุสัยมันนอน
ทำอันนึงราคานุสัยมันไม่นอน
อทุกขมสุขที่อวิชชานุสัยนอนก็มี
ที่ไม่นอนก็มี - ฌาน 4 อันนี้อวิชชานุสัยไม่นอน
ละอวิชชานุสัยได้อีกตะหาก
สุขที่ราคานุสัยนอนก็มี
ที่ไม่นอนก็มี - สุขและปีติอันเกิดจากวิเวก
ละราคานุสัยได้อีกตะหาก
(คือก็ให้เลือกสุขแหละ แต่เลือกสุขที่ละกามราคะ)
ราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนาเท่านั้น?
ที่ว่า
ราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนา
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องในทุกขเวทนา
อวิชชานุสัยนอนเนื่องในอทุกขมสุขเวทนา
จริงๆ มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดอย่างนั้น
โดยเฉพาะอวิชชานุสัยนี่นอนได้หมด
เช่น เวลาเราสุขนี่มันเห็นอริยสัจรึป่าว ?
ถ้าเปล่านะ อวิชชานุสัยมันก็นอนด้วย
เพียงแต่ราคานุสัยมันอาการชัดกว่าเท่านั้น
เวลาเฉยๆ เกิดขึ้น
บางคนก็ต้องการสุข
แบบนี้ราคานุสัยก็นอนด้วย
เอ๊ ทำไมมันวนเวียนๆ น่าจะสุขกว่านี้สักหน่อย
ปฏิฆานุสัยมันก็มา
ราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนา
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องในทุกขเวทนา
อวิชชานุสัยนอนเนื่องในอทุกขมสุขเวทนา
จริงๆ มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดอย่างนั้น
โดยเฉพาะอวิชชานุสัยนี่นอนได้หมด
เช่น เวลาเราสุขนี่มันเห็นอริยสัจรึป่าว ?
ถ้าเปล่านะ อวิชชานุสัยมันก็นอนด้วย
เพียงแต่ราคานุสัยมันอาการชัดกว่าเท่านั้น
เวลาเฉยๆ เกิดขึ้น
บางคนก็ต้องการสุข
แบบนี้ราคานุสัยก็นอนด้วย
เอ๊ ทำไมมันวนเวียนๆ น่าจะสุขกว่านี้สักหน่อย
ปฏิฆานุสัยมันก็มา
วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เวทนา ๓
ทุกอย่างมันต้องทนหมด
แต่ทนแล้วรู้สึกมันทนง่าย ปลอดโปร่ง ก็เรียกว่า สุขเวทนา
กินแล้วกลืนสบาย
กลืนยาก ทนยาก ก็เรียก ทุกขเวทนา
ถ้ารู้จักธรรมชาติของมัน
ก็ อ่อ มันไม่เที่ยง ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ก็มีปัญหา มันก็จะไปมองข้างนอก
ไปแก้ข้างนอก
ทุกข์ กะสุขนี่มองง่าย
มัน "อยู่" เลย
สุขก็ ฟินนนน
ทุกข์ก็ จะตายแล้วววว
แต่อทุกขมสุขนี่ เอ เอาไงแน่ จะว่าเป็นทุกข์เป็นสุขก็ไม่ใช่
สุขเวทนานี่
มันสุขเพราะ - ตั้งอยู่
มันทุกข์เพราะ - แปรปรวน
ทุกขเวทนา
มันสุขเพราะ - แปรปรวน
มันทุกข์เพราะ - ตั้งอยู่
อทุกขมสุข
มันสุขเพราะ - รู้
มันทุกข์เพราะ - ไม่รู้
ฉะนั้น เวทนาชนิดไหน
จะพิจารณาให้เป็นสุขหรือทุกข์ก็ได้
นี้เรียก บริหารเวทนา
เวลาสบายนี่
ยินดีจะเข้ามา
อันนี้สังเกตยาก ต้องลองสังเกต
ราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนา
อวิชชานุสัยนอนเนื่องในอทุกขมสุข
จะมาดูเหตุปัจจัยนี่ดูไม่ได้เลย
กิเลสตัวนี้ๆ ชอบนอนในเวทนาประเภทไหน
รู้แล้วจะได้เอาไปสังเกตดู
แต่ทนแล้วรู้สึกมันทนง่าย ปลอดโปร่ง ก็เรียกว่า สุขเวทนา
กินแล้วกลืนสบาย
กลืนยาก ทนยาก ก็เรียก ทุกขเวทนา
ถ้ารู้จักธรรมชาติของมัน
ก็ อ่อ มันไม่เที่ยง ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ก็มีปัญหา มันก็จะไปมองข้างนอก
ไปแก้ข้างนอก
ทุกข์ กะสุขนี่มองง่าย
มัน "อยู่" เลย
สุขก็ ฟินนนน
ทุกข์ก็ จะตายแล้วววว
แต่อทุกขมสุขนี่ เอ เอาไงแน่ จะว่าเป็นทุกข์เป็นสุขก็ไม่ใช่
สุขเวทนานี่
มันสุขเพราะ - ตั้งอยู่
มันทุกข์เพราะ - แปรปรวน
ทุกขเวทนา
มันสุขเพราะ - แปรปรวน
มันทุกข์เพราะ - ตั้งอยู่
อทุกขมสุข
มันสุขเพราะ - รู้
มันทุกข์เพราะ - ไม่รู้
ฉะนั้น เวทนาชนิดไหน
จะพิจารณาให้เป็นสุขหรือทุกข์ก็ได้
นี้เรียก บริหารเวทนา
เวลาสบายนี่
ยินดีจะเข้ามา
อันนี้สังเกตยาก ต้องลองสังเกต
ราคานุสัยนอนเนื่องในสุขเวทนา
อวิชชานุสัยนอนเนื่องในอทุกขมสุข
จะมาดูเหตุปัจจัยนี่ดูไม่ได้เลย
กิเลสตัวนี้ๆ ชอบนอนในเวทนาประเภทไหน
รู้แล้วจะได้เอาไปสังเกตดู
เวทนากับอนุสัย
ความเคยชินของกิเลสนี่มันจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก
เวทนานี่มันเป็นเรื่องปกติ
'สิ่งทั้งปวง' นี่กระทบ (ตา+รูป+วิญญาณ) เป็นผัสสะ
ก็เกิดเวทนา ..เท่านี้เอง จบแล้ว
หลังจากเวทนาแล้วนี่ มันจะมีกิเลสขึ้นมา
ก่อนที่จะมีกิเลสพวกตัณหาอะไรขึ้นมา
อันนี้ว่ากันอย่างหยาบๆ
ถ้าพูดแบบละเอียด
มันจะมีอีกตัวอยู่ก่อน คือ "อนุสัย"
มันมาตามเวทนา มาตามความรู้สึก
ความรู้สึกนี่หมายถึง กินอารมณ์เข้ามา
อารมณ์นี้มันอยู่ข้างนอก
จะให้เข้ามาสู่จิต จะให้มันรู้สึกมันก็ต้องกินอารมณ์เข้ามา
ตัวกินอารมณ์นี่ เรียก เวทนา
แต่พอกินเข้ามาแล้วนี่ มันรู้สึกจริงๆ ซะด้วยนะ
เช่น ดอกกุหลาบมันสวย กินเข้ามาแล้วชอบใจ สบายใจ
ก็ดันไปชอบดอกกุหลาบ
แต่จริงๆ ตัวสบายใจนี้คือเวทนา ไม่ใช่ดอกกกุหลาบ
ทีนี้พอหลงไปอย่างนี้
เพื่อให้เกิดความสบายใจ
งานอะไรๆ ก็เอาดอกกุหลาบมาตั้ง
คืออันนี้มันโง่ไปหน่อย...คือ ดอกกุหลาบมันไม่เกี่ยว ไม่รู้เรื่องด้วย 5555
เวทนามันกินเข้ามา
รูปนี่มันอยู่ข้างนอก
มันจะเข้ามาสู่จิตก็เข้ามาในรูปนามธรรม
ปรุงขึ้นมา
เอาจริงถ้ารู้ว่า
ไอ้สบายใจนี้เป็นเวทนา ไม่เกี่ยวกับดอกกุหลาบ
เท่านี้ก็จบแล้ว
คนฉลาดนี่...
เห็นดอกกุหลาบจะทำให้สบายใจ หรือไม่สบายใจก็ได้
อันนี้เก่งแล้ว
เห็นคนไม่น่ารัก
จะทำให้สบายใจ/ไม่สบายใจก็ได้ัทั้งนั้น
เพราะมันไม่เกี่ยวกับสิ่งนั้น
แต่พอเราไม่เข้าใจนี่
มันก็ "ต้องเห็นหน้าคนที่เราชอบ"
จึงจะสบายใจ ต้องคอยเอาหน้าที่ชอบๆ มาโผล่ไว้
บริหารเวทนาเช่น เสียงไม่เพราะเหรอ
เออ ธรรมดา เป็นธรรมชาติของโลกนะ
เท่านี้ก็สบายใจแล้วนะ
คือมันไม่ได้เกี่ยวกับตัวอารมณ์ มันอยู่ที่เรากินมันเข้ามายังไงตะหาก
พอไม่รู้เรื่องก็เลยบริหารเวทนาไม่เป็น
กลายเป็นบริหารตามตัณหา
ถ้าตัณหามันชอบใจ ก็เรียกว่าสบายใจ
ถ้าตัณหาไม่ชอบใจ ก็เรียกว่าไม่สบายใจ
อันนี้มันเอาเวทนามาเป็นตัวเล่น
เป็นตัวหลอก อันที่จริงไม่เกี่ยวเลย
ที่ต้องไปหานั่น หานี่ หานู่น มาให้สบายใจ ไม่เกี่ยวเล้ย
เขาถึงเรียกว่า "เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา"
ความเด็ดคือ มันมีก่อนหน้านี้อีก คือ อนุสัย
เราไม่รู้จักไง ไม่รู้ว่า
"อ้อ ถ้าสบายใจเกิดขึ้น เราก็ชอบ"
"อ้อ ถ้าทุกข์เกิดขึ้น เราก็จะไม่ชอบ"
คือถ้าเรารู้จัก มันก็ไม่เป็นไร มันก็ธรรมดาๆ ตัณหามันก็ไม่มี
ทีนี้ก่อนหน้าตัณหามันคือ อนุสัย
เราไม่รู้ -> มันก็เกิดความอยาก
ตัณหาในรูป ในอะไรๆ ก็เกิดเพียบเลย เพื่อปรับเวทนา ให้มันทนได้
สมมติได้ยินเสียงไม่ชอบ
เวทนาเป็นทุกข์ ไม่ชอบเสียง
แทนที่จะบริหารเวทนา หรือบริหารเสียง
ไปนู่นนนน จัดการคนพูด...ก็โดดไปหลายชั้น
เลยแก้ปัญหาผิดฝาผิดตัวไปเรื่อย วนๆ เวียนๆ
เกี่ยวแบบติดกันหนึบ
เวทนานี่มันเป็นเรื่องปกติ
'สิ่งทั้งปวง' นี่กระทบ (ตา+รูป+วิญญาณ) เป็นผัสสะ
ก็เกิดเวทนา ..เท่านี้เอง จบแล้ว
หลังจากเวทนาแล้วนี่ มันจะมีกิเลสขึ้นมา
ก่อนที่จะมีกิเลสพวกตัณหาอะไรขึ้นมา
อันนี้ว่ากันอย่างหยาบๆ
ถ้าพูดแบบละเอียด
มันจะมีอีกตัวอยู่ก่อน คือ "อนุสัย"
มันมาตามเวทนา มาตามความรู้สึก
ความรู้สึกนี่หมายถึง กินอารมณ์เข้ามา
อารมณ์นี้มันอยู่ข้างนอก
จะให้เข้ามาสู่จิต จะให้มันรู้สึกมันก็ต้องกินอารมณ์เข้ามา
ตัวกินอารมณ์นี่ เรียก เวทนา
แต่พอกินเข้ามาแล้วนี่ มันรู้สึกจริงๆ ซะด้วยนะ
เช่น ดอกกุหลาบมันสวย กินเข้ามาแล้วชอบใจ สบายใจ
ก็ดันไปชอบดอกกุหลาบ
แต่จริงๆ ตัวสบายใจนี้คือเวทนา ไม่ใช่ดอกกกุหลาบ
ทีนี้พอหลงไปอย่างนี้
เพื่อให้เกิดความสบายใจ
งานอะไรๆ ก็เอาดอกกุหลาบมาตั้ง
คืออันนี้มันโง่ไปหน่อย...คือ ดอกกุหลาบมันไม่เกี่ยว ไม่รู้เรื่องด้วย 5555
เวทนามันกินเข้ามา
รูปนี่มันอยู่ข้างนอก
มันจะเข้ามาสู่จิตก็เข้ามาในรูปนามธรรม
ปรุงขึ้นมา
เอาจริงถ้ารู้ว่า
ไอ้สบายใจนี้เป็นเวทนา ไม่เกี่ยวกับดอกกุหลาบ
เท่านี้ก็จบแล้ว
คนฉลาดนี่...
เห็นดอกกุหลาบจะทำให้สบายใจ หรือไม่สบายใจก็ได้
อันนี้เก่งแล้ว
เห็นคนไม่น่ารัก
จะทำให้สบายใจ/ไม่สบายใจก็ได้ัทั้งนั้น
เพราะมันไม่เกี่ยวกับสิ่งนั้น
แต่พอเราไม่เข้าใจนี่
มันก็ "ต้องเห็นหน้าคนที่เราชอบ"
จึงจะสบายใจ ต้องคอยเอาหน้าที่ชอบๆ มาโผล่ไว้
บริหารเวทนาเช่น เสียงไม่เพราะเหรอ
เออ ธรรมดา เป็นธรรมชาติของโลกนะ
เท่านี้ก็สบายใจแล้วนะ
คือมันไม่ได้เกี่ยวกับตัวอารมณ์ มันอยู่ที่เรากินมันเข้ามายังไงตะหาก
พอไม่รู้เรื่องก็เลยบริหารเวทนาไม่เป็น
กลายเป็นบริหารตามตัณหา
ถ้าตัณหามันชอบใจ ก็เรียกว่าสบายใจ
ถ้าตัณหาไม่ชอบใจ ก็เรียกว่าไม่สบายใจ
อันนี้มันเอาเวทนามาเป็นตัวเล่น
เป็นตัวหลอก อันที่จริงไม่เกี่ยวเลย
ที่ต้องไปหานั่น หานี่ หานู่น มาให้สบายใจ ไม่เกี่ยวเล้ย
เขาถึงเรียกว่า "เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา"
ความเด็ดคือ มันมีก่อนหน้านี้อีก คือ อนุสัย
เราไม่รู้จักไง ไม่รู้ว่า
"อ้อ ถ้าสบายใจเกิดขึ้น เราก็ชอบ"
"อ้อ ถ้าทุกข์เกิดขึ้น เราก็จะไม่ชอบ"
คือถ้าเรารู้จัก มันก็ไม่เป็นไร มันก็ธรรมดาๆ ตัณหามันก็ไม่มี
ทีนี้ก่อนหน้าตัณหามันคือ อนุสัย
เราไม่รู้ -> มันก็เกิดความอยาก
ตัณหาในรูป ในอะไรๆ ก็เกิดเพียบเลย เพื่อปรับเวทนา ให้มันทนได้
สมมติได้ยินเสียงไม่ชอบ
เวทนาเป็นทุกข์ ไม่ชอบเสียง
แทนที่จะบริหารเวทนา หรือบริหารเสียง
ไปนู่นนนน จัดการคนพูด...ก็โดดไปหลายชั้น
เลยแก้ปัญหาผิดฝาผิดตัวไปเรื่อย วนๆ เวียนๆ
ใช้คำให้ถูกจะช่วยให้ปัญญาเข้าใจอะไรง่ายขึ้น
เช่น โอยยย เราปวดหลังจะตายอยู่แล้ว
นี่ เวทนาปวดนะ
ไม่ใช่เราปวด
และก็ไม่ใช่จิตปวดด้วย
แต่จิตมันไปกินเข้ามาเลยเหมือนจะเป็นไปกะเขาด้วย
ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา
ปล่อยเวทนามันไม่สบายไป
จิตกับเวทนามันแยกกัน
ลองดูก็ได้ใครจะไปก่อนกัน 5555
คือ ปวดหลังจึงขยับกาย
เพื่อบริหารเวทนา
ให้มันพอทนได้
ปรับนู่นปรับนี่ก็ไม่ใช่ให้มันเป็นสุข
แต่เพื่อไม่ให้มันบีบเรามาก
ขันธ์จึงต้องบริหาร
และมันบริหารยาก
สุขจะบริหารให้อยู่ตลอดก็ไม่ได้
ทุกข์จะบริหารให้หายไปก็ยาก
คนรู้ก็ "ทำ" เพื่อ "แก้" เวทนา
ไม่ได้ไปทำเพื่อให้มัน "สุข" อย่างนั้นอย่างนี้
ฉะนั้น ปวด ก็เป็นเวทนา
หายปวด ก็เป็นเวทนา
เปลี่ยนจากอันนึงเป็นอีกอันเท่านั้น
มันก็เป็นเวทนาเหมือนเดิม
หน้าที่ต่อเวทนาคือ
บริหารให้มันเป็นไปได้
และ "รู้จัก" มัน
นี่ เวทนาปวดนะ
ไม่ใช่เราปวด
และก็ไม่ใช่จิตปวดด้วย
แต่จิตมันไปกินเข้ามาเลยเหมือนจะเป็นไปกะเขาด้วย
ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา
ปล่อยเวทนามันไม่สบายไป
จิตกับเวทนามันแยกกัน
ลองดูก็ได้ใครจะไปก่อนกัน 5555
คือ ปวดหลังจึงขยับกาย
เพื่อบริหารเวทนา
ให้มันพอทนได้
ปรับนู่นปรับนี่ก็ไม่ใช่ให้มันเป็นสุข
แต่เพื่อไม่ให้มันบีบเรามาก
ขันธ์จึงต้องบริหาร
และมันบริหารยาก
สุขจะบริหารให้อยู่ตลอดก็ไม่ได้
ทุกข์จะบริหารให้หายไปก็ยาก
คนรู้ก็ "ทำ" เพื่อ "แก้" เวทนา
ไม่ได้ไปทำเพื่อให้มัน "สุข" อย่างนั้นอย่างนี้
ฉะนั้น ปวด ก็เป็นเวทนา
หายปวด ก็เป็นเวทนา
เปลี่ยนจากอันนึงเป็นอีกอันเท่านั้น
มันก็เป็นเวทนาเหมือนเดิม
หน้าที่ต่อเวทนาคือ
บริหารให้มันเป็นไปได้
และ "รู้จัก" มัน
ภาวนาตอนกลางๆ
เบื้องต้นคือ ฝึกสติ รู้จักตัวเองแล้ว
พอ? ถ้าทำมาเยอะแล้ว กิเลสเบาบางก็พอไหว
แต่ส่วนใหญ่จะไม่น่ะสิ
ยังไม่พอ
ถ้ารู้ว่าตัวเองคิดไม่ดี กิเลสมาก
ก็ต้องหาทางทำให้มันเบาบาง
งด ละเว้น ควบคุมมันบ้าง
(ใช้สัมมัปปธาน)
มีสติแล้วมานั่งดูทีวี
ปฏิบัติที่ไหนก็ได้
โดนกิเลสถล่มย่อยยับ~~~
มีสติ แล้วต้องสัมมัปปธาน
ฝ่ายไม่ดี
ก็ต้องรู้จัก ไม่ได้รังเกียจ แต่ต้องรู้จัก
เกิดได้ยังไง จะละได้ยังไง จะไม่เกิดอีกได้ยังไง
ฝ่ายดี
ก็ต้องรู้จัก เกิดได้ยังไง ทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นได้ยังไง
คือ รู้เหตุ รู้ปัจจัยแล้วก็จัดการมัน
ทำแบบคนรู้เรื่อง
อันไหนควรละ ก็ละ
อันไหนควรเพิ่มก็เพิ่ม
ไม่ใช่ไม่ทำอะไร
ทำเช่นนี้ ถึงจะมีสมาธิเพิ่ม
คือถ้ากิเลสมากเกิน
ไม่จัดการอะไรเลย สติเฉยๆ ยังไม่พอ
สมาธิจะไม่พอแก่การงาน อิทธิบาทเกิดยาก
จุดกลางๆ นี่มันเป็นเรื่องสมาธิทั้งนั้น
ไม่ได้อิทธิบาท อินทรีย์ก็ไม่เต็ม ค้างเติ่งกันไป
พอ? ถ้าทำมาเยอะแล้ว กิเลสเบาบางก็พอไหว
แต่ส่วนใหญ่จะไม่น่ะสิ
ยังไม่พอ
ถ้ารู้ว่าตัวเองคิดไม่ดี กิเลสมาก
ก็ต้องหาทางทำให้มันเบาบาง
งด ละเว้น ควบคุมมันบ้าง
(ใช้สัมมัปปธาน)
มีสติแล้วมานั่งดูทีวี
ปฏิบัติที่ไหนก็ได้
โดนกิเลสถล่มย่อยยับ~~~
มีสติ แล้วต้องสัมมัปปธาน
ฝ่ายไม่ดี
ก็ต้องรู้จัก ไม่ได้รังเกียจ แต่ต้องรู้จัก
เกิดได้ยังไง จะละได้ยังไง จะไม่เกิดอีกได้ยังไง
ฝ่ายดี
ก็ต้องรู้จัก เกิดได้ยังไง ทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นได้ยังไง
คือ รู้เหตุ รู้ปัจจัยแล้วก็จัดการมัน
ทำแบบคนรู้เรื่อง
อันไหนควรละ ก็ละ
อันไหนควรเพิ่มก็เพิ่ม
ไม่ใช่ไม่ทำอะไร
ทำเช่นนี้ ถึงจะมีสมาธิเพิ่ม
คือถ้ากิเลสมากเกิน
ไม่จัดการอะไรเลย สติเฉยๆ ยังไม่พอ
สมาธิจะไม่พอแก่การงาน อิทธิบาทเกิดยาก
จุดกลางๆ นี่มันเป็นเรื่องสมาธิทั้งนั้น
ไม่ได้อิทธิบาท อินทรีย์ก็ไม่เต็ม ค้างเติ่งกันไป
วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สัญญาเวทยิตนิโรธ
ภิกษุผู้จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
จักไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า 'เราจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ'
ความหมาย คนคิดจะเข้าไม่ได้เข้า 5555
คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ นี่คือนิพพานชิมลองก่อนดับขันธ์สนิทจริงๆ
คนจะถึงนิพพาน จะไม่คิดว่าเขาจะเข้านิพพาน
'ว่าจะเข้า'
'กำลังเข้า'
'เราเข้าแล้ว' พวกนี้ไม่ได้เข้าหมด 5555
แต่ว่า การที่ได้บำเพ็ญจิตไว้มาก่อนนี้เป็นตัวพาเข้าไป
การฝึกอริยมรรคนี่แหละเป็นตัวพาเข้า
ปล่อยวางสังขาร มีกำลังของจิตระดับฌานสมาบัติ
เข้าอากาสา ฯลฯ ไปตาม step
ต้องมีสัญญาอยู่ก่อน
พอมีสัญญาอยู่ก่อนแล้ว ก็ทำจิตให้แนบแน่น
แล้วก็วาง จึงเข้าไป
ทั้งนี้มันจะไม่ผ่านเนวสัญญาฯ
เพราะเนวสัญญาฯ จะเป็นการไปเกาะอยู่กับอีกอันนึง
คือมันไม่ได้ดับสัญญา เหมือนมีเหมือนไม่มี
มันจะข้ามตัวนี้ไป
นิโรธสมาบัตินี้
ต้องมีปัญญาของจิตด้วย (ชั้นอนาคามีเป็นอย่างต่ำ)
และต้องมีกำลังสมาธิเข้ามาจนถึงอากิญจัญญาฯ
แล้ว 'ปล่อย' ทุกเรื่อง มันจึงดับ
ดับ หมายถึง เวทนากับสัญญา ไม่เกิด
แต่อันนี้ก็เป็นของลอง ยังไม่ใช่นิพพานแท้
คือการดับเวทนาและสัญญานี้ เป็นลักษณะของนิพพาน (แง่หนึ่ง)
แต่ไม่ใช่ตัวนิพพาน
จักไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า 'เราจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ'
ความหมาย คนคิดจะเข้าไม่ได้เข้า 5555
คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ นี่คือนิพพานชิมลองก่อนดับขันธ์สนิทจริงๆ
คนจะถึงนิพพาน จะไม่คิดว่าเขาจะเข้านิพพาน
'ว่าจะเข้า'
'กำลังเข้า'
'เราเข้าแล้ว' พวกนี้ไม่ได้เข้าหมด 5555
แต่ว่า การที่ได้บำเพ็ญจิตไว้มาก่อนนี้เป็นตัวพาเข้าไป
การฝึกอริยมรรคนี่แหละเป็นตัวพาเข้า
ปล่อยวางสังขาร มีกำลังของจิตระดับฌานสมาบัติ
เข้าอากาสา ฯลฯ ไปตาม step
ต้องมีสัญญาอยู่ก่อน
พอมีสัญญาอยู่ก่อนแล้ว ก็ทำจิตให้แนบแน่น
แล้วก็วาง จึงเข้าไป
ทั้งนี้มันจะไม่ผ่านเนวสัญญาฯ
เพราะเนวสัญญาฯ จะเป็นการไปเกาะอยู่กับอีกอันนึง
คือมันไม่ได้ดับสัญญา เหมือนมีเหมือนไม่มี
มันจะข้ามตัวนี้ไป
นิโรธสมาบัตินี้
ต้องมีปัญญาของจิตด้วย (ชั้นอนาคามีเป็นอย่างต่ำ)
และต้องมีกำลังสมาธิเข้ามาจนถึงอากิญจัญญาฯ
แล้ว 'ปล่อย' ทุกเรื่อง มันจึงดับ
ดับ หมายถึง เวทนากับสัญญา ไม่เกิด
แต่อันนี้ก็เป็นของลอง ยังไม่ใช่นิพพานแท้
คือการดับเวทนาและสัญญานี้ เป็นลักษณะของนิพพาน (แง่หนึ่ง)
แต่ไม่ใช่ตัวนิพพาน
เข้าใจนิพพานดีๆ
นิพพานนี่มีหลายชื่อ
เวลาบรรยายลักษณะนิพพาน
ก็มักจะจะพูดถึงนิพพานก็ตั้งชื่อในแง่ตรงข้ามกับสังขาร
เช่น สังขารมีลักษณะเกิด ก็พูดถึงนิพพานว่า มีลักษณะ "ไม่เกิด"
คือ ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนึงของนิพพาน
แต่ความไม่เกิดนี้ ไม่ใช่ นิพพาน
นิพพานไม่ใช่สภาพความตรงข้ามกับสังขาร
แต่มีลักษณะบางอย่างตรงข้ามกับสังขาร
เช่น ไม่เกิด ไม่เร่าร้อน ไม่มีตัณหา
ความสิ้นตัณหาเป็นลักษณะนึงของนิพพาน
แต่ไม่ใช่ "ตัวนิพพาน"
ความสิ้นโมหะ เป็นลักษณะนึงของนิพพาน แต่ไม่ใช่นิพพาน
ถ้าความสิ้นโมหะ เป็นนิพพาน
งั้นนิพพานก็เป็นจิตน่ะสิ
เพราะมันคือ "จิต" ที่สิ้นโมหะ
กลายเป็นนิพพานไม่มีจริง เพราะจิตเป็นส่ิงประกอบขึ้น ... มั่วแล้วทีนี้
ในปรมัตถ์ มีความจริง 4 - จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เจตสิก รูป เรียกว่าจริงแบบสังขาร
นิพพาน จริงแบบวิสังขาร
ตรงนี้ต้องเข้าใจดีๆ
เวลาบรรยายลักษณะนิพพาน
ก็มักจะจะพูดถึงนิพพานก็ตั้งชื่อในแง่ตรงข้ามกับสังขาร
เช่น สังขารมีลักษณะเกิด ก็พูดถึงนิพพานว่า มีลักษณะ "ไม่เกิด"
คือ ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนึงของนิพพาน
แต่ความไม่เกิดนี้ ไม่ใช่ นิพพาน
นิพพานไม่ใช่สภาพความตรงข้ามกับสังขาร
แต่มีลักษณะบางอย่างตรงข้ามกับสังขาร
เช่น ไม่เกิด ไม่เร่าร้อน ไม่มีตัณหา
ความสิ้นตัณหาเป็นลักษณะนึงของนิพพาน
แต่ไม่ใช่ "ตัวนิพพาน"
ความสิ้นโมหะ เป็นลักษณะนึงของนิพพาน แต่ไม่ใช่นิพพาน
ถ้าความสิ้นโมหะ เป็นนิพพาน
งั้นนิพพานก็เป็นจิตน่ะสิ
เพราะมันคือ "จิต" ที่สิ้นโมหะ
กลายเป็นนิพพานไม่มีจริง เพราะจิตเป็นส่ิงประกอบขึ้น ... มั่วแล้วทีนี้
ในปรมัตถ์ มีความจริง 4 - จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เจตสิก รูป เรียกว่าจริงแบบสังขาร
นิพพาน จริงแบบวิสังขาร
ตรงนี้ต้องเข้าใจดีๆ
ความจริง
จริงๆ นี่มีสองจริงๆ
สังขารนี่เป็น "จริงแบบมายา"
คือ มันก็จริงนะ แต่จริงแบบอิงอาศัยสิ่งอื่น
มันจริงเมื่อมันเกิด (คือมีเหตุปัจจัย มีนั่นนี่นู่นมารวมๆๆ ก็เป็น "มัน" ขึ้นมา)
หมดเหตุก็ไป
อันนี้ก็จริงแบบสังขาร
จริงแบบของปรุง
อยากได้ไรก็ปรุงเอา
อันนี้ก็ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
มีเหตุก็มี
หมดเหตุก็หายไป
มีเหตุก็มาใหม่
ความเกิดปรากฏ
ความเสื่อมปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนปรากฏ
อีกอันคือ จริงแบบไม่ต้องปรุง
สังขารนี่ต้องเกิดถึงจะมี
แต่อันนี้ "มีโดยไม่ต้องเกิด"
อันนี้
ความเกิดไม่ปรากฏ
ความเสื่อมไม่ปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนไม่ปรากฏ
- จริงแบบจริงๆ
- จริงแบบมายา
สังขารนี่เป็น "จริงแบบมายา"
คือ มันก็จริงนะ แต่จริงแบบอิงอาศัยสิ่งอื่น
มันจริงเมื่อมันเกิด (คือมีเหตุปัจจัย มีนั่นนี่นู่นมารวมๆๆ ก็เป็น "มัน" ขึ้นมา)
หมดเหตุก็ไป
อันนี้ก็จริงแบบสังขาร
จริงแบบของปรุง
อยากได้ไรก็ปรุงเอา
อันนี้ก็ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
มีเหตุก็มี
หมดเหตุก็หายไป
มีเหตุก็มาใหม่
ความเกิดปรากฏ
ความเสื่อมปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนปรากฏ
อีกอันคือ จริงแบบไม่ต้องปรุง
สังขารนี่ต้องเกิดถึงจะมี
แต่อันนี้ "มีโดยไม่ต้องเกิด"
อันนี้
ความเกิดไม่ปรากฏ
ความเสื่อมไม่ปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนไม่ปรากฏ
การใช้ศัพท์ จิต วิญญาณ มโน
จิต
คำนี้ใช้เวลาที่จะฝึก
ฝึกจิต, จิตที่ฝึกดีแล้ว
ฝึกจิตให้มันมีศีล มีความตั้งมั่น เป็นต้น
วิญญาณ
คำนี้ใช้เวลาสำหรับเป็นที่ตั้งให้เกิดปัญญา
เป็นวิปัสสนาภูมิ
ขันธ์ 5 นี่เป็นวิปัสสนาภูมิ
วิญญาณพูดในแง่เอามาพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์
เป็นฐานให้เกิดปัญญา
มโน
คำนี้พูดในแง่อายตนะที่เอาไว้กระทบกับธรรม
มโน กระทบ ธรรม เกิดมโนวิญญาณ
โดยสภาวะ จิต วิญญาณ มโน อันเดียวกัน
แต่พูดไม่เหมือนกัน
คำนี้ใช้เวลาที่จะฝึก
ฝึกจิต, จิตที่ฝึกดีแล้ว
ฝึกจิตให้มันมีศีล มีความตั้งมั่น เป็นต้น
วิญญาณ
คำนี้ใช้เวลาสำหรับเป็นที่ตั้งให้เกิดปัญญา
เป็นวิปัสสนาภูมิ
ขันธ์ 5 นี่เป็นวิปัสสนาภูมิ
วิญญาณพูดในแง่เอามาพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์
เป็นฐานให้เกิดปัญญา
มโน
คำนี้พูดในแง่อายตนะที่เอาไว้กระทบกับธรรม
มโน กระทบ ธรรม เกิดมโนวิญญาณ
โดยสภาวะ จิต วิญญาณ มโน อันเดียวกัน
แต่พูดไม่เหมือนกัน
สมาบัติ
อากาสานัญจายตนะนี่ไม่ใช่ฌาน เป็นสมาบัติ
คือแต่เดิมเอานิมิตของรูปเป็นอารมณ์
ก็เข้าลำดับไปตามความแนบแน่น ไปจอดที่สูงสุด อุเบกขา เอกัคคตา
ทีนี้เปลี่ยนอารมณ์
เอาอารมณ์กรรมฐานยกออกไป ทิ้งซะนี่แน่ะ
ยกไปก็เหลือแต่ความว่างไม่มีที่สุด
ฌานเท่าเดิม เปลี่ยนตัวเข้า เปลี่ยนตัวที่จิตไปอยู่
จึงเรียกสมาบัติ ไม่เรียกฌาน
ฌาน แปลว่า เพ่งอารมณ์เผากิเลส (หมายถึง เผานิวรณ์)
ซึ่งมันก็เผาได้ 4 ชั้น
นามธรรมนี่
เวทนาอุเบกขา ละเอียดสุดแล้ว ไม่มีละเอียดกว่านี้
สังขารเอกัคคตา ก็ละเอียดสุดแล้ว ไม่มีละเอียดกว่านี้
ในด้านสมาธิมีเท่านี้สูงสุดแล้ว
แต่ถ้าในฝั่งวิปัสสนา ปัญญาจะสูงสุด
เมื่อเปลี่ยนอารมณ์จึงเรียกว่าสมาบัติแทน
สมาบัติ หมายถึง เครื่องอยู่ สิ่งที่ให้จิตเข้าไปอยู่
ส่วนสมาบัตินี่เยอะแยะแล้วแต่จะเอาอารมณ์อะไรมา "แปะ" ให้จิต
อรูปสมาบัตินี่ ไม่เรียกฌาน เพราะเป็นฌาน 4 อยู่แล้ว เปลี่ยนแต่อารมณ์
คำว่า สมาบัติ เหมือนเอาจิตมาเข้าถ้ำให้มันอยู่
คือถ้าจิตไม่มีที่อยุ่มันก็กระโดดดึ๋งๆ เพ่นพ่านไปมา
จับมันมาเข้าถ้ำ เข้ารู ถ้ำที่ว่าก็กรรมฐานนี่แหละ
ถ้าอยู่ได้ก็เรียก สมาบัติ - สมมติอยู่ได้ ปฐมฌาน ก็เรียก ปฐมฌานสมาบัติ
นิมิตรูปฌานนี่ก็ไม่ใช่ของจริง
แต่มาจากของจริง
ทีนี้พอเพิกนิมิต
ก็เป็นความว่างไม่สิ้นสุด
ความว่างนี่เป็นบัญญัติ
เป็นความคิดขึ้นมาเฉยๆ
พอว่างไปหมด
มันจะว่างยังไงก็ต้องมีตัวรู้
ก็ย้อนมาดูตัวรู้ความว่าง
ดูข้างนอกก็เป็นความว่าง
ย้อนมาก็มาดูตัวรู้
ดูครบสองอันนี้แล้วมันก็ไม่มีอะไร
เมื่อรู้จักความว่าง รู้จักจิตแล้ว มันก็ไม่มีอะไร
การรู้สึกว่าไม่มีอะไรนี่ ก็มีแต่ความว่าง กับจิต
และน้อมเข้าไปสู่ความไม่มีอะไร
ไม่มีอะไรแม้แต่นิดเดียว
(ซึ่งก็เป็นบัญญัติอีกชนิดนึง)
แต่การรู้ว่าไม่มีอะไร
มันก็น่าจะมีอะไร 5555
ไอ้นี่ เนวสัญญาฯ
คือ มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่
หมายถึง ถ้าจะว่าไม่มี มันก็ไม่น่าจะรู้อะไรเลย
แต่ตอนนี้ก็รู้ว่ามีอะไรด้วยนะ
แต่ว่ารู้ว่ามันไม่มีอะไร 55555
ถ้าเป็นพระอริยะก็เข้าอยู่ 'ผลสมาบัติ'
ไปเข้าอยู่กับนิพพาน
คือแต่เดิมเอานิมิตของรูปเป็นอารมณ์
ก็เข้าลำดับไปตามความแนบแน่น ไปจอดที่สูงสุด อุเบกขา เอกัคคตา
ทีนี้เปลี่ยนอารมณ์
เอาอารมณ์กรรมฐานยกออกไป ทิ้งซะนี่แน่ะ
ยกไปก็เหลือแต่ความว่างไม่มีที่สุด
ฌานเท่าเดิม เปลี่ยนตัวเข้า เปลี่ยนตัวที่จิตไปอยู่
จึงเรียกสมาบัติ ไม่เรียกฌาน
ฌาน แปลว่า เพ่งอารมณ์เผากิเลส (หมายถึง เผานิวรณ์)
ซึ่งมันก็เผาได้ 4 ชั้น
นามธรรมนี่
เวทนาอุเบกขา ละเอียดสุดแล้ว ไม่มีละเอียดกว่านี้
สังขารเอกัคคตา ก็ละเอียดสุดแล้ว ไม่มีละเอียดกว่านี้
ในด้านสมาธิมีเท่านี้สูงสุดแล้ว
แต่ถ้าในฝั่งวิปัสสนา ปัญญาจะสูงสุด
เมื่อเปลี่ยนอารมณ์จึงเรียกว่าสมาบัติแทน
สมาบัติ หมายถึง เครื่องอยู่ สิ่งที่ให้จิตเข้าไปอยู่
ส่วนสมาบัตินี่เยอะแยะแล้วแต่จะเอาอารมณ์อะไรมา "แปะ" ให้จิต
อรูปสมาบัตินี่ ไม่เรียกฌาน เพราะเป็นฌาน 4 อยู่แล้ว เปลี่ยนแต่อารมณ์
คำว่า สมาบัติ เหมือนเอาจิตมาเข้าถ้ำให้มันอยู่
คือถ้าจิตไม่มีที่อยุ่มันก็กระโดดดึ๋งๆ เพ่นพ่านไปมา
จับมันมาเข้าถ้ำ เข้ารู ถ้ำที่ว่าก็กรรมฐานนี่แหละ
ถ้าอยู่ได้ก็เรียก สมาบัติ - สมมติอยู่ได้ ปฐมฌาน ก็เรียก ปฐมฌานสมาบัติ
นิมิตรูปฌานนี่ก็ไม่ใช่ของจริง
แต่มาจากของจริง
ทีนี้พอเพิกนิมิต
ก็เป็นความว่างไม่สิ้นสุด
ความว่างนี่เป็นบัญญัติ
เป็นความคิดขึ้นมาเฉยๆ
พอว่างไปหมด
มันจะว่างยังไงก็ต้องมีตัวรู้
ก็ย้อนมาดูตัวรู้ความว่าง
ดูข้างนอกก็เป็นความว่าง
ย้อนมาก็มาดูตัวรู้
ดูครบสองอันนี้แล้วมันก็ไม่มีอะไร
เมื่อรู้จักความว่าง รู้จักจิตแล้ว มันก็ไม่มีอะไร
การรู้สึกว่าไม่มีอะไรนี่ ก็มีแต่ความว่าง กับจิต
และน้อมเข้าไปสู่ความไม่มีอะไร
ไม่มีอะไรแม้แต่นิดเดียว
(ซึ่งก็เป็นบัญญัติอีกชนิดนึง)
แต่การรู้ว่าไม่มีอะไร
มันก็น่าจะมีอะไร 5555
ไอ้นี่ เนวสัญญาฯ
คือ มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่
หมายถึง ถ้าจะว่าไม่มี มันก็ไม่น่าจะรู้อะไรเลย
แต่ตอนนี้ก็รู้ว่ามีอะไรด้วยนะ
แต่ว่ารู้ว่ามันไม่มีอะไร 55555
ถ้าเป็นพระอริยะก็เข้าอยู่ 'ผลสมาบัติ'
ไปเข้าอยู่กับนิพพาน
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สัญญาเวทนา ชื่อว่าจิตตสังขาร
สัญญา และเวทนา เป็นเจตสิก
เป็นสิ่งที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต
เกิดที่เดียวกับจิต
ธรรมเหล่านี้สัมพันธ์กับจิต
สัญญา กับเวทนาจึงชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตไม่ได้มีตัวตน
แม้จะพูดว่าจิตมันเป็นใหญ่ แต่มันก็ต้องมีตัวปรุง
ต้องมีเวทนาและสัญญา
ถ้าไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา จิตก็ไม่มีด้วยเช่นกัน
ส่วนจิตตสังขาร
ถ้าเคยเข้านิโรธสมาบัติ ก็จะรู้ว่าไม่มีสัญญากับเวทนาเป็นยังไง
เป็นสิ่งที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต
เกิดที่เดียวกับจิต
ธรรมเหล่านี้สัมพันธ์กับจิต
สัญญา กับเวทนาจึงชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตไม่ได้มีตัวตน
แม้จะพูดว่าจิตมันเป็นใหญ่ แต่มันก็ต้องมีตัวปรุง
ต้องมีเวทนาและสัญญา
ถ้าไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา จิตก็ไม่มีด้วยเช่นกัน
ส่วนจิตตสังขาร
ถ้าเคยเข้านิโรธสมาบัติ ก็จะรู้ว่าไม่มีสัญญากับเวทนาเป็นยังไง
วิตกวิจารณ์เป็นวจีสังขาร
วิตกวิจารณ์
เห็นแล้ว นึกแล้ว จับอารมณ์แล้ว แค่นี้ยังพูดไม่ได้
ต้องตาม ไหล ใส่สีใส่ไข่ จึงจะพูดได้
วิตกวิจารณ์จึงจัดเป็นวจีสังขาร
คนที่ผ่านการไม่มีเสียงในหัวก็จะตอบได้ดี
พวกเคยผ่านฌาน 2 จะไม่มีวิตกวิจารณ์
จะรู้ว่ามันต่างกันยังไง
ระหว่าง 'มี' กับ 'ไม่มี' เสียงในหัว
เห็นแล้ว นึกแล้ว จับอารมณ์แล้ว แค่นี้ยังพูดไม่ได้
ต้องตาม ไหล ใส่สีใส่ไข่ จึงจะพูดได้
วิตกวิจารณ์จึงจัดเป็นวจีสังขาร
คนที่ผ่านการไม่มีเสียงในหัวก็จะตอบได้ดี
พวกเคยผ่านฌาน 2 จะไม่มีวิตกวิจารณ์
จะรู้ว่ามันต่างกันยังไง
ระหว่าง 'มี' กับ 'ไม่มี' เสียงในหัว
ทำไมลมเป็นกายสังขาร
ลมหายใจเข้า-ออกนี้มันอยู่กับกายนะ
เนื่องด้วยกาย
ลมข้างนอกเขาไม่เรียกลมหายใจนะ
ลมจึงเป็นกายสังขาร
5555
(กำปั้นทุบโต๊ะ ปัง!!!)
สิ่งที่ปรุงแต่งกาย
เนื่องอยู่กับกาย
เปลี่ยนแปลงไปตามกาย
คนที่จะรู้เรื่องพวกนี้ดี
ก็ต้องเคยผ่านการ "ไม่มี" ลมหายใจก่อน
ก็จะเห็นว่า เออ ลมหายใจนี้มันปรุงกายสังขารยังไง
คือถ้าเคยผ่านฌาน 4 จะไม่งง
มันจะรู้ว่า 'มี' กับ 'ไม่มี' ลมหายใจมันต่างกันยังไง
เนื่องด้วยกาย
ลมข้างนอกเขาไม่เรียกลมหายใจนะ
ลมจึงเป็นกายสังขาร
5555
(กำปั้นทุบโต๊ะ ปัง!!!)
สิ่งที่ปรุงแต่งกาย
เนื่องอยู่กับกาย
เปลี่ยนแปลงไปตามกาย
คนที่จะรู้เรื่องพวกนี้ดี
ก็ต้องเคยผ่านการ "ไม่มี" ลมหายใจก่อน
ก็จะเห็นว่า เออ ลมหายใจนี้มันปรุงกายสังขารยังไง
คือถ้าเคยผ่านฌาน 4 จะไม่งง
มันจะรู้ว่า 'มี' กับ 'ไม่มี' ลมหายใจมันต่างกันยังไง
สมาธิ
ความเป็นหนึ่งแห่งจิตนี้เรียกว่าสมาธิ
ถ้าซัดซ่าย กระโดดไปมาตามอารมณ์ 6 นี่เรียกไม่มีสมาธิ
ความเป็นหนึ่งแห่งจิต
ใจก็อยู่ตรงนี้แหละ ไม่ไปสนใจที่อื่น
สนใจอยู่ที่เรียนนี่แหละ
ไม่ได้หมายถึงอยู่ที่เดียว
คืออยู่เรื่องเดียว อยู่ในวงนี้แหละ แล้วแต่พิจารณาอะไรอยู่
เช่น เห็นรูปทางตา ใจก็ยังอยู่กับตัวเอง ไม่ฟุ้งไปทางนั้น
ยินเสียงทางหู ใจก็ยังอยู่กับตัวเอง ไม่ซัดส่ายซอกแซก
เรียกจิตอารมณ์เป็นหนึ่ง
คือเห็นหมานี่ เราก็รู้ว่าเป็นหมา แล้วใจอยู่กับตัวก็ได้นะ อย่างนี้คนมีสมาธิ
ถ้าไม่มีสมาธิ เห็นหมา ก็เป็นหมาไปด้วย 5555
ฟังเสียงนี่ ฟังเสียงชมเสียงด่า ก็ยังอยู่กับตัวเองได้
ยังรู้สึกถึงตัวเองหายใจเข้า-หายใจออก หรือทำกรรมฐานอย่างอื่นก็อยู่กับฐาน
แต่ก็รับรู้เหมือนกัน แต่ใจมันไม่ไปทางโน้น
รับรู้แต่ใจไม่ไปตาม
ถ้าแนบแน่นมากๆ ก็อาจรับรู้ทวารเดียวก็ได้ อันนี้คือเข้าลึก
ถ้าเข้าไม่ลึก ก็สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอก อายตนะทำงานปกติหมด แต่ใจเป็นหนึ่ง
ถ้าแนบแน่นขึ้นไป บางอายตนะก็หยุดทำงาน เหลือแต่ทางใจ เช่นพวกเล่นนิมิต พวกทำอรูปฌาน
และแม้ใจก็มีอารมณ์เยอะแยะ แต่เขาก็รับรู้แต่กรรมฐานของเขา
พวกอรูปนี่ ไม่ได้หลับนะ ตื่นเต็มที่ ยังหมายรู้ ยังมีสัญญา แต่การรับรู้ทางอื่นตัด
เหลือแต่ทางใจ และทางใจนี่ก็เหลือแต่กรรมฐาน
อะไรเป็นสมาธินิมิต
อะไรเป็นเครื่องบอกว่าเป็นสมาธิ
สติปัฏฐาน 4 เป็นนิมิตของสมาธิ
หมายถึงเป็นเหตุของสมาธิ
จิตมันมาโคจรอยู่ในวงกาย - ใจนี่ อันนี้เป็นนิมิต
มาอยู่กับตัวเอง อารมณ์ก็จะเริ่มเป็นหนึ่ง
สมาธิบริขาร
ตัวประคับประคองให้มันอยู่
สัมมัปปธาน
เป็นสมาธิบริขาร
เป็นตัวหนุนให้สมาธิตั้งอยู่นานขึ้น
เพียรปิดกั้นอกุศล
อะไรดูแล้ว เห็นแล้ว ฟังแล้วกิเลสเยอะ ไม่ต้องไปยุ่ง
สมาธิเจริญได้อย่างไร
จะทำยังไงให้สมาธิมันเยอะขึ้น คือสมาธิเป็นผล
ไม่ได้ไปเจริญตัวสมาธิตรงๆ
การทำให้สมาธิเจริญคือ "ทำเยอะๆ 5555"
ทำให้มันคุ้น ทำให้มันเคย
ถ้าซัดซ่าย กระโดดไปมาตามอารมณ์ 6 นี่เรียกไม่มีสมาธิ
ความเป็นหนึ่งแห่งจิต
ใจก็อยู่ตรงนี้แหละ ไม่ไปสนใจที่อื่น
สนใจอยู่ที่เรียนนี่แหละ
ไม่ได้หมายถึงอยู่ที่เดียว
คืออยู่เรื่องเดียว อยู่ในวงนี้แหละ แล้วแต่พิจารณาอะไรอยู่
เช่น เห็นรูปทางตา ใจก็ยังอยู่กับตัวเอง ไม่ฟุ้งไปทางนั้น
ยินเสียงทางหู ใจก็ยังอยู่กับตัวเอง ไม่ซัดส่ายซอกแซก
เรียกจิตอารมณ์เป็นหนึ่ง
คือเห็นหมานี่ เราก็รู้ว่าเป็นหมา แล้วใจอยู่กับตัวก็ได้นะ อย่างนี้คนมีสมาธิ
ถ้าไม่มีสมาธิ เห็นหมา ก็เป็นหมาไปด้วย 5555
ฟังเสียงนี่ ฟังเสียงชมเสียงด่า ก็ยังอยู่กับตัวเองได้
ยังรู้สึกถึงตัวเองหายใจเข้า-หายใจออก หรือทำกรรมฐานอย่างอื่นก็อยู่กับฐาน
แต่ก็รับรู้เหมือนกัน แต่ใจมันไม่ไปทางโน้น
รับรู้แต่ใจไม่ไปตาม
ถ้าแนบแน่นมากๆ ก็อาจรับรู้ทวารเดียวก็ได้ อันนี้คือเข้าลึก
ถ้าเข้าไม่ลึก ก็สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอก อายตนะทำงานปกติหมด แต่ใจเป็นหนึ่ง
ถ้าแนบแน่นขึ้นไป บางอายตนะก็หยุดทำงาน เหลือแต่ทางใจ เช่นพวกเล่นนิมิต พวกทำอรูปฌาน
และแม้ใจก็มีอารมณ์เยอะแยะ แต่เขาก็รับรู้แต่กรรมฐานของเขา
พวกอรูปนี่ ไม่ได้หลับนะ ตื่นเต็มที่ ยังหมายรู้ ยังมีสัญญา แต่การรับรู้ทางอื่นตัด
เหลือแต่ทางใจ และทางใจนี่ก็เหลือแต่กรรมฐาน
อะไรเป็นสมาธินิมิต
อะไรเป็นเครื่องบอกว่าเป็นสมาธิ
สติปัฏฐาน 4 เป็นนิมิตของสมาธิ
หมายถึงเป็นเหตุของสมาธิ
จิตมันมาโคจรอยู่ในวงกาย - ใจนี่ อันนี้เป็นนิมิต
มาอยู่กับตัวเอง อารมณ์ก็จะเริ่มเป็นหนึ่ง
สมาธิบริขาร
ตัวประคับประคองให้มันอยู่
สัมมัปปธาน
เป็นสมาธิบริขาร
เป็นตัวหนุนให้สมาธิตั้งอยู่นานขึ้น
เพียรปิดกั้นอกุศล
อะไรดูแล้ว เห็นแล้ว ฟังแล้วกิเลสเยอะ ไม่ต้องไปยุ่ง
สมาธิเจริญได้อย่างไร
จะทำยังไงให้สมาธิมันเยอะขึ้น คือสมาธิเป็นผล
ไม่ได้ไปเจริญตัวสมาธิตรงๆ
การทำให้สมาธิเจริญคือ "ทำเยอะๆ 5555"
ทำให้มันคุ้น ทำให้มันเคย
ปฏิบัติธรรมอย่าไปปรุงแต่ง?
มักจะได้ยินบ่อยๆ
ปฏิบัติธรรมอย่าไปปรุงแต่งนะ
ข้อความนี้ก็ใช่ คือ อย่าไปปรุงแต่งตามกิเลส
แต่
ต้องปรุงแต่งอริยมรรคนะ
มรรคเป็นสังขตะ
เป็นสิ่งที่ถูกประกอบตามเหตุตามปัจจัย
หรือ "อย่าไปทำ"
อันนี้ต้องเข้าใจดีๆ ว่า หมายถึง อย่าไปทำชั่ว
อย่าไปทำตามตัณหา
ไม่ใช่ไม่ทำอะไร
ปฏิบัติธรรมอย่าไปปรุงแต่งนะ
ข้อความนี้ก็ใช่ คือ อย่าไปปรุงแต่งตามกิเลส
แต่
ต้องปรุงแต่งอริยมรรคนะ
มรรคเป็นสังขตะ
เป็นสิ่งที่ถูกประกอบตามเหตุตามปัจจัย
หรือ "อย่าไปทำ"
อันนี้ต้องเข้าใจดีๆ ว่า หมายถึง อย่าไปทำชั่ว
อย่าไปทำตามตัณหา
ไม่ใช่ไม่ทำอะไร
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ไม่มีอะไรนอกขันธ์ 5
ฉันทะราคะในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5
เรียกว่า อุปาทาน
ทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันอยู่ภายใต้อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 หมดนี่แหละ
แต่ว่าฉันทะราคะในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5
เรียกว่า อุปาทานในขันธ์ 5
(มันอยู่ในนั้นอีกทีนึง)
มันอยู่ในวงกาย-ใจนี่แหละ
แต่จะหยิบอะไรมาพูดเท่านั้น
เหมือนกับคำว่า 'ตัวเรา' นี้ก็เป็นความเห็น
ก็ไม่ได้มีอะไรเกินไปกว่าตัวตนรูปนามกายใจนี้
ความเห็นผิดว่ามีตัวตน ก็ไม่ได้มีอะไรเกินตัวตนนี้
ถ้ามีอัตตา
มันก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในนี้แหละ
ไม่ใช่ว่ามีอัตตาอยู่ต่างหาก และมีขันธ์ 5 อยู่ต่างหาก
ถ้าจะมีจิต
มันก็อยู่ในนี้แหละ
ไม่ใช่มีจิตต่างหาก และมีขันธ์ 5 ต่างหาก
สมมติ ปล่อยวางขันธ์ 5
ใครล่ะเป็นคนปล่อยวางขันธ์ 5
ตอบ...ก็ขันธ์ 5 นั่นแหละ มันไม่มีอะไรเกินขันธ์ 5 หรอก
อะไรที่เกิดนี่ ล้วนไม่เกินกองทุกข์
ผู้รู้จึงใช้คำว่า "นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ"
ตัว "ความรู้สึกปล่อยวาง" นี่
มันก็เป็นของเกิด ใช่/ไม่
ฉะนั้นมันก็คือส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 นี่แหละ
ใครปล่อยวาง
มันก็อยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ
อ่าว แล้วทำไมมันปล่อยกันได้ล่ะ
ว่าไปเรื่อย พวกงง
ถ้ายังงงแบบนี้ แสดงว่ายังมีตัวตนนอกขันธ์ 5 อยู่
อะไรที่เป็นของเกิดเป็นทุกข์ทั้งสิ้น
ความรู้สึกมีตัวมีตน มันก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 นี่แหละ
อยู่ในกฏเดียวกันกับคนอื่นๆ เขานี่แหละ
เรียนขันธ์ทั้ง 5 ให้ดีๆ อะไรเกิดขึ้นอยู่ในวงนี้หมดแหละ
แม้กระทั่งจิต
จิตเกิดขึ้นไปเห็นนิพพาน
จิตมันก็อยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ
นิพพานไม่ใช่ขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ฺของจิต
แต่จิตก็ยังเป็นขันธ์ 5
"จิตเหนือโลก" เป็นคำพูด
แต่จิตจริงๆ ไม่มีเหนือโลกหรอก
เอาอารมณ์มันมาเรียกเฉยๆ คือจิตมันไปเห็นนิพพาน (โลกุตตรจิต)
อันนี้ก็เป็นจิตที่ไม่เป็นอารมณ์อุปาทาน ก็เรียกว่ามันเหนือโลกไป
เรียกว่า อุปาทาน
ทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันอยู่ภายใต้อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 หมดนี่แหละ
แต่ว่าฉันทะราคะในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5
เรียกว่า อุปาทานในขันธ์ 5
(มันอยู่ในนั้นอีกทีนึง)
มันอยู่ในวงกาย-ใจนี่แหละ
แต่จะหยิบอะไรมาพูดเท่านั้น
เหมือนกับคำว่า 'ตัวเรา' นี้ก็เป็นความเห็น
ก็ไม่ได้มีอะไรเกินไปกว่าตัวตนรูปนามกายใจนี้
ความเห็นผิดว่ามีตัวตน ก็ไม่ได้มีอะไรเกินตัวตนนี้
ถ้ามีอัตตา
มันก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในนี้แหละ
ไม่ใช่ว่ามีอัตตาอยู่ต่างหาก และมีขันธ์ 5 อยู่ต่างหาก
ถ้าจะมีจิต
มันก็อยู่ในนี้แหละ
ไม่ใช่มีจิตต่างหาก และมีขันธ์ 5 ต่างหาก
สมมติ ปล่อยวางขันธ์ 5
ใครล่ะเป็นคนปล่อยวางขันธ์ 5
ตอบ...ก็ขันธ์ 5 นั่นแหละ มันไม่มีอะไรเกินขันธ์ 5 หรอก
อะไรที่เกิดนี่ ล้วนไม่เกินกองทุกข์
ผู้รู้จึงใช้คำว่า "นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ"
ตัว "ความรู้สึกปล่อยวาง" นี่
มันก็เป็นของเกิด ใช่/ไม่
ฉะนั้นมันก็คือส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 นี่แหละ
ใครปล่อยวาง
มันก็อยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ
อ่าว แล้วทำไมมันปล่อยกันได้ล่ะ
ว่าไปเรื่อย พวกงง
ถ้ายังงงแบบนี้ แสดงว่ายังมีตัวตนนอกขันธ์ 5 อยู่
อะไรที่เป็นของเกิดเป็นทุกข์ทั้งสิ้น
ความรู้สึกมีตัวมีตน มันก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 นี่แหละ
อยู่ในกฏเดียวกันกับคนอื่นๆ เขานี่แหละ
เรียนขันธ์ทั้ง 5 ให้ดีๆ อะไรเกิดขึ้นอยู่ในวงนี้หมดแหละ
แม้กระทั่งจิต
จิตเกิดขึ้นไปเห็นนิพพาน
จิตมันก็อยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ
นิพพานไม่ใช่ขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ฺของจิต
แต่จิตก็ยังเป็นขันธ์ 5
"จิตเหนือโลก" เป็นคำพูด
แต่จิตจริงๆ ไม่มีเหนือโลกหรอก
เอาอารมณ์มันมาเรียกเฉยๆ คือจิตมันไปเห็นนิพพาน (โลกุตตรจิต)
อันนี้ก็เป็นจิตที่ไม่เป็นอารมณ์อุปาทาน ก็เรียกว่ามันเหนือโลกไป
แพ้
เวลาบ่น
มีตัวตนในคำพูดออกมาเมื่อไร
มันก็เป็นสังขาร มีตัณหาแฝงตัวอยู่
ถึงมันจะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ
น้ำเสียงเสียดสี ประชดประชัน
ก็ถูกหลอกเรียบร้อยแล้ว... จะเห็นแล้วว่าแพ้
แพ้อวิชชา
ปรุงสังขาร หลงว่ามีตัวตนอยู่ในความจำ
มีตัวตนอยู่ในความคิด
เห็นเลยว่าตอนนั้นไม่มีวิหารธรรม
มีตัวตนในคำพูดออกมาเมื่อไร
มันก็เป็นสังขาร มีตัณหาแฝงตัวอยู่
ถึงมันจะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ
น้ำเสียงเสียดสี ประชดประชัน
ก็ถูกหลอกเรียบร้อยแล้ว... จะเห็นแล้วว่าแพ้
แพ้อวิชชา
ปรุงสังขาร หลงว่ามีตัวตนอยู่ในความจำ
มีตัวตนอยู่ในความคิด
เห็นเลยว่าตอนนั้นไม่มีวิหารธรรม
วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
การแปลอนัตตา
= น อัตตา
คำปฏิเสธตัวนั้น เท่านัั้น
คิดว่ามีตัวคุณใช่มั้ย
ไม่มีอันที่ตัวคุณคิดนั่นแหละ
แล้วมีอะไร
ก็มมีอันที่ไม่ใช่ตัวคุณคิดนั่นแหละ
แปลตรงๆ เป็นของเรา ไม่ใช่
เป็นของเราหามิได้ (อันนี้แปลตรงเป๊ะ)
"ถูก หามิได้" ความหมาย ไม่เท่ากับ "ไม่ถูก"
"ไม่ถูก" นี่เป็นอีกขั้วนะ คือ เป็นอะไรสักอย่าง
เราว่ามัน อช้าง คือ ไม่ใช่ช้าง แค่นั้น ความหมายแค่ ปฏิเสธช้าง
ไม่ได้แปลว่า มันเป็นม้า เป็นหมา เป็นแมว
คำปฏิเสธตัวนั้น เท่านัั้น
คิดว่ามีตัวคุณใช่มั้ย
ไม่มีอันที่ตัวคุณคิดนั่นแหละ
แล้วมีอะไร
ก็มมีอันที่ไม่ใช่ตัวคุณคิดนั่นแหละ
แปลตรงๆ เป็นของเรา ไม่ใช่
เป็นของเราหามิได้ (อันนี้แปลตรงเป๊ะ)
"ถูก หามิได้" ความหมาย ไม่เท่ากับ "ไม่ถูก"
"ไม่ถูก" นี่เป็นอีกขั้วนะ คือ เป็นอะไรสักอย่าง
เราว่ามัน อช้าง คือ ไม่ใช่ช้าง แค่นั้น ความหมายแค่ ปฏิเสธช้าง
ไม่ได้แปลว่า มันเป็นม้า เป็นหมา เป็นแมว
ไม่ใช่พูดปลอบกันไปวันๆ
เอ้าเธอ ทุกข์เพราะอะไร ?
ทุกข์เพราะความอยาก
แล้วจะดับทุกข์ยังไง ?
งงละ...ส่วนใหญ่ก็ตอบไป ดับทุกข์ ก็ดับความอยาก
ก็ถูก....แต่ถูกของเขา
"ไม่ถูกอริยสัจ"
คำตอบคือ ต้องเจริญอริยมรรค
หรือเครียด
เครียดเพราะอะไร
เครียดเพราะโกรธ
ทำไงหายเครียด
ก็อย่าไปโกรธ...อันนี้ตอบพลาดแล้ว
ต้องเจริญอริยมรรค
(ถึงไม่อยากจะอยาก ก็อยากอยู่ดี เพราะมันยังไม่ได้เจริญอริยมรรค)
พูดให้ถูก
พูดให้มีทางออก
ไม่ใช่พูดปลอบกันไปวันๆ
ต้องเจริญอริยมรรค
จึงจะหมดทุกข์ หมดภัยอย่างแท้จริง
ทุกข์เพราะความอยาก
แล้วจะดับทุกข์ยังไง ?
งงละ...ส่วนใหญ่ก็ตอบไป ดับทุกข์ ก็ดับความอยาก
ก็ถูก....แต่ถูกของเขา
"ไม่ถูกอริยสัจ"
คำตอบคือ ต้องเจริญอริยมรรค
หรือเครียด
เครียดเพราะอะไร
เครียดเพราะโกรธ
ทำไงหายเครียด
ก็อย่าไปโกรธ...อันนี้ตอบพลาดแล้ว
ต้องเจริญอริยมรรค
(ถึงไม่อยากจะอยาก ก็อยากอยู่ดี เพราะมันยังไม่ได้เจริญอริยมรรค)
พูดให้ถูก
พูดให้มีทางออก
ไม่ใช่พูดปลอบกันไปวันๆ
ต้องเจริญอริยมรรค
จึงจะหมดทุกข์ หมดภัยอย่างแท้จริง
ย้อนเวลากลับมาในอดีต
ลองมองว่า...นี่ก็คือการย้อนเวลากลับมาในอดีต
แล้วก็เจอ
เรื่องเดิมๆ ตัวละครเดิมๆ
เพียงแต่เปลี่ยนชื่อ...
แต่ลักษณะสภาวธรรมเหมือนกันหมด.
มันเป็นฉากละครน้ำเน่าซ้ำๆ ซากๆ
จากสังขารที่เกิดจากตัณหาอันเวทนาที่อวิชชาสัมผัส.
นึกอย่างนี้เห็น
ภาพอย่างนี้ไว้เสมอๆ มันถึงจะฉลาดว่า
นี่ก็กลับมาอยู่ในอดีตอีกแล้ว
มันกลับมาเจอเรื่องเดิมๆ อีกแล้ว
และเคยพลาดมาแล้วครั้งนึง
เคยพลาดมาแล้ว
แล้วก็เจอ
เรื่องเดิมๆ ตัวละครเดิมๆ
เพียงแต่เปลี่ยนชื่อ...
แต่ลักษณะสภาวธรรมเหมือนกันหมด.
มันเป็นฉากละครน้ำเน่าซ้ำๆ ซากๆ
จากสังขารที่เกิดจากตัณหาอันเวทนาที่อวิชชาสัมผัส.
นึกอย่างนี้เห็น
ภาพอย่างนี้ไว้เสมอๆ มันถึงจะฉลาดว่า
นี่ก็กลับมาอยู่ในอดีตอีกแล้ว
มันกลับมาเจอเรื่องเดิมๆ อีกแล้ว
และเคยพลาดมาแล้วครั้งนึง
เคยพลาดมาแล้ว
อยากดับอะไร ดับความไม่รู้สิ่งนั้น
ตัณหานี่มาจากความไม่รู้
ก็ดับทุกข์โดยสำรอกตัณหา
จะดับก็สำรอกอวิชชา
เอาอวิชชาออก
ก็เอาความรู้เข้าไปแทน
จะดับกิเลส จะต้องเอาความไม่รู้รื่องกิเลสออก
จะดับทุกข์ ก็ต้องเอาความไม่รู้เรื่องทุกข์ออก
จะดับหมา ไม่ใช่เอาหมาไปโยนทิ้ง
แต่ดับอิทธิพลจากหมา ละอิทธิพลออกจากชีวิตจิตใจ
ก็มารู้จักมัน
จะดับลูก ก็มารู้จักมัน ทำให้ลูกดับสนิท ไม่มามีอิทธิพลอีก
เป็นแต่นามกับรูป เกิดแต่เหตุปัจจัย
เป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
เราอยากได้อะไรก็ใส่เหตุปัจจัยเข้าไป
พระอริยเจ้าท่านเชื่อในกรรมและผลของกรรมอย่างเต็มที่
และเป็นผู้ที่ทำตามเหตุปัจจัยอย่างเต็มที่
ไม่มีเรื่องอยากได้โดยไร้ประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ก็ดับทุกข์โดยสำรอกตัณหา
จะดับก็สำรอกอวิชชา
เอาอวิชชาออก
ก็เอาความรู้เข้าไปแทน
จะดับกิเลส จะต้องเอาความไม่รู้รื่องกิเลสออก
จะดับทุกข์ ก็ต้องเอาความไม่รู้เรื่องทุกข์ออก
จะดับหมา ไม่ใช่เอาหมาไปโยนทิ้ง
แต่ดับอิทธิพลจากหมา ละอิทธิพลออกจากชีวิตจิตใจ
ก็มารู้จักมัน
จะดับลูก ก็มารู้จักมัน ทำให้ลูกดับสนิท ไม่มามีอิทธิพลอีก
เป็นแต่นามกับรูป เกิดแต่เหตุปัจจัย
เป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
เราอยากได้อะไรก็ใส่เหตุปัจจัยเข้าไป
พระอริยเจ้าท่านเชื่อในกรรมและผลของกรรมอย่างเต็มที่
และเป็นผู้ที่ทำตามเหตุปัจจัยอย่างเต็มที่
ไม่มีเรื่องอยากได้โดยไร้ประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ตัณหา
จักขุวิญญาณเป็นทุกขสัจจ์
รูปภายนอกเป็นทุกขสัจจ์
มันเป็นทุกข์
ทำไมเราไม่เห็นมันเป็นทุกข์
ตัณหามันบัง
ความเพลินทำให้ไม่รู้สึกทุกข์
น่ารัก น่าเอาไปหมด
ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถสรุปได้ ว่าเห็นนี่ รวมลงว่า "สิ่งที่มองเห็น"
ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถสรุปได้ ว่ายินนี่ รวมลงว่า "สิ่งที่ได้ยิน"
รับรู้สักว่ารับรู้
ที่เราไปภพภูมิโน้นนี้
ก็แค่สิ่งที่มองเห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น
แต่ตัณหามันทำให้เพลิน
คนนี้ยังไม่มีธรรม
เราก็พยายามช่วยๆๆๆ ให้มีธรรม
ฟังดูดีนะ
แต่มันก็ได้ขันธ์ 5 มาเรื่อยนี่ไง
แค่แอร์เย็น
แค่อากาศดี
ก็เป็นกามได้แล้ว
เพลินไป
เห็นเด็กน้อย
โอ้โห น่าอุ้ม ... โง่แล้ว
ถ้าสติสมาธิไม่มี
อย่าเพิ่งไปคิดมาก
คิดไปแบบไม่ตั้งมั่น โดนลากอย่างเดียว
ไม่เชื่อลองดู...
คิดไปคิดมา
พิจารณาไปมา
มันยังมี 'ข้อดี' อย่างนี้อยู่นะ .... เรียบร้อย~~~
ภวตัณหา ก็อยากให้เป็นแบบนี้ตลอดไป
วิภวตัณหา อยากให้ขาดไป อยากให้สูญไป
อันนี้มิจฉา เพราะไม่มีอะไรขาดสูญไปเฉยๆ ได้
รูปภายนอกเป็นทุกขสัจจ์
มันเป็นทุกข์
ทำไมเราไม่เห็นมันเป็นทุกข์
ตัณหามันบัง
ความเพลินทำให้ไม่รู้สึกทุกข์
น่ารัก น่าเอาไปหมด
ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถสรุปได้ ว่าเห็นนี่ รวมลงว่า "สิ่งที่มองเห็น"
ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถสรุปได้ ว่ายินนี่ รวมลงว่า "สิ่งที่ได้ยิน"
รับรู้สักว่ารับรู้
ที่เราไปภพภูมิโน้นนี้
ก็แค่สิ่งที่มองเห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น
แต่ตัณหามันทำให้เพลิน
คนนี้ยังไม่มีธรรม
เราก็พยายามช่วยๆๆๆ ให้มีธรรม
ฟังดูดีนะ
แต่มันก็ได้ขันธ์ 5 มาเรื่อยนี่ไง
แค่แอร์เย็น
แค่อากาศดี
ก็เป็นกามได้แล้ว
เพลินไป
เห็นเด็กน้อย
โอ้โห น่าอุ้ม ... โง่แล้ว
ถ้าสติสมาธิไม่มี
อย่าเพิ่งไปคิดมาก
คิดไปแบบไม่ตั้งมั่น โดนลากอย่างเดียว
ไม่เชื่อลองดู...
คิดไปคิดมา
พิจารณาไปมา
มันยังมี 'ข้อดี' อย่างนี้อยู่นะ .... เรียบร้อย~~~
ภวตัณหา ก็อยากให้เป็นแบบนี้ตลอดไป
วิภวตัณหา อยากให้ขาดไป อยากให้สูญไป
อันนี้มิจฉา เพราะไม่มีอะไรขาดสูญไปเฉยๆ ได้
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สักกายะ
ส = ตน
กาย = ที่รวม
สักกาย = ที่รวมที่เรียกว่าตน
ถ้าเรียกเป็นภาษาสมัยนี้ก็ 'ชีวิต'
สักกายะคืออะไร = ภาษายุคนี้ก็จะแปลว่า 'ชีวิตคืออะไร'
แต่ภาษายุคเก่า สักกายะ หมายถึงรูปนาม
แต่ชีวิต (ภาษาเก่า) หมายถึง อัตตา
คำสอนยุคเก่า พระพุทธเจ้าปฏิเสธชีวิตเลย (ไม่ใช่ชีวะ) คือปฏิเสธอัตตา
ดูก่อนวิสาขะ อุปานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "สักกายะ"
ขันธ์ทั้ง 5 อันพระผู้มีพระภาคเรียกว่า "คน"
ตัวเราไม่มี แต่หลายๆ อันมาประชุมรวมกันเป็น "ตัวเรา" ขึ้น
พระอริยะก็รู้จักว่าตัวเรานี่มี แต่มันประชุมกันขึ้น (สักกายะ)
การเรียน "ไม่ใช่ฝึกไม่ให้มีตัวเรา"
แต่ฝึกให้ "รู้จักตัวเรา" ว่ามันเป็นที่ประชุมเฉยๆ
เวลาเรียนอนัตตา
จะชอบไปโผล่ว่า ขันธ์ 5 ไม่มีตัวเรา แต่ไปมีตัวเราไปโผล่อีกที่นึงต่างหาก
ต้องเข้าใจ "มี" ส่วนสุดข้างนึง (อัตตา)
ต้องเข้าใจ "ไม่มี" ส่วนสุดอีกข้าง (นิรัตตา)
อนัตตาอยู่ตรงกลาง
เอ๊ะ ตกลงมีหรือไม่มี เออ ถูกแระ นั่นแหละ 555
กาย = ที่รวม
สักกาย = ที่รวมที่เรียกว่าตน
ถ้าเรียกเป็นภาษาสมัยนี้ก็ 'ชีวิต'
สักกายะคืออะไร = ภาษายุคนี้ก็จะแปลว่า 'ชีวิตคืออะไร'
แต่ภาษายุคเก่า สักกายะ หมายถึงรูปนาม
แต่ชีวิต (ภาษาเก่า) หมายถึง อัตตา
คำสอนยุคเก่า พระพุทธเจ้าปฏิเสธชีวิตเลย (ไม่ใช่ชีวะ) คือปฏิเสธอัตตา
ดูก่อนวิสาขะ อุปานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "สักกายะ"
ขันธ์ทั้ง 5 อันพระผู้มีพระภาคเรียกว่า "คน"
ตัวเราไม่มี แต่หลายๆ อันมาประชุมรวมกันเป็น "ตัวเรา" ขึ้น
พระอริยะก็รู้จักว่าตัวเรานี่มี แต่มันประชุมกันขึ้น (สักกายะ)
การเรียน "ไม่ใช่ฝึกไม่ให้มีตัวเรา"
แต่ฝึกให้ "รู้จักตัวเรา" ว่ามันเป็นที่ประชุมเฉยๆ
เวลาเรียนอนัตตา
จะชอบไปโผล่ว่า ขันธ์ 5 ไม่มีตัวเรา แต่ไปมีตัวเราไปโผล่อีกที่นึงต่างหาก
ต้องเข้าใจ "มี" ส่วนสุดข้างนึง (อัตตา)
ต้องเข้าใจ "ไม่มี" ส่วนสุดอีกข้าง (นิรัตตา)
อนัตตาอยู่ตรงกลาง
เอ๊ะ ตกลงมีหรือไม่มี เออ ถูกแระ นั่นแหละ 555
วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
โน้ตริมน้ำ
- ดับตัณหาด้วยการรู้จักเวทนา ถ้าตัณหามันไม่ปรารภแล้ว มันก็ไม่ก่อกรรมแน่นอน
- มันไปสั่งให้ข้างนอกดับสังขารไม่ได้ แค่ข้างในมันไม่เอามาปรุงเท่านั้นเอง
- ไม่เอาเรื่องกับความปรุงแต่งที่มันไม่จริง (มันว่างเปล่าจากตัวตน). ดังนั้น “ก็ปล่อยโลกไว้ตามเดิม” 5555
- จะตายอยู่แล้ว ความอยากไม่ใช่หน้าที่
หน้าที่คือ "ไม่ปรุงแต่งให้อะไรเป็นอะไร" ต่างหาก เช็คดูว่าพร้อมสลัดคืนหรือเปล่า ยังอยากให้อะไรเป็นอะไรอยู่ไหม? - ความคิดปรุงแต่งนี้มันเป็นโลกของจิตทั้งหมด เป็นเพียงการตั้งชื่อ แล้วมาเล่นกับชื่อ เอาจริงเอาจังกับชื่อ นิพพานไม่ได้ปรุงว่าอะไรเป็นอะไรอีกต่อไปแล้ว เดินออกจากโลกของจิต เดินออกจากโลกแห่งความคิด เดินออกจากโลกแห่งความปรุงแต่ง ออกมาสนใจกับความรู้สึก หรือสภาวะต่างๆ แทน เลิกสนใจความปรุงแต่งที่ไม่จริง
- ผัสสะบังหน้า หลงไปให้ความสำคัญจนต้องโต้ตอบ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ได้ยินเสียงผี
ได้ยินเสียงแต่ละครั้ง
เหมือนได้ยินเสียงผี
อยากพ้นจากเสียงผี
อยากให้มีเสียงอย่างนั้น
ไม่อยากได้ยินเสียงอย่างนี้
ถูกผีหลอกทันที...
ผีอุปาทาน
อุปาทานว่าเสียงเป็นเสียง
อุปาทานว่าเขาเป็นคนพูด
อุปาทานว่าเราเป็นคนได้ยิน
ยึดตัวละคร แล้วก็สร้างเรื่องขึ้นมาในหัว
เหมือนได้ยินเสียงผี
อยากพ้นจากเสียงผี
อยากให้มีเสียงอย่างนั้น
ไม่อยากได้ยินเสียงอย่างนี้
ถูกผีหลอกทันที...
ผีอุปาทาน
อุปาทานว่าเสียงเป็นเสียง
อุปาทานว่าเขาเป็นคนพูด
อุปาทานว่าเราเป็นคนได้ยิน
ยึดตัวละคร แล้วก็สร้างเรื่องขึ้นมาในหัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)