วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปล่อยวางความยึด...ไม่ยึดสักอย่าง?

ลักษณะของทิฏฐิคือ การยึดที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ถือเอาไว้แต่ของไม่เป็นประโยชน์
ยังเห็นว่าจำเป็นต้องเอาไว้

การยึดนี่ถ้ายึดถูก หมายถึง ยึดตรงกับความเป็นจริงเช่น
ยึดว่า คนนี้ เป็นแค่การประชุมของขันธ์ 5
อยากยึดอย่างงี้ยึดไป ไม่เป็นไร

หรือมายึดว่า อาจารย์นี่เชื่อใจไม่ได้หรอก
อย่างนี้จะยึดก็ยึดไปเลย
คือมันสอดคล้องความจริง

แต่ถ้ายึดผิด
ผิดคือ ไม่สอดคล้องความจริง

บางทีจะได้ยิน ปฏิบัตินี้ต้องปล่อยวาง
ไม่ยึดสักอย่าง
มันไม่ได้นะ...

"ปล่อยวางความยึด" นี่เป็นคำพูดเฉยๆ
จริงๆ คือปล่อยอันเลวๆ
พอปล่อยอันเลวๆ แล้ว อันดีๆ มันก็ยังอยู่
แต่ที่ไปยึดดีนี่ "มันเลว" พอเราปล่อยแล้ว มันก็ยังดีเหมือนเดิม ^_^
คราวนี้ดีแบบไม่มีเลวเกี่ยว
จบ

อันไหนที่รู้ถูกแล้ว
ก็รู้ไป ถูกแล้วก็ถูกไป
ไม่ใช่ปล่อยเละเทะทุกเรื่อง

ที่ไม่มีจุดยืนเพราะไม่เข้าใจอันนี้
พอบอกว่าปล่อย มันก็ปล่อย
จริงๆ คำว่า "ปล่อย" นี่ หมายถึง ปล่อยอันที่มันผิดเท่านั้น !

ไอ้ปล่อยสะเปะสะปะนั่นไม่ใช่ไม่ยึด
แต่เป็นยึดจะเอาแต่ใจตัวเอง

บางคนเขาว่า
"โห ถ้าไปทำตามอย่างเคร่งครัด อย่างนี้มันยึดน่ะสิ เป็นคนใจแคบนะนี่"
อันที่จริงถ้าเราเป็นทำตามเคร่งครัดได้นี่ใจกว้างมากนะ
ถ้าเราใจแคบ เราก็จะทำตามใจ อยากทำไรก็ทำ

ของเป็นประโยชน์ต้องถือไว้
ไม่ใช่ไปวาง วางสิ่งไม่ควรวางเรียก "โง่" นะ
อะไรจำเป็นต้องใช้ เสือกไปวาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น