"ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง"
สพฺพํ ธมฺมํ อภิญฺญาย สพฺพํ ธมฺมํ ปริชานาติ
รู้รอบ (ปริชานาติ)
หมายถึง รู้โดยละเอียดลงไป
เช่น อภิชานาติ คือรู้ขันธ์ รู้ว่ารูปเป็นรูป
ปริชานาติ คือรู้ลึกลงไปถึงธรรมชาติของรูปนั้น ว่าไม่เที่ยง
แล้วมันไม่เที่ยงเพราะอะไร ก็เพราะมันเกิดมันดับ
รู้ด้วยว่าทำไมมันเกิดดับ ก็เพราะมันเกิดจากปัจจัยอันหลากหลาย
และปัจจัยก็ล้วนไม่เที่ยง ตัวมันที่เกิดจากปัจจัยจึงไม่เที่ยง
อภิชานาติ (เต็มๆ จะต้องแปลว่า รู้ยิ่ง (โยค ด้วยญาตปริญญา เข้ามาแปลด้วย คำแปลจึงจะสมบูรณ์))
จะเป็นลักษณะของ ญาตปริญญา
คือรู้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร
เห็นตัวธรรม เห็นสภาวะว่าแต่ละตัวเป็นอย่างไร
ปริชานาติ (เต็มๆ จะต้องแปลว่า รอบรู้ (โยค ด้วยตีรณปริญญา เข้ามาแปลด้วย คำแปลจึงจะสมบูรณ์))
จะเป็นลักษณะของ ตีรณปริญญา
วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ความหมายของ อภิชานาติ
แปลตรงๆ รู้ยิ่ง
รู้ยิ่งคือ รู้เฉพาะด้วยตนเอง
ไม่ใช่ว่ารู้จากไปฟังใครมา
คำว่า ยิ่ง นี่มาจาก อภิ
อภิ ในที่นี้ มีความหมายเท่ากับ สยํ
รู้ยิ่งคือ รู้เฉพาะด้วยตนเอง
ไม่ใช่ว่ารู้จากไปฟังใครมา
คำว่า ยิ่ง นี่มาจาก อภิ
อภิ ในที่นี้ มีความหมายเท่ากับ สยํ
ความหมายของ อัจจันตะ (อจฺจนฺต)
มาจาก อติ (ยิ่ง เกิน ล่วง) + อันตะ (ส่วน)
แปลตรงๆ = ล่วงส่วน
อธิบายว่า ส่วน หมายถึง โลก
คือมีส่วนนี้แล้วก็มีส่วนนั้น
กิเลสทำให้แบ่งเป็นส่วน
ดี-ชั่ว
ถูก-ผิด
เสื่อม-เจริฐ
ล่วงส่วน จึงหมายถึง นิพพาน
เลยขอบเขตของ
ดี-ชั่ว
ถูก-ผิด
เสื่อม-เจริฐ
แปลตรงๆ = ล่วงส่วน
อธิบายว่า ส่วน หมายถึง โลก
คือมีส่วนนี้แล้วก็มีส่วนนั้น
กิเลสทำให้แบ่งเป็นส่วน
ดี-ชั่ว
ถูก-ผิด
เสื่อม-เจริฐ
ล่วงส่วน จึงหมายถึง นิพพาน
เลยขอบเขตของ
ดี-ชั่ว
ถูก-ผิด
เสื่อม-เจริฐ
444
3 หมวดต้นของโพธิปักฯ เป็นพื้นฐานของการฝึกจิต
เรียกว่าเป็นสิ่งที่มีเป็นปกติในจิต
จึงเหมาะแก่การฝึกโพชฌงค์ต่อไป
ถ้าฝึกแล้วไม่มี 3 หมวดนี้ แปลว่าฝึกมายังใช้ไม่ได้
พระพุทธเจ้าเวลาตรวจจะตรวจอินทรีย์เลย
วิธีดูแรกๆ
ตอนฝึกไม่เป็นอินทรีย์ - นิวรณ์จะเป็นใหญ่ ใหญ่พอที่จะใก้เลิกปฏิบัติได้
แต่ถ้าฝึกถูกต้องจิตจะควรต่อการงาน
ควรต่อการงานคือ นิวรณ์หลอกจิตไม่ได้
สิ่งที่มาเป็นใหญ่แทนคือ อินทรีย์
ง่วงก็ง่วงไป ฉันก็จะทำความเพียร
เชื่อพระพุทธเจ้า
444 เป็นธรรมชุดชำระจิต เป็นชุดฝึกสมาธิ
บางคนทำมาแล้วเยอะ
เมื่อ เอานิวรณ์ออกไปกำลังจิตก็ทำงานต่อได้ทันที
อันนี้คืออินทรีย์แก่กล้า
ฉะนั้นดูกิเลสไม่ได้ ที่เห็นเลวๆ เพราะนิวรณ์ครอบอยู่
เรียกว่าเป็นสิ่งที่มีเป็นปกติในจิต
จึงเหมาะแก่การฝึกโพชฌงค์ต่อไป
ถ้าฝึกแล้วไม่มี 3 หมวดนี้ แปลว่าฝึกมายังใช้ไม่ได้
พระพุทธเจ้าเวลาตรวจจะตรวจอินทรีย์เลย
วิธีดูแรกๆ
ตอนฝึกไม่เป็นอินทรีย์ - นิวรณ์จะเป็นใหญ่ ใหญ่พอที่จะใก้เลิกปฏิบัติได้
แต่ถ้าฝึกถูกต้องจิตจะควรต่อการงาน
ควรต่อการงานคือ นิวรณ์หลอกจิตไม่ได้
สิ่งที่มาเป็นใหญ่แทนคือ อินทรีย์
ง่วงก็ง่วงไป ฉันก็จะทำความเพียร
เชื่อพระพุทธเจ้า
444 เป็นธรรมชุดชำระจิต เป็นชุดฝึกสมาธิ
บางคนทำมาแล้วเยอะ
เมื่อ เอานิวรณ์ออกไปกำลังจิตก็ทำงานต่อได้ทันที
อันนี้คืออินทรีย์แก่กล้า
ฉะนั้นดูกิเลสไม่ได้ ที่เห็นเลวๆ เพราะนิวรณ์ครอบอยู่
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
จิตตะ
ตรวจดู ชำระดูว่า
อะไรที่ทำให้เราไม่ได้สมาธิ
ความดีอะไรที่ยังไม่ค่อยมี
ไปหัดซะ
อะไรไม่เหมาะเอาออกไปซะ
รวมๆ แล้ว สมาธิก็ต้องใช้ทั้งฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสามานั่นแหละ
อะไรที่ทำให้เราไม่ได้สมาธิ
ความดีอะไรที่ยังไม่ค่อยมี
ไปหัดซะ
อะไรไม่เหมาะเอาออกไปซะ
รวมๆ แล้ว สมาธิก็ต้องใช้ทั้งฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสามานั่นแหละ
ปธานสังขาร
แปล การปรุงแต่งตามหลักสัมมัปปธาน
ฉะนั้นไม่ใช่ไม่ปรุงแต่ง
ทำสมาธิอย่าไปปรุงแต่ง
เป็นคำพูดที่ไม่ถูก
จะได้สมาธิต้องปรุงแต่ง แต่ต้องปรุงแต่งให้ถูก
ต้องทำแบบปธานสังขาร
ปรุงตั้งแต่ท่าทาง สถานที่ ความคิดนึก่อนนั่ง
ดังนั้นอย่าไปปรุงแต่งคือ อย่าไปปรุงแต่งฝ่ายไม่ดี
ฉะนั้นไม่ใช่ไม่ปรุงแต่ง
ทำสมาธิอย่าไปปรุงแต่ง
เป็นคำพูดที่ไม่ถูก
จะได้สมาธิต้องปรุงแต่ง แต่ต้องปรุงแต่งให้ถูก
ต้องทำแบบปธานสังขาร
ปรุงตั้งแต่ท่าทาง สถานที่ ความคิดนึก่อนนั่ง
ดังนั้นอย่าไปปรุงแต่งคือ อย่าไปปรุงแต่งฝ่ายไม่ดี
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ฐิตาว สา ธาตุ
ธาตุนั้นเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วนั่นเทียว
ธาตุในที่นี้หมายถึง
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง นี่แหละ
ธาตุในที่นี้หมายถึง
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง นี่แหละ
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
อิทัปปัจจยตา
ใช้กับได้ทั้งภายในภายนอก
ได้กับหลายเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาท
ใช้ในความหมายแคบ
หมายถึงการเชื่อมโยงของ 12 อย่าง
ด้วยการเชื่อมต่อ 11 เท่านั้น
ท่านจึงไม่ได้ให้เรียนทั้งหมด
ให้เรียนเฉพาะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท
ใช้กับได้ทั้งภายในภายนอก
ได้กับหลายเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาท
ใช้ในความหมายแคบ
หมายถึงการเชื่อมโยงของ 12 อย่าง
ด้วยการเชื่อมต่อ 11 เท่านั้น
ท่านจึงไม่ได้ให้เรียนทั้งหมด
ให้เรียนเฉพาะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
รวมคำพูด(ชวนเข้าใจ)ผิด
อย่าไปปรุงแต่งเลย
- ใหม่ๆ พูดได้ เพราะความคิดเลอะเทอะเยอะ
- ในขั้นสูงขึ้นไป ไม่ควรพูด เพราะอริยมรรคก็เป็นสังขารที่ต้องถูกปรุงขึ้น
- ที่ควรพูดคือ อย่าไปปรุงแต่งเลวๆ
ใจแคบคิดจะไปนิพพาน ไม่ช่วยผู้อื่น
- เราอยากให้คุณมีความสุข แต่เรารู้ว่าความสุขนั้นย่อมเป็นไปตามกรรม คุณต้องทำดีเอาเอง
- คิดดี ตัวเองก็มีความสุข คนอื่นก็มีความสุขไปด้วย "ไม่ใช่เพื่อผู้อื่น" แต่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น
- การทำให้ถูกต้องนั้นเป็นปฏิปทาเพื่อตนไปนิพพาน แต่ไม่ใช่เพื่อผู้อื่น
- วิธีจะช่วยผู้อื่นคือช่วยให้เขาช่วยตัวเอง เพราะเราไม่ได้อยู่ช่วยใครตลอดไป การออกไปจากเขา ไม่ไปสุขไปทุกข์กับเขาเป็นการช่วยเขาที่ดีที่สุด สมมติท่านเศร้าโศกอยู่ ท่านจะไปหาใครระหว่างคนเศร้าโศกไปด้วยกัน หรือคนไม่เศร้าโศก
- ออกจากโลกจึงช่วยโลกได้ดีที่สุด ไม่ติดข้องกับเขา จึงจะช่วยเขาได้ดีที่สุด นี่คือเนกขัมมะสังกัปะ
- "อยู่กันเหมือนปศุสัตว์หรือจึงไม่พูดกัน?" พระพุทธเจ้ากล่าว
- ถ้าจะงดพูดก็ต้องรู้ว่าเป็นการฝึก เป็นการขัดเกลาอะไรก็ว่าไป แต่ต้องรู้ว่าการงดพูดนั้นไม่ใช่สัมมาวาจา
- สัมมาวาจาที่แล้วจริง คือการทำฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาแทนที่ด้วยปัญญา
- ที่ถูกคือ เข้าใจได้ แต่ยาก
- ผิดเพราะกรรมเป็นสังขาร
- กฎของกรรม ก็จะอยู่ใต้กฏสังขารอีกต่อหนึ่ง
- ฉะนั้น ทำดีได้ดี ไม่แน่ ทำชั่วได้ชั่ว ไม่แน่
- นี่ก็ไม่แน่
- ไม่เที่ยงยังหมายถึง แต่เดิมไม่มี แล้วมามีขึ้นด้วย
อริยสาวกกับการรวมองค์มรรค
ในมรรคข้อ 5 สัมมาอาชีโว
ตัตถะ กะตะโม สัมมาอาชีโว,
อิธะ อะริยะสาวโก มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ,
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
อะยัง วุจจะติ สัมมาอาชีโว
มีกล่าวถึงว่า
บรรดาองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร,
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว,
สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ,
นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ
มรรค 4 ข้อเบื้องต้นไม่ได้กล่าวแจกแจงถึงใคร
แต่มรรคข้อนี้ระบุว่า "อริยสาวก"
ความหมายคือ
ตัตถะ กะตะโม สัมมาอาชีโว,
อิธะ อะริยะสาวโก มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ,
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
อะยัง วุจจะติ สัมมาอาชีโว
มีกล่าวถึงว่า
บรรดาองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร,
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว,
สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ,
นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ
มรรค 4 ข้อเบื้องต้นไม่ได้กล่าวแจกแจงถึงใคร
แต่มรรคข้อนี้ระบุว่า "อริยสาวก"
ความหมายคือ
- ถ้าปรารถนาพุทธภูมิ มรรคจะไม่รวม
- ถ้าปรารถนาปัจเจก มรรคจะไม่รวม
- ถ้าปรารถนาจะบรรลุในพระพุทธเจ้าองค์อื่น มรรคจะไม่รวม
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วาระที่ความเห็นยังผิดอยู่
วาระที่ความเห็นยังผิดอยู่ ปลายปี 2562
- กามราคะ 肌肤之亲
- คิดเปรียบเทียบแล้วอิจฉา ความเป็นที่รัก ความเป็นคนโปรด
- ในสถานการณ์ใหม่ จะปรากฏมารยาเด็ก
- ความไม่ขอ ไม่อยากขอ ไม่ชอบขอ ไม่ยอมขอ
- ความกลับเข้าสู่ความหดหู่และเห็นมันเป็น default state
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ศรัทธาเยอะจะงมงาย? ปัญญาเยอะจะหัวแข็ง?
พวกคำเตือนในการปรับอินทรีย์ที่ได้ยินบ่อยๆ
ระวังนะ...ศรัทธาเยอะไปจะงมงายนะ
ระวังนะ...ปัญญามากๆ จะหัวแข็ง
ระวังนะ...สมาธิเยอะๆ จะขี้เกียจ
ระวังนะ...เพียรเกินไปจะฟุ้งซ่าน
ต่างกรรมต่างวาระ
ถ้าอินทรีย์ยังไม่สมดุล มือใหม่ ฝึกใหม่
คำเหล่านี้คือคำเตือน เป็นจุดสังเกตให้คอยดูเผื่อเผลอเข้าใจผิดไปว่าทำถูกต้องแล้ว
แต่ถ้าผู้ฝึกมาโดยถูกต้องแล้ว...ยิ่งเยอะยิ่งดี
1) ทำให้ถูก (เสียก่อน)
2) (จากนั้น) ทำให้พอ
---
ปัญญาเยอะจะหัวแข็ง
ป่าว หัวแข็งไม่ใช่เพราะปัญญา แต่ทิฏฐิตะหาก
และเป็นตัวบอกว่า โดนหลอกแล้ว
เป็นกิเลส เป็นทิฏฐิไปแล้ว
ศรัทธายิ่งเยอะยิ่งดี...ถูกแล้ว
ไอ้คำว่า "ระวังศรัทธาเยอะไปนะ เดี๋ยวงมงาย"
เขาเอาไว้เตือนพวกงมงายเฉยๆ เอาไว้เตือนพวกคนใหม่
แต่ถ้าศรัทธาถูกแล้ว ยิ่งเยอะยิ่งดี !!!
นึกว่าเป็นสมาธิแต่ง่วงหงาวหาวนอน
อันนี้ไม่ใช่สมาธิแล้ว
ไม่มีศักยภาพในการรับรู้ สมาธิคือศักยภาพในการรับรู้
นึกว่าเป็นความเพียร
แต่ฟุ้งไปเรื่อย
อันนี้ก็ผิดไปแล้ว
แต่ถ้าความเพียรถูกแล้ว "ยิ่งเยอะยิ่งดี"
ระวังนะ...ศรัทธาเยอะไปจะงมงายนะ
ระวังนะ...ปัญญามากๆ จะหัวแข็ง
ระวังนะ...สมาธิเยอะๆ จะขี้เกียจ
ระวังนะ...เพียรเกินไปจะฟุ้งซ่าน
ต่างกรรมต่างวาระ
ถ้าอินทรีย์ยังไม่สมดุล มือใหม่ ฝึกใหม่
คำเหล่านี้คือคำเตือน เป็นจุดสังเกตให้คอยดูเผื่อเผลอเข้าใจผิดไปว่าทำถูกต้องแล้ว
แต่ถ้าผู้ฝึกมาโดยถูกต้องแล้ว...ยิ่งเยอะยิ่งดี
1) ทำให้ถูก (เสียก่อน)
2) (จากนั้น) ทำให้พอ
---
ปัญญาเยอะจะหัวแข็ง
ป่าว หัวแข็งไม่ใช่เพราะปัญญา แต่ทิฏฐิตะหาก
และเป็นตัวบอกว่า โดนหลอกแล้ว
เป็นกิเลส เป็นทิฏฐิไปแล้ว
ศรัทธายิ่งเยอะยิ่งดี...ถูกแล้ว
ไอ้คำว่า "ระวังศรัทธาเยอะไปนะ เดี๋ยวงมงาย"
เขาเอาไว้เตือนพวกงมงายเฉยๆ เอาไว้เตือนพวกคนใหม่
แต่ถ้าศรัทธาถูกแล้ว ยิ่งเยอะยิ่งดี !!!
นึกว่าเป็นสมาธิแต่ง่วงหงาวหาวนอน
อันนี้ไม่ใช่สมาธิแล้ว
ไม่มีศักยภาพในการรับรู้ สมาธิคือศักยภาพในการรับรู้
นึกว่าเป็นความเพียร
แต่ฟุ้งไปเรื่อย
อันนี้ก็ผิดไปแล้ว
แต่ถ้าความเพียรถูกแล้ว "ยิ่งเยอะยิ่งดี"
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
อริยสัจตามลำดับ
วิธีของพระพุทธเจ้าคือ
เห็นความเกิด เห็นความดับของสิ่งต่างๆ
เห็นความเกิดความดับแล้วจะได้ละสมุทัย
จึงจะถึงนิโรธภายหลัง
เป็นตามลำดับอย่างนี้
การกระโดดข้ามจากรู้ทุกข์
พาไปนิพพานเลย
มันก็ไม่ใช่ จะบัญญัติอะไรมามันก็ไม่ใช่นิพพานอยู่ดี
พระพุทธเจ้ากำหนดให้รู้ทุกข์ เพื่อให้แจ้งนิพพานนั่นแหละ
แต่มันต้องผ่านไปโดยกำหนดรู้และยอมรับทุกข์ก่อน (1)
แล้วก็เห็นสมุทัย แล้วละสมุทัย (2)
จึงแจ้งนิโรธ (3)
ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวพาเข้า-พาออกนิพพาน
เห็นความเกิด เห็นความดับของสิ่งต่างๆ
เห็นความเกิดความดับแล้วจะได้ละสมุทัย
จึงจะถึงนิโรธภายหลัง
เป็นตามลำดับอย่างนี้
การกระโดดข้ามจากรู้ทุกข์
พาไปนิพพานเลย
มันก็ไม่ใช่ จะบัญญัติอะไรมามันก็ไม่ใช่นิพพานอยู่ดี
พระพุทธเจ้ากำหนดให้รู้ทุกข์ เพื่อให้แจ้งนิพพานนั่นแหละ
แต่มันต้องผ่านไปโดยกำหนดรู้และยอมรับทุกข์ก่อน (1)
แล้วก็เห็นสมุทัย แล้วละสมุทัย (2)
จึงแจ้งนิโรธ (3)
ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวพาเข้า-พาออกนิพพาน
วาทะนอกศาสนา และการมองให้เป็นทุกข์
บรรดาวาทะนอกศาสนา
วาทะว่า
‘ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว อัตภาพนี้ก็ไม่พึงมี
แก่เรา ถ้าเราจักไม่มี
ความกังวลอะไรจักไม่มีแก่เรา’
นี้เป็นเลิศ
---
อัตตานี้เป็นเพียงวาทะ เป็นเพียงบัญญัติ เป็นแค่คำพูดคน
ผู้ภาวนาไม่ได้มีหน้าที่ไปยุ่งอะไรกับมัน
เช่น พูดว่า "นางสาวเอ" เนี่ย มันก็เป็นแค่บัญญัติ
ไม่ต้องไปบอกว่า "นางสาวเอ" ไม่มี๊~~~ แม่นางสาวเอก็ไม่มี
จะไปพูดมันทำอะไร !!!
ก็มันเป็นแค่บัญญัติ จะไป "มี" "ไม่มี" ทำอะไร
ก็ข้ามบัญญัติไปเสีย
ตัวตน-ไม่ตัวตน นี่ก็แค่สมมติเฉยๆ เอาไว้ใช้สื่อสาร
มองทะลุนางสาวเอไป ให้เห็นธาตุ 4 เห็นขันธ์ 5
มองให้เห็นทุกขสัจ
ทำอะไรก็ต้องมองให้มันเป็นทุกข์ให้ได้
ทำยังไงให้มันเป็นทุกข์ล่ะ?
วิธีฝึกมอง
ก็กำหนดให้มันเป็นขันธ์ 5 ให้ได้ก่อน
แล้วมันจะเป็นทุกข์ยังไง มันต้องไม่เที่ยงให้ได้
เพราะสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ! (ต้องจำแม่นๆ)
อะไรโผล่มาจะต้องกำหนดให้มันเป็นทุกข์
ถ้าไม่เห็น...จะต้องกำหนดให้มันเป็นขันธ์ 5
มันจะต้องเป็น 1 ในขันธ์ 5 นั่นแหละ
ถ้าไม่ใช่ขันธ์ 5 มันจะโผล่มาไม่ได้หรอก
ต้องชัดเจน
ทีนี้ต้องให้มันเป็นทุกข์ให้ได้
ก็ต้องบอกว่า 'มันไม่เที่ยง'
จะทำยังไงให้มันไม่เที่ยง - นี่เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจไว้เสมอ
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
อภิภายตนะ
ครอบอารมณ์ อะไรเกิดขึ้นครอบทับไปเลย เรียก อภิภายตนะ
เปลี่ยนอารมณ์
ก็ทำได้ด้วยการเปลี่ยนสัญญา
อะไรเกิดขึ้นครอบทับเลย
เวทนาแรงๆ เปลี่ยนช่องเลย
เปลี่ยนอารมณ์
ก็ทำได้ด้วยการเปลี่ยนสัญญา
อะไรเกิดขึ้นครอบทับเลย
เวทนาแรงๆ เปลี่ยนช่องเลย
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
情感是真的 - 是因为 (以为) "他 (它)" 也是真的
情感永远是真的
没有人能否认情感
而你是想回头
是因为你想确认
他也是真的对不对?
可见
你除了在意自己的情感是真的
你还会在意这件事情到底是不是真的
没有人能否认情感
而你是想回头
是因为你想确认
他也是真的对不对?
可见
你除了在意自己的情感是真的
你还会在意这件事情到底是不是真的
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
เป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย
เป็นอยู่อย่างไม่ขึ้นต่ออะไร
ไม่ต้องฝากความสุขไว้กับตัณหาและทิฏฐิ
ตัณหาทิฏฐิ มาช่วยวาดภาพระบายสีให้เคลิ้มไป
เราก็สุขทุกข์เต้นไปตามมัน
เป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย
เป็นอยู่อย่างไม่ขึ้นต่ออะไร
ไม่ต้องฝากความสุขไว้กับตัณหาและทิฏฐิ
ตัณหาทิฏฐิ มาช่วยวาดภาพระบายสีให้เคลิ้มไป
เราก็สุขทุกข์เต้นไปตามมัน
รู้ตามเป็นจริงอย่างนี้เพื่ออะไร
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ.
อนึ่งสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ (คือกายมีอยู่ ไม่ใช่นาย ก.มีอยู่)
เห็นเป็นธรรมชาติล้วนๆ อย่างที่ว่า "เห็นแต่ธรรมท.เป็นไป" คือเห็นแต่รูปธรรม-นามธรรมเป็นไป
การรู้เช่นนี้ คือรับรู้สิ่งนั้นตามเป็นจริง ที่เป็นอย่างนั้นของมัน
โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติ และความมั่นหมายต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ.
เพียงสักว่าเป็นที่รู้ เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
ท่านว่าเพียงเพื่อญาณ และเพื่อสติ
เพื่อเป็นข้อมูลความจริงสำหรับเข้าใจ และระลึกใช้ประโยชน์
ประโยชน์ก็คือว่า สิ่งเหล่านี้เข้ามาสู่เราในฐานะข้อมูลความจริง
รู้เข้าใจแล้วสามารถระลึกใช้ประโยชน์
ยิ่งเข้าใจชัดเจน ยิ่งระลึกใช้ประโยชน์ได้มาก
นี่คือการรับรู้ที่ถูกต้อง (รับรู้ naked fact)
ข้อมูลที่รับเข้ามาจะใช้ประโยช์ได้จริง
ตามความมุ่งหมายของการรับรู้นั้น
ไม่เข้ามาในลักษณะละเมอเพ้อพกก่อให้เกิดความทุกข์
อนึ่งสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ (คือกายมีอยู่ ไม่ใช่นาย ก.มีอยู่)
เห็นเป็นธรรมชาติล้วนๆ อย่างที่ว่า "เห็นแต่ธรรมท.เป็นไป" คือเห็นแต่รูปธรรม-นามธรรมเป็นไป
การรู้เช่นนี้ คือรับรู้สิ่งนั้นตามเป็นจริง ที่เป็นอย่างนั้นของมัน
โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติ และความมั่นหมายต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ.
เพียงสักว่าเป็นที่รู้ เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
ท่านว่าเพียงเพื่อญาณ และเพื่อสติ
เพื่อเป็นข้อมูลความจริงสำหรับเข้าใจ และระลึกใช้ประโยชน์
ประโยชน์ก็คือว่า สิ่งเหล่านี้เข้ามาสู่เราในฐานะข้อมูลความจริง
รู้เข้าใจแล้วสามารถระลึกใช้ประโยชน์
ยิ่งเข้าใจชัดเจน ยิ่งระลึกใช้ประโยชน์ได้มาก
นี่คือการรับรู้ที่ถูกต้อง (รับรู้ naked fact)
ข้อมูลที่รับเข้ามาจะใช้ประโยช์ได้จริง
ตามความมุ่งหมายของการรับรู้นั้น
ไม่เข้ามาในลักษณะละเมอเพ้อพกก่อให้เกิดความทุกข์
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ดิน น้ำ ลม ไฟ
ดิน Extension
น้ำ Cohesion
ลม Vibration
ไฟ Heat
ทั้ง 4 เป็นส่วนของรูปขันธ์
รูป ไม่ใช่แค่หมายถึงเนื้อวัตถุ
แต่หมายถึง ส่วนประกอบของอาการทั้งหมดของมัน
ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของมันด้วย
ลักษณะอาการ ความเป็นไปของวัตถุ
น้ำ Cohesion
ลม Vibration
ไฟ Heat
ทั้ง 4 เป็นส่วนของรูปขันธ์
รูป ไม่ใช่แค่หมายถึงเนื้อวัตถุ
แต่หมายถึง ส่วนประกอบของอาการทั้งหมดของมัน
ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของมันด้วย
ลักษณะอาการ ความเป็นไปของวัตถุ
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ตั้งมั่น
สมาธิ เป็นศักยภาพในการรับอารมณ์
ไม่ใช่ศักยภาพในการหนีอารมณ์
อารมณ์ดีก็รับได้ โดนด่าก็รับได้
เมื่อรับอารมณ์อย่างนี้ได้ จึงรับปัญญาได้
สามารถสังเกตได้ว่าสุขก็ไม่เที่ยง
ไม่ใช่ศักยภาพในการหนีอารมณ์
อารมณ์ดีก็รับได้ โดนด่าก็รับได้
เมื่อรับอารมณ์อย่างนี้ได้ จึงรับปัญญาได้
สามารถสังเกตได้ว่าสุขก็ไม่เที่ยง
นิพพานมีอยู่
นิพพานมีอยู่จริง ไม่ได้มีอยู่ลอยๆ
มีจริงในฐานะที่เชื่อมต่อกับจิตเราได้ ถ้าจิตเราพร้อมก็เชื่อมต่อได้
เป็นแบบอายตนะ
...อายตนะนั้นมีอยู่
ความหมายคือ มีอยุ่ในฐานะที่สามารถเชื่อมกับจิตได้ (อายตนะ)
อายตนะนิพพาน ไม่มี
แต่นิพพาน เป็นอายตนะ คือสามารถเชื่อมกับวิญญาณได้
นิพพานเป็นอัตตา?
ตอบ ไม่เป็น
อัตตานั้นใช้กับสมมติ ใช้เพียงระดับขันธ์เท่านั้นเอง
เช่น ขันธ์ 5 มาประกอบรวมกัน สมมติว่าตัวตนก็เลยมี
คำว่า อัตตา หรืออนัตตานั้น เอาไว้แก้ความเห็นผิดเรื่องขันธ์ 5 เท่านั้น
อัตตานี่มันใกล้กับขันธ์
ขันธ์มาผสมกันเมื่อไร มีแนวโน้มที่จะเกิดยึดถือ "อัตตา" ขึ้น
แต่ถ้าขันธ์ไม่ผสมก็จะไม่เกิด
เรื่องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เอามาแค่พิจารณาขันธ์ 5 ก็พอแล้ว ให้เลิกยึดถือ
จริงๆ แค่พิจารณาธาตุ 4 นี่อัตตาก็หายแล้ว ไม่รู้จะเอาอัตตาไปไว้ตรงไหน
พื้นๆ ขนาดนี้ยังหาย
ยิ่งละเอียดขึ้นไป ถึงระดับนิพพานยิ่งเรียกว่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอัตตา
มีจริงในฐานะที่เชื่อมต่อกับจิตเราได้ ถ้าจิตเราพร้อมก็เชื่อมต่อได้
เป็นแบบอายตนะ
...อายตนะนั้นมีอยู่
ความหมายคือ มีอยุ่ในฐานะที่สามารถเชื่อมกับจิตได้ (อายตนะ)
อายตนะนิพพาน ไม่มี
แต่นิพพาน เป็นอายตนะ คือสามารถเชื่อมกับวิญญาณได้
นิพพานเป็นอัตตา?
ตอบ ไม่เป็น
อัตตานั้นใช้กับสมมติ ใช้เพียงระดับขันธ์เท่านั้นเอง
เช่น ขันธ์ 5 มาประกอบรวมกัน สมมติว่าตัวตนก็เลยมี
คำว่า อัตตา หรืออนัตตานั้น เอาไว้แก้ความเห็นผิดเรื่องขันธ์ 5 เท่านั้น
อัตตานี่มันใกล้กับขันธ์
ขันธ์มาผสมกันเมื่อไร มีแนวโน้มที่จะเกิดยึดถือ "อัตตา" ขึ้น
แต่ถ้าขันธ์ไม่ผสมก็จะไม่เกิด
เรื่องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เอามาแค่พิจารณาขันธ์ 5 ก็พอแล้ว ให้เลิกยึดถือ
จริงๆ แค่พิจารณาธาตุ 4 นี่อัตตาก็หายแล้ว ไม่รู้จะเอาอัตตาไปไว้ตรงไหน
พื้นๆ ขนาดนี้ยังหาย
ยิ่งละเอียดขึ้นไป ถึงระดับนิพพานยิ่งเรียกว่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอัตตา
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562
กายภาวนา VS ศีลภาวนา
กายภาวนานั้น
เป็นการพัฒนาที่ผัสสทวารทั้ง 5 (ไม่นับมโนทวาร)
เรียกว่าเป็นภาคเสพ
คือว่าด้วยการใช้สอย ตาดู หูฟัง
ให้ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น
อย่างไม่หลงไหล เผลอเพลิน
อย่างรู้คุณค่าที่แท้จริง ให้เกิดสมประโยชน์มุ่งหมาย
มีความพอดี มีความรู้ประมาณ
ไม่หลงมัวเมา จนกลายเป็นทำร้ายตนเอง
เรียกว่าเป็นการฝึกที่จะใช้ช่องทางทั้ง 5
ให้ติดต่อสัมพันธ์กับโลกอย่างได้ผลดี
ส่วนศีลภาวนา (จบที่กายกรรม วจีกรรม)
เป็นภาคปฏิบัติการ
แสดงออกรับต่อการกระทำข้างนอก
เรียกบ้านๆ ว่าพัฒนาพฤติกรรม
เป็นการพัฒนาที่ผัสสทวารทั้ง 5 (ไม่นับมโนทวาร)
เรียกว่าเป็นภาคเสพ
คือว่าด้วยการใช้สอย ตาดู หูฟัง
ให้ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น
อย่างไม่หลงไหล เผลอเพลิน
อย่างรู้คุณค่าที่แท้จริง ให้เกิดสมประโยชน์มุ่งหมาย
มีความพอดี มีความรู้ประมาณ
ไม่หลงมัวเมา จนกลายเป็นทำร้ายตนเอง
เรียกว่าเป็นการฝึกที่จะใช้ช่องทางทั้ง 5
ให้ติดต่อสัมพันธ์กับโลกอย่างได้ผลดี
ส่วนศีลภาวนา (จบที่กายกรรม วจีกรรม)
เป็นภาคปฏิบัติการ
แสดงออกรับต่อการกระทำข้างนอก
เรียกบ้านๆ ว่าพัฒนาพฤติกรรม
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562
เธอพึงตัดป่าแต่อย่าตัดต้นไม้
เธอพึงตัดป่าแต่อย่าตัดต้นไม้
ถ้าเราอยู่ป่า
แล้วเราตัดความเป็น "ป่า" ออก
เราก็จะไม่หลงป่า ว่ามั้ย
ป่า คืออะไร?
เป็นอัตตาตัวหนึ่ง
ที่ใช้เรียกชื่อ ต้นไม้หลายๆ ต้น
ฉะนั้น
"เธอพึงตัดป่า แต่อย่าตัดต้นไม้"
ที่ท่านพูดถึง
คือตัดอัตตา ตัดความยึดว่ามันเป็นป่า
"ป่า" ที่มีคือสมมติขึ้นมา
ป่าจริงๆ ไม่มี มีแต่ต้นไม้
บางคนก็มาหลง "ต้นไม้" อีก
ท่านก็บอกว่า "เธอจงตัดต้นไม้ แต่อย่าตัดกิ่ง"
อ่าวจะทำยังไง?
ต้นไม้ จริงๆ ก็เป็นสมมติอีกอันหนึ่ง
ประกอบด้วย โคน กิ่ง ใบ ฯลฯ
บางคนก็ยังไม่เข้าใจอีก
เพราะมันยังมี "กิ่ง" มี "ใบ"
มันก็ยังหลงอยู่ได้
ถ้าเราอยู่ป่า
แล้วเราตัดความเป็น "ป่า" ออก
เราก็จะไม่หลงป่า ว่ามั้ย
ป่า คืออะไร?
เป็นอัตตาตัวหนึ่ง
ที่ใช้เรียกชื่อ ต้นไม้หลายๆ ต้น
ฉะนั้น
"เธอพึงตัดป่า แต่อย่าตัดต้นไม้"
ที่ท่านพูดถึง
คือตัดอัตตา ตัดความยึดว่ามันเป็นป่า
"ป่า" ที่มีคือสมมติขึ้นมา
ป่าจริงๆ ไม่มี มีแต่ต้นไม้
บางคนก็มาหลง "ต้นไม้" อีก
ท่านก็บอกว่า "เธอจงตัดต้นไม้ แต่อย่าตัดกิ่ง"
อ่าวจะทำยังไง?
ต้นไม้ จริงๆ ก็เป็นสมมติอีกอันหนึ่ง
ประกอบด้วย โคน กิ่ง ใบ ฯลฯ
บางคนก็ยังไม่เข้าใจอีก
เพราะมันยังมี "กิ่ง" มี "ใบ"
มันก็ยังหลงอยู่ได้
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562
หลงป่า
เหมือนเราไปเที่ยวป่า
ในป่ามีสัตว์ มีแมกไม้อุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์
อยู่ในป่าแล้วมีความสุข
ได้ฟังนก ได้กลิ่นดอกไม้ ได้เห็นสัตว์ต่างๆ
พอจะกลับออกมาปรากฏ ออกไม่ได้
หลงป่า...
ทำไมเราหลงป่า?
เราออกไม่ได้?
ทำไมเราไม่อยู่กับมันล่ะ
ในเมื่อมันเป็นสวรรค์ เป็นที่ที่เราแสวงหาไม่ใช่หรือ?
ตอนแรกนี่เราพยายามไปเที่ยวป่า
แต่พอรู้ว่า "หลงป่า"
เราพยายามหนีจากป่า พยายามออกจากป่า
คนเราเป็นอย่างนี้เสมอ
พอรู้ตัวว่ามันไม่ใช่
เราก็ดึงดันจะเอาตัวออกมา
แล้วสวรรค์ของความเป็นป่าไปไหนเสียล่ะ?
สิ่งที่ดึงดูดใจเราให้อยู่ในป่าไปไหนเสียล่ะ?
เราก็หาไป..หาไป
ก็ออกจากป่าไม่ได้
ก็มีแต่ความทุรนทุราย
ย้อนมาดูสิว่า
ที่เรา "หลงป่า"
เราหลงป่าจริงหรือ?
เราไม่ได้หลงป่านะ
เราหลงอุปาทานที่อยู่นอกป่าต่างหาก
หลงครอบครัว หลงทรัพย์สิน
หลงความเคยชินที่เราย้อมมันทุกวัน
พอออกจากป่ามานานๆ
อุปาทานนอกป่าก็จางคลายลงเรื่อยๆ
ลองนึกว่า 60 ปีอยู่ในป่าล่ะ
คนเราถึงจุดหนึ่งมันจะปลง
ข้างนอกคงไม่มีใครเหลือแล้ว คงตายหมดแล้ว
งั้นเราก็อยู่ในป่าดีกว่า อยู่ด้วยภาวะจำนน
ไม่ได้อยู่ด้วยปัญญา
แต่มันเกิดความจำนน
เพราะออกจากป่าไม่ได้
และคิดว่าสิ่งที่อยู่นอกป่านี่ มันคงไม่มีแล้ว
เมื่อคิดว่ามันไม่มีแล้ว
ก็ปลดปล่อยจากอุปาทานนอกป่า
จำนนที่จะอยู่ในป่า ยอมที่จะอยู่ในป่า
แล้วก็ตายอยู่ในป่า
เมื่อตายอยู่ในป่า
เกิดใหม่ก็เกิดในป่า
เพราะว่าไม่มีปัญญา
ขณะที่อีกฟากหนึ่ง
อยู่ในป่าเหมือนกัน และเข้าใจว่า
เราหาทางออกจากป่า
แต่เราก็อยู่ในป่ามาได้ตั้งนาน
เราไปทั่วทุกตารางนิ้วของป่าแล้ว
แต่เรายังหาทางออกไม่ได้
แล้วทำไมเราไม่อยู่กับมัน
จริงๆ เราอยู่กับมันได้
แต่ที่เราพยายามหาทางออก เพราะเราผลักไสมัน
นี่เรียกว่า "หลงป่า"
จริงๆ เราอยู่กับมันได้
เราไม่ได้หลงหรอก
ถ้าเรายอมรับที่จะอยู่กับมันได้
เข้าใจมันได้ เราก็อยู่กับมันได้
เพราะเราก็อยู่มา 60-70 ปีแล้ว
มันก็อยู่มาได้ นั่นแสดงว่า ป่าไม่ได้ทำร้ายทำลายเรา
มีแต่เรานั่นแหละทำร้ายทำลายใจตัวเอง
ดิ้นรนจะออกจากป่าด้วยความทุรนทุราย
"เมื่อเราอยู่ได้
เราก็อยู่ไปสิ"
พอเกิดความเข้าใจนี้ขึ้นมา
มันเกิดปัญญาขึ้นมา มันอยู่ด้วยปัญญา
ไม่ได้อยู่ด้วยจำนน
อยู่กับป่าด้วยความเป็นป่า
นี่แหละ ผู้ออกจากป่าที่ตัวเองหลง
ออกจากป่าด้วยภาวะที่ยอมรับว่า
เออ มันออกจากมันไม่ได้
ประกอบกับเหตุปัจจัยที่ก็อยู่กับมันมานาน
มันก็ "เออ ! ก็มันก็อยู่ได้ไม่ใช่เหรอ"
เมื่อไรที่เราเข้าใจป่า
แล้วอยู่กับป่าด้วยภูมิปัญญาที่เราเข้าใจแล้ว
เราจะรู้ว่า เราไม่ได้หลงป่าหรอก
แต่เราดิ้นทุรนทุรายจะไปอยู่นอกป่าเท่านั้นเอง
เราก็จะกลับมาสู่ความเป็นสวรรค์ในป่าเหมือนเดิม
อยู่กับป่าได้เหมือนเดิม
มันไม่ดิ้นทุรนทุรายที่จะออกจากป่า หรือจะไม่ออกจากป่า
มันไม่ได้หลงป่า
ไม่หลงด้วยการเข้าใจ ว่าเราออกจากมันไม่ได้
ฉันนั้น
ถ้าเข้าใจแล้ว
นิพพานนั้น มันไม่มีดอกท่าน
เป็นเพียงสมมติที่เราตั้งขึ้นมาเพื่อไขว่คว้าหาเส้นชัย
ตราบใดที่พยายามออกจากป่า
จะไม่มีทางที่จะมีปัญญา "ออกจากป่า"
เมื่อใดที่ยอมรับที่จะออกในป่า ด้วยเหตุปัจจัยที่ร้อยเรียงมา
เมื่อนั้น ก็ออกจากป่าแล้ว
นิพพานไม่ได้อยู่ในอนาคต
นิพพานอยู่ที่เข้าใจในปัจจุบัน
เมื่อไรที่เข้าใจ
มันก็สงบ ไม่ทุรนทุราย
และอยู่กับมันได้
ในป่ามีสัตว์ มีแมกไม้อุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์
อยู่ในป่าแล้วมีความสุข
ได้ฟังนก ได้กลิ่นดอกไม้ ได้เห็นสัตว์ต่างๆ
พอจะกลับออกมาปรากฏ ออกไม่ได้
หลงป่า...
ทำไมเราหลงป่า?
เราออกไม่ได้?
ทำไมเราไม่อยู่กับมันล่ะ
ในเมื่อมันเป็นสวรรค์ เป็นที่ที่เราแสวงหาไม่ใช่หรือ?
ตอนแรกนี่เราพยายามไปเที่ยวป่า
แต่พอรู้ว่า "หลงป่า"
เราพยายามหนีจากป่า พยายามออกจากป่า
คนเราเป็นอย่างนี้เสมอ
พอรู้ตัวว่ามันไม่ใช่
เราก็ดึงดันจะเอาตัวออกมา
แล้วสวรรค์ของความเป็นป่าไปไหนเสียล่ะ?
สิ่งที่ดึงดูดใจเราให้อยู่ในป่าไปไหนเสียล่ะ?
เราก็หาไป..หาไป
ก็ออกจากป่าไม่ได้
ก็มีแต่ความทุรนทุราย
ย้อนมาดูสิว่า
ที่เรา "หลงป่า"
เราหลงป่าจริงหรือ?
เราไม่ได้หลงป่านะ
เราหลงอุปาทานที่อยู่นอกป่าต่างหาก
หลงครอบครัว หลงทรัพย์สิน
หลงความเคยชินที่เราย้อมมันทุกวัน
พอออกจากป่ามานานๆ
อุปาทานนอกป่าก็จางคลายลงเรื่อยๆ
ลองนึกว่า 60 ปีอยู่ในป่าล่ะ
คนเราถึงจุดหนึ่งมันจะปลง
ข้างนอกคงไม่มีใครเหลือแล้ว คงตายหมดแล้ว
งั้นเราก็อยู่ในป่าดีกว่า อยู่ด้วยภาวะจำนน
ไม่ได้อยู่ด้วยปัญญา
แต่มันเกิดความจำนน
เพราะออกจากป่าไม่ได้
และคิดว่าสิ่งที่อยู่นอกป่านี่ มันคงไม่มีแล้ว
เมื่อคิดว่ามันไม่มีแล้ว
ก็ปลดปล่อยจากอุปาทานนอกป่า
จำนนที่จะอยู่ในป่า ยอมที่จะอยู่ในป่า
แล้วก็ตายอยู่ในป่า
เมื่อตายอยู่ในป่า
เกิดใหม่ก็เกิดในป่า
เพราะว่าไม่มีปัญญา
ขณะที่อีกฟากหนึ่ง
อยู่ในป่าเหมือนกัน และเข้าใจว่า
เราหาทางออกจากป่า
แต่เราก็อยู่ในป่ามาได้ตั้งนาน
เราไปทั่วทุกตารางนิ้วของป่าแล้ว
แต่เรายังหาทางออกไม่ได้
แล้วทำไมเราไม่อยู่กับมัน
จริงๆ เราอยู่กับมันได้
แต่ที่เราพยายามหาทางออก เพราะเราผลักไสมัน
นี่เรียกว่า "หลงป่า"
จริงๆ เราอยู่กับมันได้
เราไม่ได้หลงหรอก
ถ้าเรายอมรับที่จะอยู่กับมันได้
เข้าใจมันได้ เราก็อยู่กับมันได้
เพราะเราก็อยู่มา 60-70 ปีแล้ว
มันก็อยู่มาได้ นั่นแสดงว่า ป่าไม่ได้ทำร้ายทำลายเรา
มีแต่เรานั่นแหละทำร้ายทำลายใจตัวเอง
ดิ้นรนจะออกจากป่าด้วยความทุรนทุราย
"เมื่อเราอยู่ได้
เราก็อยู่ไปสิ"
พอเกิดความเข้าใจนี้ขึ้นมา
มันเกิดปัญญาขึ้นมา มันอยู่ด้วยปัญญา
ไม่ได้อยู่ด้วยจำนน
อยู่กับป่าด้วยความเป็นป่า
นี่แหละ ผู้ออกจากป่าที่ตัวเองหลง
ออกจากป่าด้วยภาวะที่ยอมรับว่า
เออ มันออกจากมันไม่ได้
ประกอบกับเหตุปัจจัยที่ก็อยู่กับมันมานาน
มันก็ "เออ ! ก็มันก็อยู่ได้ไม่ใช่เหรอ"
เมื่อไรที่เราเข้าใจป่า
แล้วอยู่กับป่าด้วยภูมิปัญญาที่เราเข้าใจแล้ว
เราจะรู้ว่า เราไม่ได้หลงป่าหรอก
แต่เราดิ้นทุรนทุรายจะไปอยู่นอกป่าเท่านั้นเอง
เราก็จะกลับมาสู่ความเป็นสวรรค์ในป่าเหมือนเดิม
อยู่กับป่าได้เหมือนเดิม
มันไม่ดิ้นทุรนทุรายที่จะออกจากป่า หรือจะไม่ออกจากป่า
มันไม่ได้หลงป่า
ไม่หลงด้วยการเข้าใจ ว่าเราออกจากมันไม่ได้
ฉันนั้น
ถ้าเข้าใจแล้ว
นิพพานนั้น มันไม่มีดอกท่าน
เป็นเพียงสมมติที่เราตั้งขึ้นมาเพื่อไขว่คว้าหาเส้นชัย
ตราบใดที่พยายามออกจากป่า
จะไม่มีทางที่จะมีปัญญา "ออกจากป่า"
เมื่อใดที่ยอมรับที่จะออกในป่า ด้วยเหตุปัจจัยที่ร้อยเรียงมา
เมื่อนั้น ก็ออกจากป่าแล้ว
นิพพานไม่ได้อยู่ในอนาคต
นิพพานอยู่ที่เข้าใจในปัจจุบัน
เมื่อไรที่เข้าใจ
มันก็สงบ ไม่ทุรนทุราย
และอยู่กับมันได้
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562
อยู่กับพุทธองค์
อยู่กับพุทธองค์
ตรงไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่ตามเห็นตนมีเวทนา
ไม่ตามเห็นความจำในตน
หรือความคิดในตน
อยู่กับพุทธองค์
ตรงไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่ตามเห็นตนมีเวทนา
ทั้งสัญญา สังขาร และวิญญาณ
ไม่มีใครข้างใน
ข้างในไม่มีใคร
ไหนนิพพาน? นั่นอยู่ไหน? ตรงไม่มี...
ราคะ-โทสะ-โมหะไง อยู่ตรงนั้น อยู่ตรงนั้น...
อยู่กับพุทธองค์
ตรงไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่ตามเห็นตนมีเวทนา
ไม่ตามเห็นความจำในตน
หรือความคิดในตน
อยู่กับพุทธองค์
ตรงไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่ตามเห็นตนมีเวทนา
ทั้งสัญญา สังขาร และวิญญาณ
ไม่มีใครข้างใน
ข้างในไม่มีใคร
ไหนนิพพาน? นั่นอยู่ไหน? ตรงไม่มี...
ราคะ-โทสะ-โมหะไง อยู่ตรงนั้น อยู่ตรงนั้น...
ตรงนั้นนั่นแหละคือนิพพาน
จงขยัน จงขยัน ขยันละอุปาทา-(อ)าน....
ไม่มีตัวตนใครในวิญญาณ
โลภโกรธหลงจะไปอยู่ตรงไหน
ในเมื่อไม่มีใคร
ไม่มีใครในวิญญาณ
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ปัฏฐาน
ปัฏฐาน = จุดเริ่มต้น
ป + ฐาน
ป อุปสรรค = โดยทั่วไปแปลว่า ทั่ว หน้า ก่อน ออก
แต่สำหรับคำแปลในที่นี้
ป = นานัปการ
ป = วิภชน = จำแนก
ป = เป็นเครื่องตั้งอยู่ เป็นที่ดำเนินไป เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของเท้า
ฐาน = โดยทั่วไปแปลว่า ที่ตั้ง, พื้นดิน
แต่สำหรับคำแปลในที่นี้ ฐาน แปลว่า ปจฺจย, เหตุ, กรณ (เงื่อนไข)
รวมๆ ก็แปลว่า
ปัจจัยนานาประการ
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562
กุศลชั้นสูงมีแต่สสังขาริก
กุศลชั้นสูงมีแต่สสังขาริก
พวกวิปัสสนา พวกมรรคต้องมีคนดันตูด
มีเงื่อนไขกระตุ้น ไม่แค่คน รวมถึง วัน เวลา สถานที่ด้วย
กุศลพื้นๆ มีทั้งอสังขาริก และสสังขาริก
พวกวิปัสสนา พวกมรรคต้องมีคนดันตูด
มีเงื่อนไขกระตุ้น ไม่แค่คน รวมถึง วัน เวลา สถานที่ด้วย
กุศลพื้นๆ มีทั้งอสังขาริก และสสังขาริก
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562
添麻烦 - 超过人际关系了分寸
添麻烦
我认为人跟人之间有恰当的人际关系
就是罗振宇老师提过
我们不是我们自己
我们是我们社会关系的总和
我们跟每一个人都有不同的社会关系
我跟你比较熟所以你敢找我做事情
就是人跟人的关系如果超过了那个分寸
你就是给别人添麻烦
在坐车的时候一个陌生的路人
会把座位让给他
这是他跟一个陌生的路人中间
所具备的人际关系该有的事情
那不叫添麻烦
可是如果他在别人让座给他
然后他坐下来之后
他开口说
“我找不到工作”
超越了他跟那个陌生的人际关系
那会让对方为难
因为他不知道该怎么应对
奇葩说 第4季 20170408
我认为人跟人之间有恰当的人际关系
就是罗振宇老师提过
我们不是我们自己
我们是我们社会关系的总和
我们跟每一个人都有不同的社会关系
我跟你比较熟所以你敢找我做事情
就是人跟人的关系如果超过了那个分寸
你就是给别人添麻烦
在坐车的时候一个陌生的路人
会把座位让给他
这是他跟一个陌生的路人中间
所具备的人际关系该有的事情
那不叫添麻烦
可是如果他在别人让座给他
然后他坐下来之后
他开口说
“我找不到工作”
超越了他跟那个陌生的人际关系
那会让对方为难
因为他不知道该怎么应对
奇葩说 第4季 20170408
高不可攀的美德
"美德" 是一个很冷门的字眼
我们已经不谈这件事了
没有人在乎这件事
觉得它很过时
可是这个节目敢谈美德让我特高兴
因为终于有人要谈它了
然后我刚才听到最刺耳的一句话来自马东
“他说我们何必把事情上升到美德的高度”
我们已经沦落到觉得美德是高不可攀的地步了!
这是我最失望的事情
就是当你达不到的时候
你就把它推到远远的
放到神龛去说
“那个东西很棒可是跟我们没有关系”
这是他们讲说
不用对美德放到高不可攀的地步的时候所采取的心态
而我喜欢这个节目
原因就是我们把它拉下来
它是我们生活中的事情
我很在意这件事情
就是我们如果
把乱七八糟的观念
灌输到小朋友的脑子里面去跟他们说
“美德是不值得追求或者美德是伤害没有能力的人的”
这个是在给小孩子的脑子添麻烦
这是让他们想不清楚事情
我特别不能认同这样的做法所以我很在意
我要在今天把这事情给讲了
我觉得美德是值得追求的是因为
你终究会因为美德而得到宁静
奇葩说 第4季 20170408
我们已经不谈这件事了
没有人在乎这件事
觉得它很过时
可是这个节目敢谈美德让我特高兴
因为终于有人要谈它了
然后我刚才听到最刺耳的一句话来自马东
“他说我们何必把事情上升到美德的高度”
我们已经沦落到觉得美德是高不可攀的地步了!
这是我最失望的事情
就是当你达不到的时候
你就把它推到远远的
放到神龛去说
“那个东西很棒可是跟我们没有关系”
这是他们讲说
不用对美德放到高不可攀的地步的时候所采取的心态
而我喜欢这个节目
原因就是我们把它拉下来
它是我们生活中的事情
我很在意这件事情
就是我们如果
把乱七八糟的观念
灌输到小朋友的脑子里面去跟他们说
“美德是不值得追求或者美德是伤害没有能力的人的”
这个是在给小孩子的脑子添麻烦
这是让他们想不清楚事情
我特别不能认同这样的做法所以我很在意
我要在今天把这事情给讲了
我觉得美德是值得追求的是因为
你终究会因为美德而得到宁静
奇葩说 第4季 20170408
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ
เพราะพวกสัตบุรุษละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้วจึงกล่าวธรรมอยู่
โขมทุสสสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
“สภา” (สะ-พา) รากศัพท์มาจาก
- สนฺต (คนดี) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย แปลง สนฺต เป็น ส, ลบ กฺวิ: สนฺต > ส + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา
แปลตามศัพท์ว่า “ที่อันรุ่งเรืองด้วยคนดี” - สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ภาสฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย,
ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > ส), ลบ ส ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ กฺวิ: สํ > ส + ภาสฺ = สภาสฺ + กฺวิ = สภาสกฺวิ > สภาส > สภา
แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาประชุมกันพูด” - สห (คำอุปสรรค = ร่วมกัน) + ภา (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย,
ลบ ห ที่ สห (สห > ส) และลบ กฺวิ: สห > ส + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา
แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน
ตามความหมายเหล่านี้
“สภา” คือ คนดีๆ
มาปรึกษาหารือกันก่อนแล้วจึงลงมือทำกิจการต่างๆ
“สภา” (อิตถีลิงค์)
ทั้งบาลี สันสกฤต และภาษาไทยใช้รูปเดียวกัน
ข้อมูลจาก “บาลีวันละคำ”
โดย นาวาเอกทองย้อน แสงสินชัย
______________________
“สัตบุรุษ” : คนสงบ,
คนดี, คนมีศีลธรรม, คนที่ประกอบด้วย
สัปปุริสธรรม*
*“สัปปุริสธรรม” : ธรรมของสัตบุรุษ,
ธรรมของคนดี,
ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล;
อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ
๑. ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ
๒. ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗)
๓. คิดอย่างสัตบุรุษ
๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ
๕. พูดอย่างสัตบุรุษ
๖. ทำอย่างสัตบุรุษ
(๓, ๔, ๕, ๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน
และผู้อื่น)
๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า
ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น)
๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ
เอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
ข้อมูลจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
看工作的眼光
这是一个眼光的问题
关于你怎么看工作的问题
我问大家三个问题
看看你是属于哪一类
第一
工作是不是一种机会?
如果你不觉得工作不是一种机会
它就是一种付出
我付出多少我就要马上拿到多少的话
你当然会变成一个斤斤计较的人
我一定要把它拿回来
但是对于另外一种人来说
他觉得每一份工作
都是下一份工作的前奏
他不是为别人打工
而是为自己的履历打工
这时候呢
他的心态就不一样
每一份工作他可能都做得不够好
他的回报也不够多
但他有下一份工作
下一份工作
第二个问题
我问你你的努力有没有人看见?
如果你觉得没有人看见
我就受委屈的人
那你会争取
你会讲出来
你会宣泄出来
然后得到你应得的回报
但如果你有一种信念
你做的事情不是白做的
世界上总有明眼人看得见你在努力
你就会继续努力啊
你就会继续做啊
我觉得我的努力有人看到
上课的时候你在上面讲
下面同学你以为是真的全睡觉吗?
有不睡觉的
有人知道的
第三个问题
你觉得你的工作收入是你要回来的还是别人给的?
这个问题挺有趣
你觉得当然是我要回来的
那你想想在你今天的工作岗位上
你多要。。。你会多要多少?
敢要多少?
百分之二十 三十
翻一倍了不得了
在我看来
工作机会是别人给的
工作的收入福利是别人给的
我们工作的时候
聪明的人从来不说
我需要什么
而是我能够替你做什么服务
有一个成功的商人说
为什么那么多人喜欢跟我做生意
因为我每一单生意都确保
对方赚得比我多
这时候工作就来了
qi pa shuo 5 ji 22 qi
关于你怎么看工作的问题
我问大家三个问题
看看你是属于哪一类
第一
工作是不是一种机会?
如果你不觉得工作不是一种机会
它就是一种付出
我付出多少我就要马上拿到多少的话
你当然会变成一个斤斤计较的人
我一定要把它拿回来
但是对于另外一种人来说
他觉得每一份工作
都是下一份工作的前奏
他不是为别人打工
而是为自己的履历打工
这时候呢
他的心态就不一样
每一份工作他可能都做得不够好
他的回报也不够多
但他有下一份工作
下一份工作
第二个问题
我问你你的努力有没有人看见?
如果你觉得没有人看见
我就受委屈的人
那你会争取
你会讲出来
你会宣泄出来
然后得到你应得的回报
但如果你有一种信念
你做的事情不是白做的
世界上总有明眼人看得见你在努力
你就会继续努力啊
你就会继续做啊
我觉得我的努力有人看到
上课的时候你在上面讲
下面同学你以为是真的全睡觉吗?
有不睡觉的
有人知道的
第三个问题
你觉得你的工作收入是你要回来的还是别人给的?
这个问题挺有趣
你觉得当然是我要回来的
那你想想在你今天的工作岗位上
你多要。。。你会多要多少?
敢要多少?
百分之二十 三十
翻一倍了不得了
在我看来
工作机会是别人给的
工作的收入福利是别人给的
我们工作的时候
聪明的人从来不说
我需要什么
而是我能够替你做什么服务
有一个成功的商人说
为什么那么多人喜欢跟我做生意
因为我每一单生意都确保
对方赚得比我多
这时候工作就来了
qi pa shuo 5 ji 22 qi
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ทุจริต
จิตที่มีศีลหมายถึง
จิตที่เป็นปกติอยู่ได้เมื่อถูกอารมณ์ต่างๆ กระทบเข้า
จิตที่เสียความปกติไปคือ
จิตที่เกิดความยินดียินร้าย
แล้วก่อให้เกิดการกระทำทางกาย-วาจา
แม้กระทั่งด้านจิตใจด้วย
เรียกว่า กระทำทุจริต
ความปกติของจิตวัดตอนกระทบอารมณ์
จิตที่เป็นปกติอยู่ได้เมื่อถูกอารมณ์ต่างๆ กระทบเข้า
จิตที่เสียความปกติไปคือ
จิตที่เกิดความยินดียินร้าย
แล้วก่อให้เกิดการกระทำทางกาย-วาจา
แม้กระทั่งด้านจิตใจด้วย
เรียกว่า กระทำทุจริต
ความปกติของจิตวัดตอนกระทบอารมณ์
วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
坦诚的背后 同样的孤独
“我错了,我敢承认怎么了?“
好像显得很仗义
这种坦诚的背后
其实说明一点
你好像没有意识到
自己现在的危险的境地
很多创业者在创业初期
都是背负压力
活在别人质疑的眼光当中
内心包含一种孤独感
但那种孤独感
也被那些根本不适合创业
为了创业而创业的人
成为他们自我说服的一种借口
我现在就是这样
同样是孤独
支撑孤独的方式不一样
真正的创业者支撑自己孤独 的方式
是因为他要做一番事而创业
他内心是真喜欢
所以无论成功还是失败
他内心是饱满的
好像显得很仗义
这种坦诚的背后
其实说明一点
你好像没有意识到
自己现在的危险的境地
很多创业者在创业初期
都是背负压力
活在别人质疑的眼光当中
内心包含一种孤独感
但那种孤独感
也被那些根本不适合创业
为了创业而创业的人
成为他们自我说服的一种借口
我现在就是这样
同样是孤独
支撑孤独的方式不一样
真正的创业者支撑自己孤独 的方式
是因为他要做一番事而创业
他内心是真喜欢
所以无论成功还是失败
他内心是饱满的
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ฝึกโยคะ ชี่กง ออกกำลังกายฝึกสติ
การออกกำลังกาย
ความใส่ใจของเราจะออกไปในทำนอง
เอื้อประโยชน์ต่อร่างกาย
เช่น ทำท่านี้เพื่อยืดตรงนี้ เพื่อบิดตรงนั้น
ท่าถูกอย่างนั้นอย่างนี้ หายใจ
เรียกว่าเจตนาเพื่อจะไปนิพพานมันลดลง
สติมันก็มี แต่วัตถุประสงค์ลดลงมา
พอวัตถุประสงค์ลดต้องระวังให้ดี
ไม่ให้มันไปปรนเปรอกาย
ฝึกโยคะดีกว่า ได้สติด้วย หุ่นดีด้วย
เริ่มงงในวัตถุประสงค์แล้ว ตกลงจะเอาหุ่นหรือนิพพาน
สติมันก็ได้อยู่แต่กำลังมันน้อย
กำลังหมายถึง ที่จะมุ่งไปนิพพาน ที่จะขัดกิเลสมันน้อย
ในทางพุทธจึงแนะนำพวกอนุสสติไว้
คือเป็นการฝึกสติที่ตรงวัตถุประสงค์ที่สุด เป็นไปเพื่อมรรคชัดเจน
ได้กำลังสติดี
หรือท่าออกกำลังกายบางอย่าง
แบบที่วัตถุประสงค์ชัดเจน
ที่ทำไปเพื่อให้กายแข็งแรง มีกำลัง แก้ความเจ็บป่วย
เพื่อจะรักษาร่างกายเพื่อเอามาปฏิบัติธรรม
ดูตามวัตถุประสงค์
ถ้าเป็นนั่งสมาธิเดินจงกรม
ทำไปถึงระดับนึงมันจะซาบซึ้ง
โอ พระพุทธเจ้าท่านพาทำ เราได้มีบุญมาทำอย่างท่านบ้าง
สรุป ไม่มีอะไรถูกผิด
ที่ถูกคือ มีสติ และมุ่งตรงไปนิพพาน
ที่ผิดคือ ปรนเปรอตัวตนต่างๆ นานา
ความใส่ใจของเราจะออกไปในทำนอง
เอื้อประโยชน์ต่อร่างกาย
เช่น ทำท่านี้เพื่อยืดตรงนี้ เพื่อบิดตรงนั้น
ท่าถูกอย่างนั้นอย่างนี้ หายใจ
เรียกว่าเจตนาเพื่อจะไปนิพพานมันลดลง
สติมันก็มี แต่วัตถุประสงค์ลดลงมา
พอวัตถุประสงค์ลดต้องระวังให้ดี
ไม่ให้มันไปปรนเปรอกาย
ฝึกโยคะดีกว่า ได้สติด้วย หุ่นดีด้วย
เริ่มงงในวัตถุประสงค์แล้ว ตกลงจะเอาหุ่นหรือนิพพาน
สติมันก็ได้อยู่แต่กำลังมันน้อย
กำลังหมายถึง ที่จะมุ่งไปนิพพาน ที่จะขัดกิเลสมันน้อย
ในทางพุทธจึงแนะนำพวกอนุสสติไว้
คือเป็นการฝึกสติที่ตรงวัตถุประสงค์ที่สุด เป็นไปเพื่อมรรคชัดเจน
ได้กำลังสติดี
หรือท่าออกกำลังกายบางอย่าง
แบบที่วัตถุประสงค์ชัดเจน
ที่ทำไปเพื่อให้กายแข็งแรง มีกำลัง แก้ความเจ็บป่วย
เพื่อจะรักษาร่างกายเพื่อเอามาปฏิบัติธรรม
ดูตามวัตถุประสงค์
ถ้าเป็นนั่งสมาธิเดินจงกรม
ทำไปถึงระดับนึงมันจะซาบซึ้ง
โอ พระพุทธเจ้าท่านพาทำ เราได้มีบุญมาทำอย่างท่านบ้าง
สรุป ไม่มีอะไรถูกผิด
ที่ถูกคือ มีสติ และมุ่งตรงไปนิพพาน
ที่ผิดคือ ปรนเปรอตัวตนต่างๆ นานา
ฟังหลายอาจารย์?
จะกี่อาจารย์ก็ไม่ใช่ประเด็น
สำคัญที่ปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นหรือยัง
จะอาจารย์เดียวหรือจะหลายอาจารย์ก็ได้
สำคัญที่อย่าไปยึดติดอาจารย์
วิธีสำรวจตัวเองว่าไม่ยึดอาจารย์ก็สำคัญ
ถ้ายึดคนนึง ก็จะฟังอีกคนนึงลำบาก
ไปฟังก็ไปเพื่อหาความเข้าใจ
ถ้ายังเชื่อมเรื่องไม่ได้ ก็ฟังต่อไป
สำคัญที่ปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นหรือยัง
จะอาจารย์เดียวหรือจะหลายอาจารย์ก็ได้
สำคัญที่อย่าไปยึดติดอาจารย์
วิธีสำรวจตัวเองว่าไม่ยึดอาจารย์ก็สำคัญ
ถ้ายึดคนนึง ก็จะฟังอีกคนนึงลำบาก
ไปฟังก็ไปเพื่อหาความเข้าใจ
ถ้ายังเชื่อมเรื่องไม่ได้ ก็ฟังต่อไป
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
อัจฉริยอัพภูตธรรม 4
ธรรมน่าอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน
- การละมานะ
- การถอนตัณหา
- การขจัดอวิชชา
- การทำภพชาติให้สิ้นไป
วิหารธรรม 4
เครื่องอยู่ของจิตที่เป็นฝ่ายโวทาน
- ทิพวิหาร - อยู่ในฌานสมาบัติ
- พรหมวิหาร - อยู่แบบเจริญอัปปมัญญา 4
- อริยวิหาร - มีนิพพานเป็นอารมณ์
- อาเนญชวิหาร - มีอรูปเป็นอารมณ์
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ความเกิดดับของขันธ์ 5
มีอยู่ 5 แบบ
แบบแรก - เกิดดับแบบพืื้นฐานวิปัสสนา
เกิดดับแบบที่เราคุ้นกันนั่นแหละ
จากไม่มีเป็นมี (เกิด)
จากมีเป็นไม่มี (ดับ)
แบบที่สอง - แบบเหตุปัจจัยที่เป็นปัจจุบัน เหตุใกล้ที่มาคู่กัน
แบบนี้จะดูตามเหตุใกล้ของมัน
เกิด - ก็คือมันมีเหตุ เช่น เวทนาเกิด ไม่ได้ดูเวทนาเกิด ดูเหตุของมัน (คือผัสสะ)
ดับ - เพราะหมดเหตุจึงดับ
ดูว่ามันมาคู่กัน
อ่อ เวทนามีเพราะผัสสะมันมี (ดูเวทนาเกิด)
ถ้าเวทนาไม่มีเพราะผัสสะมันไม่มี (ดูเวทนาดับ)
อาหารสมุทยา รูปสมุทโย
ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สญฺญาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สงฺขารสมุทโย
นามรูปสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
แบบที่สาม - กรรม
กรรมคือตัวรักษาชีวิต
ตัวรักษาชีวิตคือ ภวังคจิต
ภวังคจิตคือ จิตตอนนอนหลับ
ตอนนอนหลับ ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีใคร ไม่มีโลกใดๆ ทั้งสิ้น
โลกจะมาทางทวาร 6 แต่ภวังคจิตไม่มีทวาร
อันนี้คือ กรรมเก่า (หมายถึงภวังคจิต)
ภวังคจิต รักษาขันธ์ 5 ไว้ รักษาภพชาติไว้
เพราะกรรมมี ขันธ์ 5 จึงมี
กรรม ก็จะรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ เพื่อรองรับอายตนะ
รอเวลาเกิดวิบาก
กมฺมสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ กมฺมสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
กมฺมนิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ กมฺมนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
แบบที่สี่ - ตัณหา (แบบอริยสัจ)
เพราะตัณหาเกิด ความเพลินเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
ตัณหาไม่เกิด ทุกข์จึงไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ตณฺหาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ ตณฺหาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
ตณฺหานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ ตณฺหานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
แบบที่ห้า - อวิชชา
เพราะอวิชชาเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
เพราะอวิชชาไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ลึกสุด ของพระอรหันต์
อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ อวิชฺชาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ อวิชฺชานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
แบบแรก - เกิดดับแบบพืื้นฐานวิปัสสนา
เกิดดับแบบที่เราคุ้นกันนั่นแหละ
จากไม่มีเป็นมี (เกิด)
จากมีเป็นไม่มี (ดับ)
แบบที่สอง - แบบเหตุปัจจัยที่เป็นปัจจุบัน เหตุใกล้ที่มาคู่กัน
แบบนี้จะดูตามเหตุใกล้ของมัน
เกิด - ก็คือมันมีเหตุ เช่น เวทนาเกิด ไม่ได้ดูเวทนาเกิด ดูเหตุของมัน (คือผัสสะ)
ดับ - เพราะหมดเหตุจึงดับ
ดูว่ามันมาคู่กัน
อ่อ เวทนามีเพราะผัสสะมันมี (ดูเวทนาเกิด)
ถ้าเวทนาไม่มีเพราะผัสสะมันไม่มี (ดูเวทนาดับ)
อาหารสมุทยา รูปสมุทโย
ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สญฺญาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สงฺขารสมุทโย
นามรูปสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
แบบที่สาม - กรรม
กรรมคือตัวรักษาชีวิต
ตัวรักษาชีวิตคือ ภวังคจิต
ภวังคจิตคือ จิตตอนนอนหลับ
ตอนนอนหลับ ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีใคร ไม่มีโลกใดๆ ทั้งสิ้น
โลกจะมาทางทวาร 6 แต่ภวังคจิตไม่มีทวาร
อันนี้คือ กรรมเก่า (หมายถึงภวังคจิต)
ภวังคจิต รักษาขันธ์ 5 ไว้ รักษาภพชาติไว้
เพราะกรรมมี ขันธ์ 5 จึงมี
กรรม ก็จะรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ เพื่อรองรับอายตนะ
รอเวลาเกิดวิบาก
กมฺมสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ กมฺมสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
กมฺมนิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ กมฺมนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
แบบที่สี่ - ตัณหา (แบบอริยสัจ)
เพราะตัณหาเกิด ความเพลินเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
ตัณหาไม่เกิด ทุกข์จึงไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ตณฺหาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ ตณฺหาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
ตณฺหานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ ตณฺหานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
แบบที่ห้า - อวิชชา
เพราะอวิชชาเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
เพราะอวิชชาไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ลึกสุด ของพระอรหันต์
อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ อวิชฺชาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ อวิชฺชานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
道理是什么时候讲呢?
道理应该讲给对手听
而不是讲给爱人听
你讲了半天有用吗
你讲完了她还不高兴
把道理收起来
该怎么干怎么干
你要求这个人
在他受委屈的时候听你的道理
是难以做到的
那道理是什么时候讲呢?
道理在他高兴的时候
吹吹风慢慢来
而不是讲给爱人听
你讲了半天有用吗
你讲完了她还不高兴
把道理收起来
该怎么干怎么干
你要求这个人
在他受委屈的时候听你的道理
是难以做到的
那道理是什么时候讲呢?
道理在他高兴的时候
吹吹风慢慢来
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กำจัดความไม่รู้ ความสงสัย ความเข้าใจผิด
- ล็อคลงอริยสัจ 4
ห้ามเกินนี้นะ
เทศนานี้เป็นสัจจะข้อไหน - แยกเป็นปฏิจจฯ สองข้าง
- ยกมรรคขึ้นแสดงให้ได้
ว่าที่ทำอยู่เป็นมรรคข้างไหน มรรคอะไร
ข้างสมุทยวาร หรือนิโรธวาร - สงเคราะห์ธรรมว่าไม่ใช่ตัวตน
ไม่มีสัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
ไอ้ที่ทำอยู่นี่ขันธ์อะไรแยกให้ออก เพื่อที่จะได้ไม่ไปยึดมัน - ในการทำนี้ละกิเลสอะไรได้บ้าง
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระจายเข้าใจ VS กระจายหายหมด
การกระจายนี่เพื่อให้เข้าใจภาพรวมเฉยๆ
ว่ามันเชื่อมยังไง
บางคนกระจายซะหายหมดเลย ว่างเปล่า !
ไม่ใช่กระจายให้ไม่เหลือตัวตน
มันไม่มีอยู่แล้ว
ไม่ได้ไปกระจายให้มันหายไปไหน
กระจายให้มันเข้าใจ
มันจะได้ไม่เกิดเท่านั้นเอง
"ไม่ใช่ให้มันหมด"
กระจายเพื่อเจริญปัญญา
เพื่อเห็นสัจจะ
ไม่ใช่กระจายรู้กว้าง ว่างไปหมด แต่ไม่ลงสัจจะ
มันเข้าใจกิเลสมันก็ไม่เกิด
แต่ก่อนไม่เข้าใจกิเลสมันก็เกิดเรื่อย
ถ้าว่างก็ว่างจากกิเลส
ว่ามันเชื่อมยังไง
บางคนกระจายซะหายหมดเลย ว่างเปล่า !
ไม่ใช่กระจายให้ไม่เหลือตัวตน
มันไม่มีอยู่แล้ว
ไม่ได้ไปกระจายให้มันหายไปไหน
กระจายให้มันเข้าใจ
มันจะได้ไม่เกิดเท่านั้นเอง
"ไม่ใช่ให้มันหมด"
กระจายเพื่อเจริญปัญญา
เพื่อเห็นสัจจะ
ไม่ใช่กระจายรู้กว้าง ว่างไปหมด แต่ไม่ลงสัจจะ
มันเข้าใจกิเลสมันก็ไม่เกิด
แต่ก่อนไม่เข้าใจกิเลสมันก็เกิดเรื่อย
ถ้าว่างก็ว่างจากกิเลส
อุปาทานขันธ์ห้า
อุปาทานขันธ์ห้า
เป็นสับเซตของขันธ์ห้า
คือขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ขันธ์ห้าที่อุปาทานไปยึดไปถือ
การกำหนดรู้ทุกข์นี่ไม่ใช่กำหนดขันธ์ทุกอัน
กำหนดอันที่เป็นอารมณ์ของอาสวะและอุปาทาน
ที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่
สาสวา
อุปาทานิยา
เป็นสับเซตของขันธ์ห้า
คือขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ขันธ์ห้าที่อุปาทานไปยึดไปถือ
การกำหนดรู้ทุกข์นี่ไม่ใช่กำหนดขันธ์ทุกอัน
กำหนดอันที่เป็นอารมณ์ของอาสวะและอุปาทาน
ที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่
สาสวา
อุปาทานิยา
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เกิดใหม่
ที่จริง ที่ยังต้องไปเกิดภพนั้นภพนี้
เพราะ "ยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ" ก็เท่านั้น
ที่เกิดใหม่ไม่ใช่ว่าเพราะมีกรรมมาก
ต้องไปรับผลของเวรของอะไร
ไม่มี !
ที่่ว่าทำกรรมอันนั้นแล้วต้องมารับอันนี้
เพื่อให้ยอมรับความจริงได้ระดับนึงก่อน
จะได้มาเข้าใจตัวธรรมแท้ๆ เฉยๆ
เป็นคำสอนที่เป็นจริง แต่ยังเป็นจริงระดับโลก
เพราะ "ยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ" ก็เท่านั้น
ที่เกิดใหม่ไม่ใช่ว่าเพราะมีกรรมมาก
ต้องไปรับผลของเวรของอะไร
ไม่มี !
ที่่ว่าทำกรรมอันนั้นแล้วต้องมารับอันนี้
เพื่อให้ยอมรับความจริงได้ระดับนึงก่อน
จะได้มาเข้าใจตัวธรรมแท้ๆ เฉยๆ
เป็นคำสอนที่เป็นจริง แต่ยังเป็นจริงระดับโลก
บุญ-บาป กุศล-อกุศล
“บุญ” มีความหมายตามรูปศัพท์ ๒ อย่าง
คือ เครื่องชำระสันดาน
คือชำระพื้นจิตใจให้สะอาด
สิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม
บางแห่งยังแสดงความหมายอื่นไว้อีกว่า
สิ่งที่นำมาซึ่งความน่าบูชา
สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้กระทำให้บริบูรณ์
ส่วน “บาป” มักแปลตามรูปศัพท์ว่า
สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์
หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ (=สิ่งที่ทำให้ตกไปในที่ชั่ว)
คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทราม หรือเลว)
บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์ของวิบาก แปลว่า ทุกข์
หรือ อนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา)
ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพทศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้
ซึ่งเป็นเพียงด้านหนึ่งเท่านั้น
ควรทราบความหมายในแง่ของหลักธรรม
เมื่อว่าโดยความหมายอย่างกว้างที่สุด
บุญมีความหมายเท่ากับกุศล
บาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศล
แต่ในการใช้จริง
บุญและบาป มักปรากฏในความหมายที่จำกัดแคบ
และจำเพาะแง่มากกว่ากุศลและอกุศล
กล่าวได้ว่า บาป ใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล
มากกว่าที่บุญใช้ในความหมายเท่ากับกุศล
แต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญ
ความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป
บาปที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือ
ในสัมมัปปธาน ๔ ข้อ ๑ และข้อ ๒
ซึ่งบาปมากับอกุศลธรรม ดังที่ว่า
ถ้าแบ่งกุศลเป็น ๒ ระดับ คือ โลกิยกุศล และโลกุตรกุศล
โดยทั่วไป บุญใช้กับโลกิยกุศล
ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ ก็ใส่คำขยายกำกับไว้ด้วย เช่น “โลกุตรบุญ”
ซึ่งมิได้เป็นคำที่นิยมใช้แต่ประการใด (พบในอรรถกถาแห่งหนึ่ง และในฏีกาที่อธิบาย
ต่อจากอรรถกถานั้น เท่านั้น)
คือ เครื่องชำระสันดาน
คือชำระพื้นจิตใจให้สะอาด
สิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม
บางแห่งยังแสดงความหมายอื่นไว้อีกว่า
สิ่งที่นำมาซึ่งความน่าบูชา
สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้กระทำให้บริบูรณ์
ส่วน “บาป” มักแปลตามรูปศัพท์ว่า
สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์
หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ (=สิ่งที่ทำให้ตกไปในที่ชั่ว)
คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทราม หรือเลว)
บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์ของวิบาก แปลว่า ทุกข์
หรือ อนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา)
ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพทศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้
ซึ่งเป็นเพียงด้านหนึ่งเท่านั้น
ควรทราบความหมายในแง่ของหลักธรรม
เมื่อว่าโดยความหมายอย่างกว้างที่สุด
บุญมีความหมายเท่ากับกุศล
บาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศล
แต่ในการใช้จริง
บุญและบาป มักปรากฏในความหมายที่จำกัดแคบ
และจำเพาะแง่มากกว่ากุศลและอกุศล
กล่าวได้ว่า บาป ใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล
มากกว่าที่บุญใช้ในความหมายเท่ากับกุศล
แต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญ
ความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป
บาปที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือ
ในสัมมัปปธาน ๔ ข้อ ๑ และข้อ ๒
ซึ่งบาปมากับอกุศลธรรม ดังที่ว่า
- เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
- เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
- เพียรเจริญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
- เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมหาย
ถ้าแบ่งกุศลเป็น ๒ ระดับ คือ โลกิยกุศล และโลกุตรกุศล
โดยทั่วไป บุญใช้กับโลกิยกุศล
ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ ก็ใส่คำขยายกำกับไว้ด้วย เช่น “โลกุตรบุญ”
ซึ่งมิได้เป็นคำที่นิยมใช้แต่ประการใด (พบในอรรถกถาแห่งหนึ่ง และในฏีกาที่อธิบาย
ต่อจากอรรถกถานั้น เท่านั้น)
สิกขาบท วินัย ศีล
สิกขาบทหลายข้อรวมกัน
เรียกว่าวินัย
วินัยที่ปฏิบัติจนป้องกันโทษที่จะเข้ามาทางต่างๆ ได้
เรียกว่าศีล
โทษที่ว่าก็เช่น
ทำให้เดือดร้อนใจ
ทำลายกรรมฐาน
ไม่ได้สมาธิสักที
ศีลก็เป็นคุณธรรมควบคุมจิตใจ
ให้คุณธรรมนี้ไปควบคุมกายวาจา
เรียกว่าวินัย
วินัยที่ปฏิบัติจนป้องกันโทษที่จะเข้ามาทางต่างๆ ได้
เรียกว่าศีล
โทษที่ว่าก็เช่น
ทำให้เดือดร้อนใจ
ทำลายกรรมฐาน
ไม่ได้สมาธิสักที
ศีลก็เป็นคุณธรรมควบคุมจิตใจ
ให้คุณธรรมนี้ไปควบคุมกายวาจา
วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
วิปัสสนา มรรค
วิปัสสนาญาณ เป็นสังขาร
มีสังขารเป็นอารมณ์
เป็นทุกขสัจ
เป็นปริญเญยธรรม
มรรคญาณ
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นภาเวตัพพธรรม
เราเจริญวิปัสสนา
ไม่ได้เจริญเอาวิปัสสนาญาณ
เจริญเอามรรค
เวลาเราเจริญวิปัสสนา
เราก็นึกว่าเราเจริญมรรคนะ
จริงๆ มันก็เจริญมรรคน่ะแหละ
แต่ด้วยความที่มันเป็นสังขาร
มันจะต้องเอามากำหนดรู้
คือเจริญมา ก็ต้องเอามากำหนดรู้
ไม่ได้เจริญเพื่อให้มันเจริญ
วิปัสสนาที่เรามาเจริญ
เพราะเชื่อมั่นว่าทำให้เกิดมรรค
ทำไมเชื่อ? พระพุทธเจ้าบอก :)
เหมือนให้ทาน รักษาศีล
เราไม่ได้ให้ทานเพื่อให้ทาน
เราให้ทานเพื่อให้มรรคเกิด
ดังนั้นทานที่ทำต้องเอามากำหนดรอบรู้
สำหรับพระอรหันต์
ปัญญาของท่าน คือรู้อริยสัจ 4
วิญญาณของท่านคือ วิปัสสนาญาณ
มีสังขารเป็นอารมณ์
เป็นทุกขสัจ
เป็นปริญเญยธรรม
มรรคญาณ
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นภาเวตัพพธรรม
เราเจริญวิปัสสนา
ไม่ได้เจริญเอาวิปัสสนาญาณ
เจริญเอามรรค
เวลาเราเจริญวิปัสสนา
เราก็นึกว่าเราเจริญมรรคนะ
จริงๆ มันก็เจริญมรรคน่ะแหละ
แต่ด้วยความที่มันเป็นสังขาร
มันจะต้องเอามากำหนดรู้
คือเจริญมา ก็ต้องเอามากำหนดรู้
ไม่ได้เจริญเพื่อให้มันเจริญ
วิปัสสนาที่เรามาเจริญ
เพราะเชื่อมั่นว่าทำให้เกิดมรรค
ทำไมเชื่อ? พระพุทธเจ้าบอก :)
เหมือนให้ทาน รักษาศีล
เราไม่ได้ให้ทานเพื่อให้ทาน
เราให้ทานเพื่อให้มรรคเกิด
ดังนั้นทานที่ทำต้องเอามากำหนดรอบรู้
สำหรับพระอรหันต์
ปัญญาของท่าน คือรู้อริยสัจ 4
วิญญาณของท่านคือ วิปัสสนาญาณ
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562
แช่มชื่นเบิกบานมั้ย
วิธีสังเกตุจิตฝ่ายสมาธิคือ จิตจะเบิกบาน เหมือนดอกบัวมันบานขึ้น
เวลาทำกรรมฐานดูว่าจิตบานมั้ย
ถ้าไม่บาน หุบลง ห่อเหี่ยวลง หล่นตุ๊บไปเรื่อย
นี่เรียกว่าไม่ได้กรรมฐาน
เมื่อบานแล้ว จิตมันก็จะมารวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ
แล้วก็บานขึ้นอีกครั้ง บานใหญ่กว่าเดิม
นี่ถึงจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง
ถ้าสมาธิไม่ถูกต้อง มันจะเป็นสมาธิแบบดิ่ง ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา
สมาธิมี 2 แบบ แบบเบิกบาน และแบบดิ่ง
แบบเบิกบาน
นี่เป็นสมาธิสำหรับใช้งานทางด้านปัญญา ผ่องใส ใช้งานได้ดี
แบบดิ่ง
ก็จะค่อยๆ ดิ่งลงไปเรื่อยๆ เข้าใกล้ภวังค์
เข้ารู ลงรูไปเรื่อย มุดถ้ำไปเรื่อย
นี้เป็นแบบภวังค์ ภวังค์คือสักหน่อยมันจะหลับนั่นเอง
ถ้ามันดิ่งมากๆ ถ้าสติทันอยู่ก็ยังไม่หลับ
ขาดสติเมื่อไร หลับทันที เรียกสมาธิลงภวังค์
เวลาทำกรรมฐานจึงต้องสังเกตจิตใจว่าแช่มชื่นเบิกบานมั้ย
เห็นคนยากจน เห็นคนลำบาก แช่มชื่นเบิกบานมั้ย (กรุณาสีมาสัมเภท)
ถ้าไม่ แสดงว่ามันไม่เป็นกรรมฐาน
กรุณาไม่เกิดกับอุเบกขาขาหรือโทมนัส
แต่เกิดกับโสมนัสเท่านั้น
เกิดกับจิตแช่มชื่นเบิกบานเท่านั้น
เอาความรู้สึกที่อยากจะให้คนนั้นพ้นไปจากทุกข์
ถ้ากรุณาน้อย เดี๋ยวก็เศร้าเข้ามาแทรก
ถ้าจะแยกมันให้ออก
กรุณาจะต้องใหญ่พอ และนานๆ ถึงจะเห็น
เวลาทำกรรมฐานดูว่าจิตบานมั้ย
ถ้าไม่บาน หุบลง ห่อเหี่ยวลง หล่นตุ๊บไปเรื่อย
นี่เรียกว่าไม่ได้กรรมฐาน
เมื่อบานแล้ว จิตมันก็จะมารวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ
แล้วก็บานขึ้นอีกครั้ง บานใหญ่กว่าเดิม
นี่ถึงจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง
ถ้าสมาธิไม่ถูกต้อง มันจะเป็นสมาธิแบบดิ่ง ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา
สมาธิมี 2 แบบ แบบเบิกบาน และแบบดิ่ง
แบบเบิกบาน
นี่เป็นสมาธิสำหรับใช้งานทางด้านปัญญา ผ่องใส ใช้งานได้ดี
แบบดิ่ง
ก็จะค่อยๆ ดิ่งลงไปเรื่อยๆ เข้าใกล้ภวังค์
เข้ารู ลงรูไปเรื่อย มุดถ้ำไปเรื่อย
นี้เป็นแบบภวังค์ ภวังค์คือสักหน่อยมันจะหลับนั่นเอง
ถ้ามันดิ่งมากๆ ถ้าสติทันอยู่ก็ยังไม่หลับ
ขาดสติเมื่อไร หลับทันที เรียกสมาธิลงภวังค์
เวลาทำกรรมฐานจึงต้องสังเกตจิตใจว่าแช่มชื่นเบิกบานมั้ย
เห็นคนยากจน เห็นคนลำบาก แช่มชื่นเบิกบานมั้ย (กรุณาสีมาสัมเภท)
ถ้าไม่ แสดงว่ามันไม่เป็นกรรมฐาน
กรุณาไม่เกิดกับอุเบกขาขาหรือโทมนัส
แต่เกิดกับโสมนัสเท่านั้น
เกิดกับจิตแช่มชื่นเบิกบานเท่านั้น
เอาความรู้สึกที่อยากจะให้คนนั้นพ้นไปจากทุกข์
ถ้ากรุณาน้อย เดี๋ยวก็เศร้าเข้ามาแทรก
ถ้าจะแยกมันให้ออก
กรุณาจะต้องใหญ่พอ และนานๆ ถึงจะเห็น
ที่มาของความเบียดเบียน
ถือว่าเราเป็นเจ้าของ
เราเป็นคน มันเป็นสัตว์ เราสามารถขับไล่มันได้
เรามาก่อน
เรามีสิทธิ์
เรามีความสามารถมากกว่า
ถือว่าเราถูกกฎหมาย มีสิทธิ์ว่าคนทำผิด
ถือว่าเราดี ก็กระแนะกระแหนคนไม่ดี
เราเป็นคน มันเป็นสัตว์ เราสามารถขับไล่มันได้
เรามาก่อน
เรามีสิทธิ์
เรามีความสามารถมากกว่า
ถือว่าเราถูกกฎหมาย มีสิทธิ์ว่าคนทำผิด
ถือว่าเราดี ก็กระแนะกระแหนคนไม่ดี
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562
จะสู้กิเลสสู้ให้ถูกตัว
สู้อย่างมีปัญญา
ไม่ใช่สู้อย่างฆ่ามันทิ้ง
ถ้าสู้อย่างนี้ คิดว่ากิเลสเป็นตัวตน
เราจะแพ้มันไปเรื่อย
เหมือนสู้กับเงา
ไม่ใช่เงามันเก่ง
แต่เงามันไม่มี เลยแพ้เรื่อยไป
ตายเปล่า
สู้กับสิ่งไม่มีตัวตน
ไปคิดว่ามันมีตัวตน
ราคะก็ไม่มีตัวตน
เกิดเพราะเหตุเพราะปัจจัย
อยากจะละ ไปทำเหตุให้เหมาะ ไม่ให้มันเกิด
ถ้าเกิดแล้วไปสู้กับมัน
ไปสู้แบบมันมีตัวตน
ไม่ใช่มันเก่ง
แต่เราโง่
สู้ไม่ถูกวิธี 5555
สู้กับความเข้าใจผิด
เข้าใจผิดว่าความเจ็บความปวดเป็นตัวเรา
เข้าใจผิดว่ากิเลสเป็นตัวเรา
ไม่ใช่สู้อย่างฆ่ามันทิ้ง
ถ้าสู้อย่างนี้ คิดว่ากิเลสเป็นตัวตน
เราจะแพ้มันไปเรื่อย
เหมือนสู้กับเงา
ไม่ใช่เงามันเก่ง
แต่เงามันไม่มี เลยแพ้เรื่อยไป
ตายเปล่า
สู้กับสิ่งไม่มีตัวตน
ไปคิดว่ามันมีตัวตน
ราคะก็ไม่มีตัวตน
เกิดเพราะเหตุเพราะปัจจัย
อยากจะละ ไปทำเหตุให้เหมาะ ไม่ให้มันเกิด
ถ้าเกิดแล้วไปสู้กับมัน
ไปสู้แบบมันมีตัวตน
ไม่ใช่มันเก่ง
แต่เราโง่
สู้ไม่ถูกวิธี 5555
สู้กับความเข้าใจผิด
เข้าใจผิดว่าความเจ็บความปวดเป็นตัวเรา
เข้าใจผิดว่ากิเลสเป็นตัวเรา
ไหว้เทพ ไหว้พรหม
ไหว้เพราะท่านมีคุณ
สีลลัพพตปรามาส
ไหว้เพื่อเราจะมีสุข
ไหว้เพื่อเราจะได้ดี
ไหว้เพราะจะได้ไม่มาทำอันตราย
ไหว้เพื่อให้ไล่ผี
ไหว้เพื่อให้สบายใจ
สีลลัพพตปรามาส
ไหว้เพื่อเราจะมีสุข
ไหว้เพื่อเราจะได้ดี
ไหว้เพราะจะได้ไม่มาทำอันตราย
ไหว้เพื่อให้ไล่ผี
ไหว้เพื่อให้สบายใจ
วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562
แก่นสารของสติ
ฝึกสติ ฝึกให้ได้แก่นสารของมัน
คือ
รู้และไม่หลงไปตามมัน
ถ้าไม่ไหว เช่น นอน ก็ "ทำ" อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ตั้งเวลาในการทำ ตั้งใจจะลุกขึ้น
มีสติแล้วก็ทำให้มันเป็นองค์ประกอบของการตรัสรู้
ดึงมันไปทางเป้าหมาย คือสร้างสติมาเพื่อการตรัสรู้
คือ
รู้และไม่หลงไปตามมัน
ถ้าไม่ไหว เช่น นอน ก็ "ทำ" อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ตั้งเวลาในการทำ ตั้งใจจะลุกขึ้น
มีสติแล้วก็ทำให้มันเป็นองค์ประกอบของการตรัสรู้
ดึงมันไปทางเป้าหมาย คือสร้างสติมาเพื่อการตรัสรู้
การละกิเลสของมรรค
การละกิเลสของมรรค คือการไม่ให้มันเกิดขึ้น
ไม่ให้มีเหตุของมันเกิดขึ้น
ส่วนไอ้กิเลสที่เกิดตอนนั้น...ช่างมัน !
เอามากำหนดรอบรู้ เอามายอมรับ เอามาเป็นสัจธรรมไป
ไม่ให้มีเหตุของมันเกิดขึ้น
ส่วนไอ้กิเลสที่เกิดตอนนั้น...ช่างมัน !
เอามากำหนดรอบรู้ เอามายอมรับ เอามาเป็นสัจธรรมไป
สมาธิละนิวรณ์?
เข้าใจว่ามีสมาธิจะละนิวรณ์ได้
เข้าใจผิดมาก
มาคิดแค่ว่าทำสมาธิจะได้ละนิวรณ์
นิวรณ์ทำให้เกิดอวิชชา
มานั่งสมาธิ จะได้ไม่เกิดนิวรณ์ จะได้ไม่เกิดอวิชชา
มันก็คิดอยู่อย่างนี้
ภาวนาเลยมานั่งทำแต่สมาธิ วนไป
กิเลสเลยคาอยู่จนทุกวันนี้
วิธีการมันจะต่างจากที่ท่านสอน
คำว่าละนิวรณ์ที่ท่านสอนคือ "ไม่เกิดอีก"
ไม่ใช่แค่ข่มไว้
เหมือนจะละอวิชชา ต้องทำวิชชาให้มีขึ้น
ถ้าจะละนิวรณ์ห้า ต้องทำอะไรล่ะให้มีขึ้น
ที่ไม่พ้นกิเลส เพราะไม่มีความชัดเจน
เมื่อชัดเจน ก็จะพ้่นจากอำนาจของมัน
โพชฌงค์เจ็ด จะมาเป็นตัวละนิวรณ์ห้าที่แท้จริง
เข้าใจผิดมาก
มาคิดแค่ว่าทำสมาธิจะได้ละนิวรณ์
นิวรณ์ทำให้เกิดอวิชชา
มานั่งสมาธิ จะได้ไม่เกิดนิวรณ์ จะได้ไม่เกิดอวิชชา
มันก็คิดอยู่อย่างนี้
ภาวนาเลยมานั่งทำแต่สมาธิ วนไป
กิเลสเลยคาอยู่จนทุกวันนี้
วิธีการมันจะต่างจากที่ท่านสอน
คำว่าละนิวรณ์ที่ท่านสอนคือ "ไม่เกิดอีก"
ไม่ใช่แค่ข่มไว้
เหมือนจะละอวิชชา ต้องทำวิชชาให้มีขึ้น
ถ้าจะละนิวรณ์ห้า ต้องทำอะไรล่ะให้มีขึ้น
ที่ไม่พ้นกิเลส เพราะไม่มีความชัดเจน
เมื่อชัดเจน ก็จะพ้่นจากอำนาจของมัน
โพชฌงค์เจ็ด จะมาเป็นตัวละนิวรณ์ห้าที่แท้จริง
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562
อย่างน้อยที่สุด เว้นบาป
ถ้ายังดีไม่ได้
เอาแค่ไม่ชั่วก็พอ
ความดีที่ยังทำไม่ได้อย่าเพิ่งฝืน
จะทำให้เกิดความทุกข์เยอะเกินไป
ทำเป็น step ไป
เอาแค่ไม่ชั่วก็พอ
ความดีที่ยังทำไม่ได้อย่าเพิ่งฝืน
จะทำให้เกิดความทุกข์เยอะเกินไป
ทำเป็น step ไป
เกี่ยวกับบุญกิริยา
การกระทำนั่นนี่เป็นเหตุให้เกิดบุญ
ไม่ใช่ตัวบุญ บุญเกิดที่จิต
การกระทำเป็นเหตุ
แต่จะเกิด หรือไม่เกิดบุญก็แล้วแต่เหตุอื่นๆ ประกอบอีก
ไม่ใช่ตัวบุญ บุญเกิดที่จิต
การกระทำเป็นเหตุ
แต่จะเกิด หรือไม่เกิดบุญก็แล้วแต่เหตุอื่นๆ ประกอบอีก
ความหมายของสติ
ความหมายของสติ
1 ตรึงไว้กับที่ ตรึงไว้กับงาน
เพราะจิตจะถูกดึงไปกับอารมณ์ เสียตัวให้สิ่งข้างนอก
อันนี้เรียกสติ เช่น
ตรึงไว้กับลม อานาปานสติ.
ตรึงไว้กับกาย กายคตาสติ ฯลฯ
จับเอาสติเฉพาะหน้า
เอาอารมปัจจุบัน
2 สติความหมายที่สอง คือดึงข้อมูลดีๆ ขึ้นมา เรียกอนุสสติ
สตินึกเอา เพราะไม่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
1 ตรึงไว้กับที่ ตรึงไว้กับงาน
เพราะจิตจะถูกดึงไปกับอารมณ์ เสียตัวให้สิ่งข้างนอก
อันนี้เรียกสติ เช่น
ตรึงไว้กับลม อานาปานสติ.
ตรึงไว้กับกาย กายคตาสติ ฯลฯ
จับเอาสติเฉพาะหน้า
เอาอารมปัจจุบัน
2 สติความหมายที่สอง คือดึงข้อมูลดีๆ ขึ้นมา เรียกอนุสสติ
สตินึกเอา เพราะไม่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562
ทำกรรมอย่างไร ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น
ในยุคที่มีธรรมพระพุทธเจ้า
ทำกรรมอย่างไร ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น
ทำบาปไม่จำเป็นต้องได้รับผลไม่ดี
ทำบุญไม่จำเป็นต้องได้รับผลดี
กรรมทำงานได้ภายใต้เหตุ
ถ้ากิเลสยังเหลือครบถ้วน มันก็ทำงานวนไปได้
แต่ถ้ามีปัญญา ก็หมดเหตุไป
ทำกรรมอย่างไร ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น
ทำบาปไม่จำเป็นต้องได้รับผลไม่ดี
ทำบุญไม่จำเป็นต้องได้รับผลดี
กรรมทำงานได้ภายใต้เหตุ
ถ้ากิเลสยังเหลือครบถ้วน มันก็ทำงานวนไปได้
แต่ถ้ามีปัญญา ก็หมดเหตุไป
ดูกรรมเก่า
ดูกรรมเก่า ดูตัวเองนี่แหละ
ดูตอนกระทบอารมณ์แล้วเป็นยังไง
ถ้ามันขึ้นเยอะ มีอาการเยอะ นั่นแหละกรรมเก่าที่สะสมมา
ได้ตา ได้หูชนิดนี้มา
วิธีแก้กรรมเก่า/ป้องกันกรรมเก่าเล่นงาน
คือป้องกัน สังวรณ์ ปิดกั้น ด้วยสติ
ถอนด้วยปัญญา
ไม่ให้อาหารมัน ไม่ให้อาหารกรรมเก่า
ดูตอนกระทบอารมณ์แล้วเป็นยังไง
ถ้ามันขึ้นเยอะ มีอาการเยอะ นั่นแหละกรรมเก่าที่สะสมมา
ได้ตา ได้หูชนิดนี้มา
วิธีแก้กรรมเก่า/ป้องกันกรรมเก่าเล่นงาน
คือป้องกัน สังวรณ์ ปิดกั้น ด้วยสติ
ถอนด้วยปัญญา
ไม่ให้อาหารมัน ไม่ให้อาหารกรรมเก่า
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
ตัณหาเป็นของควรละ
ละ = ไม่เกิดอีกต่อไป
ตัณหาเป็นของควรละ
ความหมายคือ เป็นของควรทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
สิ่งใดเห็นเป็นธรรมดาจึงจะละได้
ตัณหาเป็นของควรละ
ความหมายคือ เป็นของควรทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
สิ่งใดเห็นเป็นธรรมดาจึงจะละได้
มหาภูตรูป
มหา = ใหญ่
ภูต = มี เป็นจริง มีแบบจริงจัง
ธาตุ 4 ได้ชื่อว่ามหาภูต เพราะเหตุหลักๆ 5 อย่าง
ภูต = มี เป็นจริง มีแบบจริงจัง
ธาตุ 4 ได้ชื่อว่ามหาภูต เพราะเหตุหลักๆ 5 อย่าง
- เป็นของใหญ่มาก เช่น โลก จักรวาล
- เป็นนักเล่นกล หลอกลวง ต้มตุ๋น ดูเหมือนมี
หลอกจากไม่มีผู้ชาย ว่ามีผู้ชาย, หลอกว่าสวยงาม ไปหาจริงๆ มันไม่เจอ - สิ่งที่ต้องดูแลมาก
- เปลี่ยนแปลงมาก
- เป็นกองใหญ่และมีอยู่จริง
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีจริง แต่มันกองไม่ใหญ่ 555
โคจรสัมปชัญญะ - ฉลาดทำ
ไม่ได้มีแค่สติ
แต่คือปัญญาประกอบ
ฉลาดในโคจร
โคจรคืออารมณ์ของจิต
ว่าเวลานี้ควรทำอย่างนี้ เวลานี้ควรทำอย่างนี้
ควรให้จิตมันมองมุมไหน มองลักษณะไหน
ฉลาดในอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง
บางทีต้องยกจิต
บางทีต้องข่มมัน
ฯลฯ
แต่คือปัญญาประกอบ
ฉลาดในโคจร
โคจรคืออารมณ์ของจิต
ว่าเวลานี้ควรทำอย่างนี้ เวลานี้ควรทำอย่างนี้
ควรให้จิตมันมองมุมไหน มองลักษณะไหน
ฉลาดในอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง
บางทีต้องยกจิต
บางทีต้องข่มมัน
ฯลฯ
ทำสมาธิอย่างมีปัญญา
ต้องมีปัญญากำกับด้วยว่า
ขณะนี้อยู่กับกรรมฐานใดจึงจะมีีความเหมาะสม
ไม่ใช่ทำอย่างหัวทิ่มหัวตำไป มันก็ไม่สำเร็จ
กรรมฐานก็ต้องมีการบริหาร
เวลานี้ควรใช้นี้ เวลานี้ควรใช้นี้
สมาธิหรือสมถะนี้ก็ไม่ใช่ทำตลอดเวลา
เช่น เวลาเจอพระพุทธรูป ควรทำพุทธานุสสติ
เวลาเจอพระสงฆ์ ควรทำสังฆานุสสติ
ขณะนี้อยู่กับกรรมฐานใดจึงจะมีีความเหมาะสม
ไม่ใช่ทำอย่างหัวทิ่มหัวตำไป มันก็ไม่สำเร็จ
กรรมฐานก็ต้องมีการบริหาร
เวลานี้ควรใช้นี้ เวลานี้ควรใช้นี้
สมาธิหรือสมถะนี้ก็ไม่ใช่ทำตลอดเวลา
เช่น เวลาเจอพระพุทธรูป ควรทำพุทธานุสสติ
เวลาเจอพระสงฆ์ ควรทำสังฆานุสสติ
ประโยชน์ของการกินการนอน
ประโยชน์ของการกิน
ไม่ใช่อร่อย - ไม่มีปัญญา
เพื่อระงับเวทนาเก่า - มีปัญญา
ประโยชน์ของการนอน
ไม่ใช่เพื่อสบาย - ไม่มีปัญญา
เพื่อให้กระทำความเพียรต่อไปได้ - มีปัญญา
ไม่ใช่อร่อย - ไม่มีปัญญา
เพื่อระงับเวทนาเก่า - มีปัญญา
ประโยชน์ของการนอน
ไม่ใช่เพื่อสบาย - ไม่มีปัญญา
เพื่อให้กระทำความเพียรต่อไปได้ - มีปัญญา
ศรัทธาที่ถูกต้อง
คำว่าที่ถูกต้อง
ความหมายคือต้องมีปัญญาเข้ามากำกับเสมอ
อย่างศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ก็ต้องมีปัญญาว่า ท่านมีคุณอย่างไร จึงได้ศรัทธาท่าน
ไม่ใช่แค่ศรัทธาว่า หล่อดี สวยดี นี่ยังไม่ใช่ศรัทธาที่ถูกต้อง
ความหมายคือต้องมีปัญญาเข้ามากำกับเสมอ
อย่างศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ก็ต้องมีปัญญาว่า ท่านมีคุณอย่างไร จึงได้ศรัทธาท่าน
ไม่ใช่แค่ศรัทธาว่า หล่อดี สวยดี นี่ยังไม่ใช่ศรัทธาที่ถูกต้อง
วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562
ปรมัตถธรรมในทางปฏิบัติ
ปรมัตถธรรม 4
คือเรียนอารมณ์ของปัญญา (ไม่ใช่ปัญญา)
ปรมัตถธรรม 4 จึงเรียกว่าวิปัสสนาภูมิ
คำว่าวิปัสสนาภูมิ นี่ไม่ใช่วิปัสสนา
แต่เป็น "อารมณ์" ของวิปัสสนา
เป็นฐาน เป็นที่เกิดของวิปัสสนา
อริยสัจ ก็เป็นอารมณ์ของปัญญา ไม่ใช่ปัญญา
เมื่อเข้าใจประโยชน์
ก็พาเข้าสู่ปฏิบัติได้
ปรมัตถธรรมจึง
ต้องเอามาสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจฯ อริยสัจ
ไม่ให้เหลือความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวตน
พิจารณาอะไร เพื่ออะไร
เช่น เพื่อเอาภาวะขาดศีลออกไป คือ เอาความรู้สึกว่ามีตนออกไป
ดูอะไรอยู่ ยังรู้สึกว่ามีตน เป็นตนอยู่รึป่าว เอาออกไป
แจกแจงเข้าเป็นรูปขันธ์ เป็นเวทนา ฯลฯ
เจ็บปวดร่างกายนี้ไม่ใช่ร่างกายนะ เกิดที่จิต ค่อยๆ แยก
ภาวะขาดปัญญา กำหนดเป็นปัญหา
ยังเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายมั้ย
โดนด่ายังโกรธอยู่มั้ย
ยังเห็นสวยอยู่มั้ย
เห็นนั่นเห็นนี่เป็นลูกของเรา หมาของเรา
แล้วภาวะมีปัญญาเป็นไง
ถ้ารู้จักว่าสิ่งที่มองตรงหน้า นี่เป็นขันธ์ 5 นี่มีปัญญา
ถ้าเห็นเป็นคน นี่ขาดปัญญา
เห็นขันธ์ 5 เดิน เป็นจิตมันคิด กายมันยังทำงานได้ มันเลยพอเคลื่อนไปได้ นี่มีปัญญา
เห็นคนเดิน นี่ขาดปัญญา
ไม่เอาภาวะขาด...ออก ไม่ชื่อว่าเดินทาง
คือเรียนอารมณ์ของปัญญา (ไม่ใช่ปัญญา)
ปรมัตถธรรม 4 จึงเรียกว่าวิปัสสนาภูมิ
คำว่าวิปัสสนาภูมิ นี่ไม่ใช่วิปัสสนา
แต่เป็น "อารมณ์" ของวิปัสสนา
เป็นฐาน เป็นที่เกิดของวิปัสสนา
อริยสัจ ก็เป็นอารมณ์ของปัญญา ไม่ใช่ปัญญา
เมื่อเข้าใจประโยชน์
ก็พาเข้าสู่ปฏิบัติได้
ปรมัตถธรรมจึง
ต้องเอามาสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจฯ อริยสัจ
ไม่ให้เหลือความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวตน
พิจารณาอะไร เพื่ออะไร
เช่น เพื่อเอาภาวะขาดศีลออกไป คือ เอาความรู้สึกว่ามีตนออกไป
ดูอะไรอยู่ ยังรู้สึกว่ามีตน เป็นตนอยู่รึป่าว เอาออกไป
แจกแจงเข้าเป็นรูปขันธ์ เป็นเวทนา ฯลฯ
เจ็บปวดร่างกายนี้ไม่ใช่ร่างกายนะ เกิดที่จิต ค่อยๆ แยก
ภาวะขาดปัญญา กำหนดเป็นปัญหา
ยังเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายมั้ย
โดนด่ายังโกรธอยู่มั้ย
ยังเห็นสวยอยู่มั้ย
เห็นนั่นเห็นนี่เป็นลูกของเรา หมาของเรา
แล้วภาวะมีปัญญาเป็นไง
ถ้ารู้จักว่าสิ่งที่มองตรงหน้า นี่เป็นขันธ์ 5 นี่มีปัญญา
ถ้าเห็นเป็นคน นี่ขาดปัญญา
เห็นขันธ์ 5 เดิน เป็นจิตมันคิด กายมันยังทำงานได้ มันเลยพอเคลื่อนไปได้ นี่มีปัญญา
เห็นคนเดิน นี่ขาดปัญญา
ไม่เอาภาวะขาด...ออก ไม่ชื่อว่าเดินทาง
ศีล สมาธิ ปัญญา จะบริบูรณ์
ศีลจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้ศีลหมดไป
สมาธิจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้สมาธิหมดไป
ปัญญาจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้ปัญญาหมดไป
ที่ว่าภาวนา หรือพัฒนา นี่จริงๆ คือ "เอาภาวะไม่พัฒนาออกไป"
ภาวะไร้ศีล คือ ภาวะที่ไม่ควบคุมตัวเอง
เห็นแก่ผลประโยชน์ตนแล้วแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้งกัน
ภาวะไร้สมาธิ คือ ภาวะที่จิตมันติดข้องในกามคุณ
มันไม่มีความสุขในตัวมันเอง
ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องมาพึ่งพาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ภาวะขาดปัญญา คือ ภาวะที่ไม่รู้จักว่าขันธ์ทั้งห้ามันเป็นทุกข์
ตอนนี้ก็ไม่โง่อะไรนัก แต่มันมีภาวะขาดปัญญาอยู่
พร้อมจะเห็นว่าเป็นสุข พร้อมจะเห็นว่าเป็นของดี น่ารัก พร้อมจะเกิดตัณหา พร้อมจะยึดถือ
แต่ถ้าเอาภาวะที่เห็นแบบนี้ออกไป มันก็ไม่มีปัญหา
ภาวะมีปัญญา คือ เห็นว่าทุกอย่างมันทุกข์หมด อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ถ้าเห็นว่าทุกสิ่งมันเป็นทุกข์ ตัณหามันก็อยู่ไม่ได้
ไม่ว่าจะถือศีลกี่ข้อก็ตาม เคร่งแค่ไหนก็ตาม
ไม่อาจเรียกว่าศีลสมบูรณ์ได้ ถ้าไม่เอาภาวะไร้ศีลออกไป
จะมีสมาธิมากมายขนาดไหนก็ตามแต่
ได้ฌานระดับไหนก็ตามแต่ นั่งนานขนาดไหนก็ตามแต่
แต่ถ้าไม่เอาภาวะขาดสมาธิออกไป ก็ไม่อาจเรียกว่าสมาธิสมบูรณ์
เรียนได้ ท่องได้กี่คัมภีร์ก็ตามแต่
แต่ปัญญาจะสมบูรณ์อาจจะไม่ใช่ด้วยวิธีเรียนอย่างนี้เลยก็ได้
แค่เอาภาวะไร้ปัญญาออก คือเอาภาวะที่ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นทุกข์นั่นแหละ
เรียนอภิธรรม 7 คัมภีร์ ท่องได้เป๊ะ จำได้หมด
แต่เห็นอาหารยังน่ากิน ยังอร่อยอยู่เลย
นี่ไงภาวะขาดปัญญา
ศีลเป็นข้อๆ นี่ไม่ใช่การปฏิบัตินะ
การปฏิบัติที่แท้จริงคือ การเอาภาวะขาดศีลออกไป
ปุจฉา : อะไรล่ะ ทำให้เกิดภาวะขาดศีล?
วิสัชชนา : สักกายทิฏฐิ
เมื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของตน เวลามีตัวตนขึ้นมา
ขึ้นมารักษาผลประโยชน์ รักษาหน้า โกหกก็ได้ แย่งชิงก็ได้ ชิงลงมือก่อน
มันนึกไม่ออกว่าคนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ภาวะไร้สมาธิ ก็คือติดกามคุณ
ที่ติดกามคุณเพราะเห็นว่ามันสวยงาม
จะเอาภาวะไร้สมาธิออกทำไง ไปดูว่ามันไม่สวยงาม เป็นทุกข์ทุกอณูเลย
แต่ถ้ายังเหลือส่วน "สวยงาม" อยู่ ถึงจะนั่งจนก้นพัง ได้ฌานลึกแค่ไหน สมาธิก็ไม่สมบูรณ์
แต่ถ้าเอาภาวะไร้สมาธิออกแล้ว
ถึงไม่นั่งสมาธิ ก็ไปสุทธาวาสสบายๆ
ภาวะขาดปัญญา
มันก็ต้องไปเห็นว่า สุขโสมนัสต่างๆ ในสมาธิ
ความอุเบกขาวางเฉย อะไรก็ดี อันนี้ก็เป็นทุกข์ด้วย
ถ้าเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว มันก็หมดเรื่อง
ไม่ต้องเอาปัญญามาเพิ่มก็ได้ (หรือจะเอามาเพิ่มก็ได้)
คือจะเติมมากเติมน้อยก็ได้ ไม่เติมก็ได้ เพราะเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว
สมาธิจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้สมาธิหมดไป
ปัญญาจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้ปัญญาหมดไป
ที่ว่าภาวนา หรือพัฒนา นี่จริงๆ คือ "เอาภาวะไม่พัฒนาออกไป"
ภาวะไร้ศีล คือ ภาวะที่ไม่ควบคุมตัวเอง
เห็นแก่ผลประโยชน์ตนแล้วแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้งกัน
ภาวะไร้สมาธิ คือ ภาวะที่จิตมันติดข้องในกามคุณ
มันไม่มีความสุขในตัวมันเอง
ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องมาพึ่งพาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ภาวะขาดปัญญา คือ ภาวะที่ไม่รู้จักว่าขันธ์ทั้งห้ามันเป็นทุกข์
ตอนนี้ก็ไม่โง่อะไรนัก แต่มันมีภาวะขาดปัญญาอยู่
พร้อมจะเห็นว่าเป็นสุข พร้อมจะเห็นว่าเป็นของดี น่ารัก พร้อมจะเกิดตัณหา พร้อมจะยึดถือ
แต่ถ้าเอาภาวะที่เห็นแบบนี้ออกไป มันก็ไม่มีปัญหา
ภาวะมีปัญญา คือ เห็นว่าทุกอย่างมันทุกข์หมด อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ถ้าเห็นว่าทุกสิ่งมันเป็นทุกข์ ตัณหามันก็อยู่ไม่ได้
ไม่ว่าจะถือศีลกี่ข้อก็ตาม เคร่งแค่ไหนก็ตาม
ไม่อาจเรียกว่าศีลสมบูรณ์ได้ ถ้าไม่เอาภาวะไร้ศีลออกไป
จะมีสมาธิมากมายขนาดไหนก็ตามแต่
ได้ฌานระดับไหนก็ตามแต่ นั่งนานขนาดไหนก็ตามแต่
แต่ถ้าไม่เอาภาวะขาดสมาธิออกไป ก็ไม่อาจเรียกว่าสมาธิสมบูรณ์
เรียนได้ ท่องได้กี่คัมภีร์ก็ตามแต่
แต่ปัญญาจะสมบูรณ์อาจจะไม่ใช่ด้วยวิธีเรียนอย่างนี้เลยก็ได้
แค่เอาภาวะไร้ปัญญาออก คือเอาภาวะที่ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นทุกข์นั่นแหละ
เรียนอภิธรรม 7 คัมภีร์ ท่องได้เป๊ะ จำได้หมด
แต่เห็นอาหารยังน่ากิน ยังอร่อยอยู่เลย
นี่ไงภาวะขาดปัญญา
ศีลเป็นข้อๆ นี่ไม่ใช่การปฏิบัตินะ
การปฏิบัติที่แท้จริงคือ การเอาภาวะขาดศีลออกไป
ปุจฉา : อะไรล่ะ ทำให้เกิดภาวะขาดศีล?
วิสัชชนา : สักกายทิฏฐิ
เมื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของตน เวลามีตัวตนขึ้นมา
ขึ้นมารักษาผลประโยชน์ รักษาหน้า โกหกก็ได้ แย่งชิงก็ได้ ชิงลงมือก่อน
มันนึกไม่ออกว่าคนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ภาวะไร้สมาธิ ก็คือติดกามคุณ
ที่ติดกามคุณเพราะเห็นว่ามันสวยงาม
จะเอาภาวะไร้สมาธิออกทำไง ไปดูว่ามันไม่สวยงาม เป็นทุกข์ทุกอณูเลย
แต่ถ้ายังเหลือส่วน "สวยงาม" อยู่ ถึงจะนั่งจนก้นพัง ได้ฌานลึกแค่ไหน สมาธิก็ไม่สมบูรณ์
แต่ถ้าเอาภาวะไร้สมาธิออกแล้ว
ถึงไม่นั่งสมาธิ ก็ไปสุทธาวาสสบายๆ
ภาวะขาดปัญญา
มันก็ต้องไปเห็นว่า สุขโสมนัสต่างๆ ในสมาธิ
ความอุเบกขาวางเฉย อะไรก็ดี อันนี้ก็เป็นทุกข์ด้วย
ถ้าเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว มันก็หมดเรื่อง
ไม่ต้องเอาปัญญามาเพิ่มก็ได้ (หรือจะเอามาเพิ่มก็ได้)
คือจะเติมมากเติมน้อยก็ได้ ไม่เติมก็ได้ เพราะเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว
ปฏิบัติ ปฏิปทา ปฏิปันโน
ปฏิบัติ แปลว่า เดินทาง ฉะนั้นการเดินทาง จะไม่มีเป้าหมาย มันก็ไม่เรียกว่าเดินทาง
ปฏิปันโน แปลว่า ผู้มาถึง
ปฏิปทา แปลว่า ทาง
ปฏิปันโน แปลว่า ผู้มาถึง
ปฏิปทา แปลว่า ทาง
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562
กำหนดตัณหา
กำหนดตัณหาปัจจุบัน
กำหนดกิเลสที่เกิดขึ้น
ดูว่ามันเกิดในที่ไหน
ตัวอารมณ์ กำหนดเป็นทุกข์
ตัวติดข้อ ตัวเพลิน กำหนดเป็นสมุทัย
กำหนดกิเลสอดีต
กำหนดที่วิบาก
ขันธ์ห้าที่ได้อยู่ตอนนี้ มาจากตัณหาอดีต
กำหนดกิเลสที่เกิดขึ้น
ดูว่ามันเกิดในที่ไหน
ตัวอารมณ์ กำหนดเป็นทุกข์
ตัวติดข้อ ตัวเพลิน กำหนดเป็นสมุทัย
กำหนดกิเลสอดีต
กำหนดที่วิบาก
ขันธ์ห้าที่ได้อยู่ตอนนี้ มาจากตัณหาอดีต
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562
คิดอดีตจะเกิดทิฏฐิ คิดอนาคตจะเกิดตัณหา
คิดอดีตจะเกิดทิฏฐิ
คิดอนาคตจะเกิดตัณหา
เรียนภพชาติแบบข้ามภพข้ามชาติ
ดันระลึกชาติได้อีก
ไม่เรียนให้ดีๆ ว่าเป็นแค่รูปนามขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน
เกิดมาตามเหตุแล้ว ก็ดับไปแล้ว
มันจะเลยเถิดไปว่า "เราเป็นนั่น" "เราเป็นนี่"
ถ้ายังไม่มีปัญญาก็อย่าเพิ่งไปคิด
อยู่กับปัจจุบันไว้
ไม่มีไรทำก็อยู่กับลมหายใจไป
คิดอนาคตจะเกิดตัณหา
เรียนภพชาติแบบข้ามภพข้ามชาติ
ดันระลึกชาติได้อีก
ไม่เรียนให้ดีๆ ว่าเป็นแค่รูปนามขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน
เกิดมาตามเหตุแล้ว ก็ดับไปแล้ว
มันจะเลยเถิดไปว่า "เราเป็นนั่น" "เราเป็นนี่"
ถ้ายังไม่มีปัญญาก็อย่าเพิ่งไปคิด
อยู่กับปัจจุบันไว้
ไม่มีไรทำก็อยู่กับลมหายใจไป
วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
ชิงลงมือก่อน
ชิงลงมือก่อน
อะไรหนอเป็นที่ตั้งของกิเลส
ตอนนี้มีสติ มีปัญญา เอามาพิจารณาขันธ์
เพราะเดี๋ยวมันก็จะไม่มีสติ เดี๋ยวมันก็จะไม่มีปัญญา
มองให้เห็นว่ามันเป็นมันเท่านั้นแหละ
มันไม่ได้เป็นเรา
เห็นแล้วก็ไม่ต้องมองมาก
ถ้าไม่เห็นก็ต้องมองหลายมุมหน่อย มองแล้วมองอีก
อะไรหนอเป็นที่ตั้งของกิเลส
ตอนนี้มีสติ มีปัญญา เอามาพิจารณาขันธ์
เพราะเดี๋ยวมันก็จะไม่มีสติ เดี๋ยวมันก็จะไม่มีปัญญา
มองให้เห็นว่ามันเป็นมันเท่านั้นแหละ
มันไม่ได้เป็นเรา
เห็นแล้วก็ไม่ต้องมองมาก
ถ้าไม่เห็นก็ต้องมองหลายมุมหน่อย มองแล้วมองอีก
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562
อสุภะก็ไม่ได้จริง
น่าเกลียดนี่เอาไว้แก้น่ารักเฉยๆ
ของจริงก็ไม่ได้มีทั้งน่าเกลียดหรือน่ารัก
แต่ถ้ายังเห็นว่าน่ารัก ก็จะยังเป็นที่ตั้งแต่กาม คือความยินดีพอใจ
จึงเอาน่าเกลียดมาแก้น่ารัก
แก้ได้แล้วก็วางอสุภะลง
ของจริงก็ไม่ได้มีทั้งน่าเกลียดหรือน่ารัก
แต่ถ้ายังเห็นว่าน่ารัก ก็จะยังเป็นที่ตั้งแต่กาม คือความยินดีพอใจ
จึงเอาน่าเกลียดมาแก้น่ารัก
แก้ได้แล้วก็วางอสุภะลง
ความตั้งอยู่ได้
วัตถุกามยังตั้งอยู่ได้
คือยังมีอิทธิพลไปจนกว่าจะถึงอนาคามี
เมื่อเห็นรูปเป็นทุกข์ วัตถุกามจึงตั้งอยู่ไม่ได้
ร่างกายเป็นที่ตั้งของวัตถุทั้งหลาย
คือยังมีอิทธิพลไปจนกว่าจะถึงอนาคามี
เมื่อเห็นรูปเป็นทุกข์ วัตถุกามจึงตั้งอยู่ไม่ได้
ร่างกายเป็นที่ตั้งของวัตถุทั้งหลาย
วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562
ปล่อยวางซะสิ
ปล่อยวางซะสิ
น่่มันพูดแบบเอาผลมาพูด มันได้ที่ไหน
ปล่อยวางนี้เป็นชื่อของวิมุตติ
จะทำต้องมาทำเหตุ
เหตุของปล่อยวางคือ "มรรค"
เหตุของมรรคคือ "วิปัสสนา"
เหตุของวิปัสสนาคือ "ความเพียร สัมปชัญญะ สติ"
ถ้าไม่ได้ทำเหตุไม่ต้องเอาผลมาพูด
ปล่อยได้ก็เพราะเห็นความจริงว่ามันเป็นอย่างนั้น เป็นธรรมดา
น่่มันพูดแบบเอาผลมาพูด มันได้ที่ไหน
ปล่อยวางนี้เป็นชื่อของวิมุตติ
จะทำต้องมาทำเหตุ
เหตุของปล่อยวางคือ "มรรค"
เหตุของมรรคคือ "วิปัสสนา"
เหตุของวิปัสสนาคือ "ความเพียร สัมปชัญญะ สติ"
ถ้าไม่ได้ทำเหตุไม่ต้องเอาผลมาพูด
ปล่อยได้ก็เพราะเห็นความจริงว่ามันเป็นอย่างนั้น เป็นธรรมดา
นามรูป vs รูปนาม
นามรูป
ใช้ในอธิบายปฏิจจสมุปบาท
เอาวิญญาณออกมาเป็นประธานก่อน แล้วค่อยนามรูป
...สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ...
ที่รูปเติบโตได้เพราะวิญญาณ
ที่นามทำงานได้ก็เพราะวิญญาณ
นามรูป จะเป็นการพูดถึงเหตุปัจจัย เรียงกันไป
เอาไว้อธิบายว่ากองทุกข์นี่มันเวียนว่ายไปอย่างไร
วิญญาณ + นามรูป = ขันธ์ 5
นาม ในนามรูป สื่อถึง เวทนา สัญญา สังขาร
ส่วนรูปนาม นี่เท่ากับขันธ์ 5 เลย
รูปนามนี่เป็นการพูดถึงองค์ประกอบ เอาคนมาแยกเป็น รูปธรรม และนามธรรม
รูปนามนี่เอาไว้ปฏิบัติวิปัสสนา ขันธ์ 5
ใช้ในอธิบายปฏิจจสมุปบาท
เอาวิญญาณออกมาเป็นประธานก่อน แล้วค่อยนามรูป
...สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ...
ที่รูปเติบโตได้เพราะวิญญาณ
ที่นามทำงานได้ก็เพราะวิญญาณ
นามรูป จะเป็นการพูดถึงเหตุปัจจัย เรียงกันไป
เอาไว้อธิบายว่ากองทุกข์นี่มันเวียนว่ายไปอย่างไร
วิญญาณ + นามรูป = ขันธ์ 5
นาม ในนามรูป สื่อถึง เวทนา สัญญา สังขาร
ส่วนรูปนาม นี่เท่ากับขันธ์ 5 เลย
รูปนามนี่เป็นการพูดถึงองค์ประกอบ เอาคนมาแยกเป็น รูปธรรม และนามธรรม
รูปนามนี่เอาไว้ปฏิบัติวิปัสสนา ขันธ์ 5
ความฝัน
ความฝันเกิดจากความคิดที่ยังวิปลาสอยู่
สังขารที่เกิดจากจิตปรุงแต่งสร้างภาพขึ้นมา
ภาพนี่สร้างจากความวิปลาสที่ชื่อว่า อัตวาทุปาทาน
ความคิดวิปลาสนี่จะเกิดเฉพาะผู้ที่ยังมีกิเลส
เวลาคิดมันจะ "สร้างภาพ" ขึ้นมาด้วย
ภาพที่ว่าก็เป็นภาพตัวตน ภาพตัวเรา ว่าเราเป็นใคร (จริงๆ ไม่มีใช่มั้ย)
แต่เรามองตัวเราเป็นภาพ เราจึงรู้ว่าเราเป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย
ทำไมมองออกเป็นอย่างนี้ ก็เพราะเรามองตัวเองเป็นภาพ
มันเป็นการสร้างภาพขึ้นมาในจิต
ภาพนี้เกิดจาก "วิปลาสในจิต"
ตอนนี้ก็เหมือนฝันอยู่
ฝัน ก็คือความคิดที่เกิดภาพได้ด้วย
แล้วเราดัน "เชื่อ" ภาพนั้น
ภาพนั้น เรียกเป็นกิเลสว่า "อัตวาทุปาทาน" ความยึดถือภาพลักษณ์ตัวตน
มองภาพตัวเอง เป็นชาย เป็นหญิง อายุเท่านั้นเท่านี้
ยังไงเรียกว่าฝัน
การรู้สึกว่า เราเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นคนไทย เป็นชายหญิง
โดยสัจจะ มีที่ไหนล่ะ คนไทย
แต่เราไม่เรียกฝัน เพราะตามันเห็นด้วย หูมันได้ยินด้วย
แต่ถ้าปิดตาปิดหู หลับสนิท มีแต่ทางใจอย่างเดียว เรียกว่า "ฝัน"
มันก็เป็นการสร้างภาพแบบเดียวกัน
การทำงานของเทพสังหรณ์
เวลาเราขาดสติสัมปชัญญะ คุมตัวเองไม่อยู่
ก็อาจจะถูกคุม คุมจิตเราไปสร้าง "ภาพ" ให้
เวลาเรามีสติสัมปชัญญะ เราก็สร้างภาพ "เอง"
พอเราเบลอหน่อย โพล้เพล้หน่อย ก็อาจมีคนช่วย "สร้างภาพ" 5555
จริงไม่จริงนี่แล้วแต่ท่านที่ช่วยสร้างนั่นแหละ
สังขารที่เกิดจากจิตปรุงแต่งสร้างภาพขึ้นมา
ภาพนี่สร้างจากความวิปลาสที่ชื่อว่า อัตวาทุปาทาน
ความคิดวิปลาสนี่จะเกิดเฉพาะผู้ที่ยังมีกิเลส
เวลาคิดมันจะ "สร้างภาพ" ขึ้นมาด้วย
ภาพที่ว่าก็เป็นภาพตัวตน ภาพตัวเรา ว่าเราเป็นใคร (จริงๆ ไม่มีใช่มั้ย)
แต่เรามองตัวเราเป็นภาพ เราจึงรู้ว่าเราเป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย
ทำไมมองออกเป็นอย่างนี้ ก็เพราะเรามองตัวเองเป็นภาพ
มันเป็นการสร้างภาพขึ้นมาในจิต
ภาพนี้เกิดจาก "วิปลาสในจิต"
ตอนนี้ก็เหมือนฝันอยู่
ฝัน ก็คือความคิดที่เกิดภาพได้ด้วย
แล้วเราดัน "เชื่อ" ภาพนั้น
ภาพนั้น เรียกเป็นกิเลสว่า "อัตวาทุปาทาน" ความยึดถือภาพลักษณ์ตัวตน
มองภาพตัวเอง เป็นชาย เป็นหญิง อายุเท่านั้นเท่านี้
ยังไงเรียกว่าฝัน
การรู้สึกว่า เราเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นคนไทย เป็นชายหญิง
โดยสัจจะ มีที่ไหนล่ะ คนไทย
แต่เราไม่เรียกฝัน เพราะตามันเห็นด้วย หูมันได้ยินด้วย
แต่ถ้าปิดตาปิดหู หลับสนิท มีแต่ทางใจอย่างเดียว เรียกว่า "ฝัน"
มันก็เป็นการสร้างภาพแบบเดียวกัน
การทำงานของเทพสังหรณ์
เวลาเราขาดสติสัมปชัญญะ คุมตัวเองไม่อยู่
ก็อาจจะถูกคุม คุมจิตเราไปสร้าง "ภาพ" ให้
เวลาเรามีสติสัมปชัญญะ เราก็สร้างภาพ "เอง"
พอเราเบลอหน่อย โพล้เพล้หน่อย ก็อาจมีคนช่วย "สร้างภาพ" 5555
จริงไม่จริงนี่แล้วแต่ท่านที่ช่วยสร้างนั่นแหละ
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562
ตื่นเช้ามันดี
ไม่ดีเพราะเวลา
ดีเพราะมากระทำสิ่งดีๆ
ระเบียบวินััย กำลังหมู่พวก (ใครๆ ก็ทำ)
มีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้กำลังจิตเยอะ
ดีเพราะมากระทำสิ่งดีๆ
ระเบียบวินััย กำลังหมู่พวก (ใครๆ ก็ทำ)
มีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้กำลังจิตเยอะ
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562
แจงลงขันธ์ 5
กองทุกข์ที่ไม่ได้ถูกกำหนดรู้
นั้นแหละจะถูกถือไปเป็นตัวตน
ไม่ว่าอะไรจึงต้องกำหนดลงเป็นขันธ์ 5 ให้ได้
ถ้าแจกลงขันธ์ 5 ได้ อ้าว นี่มันก็ไม่ใช่เรานี่
แต่ถ้าแจกลงไม่ได้ มันจะเห็นว่า นี่ไงเรา
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ระบุให้ได้
ความคิดเกิด...นี่สังขารขันธ์
สีชมพูเกิด...นี่สัญญาขันธ์
และทุกขันธ์นั้นไม่เที่ยงหมดเลย
ดูลงไปด้วยว่า ไม่เที่ยงเพราะอะไร
ให้มันตอบให้ได้
กำหนดไม่ได้ก็จะเห็นผิด 4 มุม
นั้นแหละจะถูกถือไปเป็นตัวตน
ไม่ว่าอะไรจึงต้องกำหนดลงเป็นขันธ์ 5 ให้ได้
ถ้าแจกลงขันธ์ 5 ได้ อ้าว นี่มันก็ไม่ใช่เรานี่
แต่ถ้าแจกลงไม่ได้ มันจะเห็นว่า นี่ไงเรา
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ระบุให้ได้
ความคิดเกิด...นี่สังขารขันธ์
สีชมพูเกิด...นี่สัญญาขันธ์
และทุกขันธ์นั้นไม่เที่ยงหมดเลย
ดูลงไปด้วยว่า ไม่เที่ยงเพราะอะไร
ให้มันตอบให้ได้
กำหนดไม่ได้ก็จะเห็นผิด 4 มุม
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เข้าถึงฌานที่ 4 อันไม่ทุกข์และไม่สุข
เนว สาตํนาสาตํ
สาตํ = สำราญ
ภาวะที่สำราญทางใจก็ไม่ใช่
ภาวะที่ไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่
สาตํ = สำราญ
ภาวะที่สำราญทางใจก็ไม่ใช่
ภาวะที่ไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน (ทางใจ)
โสมนัส
ความสำราญ
ความสุข สบายทางใจ
ที่เกิดจากเจโตสัมผัส (กระทบสิ่งต่างๆ ทางใจ) แล้วความรู้สึกขึ้น
โทมนัสนี่จริงๆ ดับไปตั้งแต่โน่นนน...ฌาน 1 แล้ว
ความสำราญ
ความสุข สบายทางใจ
ที่เกิดจากเจโตสัมผัส (กระทบสิ่งต่างๆ ทางใจ) แล้วความรู้สึกขึ้น
โทมนัสนี่จริงๆ ดับไปตั้งแต่โน่นนน...ฌาน 1 แล้ว
เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ (ทางกาย)
สุขนี้ หมายถึง สุขทางกาย
ต่อไปกายจะไม่รู้สึก ความรู้สึกทางกายจะหายไป
ยํ กายิกํ สาตํ ความสำราญทางกาย
กายิกํ สุขํ ความสุขทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ สาตํ สุขํ เวทยิตํ ภาวะที่เสวยความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
กาย สมฺผสฺสชา สาตา สุขา เวทนา. ความรู้สึกสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ สุขํ.
ความรู้สึกทางกาย
เหล่านี้จะละไปในฌานที่ 4
พวกนั่งรู้สึกว่า ลมเย็นสบาย แล้วคิดว่าเข้าฌานที่ 4
จงรู้ว่า...ยังไม่ถึง ไม่ต้องสงสัย 5555
ทุกข์นี้ ก็หมายถึง ทุกข์ทางกาย
ยํ กายิกํ อสาตํ ความไม่สำราญทางกาย
กายิกํ ทุกฺขํ ความทุกข์ทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ อสาตํ ทุกฺขํ เวทยิตํ ความเสวยอารมณ์ทุกข์ที่เกิดจากกายสัมผัส
กายสมฺผสฺสชา อสาตา ทุกฺขา เวทนา. ความรู้สึกไม่สำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขํ.
ถ้านั่งปวดหลังก็ไม่ต้องนึกหรอกว่าได้ฌานไหน
ความรู้สึกทางกายประสาทไม่ทำงาน
ความรู้สึกทางกายไม่เกิด
ผัสสะดับ อายตนะดับ ทางกาย
ต่อไปกายจะไม่รู้สึก ความรู้สึกทางกายจะหายไป
ยํ กายิกํ สาตํ ความสำราญทางกาย
กายิกํ สุขํ ความสุขทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ สาตํ สุขํ เวทยิตํ ภาวะที่เสวยความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
กาย สมฺผสฺสชา สาตา สุขา เวทนา. ความรู้สึกสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ สุขํ.
ความรู้สึกทางกาย
เหล่านี้จะละไปในฌานที่ 4
พวกนั่งรู้สึกว่า ลมเย็นสบาย แล้วคิดว่าเข้าฌานที่ 4
จงรู้ว่า...ยังไม่ถึง ไม่ต้องสงสัย 5555
ทุกข์นี้ ก็หมายถึง ทุกข์ทางกาย
ยํ กายิกํ อสาตํ ความไม่สำราญทางกาย
กายิกํ ทุกฺขํ ความทุกข์ทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ อสาตํ ทุกฺขํ เวทยิตํ ความเสวยอารมณ์ทุกข์ที่เกิดจากกายสัมผัส
กายสมฺผสฺสชา อสาตา ทุกฺขา เวทนา. ความรู้สึกไม่สำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขํ.
ถ้านั่งปวดหลังก็ไม่ต้องนึกหรอกว่าได้ฌานไหน
ความรู้สึกทางกายประสาทไม่ทำงาน
ความรู้สึกทางกายไม่เกิด
ผัสสะดับ อายตนะดับ ทางกาย
สุข
ความสำราญทางใจ
โสมนัส
เจโตสัมผัสสชา เวทนาอันเกิดจากความสัมผัสทางใจกับองค์ฌาน
สัญญาจะรู้จักความสุขอย่างแท้จริงก็งานนี้ (ในฌาน 3)
ปกติความสุขที่รู้จักมักไม่มาเดี่ยว จะมากับปีติ แถมอวิชชาราคะนั่นนี่
งานนี้จะรับรู้ความสุขแบบชัดเจน วิญญาณได้รู้จักและสัญญาได้เรียนรู้
ถ้าอยากเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุข (สุขวิหารี)
ต้องมีองค์ประกอบ อุเปกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
โสมนัส
เจโตสัมผัสสชา เวทนาอันเกิดจากความสัมผัสทางใจกับองค์ฌาน
สัญญาจะรู้จักความสุขอย่างแท้จริงก็งานนี้ (ในฌาน 3)
ปกติความสุขที่รู้จักมักไม่มาเดี่ยว จะมากับปีติ แถมอวิชชาราคะนั่นนี่
งานนี้จะรับรู้ความสุขแบบชัดเจน วิญญาณได้รู้จักและสัญญาได้เรียนรู้
ถ้าอยากเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุข (สุขวิหารี)
ต้องมีองค์ประกอบ อุเปกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ฌานแบบพุทธ
สงบแล้ว
ได้องค์ประกอบของฌานตามนี้ๆ แล้ว
มาเช็คว่า...
เห็นการทำงานของรูปนามชัดเจนมั้ย
ฌานแบบพุทธจะมีองค์ประกอบหลายอย่างคล้ายกับฌานฤาษี
แต่จะมีองค์ประกอบเหล่านี้เพิ่มขึ้นมา
มีปสาทะ
มีอุเปกขา
มีสติ
มีสัมปชัญญะ
สมาธิในพุทธคือ เตรียมไว้เพื่อความชัดเจนในการทำงาน
สิ่งที่ต้องมีคือสิ่งที่มีประโยชน์ในการ..ใช้งานต่อ
ได้องค์ประกอบของฌานตามนี้ๆ แล้ว
มาเช็คว่า...
เห็นการทำงานของรูปนามชัดเจนมั้ย
ฌานแบบพุทธจะมีองค์ประกอบหลายอย่างคล้ายกับฌานฤาษี
แต่จะมีองค์ประกอบเหล่านี้เพิ่มขึ้นมา
มีปสาทะ
มีอุเปกขา
มีสติ
มีสัมปชัญญะ
สมาธิในพุทธคือ เตรียมไว้เพื่อความชัดเจนในการทำงาน
สิ่งที่ต้องมีคือสิ่งที่มีประโยชน์ในการ..ใช้งานต่อ
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
อุเบกขา
ภาวะความเป็นกลางของจิต
ก็ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก
ความเข้าไปดูแบบไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
อุป+อิกข
อุป ใกล้ๆ
อิกฺข จ้องดู
ก็ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก
ความเข้าไปดูแบบไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
อุป+อิกข
อุป ใกล้ๆ
อิกฺข จ้องดู
องค์ฌานแบบพระสูตรและแบบอภิธรรม
องค์ประกอบฌานที่ 2 แบบพระสูตร
จะมีตัวสัมปสาท อยู่ด้วย
เรียกว่ามี 4 องค์ฌาน
อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติ สุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ,
(สุตฺตนฺตภาชนีย)
ต่างจากแบบอภิธรรม
ติวงฺคิกํ ฌานํ โหติ ปีติ สุขํ จิตฺตสฺส เอกคฺคตา.
นึกถึง pure VS applied science
จะมีตัวสัมปสาท อยู่ด้วย
เรียกว่ามี 4 องค์ฌาน
อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติ สุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ,
(สุตฺตนฺตภาชนีย)
ต่างจากแบบอภิธรรม
ติวงฺคิกํ ฌานํ โหติ ปีติ สุขํ จิตฺตสฺส เอกคฺคตา.
นึกถึง pure VS applied science
ผ่องใสในภายใน
เพราะความสงบไปของวิตกและวิจาร
คือเจตสิกสองตัวสงบไป เงียบไป ดับไป สิ้นไป
ผ่องใสในภายใน
อชฺฌตฺตํ ภายใน อยู่ที่คนนั้น ความหมายก็คือ ปจฺจตฺตํ
สมฺปสาทนํ
คือศรัทธาเจตสิก
ต้องมีตัวนี้จึงจะเป็นฌานที่ถูกต้อง
เชื่อมั่น เชื่อถือ วางใจ ไว้ใจร้อยเปอร์เซนต์
ในความรู้ หรือปัญญาของพระพุทธเจ้า
ถ้าไม่มีตัวนี้ บางทีความรู้มันจะไปที่อื่น
ปสาท
ความผ่องใส ความใส ความพร้อม
ใจพร้อมจะเป็นเครื่องมือรับ
นึกถึงปสาทตา
มันพร้อมสำหรับรับแสง
ธาตุสี่มันมืด กรรมสร้างช่องแสงมาให้
ความสามารถในการรับแสง
ฌานสองจะมีความพร้อมจะรับเต็มที่
สมาธิเกิดแล้ว จากความเลื่อมใส ปีติ และสุข
คือเจตสิกสองตัวสงบไป เงียบไป ดับไป สิ้นไป
ผ่องใสในภายใน
อชฺฌตฺตํ ภายใน อยู่ที่คนนั้น ความหมายก็คือ ปจฺจตฺตํ
สมฺปสาทนํ
คือศรัทธาเจตสิก
ต้องมีตัวนี้จึงจะเป็นฌานที่ถูกต้อง
เชื่อมั่น เชื่อถือ วางใจ ไว้ใจร้อยเปอร์เซนต์
ในความรู้ หรือปัญญาของพระพุทธเจ้า
ถ้าไม่มีตัวนี้ บางทีความรู้มันจะไปที่อื่น
ปสาท
ความผ่องใส ความใส ความพร้อม
ใจพร้อมจะเป็นเครื่องมือรับ
นึกถึงปสาทตา
มันพร้อมสำหรับรับแสง
ธาตุสี่มันมืด กรรมสร้างช่องแสงมาให้
ความสามารถในการรับแสง
ฌานสองจะมีความพร้อมจะรับเต็มที่
สมาธิเกิดแล้ว จากความเลื่อมใส ปีติ และสุข
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
สงัดจากอกุศลธรรม
สงัดจากอกุศลธรรมท.
หมายถึง นิวรณ์ 5
ก็รวมสงัดจากกามเข้าไปด้วยแหละ
ตอนละนี่ก็จัดเป็นอุปจารสมาธิ
พอฌานก็คือ สงัด คือห่างกันเลย
หมายถึง นิวรณ์ 5
ก็รวมสงัดจากกามเข้าไปด้วยแหละ
ตอนละนี่ก็จัดเป็นอุปจารสมาธิ
พอฌานก็คือ สงัด คือห่างกันเลย
สงัดจากกาม
คือสงัดจากกิเลสกาม ความคิดที่เป็นกาม ความคิดเรื่องกาม
จิตเป็นกุศลต่อเนื่องกัน
ไม่ติดข้องในโลภะ ตัณหา
เด๋วก็ที่นอน เด๋วก็ของกิน
ว่าจะไปทำนั่นทำนี่ ว่าจะไปดูนั่นดูนี่
ไม่ได้หมายถึง สงัดจาก รูป เสียง กลิ่น รส
จิตเป็นกุศลต่อเนื่องกัน
ไม่ติดข้องในโลภะ ตัณหา
เด๋วก็ที่นอน เด๋วก็ของกิน
ว่าจะไปทำนั่นทำนี่ ว่าจะไปดูนั่นดูนี่
ไม่ได้หมายถึง สงัดจาก รูป เสียง กลิ่น รส
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
พอสมาธิแล้วสบาย
สบายก็มักจะขี้เกียจ
ขี้เกียจแล้วก็ประมาท
อ่อ นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"
นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"
จึงต้อง "ยก" จิตขึ้นสู่วิปัสสนา
จริงๆ มันก็ไม่ได้ขี้เกียจหรอกนะ
มันแค่ "ขยันสบาย"
สบายก็มักจะขี้เกียจ
ขี้เกียจแล้วก็ประมาท
อ่อ นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"
นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"
มีที่ไหนเล่า...อันนี้มันรวมลงในความประมาทแล้ว
ต้องเอามาทำงานจึงต้อง "ยก" จิตขึ้นสู่วิปัสสนา
จริงๆ มันก็ไม่ได้ขี้เกียจหรอกนะ
มันแค่ "ขยันสบาย"
สมาธิควบคู่วิปัสสนา
สมาธินี่
ทำแล้วจิตโปร่งโล่งสบาย
ไปอยู่ที่ไหนมันก็อยู่ได้
จึงให้จิตได้พัก
วิปัสสนา
เบื่อหน่าย
อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้
จึงต้องสลับกับสมาธิ เดี๋ยวจะเครียดไปถ้าไม่สมดุล
ทำแล้วจิตโปร่งโล่งสบาย
ไปอยู่ที่ไหนมันก็อยู่ได้
จึงให้จิตได้พัก
วิปัสสนา
เบื่อหน่าย
อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้
จึงต้องสลับกับสมาธิ เดี๋ยวจะเครียดไปถ้าไม่สมดุล
เพ่ง
สนใจ ใส่ใจจนชัดเจน
ผลเป็นการทำลายฝ่ายตรงข้าม
คือทำลายนิวรณ์
ถ้าเพ่งไปที่ตัวอารมณ์
ให้ตัวอารมณ์เด่นขึ้นมา
พออารมณ์ที่เพ่งหาย
อื่นๆ ก็ปรากฎขึ้นมา
ออกนอกห้องก็หาย
เป็นลักษณะเข้าๆ ออกๆ
ถ้าใส่ใจสนใจไปที่ลักษณะ
อารมณ์จะเป็นอะไรก็ได้
จะมีผลไปสู่ความเข้าใจทุกสิ่ง
พอออกนอกห้องความเข้าใจก็อันเดียวกัน
จะอดีต ปัจจุบัน อนาคต หยาบละเอียด
ผลเป็นการทำลายฝ่ายตรงข้าม
คือทำลายนิวรณ์
ถ้าเพ่งไปที่ตัวอารมณ์
ให้ตัวอารมณ์เด่นขึ้นมา
พออารมณ์ที่เพ่งหาย
อื่นๆ ก็ปรากฎขึ้นมา
ออกนอกห้องก็หาย
เป็นลักษณะเข้าๆ ออกๆ
ถ้าใส่ใจสนใจไปที่ลักษณะ
อารมณ์จะเป็นอะไรก็ได้
จะมีผลไปสู่ความเข้าใจทุกสิ่ง
พอออกนอกห้องความเข้าใจก็อันเดียวกัน
จะอดีต ปัจจุบัน อนาคต หยาบละเอียด
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ต้มถั่วเขียว
มุคฺคสูปตาย
พูดทีเล่นทีจริงเหมือนต้มถั่วเขียว
มีทั้งเม็ดกลม เม็ดบาน
ต้มถั่วเขียวจัดเป็นอนาจาร
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน
พูดทีเล่นทีจริงเหมือนต้มถั่วเขียว
มีทั้งเม็ดกลม เม็ดบาน
ต้มถั่วเขียวจัดเป็นอนาจาร
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน
อาจาร และ อนาจาร
อาจาร ความประพฤติที่ดีงามเหมาะสม
อนาจาร ความประพฤติที่ไม่ดีงาม ไม่เหมาะสม
คำว่า ดีงาม คือเหมาะสมที่จะเจริญก้าวหน้าไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล
ถ้าไม่ดีคือ มันไม่มีโอกาสเจริญไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล
เหมาะสมคือ เหมาะสมในการจะทำให้เกิดคุณธรรมชั้นสูงต่อไป
อนาจาร คือแบบไหน
คือการล่วงละเมิดทางกาย วาจา พูดเพ้อเจ้อก็จัดเป็น อนาจาร 5555
อนาจาร ความประพฤติที่ไม่ดีงาม ไม่เหมาะสม
คำว่า ดีงาม คือเหมาะสมที่จะเจริญก้าวหน้าไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล
ถ้าไม่ดีคือ มันไม่มีโอกาสเจริญไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล
เหมาะสมคือ เหมาะสมในการจะทำให้เกิดคุณธรรมชั้นสูงต่อไป
อนาจาร คือแบบไหน
คือการล่วงละเมิดทางกาย วาจา พูดเพ้อเจ้อก็จัดเป็น อนาจาร 5555
วิหรติ
เห็นกายในกาย "อยู่"
วิหรติ มักแปลว่า "อยู่"
คำว่า "อยู่" คือ มันต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง กินบ้าง
บริหารให้ทุกข์มันคงอยู่ไป ให้ทุกข์มันคงอยู่ได้
มันจึงจะทำงานนี้ต่อไปได้ คือ ดูกายเป็นกาย
ต้องบริหารให้ทุกข์มันต่อเนื่อง เพื่อจะได้ดูกายเป็นกายได้นานๆ
ถ้ายืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียวมันไม่ทุกข์ คือมันไม่ทำให้ทุกข์สืบเนื่อง
มันต้องยืนบ้าง นั่งบ้าง ทำนี่นั่นบ้าง ความทุกข์มันจึงสืบเนื่อง
"อยู่" หมายถึง อยู่ได้
ใครอยู่ได้ ตอบทุกข์อยู่ได้
ตัวที่อยู่ก็ทุกข์ ตัวที่ตายก็ทุกข์
อธิบาย วิหรติด้วย
อิริยติ คือทำให้มันต่อเนื่อง ให้มันสืบเนื่อง
วตติ ดำเนินไป
ปาเลติ รักษาไป
ยเปติ เป็นไป
ยาเปติ ให้มันเป็นไป
จรติ ท่องเที่ยวไป
ถ้าทุกข์ไม่ต่อเนื่องนี่ปฏิบัติธรรมไม่ได้นะ
ต้องบริหารให้ชีวิตมันเป็นไปได้ คือให้ทุกข์มันต่อเนื่องไป สืบเนื่องไป
ถ้ายังเที่ยวไปตรงนู้นตรงนี้ได้ ก็ปฏิบัติธรรมได้ ถ้าเที่ยวไปไม่ได้ก็ปฏิบัติไม่ได้
วิหรติ มักแปลว่า "อยู่"
คำว่า "อยู่" คือ มันต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง กินบ้าง
บริหารให้ทุกข์มันคงอยู่ไป ให้ทุกข์มันคงอยู่ได้
มันจึงจะทำงานนี้ต่อไปได้ คือ ดูกายเป็นกาย
ต้องบริหารให้ทุกข์มันต่อเนื่อง เพื่อจะได้ดูกายเป็นกายได้นานๆ
ถ้ายืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียวมันไม่ทุกข์ คือมันไม่ทำให้ทุกข์สืบเนื่อง
มันต้องยืนบ้าง นั่งบ้าง ทำนี่นั่นบ้าง ความทุกข์มันจึงสืบเนื่อง
"อยู่" หมายถึง อยู่ได้
ใครอยู่ได้ ตอบทุกข์อยู่ได้
ตัวที่อยู่ก็ทุกข์ ตัวที่ตายก็ทุกข์
อธิบาย วิหรติด้วย
อิริยติ คือทำให้มันต่อเนื่อง ให้มันสืบเนื่อง
วตติ ดำเนินไป
ปาเลติ รักษาไป
ยเปติ เป็นไป
ยาเปติ ให้มันเป็นไป
จรติ ท่องเที่ยวไป
ถ้าทุกข์ไม่ต่อเนื่องนี่ปฏิบัติธรรมไม่ได้นะ
ต้องบริหารให้ชีวิตมันเป็นไปได้ คือให้ทุกข์มันต่อเนื่องไป สืบเนื่องไป
ถ้ายังเที่ยวไปตรงนู้นตรงนี้ได้ ก็ปฏิบัติธรรมได้ ถ้าเที่ยวไปไม่ได้ก็ปฏิบัติไม่ได้
โอปนยิโก VS โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
ยังเป็นมโนทวารวัชนะ เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น
เป็นการใส่ใจ สนใจ หรือเป็นความคิดก็ได้ แต่ในแง่มุมที่เหมาะสม
พิจารณาตรงตามเงื่อนไข ตรงตามหลักการ
เพื่อจะให้เกิดกุศล เกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดมรรคผลต่อไปในอนาคต
ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น
ธรรมคุณ
สวากขาโต ภควตา ธมโม
กล่าวถึง 2 ส่วน คือทั้งปริยัติ คือพระไตรปิฎก ว่าเป็นคำที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ
และมรรคผลนิพพาน คือโลกุตตรธรรม 9 ว่าท่านตรัสไว้ดีแล้ว
ตรัสมรรค เหมาะกับนิพพาน (ตรัสเหตุ เหมาะกับผล)
ท่อนอื่นๆ ถัดมา สันทิฏฐิโก อกาลิโกฯ
กล่าวถึงมรรค ผล นิพพาน ทั้งสิ้น
สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดได้ด้วยตนเอง
ก็กล่าวถึงมรรค ที่ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้จัก จึงจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ต่อให้พูดมรรค 8 ไปจนตาย ก็ไม่รู้จัก
อกาลิโก คือไม่มีระหว่างคั่นระหว่างเหตุกับผล
ถ้าเป็นเหตุกับผลในฝ่ายอื่นๆ เช่น
ทำกรรมฝ่ายกามาวจร บางทีต้องรอผลกันจนลืมเลย ชาติที่ร้อยหนึ่งโน่นผลค่อยมา 555
ถ้าทำกรรมฝ่ายรูปา อรูปาวจร รอตายก่อนถึงได้รับผล
คืออุตส่าห์เข้าฌานได้ แต่ต้องตายก่อนถึงเป็นพรหมได้ (ถ้าฌานไม่เสื่อมนะ)
แต่มรรคไม่เป็นอย่างนั้น
พอมรรคเกิดขึ้นผลต่อทันที
แม้กัปป์กำลังจะวอด แต่ถ้ามรรคเกิด กัปป์จะวอดต้องรอก่อน รอแป๊บ เพราะผลต้องเกิดก่อน ไม่มีคำว่าตายก่อนได้ผล
เป็นผลในชาตินั้น จากปุถุชน ข้ามเป็นอริยะ ผลเกิดต่อเนื่องกันไม่มีสิ่งใดคั่น
มรรคขั้นใดก็ได้ ฝ่ายมรรคจึงเรียกว่าเป็นฐิตกัปปี
โอปนยิโก จึงไม่เหมือนโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น
ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น
กล่าวถึง 2 ส่วน คือทั้งปริยัติ คือพระไตรปิฎก ว่าเป็นคำที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ
และมรรคผลนิพพาน คือโลกุตตรธรรม 9 ว่าท่านตรัสไว้ดีแล้ว
ตรัสมรรค เหมาะกับนิพพาน (ตรัสเหตุ เหมาะกับผล)
ท่อนอื่นๆ ถัดมา สันทิฏฐิโก อกาลิโกฯ
กล่าวถึงมรรค ผล นิพพาน ทั้งสิ้น
สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดได้ด้วยตนเอง
ก็กล่าวถึงมรรค ที่ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้จัก จึงจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ต่อให้พูดมรรค 8 ไปจนตาย ก็ไม่รู้จัก
อกาลิโก คือไม่มีระหว่างคั่นระหว่างเหตุกับผล
ถ้าเป็นเหตุกับผลในฝ่ายอื่นๆ เช่น
ทำกรรมฝ่ายกามาวจร บางทีต้องรอผลกันจนลืมเลย ชาติที่ร้อยหนึ่งโน่นผลค่อยมา 555
ถ้าทำกรรมฝ่ายรูปา อรูปาวจร รอตายก่อนถึงได้รับผล
คืออุตส่าห์เข้าฌานได้ แต่ต้องตายก่อนถึงเป็นพรหมได้ (ถ้าฌานไม่เสื่อมนะ)
แต่มรรคไม่เป็นอย่างนั้น
พอมรรคเกิดขึ้นผลต่อทันที
แม้กัปป์กำลังจะวอด แต่ถ้ามรรคเกิด กัปป์จะวอดต้องรอก่อน รอแป๊บ เพราะผลต้องเกิดก่อน ไม่มีคำว่าตายก่อนได้ผล
เป็นผลในชาตินั้น จากปุถุชน ข้ามเป็นอริยะ ผลเกิดต่อเนื่องกันไม่มีสิ่งใดคั่น
มรรคขั้นใดก็ได้ ฝ่ายมรรคจึงเรียกว่าเป็นฐิตกัปปี
โอปนยิโก จึงไม่เหมือนโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น
ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ความดีต้องรักษา
ปล่อยจิตเสื่อมบ่อยๆ
จิตจะหมดกำลัง
รู้สึกเหมือนหมดอำนาจวาสนา
ท้อถอย ถอยไปเรื่อย จนไม่เอาในพระพุทธเจ้าองค์นี้
อันนี้อันตราย....
อันนี้เรียกถอยจนจะตกเหวอยู่แล้วยังไม่รู้
เกิดอาการแป้ก ไปไม่รอด รอพระศรีอาริย์
พอถึงพระศรีอาริย์ รอกัปป์หน้า
จิตจะหมดกำลัง
รู้สึกเหมือนหมดอำนาจวาสนา
ท้อถอย ถอยไปเรื่อย จนไม่เอาในพระพุทธเจ้าองค์นี้
อันนี้อันตราย....
อันนี้เรียกถอยจนจะตกเหวอยู่แล้วยังไม่รู้
เกิดอาการแป้ก ไปไม่รอด รอพระศรีอาริย์
พอถึงพระศรีอาริย์ รอกัปป์หน้า
ฌานที่เป็นมรรค
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สังขารที่เป็นไปในวัฏฏะก็มี
ปุญญา อปุญญา อเนญชา
ปุญญาที่เป็นสังขาร
ก็มีบุญที่เป็นกามวจร รูปาวจรที่เป็นฌานทั้ง 4 และรูปาวจรที่เป็นอาเนญช
แต่ที่กล่าวในฌานวิภังค์คือ จะมาทางมรรค
คนละส่วนกับวัฏฏสงสาร
ตัวแยกว่าอะไรเป็นมรรคไม่เป็นมรรค
อยู่ที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ
สังขารที่เป็นไปในวัฏฏะก็มี
ปุญญา อปุญญา อเนญชา
ปุญญาที่เป็นสังขาร
ก็มีบุญที่เป็นกามวจร รูปาวจรที่เป็นฌานทั้ง 4 และรูปาวจรที่เป็นอาเนญช
แต่ที่กล่าวในฌานวิภังค์คือ จะมาทางมรรค
คนละส่วนกับวัฏฏสงสาร
ตัวแยกว่าอะไรเป็นมรรคไม่เป็นมรรค
อยู่ที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ
สมถะวิปัสสนาในมรรค
รู้จักสมาธิว่าเป็นส่วนหนึ่งในมรรค
และต้องมีความต้องการจะออกจากวัฏฏสงสาร
สัมมาทิฏฐิ และสังกัปปะ นี้แยกเป็นวิปัสสนา
องค์ที่เหลือ จัดเป็นสมถะ
ศีลกับสมาธิ ก็จัดลงในองค์สมถะที่เหลือ
และต้องมีความต้องการจะออกจากวัฏฏสงสาร
สัมมาทิฏฐิ และสังกัปปะ นี้แยกเป็นวิปัสสนา
องค์ที่เหลือ จัดเป็นสมถะ
ศีลกับสมาธิ ก็จัดลงในองค์สมถะที่เหลือ
การงดเว้น
การจะงดเว้นเรื่องใด
มันก็ต้องเริ่มด้วยการเห็นโทษ
การเห็นโทษนี่แหละ เป็นสัมมาทิฏฐิ
เริ่มจากเรื่องพื้นฐานคือ ทุจริต
สิ่งที่เกิดจากกิเลสมีโทษทั้งสิ้น
วัฏฏสงสารมีโทษทั้งสิ้น
โทษที่มองไม่เห็นนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
โทษเป็นเหตุ มีทุกข์เป็นผล
เห็นโทษแล้ว...คิดจะออก
ถ้ายังไม่คิดจะออก ยังไม่เป็นมรรค
ออกนานๆ จึงจะหายโหย
มันก็ต้องเริ่มด้วยการเห็นโทษ
การเห็นโทษนี่แหละ เป็นสัมมาทิฏฐิ
เริ่มจากเรื่องพื้นฐานคือ ทุจริต
สิ่งที่เกิดจากกิเลสมีโทษทั้งสิ้น
วัฏฏสงสารมีโทษทั้งสิ้น
โทษที่มองไม่เห็นนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
โทษเป็นเหตุ มีทุกข์เป็นผล
เห็นโทษแล้ว...คิดจะออก
ถ้ายังไม่คิดจะออก ยังไม่เป็นมรรค
ออกนานๆ จึงจะหายโหย
ศีลกับสัจจะ
ศีล จัดเป็นมรรคสัจ
แต่ถ้ารักษาศีลเพื่อไปสวรรค์
อันนี้เป็นสมุทยสัจ เป็นไปเพื่อเวียนว่ายตายเกิด
แต่ถ้ารักษาศีลเพื่อไปสวรรค์
อันนี้เป็นสมุทยสัจ เป็นไปเพื่อเวียนว่ายตายเกิด
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
หน้าที่ต่อขันธ์
รูปขันธ์
เวทนาขันธ์
วิญญาณขันธ์
เป็นสิ่งควรรู้
สังขารขันธ์
เป็นสิ่งควรละ และควรเจริญ
สัญญาขันธ์
เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
เวทนาขันธ์
วิญญาณขันธ์
เป็นสิ่งควรรู้
สังขารขันธ์
เป็นสิ่งควรละ และควรเจริญ
สัญญาขันธ์
เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
คิดไม่ดีเป็นกรรม?
วิตกเฉยๆ ไม่เป็นกิเลส
ตอนอยู่วิเวกจะเห็นชัด
ตอนอยู่บ้านเห็นไม่ชัดเพราะเจตนามันบัง
สมมติเห็นคนคนหนึ่ง
นึกหมั่นไส้
อันนี้ไม่บาป เป็นวิตกเฉยๆ เป็นการทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
ไม่ได้เป็นกรรม
หรือนั่งสมาธิแล้วความคิดดีโผล่ขึ้น
คิดว่าดี
อันนี้ก็ไม่ได้ดี เป็นแค่การทำงานขันธ์ห้า เป็นวิตก
แต่ปกติเราไม่ค่อยมีสติ
ความคิดเกิดขึ้นเยอะแยะไม่เห็น
พอเจตนาเกิดขึ้นไปทำโน่นทำนี่
ก็เอาเจตนารวบรัดเป็นความคิด
เจตนานี้ไม่ใช่วิตกแล้ว คือไม่ใช่การทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
แต่เป็นกรรมใหม่ เป็นเหตุแล้ว ไม่ใช่เป็นผล
คนมักจะรวบรัดว่าคิดไม่ดีคือทำไม่ดี
จริงๆ วิตกเป็น อัพยากต
คือมันจะเป็นบาปก็ต่อเมื่อมีเจตนาเข้ามาเอี่ยว
ตอนอยู่วิเวกจะเห็นชัด
ตอนอยู่บ้านเห็นไม่ชัดเพราะเจตนามันบัง
สมมติเห็นคนคนหนึ่ง
นึกหมั่นไส้
อันนี้ไม่บาป เป็นวิตกเฉยๆ เป็นการทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
ไม่ได้เป็นกรรม
หรือนั่งสมาธิแล้วความคิดดีโผล่ขึ้น
คิดว่าดี
อันนี้ก็ไม่ได้ดี เป็นแค่การทำงานขันธ์ห้า เป็นวิตก
แต่ปกติเราไม่ค่อยมีสติ
ความคิดเกิดขึ้นเยอะแยะไม่เห็น
พอเจตนาเกิดขึ้นไปทำโน่นทำนี่
ก็เอาเจตนารวบรัดเป็นความคิด
เจตนานี้ไม่ใช่วิตกแล้ว คือไม่ใช่การทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
แต่เป็นกรรมใหม่ เป็นเหตุแล้ว ไม่ใช่เป็นผล
คนมักจะรวบรัดว่าคิดไม่ดีคือทำไม่ดี
จริงๆ วิตกเป็น อัพยากต
คือมันจะเป็นบาปก็ต่อเมื่อมีเจตนาเข้ามาเอี่ยว
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
สมาทานกรรมฐาน
กรรมฐาน
กระบวนการในการฝึกหัดให้ธรรมเข้าไปในใจ
รับเอาแต่ที่เหมาะสม เอาพอสมควร
ไม่ใช่ทำจนเครียด
ไม่ใช่ว่าต้องสวดให้ครบ
ไม่มีคำว่า "ต้อง"
คือถ้า "จิตดี" โอเคแล้ว
สัพพัตกกรรมฐาน
กระบวนการในการฝึกหัดให้ธรรมเข้าไปในใจ
รับเอาแต่ที่เหมาะสม เอาพอสมควร
ไม่ใช่ทำจนเครียด
ไม่ใช่ว่าต้องสวดให้ครบ
ไม่มีคำว่า "ต้อง"
คือถ้า "จิตดี" โอเคแล้ว
สัพพัตกกรรมฐาน
- พุทธา ธัมมา สังฆานุสสติ
- เมตตา และคณะ
เมตตาคือการวางจิต
วางดีก็ดี วางไม่ดีก็พัง
แค่วางจิตก็เป็นกรรมฐานแล้ว มันเข้าถึงจิต - มรณสติ ช่วยให้ไม่ประมาท รู้อะไรสำคัญ รู้ค่าเวลา จิตไม่สะเปะสะปะ
- อสุภะ เอาไว้แก้พวกติดน่ารัก โดนทักตีนกาขึ้นแล้วตกใจ อันนี้ควรแก้
กรรมฐานเอาไว้แก้จิต เหมือนกินยา
มีปัญหาก็แก้ ไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องแก้
สมาทานศีล
สมาทาน คือรับไว้ ถือไว้
รับมาเป็นข้อฝึก ข้อปฏิบัติ
ถือในใจไว้เสมอ
ไม่ต้องรับกับพระก็ได้
ใจถือเอามาเลยเป็นใช้ได้
ควรถือไว้เสมอ เป็นใบเบิกทางสู่สุขติโลกสวรรค์
พวกไม่ถือมีสองพวก
รับมาเป็นข้อฝึก ข้อปฏิบัติ
ถือในใจไว้เสมอ
ไม่ต้องรับกับพระก็ได้
ใจถือเอามาเลยเป็นใช้ได้
ควรถือไว้เสมอ เป็นใบเบิกทางสู่สุขติโลกสวรรค์
พวกไม่ถือมีสองพวก
- ไม่มีแก่นสาร
- บรรลุแล้ว จบกิจ
เมื่อมีศีล 5 เป็นพื้น อย่างอื่นถือเป็นบวกเพิ่ม
ไม่ต้องเครียด
เอาศีลมาไว้กับจิต
เอาของมีค่ามาไว้กับจิต
จิตก็มีค่า
จะได้เห็นคุณค่าของตน
พิธี บริกรรม
พิธีต่างๆ บาลีเรียกบริกรรม
วัตถุประสงค์ของการบริกรรมคือการเตรียมจิตให้พร้อมเฉยๆ
จะสวดหรือจะไม่สวด
ถ้าสวดแล้วกับไม่สวดมันเท่ากัน
ก็จะไม่สวดก็ได้
แต่ถ้าสวดแล้วดีกว่าไม่สวด
แบบนี้ก็สวดดีกว่า
วัตถุประสงค์ของการบริกรรมคือการเตรียมจิตให้พร้อมเฉยๆ
จะสวดหรือจะไม่สวด
ถ้าสวดแล้วกับไม่สวดมันเท่ากัน
ก็จะไม่สวดก็ได้
แต่ถ้าสวดแล้วดีกว่าไม่สวด
แบบนี้ก็สวดดีกว่า
วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562
โอโก
โอกํ ปหาย อนิเกตสารี
คาเม อกุพฺพํ มุนิ สนฺถวานิ
กาเมหิ ริตฺโต อปุรกฺขราโน
กถํ น วิคฺคยฺห ชเนน กยิรา
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562
วิมุตตายตนะ
อายตนะ
ช่องทาง
ช่องทางให้เกิด
ธรรมทานเป็นวิมุตตายตนะ
เป็นช่องทางให้เกิดวิมุตติ
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจากผู้รู้โดยตรง
ให้นำธรรมที่เรียนมา มาบอกต่อ
แสดงให้ตรงตามที่ท่านทรงแสดงเอาไว้
แสดงด้วยความซื่อตรงต่อธรรม
ระหว่างแสดงจะมีการทบทวน
มีการรู้ทันขึ้นมา
การรู้ทันในระหว่างแสดงธรรม ก็เป็นช่องทางของวิมุตติ
ช่องแรกฟังธรรม
ช่องถัดมา แสดงธรรม
ถัดมา สาธยายธรรม มนต์ที่เป็นพุทธพจน์ หรือจากพระไตรปิฎก
ช่องทาง
ช่องทางให้เกิด
ธรรมทานเป็นวิมุตตายตนะ
เป็นช่องทางให้เกิดวิมุตติ
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจากผู้รู้โดยตรง
ให้นำธรรมที่เรียนมา มาบอกต่อ
แสดงให้ตรงตามที่ท่านทรงแสดงเอาไว้
แสดงด้วยความซื่อตรงต่อธรรม
ระหว่างแสดงจะมีการทบทวน
มีการรู้ทันขึ้นมา
การรู้ทันในระหว่างแสดงธรรม ก็เป็นช่องทางของวิมุตติ
ช่องแรกฟังธรรม
ช่องถัดมา แสดงธรรม
ถัดมา สาธยายธรรม มนต์ที่เป็นพุทธพจน์ หรือจากพระไตรปิฎก
ศีล 5 ละเมิดข้อใดบาปสุด
ศีลไม่พึงมีเปรียบเทียบว่าข้อไหนหนักเบากว่าข้อไหน
ท่านแสดงไว้ในลักษณะของโทษ
ว่าทำแล้วผลเป็นอย่างไร
ยิ่งองค์แห่งการขาดมาก (เช่น รู้ทั้งรู้, ตั้งใจทำ, ทำสำเร็จ)
ผลแห่งการทำนั้นยิ่งมาก
คือยิ่งกิเลสมาก กรรมยิ่งบรรจง วิบากก็ยิ่งมาก
อะไรเกิดขึ้นเมื่อเห็นว่าข้อนี้ "เบา" กว่าอีกข้อ
ถ้ามีความเห็นข้อนี้เบา มันจะเอนเอียงว่า ข้อนี้ "พอทำได้"
พอทำข้อนึงได้ จะเริ่มลามไปข้ออื่น
จะบอกว่าข้อ 5 หนักสุด ว่าขาดสติแล้วทำไรก็ได้
อันนี้ก็จริง แต่ไม่ได้จริงเสมอไป
ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบ กินเหล้าแล้วหลับไปก็ได้ อันนี้โทษก็จำกัดวง
ศีลข้อ 3
ตัดผิดที่มรรคล่วงมรรค
ไม่เกี่ยวกับสมยอมหรือไม่
ศีลข้อ 5
ตัดผิดที่ล่วงลำคอ
ไม่เกี่ยวกับเมาไม่เมา
ท่านแสดงไว้ในลักษณะของโทษ
ว่าทำแล้วผลเป็นอย่างไร
ยิ่งองค์แห่งการขาดมาก (เช่น รู้ทั้งรู้, ตั้งใจทำ, ทำสำเร็จ)
ผลแห่งการทำนั้นยิ่งมาก
คือยิ่งกิเลสมาก กรรมยิ่งบรรจง วิบากก็ยิ่งมาก
อะไรเกิดขึ้นเมื่อเห็นว่าข้อนี้ "เบา" กว่าอีกข้อ
ถ้ามีความเห็นข้อนี้เบา มันจะเอนเอียงว่า ข้อนี้ "พอทำได้"
พอทำข้อนึงได้ จะเริ่มลามไปข้ออื่น
จะบอกว่าข้อ 5 หนักสุด ว่าขาดสติแล้วทำไรก็ได้
อันนี้ก็จริง แต่ไม่ได้จริงเสมอไป
ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบ กินเหล้าแล้วหลับไปก็ได้ อันนี้โทษก็จำกัดวง
ศีลข้อ 3
ตัดผิดที่มรรคล่วงมรรค
ไม่เกี่ยวกับสมยอมหรือไม่
ศีลข้อ 5
ตัดผิดที่ล่วงลำคอ
ไม่เกี่ยวกับเมาไม่เมา
ถอดความภวังค์ ฌาน สมาธิ
ท่องพุทโธ ท่องไปท่องมาเคลิ้ม
เคลิ้มนี้เป็นภวังค์ เหมือนตอนง่วงนอน
พอง่วงนอน มันตกภวังค์ มันจะไม่สนใจ
มันจะไม่ส่งออก
ในช่วงขณิกสมาธิเล็กๆ มันยังไม่เข้มข้น
มันก็เป็นภวังค์แล้วนะ (ถ้าดูเป็นจะเห็น นี่เริ่มเป็นภวังค์แล้ว)
ภวังค์ ก็เป็นความรู้สึกตัว ที่จิตมันจะไม่ส่งออกไปข้างนอก
มันเข้าไปที่สภาพเดิมของมัน
ในขณิกสมาธิ นี่เรียก ภวังคุบาท
เช่น
ท่องพุทโธๆๆ ไม่ส่งออก อันนี้เป็นภวังค์
หยุดท่องภวังค์ขาดทันที
แต่ถ้าเริ่มไม่ขาด จิตเริ่มละเอียดขึ้น
ก็จะเริ่มเห็นอ่อที่เกิดดับไปไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้
จะเป็นภวังค์ตัวที่สอง ชื่อภวังคจลนะ (อยู่ในอุปจารสมาธิ)
ภวังค์นี้เขาใช้เจริญวิปัสสนาญาณ
พอเข้าอัปปนาแล้วเจริญวิปัสสนาญาณไม่ได้
ในอัปปนาสมาธิจะเป็นภวังคุปัจเฉท มันตัดขาดหมด เรียกว่า แนบสนิทเป็นหนึ่ง
พอเป็นหนึ่งก็แน่วแน่ ไอ้ตัวกระบวนการทำงานภายใน ที่จะไปคิดนั่นนี่ก็หยุด
แต่ว่ามันก็ยังมี “เจตนา” อยู่ เป็นตัวภพ คือยังไม่ใช่มรรคผลนิพพานนั่นแหละ
ฌานนี่แปลว่าเพ่ง เจตนาที่จะเพ่งยังมีอยู่ จึงเป็นภพ
อัปปนาสมาธิ จึงเข้าฌาน ถ้ายังไม่อัปปนา ยังไม่เป็นฌาน
ฌานแปลว่าเพ่ง
ถ้าเพ่งลมหายใจ เพ่งกสิณ พวกนี้เรียกรูปฌาน
ถ้าเพ่งอากาศ ช่องว่า เรียกอรูป
ทีนี้พอเพ่งแล้วแน่วแน่เป็นหนึ่ง เรียก เอกัคคตา
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตัวเอกัคคตานี้คือตัวสมาธิ
ฌานจึงทำให้เกิดสมาธิ ในสัมมาสมาธิก็คือฌานสี่
เพราะอาศัยการเพ่งจนเกิดเอกัคคตา
ทีนี้เวลาเจริญวิปัสสนา
จะถอยออกจากฌานมาที่อุปจารสมาธิ
เขาไม่ได้ทิ้งสมาธิ เขาเก็บความตั้งมั่นไว้
แต่ถอนออกจากการเพ่ง
เพราะจิตที่มันได้ความตั้งมั่นจากการเพ่งนี่มันได้มาแล้ว
แต่ทีนี้ถ้ามันแน่วแน่เกินไป มันจะไม่มีการทำงานภายใน
เขาก็ถอยออกจากการเพ่ง
แต่ความตั้งมั่นยังอยู่
พอมาอยู่ในอุปจารสมาธิ ความจำปรากฏขึ้นมันก็เห็น
“อ้าว
ความจำไม่มีตัวตนนี่” เพราะตัวตั้งมั่นมันเป็นผู้ดู
วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562
เพื่ออะไร ทำอย่างไร
มาศึกษาเพื่ออะไร
ก็ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติหรือปฏิปทานี่เป็นอย่างไร
จะศึกษาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
จะศึกษาเพื่อความปล่อยวาง
จะศึกษาเพื่อความสำรอกราคะ
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่เกิด ไม่แก่ ฯลฯ ไม่ต้องทุกข์ อุปายาส
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่ต้องพบกับสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป
จะศึกษาเพื่ออะไรก็แล้วแต่
ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติทำอย่างไร
ไม่งั้นมันก็จะเป็นการพูดลอยลมไป
ข้อปฏิบัติให้ถึงสิ่งเหล่านี้ คืออริยมรรคมีองค์ 8
แค่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้รับประโยชน์
ได้รับประโยชน์ตามส่วนที่เห็น
คิดถูกขึ้น ก็สงบขึ้น
สติมากขึ้น ก็สงบขึ้น ตามส่วน
เพราะมันเป็นทางเดิน
เมื่อเดินไปมันก็ชัดขึ้นๆ
ถ้าไม่มีมรรคนี่
เรียนๆ ไปอาจจะเหมือนปล่อยวาง
มันก็วางแค่เรื่องนี้แหละ
เรื่องอื่นมันก็ไม่วาง ถ้าไม่ได้เดินมรรค
ก็ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติหรือปฏิปทานี่เป็นอย่างไร
จะศึกษาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
จะศึกษาเพื่อความปล่อยวาง
จะศึกษาเพื่อความสำรอกราคะ
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่เกิด ไม่แก่ ฯลฯ ไม่ต้องทุกข์ อุปายาส
จะศึกษาเพื่อให้ถึงความไม่ต้องพบกับสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป
จะศึกษาเพื่ออะไรก็แล้วแต่
ต้องรู้ด้วยว่าข้อปฏิบัติทำอย่างไร
ไม่งั้นมันก็จะเป็นการพูดลอยลมไป
ข้อปฏิบัติให้ถึงสิ่งเหล่านี้ คืออริยมรรคมีองค์ 8
แค่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้รับประโยชน์
ได้รับประโยชน์ตามส่วนที่เห็น
คิดถูกขึ้น ก็สงบขึ้น
สติมากขึ้น ก็สงบขึ้น ตามส่วน
เพราะมันเป็นทางเดิน
เมื่อเดินไปมันก็ชัดขึ้นๆ
ถ้าไม่มีมรรคนี่
เรียนๆ ไปอาจจะเหมือนปล่อยวาง
มันก็วางแค่เรื่องนี้แหละ
เรื่องอื่นมันก็ไม่วาง ถ้าไม่ได้เดินมรรค
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562
สามัญญ พรหมัญญ
มรรคชื่อว่าสามัญญบ้าง พรหมัญญบ้าง
สามัญญ
แห่งความสงบ
สามัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
พรหมัญญ
แห่งความประเสริฐ
พรหมัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
สามัญญ
แห่งความสงบ
สามัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
พรหมัญญ
แห่งความประเสริฐ
พรหมัญญผล = โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562
จะปล่อยวางได้ ก็ต้องมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
จะปล่อยวางได้
ก็ต้องมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
จะมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
ก็ต้องทำให้ถูก...ถูกทั้งหมด
ทั้งความเห็น ความคิด คำพูด กระทำ การใช้ชีวิต
อริยมรรคจึงทำให้เกิดวิชชา ญาณ
ก็ต้องมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
จะมีความรู้ทะลุปรุโปร่ง
ก็ต้องทำให้ถูก...ถูกทั้งหมด
ทั้งความเห็น ความคิด คำพูด กระทำ การใช้ชีวิต
อริยมรรคจึงทำให้เกิดวิชชา ญาณ
แยกแยะผิดถูก
อริยมรรคนี่เป็นตัวแยกผิดถูก
แยกง่ายมากๆ
ไม่ต้องดูอะไรเยอะ
ตามมรรค - ถูก
ไม่ตามมรรค - ผิด
เอาตัวสภาวะมาพูดเลย
ไม่ได้ผิดถูกแบบเปรียบเทียบอะไร
มิจฉัตตธรรม ผิดแน่ๆ
เรื่องสุข ตัวตน เรา ของเรา อันนี้ผิดแน่ๆ
จะเอากามคุณ จะเอาสุข ติดข้อง คิดพยาบาท เบียดเบียน ผิดแน่ๆ
ดูความเห็น
มันเห็นว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง
มันเห็นว่าแน่หรือไม่แน่
ถ้ายังเที่ยง ยังแน่ อันนี้ผิด
อกุศลธรรม = มิจฉาทิฏฐิ --- มิจฉาสมาธิ
กุศลธรรม = สัมมาทิฏฐิ --- สัมมาสมาธิ
แยกง่ายมากๆ
ไม่ต้องดูอะไรเยอะ
ตามมรรค - ถูก
ไม่ตามมรรค - ผิด
เอาตัวสภาวะมาพูดเลย
ไม่ได้ผิดถูกแบบเปรียบเทียบอะไร
มิจฉัตตธรรม ผิดแน่ๆ
เรื่องสุข ตัวตน เรา ของเรา อันนี้ผิดแน่ๆ
จะเอากามคุณ จะเอาสุข ติดข้อง คิดพยาบาท เบียดเบียน ผิดแน่ๆ
ดูความเห็น
มันเห็นว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง
มันเห็นว่าแน่หรือไม่แน่
ถ้ายังเที่ยง ยังแน่ อันนี้ผิด
อกุศลธรรม = มิจฉาทิฏฐิ --- มิจฉาสมาธิ
กุศลธรรม = สัมมาทิฏฐิ --- สัมมาสมาธิ
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562
ผู้มีการศึกษา
การได้รับการศึกษา
แม้จะพูดเป็นลำดับว่าศีล สมาธิ ปัญญา
แต่การศึกษาเขาไม่ได้วัดที่ศีล
แต่วัดที่ มีสัมมาทิฏฐิมั้ย
การศึกษาเริ่มต้นที่ความรู้
ไม่ได้เริ่มต้นที่ศีล
ความเห็ฯที่ถูกต้องนี่จะทำให้เข้าใจว่า
สิ่งต่างๆ นี่มันเป็นตามเหตุตามปัจจัย
อยากได้อะไรก็เพียรทำเหตุให้เต็มที่เอา
คนมีการศึกษาจึงไม่บ่นอะไรตามธรรมชาติ
แม้จะพูดเป็นลำดับว่าศีล สมาธิ ปัญญา
แต่การศึกษาเขาไม่ได้วัดที่ศีล
แต่วัดที่ มีสัมมาทิฏฐิมั้ย
การศึกษาเริ่มต้นที่ความรู้
ไม่ได้เริ่มต้นที่ศีล
ความเห็ฯที่ถูกต้องนี่จะทำให้เข้าใจว่า
สิ่งต่างๆ นี่มันเป็นตามเหตุตามปัจจัย
อยากได้อะไรก็เพียรทำเหตุให้เต็มที่เอา
คนมีการศึกษาจึงไม่บ่นอะไรตามธรรมชาติ
ปฏิปทา
ปฏิบัติอริยมรรค ต้องทำจนเป็นปฏิปทา
เป็นปฏิปทา หมายถึง
ทำจนเป็นวิถีชีวิต
ทำจนเป็นธรรมชาติ
ทำจนเป็นคนแบบนี้ เป็นนิสัยไปแล้ว เป็นข้อปฏิบัติของตนเอง
เป็นปฏิปทาแล้วมันจะแน่นอน
คือ มันจะเป็นอย่างนี้แหละ
มรรคที่เป็นหนทาง
เป็นปฏิปทา
ต้องทำอย่างสืบต่อ ต่อเนื่อง
มากน้อยไม่เป็นไร ทำไปเรื่อย
เหมือนจุดไฟ
ก็ปั่นไปเรื่อย
อันนี้เปรียบมรรคที่เป็นปฏิปทา/หนทาง
จนไฟลุก อันนี้จะเป็นมรรคที่เปรียบถึงการเผาทำลาย
เป็นปฏิปทา หมายถึง
ทำจนเป็นวิถีชีวิต
ทำจนเป็นธรรมชาติ
ทำจนเป็นคนแบบนี้ เป็นนิสัยไปแล้ว เป็นข้อปฏิบัติของตนเอง
เป็นปฏิปทาแล้วมันจะแน่นอน
คือ มันจะเป็นอย่างนี้แหละ
มรรคที่เป็นหนทาง
เป็นปฏิปทา
ต้องทำอย่างสืบต่อ ต่อเนื่อง
มากน้อยไม่เป็นไร ทำไปเรื่อย
เหมือนจุดไฟ
ก็ปั่นไปเรื่อย
อันนี้เปรียบมรรคที่เป็นปฏิปทา/หนทาง
จนไฟลุก อันนี้จะเป็นมรรคที่เปรียบถึงการเผาทำลาย
วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562
คำแปลธาตุ (โดยภาษา)
ธาตุในพระไตรปิฎกมักแปลว่า elements
ในพจนานุกรม ธาตุถูกใช้ในความหมายของ
เนื้อแท้ เนื้อเดิม สิ่งที่สำคัญ ส่วนที่สำคัญ nature
อสังขตธาตุ ส่วนตัวเห็นว่าการแปลเป็น the unconditioned nature ฟังดูเหมาะดี
ในพจนานุกรม ธาตุถูกใช้ในความหมายของ
เนื้อแท้ เนื้อเดิม สิ่งที่สำคัญ ส่วนที่สำคัญ nature
อสังขตธาตุ ส่วนตัวเห็นว่าการแปลเป็น the unconditioned nature ฟังดูเหมาะดี
คำแปลของอินทรีย์ (แบบภาษา)
อินทรีย์ ถ้าไม่ทับศัพท์
ในพระไตรปิฎกมีใช้คำแปลว่า faculties
ซึ่งเมื่อไปเปิดดู ก็ว่าคำแปลคือ
ในพระไตรปิฎกมีใช้คำแปลว่า faculties
ซึ่งเมื่อไปเปิดดู ก็ว่าคำแปลคือ
[N]
ศักยภาพหรือความสามารถในด้านร่างกายและจิตใจ
สมรรถพล,
อินทรีย์
[ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
๑. ความสามารถที่จะกระทำการได้
วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562
เราเป็นรูป รูปของเรา
อุจเฉททิฏฐิ
อหํ รูปํ
อหํ เวทนา
อหํ สญฺญา
อหํ สังขารา
อหํ วิญฺญานํ
สัสสตทิฏฐิ
มม รูปํ
มม เวทนา
มม สญฺญา
มม สังขารา
มม วิญฺญานํ
อหํ รูปํ
อหํ เวทนา
อหํ สญฺญา
อหํ สังขารา
อหํ วิญฺญานํ
สัสสตทิฏฐิ
มม รูปํ
มม เวทนา
มม สญฺญา
มม สังขารา
มม วิญฺญานํ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน
ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ
อริยานํ อทสฺสาวี
ผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
อริยธมฺมสฺส อโกวิโท
ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรม
อริยธมฺเม อวินีโต
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำให้ฝึกหัดในอริยธรรม
สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี
ไม่ได้พบสัตบุรุษ (ผู้สงบระงับจากกิเลส)
สปฺปุริสธมฺมสฺส
อโกวิโท
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ
สปฺปุริสธมฺเม อวินีโต
ไม่ได้รับการแนะนำให้ฝึกหัดในธรรมของสัตบุรุษ
วินย = การฝึกหัดเพื่อขัดเกลากิเลส
เมื่อกายกระสับกระส่ายอยู่
อาตุรกายสฺส เม สโต จิตฺตํ อนาตุรํ ภวิสฺสตี
"เมื่อกายของเราเป็นสิ่งที่กระสับกระส่ายอยู่
จิตจักไม่กระสับกระส่าย"
เธอพึงศึกษาอย่างนี้
กระสับกระส่ายด้วยความยึดถือ
ด้วยกิเลส
"เมื่อกายของเราเป็นสิ่งที่กระสับกระส่ายอยู่
จิตจักไม่กระสับกระส่าย"
เธอพึงศึกษาอย่างนี้
กระสับกระส่ายด้วยความยึดถือ
ด้วยกิเลส
บาลี
กิตฺตาวตา นุ โข (ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด)
น หิ (หรือไม่)
รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ย่อมเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน
รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนว่ามีรูป
อตฺตนิ วา รูปํ
ย่อมเห็นซึ่งรูปในตน
รูปรสมึง วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนในรูป
อหํ รูปํ มม รูปํ
เราเป็นรูป รูปของเรา
เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา เวทนํ
เวทนาย วา อตฺตานํ
อหํ เวทนา มม เวทนา
สญฺญํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สญฺญาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สญฺญํ
สญฺญาย วา อตฺตานํ
อหํ สญฺญา มม สญฺญา
สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สงฺขารวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สงฺขาเร
สงฺขาเรสุ วา อตฺตานํ
อหํ สงฺขารา มม สงฺขารา
วิญฺญานํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
วิญฺญานวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา วิญฺญานํ
วิญฺญานสมึ
อหํ วิญฺญานํ มม วิญฺญานํ
น หิ (หรือไม่)
รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ย่อมเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน
รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนว่ามีรูป
อตฺตนิ วา รูปํ
ย่อมเห็นซึ่งรูปในตน
รูปรสมึง วา อตฺตานํ
ย่อมเห็นซึ่งตนในรูป
อหํ รูปํ มม รูปํ
เราเป็นรูป รูปของเรา
เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา เวทนํ
เวทนาย วา อตฺตานํ
อหํ เวทนา มม เวทนา
สญฺญํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สญฺญาวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สญฺญํ
สญฺญาย วา อตฺตานํ
อหํ สญฺญา มม สญฺญา
สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ
สงฺขารวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา สงฺขาเร
สงฺขาเรสุ วา อตฺตานํ
อหํ สงฺขารา มม สงฺขารา
วิญฺญานํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
วิญฺญานวนฺตํ วา อตฺตานํ
อตฺตนิ วา วิญฺญานํ
วิญฺญานสมึ
อหํ วิญฺญานํ มม วิญฺญานํ
วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562
ตาเป็นที่ตั้งของสังโยชน์
อายตนะเป็นที่ตั้งของสังโยชน์
เมื่อทำงานอยู่ก็ต้องไปรับรู้เรื่องดีบ้างไม่ดีบ้าง
รับรู้เรื่องดี ก็อยากอยู่ต่อ
รับรู้เรื่องไม่ดี ก็อยากอยู่ต่อเหมือนกัน ... เพื่อแก้มัน 5555
คิดว่ามีเราแล้วจะแก้ได้
ความจริงไม่มีเราแก้ได้ง่ายกว่านะ หมดปัญหาไปตัวนึง 5555
คิดไปได้เรื่อยเปื่อย
ธรรมที่เป็นตัวช่วยว่า
ตาไปเห็นแล้วจะได้ไม่ผูกไว้
หูไปยินแล้วจะได้ไม่ผูกไว้ ฯ
ธรรมตัวนี้คือ โพชฌงค์
อันที่จริงหูกับเสียงนี่ไม่เกี่ยวข้องกัน
เสียงกับการรับรู้นี่ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน
เป็นเพียงธรรมะอย่างนึงที่เกิด
เกิดแล้วก็ดับ...
สิ่งที่มองเห็นเอาจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรานะ
ลูกก็ไม่เกี่ยวกับเรา
โดยธรรมดา ... มันไม่ได้เกี่ยวกัน
แค่สังโยชน์มันจับผูกเฉยๆ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สิ่งต่างๆ ในโลกก็อยู่ของมัน
ตาเราก็อยู่ของมัน
สิ่งภายในก็ไม่มีตัวตน
สิ่งภายนอกก็ไม่มีตัวตน
มากระทบกันแล้ว เป็นเหตุให้เกิดกิเลส
ถ้าไม่ต้องการให้อายตนะเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ต้องมีโพชฌงค์ ๗ จะได้ไม่ผูกกับโลก
เมื่อทำงานอยู่ก็ต้องไปรับรู้เรื่องดีบ้างไม่ดีบ้าง
รับรู้เรื่องดี ก็อยากอยู่ต่อ
รับรู้เรื่องไม่ดี ก็อยากอยู่ต่อเหมือนกัน ... เพื่อแก้มัน 5555
คิดว่ามีเราแล้วจะแก้ได้
ความจริงไม่มีเราแก้ได้ง่ายกว่านะ หมดปัญหาไปตัวนึง 5555
คิดไปได้เรื่อยเปื่อย
ธรรมที่เป็นตัวช่วยว่า
ตาไปเห็นแล้วจะได้ไม่ผูกไว้
หูไปยินแล้วจะได้ไม่ผูกไว้ ฯ
ธรรมตัวนี้คือ โพชฌงค์
อันที่จริงหูกับเสียงนี่ไม่เกี่ยวข้องกัน
เสียงกับการรับรู้นี่ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน
เป็นเพียงธรรมะอย่างนึงที่เกิด
เกิดแล้วก็ดับ...
สิ่งที่มองเห็นเอาจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรานะ
ลูกก็ไม่เกี่ยวกับเรา
โดยธรรมดา ... มันไม่ได้เกี่ยวกัน
แค่สังโยชน์มันจับผูกเฉยๆ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สิ่งต่างๆ ในโลกก็อยู่ของมัน
ตาเราก็อยู่ของมัน
สิ่งภายในก็ไม่มีตัวตน
สิ่งภายนอกก็ไม่มีตัวตน
มากระทบกันแล้ว เป็นเหตุให้เกิดกิเลส
ถ้าไม่ต้องการให้อายตนะเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ต้องมีโพชฌงค์ ๗ จะได้ไม่ผูกกับโลก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)