ถ้ามองไม่เห็น ความเกิดเป็นทุกข์
ก็มามองจุดที่ทุกข์รวมเด่น คือ ความแก่ ความตาย
กำหนดตัวที่มันชัด
หัดกำหนดอยู่เสมอ ทั้งภายใน ภายนอก
ยามหนุ่มสาว
ทุกข์บ้าง แก้ไขก็หายทุกข์
เรียกว่า ทุกข์ไม่เด่น
มีเรื่องกะคน
ไปทะเลาะ ไปจัดการไปแก้ไข
ก็เหมือนจะหายไปได้บ้าง
ทุกข์ไม่เด่น
ยามแก่
ทุกข์บ้าง แก้ไขก็หายบ้างไม่หายบ้าง
ทุกข์เด่น แก่ยังไงก็ไม่หายแก่
ถ้าทุกข์รวมเด่นมากๆ คือ
ทำยังไงๆ มันก็ไม่หาย มันจะตาย
จะนั่ง จะนอน จะยืน มันก็จะตาย
เอาเรื่องที่ "แก้ไม่หาย" นี่ล่ะมาดู
มีเรื่องอะไรที่ค้างอยู่ในใจนานๆ
ก็เป็นที่ๆ ทุกข์รวมเด่น
เช่นมีศัตรูในบ้าน ไปไหนก็ไม่ได้ เจออยู่อย่างนั้น
ความแก่ความตายเป็นเรื่องของกาย -- แก้ไม่ได้
ความเจ็บปวดเป็นเรื่องของเวทนา -- แก้ไม่ได้
ความทุกข์เป็นเรื่องของใจ -- แก้ได้
ความแก่เผารูป
ความไม่รู้ความเป็นธรรมดา - กิเลสนั่นแล เผาจิต
วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560
อธิวจนะ = มโนสัมผัส
อธิวจนะ
สักว่าเป็นแต่ชื่อว่าสัมผัส
ความจริงไม่ได้วิ่งมากระทบจริงๆ
ไม่ได้มีวัตถุภายนอกมากระทบจริง
ประมาณ คิดว่าเขาด่าจริงๆ เป็นต้น
เสียงไม่มีอยู่
ใจปรุงขึ้นมา
สักว่าเป็นแต่ชื่อว่าสัมผัส
ความจริงไม่ได้วิ่งมากระทบจริงๆ
ไม่ได้มีวัตถุภายนอกมากระทบจริง
ประมาณ คิดว่าเขาด่าจริงๆ เป็นต้น
เสียงไม่มีอยู่
ใจปรุงขึ้นมา
ผัสสมนสิการ
อารมณ์ที่ปรากฏนี่
นอกจากตาชนกับรูป
จะรับรู้อะไรขึ้นกับมนสิการ
เหมือนมองคนนึง
เกิดผัสสะเหมือนกัน
คนนึงสนใจหน้าเขา
คนนึงสนใจเสื้อผ้าเขา
อาศัยมนสิการ ดึงเรื่องขึ้นมากระทบใจ
นอกจากตาชนกับรูป
จะรับรู้อะไรขึ้นกับมนสิการ
เหมือนมองคนนึง
เกิดผัสสะเหมือนกัน
คนนึงสนใจหน้าเขา
คนนึงสนใจเสื้อผ้าเขา
อาศัยมนสิการ ดึงเรื่องขึ้นมากระทบใจ
สัญญาขันธ์
การกำหนดเครื่องหมาย
ชี้บอกนี่เป็นนั่น นั่นเป็นนี่
ให้เป็นที่รู้กัน
เราเลยรู้สึกว่ามีแก้วใบนี้อยู่
เพราะเราเชื่อสัญญา
มีผู้ชาย ผู้หญิง หมา แมว จริงๆ
ของของเรามีจริงๆ
เพราะเราเชื่อสัญญา
ทำเครื่องหมายขึ้นมาเอง
แล้วก็หลงมัน
เหมือนเราทำเครื่องหมายขึ้นมาว่าสิ่งนี้มีค่า
คนอื่นเดินมาดู ไหนของมีค่าของเธอ
นี่ไง รูปถ่ายกับแฟนนี่ไง
ถูกสัญญาเล่นงานไปเรื่อยถ้าไม่รู้จัก
พึงมารู้จักสัญญาตามความเป็นจริง
ว่านั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา
ทางปฏิบัติจะมาเรียนเป็นตัวสุดท้ายเพราะละเอียดกว่าเขา
แต่ในขันธ์ 5 เรียงตามลำดับถัดจากเวทนา
เวทนาจึงจำ จำจึงคิด
สัญญาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรุงแต่งต่างๆ
ตเทกัชฌัง โดยเอาความเป็นลักษณะเดียวกัน - (คือความกำหนดหมาย)
อภิสัญญูหิตวา ประมวลเอาแล้ว
อภิสังขิปิตวา ย่อเอาแล้ว
สัญญากขันโธ
เมื่อมีผัสสะ ย่อมมีสัญญาประกอบ
สัญญาเกิดพร้อมจิตทุกดวง
เกิดจากผัสสะ 6 ทาง
เกิดขึ้นในใจ ความหมายนี้เกิดขึ้นในใจ
ความหลงอยู่ว่า
วัตถุสิ่งของให้ความเพลิดเพลินแก่เราได้
เกิดมาจึงพร้อมจะจำ จะหมายในสิ่งนั้นสิ่งนี้
เรื่องนี้เป็นของกรรมเก่า แต่ละคนจึงกำหนดสิ่งที่น่าพอใจไม่เหมือนกัน
แต่ตัวสภาวะนี้เหมือนกัน คือการกำหนด
กำหนดไม่เหมือนกัน เพราะเหตุไม่เหมือนกัน และก็จะปรุงแต่งไม่เหมือนกัน
และไม่มีทางเหมือนกันได้เลย
ชี้บอกนี่เป็นนั่น นั่นเป็นนี่
ให้เป็นที่รู้กัน
เราเลยรู้สึกว่ามีแก้วใบนี้อยู่
เพราะเราเชื่อสัญญา
มีผู้ชาย ผู้หญิง หมา แมว จริงๆ
ของของเรามีจริงๆ
เพราะเราเชื่อสัญญา
ทำเครื่องหมายขึ้นมาเอง
แล้วก็หลงมัน
เหมือนเราทำเครื่องหมายขึ้นมาว่าสิ่งนี้มีค่า
คนอื่นเดินมาดู ไหนของมีค่าของเธอ
นี่ไง รูปถ่ายกับแฟนนี่ไง
ถูกสัญญาเล่นงานไปเรื่อยถ้าไม่รู้จัก
พึงมารู้จักสัญญาตามความเป็นจริง
ว่านั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา
ทางปฏิบัติจะมาเรียนเป็นตัวสุดท้ายเพราะละเอียดกว่าเขา
แต่ในขันธ์ 5 เรียงตามลำดับถัดจากเวทนา
เวทนาจึงจำ จำจึงคิด
สัญญาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรุงแต่งต่างๆ
ตเทกัชฌัง โดยเอาความเป็นลักษณะเดียวกัน - (คือความกำหนดหมาย)
อภิสัญญูหิตวา ประมวลเอาแล้ว
อภิสังขิปิตวา ย่อเอาแล้ว
สัญญากขันโธ
เมื่อมีผัสสะ ย่อมมีสัญญาประกอบ
สัญญาเกิดพร้อมจิตทุกดวง
เกิดจากผัสสะ 6 ทาง
เกิดขึ้นในใจ ความหมายนี้เกิดขึ้นในใจ
ความหลงอยู่ว่า
วัตถุสิ่งของให้ความเพลิดเพลินแก่เราได้
เกิดมาจึงพร้อมจะจำ จะหมายในสิ่งนั้นสิ่งนี้
เรื่องนี้เป็นของกรรมเก่า แต่ละคนจึงกำหนดสิ่งที่น่าพอใจไม่เหมือนกัน
แต่ตัวสภาวะนี้เหมือนกัน คือการกำหนด
กำหนดไม่เหมือนกัน เพราะเหตุไม่เหมือนกัน และก็จะปรุงแต่งไม่เหมือนกัน
และไม่มีทางเหมือนกันได้เลย
ใกล้ - ไกล
สำหรับนาม
ไกลใกล้ ไม่ใช่ระยะทาง
ไกล คือ แตกต่าง ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ใกล้ คือ เหมือน คล้าย เป็นเนื้อเดียวกัน
ผู้หนึ่งสอนธรรม
ผู้หนึ่งนั่งหลับ
อันนี้ไกลกัน
อยู่คนละชาติทีเดียว
ชาติคือกำเนิด
ผู้หนึ่งเป็นชาติกุศล
ผู้หนึ่งเป็นชาติวิบาก คือ หลับไปเลย
ไกลกันคนละชาติเลย
นั่งอยู่ด้วยกันก็ไกลกันได้ ด้วยเวทนา ^_^
หรืออาจว่าโดยสภาวะ
คน(เวทนา)นึงทุกข์
คน(เวทนา)นึงสุข
อันนี้ก็เรียกว่า ไกลกัน
ไกลใกล้ ไม่ใช่ระยะทาง
ไกล คือ แตกต่าง ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ใกล้ คือ เหมือน คล้าย เป็นเนื้อเดียวกัน
ผู้หนึ่งสอนธรรม
ผู้หนึ่งนั่งหลับ
อันนี้ไกลกัน
อยู่คนละชาติทีเดียว
ชาติคือกำเนิด
ผู้หนึ่งเป็นชาติกุศล
ผู้หนึ่งเป็นชาติวิบาก คือ หลับไปเลย
ไกลกันคนละชาติเลย
นั่งอยู่ด้วยกันก็ไกลกันได้ ด้วยเวทนา ^_^
หรืออาจว่าโดยสภาวะ
คน(เวทนา)นึงทุกข์
คน(เวทนา)นึงสุข
อันนี้ก็เรียกว่า ไกลกัน
เวทนาหยาบ - ละเอียด
เวทนาที่เกิดโดยอกุศล
รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ น่ารำคาญ
ถึงแม้จะเป็นความรู้สึกสบายแบบกิเลส เช่น ร้องคาราโอเกะ ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย
เวทนาที่เป็นอกุศล จึงเป็นของหยาบ เพราะให้ความรำคาญใจ และให้วิบากเป็นทุกข์
เวทนากุศล
ไม่มีความกระวนกระวาย ปลอดโปร่ง
ให้วิบากเป็นสุข ก็ละเอียดขึ้นมา
อัพยากตะ
อันนี้ละเอียดสุด
เพราะมันไม่ให้วิบาก
และเป็นแค่ผล
จึงไม่ต้องมีความขวนขวายจัดแจงให้เกิดอะไร
ไม่ได้มีเจตนาจะจัดแจงนู่นนี่ ไม่มีวิบาก
กุศล - อกุศล เมื่อเทียบกกับอัพยากตก็เรียกว่าหยาบ
เพราะมันยังต้องขวนขวายจัดแจงทำให้เกิดอะไรๆ ขึ้น
อัพยากตะ มันเป็นผล ก็ไม่ต้องไปขวนขวายอะไร
กุศล - อกุศล ต้องมีการปรุงแต่งขึ้นมา
ก็ต้องเหน็ดเหนื่อยบ้างตามสมควร
มีการกระทำ และก็ให้ผล
กุศล/อกุศล = สิ่งที่ให้ผล
อัพยากตะ = สิ่งที่เป็นผล
อันนี้แยกให้ดูโดยชาติ
---
แยกดูโดยสภาวะ
สุข/ทุกข์ ก็ยังเป็นของหยาบ เมื่อเทียบกับ อทุกขมสุข
สุข/ทุกข์ ยังมีการกระจัดกระจาย หวั่นไหว
รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ น่ารำคาญ
ถึงแม้จะเป็นความรู้สึกสบายแบบกิเลส เช่น ร้องคาราโอเกะ ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย
เวทนาที่เป็นอกุศล จึงเป็นของหยาบ เพราะให้ความรำคาญใจ และให้วิบากเป็นทุกข์
เวทนากุศล
ไม่มีความกระวนกระวาย ปลอดโปร่ง
ให้วิบากเป็นสุข ก็ละเอียดขึ้นมา
อัพยากตะ
อันนี้ละเอียดสุด
เพราะมันไม่ให้วิบาก
และเป็นแค่ผล
จึงไม่ต้องมีความขวนขวายจัดแจงให้เกิดอะไร
ไม่ได้มีเจตนาจะจัดแจงนู่นนี่ ไม่มีวิบาก
กุศล - อกุศล เมื่อเทียบกกับอัพยากตก็เรียกว่าหยาบ
เพราะมันยังต้องขวนขวายจัดแจงทำให้เกิดอะไรๆ ขึ้น
อัพยากตะ มันเป็นผล ก็ไม่ต้องไปขวนขวายอะไร
กุศล - อกุศล ต้องมีการปรุงแต่งขึ้นมา
ก็ต้องเหน็ดเหนื่อยบ้างตามสมควร
มีการกระทำ และก็ให้ผล
กุศล/อกุศล = สิ่งที่ให้ผล
อัพยากตะ = สิ่งที่เป็นผล
อันนี้แยกให้ดูโดยชาติ
---
แยกดูโดยสภาวะ
สุข/ทุกข์ ก็ยังเป็นของหยาบ เมื่อเทียบกับ อทุกขมสุข
สุข/ทุกข์ ยังมีการกระจัดกระจาย หวั่นไหว
อทุกขมสุข มีความสงบ มันจึงละเอียดกว่า
---
แยกโดยบุคคล
เวทนาของผู้ที่ไม่ได้เข้าสมาบัติเป็นของหยาบ
จิตไม่มีที่อยู่นิ่งๆ จะเป็นของหยาบ เดี๋ยวกระโดดไปนั่นไปนี่
สมาบัติ หมายถึง เข้าไปพักจุดใดจุดหนึ่ง
---
แยกโดยโลกิยะ โลกุตตระ
เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นของหยาบ
เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นของละเอียด
วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560
ความตาย
เบื้องหน้าตายเพียงกายแตก
ความตายครอบงำได้เพียงกาย
กิเลสคือ ความกลัวตาย ครอบงำจิต
ที่รู้สึกเจ็บปวดนั้นคือเวทนา
กายไม่ได้เจ็บปวด
ความกลัวตาย ไม่ได้ตายไปกับความตาย
ความรู้สึกเจ็บปวด ก็ไม่ได้ตายไปกับความตาย
เจ็บจะตายนี่ไม่ตายนะ
ไอ้ที่ตายไม่ได้เจ็บ
เวทนาไม่ได้ตายหรอกเพราะมันเกิดจากผัสสะ
ผัสสะมีเมื่อไรมันก็มาอีก...เวทนาน่ะ
ไอ้ตัวคิดปรุงแต่งว่า..ทำไงน้อ..จะไม่ตาย
ไอ้นี่ก็ไม่ตายนะ
ส่วนรูปนี่ ไม่รู้จักตายด้วยซ้ำไปทั้งๆ ที่เป็นตัวที่ตาย
ไม่รู้จักเกิดด้วย
ไม่รู้อะไรกะเขาเลยนะ 5555
ความตายครอบงำได้เพียงกาย
กิเลสคือ ความกลัวตาย ครอบงำจิต
ที่รู้สึกเจ็บปวดนั้นคือเวทนา
กายไม่ได้เจ็บปวด
ความกลัวตาย ไม่ได้ตายไปกับความตาย
ความรู้สึกเจ็บปวด ก็ไม่ได้ตายไปกับความตาย
เจ็บจะตายนี่ไม่ตายนะ
ไอ้ที่ตายไม่ได้เจ็บ
เวทนาไม่ได้ตายหรอกเพราะมันเกิดจากผัสสะ
ผัสสะมีเมื่อไรมันก็มาอีก...เวทนาน่ะ
ไอ้ตัวคิดปรุงแต่งว่า..ทำไงน้อ..จะไม่ตาย
ไอ้นี่ก็ไม่ตายนะ
ส่วนรูปนี่ ไม่รู้จักตายด้วยซ้ำไปทั้งๆ ที่เป็นตัวที่ตาย
ไม่รู้จักเกิดด้วย
ไม่รู้อะไรกะเขาเลยนะ 5555
ขันธ์
ความหมายที่หนึ่ง = กอง
ของสิ่งเดียวกันมารวมๆ กันมากๆ
เช่น กองหนังสือ, กองดอกไม้, กองทหาร
รูปขันธ์ รูปที่มากองๆ รวมกัน
เวทนาขันธ์ เวทนาที่มากองๆ รวมกัน
สัญญาขันธ์ สัญญาที่มากองๆ รวมกัน
สังขารขันธ์ สังขารที่มากองๆ รวมกัน
วิญญาณขันธ์ วิญญาณที่มากองๆ รวมกัน
ความหมายที่สอง = ส่วน
แยกเป็นส่วนๆ ที่ไม่เหมือนกับสิ่งอื่น
รูปขันธ์ก็ไม่เหมือนกับ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
เวทนาขันธ์ ก็ไม่เหมือนกับ สี่ตัวที่เหลือ
สัญญา ก็ต่างไปจาก สี่ตัวที่เหลือ เป็นต้น
รูป ความหมายคือสิ่งที่แตกได้
ส่วนนี้เป็นรูปนะ ไม่เหมือนคนอื่นเขา
เวทนา ก็เป็นความรู้สึก
รู้สึกทนได้ รู้สึกทนไม่ได้ เฉยๆ สบาย ไม่สบาย จะสบายก็ไม่ใช่ ไม่สบายก็ไม่ใช่
รวมๆ เป็นความรู้สึก
เหมือนว่าจิตกินอารมณ์นั้นเข้ามา กินรสชาตินั้นเข้ามาในใจ
นี่เป็นส่วนของเวทนานะ ไม่เหมือนคนอื่นเขา
สัญญา กำหนด เครือ่งหมาย นั่นเป็นนี่ นี่เป็นนั่น
ผลของการกำหนดแล้ว คือ แน่ใจว่า เป็นอย่างนี้แน่นอน
ถ้าไม่รู้ก็จะยึดถือเลย เรียกหลงสัญญา
ต่างจากรูป ต่างจากเวทนา ไม่เหมือนคนอื่นเขา
สังขาร ปรุงเป็นนั่นนี่ด้วยเจตนาเป็นตัวนำ
ต้องการอย่างนี้ๆ
เอาหลายๆ ส่วนมารวมให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ต่างจากเวทนา สัญญา
วิญญาณ ก็เป็นเหมือนประธานในการรับรู้
รู้ยืนพื้น รู้ว่านั่น รู้ว่านี่
ให้เวทนา ให้สัญญา ให้เจตนา มาปรุงมาแต่งทำงานได้
ถ้าวิญญาณไม่ขึ้นมาทำงาน ตัวอื่นๆ ก็ขึ้นมาทำงานไม่ได้
ผู้รู้จักขันธ์เป็นอย่างดีก็จะไม่เห็นเป็นสัตว์ ตัวตน
มีแต่ขันธ์ทำงานเป็นอย่างนี้ๆ
ของสิ่งเดียวกันมารวมๆ กันมากๆ
เช่น กองหนังสือ, กองดอกไม้, กองทหาร
รูปขันธ์ รูปที่มากองๆ รวมกัน
เวทนาขันธ์ เวทนาที่มากองๆ รวมกัน
สัญญาขันธ์ สัญญาที่มากองๆ รวมกัน
สังขารขันธ์ สังขารที่มากองๆ รวมกัน
วิญญาณขันธ์ วิญญาณที่มากองๆ รวมกัน
ความหมายที่สอง = ส่วน
แยกเป็นส่วนๆ ที่ไม่เหมือนกับสิ่งอื่น
รูปขันธ์ก็ไม่เหมือนกับ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
เวทนาขันธ์ ก็ไม่เหมือนกับ สี่ตัวที่เหลือ
สัญญา ก็ต่างไปจาก สี่ตัวที่เหลือ เป็นต้น
รูป ความหมายคือสิ่งที่แตกได้
ส่วนนี้เป็นรูปนะ ไม่เหมือนคนอื่นเขา
เวทนา ก็เป็นความรู้สึก
รู้สึกทนได้ รู้สึกทนไม่ได้ เฉยๆ สบาย ไม่สบาย จะสบายก็ไม่ใช่ ไม่สบายก็ไม่ใช่
รวมๆ เป็นความรู้สึก
เหมือนว่าจิตกินอารมณ์นั้นเข้ามา กินรสชาตินั้นเข้ามาในใจ
นี่เป็นส่วนของเวทนานะ ไม่เหมือนคนอื่นเขา
สัญญา กำหนด เครือ่งหมาย นั่นเป็นนี่ นี่เป็นนั่น
ผลของการกำหนดแล้ว คือ แน่ใจว่า เป็นอย่างนี้แน่นอน
ถ้าไม่รู้ก็จะยึดถือเลย เรียกหลงสัญญา
ต่างจากรูป ต่างจากเวทนา ไม่เหมือนคนอื่นเขา
สังขาร ปรุงเป็นนั่นนี่ด้วยเจตนาเป็นตัวนำ
ต้องการอย่างนี้ๆ
เอาหลายๆ ส่วนมารวมให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ต่างจากเวทนา สัญญา
วิญญาณ ก็เป็นเหมือนประธานในการรับรู้
รู้ยืนพื้น รู้ว่านั่น รู้ว่านี่
ให้เวทนา ให้สัญญา ให้เจตนา มาปรุงมาแต่งทำงานได้
ถ้าวิญญาณไม่ขึ้นมาทำงาน ตัวอื่นๆ ก็ขึ้นมาทำงานไม่ได้
ผู้รู้จักขันธ์เป็นอย่างดีก็จะไม่เห็นเป็นสัตว์ ตัวตน
มีแต่ขันธ์ทำงานเป็นอย่างนี้ๆ
วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560
การเห็นสังขารตามมุมไตรลักษณ์
ผู้ที่กำหนดโดยความไม่เที่ยง - ก็จะเห็นสังขารโดยความสิ้นไป สิ้นไป เดี๋ยวก็หมด เดี๋ยวก็หมด
ผู้ที่กำหนดโดยความเป็นทุกข์ - ก็จะเห็นสังขารโดยความน่ากลัว นั่งๆ อยู่ดีๆ จะลุกขึ้นมาตบเรารึป่าว กลัวไปติดไปข้อง พอมันเป็นอย่างอื่นไปกลัวจะถูกเหยียบย่ำซ้ำเติม
ผู้ที่กำหนดโดยความเป็นอนัตตา - ก็จะเห็นสังขารโดยความว่างเปล่าจากตัวตน
ผู้ที่กำหนดโดยความเป็นทุกข์ - ก็จะเห็นสังขารโดยความน่ากลัว นั่งๆ อยู่ดีๆ จะลุกขึ้นมาตบเรารึป่าว กลัวไปติดไปข้อง พอมันเป็นอย่างอื่นไปกลัวจะถูกเหยียบย่ำซ้ำเติม
ผู้ที่กำหนดโดยความเป็นอนัตตา - ก็จะเห็นสังขารโดยความว่างเปล่าจากตัวตน
สมุทัย
สมุทัยนี่ ไม่ได้อยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา หรือในวิญญาณ
แต่อยู่ในสังขาร
สมุทัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังขาร
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แค่ส่วนหนึ่ง
ฝ่ายดีที่เป็นมรรค ก็สังขารเหมือนกัน
กำหนดได้ทั้งสองส่วน
กำหนดละฝ่ายกิเลส
กำหนดเจริญฝ่ายมรรค
เช่น
สิ่งนั้นดี เป็นประโยชน์ มีคุณค่า มีราคา สวยงาม คนนิยมชมชอบ ใครๆ ก็ต้องการ
นี้คืออะไร
นี้ึคือสัญญา
คือ สุภนิมิต
สังขาร คือปรุงต่อจากสัญญา
กามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็เกิดก็เกิดขึ้น
กามฉันทะไม่ได้เกิดจากสิ่งนั้น มันเกิดเพราะ "คิด" ตามสัญญาเรื่องสิ่งนั้น
สิ่งนั้นก็อยู่ของมันดีๆ
แต่ว่าสัญญาเรื่องสิ่งนั้น ว่าเป็นของมีค่า มีประโยชน์ อันนี้เรียกว่า สุภนิมิต
แล้วก็ปรุงแต่งนั่นนี่ กิเลสที่ไม่เกิดก็เกิด
กิเลสนี่มาจากคิดจากสัญญาที่ผิดๆ อยุ่
ถ้าสัญญาผิดแล้วไม่คิด ก็ยังไม่เป็นไร
ถ้าสัญญาผิดแล้วเราไปคิดด้วย ไปยุ่งด้วย กิเลสก็เกิด น้ำลายยืด~~~
แต่อยู่ในสังขาร
สมุทัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังขาร
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แค่ส่วนหนึ่ง
ฝ่ายดีที่เป็นมรรค ก็สังขารเหมือนกัน
กำหนดได้ทั้งสองส่วน
กำหนดละฝ่ายกิเลส
กำหนดเจริญฝ่ายมรรค
เช่น
สิ่งนั้นดี เป็นประโยชน์ มีคุณค่า มีราคา สวยงาม คนนิยมชมชอบ ใครๆ ก็ต้องการ
นี้คืออะไร
นี้ึคือสัญญา
คือ สุภนิมิต
สังขาร คือปรุงต่อจากสัญญา
กามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็เกิดก็เกิดขึ้น
กามฉันทะไม่ได้เกิดจากสิ่งนั้น มันเกิดเพราะ "คิด" ตามสัญญาเรื่องสิ่งนั้น
สิ่งนั้นก็อยู่ของมันดีๆ
แต่ว่าสัญญาเรื่องสิ่งนั้น ว่าเป็นของมีค่า มีประโยชน์ อันนี้เรียกว่า สุภนิมิต
แล้วก็ปรุงแต่งนั่นนี่ กิเลสที่ไม่เกิดก็เกิด
กิเลสนี่มาจากคิดจากสัญญาที่ผิดๆ อยุ่
ถ้าสัญญาผิดแล้วไม่คิด ก็ยังไม่เป็นไร
ถ้าสัญญาผิดแล้วเราไปคิดด้วย ไปยุ่งด้วย กิเลสก็เกิด น้ำลายยืด~~~
การกำหนดว่ากิเลสเป็นปัญหา
ปกติจะเห็นกิเลสเป็นเพื่อนแท้กัน
ไม่ได้เห็นเป็นปัญหา ไม่ได้เห็นเป็นข้าศึก
หมดกิเลสนึกไม่ออกเลยว่าจะอยู่กันยังไง
โดยหลักการปฏิบัติคือ อริยสัจ 4 นั่นล่ะ
ถ้าในแง่ปฏิบัติ
ต้องกำหนดทุกข์ให้ได้ก่อน
ถ้ากำหนดทุกข์ไม่ได้
สมุทัยจะกำหนดไม่ออก
ต้องมากำหนดทุกข์ก่อน
ว่าเป็นรูป-นาม ขันธ์
เป็นอนิจจัง ทุกขัง มาจากเหตุจากปัจจัย
มันเป็นของมันอย่างนั้น
ตัวปัญหาคือกิเลสนี่เอง
แต่ถ้ากำหนดทุกข์ยังไม่ได้
จะไปกำหนดกิเลสว่าเป็นปัญหานี่ กำหนดไม่ออก
เช่น
ผมมันก็เป็นผมของมันอย่างนั้น เล็บก็เป็นของมันอย่างนั้น
แต่การเห็นว่าเส้นผมมันสวยนี่....ปัญหามันอยู่ตรงนี้
แต่ถ้าเรากำหนดเส้นผมเป็นธาตุ 4 ยังไม่ได้นี่
จะกำหนดกิเลสมันกำหนดไม่ออก
เช่น
ถ้าไม่รู้ว่าร่างกายเป็นแค่ร่างกาย
กินข้าวเข้าไปก็แก่ลงทุกวัน เป็นเรื่องปกติ๊~~~ปกติ
จะไปกำหนดความอร่อยเป็นเหตุเกิดทุกข์ ....มันกำหนดไม่ออก
แต่ถ้ากำหนดได้
ร่างกายก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีอร่อยไม่อร่ออย
อร่อยนี่เป็นกิเลสนี่นา
หลอกให้เรากิน
ถ้ากินธรรมดาก็พอได้ปัญญาบ้าง
แต่กินอร่อยนี่คือกินยาพิษเข้าไปด้วย
กินแล้วโง่ลง
เช่น
กำหนดชัดว่าผิวหนังนี่เป็นของไม่สวย
ต่อมาเห็นว่าสวยปั๊บ
ปัญหาอยู่ที่เห็นว่าสวยนี่แหละ
ส่วนหน้าที่ไม่สวยนี่เป็นธรรมชาติของมัน (เป็นทุกข์)
ส่วนเห็นว่าสวยนี่ เป็นเหตุเกิดทุกข์
แต่ถ้ากำหนดไม่ได้
มองหน้าตัวเองทีไรก็สวยดีไม่มีปัญหาอะไร
ปัญหาน่าจะอยู่ที่สิว
นี่คือภาวะกำหนดไม่ออก
คำตอบของคำถามว่า เรียนเรื่องกิเลสมาตั้งนาน
ทำไมยังกำหนดกิเลสว่าเป็นศัตรูไม่ได้
ก็เพราะว่า ยังกำหนดทุกข์ไม่ได้นั่นเอง
กำหนดขันธ์ 5 ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ได้
มันเลยหาสมุทัยไม่เจอ
ไม่ได้เห็นเป็นปัญหา ไม่ได้เห็นเป็นข้าศึก
หมดกิเลสนึกไม่ออกเลยว่าจะอยู่กันยังไง
โดยหลักการปฏิบัติคือ อริยสัจ 4 นั่นล่ะ
ถ้าในแง่ปฏิบัติ
ต้องกำหนดทุกข์ให้ได้ก่อน
ถ้ากำหนดทุกข์ไม่ได้
สมุทัยจะกำหนดไม่ออก
ต้องมากำหนดทุกข์ก่อน
ว่าเป็นรูป-นาม ขันธ์
เป็นอนิจจัง ทุกขัง มาจากเหตุจากปัจจัย
มันเป็นของมันอย่างนั้น
ตัวปัญหาคือกิเลสนี่เอง
แต่ถ้ากำหนดทุกข์ยังไม่ได้
จะไปกำหนดกิเลสว่าเป็นปัญหานี่ กำหนดไม่ออก
เช่น
ผมมันก็เป็นผมของมันอย่างนั้น เล็บก็เป็นของมันอย่างนั้น
แต่การเห็นว่าเส้นผมมันสวยนี่....ปัญหามันอยู่ตรงนี้
แต่ถ้าเรากำหนดเส้นผมเป็นธาตุ 4 ยังไม่ได้นี่
จะกำหนดกิเลสมันกำหนดไม่ออก
เช่น
ถ้าไม่รู้ว่าร่างกายเป็นแค่ร่างกาย
กินข้าวเข้าไปก็แก่ลงทุกวัน เป็นเรื่องปกติ๊~~~ปกติ
จะไปกำหนดความอร่อยเป็นเหตุเกิดทุกข์ ....มันกำหนดไม่ออก
แต่ถ้ากำหนดได้
ร่างกายก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีอร่อยไม่อร่ออย
อร่อยนี่เป็นกิเลสนี่นา
หลอกให้เรากิน
ถ้ากินธรรมดาก็พอได้ปัญญาบ้าง
แต่กินอร่อยนี่คือกินยาพิษเข้าไปด้วย
กินแล้วโง่ลง
เช่น
กำหนดชัดว่าผิวหนังนี่เป็นของไม่สวย
ต่อมาเห็นว่าสวยปั๊บ
ปัญหาอยู่ที่เห็นว่าสวยนี่แหละ
ส่วนหน้าที่ไม่สวยนี่เป็นธรรมชาติของมัน (เป็นทุกข์)
ส่วนเห็นว่าสวยนี่ เป็นเหตุเกิดทุกข์
แต่ถ้ากำหนดไม่ได้
มองหน้าตัวเองทีไรก็สวยดีไม่มีปัญหาอะไร
ปัญหาน่าจะอยู่ที่สิว
นี่คือภาวะกำหนดไม่ออก
คำตอบของคำถามว่า เรียนเรื่องกิเลสมาตั้งนาน
ทำไมยังกำหนดกิเลสว่าเป็นศัตรูไม่ได้
ก็เพราะว่า ยังกำหนดทุกข์ไม่ได้นั่นเอง
กำหนดขันธ์ 5 ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ได้
มันเลยหาสมุทัยไม่เจอ
วิปัสสนา/สมถะ
ตัวที่มาช่วยพิจารณาละทิฏฐิคือ วิปัสสนา
ตัวที่เอามาแก้ตัณหา คือ สมาธิ (หรือสมถะ) หรือความเข้มแข็งทางจิต
ตัวหลักฝ่ายสมาธิคือ สติ (ไม่ใช่สมาธินะ)
ฝึกสติไปเยอะๆ มีตัวนั้นตัวนี้มาช่วยก็จะเป็นกลุ่มสมาธิ
กลุ่มสตินี่ เอาไว้แก้ตัณหา คือ ไม่ทำตามตัณหา ยับยั้งชั่งใจ
ควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พวกนี้เป็นไปเพื่อควบคุมตัณหา
อยากดูไม่ดู
อยากฟังไม่ฟัง
อยากคิดไม่คิด
ไม่พรวดพราด
ทั้งหมดเป็นฝ่ายควบคุมจิต ยิ่งควบคุมได้มาก จิตยิ่งมีกำลังมาก
ถ้าไม่คุม ผีทั้งหลาย (กิเลส) ก็จะดูดพลังจิตออกไป
สมาธิที่เกิดสูงสุดก็คือเจโตวิมุตติ (เมื่อเกิดอรหัตมรรค)
ตัวหลักฝ่ายปัญญา คือ สัมปชัญญะ
ค่อยๆ พิจารณาเพื่อส่งเสริมปัญญาทีละหน่อยๆ
ทำไปเรื่อยจะเป็นวิปัสสนา
สูงสุดก็คือปัญญาวิมุตติ
จุดจบของเรื่องก็คือ อาสวะสิ้นไป
สติ-สัมปชัญญะ คือ ฝึกเสมอ ให้พร้อมใช้ ใช้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ตัวที่เอามาแก้ตัณหา คือ สมาธิ (หรือสมถะ) หรือความเข้มแข็งทางจิต
ตัวหลักฝ่ายสมาธิคือ สติ (ไม่ใช่สมาธินะ)
ฝึกสติไปเยอะๆ มีตัวนั้นตัวนี้มาช่วยก็จะเป็นกลุ่มสมาธิ
กลุ่มสตินี่ เอาไว้แก้ตัณหา คือ ไม่ทำตามตัณหา ยับยั้งชั่งใจ
ควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พวกนี้เป็นไปเพื่อควบคุมตัณหา
อยากดูไม่ดู
อยากฟังไม่ฟัง
อยากคิดไม่คิด
ไม่พรวดพราด
ทั้งหมดเป็นฝ่ายควบคุมจิต ยิ่งควบคุมได้มาก จิตยิ่งมีกำลังมาก
ถ้าไม่คุม ผีทั้งหลาย (กิเลส) ก็จะดูดพลังจิตออกไป
สมาธิที่เกิดสูงสุดก็คือเจโตวิมุตติ (เมื่อเกิดอรหัตมรรค)
ตัวหลักฝ่ายปัญญา คือ สัมปชัญญะ
ค่อยๆ พิจารณาเพื่อส่งเสริมปัญญาทีละหน่อยๆ
ทำไปเรื่อยจะเป็นวิปัสสนา
สูงสุดก็คือปัญญาวิมุตติ
จุดจบของเรื่องก็คือ อาสวะสิ้นไป
สติ-สัมปชัญญะ คือ ฝึกเสมอ ให้พร้อมใช้ ใช้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ความเข้าใจ VS การยอมรับ
ความเข้าใจและการยอมรับเป็นคนละระดับกัน
โดยการยอมรับ จะสูงกว่าความเข้าใจ
บางคนเข้าใจ แต่ยังไม่ยอมรับ
ยอมรับนี่ขั้นสูงกว่าปัญญา
อย่างตอนฝึกก็ดูรูปนามเป็นไตรลักษณ์อันนี้ก็เห็นอยู่ก็เข้าใจ
สูงขึ้นมาก็เป็น อนุโลมิกขันติ (อันนี้เป็นขั้นการยอมรับ)
เมื่อยอมรับจึงวางได้
เมื่อวางได้จึงหมดปัญหา
แล้วรู้เยอะๆ หรือรู้น้อยๆ ดี แบบไหนไวสุด?
อันนี้มันเป็นอัธยาศัยบุคคล
คำว่า "ไวสุด" มันไม่มี
ประเด็นคือ หมดปัญหาต่างหาก
จะหมดปัญหาได้ต้องยอมรับ
แต่บางคนก็ยอมรับง่าย นิดๆ หน่อยๆ ก็ยอมรับ
บางคนก็ยอมรับยาก เพราะอัธยาศัยเป็นพวกปัญญามาก
อันนี้เป็นนิสัย ไม่ได้เป็นกิเลส เรียกว่า ก็ช่วยไม่ได้มันต้องแจกแจง ไม่งั้นใจไม่วาง
จึงไม่เกี่ยวว่ารู้มากรู้น้อยแล้วจะเร็วจะช้า
คือถ้ายอมรับก็หมดปัญหา
อยู่ที่อัธยาศัย
หลักการมีเท่านี้
โดยการยอมรับ จะสูงกว่าความเข้าใจ
บางคนเข้าใจ แต่ยังไม่ยอมรับ
ยอมรับนี่ขั้นสูงกว่าปัญญา
อย่างตอนฝึกก็ดูรูปนามเป็นไตรลักษณ์อันนี้ก็เห็นอยู่ก็เข้าใจ
สูงขึ้นมาก็เป็น อนุโลมิกขันติ (อันนี้เป็นขั้นการยอมรับ)
เมื่อยอมรับจึงวางได้
เมื่อวางได้จึงหมดปัญหา
แล้วรู้เยอะๆ หรือรู้น้อยๆ ดี แบบไหนไวสุด?
อันนี้มันเป็นอัธยาศัยบุคคล
คำว่า "ไวสุด" มันไม่มี
ประเด็นคือ หมดปัญหาต่างหาก
จะหมดปัญหาได้ต้องยอมรับ
แต่บางคนก็ยอมรับง่าย นิดๆ หน่อยๆ ก็ยอมรับ
บางคนก็ยอมรับยาก เพราะอัธยาศัยเป็นพวกปัญญามาก
อันนี้เป็นนิสัย ไม่ได้เป็นกิเลส เรียกว่า ก็ช่วยไม่ได้มันต้องแจกแจง ไม่งั้นใจไม่วาง
จึงไม่เกี่ยวว่ารู้มากรู้น้อยแล้วจะเร็วจะช้า
คือถ้ายอมรับก็หมดปัญหา
อยู่ที่อัธยาศัย
หลักการมีเท่านี้
วาง
จะวางได้ต้องยอมรับ
บางคนเห็นหน้าก็ยอมรับแล้ว
บางคนแค่พูดก็ยอมรับ
บางคนต้องแสดงเหตุผลเป็นร้อยถึงจะยอมรับ
ยอมรับถึงวาง
วางถึงหมดปัญหา
บางคนเห็นหน้าก็ยอมรับแล้ว
บางคนแค่พูดก็ยอมรับ
บางคนต้องแสดงเหตุผลเป็นร้อยถึงจะยอมรับ
ยอมรับถึงวาง
วางถึงหมดปัญหา
รู้ตัว
รู้ตัว ไม่ได้หมายถึง ดิฉันทำอะไรดิฉันก็รู้หมด
ดิฉันเดินอยู่
ดิฉันกินอยู่
กำหนดอย่างนี้ก็ไม่รอด
รู้ตัวที่ถูกคือ
กายเดินอยู่
กายกินอยู่
ละเอียดอีกก็ ผมขนเล็บฟันหนังมันทำนั่นนี่นู่น
ท่านให้เสพให้ชัดซึ่งนิมิตอันนี้
ดิฉันเดินอยู่
ดิฉันกินอยู่
กำหนดอย่างนี้ก็ไม่รอด
รู้ตัวที่ถูกคือ
กายเดินอยู่
กายกินอยู่
ละเอียดอีกก็ ผมขนเล็บฟันหนังมันทำนั่นนี่นู่น
ท่านให้เสพให้ชัดซึ่งนิมิตอันนี้
prime question - เรื่องเวทนา
อรรถกถาแนะนำให้ถามตนเองเสมอๆ ในการปฏิบัติ
ถ้าตอบคำถามได้ จิตก็จะมั่นคงขึ้นมา
ถ้าตอบคำถามได้ จิตก็จะมั่นคงขึ้นมา
- ใครเป็นผู้สุข (ไม่มีใคร เวทนาเป็นสุข - เวทนาเป็นทุกข์)
- เวทนาของใคร (ไม่มี เราก็เป็นผู้เสวยเฉยๆ ไม่ได้เป็นเจ้าของ เราได้รับเป็นครั้งๆ)
- เวทนาเกิดได้เพราะอะไร (มีอามิส/ไม่มีอามิส/ผัสสะทางนั้นนี้นู้น)
ปัญญาพอหรือยัง
ปัญญาจะพอก็เมื่อปล่อยวางได้
แค่นั้นเอง
ก็ไม่ต้องถึงขั้นบีบคอตัวเองว่าต้องให้ได้เดี๋ยวนี้
มันก็เอาเพิ่มไปเรื่อยๆ
แต่ไม่ใช่ว่า ชาตินี้คงมีปัญญาแค่นี้ล่ะ
ก็ถ้าเอาแค่นี้มันก็จบแค่นี้แหละ
แค่นั้นเอง
ก็ไม่ต้องถึงขั้นบีบคอตัวเองว่าต้องให้ได้เดี๋ยวนี้
มันก็เอาเพิ่มไปเรื่อยๆ
แต่ไม่ใช่ว่า ชาตินี้คงมีปัญญาแค่นี้ล่ะ
ก็ถ้าเอาแค่นี้มันก็จบแค่นี้แหละ
ปฏิบัติเก่ง
การปฏิบัติไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้เก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แต่เป็นไปเพื่อการละกิเลส
กิเลสมาจากตน ดูตนนี่แหละให้ชัด
กิเลสมาจากภายนอก ดูภายนอกให้ชัด
แต่เป็นไปเพื่อการละกิเลส
กิเลสมาจากตน ดูตนนี่แหละให้ชัด
กิเลสมาจากภายนอก ดูภายนอกให้ชัด
สติปัฏฐาน - อาตาปี สัมปชาโน สติมา
สติปัฏฐานนี่ต้องใช้กำลังในการตั้งขึ้นมา
อาตาปี
ต้องมีความเพียร
หดหู่ ท้อแท้ ท้อถอย หงอยเหงา เศร้าซึม ก็ไปไม่รอด
ไปไม่รอดก็มัว "เราเป็นสุข เราเป็นทุกข์ เราเฉยๆ" อยู่อย่างนั้น
เจอคนด่ามาก็หงอย ไม่กล้าไปให้ใครด่า
พอไม่ไปให้ใครด่าเขาก็ด่าว่าไม่กล้า
พอกล้าเขาก็ด่าเหมือนเดิม
หงอยทั้งขึ้นทั้งล่อง
สัมปชัญญะ
เอาไว้รู้เหตุผลของสิ่งทีทำ
ถ้าไม่รู้เหตุรู้ผล เวลาไปทำแทนที่จะสว่าง
ก็จะกลายเป็นขลัง ศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมไป
คนได้ทำพิธีก็จะรู้สึกสบายใจ ตัวตนปลอดภัย ตัวตนสบายใจ
แต่ไม่มีผลในการละกิเลส
สัมปชัญญะนี่มีไว้ให้มองให้ทะลุว่ามันไม่มีตัวตน
มันจึงต้องรู้เหตุรู้ผลก่อน
ตัวตนจะได้ไม่มายึดเหตุว่าเป็นของมันแล้วเอาไปนอนกอดสบายอยู่
สติมา
คุ้มครองจิต
กระตุ้นให้จิตมาทำสิ่งที่ควรจะทำ
ว่าถ้าปล่อยเลื่อนลอยการงานก็ไม่ได้ทำกัน
อาตาปี
ต้องมีความเพียร
หดหู่ ท้อแท้ ท้อถอย หงอยเหงา เศร้าซึม ก็ไปไม่รอด
ไปไม่รอดก็มัว "เราเป็นสุข เราเป็นทุกข์ เราเฉยๆ" อยู่อย่างนั้น
เจอคนด่ามาก็หงอย ไม่กล้าไปให้ใครด่า
พอไม่ไปให้ใครด่าเขาก็ด่าว่าไม่กล้า
พอกล้าเขาก็ด่าเหมือนเดิม
หงอยทั้งขึ้นทั้งล่อง
สัมปชัญญะ
เอาไว้รู้เหตุผลของสิ่งทีทำ
ถ้าไม่รู้เหตุรู้ผล เวลาไปทำแทนที่จะสว่าง
ก็จะกลายเป็นขลัง ศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมไป
คนได้ทำพิธีก็จะรู้สึกสบายใจ ตัวตนปลอดภัย ตัวตนสบายใจ
แต่ไม่มีผลในการละกิเลส
สัมปชัญญะนี่มีไว้ให้มองให้ทะลุว่ามันไม่มีตัวตน
มันจึงต้องรู้เหตุรู้ผลก่อน
ตัวตนจะได้ไม่มายึดเหตุว่าเป็นของมันแล้วเอาไปนอนกอดสบายอยู่
สติมา
คุ้มครองจิต
กระตุ้นให้จิตมาทำสิ่งที่ควรจะทำ
ว่าถ้าปล่อยเลื่อนลอยการงานก็ไม่ได้ทำกัน
เราสุข VS เราย่อม/กำลังเสวยซึ่งเวทนาที่เป็นสุข
ถ้าไม่แยกเป็น "เรากำลังเสวยซึ่งเวทนาที่เป็นสุข"
เรียกว่ายังทำผิดอยู่ ยังไม่เป็นกรรมฐาน
ใครๆ เขาก็รู้สึกว่า "เราสุข - เราทุกข์" ทั้งนั้นแหละ
การกำหนดต้องเป็นไปเพื่อการละสัญญาว่าสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา
ที่ถูกต้องคือ
"เรากำลังเสวยซึ่งเวทนาที่เป็นสุข"
ความหมายคือว่า เวทนามันเป็นสุข ไม่ใช่เรา
ไม่มองเวทนาแยกออกจากเรา
ก็จะไม่มี "ความเพียรเผากิเลส"
ไม่มีสัมปชัญญะ
ไม่มีสติ
ขั้นแรกนี้คือ มาดูว่า ผู้เป็นสุข - ทุกข์คือเวทนา
ที่ยังผิดอยู่คือ "เราเป็นผู้เสวย"
ภาวนาต่อไปสักหน่อย "เรา" ก็จะค่อยๆ หายไป เมื่อรู้ชัดเพิ่มขึ้นๆ
เบื้องต้น จิตจะเป็นกรรมฐานได้
ต้องแยก "เรา - เวทนา" ออกจากกัน
มองคนอื่นก็
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขจากการร้องเพลง"
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขจากการกินของอร่อย"
ไม่ใช่เขาเป็นสุข หรือเขาสุข
ใครมาเล่าเรื่องเป็นทุกข์อะไรให้ฟัง เราก็ต้องกำหนดให้เป็น
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์จากเสียงด่า"
ไม่ใช่ไปอินช่วยเขาด่า
ให้กำหนดให้มากเอาให้เสพติดไปเลย
เปลี่ยนจากกำหนดผิด มากำหนดถูก
เรียกว่ายังทำผิดอยู่ ยังไม่เป็นกรรมฐาน
ใครๆ เขาก็รู้สึกว่า "เราสุข - เราทุกข์" ทั้งนั้นแหละ
การกำหนดต้องเป็นไปเพื่อการละสัญญาว่าสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา
ที่ถูกต้องคือ
"เรากำลังเสวยซึ่งเวทนาที่เป็นสุข"
ความหมายคือว่า เวทนามันเป็นสุข ไม่ใช่เรา
ไม่มองเวทนาแยกออกจากเรา
ก็จะไม่มี "ความเพียรเผากิเลส"
ไม่มีสัมปชัญญะ
ไม่มีสติ
ขั้นแรกนี้คือ มาดูว่า ผู้เป็นสุข - ทุกข์คือเวทนา
ที่ยังผิดอยู่คือ "เราเป็นผู้เสวย"
ภาวนาต่อไปสักหน่อย "เรา" ก็จะค่อยๆ หายไป เมื่อรู้ชัดเพิ่มขึ้นๆ
เบื้องต้น จิตจะเป็นกรรมฐานได้
ต้องแยก "เรา - เวทนา" ออกจากกัน
มองคนอื่นก็
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขจากการร้องเพลง"
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขจากการกินของอร่อย"
ไม่ใช่เขาเป็นสุข หรือเขาสุข
ใครมาเล่าเรื่องเป็นทุกข์อะไรให้ฟัง เราก็ต้องกำหนดให้เป็น
"เขากำลังเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์จากเสียงด่า"
ไม่ใช่ไปอินช่วยเขาด่า
ให้กำหนดให้มากเอาให้เสพติดไปเลย
เปลี่ยนจากกำหนดผิด มากำหนดถูก
วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560
มัชฌิมา
พอดีๆ ถูกต้อง
ไม่ไปยึดไปถือข้างใดข้างหนึ่ง
พอดี ถูกต้อง เหมาะสม
ที่จะละกิเลสได้
พอดีแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
กิเลสมากก็ต้องออกแรงหน่อย
บางคนวิบากดีกิเลสน้อย
ฟังๆ ก็บรรลุ นั่นก็คือพอดีของเขา
มัชฌิมา ไม่ได้หมายถึง "อยู่ตรงกลาง"
แต่หมายถึง มีหลักมั่นคง
ไม่ใช่ว่าต้องรอมี "2 ฝั่ง" ก่อน แล้วตัวเองต้องอยู่ตรงกลาง
ไม่ไปยึดไปถือข้างใดข้างหนึ่ง
พอดี ถูกต้อง เหมาะสม
ที่จะละกิเลสได้
พอดีแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
กิเลสมากก็ต้องออกแรงหน่อย
บางคนวิบากดีกิเลสน้อย
ฟังๆ ก็บรรลุ นั่นก็คือพอดีของเขา
มัชฌิมา ไม่ได้หมายถึง "อยู่ตรงกลาง"
แต่หมายถึง มีหลักมั่นคง
ไม่ใช่ว่าต้องรอมี "2 ฝั่ง" ก่อน แล้วตัวเองต้องอยู่ตรงกลาง
ศรัทธา
ศรัทธาที่ว่านี่ก็คือเชื่อพระพุทธเจ้านะ
ท่านบอก "นี่โคนไม้ นั่นเรือนว่าง"
ดันไปเถียงท่าน เอ้า ภาวนาที่ไหนก็ได้ ในห้องแอร์ก็ได้
แหม่...
ก็ใช่แหละภาวนาที่ไหนก็ได้
แต่ถ้าจะเอาให้หมดกิเลสมันก็ต้องรู้สิ
ที่ไหนก็ได้น่ะ
ก็สำหรับผู้ใหม่ให้กำลังใจกัน
นี่นะ
ศรัทธา
ท่านบอก "นี่โคนไม้ นั่นเรือนว่าง"
ดันไปเถียงท่าน เอ้า ภาวนาที่ไหนก็ได้ ในห้องแอร์ก็ได้
แหม่...
ก็ใช่แหละภาวนาที่ไหนก็ได้
แต่ถ้าจะเอาให้หมดกิเลสมันก็ต้องรู้สิ
ที่ไหนก็ได้น่ะ
ก็สำหรับผู้ใหม่ให้กำลังใจกัน
นี่นะ
ศรัทธา
มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิเบื้องต้น นี้เป็น "มโนทุจริต" เลยนะ
คือ เป็น "ทุจริต" เลย
แต่ถ้าเป็นเบื้องโลกุตตระ
เช่น สักกายะ 20 นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
แต่ไม่จัดเป็น "มโนทุจริต"
คือมันไม่ถึงกับ ผิดในทางที่จะเป็นกรรมทำให้เกิดวิบาก ตกอบาย
แต่ถ้าเป็นมโนทุจริตคือ
โทษไปยันตกอบายได้เลย
เรียกว่าเป็น "ความประพฤติผิดทางใจที่ให้วิบากเป็นอบายได้"
มิจฉาทิฏฐิ 10 ที่พาไปอบายได้นี้ได้แก่
ข้อใดข้อหนึ่งก็พาไปอบายได้
ผู้หวังการบรรลุธรรมอยู่ สิ่งเหล่านี้ต้อง แม่น เอาเป็นพื้นให้แน่นเลย
เมื่อแน่นแล้ว คุณธรรมคือ ศรัทธา จะเกิดขึ้น
คือ เป็น "ทุจริต" เลย
แต่ถ้าเป็นเบื้องโลกุตตระ
เช่น สักกายะ 20 นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
แต่ไม่จัดเป็น "มโนทุจริต"
คือมันไม่ถึงกับ ผิดในทางที่จะเป็นกรรมทำให้เกิดวิบาก ตกอบาย
แต่ถ้าเป็นมโนทุจริตคือ
โทษไปยันตกอบายได้เลย
เรียกว่าเป็น "ความประพฤติผิดทางใจที่ให้วิบากเป็นอบายได้"
มิจฉาทิฏฐิ 10 ที่พาไปอบายได้นี้ได้แก่
- ทานที่บุคคลทำแล้วไม่มีผล
- การบูชาไม่มีผล
- การเซ่นสรวงไม่มีผล
- วิบากของกรรมดี/ชั่วไม่มี
- เห็นว่าโลกนี้ไม่มี
- เห็นว่าโลกหน้าไม่มี
- เห็นว่ามารดาไม่มีคุณ
- เห็นว่าบิดาไม่มีคุณ
- เห็นว่าโอปปาติกะไม่มี
- เห็นว่าสมณพราหณ์ผู้ปฏิบัติดี แจ้งประจักษ์ทั้งโลกนี้/โลกหน้า แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ไม่มี
ข้อใดข้อหนึ่งก็พาไปอบายได้
ผู้หวังการบรรลุธรรมอยู่ สิ่งเหล่านี้ต้อง แม่น เอาเป็นพื้นให้แน่นเลย
เมื่อแน่นแล้ว คุณธรรมคือ ศรัทธา จะเกิดขึ้น
มิจฉาสติ VS อุทธัจจะ
อภิธรรมไม่พูดถึง มิจฉาสติ บอกว่า สติ เป็นกุศลอย่างเดียว
แต่พระสูตรมีนะ พุทธพจน์มีจะจะ
ทั้งนี้
มิจฉาสติ ไม่ใช่อกุศล
แต่เป็นเจตสิกเลย
เป็นสิ่งที่เกิดประกอบกับจิตเลย
มีสภาวะจริงๆ
ความระลึกผิด ก็เช่น..
นึกถึงครอบครัว
นึกถึงบ้าน ที่ดิน (พวกดิรัจฉานกถานั่นแหละ)
นึกถึงลูกหลาน
นึกถึงเราจะตายเป็นธรรมดา (อันนี้สัมมาสติ)
นึกถึงว่าอันนี้เป็นกายนะ อันนี้เป็นเวทนานะ (อันนี้สัมมาสติ)
คือนึกเหมือนกัน แต่นึกถูก
ถูกที่ว่าคือ พาพ้นกิเลส
บางคนไปอธิบายเป็น "อุทธัจจะ"
ซึ่งก็คล้ายๆ กันแต่สภาวะมันต่าง
อุทธัจจะ เป็นการฟุ้งของสติที่คุมไม่อยู่
แต่สตินี่คือ จับได้นะ นึกได้
สติคืออาการจับเรื่องนั้นเรื่องนี้มาพิจารณา
แต่พระสูตรมีนะ พุทธพจน์มีจะจะ
ทั้งนี้
มิจฉาสติ ไม่ใช่อกุศล
แต่เป็นเจตสิกเลย
เป็นสิ่งที่เกิดประกอบกับจิตเลย
มีสภาวะจริงๆ
ความระลึกผิด ก็เช่น..
นึกถึงครอบครัว
นึกถึงบ้าน ที่ดิน (พวกดิรัจฉานกถานั่นแหละ)
นึกถึงลูกหลาน
นึกถึงเราจะตายเป็นธรรมดา (อันนี้สัมมาสติ)
นึกถึงว่าอันนี้เป็นกายนะ อันนี้เป็นเวทนานะ (อันนี้สัมมาสติ)
คือนึกเหมือนกัน แต่นึกถูก
ถูกที่ว่าคือ พาพ้นกิเลส
บางคนไปอธิบายเป็น "อุทธัจจะ"
ซึ่งก็คล้ายๆ กันแต่สภาวะมันต่าง
อุทธัจจะ เป็นการฟุ้งของสติที่คุมไม่อยู่
แต่สตินี่คือ จับได้นะ นึกได้
สติคืออาการจับเรื่องนั้นเรื่องนี้มาพิจารณา
มิจฉาวิมุตติ
พ้นแล้วไม่พ้นจริง
พ้นแล้วกลับกำเริบ
มักเกิดกับพวกสมาธิสูงๆ จนไม่เห็นกิเลส
ตราบเท่าที่กำลังของสมาธิยังอยู่
สัมมาวิมุตติ
คือการพ้นที่ไม่กลับกำเริบอีก
พ้นแล้วกลับกำเริบ
มักเกิดกับพวกสมาธิสูงๆ จนไม่เห็นกิเลส
ตราบเท่าที่กำลังของสมาธิยังอยู่
สัมมาวิมุตติ
คือการพ้นที่ไม่กลับกำเริบอีก
วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560
ดูตัว
ความจริงสิดูตัว
ประพฤติชั่วไปดูชน
เปรียบเทียบมิเทียบกล
ทุรมนสนองไป
ความนัยใกล้กิเลส
ไม่ทันเลศที่เน่าใน
ความซ่านระร่านไว
มนะใจยังไม่จำ
หน้าที่หนึ่งคือรู้
กำหนดดูไม่ถลำ
ประพฤติชั่วไปดูชน
เปรียบเทียบมิเทียบกล
ทุรมนสนองไป
ความนัยใกล้กิเลส
ไม่ทันเลศที่เน่าใน
ความซ่านระร่านไว
มนะใจยังไม่จำ
หน้าที่หนึ่งคือรู้
กำหนดดูไม่ถลำ
วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560
ความเห็นถูกแง่กิเลส
กิเลสเป็นสิ่งละได้
เป็นแขก
แขกมาทีหลัง
ไล่แขกออกจากบ้านเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
เบื้องต้นต้องตั้งความเห็นให้ตรงก่อนว่า "ละได้"
ละได้เมื่อไร ละอย่างไรก็ว่าไป
แต่ไม่ใช่ระทวยไปเรื่อย
มันไม่ได้หรอกค่ะ
อยู่กันมานาน คงไม่ได้ละมั้งคะ
อันนี้เห็นผิด "มิจฉาทิฏฐิ"
โอ้ว กิเลสละได้ค่ะ
แต่ไม่ใช่วันนี้
อันนี้เห็นถูก แต่ความเพียรย่อหย่อน 5555
ความเพียรนี่ต้องฮึด
ฮึดบ่อยๆ
คือ ฮึดก็แพ้แหละ
สลับกันชนะ แพ้
ถ้าฮึดขึ้นมาเมื่อไรแพ้ทุกที อันนี้ยังไม่เป็นอินทรีย์ ยังเป็นนกกระจอก
ตัวฝึกอินทรีย์คือ 444 (ใน 4445578)
ตอนต้นอย่าฝึกให้เก่ง
ที่ฝึกสติปัฏฐานเป็น วิปัสสนาเป็น ไม่ใช่เอาเก่ง
ฝึกให้มี "ศรัทธา" เท่านั้น
เพราะคุณธรรมที่เราจะเอาไปนี่ไม่ใช่ "ปัญญาของตัวเอง" นะ
ที่เอาไปคือ ศรัทธา วิริยะ สติ
ปัญญามาทีหลังนู่น
ทำสมาธิก็ไม่ได้หวังผลอะไร
เพื่อมาเห็นว่าตรงตามที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้
ว่ามันดี จะได้มี "ศรัทธา"
ศรัทธาจึงเป็นเริ่มต้นของ อินทรีย์ 5
เป็นแขก
แขกมาทีหลัง
ไล่แขกออกจากบ้านเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
เบื้องต้นต้องตั้งความเห็นให้ตรงก่อนว่า "ละได้"
ละได้เมื่อไร ละอย่างไรก็ว่าไป
แต่ไม่ใช่ระทวยไปเรื่อย
มันไม่ได้หรอกค่ะ
อยู่กันมานาน คงไม่ได้ละมั้งคะ
อันนี้เห็นผิด "มิจฉาทิฏฐิ"
โอ้ว กิเลสละได้ค่ะ
แต่ไม่ใช่วันนี้
อันนี้เห็นถูก แต่ความเพียรย่อหย่อน 5555
ความเพียรนี่ต้องฮึด
ฮึดบ่อยๆ
คือ ฮึดก็แพ้แหละ
สลับกันชนะ แพ้
ถ้าฮึดขึ้นมาเมื่อไรแพ้ทุกที อันนี้ยังไม่เป็นอินทรีย์ ยังเป็นนกกระจอก
ตัวฝึกอินทรีย์คือ 444 (ใน 4445578)
ตอนต้นอย่าฝึกให้เก่ง
ที่ฝึกสติปัฏฐานเป็น วิปัสสนาเป็น ไม่ใช่เอาเก่ง
ฝึกให้มี "ศรัทธา" เท่านั้น
เพราะคุณธรรมที่เราจะเอาไปนี่ไม่ใช่ "ปัญญาของตัวเอง" นะ
ที่เอาไปคือ ศรัทธา วิริยะ สติ
ปัญญามาทีหลังนู่น
ทำสมาธิก็ไม่ได้หวังผลอะไร
เพื่อมาเห็นว่าตรงตามที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้
ว่ามันดี จะได้มี "ศรัทธา"
ศรัทธาจึงเป็นเริ่มต้นของ อินทรีย์ 5
ที่ได้มาไม่ใช่เพราะตัณหา
ที่ได้มาเพราะกรรมที่ทำไว้แล้ว
ไม่ได้ได้เพราะว่าอยาก
ตัณหาก็มีทุกรูปนาม
คนก็มีสัตว์ก็มี
แต่ก็ใช่ว่าทุกรูปนามจะได้
อันนี้ต้องเข้าใจให้ชัดๆ
ไม่ได้ได้เพราะว่าอยาก
ตัณหาก็มีทุกรูปนาม
คนก็มีสัตว์ก็มี
แต่ก็ใช่ว่าทุกรูปนามจะได้
อันนี้ต้องเข้าใจให้ชัดๆ
ภัย 5
- ภัยจากการเลี้ยงชีพ
- ภัยจากการติเตียน
- ภัยจากความขาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม
- ภัยจากมรณะ
- ภัยจากอบาย
ภัยจากการเลี้ยงชีพ คือการผิดศีล
เช่น เสี่่ยงเลี่ยงภาษี
แสวงหาทรัพย์โดยมิชอบ
กิเลสทั้งสิ้น
คนผิดศีล
ทุจริต
เข้าสู่ที่ประชุมกิเลสจะเยอะ
ไปที่คนเยอะแล้วไม่ปลอดโปร่ง ไม่สบาย
กลัวตาย
ทำผิดพลาดมาเยอะแยะ
ไม่มีศีลจะกลัวตาย
การไม่กลัวตายเป็นกุศล
ทุคติภัย
กลัว หวาดหวั่นจะไปไม่ดี
โทษของความไม่อดทน 5
- ไม่เป็นที่ชอบใจของหมู่ชน
- มีเวรมาก
- มีโทษมาก
- ขาดสติตาย
- ตายไปเข้านรก
โทษมาก หมายถึง กิเลสตามมาเป็นขบวน
ขันตี ความอดกลั้นได้ เป็นเครื่องขูดกิเลสอย่างยิ่ง
เป็นภูมิต้านทานกิเลส
เป็นภูมิต้านทานเวร
ทนได้กิเลสก็ไม่มา
ทนไม่ได้ความคิดปรุงแต่งก็มาเพียบ
ขันตี ความอดกลั้นได้ เป็นเครื่องขูดกิเลสอย่างยิ่ง
เป็นภูมิต้านทานกิเลส
เป็นภูมิต้านทานเวร
ทนได้กิเลสก็ไม่มา
ทนไม่ได้ความคิดปรุงแต่งก็มาเพียบ
หลักการ 4 เรื่องฝึกความอดทน
ฝึกจากเรื่องเล็กๆ
๑ อดทนต่อความเย็น/ร้อน/หิว/กระหาย
อย่าบ่น อย่าพูดมาก
ถ้ารำคาญขึ้นมาให้ระลึกไว้ว่านี่กิเลส
๒ อดทนต่อสัมผัสยุง/ลม/แดด สัตว์รำคาญ
๓ อดทนต่อคำว่าร้าย/คำติฉิน/นินทา
การด่าคืนไม่ใช่ประโยชน์
ด่ามาก็คือโลก เราก็ถือประโยชน์คือ ทนเพิ่มขึ้น
๔ อดทนต่อความเจ็บปวด
ทุกข์ที่ติดกับมีกาย
มีกายมันก็เจ็บจนตายนั่นแหละ
เวทนาเป็นของธรรมชาติ
เจ็บปางตาย แล้วก็ตายจริงๆ
ถ้ายึดมันก็รวมกัน
เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก
แตกแต่กาย
ใจไม่แตก
พยสนะ 5
ความรู้สึกสูญเสีย ล่มจม
รู้สึกฉิบหาย
เป็นกิเลส
แย่แล้วจากคนโน้นคนนี้
รู้สึกฉิบหาย
เป็นกิเลส
แย่แล้วจากคนโน้นคนนี้
- ญาติพยสนะ เราต้องสูญเสียคนนั้นคนนี้ (เมื่อเสียญาติ)
- โภคพยสนะ เราพินาศฉิบหายจากทรัพย์สินแล้ว...
- โรคพยสนะ ความพินาศเพราะเป็นโรค
โรคเป็นธรรมชาติ
จะพินาศไม่พินาศก็เรื่องของมันอยู่แล้ว
"เราพินาศแล้ว" อันนี้กิเลส - สีลพยสนะ
ศีลฉิบหายคนไม่ค่อยรู้เรื่อง
ส่วนใหญ่เห็นแค่ 3 ข้อแรกเป็นความพินาศ - ทิฏฐิพยสนะ
จริๆง เรื่องนี้ใหญ่โตใหญ่มาก
ความเห็นผิดกลายเป็นถูกไป แต่คนไม่รับรู้ว่าพินาศ
กิเลสครอบงำเต็มที่
เวร 5
เวร หมายถึงเจตนาที่ไม่ดี
ความคิดไม่ดียังไม่เป็นเวร ถ้ายังไม่ได้ใส่เจตนาไม่ดีเข้าไป
คือคนมีกิเลสมันก็มีความคิดผุดขึ้นเป็นธรรมดา
ถ้าใส่เจตนาเข้าไปตามความคิด
เป็นการผูกเวร
เจตนาไม่ดี 5
ความคิดไม่ดียังไม่เป็นเวร ถ้ายังไม่ได้ใส่เจตนาไม่ดีเข้าไป
คือคนมีกิเลสมันก็มีความคิดผุดขึ้นเป็นธรรมดา
ถ้าใส่เจตนาเข้าไปตามความคิด
เป็นการผูกเวร
เจตนาไม่ดี 5
- เจตนาฆ่า
- เจตนาลักของ
- เจตนาล่วงละเมิดของรักของหวง หรือประเพณีของสังคมนั้นๆ
- เจตนาปด
- เจตนาดื่มเมรัย
เจโตขีละ 5
ตะปูตรึงหัวใจ ทำให้ค้างคา
ทำให้จิตใจแข็ง กระด้าง
ไม่งอกเงยอะไร
ค้างคาอยู่นั่น
ที่พึ่งที่หยั่งลงได้คือ พระรัตนตรัย
ถ้าหยั่งไม่ลงนี่ กิเลสยังมากอยู่
ไม่เลื่อมใสในมรรค ในผล ในนิพพาน
แม้ยังไม่เห็น แต่ถ้าเลื่อมใส
ฟังเรื่องพวกนี้แล้วเบิกบาน
ใจก็ผ่องใส
เห็นผ้าเหลือง ใจก็น้อมลงไปในคุณพระอริยสงฆ์
เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระกับเจ้า
ใจก็ผ่องใส ก็เท่านี้เอง
ละความเคลือบแคลง
ทำให้จิตใจแข็ง กระด้าง
ไม่งอกเงยอะไร
ค้างคาอยู่นั่น
ที่พึ่งที่หยั่งลงได้คือ พระรัตนตรัย
ถ้าหยั่งไม่ลงนี่ กิเลสยังมากอยู่
ไม่เลื่อมใสในมรรค ในผล ในนิพพาน
แม้ยังไม่เห็น แต่ถ้าเลื่อมใส
ฟังเรื่องพวกนี้แล้วเบิกบาน
ใจก็ผ่องใส
เห็นผ้าเหลือง ใจก็น้อมลงไปในคุณพระอริยสงฆ์
เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระกับเจ้า
ใจก็ผ่องใส ก็เท่านี้เอง
ละความเคลือบแคลง
- สงสัยในพระพุทธ
ท่านมีกายปุริสลักษณะ 32 ประการมั้ย
ยืนมองพระพุทธรูปเป็นศิลปะ
เห็นต้นโพธิ์ใจไม่หยั่งลงในพุทธคุณ
ในมันกระด้าง ไม่ผ่องใส ใจไม่ลง ค้างอยู่กับที่ แข็งทื่อ - สงสัยในพระธรรม
ใจไม่หยั่งลงในธรรมคุณ
อ่านไปก็ใช่มั้ยน้า
อันนี้ใช่ ไม่ใช่ เปรียบเทียบ
ใจไม่เบิกบาน - สงสัยในพระสงฆ์
- สงสัยในสิกขา ข้อปฏิบัติต่างๆ
พิจารณาอาหาร พิจารณาการนอน อ่านดูแล้วเฉยๆ
ไม่ได้น้อมไปว่า โอ้ว ท่านได้กันกิเลสให้เราตลอดเวลาเลยน่อ - ขุ่นเคือง ไม่พอใจ กระทบกระทั่ง กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์
สังคะ 5
สังคะ 5 ความเกี่ยวข้อง
ราคะ
โทสะ
โมหะ
ทิฏฐิ
มานะ
ยังโกรธยังเกี่ยวข้องอยู่
สัลละ 5 เครื่องทิ่มแทง
ราคะ
โทสะ
โมหะ
ทิฏฐิ
มานะ
กระทบนิดหน่อยก็เจ็บปวด
ไม่เอาออก แล้วไปกระทบก็เจ็บปวด
เอามือไปโดนก็เจ็บอีกแล้ว
เหมือนมีลูกศรคาอยู่ในใจ
ใครมากระทบก็เจ็บ
ไม่ยอมเอาออกเอง
ราคะ
โทสะ
โมหะ
ทิฏฐิ
มานะ
ยังโกรธยังเกี่ยวข้องอยู่
สัลละ 5 เครื่องทิ่มแทง
ราคะ
โทสะ
โมหะ
ทิฏฐิ
มานะ
กระทบนิดหน่อยก็เจ็บปวด
ไม่เอาออก แล้วไปกระทบก็เจ็บปวด
เอามือไปโดนก็เจ็บอีกแล้ว
เหมือนมีลูกศรคาอยู่ในใจ
ใครมากระทบก็เจ็บ
ไม่ยอมเอาออกเอง
ม้จฉริยะ
ม้จฉริยะ
ออกอาการแบบหงุดหงิดรำคาญ
ตระหนี่ กีดกัน
ทนไม่ได้ ทนไม่ไหว
เช่น เอาแก้วมาจองที่นั่งทำให้คนอื่นนั่งไม่ได้
"ชั้นมีสิทธิ"
ผิดไปหลายดอก
ออกอาการแบบหงุดหงิดรำคาญ
ตระหนี่ กีดกัน
ทนไม่ได้ ทนไม่ไหว
เช่น เอาแก้วมาจองที่นั่งทำให้คนอื่นนั่งไม่ได้
"ชั้นมีสิทธิ"
ผิดไปหลายดอก
ตัวขุดกิเลส
สติ ยังไม่ใช่ตัวขุดกิเลส
มีสติไม่ได้แปลว่าจะไม่คิดไม่ดี
แค่คุมไม่ให้มันไปไกลเฉยๆ
กำกับไว้ อย่าไปตามมันนะ
ปัญญา ก็ยังไม่ใช่ตัวขุดกิเลส
แต่พามาเห็นว่ามันมีโทษ
ปัญญาเป็นตัวพิจารณา
กิเลสงอกขึ้นมาได้แสดงว่าอวิชชายังอยู่นะ
มรรค
ดูง่ายๆ ก็ดูว่ายังคิดไม่ดีอยู่มั้ย
กิเลสยังอยู่
อย่างละเอียดก็ไปดูในสมาธิ รวมแล้วดูว่าอะไรขึ้นมา
ความคิดไม่ดียังขึ้นมามั้ย
มีสติไม่ได้แปลว่าจะไม่คิดไม่ดี
แค่คุมไม่ให้มันไปไกลเฉยๆ
กำกับไว้ อย่าไปตามมันนะ
ปัญญา ก็ยังไม่ใช่ตัวขุดกิเลส
แต่พามาเห็นว่ามันมีโทษ
ปัญญาเป็นตัวพิจารณา
กิเลสงอกขึ้นมาได้แสดงว่าอวิชชายังอยู่นะ
มรรค
ดูง่ายๆ ก็ดูว่ายังคิดไม่ดีอยู่มั้ย
กิเลสยังอยู่
อย่างละเอียดก็ไปดูในสมาธิ รวมแล้วดูว่าอะไรขึ้นมา
ความคิดไม่ดียังขึ้นมามั้ย
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560
คนไม่หมดกิเลสไม่มีทางมีความสุขแท้จริง
ลูกดี
สามีดี
ชีวิตดี
แต่ยังไม่หมดกิเลส
ดิฉันก็มีความสุขดีนะคะ
สบายปล่อยวาง ไม่ทุกข์อะไร
อันนี้โง่
กิเลสเป็นสัจจะข้อที่ 2
เมื่อมีเหตุย่อมมีผล
จะไม่มีผลเป็นไปไม่ได้
มิจฉาทิฏฐิ
คนเห็นคนอื่นภาพนี้ มิจฉามาก ไร้สาระ
กิเลสจะต้องตามล้างเขาอยู่อย่างนั้น
เหตุมีอยู่จะจะ ผลก็จะต้องมี
มุมมองที่ไม่มั่นคงก็มั่วไป
เหตุกับผลผูกกันอยู่
เหมือนเกิดกับตาย
ตัณหากับทุกข์ผูกกันอยู่
หลักตรงไปตรงมา
สามีดี
ชีวิตดี
แต่ยังไม่หมดกิเลส
ดิฉันก็มีความสุขดีนะคะ
สบายปล่อยวาง ไม่ทุกข์อะไร
อันนี้โง่
กิเลสเป็นสัจจะข้อที่ 2
เมื่อมีเหตุย่อมมีผล
จะไม่มีผลเป็นไปไม่ได้
มิจฉาทิฏฐิ
คนเห็นคนอื่นภาพนี้ มิจฉามาก ไร้สาระ
กิเลสจะต้องตามล้างเขาอยู่อย่างนั้น
เหตุมีอยู่จะจะ ผลก็จะต้องมี
มุมมองที่ไม่มั่นคงก็มั่วไป
เหตุกับผลผูกกันอยู่
เหมือนเกิดกับตาย
ตัณหากับทุกข์ผูกกันอยู่
หลักตรงไปตรงมา
อโยนิโสมนสิการ กุมมัคคเสวนา เจตโสลีนัตตะ
อโยนิโสมนสิการ
ใส่ใจไม่ถูก
ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่ง ไม่เที่ยงว่าเที่ยง/ทุกข์ว่าสุข/ไม่งามว่างาม/ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน
นึก นึกเนืองๆ
ใคร่ครวญผิดจากความจริง
สิ่งต่างๆ มีข้อขัดข้อง ไปคิดว่ามันสะดวกสะบาย
กุมมัคคเสวนา
คุ้นกับความคิดผิด
ของขลังอะไรที่ไหนศักดิ์สิทธิ์ตอบได้เป็นฉากๆ
ธรรมนั้นหัวข้ออะไร - จำไม่ได้ 555
หมอดูอย่าไปเชื่อเค้ามันผิด
เค้าก็มีถูกเหมือนกันนะอาจารย์
คุ้นกับคำพูดผิด
มาละกิเลส มาละของชั่ว
แหม่ มันจะไปละได้ยังไงอาจารย์
ให้เหตุผลช่วยทางผิด
ภักดีกะทางผิด ไม่อยากออกจากทางผิด
เจตโสลีนัตตะ
หดหู่ เป็นกิเลสไม่ใช่จิต
ไม่คล่องแคล่ว
ไม่ควรแก่การงาน
ย่อหย่อน
เรียนหนังสือก็อืด ตามไม่ไป ไม่ยอมไป
ใส่ใจไม่ถูก
ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่ง ไม่เที่ยงว่าเที่ยง/ทุกข์ว่าสุข/ไม่งามว่างาม/ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน
นึก นึกเนืองๆ
ใคร่ครวญผิดจากความจริง
สิ่งต่างๆ มีข้อขัดข้อง ไปคิดว่ามันสะดวกสะบาย
กุมมัคคเสวนา
คุ้นกับความคิดผิด
ของขลังอะไรที่ไหนศักดิ์สิทธิ์ตอบได้เป็นฉากๆ
ธรรมนั้นหัวข้ออะไร - จำไม่ได้ 555
หมอดูอย่าไปเชื่อเค้ามันผิด
เค้าก็มีถูกเหมือนกันนะอาจารย์
คุ้นกับคำพูดผิด
มาละกิเลส มาละของชั่ว
แหม่ มันจะไปละได้ยังไงอาจารย์
ให้เหตุผลช่วยทางผิด
ภักดีกะทางผิด ไม่อยากออกจากทางผิด
เจตโสลีนัตตะ
หดหู่ เป็นกิเลสไม่ใช่จิต
ไม่คล่องแคล่ว
ไม่ควรแก่การงาน
ย่อหย่อน
เรียนหนังสือก็อืด ตามไม่ไป ไม่ยอมไป
มุถสัจจัง
นึกไม่ได้
หลงลืม
ระลึกไม่ได้
กำหนดไม่ได้
ย้อนระลึกไม่ได้
หวนระลึกไม่ได้
ทรงจำไม่ได้
หลงลืมธรรมะ
หลงลืมคุณความดี
หัดนึกข้อธรรม ฝึกเอาไว้
สติเป็นตัวดึงข้อมูล
ตัวข้อมูลคือสัญญา
พวกสติดีๆ ดึงจากอดีตนานๆ ก็ได้
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
หลงลืม
ระลึกไม่ได้
กำหนดไม่ได้
ย้อนระลึกไม่ได้
หวนระลึกไม่ได้
ทรงจำไม่ได้
หลงลืมธรรมะ
หลงลืมคุณความดี
หัดนึกข้อธรรม ฝึกเอาไว้
สติเป็นตัวดึงข้อมูล
ตัวข้อมูลคือสัญญา
พวกสติดีๆ ดึงจากอดีตนานๆ ก็ได้
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
อุปารัมภะจิตตตา
ความคิดแข่งดี
ความดูหมิ่น ดูแคลน
คอยแสวงหาโทษ
จับผิด
หาช่อง
ชอบให้อะไรสมบูรณ์แบบ
เป็นกิเลสคือชอบจับนู่นนี่
ติดตามดูความบกพร่องของคนอื่นเขา
ถ้าใจไม่มีกิเลสมันไม่มีจุดบกพร่องอะไรหรอก
ถ้าไม่มีตัวนี้สิ่งภายนอกก็ไม่ได้บกพร่องอะไร
จะทำอะไรก็ด้วยเมตตา
ทำอย่างไรจะดีสำหรับเขา
ความดูหมิ่น ดูแคลน
คอยแสวงหาโทษ
จับผิด
หาช่อง
ชอบให้อะไรสมบูรณ์แบบ
เป็นกิเลสคือชอบจับนู่นนี่
ติดตามดูความบกพร่องของคนอื่นเขา
ถ้าใจไม่มีกิเลสมันไม่มีจุดบกพร่องอะไรหรอก
ถ้าไม่มีตัวนี้สิ่งภายนอกก็ไม่ได้บกพร่องอะไร
จะทำอะไรก็ด้วยเมตตา
ทำอย่างไรจะดีสำหรับเขา
สัทธัมเป็นไฉน
ธรรมที่ทำให้สงบระงับจากกิเลส ได้แก่
ถ้ามีธรรมเหล่านี้กิเลสถึงสงบ
เรียนเรื่องบุญบาปไรงี้ไม่พอจะละกิเลส
เอาอย่างอื่นมา ไม่สงบจริง
ไม่สงบหมายถึง มันยังเกิดขึ้นได้
ความไม่ต้องการจะฟัง จะเรียน จะทรงจำ
รู้สึกยาก ลำบาก
ชื่อนี้จำยาก
เอาความลำบากยากเย็นมาเป็นเงื่อนไข
งานเยอะ ต้องเลี้ยงลูก ต้องเลี้ยงแมว อ้างนู่นนี่
เป็นกิเลสล้วนๆ
ถ้ากุศล ก็ โห นี่ๆ ได้ชื่อใหม่มาอีกแล้ว
พูดอีกๆ จะได้จำเพิ่ม
- สติปัฏฐาน 4
- สัมมัปปทาน 4
- อิทธิบาท 4
- อินทรีย์ 5
- พละ 5
- โพชฌงค์ 7
- อริยมรรค 8
ถ้ามีธรรมเหล่านี้กิเลสถึงสงบ
เรียนเรื่องบุญบาปไรงี้ไม่พอจะละกิเลส
เอาอย่างอื่นมา ไม่สงบจริง
ไม่สงบหมายถึง มันยังเกิดขึ้นได้
ความไม่ต้องการจะฟัง จะเรียน จะทรงจำ
รู้สึกยาก ลำบาก
ชื่อนี้จำยาก
เอาความลำบากยากเย็นมาเป็นเงื่อนไข
งานเยอะ ต้องเลี้ยงลูก ต้องเลี้ยงแมว อ้างนู่นนี่
เป็นกิเลสล้วนๆ
ถ้ากุศล ก็ โห นี่ๆ ได้ชื่อใหม่มาอีกแล้ว
พูดอีกๆ จะได้จำเพิ่ม
อสังวรัง อุทธัจจะ
อสังวร = ความไม่สังวร
ความไม่ปิดไม่กั้นกิเลส ก็เป็นกิเลสชนิดนึง
เห็นรูปด้วยตาแล้ว รวบถือ แยกถือ
ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์
เป็นเหตุให้อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้
ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมจักขุนทรีย์
ตามองเห็น
ปล่อยมันเห็นไปเรื่อย
ถ้าสังวรอยู่เป็นยังไง
อ่ะ เห็น
อันนี้สิ่งที่เห็นนะ...
ไม่ใช่สัตว์บุคคลนะ...
อย่าไปยินดียินร้ายนะ...
บอกตัวเองได้ มีสติตั้งไว้
อุทธัจจะ
เวลามันซัดส่ายนี่ไม่ใช่จิต
ให้กำหนดรู้ว่าเป็นกิเลส สู้มัน
หน้าที่คือนิ่ง
ไม่ใช่วิ่งตามมัน
ไม่ใช่คิดว่ามันธรรมดา
ไม่ใช่คิดว่ามันคือจิต
เป็นกิเลสที่เกิดเยอะที่สุดแล้ว
ความฟุ้ง แตกกระจายนี้ทำให้ไม่เห็นกิเลส
ความไม่ปิดไม่กั้นกิเลส ก็เป็นกิเลสชนิดนึง
เห็นรูปด้วยตาแล้ว รวบถือ แยกถือ
ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์
เป็นเหตุให้อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้
ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมจักขุนทรีย์
ตามองเห็น
ปล่อยมันเห็นไปเรื่อย
ถ้าสังวรอยู่เป็นยังไง
อ่ะ เห็น
อันนี้สิ่งที่เห็นนะ...
ไม่ใช่สัตว์บุคคลนะ...
อย่าไปยินดียินร้ายนะ...
บอกตัวเองได้ มีสติตั้งไว้
อุทธัจจะ
เวลามันซัดส่ายนี่ไม่ใช่จิต
ให้กำหนดรู้ว่าเป็นกิเลส สู้มัน
หน้าที่คือนิ่ง
ไม่ใช่วิ่งตามมัน
ไม่ใช่คิดว่ามันธรรมดา
ไม่ใช่คิดว่ามันคือจิต
เป็นกิเลสที่เกิดเยอะที่สุดแล้ว
ความฟุ้ง แตกกระจายนี้ทำให้ไม่เห็นกิเลส
อสัทธิยัง อวตัญญุตา
อสัทธิยัง = ความไม่ศรัทธา
ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจผู้ที่ควรจะเชื่อใจ
ไม่มีที่ปลงใจ
ไม่เชื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ไม่ปักใจเชืี่อ
ไม่มีที่วางใจ ปลงใจ ลงใจ
คนที่ไม่มีที่วางใจ ปลงใจ วางใจ
เรียกว่าใจยังเลื่อนลอยอยู่มาก
ต้องรีบๆ มีที่วางใจ มีหลักให้ใจ
ผู้ที่วางใจได้มากที่สุดคือผู้ที่ไม่มีกิเลส
ถ้าท่านว่าไม่ดี ไม่เป็นทางพ้นทุกข์ มันต้องเป็นงั้นแน่นอน
ถ้าท่านว่าดี เป็นทางพ้นทุกข์ มันต้องเป็นงั้นแน่นอน
พวกที่ดูเหมือนปัญญาเยอะ
นักคิดนักเขียน
ใจไม่ลงกับใครสักคน อันนี้เรียกโง่
มีเหตุผลไปเรื่อยในทางโลกมันหาที่ลงได้ที่ไหน
เดี๋ยวก็ไปปรัชญานู้น ไปปรัชญานี้
อวตัญญุตา
ความไม่รู้จักกิริยาอาการของผู้อื่น
ความไม่รู้จักถ้อยคำของผู้อื่น
ไม่รู้จักถ้อยคำของผู้ขอ
ไม่เผื่อแผ่
ความตระหนี่
ไม่รู้จักช่วยเหลือ
ไม่รู้จักว่าคนอื่นเขาต้องการอะไร
ไม่โอบอ้อมอารีแก่คนที่เขาต้องการ
หวงแหน ขี้เหนียว ปกปิด
ความหวงแหนเวลามีผู้ขอ
แอบนั่นนี่ ทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจผู้ที่ควรจะเชื่อใจ
ไม่มีที่ปลงใจ
ไม่เชื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ไม่ปักใจเชืี่อ
ไม่มีที่วางใจ ปลงใจ ลงใจ
คนที่ไม่มีที่วางใจ ปลงใจ วางใจ
เรียกว่าใจยังเลื่อนลอยอยู่มาก
ต้องรีบๆ มีที่วางใจ มีหลักให้ใจ
ผู้ที่วางใจได้มากที่สุดคือผู้ที่ไม่มีกิเลส
ถ้าท่านว่าไม่ดี ไม่เป็นทางพ้นทุกข์ มันต้องเป็นงั้นแน่นอน
ถ้าท่านว่าดี เป็นทางพ้นทุกข์ มันต้องเป็นงั้นแน่นอน
พวกที่ดูเหมือนปัญญาเยอะ
นักคิดนักเขียน
ใจไม่ลงกับใครสักคน อันนี้เรียกโง่
มีเหตุผลไปเรื่อยในทางโลกมันหาที่ลงได้ที่ไหน
เดี๋ยวก็ไปปรัชญานู้น ไปปรัชญานี้
อวตัญญุตา
ความไม่รู้จักกิริยาอาการของผู้อื่น
ความไม่รู้จักถ้อยคำของผู้อื่น
ไม่รู้จักถ้อยคำของผู้ขอ
ไม่เผื่อแผ่
ความตระหนี่
ไม่รู้จักช่วยเหลือ
ไม่รู้จักว่าคนอื่นเขาต้องการอะไร
ไม่โอบอ้อมอารีแก่คนที่เขาต้องการ
หวงแหน ขี้เหนียว ปกปิด
ความหวงแหนเวลามีผู้ขอ
แอบนั่นนี่ ทำเป็นมองไม่เห็น
อนาทริยัง
อนาทร ไม่อาทร
โทวจัสสตา
ปาปมิตตา
อนาทริยะ
ความไม่เอื้อเฟื้อ
กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ
ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟัง
ความไม่เชื่อถือ
กิริยาที่ไม่เชื่อถือ
ภาวะที่ไม่เชื่อถือ
ความไม่มีศีล
ความไม่ยำเกรง
ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล
ไม่เอื้อเฟื้อต่อสถานที่
ไม่เอื้อเฟื้อต่อโอวาท
เดินเข้าโบสถ์ใส่รองเท้าเดินเชิ้บเชิบ
เขาสอนอย่างทำอีกอย่าง
มีป้ายห้ามใช้เสียง ก็ไม่่ใส่ใจโทรศัพท์ดัง
เขาห้ามพูด ยังกระซิบ
ป้ายเตือนทั้งหลายเป็นเครื่องขัดกิเลส
ถ้าจะเอาแต่ตามใจตัวไม่สนใจคนอื่นอันนี้คือกิเลส
สถานที่มีระเบียบยังไง ไม่ตรวจสอบ
จะอ้างแต่ตัวใหญ่โต อายุมากแล้ว
ที่อื่นชั้นก็ทำอย่างนี้ ทำไมที่นี่ยังงี้
ไฟแดงเหรอ
ไม่เป็นไร ไปเลยๆ
โทวจัสสตา
ปาปมิตตา
อนาทริยะ
ความไม่เอื้อเฟื้อ
กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ
ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟัง
ความไม่เชื่อถือ
กิริยาที่ไม่เชื่อถือ
ภาวะที่ไม่เชื่อถือ
ความไม่มีศีล
ความไม่ยำเกรง
ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล
ไม่เอื้อเฟื้อต่อสถานที่
ไม่เอื้อเฟื้อต่อโอวาท
เดินเข้าโบสถ์ใส่รองเท้าเดินเชิ้บเชิบ
เขาสอนอย่างทำอีกอย่าง
มีป้ายห้ามใช้เสียง ก็ไม่่ใส่ใจโทรศัพท์ดัง
เขาห้ามพูด ยังกระซิบ
ป้ายเตือนทั้งหลายเป็นเครื่องขัดกิเลส
ถ้าจะเอาแต่ตามใจตัวไม่สนใจคนอื่นอันนี้คือกิเลส
สถานที่มีระเบียบยังไง ไม่ตรวจสอบ
จะอ้างแต่ตัวใหญ่โต อายุมากแล้ว
ที่อื่นชั้นก็ทำอย่างนี้ ทำไมที่นี่ยังงี้
ไฟแดงเหรอ
ไม่เป็นไร ไปเลยๆ
อโนตตัปปะ
การทำสิ่งไม่ดีนี่ควรเดือดร้อน
เวลาทำสิ่งไม่ดีแล้วรู้สึกว่า โอ้ย ไม่เป็นไรหรอก
อันนี้คือกิเลส
ปฏิบัติธรรมใหม่ๆ รู้สึกลำบาก
หนักใจบ้าง
ก็เนื่องจากว่าพอเริ่มรู้ว่าอะไรไม่ดี
ก็เริ่มกลัวมัน
เริ่มเดือดร้อนใจบ้างอะไรบ้าง
ก็ต้องยอมรับกันไป
ถ้าไม่เดือดร้อนใจเลย
ไม่ได้สู้อะไรเลย
ก็จะเหมือนไม่เดือดร้อน
อันนี้กิเลสหนักเลยล่ะ
เวลาทำสิ่งไม่ดีแล้วรู้สึกว่า โอ้ย ไม่เป็นไรหรอก
อันนี้คือกิเลส
ปฏิบัติธรรมใหม่ๆ รู้สึกลำบาก
หนักใจบ้าง
ก็เนื่องจากว่าพอเริ่มรู้ว่าอะไรไม่ดี
ก็เริ่มกลัวมัน
เริ่มเดือดร้อนใจบ้างอะไรบ้าง
ก็ต้องยอมรับกันไป
ถ้าไม่เดือดร้อนใจเลย
ไม่ได้สู้อะไรเลย
ก็จะเหมือนไม่เดือดร้อน
อันนี้กิเลสหนักเลยล่ะ
อหิริกะ
มิจฉาทิฏฐินี่น่าอาย
คิดแล้วควรอาย
รู้ว่าอะไรควรไม่ควร
เช่น เจอเหล้าเก่าท่าจะแพงเอาไปขาย
เอาเงินไปทำบุญ พิมพ์หนังสืออาจารย์เลย
ควรอาย ...555
หลักการที่ดีจะมีหลักตัดสิน
หลักไม่ดีจะเพี้ยนไปเรื่อยๆ
ความรู้สำคัญ
ไม่รู้อะไรผิดอะไรถูกนี่ลำบาก
คิดแล้วควรอาย
รู้ว่าอะไรควรไม่ควร
เช่น เจอเหล้าเก่าท่าจะแพงเอาไปขาย
เอาเงินไปทำบุญ พิมพ์หนังสืออาจารย์เลย
ควรอาย ...555
หลักการที่ดีจะมีหลักตัดสิน
หลักไม่ดีจะเพี้ยนไปเรื่อยๆ
ความรู้สำคัญ
ไม่รู้อะไรผิดอะไรถูกนี่ลำบาก
อสันตุฎฐิตา มหิจฉตา
อสันตุฎฐิตา ความไม่ยินดีในสิ่งที่มี มหิจฉตา
อาการแสดงคือ
ความไม่หยุด
ไม่หยุดคิดถึงสิ่งที่ยังไม่มี
ถ้ามันพอมันก็คือ
มี 200 มันก็ใจสงบกับ 200
คิดกับแค่สิ่งที่มี
ใจก็ลงละ พอละ
นี้เรียกสันโดษ
มีมากมีน้อยไม่เกี่ยว
เกี่ยวว่าใจลงอยู่กับสิ่งที่มีแล้วหรือยัง
ไม่สงบกับสิ่งที่มี
มองไม่เห็นเสื้อผ้าในตู้
เริ่มมองเห็นเสื้อผ้าในร้าน
ถือเต็มสองมือ
เริ่มไม่มองในมือ
มองอย่างอื่นต่อไป
มหิจฉตา
อยากได้มาก
อาการคล้ายอสันตุฎฐิตา
แต่อสันตุฎฐิตาจะมีอาการไม่ยินดีในของที่มีอยุ่ก่อน คือมีการ มอง/ไม่มอง มองที่มีแล้วใจไม่ลง
มหิจฉตา นี่เป็นนิสัยว่าจะมองไปข้างหน้าอยู่แล้ว
คือ ไม่ได้มองตรงนี้อยู่แล้ว
อยากได้เพิ่มๆๆ
อาการแสดงคือ
ความไม่หยุด
ไม่หยุดคิดถึงสิ่งที่ยังไม่มี
ถ้ามันพอมันก็คือ
มี 200 มันก็ใจสงบกับ 200
คิดกับแค่สิ่งที่มี
ใจก็ลงละ พอละ
นี้เรียกสันโดษ
มีมากมีน้อยไม่เกี่ยว
เกี่ยวว่าใจลงอยู่กับสิ่งที่มีแล้วหรือยัง
ไม่สงบกับสิ่งที่มี
มองไม่เห็นเสื้อผ้าในตู้
เริ่มมองเห็นเสื้อผ้าในร้าน
ถือเต็มสองมือ
เริ่มไม่มองในมือ
มองอย่างอื่นต่อไป
มหิจฉตา
อยากได้มาก
อาการคล้ายอสันตุฎฐิตา
แต่อสันตุฎฐิตาจะมีอาการไม่ยินดีในของที่มีอยุ่ก่อน คือมีการ มอง/ไม่มอง มองที่มีแล้วใจไม่ลง
มหิจฉตา นี่เป็นนิสัยว่าจะมองไปข้างหน้าอยู่แล้ว
คือ ไม่ได้มองตรงนี้อยู่แล้ว
อยากได้เพิ่มๆๆ
โกสัชชะ
ความเกียจคร้าน
ความปล่อยจิต
ความเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปใน
ความปล่อยจิต
ความเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปใน
- กายทุจริต
- วจีทุจริต
- มโนทุจริต
- กามคุณ 5
การทำโดยไม่เคารพ
การทำโดยไม่ติดต่อ
การทำที่ไม่มั่นคง
ความย่อหย่อน
ความทอดทิ้งฉันทะ
ความทอดทิ้งธุระ
ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ
ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งใจมั่น
ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวะธรรมท.ที่เป็นกุศล
ทำความสนิทสนมกับเรื่องไม่ดี
คุ้นแต่ทางนี้ก็หมก ก็คิดแต่ทางนี้
จมทางนี้ นอนทางนี้
ประมาทกับขี้เกียจอธิบายคล้ายๆ กัน
ต่างกันนิดหน่อย
สนิท คุ้นเคยกับกามคุณ 5 นี้คือ รู้จักแต่อันนี้ เลยคิดออกแต่อันนี้
โกสัชชะ
คุ้นกับความพ่ายแพ้
ยากหน่อยก็เลิก
ไม่คุ้นกับการเอาชนะ ต่อสู้
คุ้นกับการยกธงขาว เตรียมพร้อม
ปวดหน่อย ยกธงขาว
ชินกับการทิ้งเรื่องที่รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถ
นึกความชนะไม่ออก
ทำเท่าที่กำลังมีล่ะค่ะ (พูดซะดูดี)
ดิฉันทำตามสติกำลังล่ะค่ะ
ความจริงคือ เตรียมแพ้ล่ะ เหนื่อยขึ้นมาดิฉันเลิกทันที
แพ้จนชิน
ไปทางแพ้สะดวกกว่า
ไปไม่รอดก็ไปนอน
ต่อสู้ต่อไม่รู้จะเจออะไร
แพ้ปุ๊บ รู้นี่ เตียงนอนสบาย
ก้าวไปก็เตรียมถอยกลับ
ไม่คุ้นกับการก้าวไปข้างหน้า
คุ้นกับการถอยหลัง
ออกไปก็ออกไปดูลาดเลา
ดูท่าไม่ดีก็กลับมานอน
ดิฉันขอลองหน่อยวิธีอาจารย์เนี่ย
ถ้าดิฉันไม่ดีอาจารย์ก็อย่าหมายว่าดิฉันจะโผล่มาอีก
ขอลองดูหน่อยคือเตรียมแพ้น่ะแหละ
กรรมฐานไม่ใช่เรื่องลอง
เป็นเรื่องจำเป็น ต้องทำ
มีโทสะอยู่ต้องเจริญเมตตา
ไม่ทำไม่หาย
safety zone
comfort zone
มาอยู่จุดนี้จะปลอดภัย
พอมีอะไรปุ๊บนึกถึงเตียงนอน
นั่งสมาธิไปแป๊บ ขอเหยียดหน่อยน่อ
ท่านอนเป็นท่าเหยียด
คนโดยมากนึกถึงกิริยาที่เคยชิน ท่านอนไว้พักผ่อน
พอมีอะไรปุ๊บนึกถึงเตียงนอน
นั่งสมาธิไปแป๊บ ขอเหยียดหน่อยน่อ
ท่านอนเป็นท่าเหยียด
คนโดยมากนึกถึงกิริยาที่เคยชิน ท่านอนไว้พักผ่อน
ปมาทะ
2 อาการหลักๆ ปล่อยใจไป และเวลาทำกุศลก็ทำแบบให้มันดี
ทำเรื่อยๆ ทำงั้นๆ ทำทิ้งๆ ขว้างๆ
ไม่ชัดเจนว่าทำทำไม
หลงว่าอันนี้ดีกว่าอันนี้
ทำเรื่อยๆ ทำงั้นๆ ทำทิ้งๆ ขว้างๆ
ไม่ชัดเจนว่าทำทำไม
หลงว่าอันนี้ดีกว่าอันนี้
เพลิดเพลินโอ้ยยังแข็งแรงอยู่ ทำอันนี้ก่อนดีกว่า
มัวเพลิน
มัวเมา
มัวหลงกับนู่นนี่นั่นอยู่
แต่เรื่องก็เรื่องเดียวกันกับโกสัชชะ
การบ้าน 23/4/57
23/4/57
เมื่อคืนก่อนร่างกายล้ามาก เช้านี้เลยไม่ตื่นเลย ตั้งนาฬิกาตี 5 แต่ไม่ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุก ไปตื่นอีกที 6 โมงครึ่งตามเวลาปกติของมัน เลยไม่ได้นั่งสมาธิเช้า
ระหว่างวันช่วงนี้โดนราคะรบกวน ระบบคิดระบบตอบสนองมั่วไปหมด ราคะเกิดทีไรรู้สึก "ซวย" ทุกที ไม่ชอบให้ตัวเองเป็นแบบนี้เลยสอบไม่ผ่านสักที ที่ผ่านมาใช้วิธีใส่ตีนหมาโกยอ้าวเลี่ยงผัสสะบ้าง เพ่งจนความรู้สึกมันแยกบ้าง สรุปคือกระทำทั้งสิ้น จะรอดูมันว่าคราวนี้มันจะเอาไง
ก่อนนอนสวดอิติปิโสร้อยแปด วันนี้ก็ไม่เหมือนเมื่อวาน เหมือนใจจะหนีไปหลับแล้วปล่อยให้ร่างกายสวดไป บางจบเหมือนจะรู้ตัวทั้งสามห้องแต่ก็ไม่รู้ บางจบก็เห็นมันลักไก่ "สัตถาเทวมนุสสานัง โลกัสสาติ" เฉยเลย แต่คุณกายก็นั่งได้นิ่งมาก นี่ถ้าไม่ได้ต้องลุกไปสั่งน้ำมูก มันคงนั่งอยู่ท่าเดิมจนจบได้ ไม่ได้รู้สึกว่าง่วงหาวอย่างใด
เมื่อคืนก่อนร่างกายล้ามาก เช้านี้เลยไม่ตื่นเลย ตั้งนาฬิกาตี 5 แต่ไม่ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุก ไปตื่นอีกที 6 โมงครึ่งตามเวลาปกติของมัน เลยไม่ได้นั่งสมาธิเช้า
ระหว่างวันช่วงนี้โดนราคะรบกวน ระบบคิดระบบตอบสนองมั่วไปหมด ราคะเกิดทีไรรู้สึก "ซวย" ทุกที ไม่ชอบให้ตัวเองเป็นแบบนี้เลยสอบไม่ผ่านสักที ที่ผ่านมาใช้วิธีใส่ตีนหมาโกยอ้าวเลี่ยงผัสสะบ้าง เพ่งจนความรู้สึกมันแยกบ้าง สรุปคือกระทำทั้งสิ้น จะรอดูมันว่าคราวนี้มันจะเอาไง
ก่อนนอนสวดอิติปิโสร้อยแปด วันนี้ก็ไม่เหมือนเมื่อวาน เหมือนใจจะหนีไปหลับแล้วปล่อยให้ร่างกายสวดไป บางจบเหมือนจะรู้ตัวทั้งสามห้องแต่ก็ไม่รู้ บางจบก็เห็นมันลักไก่ "สัตถาเทวมนุสสานัง โลกัสสาติ" เฉยเลย แต่คุณกายก็นั่งได้นิ่งมาก นี่ถ้าไม่ได้ต้องลุกไปสั่งน้ำมูก มันคงนั่งอยู่ท่าเดิมจนจบได้ ไม่ได้รู้สึกว่าง่วงหาวอย่างใด
การบ้าน 9/7/57
9/7/57
หงุดหงิดงุ่นง่านเป็นพื้นอารมณ์ อาจด้วยความสั่งสมจากการห่างไกลรูปแบบ + ฮอร์โมน (นับเวลาน่าจะเป็นช่วงก่อเรื่องพอดี) พอไม่ทำมันก็ติดเป็นความผิดเล็กๆ ในใจ จะไม่ทำก็ไม่ปล่อยวาง
เมื่อวานตอนครูพี่หญิงเมตตาซักไซร้ อ่านถึงคำถามว่า "เป้าหมายในการปฏิบัติ" แล้วกระตุกวูบหนึ่ง ใจสงบลงแล้วจึงตอบ ไม่อาจตอบได้ว่าเป้าหมายคือมรรคผลนิพพาน ด้วยไม่รู้จัก จะให้พูดอย่างกล้าหาญใจมันไม่ไปอย่างนั้น เอาเป็นว่าได้ทบทวนว่าปัจจุบันกำลังเฝ้าฝึกฉันทะในการรู้กายใจ กำลังพยายามเปลี่ยนไพ่ตัณหา (หนีทุกข์จึงทำ) ให้ค่อยๆ กลายเป็นไพ่ฉันทะให้ครบสำรับ
ตอนครูพี่หญิงถามถึงผลจากความเพียร ก็กระตุกอีกด้วยว่าหาผลของเพียรตรงๆ ไม่เจอ ก็อาจจะแปลได้สองอย่างว่า
1. จริงๆ แล้วยังไม่เคยเพียร (มัวแต่เพี้ยน) หรือ
2. มัวดูอย่างอื่นอยู่ ไม่ได้เก็บผลด้านนี้
สังเกตุการปฏิบัติธรรมของตัวเอง เหมือนการขยับโต๊ะตัวใหญ่ด้วยตัวคนเดียว เลื่อนขวาที ไปต่อไม่ได้ เดินข้ามฟากไปขยับซ้ายอีกที ขยับทางนู้นทีทางนี้ที กระดึ๊บๆ ไป ไม่สามารถลากโต๊ะไปครั้งเดียวให้เคลื่อนทั้งตัวได้ ทั้งนี้เมื่อไรจะขยับอะไรหนูใช้สัญชาตญานเอาล้วนๆ ผิดถูกไม่รู้ ไม่มีใครบอก ฟังธรรมแล้วสะดุดอะไร จิตจะเริ่มรวมที่ธรรมนั้น เริ่มสังเกตในมุมมองนั้น เริ่มคิดในแบบนั้น เริ่มพูดในมุมนั้น เริ่มทำในมุมนั้น เป็นวงจร
ก่อนนอนสวดมนต์ + นั่งสมาธิสั้นๆ
-------------
บังเอิญอ่านเจอธรรมะพระอาจารย์ทองสุขแล้วรู้สึกเย็นลงได้ เลยเอามาฝากกันค่ะ
หงุดหงิดงุ่นง่านเป็นพื้นอารมณ์ อาจด้วยความสั่งสมจากการห่างไกลรูปแบบ + ฮอร์โมน (นับเวลาน่าจะเป็นช่วงก่อเรื่องพอดี) พอไม่ทำมันก็ติดเป็นความผิดเล็กๆ ในใจ จะไม่ทำก็ไม่ปล่อยวาง
เมื่อวานตอนครูพี่หญิงเมตตาซักไซร้ อ่านถึงคำถามว่า "เป้าหมายในการปฏิบัติ" แล้วกระตุกวูบหนึ่ง ใจสงบลงแล้วจึงตอบ ไม่อาจตอบได้ว่าเป้าหมายคือมรรคผลนิพพาน ด้วยไม่รู้จัก จะให้พูดอย่างกล้าหาญใจมันไม่ไปอย่างนั้น เอาเป็นว่าได้ทบทวนว่าปัจจุบันกำลังเฝ้าฝึกฉันทะในการรู้กายใจ กำลังพยายามเปลี่ยนไพ่ตัณหา (หนีทุกข์จึงทำ) ให้ค่อยๆ กลายเป็นไพ่ฉันทะให้ครบสำรับ
ตอนครูพี่หญิงถามถึงผลจากความเพียร ก็กระตุกอีกด้วยว่าหาผลของเพียรตรงๆ ไม่เจอ ก็อาจจะแปลได้สองอย่างว่า
1. จริงๆ แล้วยังไม่เคยเพียร (มัวแต่เพี้ยน) หรือ
2. มัวดูอย่างอื่นอยู่ ไม่ได้เก็บผลด้านนี้
สังเกตุการปฏิบัติธรรมของตัวเอง เหมือนการขยับโต๊ะตัวใหญ่ด้วยตัวคนเดียว เลื่อนขวาที ไปต่อไม่ได้ เดินข้ามฟากไปขยับซ้ายอีกที ขยับทางนู้นทีทางนี้ที กระดึ๊บๆ ไป ไม่สามารถลากโต๊ะไปครั้งเดียวให้เคลื่อนทั้งตัวได้ ทั้งนี้เมื่อไรจะขยับอะไรหนูใช้สัญชาตญานเอาล้วนๆ ผิดถูกไม่รู้ ไม่มีใครบอก ฟังธรรมแล้วสะดุดอะไร จิตจะเริ่มรวมที่ธรรมนั้น เริ่มสังเกตในมุมมองนั้น เริ่มคิดในแบบนั้น เริ่มพูดในมุมนั้น เริ่มทำในมุมนั้น เป็นวงจร
ก่อนนอนสวดมนต์ + นั่งสมาธิสั้นๆ
-------------
บังเอิญอ่านเจอธรรมะพระอาจารย์ทองสุขแล้วรู้สึกเย็นลงได้ เลยเอามาฝากกันค่ะ
อย่าใช้พระเดชในการดูจิต
ต้องใช้พระคุณ
ต้องใช้พระคุณ
การดูจิตต้องดูอย่างนักปราชญ์
อย่าฉลาดวาดภาพจะผิดคำสอน
ธรรมะนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน
ยืนเดินนอนกำหนดรู้ดูเบาๆ
ดูนุ่มๆ ชำเลืองดูอย่างหวานๆ
อย่ารำคาญจะผิดคำอาจารย์สอน
อย่าส่งจิตออกนอกจะขาดตอน
ความรุ่มร้อนที่ปรากฏค่อยหมดไป
อย่าฉลาดวาดภาพจะผิดคำสอน
ธรรมะนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน
ยืนเดินนอนกำหนดรู้ดูเบาๆ
ดูนุ่มๆ ชำเลืองดูอย่างหวานๆ
อย่ารำคาญจะผิดคำอาจารย์สอน
อย่าส่งจิตออกนอกจะขาดตอน
ความรุ่มร้อนที่ปรากฏค่อยหมดไป
จิปาถะ
เดรัชฉานวิชชา
ไม่ใช่ข่มนิวรณ์แต่ไม่สร้าง
ไม่มีจิตเสถียรตั้งอยู่หนึ่ง เปลี่ยนคุณสมบัติไปตามที่ใส่ไป ท่านใช้ว่าจิตสังขาร
ไม่ใช่ข่มนิวรณ์แต่ไม่สร้าง
ไม่มีจิตเสถียรตั้งอยู่หนึ่ง เปลี่ยนคุณสมบัติไปตามที่ใส่ไป ท่านใช้ว่าจิตสังขาร
ไท่จี๋
练其形而传其神,
传其神而达其意,
达其意而先其心。
以心行气,
以气运身,
神气鼓荡,
内动导外动,
外动合内动。
劲由内换,
内气潜转,
源动腰脊,
劲贯四梢,
丹田吐力,
功力老到。
支撑八面而稳固厚重,
八面转换而轻灵圆活。
刚柔互动,
虚实渗透,
动静浑然,
蓄发相变,
奇正相生,
全身处处皆太极。
功劲似有若无,
形影飘忽难测,
劲力乍隐乍现,
看似柔软无力,
实则无坚不摧。
乃柔中寓刚,
绵里藏针之艺术。
传其神而达其意,
达其意而先其心。
以心行气,
以气运身,
神气鼓荡,
内动导外动,
外动合内动。
劲由内换,
内气潜转,
源动腰脊,
劲贯四梢,
丹田吐力,
功力老到。
支撑八面而稳固厚重,
八面转换而轻灵圆活。
刚柔互动,
虚实渗透,
动静浑然,
蓄发相变,
奇正相生,
全身处处皆太极。
功劲似有若无,
形影飘忽难测,
劲力乍隐乍现,
看似柔软无力,
实则无坚不摧。
乃柔中寓刚,
绵里藏针之艺术。
นานัตตสัญญา
สัญญาที่มีลักษณะต่างๆ
เป็นนิมิตหรือเครื่องหมายอารมณ์ของฝ่ายปุถุชน
ถ้า "เอกัตตสัญญา" เป็นเครื่องหมายของฝ่ายพระอริยเจ้า
จิตท่านจะดิ่งตรงสู่นิพพานจุดเดียว
สัญญาทุกๆ ประการของท่านจึงทำเพื่อให้จิตดิ่งสู่พระนิพพาน
ปุถุชน สัญญาที่ทำขึ้นมาเป็นเรื่องแตกกระจาย
โลกจึงเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ ปรุงเรื่อย ไม่จบสิ้น
นานัตต = ต่างๆ แยกแยะหลากหลาย
พอสัญญาหลากหลาย ก็คือข้อมูลหลากหลาย
ก็คิดไม่รู้จบ
นานัตตสัญญา เช่น
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม
สัญญาที่เกี่ยวกับพยาบาท/เบียดเบียน
สัญญาที่เป็นอกุศลทั้งหมด
กิเลสทั้งหลายไม่ได้มีอยู่
มันจะเกิดขึ้นมันต้องไปคิดตามข้อมูลจึงเกิดขึ้น
ข้อมูลที่พร้อมจะเกิดกิเลส
เป็นนิมิตหรือเครื่องหมายอารมณ์ของฝ่ายปุถุชน
ถ้า "เอกัตตสัญญา" เป็นเครื่องหมายของฝ่ายพระอริยเจ้า
จิตท่านจะดิ่งตรงสู่นิพพานจุดเดียว
สัญญาทุกๆ ประการของท่านจึงทำเพื่อให้จิตดิ่งสู่พระนิพพาน
ปุถุชน สัญญาที่ทำขึ้นมาเป็นเรื่องแตกกระจาย
โลกจึงเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ ปรุงเรื่อย ไม่จบสิ้น
นานัตต = ต่างๆ แยกแยะหลากหลาย
พอสัญญาหลากหลาย ก็คือข้อมูลหลากหลาย
ก็คิดไม่รู้จบ
นานัตตสัญญา เช่น
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม
สัญญาที่เกี่ยวกับพยาบาท/เบียดเบียน
สัญญาที่เป็นอกุศลทั้งหมด
กิเลสทั้งหลายไม่ได้มีอยู่
มันจะเกิดขึ้นมันต้องไปคิดตามข้อมูลจึงเกิดขึ้น
ข้อมูลที่พร้อมจะเกิดกิเลส
ปาปมิตตตา
บุคคลเหล่าใด
การเสพ การเสพเป็นนิตย์
การคบ
ความภักดี
ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น
ปาปมิตร หมายถึงกิเลสในใจ ไม่ได้หมายถึงคน
คือใจโน้มไปตามคนที่มีกิเลส
เขาไม่มีศรัทธา เราโน้มไปทางเขา
เรียกเป็นกิเลส ปาปมิตตตา
เช่น
บุคคลบางคนอยู่นอกศาสนา
ไม่ได้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเลย
ท่าทางเป็นคนดี
เรารู้สึกเลื่อมใสในคนนั้น โน้มเอียงไปทางเขา
อันนี้เป็นกิเลส
(ทำไมน่ะรึ ก็เพราะมันเป็นกิเลสนั่นล่ะ)
คนหลังๆ มักเชื่อตัวเอง
เชื่อปรัชญา
มีโน้มเอียงตาม ชื่นชอบเขา
เขาดี เขาประเสริฐ เขาพูดดี
เขาก็เป็นคนดี
ตามเขาไปก็น่าจะโอนะ 5555 (เสร็จ) ก็วนไป
ถ้าถูกต้องคือใจจะโน้มเอียงมาที่พระพุทธเจ้า
ไม่ไปที่คนอื่น
เพราะคนอื่นไม่มีสอนเรื่องอริยมรรค
การอ่านตามเขาไม่ได้ผิด
แต่การโน้มตาม นี่เริ่มเป็นกิเลส
ถ้าโน้มเอียงมาพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมดคือ พระโสดาบัน
- ไม่มีศรัทธา
- ไม่มีศีล
- เป็นผู้มีสุตะน้อย
- มีความตระหนี่
- มีปัญญาทราม
การเสพ การเสพเป็นนิตย์
การคบ
ความภักดี
ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น
ปาปมิตร หมายถึงกิเลสในใจ ไม่ได้หมายถึงคน
คือใจโน้มไปตามคนที่มีกิเลส
เขาไม่มีศรัทธา เราโน้มไปทางเขา
เรียกเป็นกิเลส ปาปมิตตตา
เช่น
บุคคลบางคนอยู่นอกศาสนา
ไม่ได้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเลย
ท่าทางเป็นคนดี
เรารู้สึกเลื่อมใสในคนนั้น โน้มเอียงไปทางเขา
อันนี้เป็นกิเลส
(ทำไมน่ะรึ ก็เพราะมันเป็นกิเลสนั่นล่ะ)
คนหลังๆ มักเชื่อตัวเอง
เชื่อปรัชญา
มีโน้มเอียงตาม ชื่นชอบเขา
เขาดี เขาประเสริฐ เขาพูดดี
เขาก็เป็นคนดี
ตามเขาไปก็น่าจะโอนะ 5555 (เสร็จ) ก็วนไป
ถ้าถูกต้องคือใจจะโน้มเอียงมาที่พระพุทธเจ้า
ไม่ไปที่คนอื่น
เพราะคนอื่นไม่มีสอนเรื่องอริยมรรค
การอ่านตามเขาไม่ได้ผิด
แต่การโน้มตาม นี่เริ่มเป็นกิเลส
ถ้าโน้มเอียงมาพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมดคือ พระโสดาบัน
วิเหสา
เบียดเบียน
รบกวนสัตว์ท.ด้วยฝ่ามือบ้าง เครื่องมือบ้าง
นึกว่าบ้านเรา
เราก็ไล่จิ้งจกไป
อันนี้เป็นความเบียดเบียน
ส่วนมากไม่คิดว่าอันนี้เป็นกิเลส
การทำอะไรตามใจชอบนึกว่าไม่เป็นกิเลส
พระอยู่ป่าจะระมัดระวังมาก
กลัวเบียดเบียน
ไม่ได้ปาณาติบาต
แต่ไปรบกวนเขา
ตีขาจะได้จำไม่มาขี้แถวนี้
จริงๆ มันมีความสุขที่มาขี้แถวนี้
เบียดเบียน
จะทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา
เอามันออกไป
หรือสอนมัน
คือถ้าเอาจิ้งจกออกไป
ก็คือคิดว่าเพื่อประโยชน์แก่จิ้งจก
คิดถึงสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับเขา
ความเบียดเบียน ลักษณะนี้มักเกิดกับสัตว์ที่ต่ำกว่า เช่น สัตว์อบาย
คิดว่าเรามีสิทธิ เขาไม่มีสิทธิ
มดแย่งข้าว 1 เม็ดทำไมต้องสู้จนตัวตาย
เปรียบเทียบว่า นั่นคือทรัพย์สินที่หามาทั้งชีวิต
วงชีวิตมันสั้น
รบกวนสัตว์ท.ด้วยฝ่ามือบ้าง เครื่องมือบ้าง
นึกว่าบ้านเรา
เราก็ไล่จิ้งจกไป
อันนี้เป็นความเบียดเบียน
ส่วนมากไม่คิดว่าอันนี้เป็นกิเลส
การทำอะไรตามใจชอบนึกว่าไม่เป็นกิเลส
พระอยู่ป่าจะระมัดระวังมาก
กลัวเบียดเบียน
ไม่ได้ปาณาติบาต
แต่ไปรบกวนเขา
ตีขาจะได้จำไม่มาขี้แถวนี้
จริงๆ มันมีความสุขที่มาขี้แถวนี้
เบียดเบียน
จะทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา
เอามันออกไป
หรือสอนมัน
คือถ้าเอาจิ้งจกออกไป
ก็คือคิดว่าเพื่อประโยชน์แก่จิ้งจก
คิดถึงสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับเขา
ความเบียดเบียน ลักษณะนี้มักเกิดกับสัตว์ที่ต่ำกว่า เช่น สัตว์อบาย
คิดว่าเรามีสิทธิ เขาไม่มีสิทธิ
มดแย่งข้าว 1 เม็ดทำไมต้องสู้จนตัวตาย
เปรียบเทียบว่า นั่นคือทรัพย์สินที่หามาทั้งชีวิต
วงชีวิตมันสั้น
อรติ
อรติ ความไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่พอใจ
ความไม่ยินดี
กิริยาที่ไม่ยินดี
ความไม่ยินดียิ่ง
กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง
ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด
หรือในสภาวะธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใดอย่างหนึี่ง
ความไม่ยินดีในกุศลชั้นสูง (อธิกุศล)
กุศลชั้นต้นคนมักจะยินดี มีความสุข
ส่วนอธิกุศลนี่จะต้องออกไปฝึกหัดพอสมควร ต้องไปอยู่สงัด
กายวิเวก 5วัน 7วัน 2เดือน หรือเป็นปี
อรติจะเปิดเผยตนเองได้ง่าย
อยู่คนเดียวรู้สึกดิ้นรน
วอกแวก ร้อนนู่นนี่นั่่น
ไม่ยินดีในเพศนักบวช
เวลาที่มีกุศลระดับสูงแล้วไม่ชอบใจ
ไม่คิดจะทำ
ทำแล้วรู้สึกดิ้นรน
กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
เช่น นั่งสมาธิ ตั้งใจ 1 ชม. ผ่านไป ชักอยากลดเวลา
กระสันอยากสึก
อธิกุศล เช่น สมาธิ, เพศนักบวช
รู้กิเลสเป็นกิเลส
ก็สู้มัน
บางทีเราต่อยมัน บางทีมันต่อยเรา
ไม่ใช่ว่า ดิฉันไม่ได้ปฏิบัติอะไรหรอกค่ะ
อยากนั่งก็นั่งค่ะ ไม่อยากก็เลิกนั่งค่ะ
ปฏิบัติสบายๆ
นั่งสมาธิ แล้วก็มาเดินจงกรม
เบื่อก็เลิก
อันนี้ไม่ได้ขัดกิเลส
ถ้าไม่เห็นกิเลส
ไม่สู้กิเลส
ไม่ได้เดินมรรค
อยุ่ไปรู้สึกไม่ค่อยรู้อะไร
เริ่มไปหาความรู้
อันนี้คือเริ่มสู้กิเลส
ความไม่ยินดี
กิริยาที่ไม่ยินดี
ความไม่ยินดียิ่ง
กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง
ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด
หรือในสภาวะธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใดอย่างหนึี่ง
ความไม่ยินดีในกุศลชั้นสูง (อธิกุศล)
กุศลชั้นต้นคนมักจะยินดี มีความสุข
ส่วนอธิกุศลนี่จะต้องออกไปฝึกหัดพอสมควร ต้องไปอยู่สงัด
กายวิเวก 5วัน 7วัน 2เดือน หรือเป็นปี
อรติจะเปิดเผยตนเองได้ง่าย
อยู่คนเดียวรู้สึกดิ้นรน
วอกแวก ร้อนนู่นนี่นั่่น
ไม่ยินดีในเพศนักบวช
เวลาที่มีกุศลระดับสูงแล้วไม่ชอบใจ
ไม่คิดจะทำ
ทำแล้วรู้สึกดิ้นรน
กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
เช่น นั่งสมาธิ ตั้งใจ 1 ชม. ผ่านไป ชักอยากลดเวลา
กระสันอยากสึก
อธิกุศล เช่น สมาธิ, เพศนักบวช
รู้กิเลสเป็นกิเลส
ก็สู้มัน
บางทีเราต่อยมัน บางทีมันต่อยเรา
ไม่ใช่ว่า ดิฉันไม่ได้ปฏิบัติอะไรหรอกค่ะ
อยากนั่งก็นั่งค่ะ ไม่อยากก็เลิกนั่งค่ะ
ปฏิบัติสบายๆ
นั่งสมาธิ แล้วก็มาเดินจงกรม
เบื่อก็เลิก
อันนี้ไม่ได้ขัดกิเลส
ถ้าไม่เห็นกิเลส
ไม่สู้กิเลส
ไม่ได้เดินมรรค
อยุ่ไปรู้สึกไม่ค่อยรู้อะไร
เริ่มไปหาความรู้
อันนี้คือเริ่มสู้กิเลส
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560
ข้อแก้ตัว
ทุกๆ ประการคือกิเลสนั่นแหละ
ไม่ได้ช่วยอะไรหรอก
คนฟังก็ฟังได้นะ
กิเลสกับมรรคนี่ของใครของมัน
ไม่ละเสียก็จะได้เท่านี้อยู่อย่างนี้
กิเลสถ้าไม่ละ ก็ไปต่อไม่ได้
เรื่องก็มีอยู่เท่านี้
กิจต่อกิเลส "ควรละ"
ไม่กำหนดรอบรู้ทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ก็จะรักมันบ้าง เกลียดมันบ้าง
ไม่ได้ช่วยอะไรหรอก
คนฟังก็ฟังได้นะ
กิเลสกับมรรคนี่ของใครของมัน
ไม่ละเสียก็จะได้เท่านี้อยู่อย่างนี้
กิเลสถ้าไม่ละ ก็ไปต่อไม่ได้
เรื่องก็มีอยู่เท่านี้
กิจต่อกิเลส "ควรละ"
ไม่กำหนดรอบรู้ทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ก็จะรักมันบ้าง เกลียดมันบ้าง
เห็นถูก
เห็นกิเลสว่าเป็นกิเลส
ไม่ใช่เห็นกิเลสเป็นเรา
ไม่ใช่เห็นกิเลสเป็นธรรมดา
ไม่เห็นกิเลสเป็นกิเลส
ไม่รู้จักกิเลสว่าเป็นกิเลส
จึงไม่ต่อสู้ ไม่ได้ละ
ไม่ได้ทำกิจที่ควรทำต่อกิเลส
เช่น
มาปฏิบัติธรรม...ง่วงนอน
เห็นว่าง่วงเป็นกิเลส ... มีการสู้กิเลส
มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แสดงว่าเริ่มมีการต่อสู้ละ
ทีนี้อยู่บ้าน...ง่วงนอน
ธรรมดา
นอนเลย อ้าว หมดกัน
ไม่มีการต่อสู้ ยอมแม่งหมด
ตัวอย่าง 2
อยากคุย ก็ธรรมดา ไปคุยเลย
อยากคุยเห็นว่าเป็นกิเลส ... พอมีทาง
ตัวอย่าง 3
สภากาแฟทั้งหลาย
ผิดชั้นเดียว - เห็นกิเลสว่าเป็นกิเลส มาเจริญมรรคเพื่อละได้
ผิดสองชั้น - ก็เหมือนไม่ผิดอะไรน้า ไม่เห็นกิเลสเป็นกิเลส ก็ธรรมดานี่นา ไม่มีวันจะได้ละ
ไม่ใช่เห็นกิเลสเป็นเรา
ไม่ใช่เห็นกิเลสเป็นธรรมดา
ไม่เห็นกิเลสเป็นกิเลส
ไม่รู้จักกิเลสว่าเป็นกิเลส
จึงไม่ต่อสู้ ไม่ได้ละ
ไม่ได้ทำกิจที่ควรทำต่อกิเลส
เช่น
มาปฏิบัติธรรม...ง่วงนอน
เห็นว่าง่วงเป็นกิเลส ... มีการสู้กิเลส
มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แสดงว่าเริ่มมีการต่อสู้ละ
ทีนี้อยู่บ้าน...ง่วงนอน
ธรรมดา
นอนเลย อ้าว หมดกัน
ไม่มีการต่อสู้ ยอมแม่งหมด
ตัวอย่าง 2
อยากคุย ก็ธรรมดา ไปคุยเลย
อยากคุยเห็นว่าเป็นกิเลส ... พอมีทาง
ตัวอย่าง 3
สภากาแฟทั้งหลาย
ผิดชั้นเดียว - เห็นกิเลสว่าเป็นกิเลส มาเจริญมรรคเพื่อละได้
ผิดสองชั้น - ก็เหมือนไม่ผิดอะไรน้า ไม่เห็นกิเลสเป็นกิเลส ก็ธรรมดานี่นา ไม่มีวันจะได้ละ
กังวล 3
กิญจนะ 3
ความกังวล เป็นกิเลส
ในโลภะ
ในโทสะ
ในโมหะ - ไม่รู้เหตุรู้ผล จึงกังวลว่า จะได้มั้ย จะใช่มั้ย ไม่แน่ใจ
ความกังวล เป็นกิเลส
ในโลภะ
ในโทสะ
ในโมหะ - ไม่รู้เหตุรู้ผล จึงกังวลว่า จะได้มั้ย จะใช่มั้ย ไม่แน่ใจ
วิปลาส 12 สัญญาเกิดก่อนญาณ
สภาวะวิปลาส 3 (ตัวสภาวะ) ใน 4 เรื่อง
พระโสดาบัน
หายทิฏฐิวิปลาส 4 และจิตวิปลาส 2 กับสัญญาวิปลาส 2 คือเรื่อง
รวมวิปลาส 12 หายไป 8 เรื่อง
เหลือสัญญา/จิตวิปลาสเรื่อง
- ทิฏฐิวิปลาส (เห็นผิด)
- จิตวิปลาส (คิดผิด)
- สัญญาวิปลาส (จำผิด - ละเอียดสุด)
4 เรื่อง (วัตถุที่ตั้งของวิปลาส)
- ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อนิจฺเจ นิจฺจํ)
- ทุกข์ว่าสุข (ทุกฺเข สุขํ)
- ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน (อนตฺตนิ อตฺตา)
- ไม่งามว่างาม (อสุเภ สุภํ)
พระโสดาบัน
หายทิฏฐิวิปลาส 4 และจิตวิปลาส 2 กับสัญญาวิปลาส 2 คือเรื่อง
- เรื่องเห็นว่าของไม่เที่ยงว่าเที่ยงหมดไป
- เรื่องเห็นว่าของไม่มีตัวตนว่าเป็นตัวตนก็หมดไป
รวมวิปลาส 12 หายไป 8 เรื่อง
เหลือสัญญา/จิตวิปลาสเรื่อง
- จากทุกข์ว่าเป็นสุข
- จากไม่งามว่างาม
พระอนาคามี ละจิตและสัญญาวิปลาส "ไม่งามว่างาม"
พระอรหันต์ ละ จิตและสัญญาวิปลาส "ทุกข์ว่าสุข" (สุขในรูป/อรูปฌาน)
กิเลสเกิดจากความคิด ความคิดเกิดจากสัญญา
การปฏิบัติธรรม เป็นการมาล้างสัญญาผิดๆ ไม่คิดผิด กิเลสก็ไม่เกิด
สมถะวิปัสสนาเพื่อเปลี่ยนสัญญา
กำหนดผิด/มีข้อมูลผิด
ก็คิดผิด
แล้วก็เห็นผิด
การรักษารักษาอันแรงๆ อาการหนักๆ ก่อน
พอรักษาเห็นผิด (เห็นเพี้ยนนี่คือบ้าสุดละ)
แล้วก็มารักษาความคิด (คิดเพี้ยน)
ค่อยมารักษาสัญญา (ข้อมูลมันผิด/หมายผิด)
...รักษาโรคบ้า
เห็นเป็นคน...แต่ชั้นไม่เชื่อหรอก...เพราะว่าไม่ใช่คน!!
(เปลี่ยนทิฏฐิ)
เกิดในกามภูมิ
มีสัญญาดั้งเดิม ที่ค้างในใจเยอะก็คือ กามสัญญา
ชินกับการมองอะไร
เป็นหญิงชาย เป็นของน่าเอา นี้สวยงาม นั้นไพเราะ อันโน้นอร่อย
ล้วนเป็นข้อมูล เป็นสัญญา
คิดตามกามสัญญา
กิเลสก็เกิดขึ้นมา
การชำระสัญญา
ไม่รับสัญญาใหม่เข้ามา (สติคุ้มครองทวาร)
อันเก่าค่อยๆ ชำระทิ้ง (ด้วยสมถะ)
เคยมองว่าสวย มาเจริญอสุภะบ่อยๆ เริ่มไม่สวย
เคยคิดว่าอยู่ตลอดไป มาเจริญมรณานุสติ เริ่มรู้จักตาย มองปุ๊บจะรู้สึกว่ารู้จักตาย สัญญาเริ่มเปลี่ยน
เจริญเมตตา เพื่อนก็เริ่มเท่ากับศัตรู เมตตานี้ไม่ได้หมายความถึง ความเป็นคนพิเศษ แต่หมายถึงความเสมอกันกับผู้อื่น (พ่อแม่เมตตาลูก จะหมายถึง เห็นลูกตนเสมอกับลูกคนอื่น ไม่ใช่รักเป็นพิเศษ)
เคยเห็นว่าเที่ยง อ้าวไม่เที่ยง
สติจับสัญญาขึ้นมาให้ปัญญาพิจารณา
จับขึ้นมาแล้วก็วิจัยสัญญานี้ดู
สัญญานี้เป็นนามธรรม เป็นของไม่เที่ยง
เพราะมีสัญญาอย่างนี้ขึ้นมา จึงคิดอย่างนี้ๆ จึงเห็นอย่างนี้ๆ
[สัญญากำหนดยาก วิธีคือให้ดูทางความคิดนี่ล่ะ ว่ามันเปลี่ยนไปตามสัญญา]
เวลาเราเห็นสิ่งต่างๆ ล้วนไม่สวยไม่งาม
จริงๆ สิ่งนั้นมันก็เป็นของมันอย่างนั้น
ส่วน "มันไม่สวยไม่งาม" อันนี้เกิดขึ้นในใจ เป็นนามธรรมนะ ไม่ใช่สิ่งนั้น
คนละอันกันเรียกว่า สัญญา
เมื่อกำหนดสัญญาอย่างนี้แล้ว
ก็จะเห็นได้ว่าสัญญานั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
สัญญาก็จะดับไป
ก็จะมองเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอีกต่อนึง
ดังนั้นสัญญาจึงมาก่อนปัญญา
ถ้าคนไม่กำหนดสัญญา
มองอะไรก็จะเห็นความจริงอีกเหมือนกัน
แต่เห็นผ่านสัญญา
เห็นผ่านความคิด
เห็นว่าไม่เที่ยงเหมือนกัน
แต่เห็นผ่านความคิด
บางคนรู้เยอะ แต่รู้ไม่พ้นสัญญา
วิธีจึงต้องยกสัญญาขึ้นพิจารณาว่าเป็นของไม่เที่ยงก่อน
เมื่อสัญญาดับก็มองทะลุถึงความจริง
สิ่งนั้นมันไม่เที่ยง VS เราคิดว่ามันไม่เที่ยง...คนละอันกัน
สัญญาเกิดก่อนญาณ
สัญญามาก่อนจึงจะคิดถูก คิดถูกจึงจะมีญาณ
แต่สัญญาถูก คิดถูก แค่นี้ยังไม่ใช่ญาณ คนละตัวกัน
ปฏิบัติตอนต้นเพื่อเปลี่ยนสัญญาเป็นสัญญาที่ดี ที่ถูก ที่ละเอียด
กำหนดรูป กำหนดนาม กำหนดนู่นนี่ให้สัญญามันเปลี่ยนก่อน
แล้วค่อยมากำหนดสัญญาเอาตอนท้ายๆ
แล้วเอาสัญญานี้มากำหนดอีกต่อ
สัญญายังไม่เปลี่ยน ญาณจะเกิดไม่ได้
สัญญาเดิม(สุภะ)ดูแล้วมันฟุ้ง เมื่อเปลี่ยนดูแล้วใจมันก็สงบลง
เราเห็นอะไรเป็นอะไร คิดอะไร
อันนี้เป็นสัญญาเป็นตัวบอกข้อมูล
วิธีสังเกตก็คือ เวลาเราเห็นแล้วคิดนึกอะไรต่างๆ มันตรงตามพระพุทธเจ้ามั้ย
สัญญายังไม่เปลี่ยน ญาณจะเกิดไม่ได้
สัญญาเดิม(สุภะ)ดูแล้วมันฟุ้ง เมื่อเปลี่ยนดูแล้วใจมันก็สงบลง
เราเห็นอะไรเป็นอะไร คิดอะไร
อันนี้เป็นสัญญาเป็นตัวบอกข้อมูล
วิธีสังเกตก็คือ เวลาเราเห็นแล้วคิดนึกอะไรต่างๆ มันตรงตามพระพุทธเจ้ามั้ย
ถ้ายังก็ต้องไปอาศัยสมถะ วิปัสสนาให้สัญญาเราเปลี่ยน
พอเปลี่ยนมันก็จะมีมุมมอง ความคิดต่างๆ ถูก
แต่ที่ถูกนี้ก็ยังไม่ใช่ญาณ
มันแค่คล้ายๆ ว่าจะรู้ความจริงละ จะสงบละ จะดีละ
แต่ยัังไม่ถึงที่สุด
ต้องเอาสัญญานี้
มาทำโพชฌงค์ 7 ต่อ
จึงจะทำให้เกิดมรรคขึ้น
ตอนเห็นนี่ ไม่ต้องห่วง
จะคิดหรือไม่คิดมันก็เห็น
จะจำได้หรือจำไม่ได้มันก็เห็น
จึงไม่ถูกหลอกให้คลาดเคลื่อนอีกต่อไป
---
พอเปลี่ยนมันก็จะมีมุมมอง ความคิดต่างๆ ถูก
แต่ที่ถูกนี้ก็ยังไม่ใช่ญาณ
มันแค่คล้ายๆ ว่าจะรู้ความจริงละ จะสงบละ จะดีละ
แต่ยัังไม่ถึงที่สุด
ต้องเอาสัญญานี้
มาทำโพชฌงค์ 7 ต่อ
จึงจะทำให้เกิดมรรคขึ้น
ตอนเห็นนี่ ไม่ต้องห่วง
จะคิดหรือไม่คิดมันก็เห็น
จะจำได้หรือจำไม่ได้มันก็เห็น
จึงไม่ถูกหลอกให้คลาดเคลื่อนอีกต่อไป
---
วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
วิธา 3
อาการอย่างหนึ่งของมานะ
จัดแจงปรุงแต่งให้ตัวตน ไม่เหมือนคนอื่น เด่นกว่า ต่ำกว่า มองปั๊บรู้ว่า...(แล้วแต่จะแต่ง)
ปรุงแต่งตัวเองให้โดดเด่นกว่าคนอื่น
อาจจะศีล
สติ
สมาธิ
ปัญญา
ก็ยังเป็นที่ตั้งของมานะได้
จัดแจงปรุงแต่งให้ตัวตน ไม่เหมือนคนอื่น เด่นกว่า ต่ำกว่า มองปั๊บรู้ว่า...(แล้วแต่จะแต่ง)
ปรุงแต่งตัวเองให้โดดเด่นกว่าคนอื่น
อาจจะศีล
สติ
สมาธิ
ปัญญา
ก็ยังเป็นที่ตั้งของมานะได้
ทิฏฐิ
มิจฉา = มีตัวตน
- มีตัวตนตลอดกาล (สัสสต เป็นทิฏฐิ)
- มีตัวตน แต่ตายได้ (อุจเฉท เป็นทิฏฐิ)
สัมมา = ไม่มีตัวตน
ภาวะตัณหา (ตัวตนเที่ยง) อยากมีตัวตน
วิภวตัณหา (ตายได้นิ) อยากตาย
เห็นถูกจะแก้ตัณหา
เห็นผิด ก็เป็นตัณหานั่นแหละ
นิโรธตัณหา
อยากไปนิพพานเป็นตัณหามั้ย?
งงสิ อันนี้ก็โง่ไม่รู้เรื่อง ไม่เรียนให้ดีๆ
นิพพานเป็นอารมณ์ของตัณหาได้ที่ไหนเล่า
งมโข่งไปถูกหลอกอีก อย่าอยากไปเลยนิพพาน เดี่ยวจะเป็นตัณหา
นิพพานนั้นท่านให้อยากเยอะๆ
ให้อยากไปเลย
เวลาปฏิบัตินี้ให้ปฏิบัติโดยอิงอาศัย
วิเวก
วิราคะ
นิโรธ
น้อมไปใน โวสสัคคะ
ท่านให้เจริญ ให้กระทำให้มากๆ
อยากไปให้เยอะๆ เลย
ทำอะไรก็ให้อยากไปนิพพานไว้
นิพพานนั้นเป็นอารมณ์ให้ตัณหาไม่ได้
อยากไปนิพพานเสมอก็คือไม่ให้เกิดตัณหานั่นแหละ
ถ้าไม่มุ่งนิพพานสิ ตัณหาคปด.เรียบร้อย
เวลาทำอะไรต่างๆ อย่าน้อมไปรับผล
ให้น้อมไปนิพพาน
นิโรธตัณหา ตามความหมายในอภิธรรม
คือ ความกำหนดที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ
ไม่ได้แปลว่า ตัณหาในนิพพาน
งงสิ อันนี้ก็โง่ไม่รู้เรื่อง ไม่เรียนให้ดีๆ
นิพพานเป็นอารมณ์ของตัณหาได้ที่ไหนเล่า
งมโข่งไปถูกหลอกอีก อย่าอยากไปเลยนิพพาน เดี่ยวจะเป็นตัณหา
นิพพานนั้นท่านให้อยากเยอะๆ
ให้อยากไปเลย
เวลาปฏิบัตินี้ให้ปฏิบัติโดยอิงอาศัย
วิเวก
วิราคะ
นิโรธ
น้อมไปใน โวสสัคคะ
ท่านให้เจริญ ให้กระทำให้มากๆ
อยากไปให้เยอะๆ เลย
ทำอะไรก็ให้อยากไปนิพพานไว้
นิพพานนั้นเป็นอารมณ์ให้ตัณหาไม่ได้
อยากไปนิพพานเสมอก็คือไม่ให้เกิดตัณหานั่นแหละ
ถ้าไม่มุ่งนิพพานสิ ตัณหาคปด.เรียบร้อย
เวลาทำอะไรต่างๆ อย่าน้อมไปรับผล
ให้น้อมไปนิพพาน
นิโรธตัณหา ตามความหมายในอภิธรรม
คือ ความกำหนดที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ
ไม่ได้แปลว่า ตัณหาในนิพพาน
ติดฌาน
ตอนเข้าฌานไม่ติด
ติดตอนออกมา
เมื่อกี้ดีนะ....
ติดภาวะในฌาน เช่น วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เวทนาในฌาน
นั่งอยู่ ว่างๆ สบาย ว่างแล้วสบาย ไม่มีอะไร blankๆ เบลอๆ ไม่มีอะไรในสมอง
อันนี้เป็นกามตัณหา เพราะไม่ถึงอรูปธาตุ
เบลอๆ blankๆ นี่เป็นจิตโมหะ
จิตโมหะจะเป็นอะไรก็ ก็กามธาตุแหละ
กิเลสอยู่กามเท่านั้น
รูปราคะ
ไม่ใช่ติดรูป
คือติดองค์ฌาน
อรูปราคะ
อารมณ์เปลี่ยนเป็นความว่าง
เยือกเย็น มีสันติสุขมาก
คล้ายนิพพาน
ตัวรู้เด่นดวงไม่มีที่สุด
อากาศไม่มีที่สุด
แต่ก็ไม่ใช่นิพพาน
อรูปฌานก็เป็นสังขาร เกิดดับเช่นกัน
แต่เป็นด้านจิต การจะเห็นเกิดดับก็ยาก
คนโดยมากไม่ได้ตรวจสอบว่ากิเลสยังฟุ้งมั้ย
ตอนเข้าร่มเย็น แต่ออกมาก็ไม่ร่มเย็นเหมือนเดิม
กิเลสก็ยังฟุ้งได้
ไม่ใช่ทาง
ติดตอนออกมา
เมื่อกี้ดีนะ....
ติดภาวะในฌาน เช่น วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เวทนาในฌาน
นั่งอยู่ ว่างๆ สบาย ว่างแล้วสบาย ไม่มีอะไร blankๆ เบลอๆ ไม่มีอะไรในสมอง
อันนี้เป็นกามตัณหา เพราะไม่ถึงอรูปธาตุ
เบลอๆ blankๆ นี่เป็นจิตโมหะ
จิตโมหะจะเป็นอะไรก็ ก็กามธาตุแหละ
กิเลสอยู่กามเท่านั้น
รูปราคะ
ไม่ใช่ติดรูป
คือติดองค์ฌาน
อรูปราคะ
อารมณ์เปลี่ยนเป็นความว่าง
เยือกเย็น มีสันติสุขมาก
คล้ายนิพพาน
ตัวรู้เด่นดวงไม่มีที่สุด
อากาศไม่มีที่สุด
แต่ก็ไม่ใช่นิพพาน
อรูปฌานก็เป็นสังขาร เกิดดับเช่นกัน
แต่เป็นด้านจิต การจะเห็นเกิดดับก็ยาก
คนโดยมากไม่ได้ตรวจสอบว่ากิเลสยังฟุ้งมั้ย
ตอนเข้าร่มเย็น แต่ออกมาก็ไม่ร่มเย็นเหมือนเดิม
กิเลสก็ยังฟุ้งได้
ไม่ใช่ทาง
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
อาการของเมตตา
- ไม่โกรธ
- ทนได้
ฝึกเมตตา พิจารณา 2 ประเด็น
- โทษของโกรธ
- อานิสงส์ของขันติ
สัมมาทิฏฐิ = รู้จักของมีโทษว่ามีโทษ
เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่นก็ฉันนั้น
พอเพี้ยนจะไม่เป็นมรรค
ไม่ได้ฝึกตน กลายเป็นทนถึกทำไปอย่างนั้น
เจริญมรรคไม่รอให้ใครดีไม่ดี
เราก็เจริญมรรคไป
ให้กำลังใจ
ให้โอกาสเสมอ
ทำไม่ได้ก็ เอาใหม่ๆๆๆ พูดได้อย่างเดียว
เป็นเพื่อนเขา จนตายก็เลิก
เมตตาเป็นองค์ประกอบของมรรค
อยากไปนิพพานต้องเมตตาให้ได้
การหัดเจริญเมตตา จริงๆ ก็คือการมาดูให้เห็นลักษณะ
หัดเจริญกับคนที่รักก่อน บางทีดูลำบาก เพราะมันใกล้กับราคะ
คือ ให้อภัยได้เสมอ แต่อาจแยกไม่ออกกับความโหยหาขอแค่ให้กลับมา บลาๆ
เจริญราคะ หรือเจริญเมตตาบางทีมองไม่ออก
เวรีบุคคล เช่น ผู้ที่เอาสายตาไป
หมดวิตก หมดเสียดาย หมดหมายปอง
ดวงเอ๋ยดวงจิต
ลืมสนิท กิจการ งานทั้งหลาย
ย่อมละชีพ เคยสุข สนุกสบาย
เคยเสียดาย เคยวิตก เคยหมายปอง
ละทิ้งถิ่น สำราญ เบิกบานจิต
ซึ่งเคยคิด ใฝ่เฝ้า เป็นเจ้าของ
หมดวิตก หมดเสียดาย หมดหมายปอง
ไม่ผินหลัง เหลียวมอง ด้วยซ้ำเอย
ลืมสนิท กิจการ งานทั้งหลาย
ย่อมละชีพ เคยสุข สนุกสบาย
เคยเสียดาย เคยวิตก เคยหมายปอง
ละทิ้งถิ่น สำราญ เบิกบานจิต
ซึ่งเคยคิด ใฝ่เฝ้า เป็นเจ้าของ
หมดวิตก หมดเสียดาย หมดหมายปอง
ไม่ผินหลัง เหลียวมอง ด้วยซ้ำเอย
หวานคำล้ำรสอมฤต
หวานคำล้ำรสอมฤต
ชโลมจิตสร่างโรคโศกศัลย์
น้ำคำน้ำชุบชูชีวัน
ชวนชื่นหื่นหรรษ์ห่มฤดี
คำเพราะเสนาะสนานจิต
ทุกข์หน่ายคลายพิษพูนสุขศรี
ร้อยยาแพทย์ยายาชีวี
ฤาถึงกึ่งวจีเจรจา
ชโลมจิตสร่างโรคโศกศัลย์
น้ำคำน้ำชุบชูชีวัน
ชวนชื่นหื่นหรรษ์ห่มฤดี
คำเพราะเสนาะสนานจิต
ทุกข์หน่ายคลายพิษพูนสุขศรี
ร้อยยาแพทย์ยายาชีวี
ฤาถึงกึ่งวจีเจรจา
สิ่งที่ดีที่สุด (ความคิดผิดที่เกี่ยวกับกาม)
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนนั้น ก็คือสิ่งที่เขาพอใจ
นี้เรียกว่ากามของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ความพอใจนั้นอยู่ในความคิด
ความคิดนั่นเองเป็นกาม
น่าพอใจสำหรับเราสำหรับเขา เป็นวิตก
นี้คือกามวิตก
พอเอาความคิดออกไป
จะเหลือตัวเราที่เป็นกองขันธ์ห้า
กับบ้านที่เป็นธาตุสี่
ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไร
วิตก ตัวยกจิตไปเกี่ยวพัน
นี้เรียกว่ากามของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ความพอใจนั้นอยู่ในความคิด
ความคิดนั่นเองเป็นกาม
น่าพอใจสำหรับเราสำหรับเขา เป็นวิตก
นี้คือกามวิตก
พอเอาความคิดออกไป
จะเหลือตัวเราที่เป็นกองขันธ์ห้า
กับบ้านที่เป็นธาตุสี่
ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไร
วิตก ตัวยกจิตไปเกี่ยวพัน
วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560
มรรค 3 4 5 6 8
มรรคที่ต้องมีเสมอคือ มรรค 3
- สัมมาทิฏฐิ
- สัมมาวายามะ
- สัมมาสติ
ในฝ่ายโลกิย มรรคจะเป็น 3 4 บ้าง 5 บ้าง 6 บ้าง (สูงสุด 6)
มรรค 4 คือ เมื่อมี 3 ตัวบ้างพอสมควรแล้ว จิตก็จะเริ่มสะอาดเป็นสมาธิ
มรรค 5 เช่น บางครั้งมีสมาธิแล้ว สามารถหยิบเรื่องนั้นนี้ มาพิจารณาได้ถูกต้อง ก็เป็น "สัมมาสังกัปปะ"
มรรคโดยปกติจึงมี 5
ในคราวใดที่มรรค 5 มีแล้วพิจารณาในการหยุด ยับยั้ง หรือไม่ทำ
ในฝ่ายองค์ศีลนี้จะเกิดคราวละองค์
บางครั้งเกิด "สัมมาวาจา"
บางครั้งเกิด "สัมมากัมมันตะ"
บางครั้งเกิด "สัมมาอาชีวะ"
อันนี้คือ มรรค 6
จะเกิดมรรค 8 ครั้งเดียวเท่านั้น
คนอื่นไม่รู้ว่ามันมีตอน 8 ด้วย
สมาธิระดับไหนจึงจะเอา 8 มารวมได้
สมาธิที่จะทำให้จิตแข็งแรงพอที่จะให้มรรคทั้ง 8 มารวมกันได้คือ
"ต้องเพ่งจิตไปที่นิพพาน"
จิตที่มุ่งตรงไปนิพพานเท่านั้นจึงจะทำให้มรรคทั้งหมดมารวมกัน
มีจุดเป้าหมายอันเดียว
ดังนั้น การจะครบ 8 ได้ "ต้องเป้าหมายชัด" และ "ต้องอยากไปนิพพานเท่านั้น"
ถ้าตรงนี้ไม่ชัด จะดีขนาดไหนก็ไม่ครบ
สมาธิดีขนาดไหน ศีลดีขนาดไหนก็ไม่ครบ ไม่มีวันเต็ม ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้
ปุจฉา : การพัฒนาเอกัคคตาจิตจะสังเกตการพัฒนาไปเรื่อยๆ ได้อย่างไร?
วิสัชนา : สังเกตที่ จิตมันเต็มที่ไปนิพพานแล้วหรือยัง
ถ้าโน้มน้อมไปทางนิพพาน
ถ้าจิตกำลังดี (หรือไม่ดีก็เสริมเอา)
มันก็จะมีโอกาสที่องค์ 8 จะครบ แต่ถ้าไม่เอนไปนิพพานทำไงก็ไม่ครบ
วิปัสสนา จึงเป็นไปเพื่อ หมุนจิตไปนิพพานให้ได้ ถ้าไปทางนี้ไม่ได้มรรคจะไม่มีวันครบ
วิปัสสนา จึงให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ที่ให้เกิดเป็น "ยถาภูตญานทัสสนะ" เห็นธรรมตามความเป็นจริง
วัดที่ "นิพพิทา" เมื่อเบื่อหน่าย ใจก็จะเอียงไปนิพพาน เบื่อแล้วถึงจะไปนิพพาน (อยากเองไม่ไปนะ)
พอเอียงไปได้แล้ว มรรคอื่นๆ ก็เติมเข้าไปๆๆ มันก็ครบ 8 ได้ในที่สุด
จะวิปัสสนามาก/น้อย ไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นคือ "เบืื่อรึยัง"
ถ้า "เบื่อแล้วจะไปนิพพานแล้ว" ถือเป็นจุดตั้งต้นของเอกัคตา
เอกัคตาที่จะเป็นที่รวมขององค์มรรคได้จริงต้องมุ่งไปที่นิพพานจุดเดียว
เอกัคตาเป็นสมาธิธรรมดา อยู่ที่มันจะมีอารมณ์อะไร
ถ้ามุ่งไปลมหายใจ มุ่งไปอื่นๆ ไม่เต็มสักที
มันต้องมุ่งไปนิพพาน
(สมาธิที่มีนิพพานเป็นอารมณ์คือ สมาธิที่เกิดกับมรรคจิต)
จะเบื่อได้ ต้องเห็นโทษ
ถ้ายังเห็นประโยชน์ ยังไม่เบื่อ
กระบวนการจึงมีมากมาย ให้เห็นโทษให้ได้ ให้เบื่อให้ได้ นี่คือหลักการ
เช่น แยกรูปนาม มาดูความเป็นที่พึ่งไม่ได้ อนิจจัง ตามสะดวก
มุฏฺฐสจฺจ
มุฏฺฐสจฺจ
(ความไม่มีสติ)
ความระลึกไม่ได้
ความหวนระลึกไม่ได้
ความระลึกย้อนหลังไม่ได้
ภาวะที่ระลึกไม่ได้
ภาวะที่ทรงจำไม่ได้
ความเลื่อนลอย
ความหลงลืมสติ
นึกถึงกาย
เวทนา จิต ธรรม นึกไม่ค่อยได้
นึกถึงลมหายใจไม่ค่อยออก
นึกไม่ค่อยอยู่
กำหนดอย่างไรก็ไม่อยู่
ก็คือสติมันหลงลืม
= ไม่มีสตินั่นแหละ
สติเอาไม่อยู่
หมดสติ
ภาวะสุญญากาศทางสติ 5555
ไม่ค่อยมีสติจะต้องทำอะไรช้าๆ
ก่อน จะได้ผูกสติ
ไม่มีหลัก
ไม่มีฐาน ไม่มีแหล่ง
ดูอะไรอยู่
รู้อะไรอยู่ พิจารณาอะไรอยู่
ระลึกย้อนหลังไม่ได้นี่คือไม่มีสติ
ไม่ใช่ไม่มีความจำ
ความจำเกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว
ทำอะไรแล้วไม่ระวัง
ไม่ระลึกให้ดี
วางรองเท้าตรงไหนน้อ
... มองภาพไม่ออก
ไม่พิจารณาก็นึกไม่ออก
อสมฺปชญฺญ
ความไม่รู้
ความไม่เห็น
ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ
ทำอะไร
อย่างไร เพื่ออะไร จิตอะไรใช้ให้ไปทำ
คู้เหยียด
ก้าวเดิน แลเหลียว
ถ้าไม่รู้
เป็นกิเลส
การไม่คุ้มครองทวาร
อินทริเยสุ อคุตตทวารตา = การไม่คุ้มครองทวารในตอนที่เป็นอินทรีย์
มีประตู มีทวารพร้อมจะให้เข้าอยู่เสมอ
ใจก็พร้อมจะรับรู้เพราะตื่นแล้ว (ตอนหลับไม่มีทวารใจ มีแต่ใจเกิดดับ ไม่มีมโนทวาร)
ไม่พร้อมจะรับแขก ไม่เตรียมนายทวาร
ไม่เตรียมยาม
ปล่อยเลื่อนลอย
ปล่อยใจไปไหนไม่รู้
ไม่มีสติเฝ้า
มีตา ไม่มียามเฝ้าตา เป็นกิเลส
มีหู ไม่มียามเฝ้าหู ก็เป็นกิเลส
ของรับเข้ามาทิ้งอนุสัยไว้เพียบ
เพราะไม่มีการเฝ้าดู
ถูกอภิชฌา และโทมนัสครอบงำ
โภชเน อมตฺตญฺญุตา
ไม่ตรวจสอบว่ากินเพื่ออะไร
บรรยาย 2 ชม.น่าจะพักบ้างนะ ^^
อปฏิสันถาร อสาขัลยะ
อปฏิสันถาร
ความไม่รู้จักต้อนรับผู้อื่น
ไม่ดูแล
ไม่ใช่เรื่อง
ช่างมัน
จะเป็นจะตายก็เรื่องของเธอ
อสาขัลยะ
วาจาไม่นิ่มนวล
หยาบคาย
เผ็ดร้อน
จะทิ่มคนนู้นคนนี้
กระทบกระทั่ง
เป็นกาก
เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น
เกี่ยวผู้อื่นไว้
ยั่วให้โกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ละวาจาเช่นนั้นเสีย
ปฏิสันถาร เป็นคุณธรรม
เป็นกุศล การไม่มีก็เป็นกิเลส
1.
อามิสปฏิสันถาร
- ร้อนมั้ย เอาน้ำมั้ย
2.
ธรรมปฏิสันถาร
- บอกข้อเท็จจริง บอกธรรม
อขันติ
อขันติ
ความทนไม่ได้
อดไม่ได้
ดิฉันรับไม่ได้นะคะมาทำอย่างนี้
ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด
ไม่เบิกบาน
เป็นกิเลส
ที่อดทนก็เพื่อสู้กับไม่อดทน (สู้กับกิเลส)
สู้กับกิเลส คือ ไม่ให้กิเลสได้ช่อง
ทนไม่ได้ก็จะกลายเป็น อโสรัจจะ
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ล่วงเลยมารยาทของผู้ดี มารยาทสังคม
แม้ไม่ผิดศีลก็ไม่เสงี่ยม
เกิดจากกิเลสทะลุไป
ความทนไม่ได้
อดไม่ได้
ดิฉันรับไม่ได้นะคะมาทำอย่างนี้
ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด
ไม่เบิกบาน
เป็นกิเลส
ที่อดทนก็เพื่อสู้กับไม่อดทน (สู้กับกิเลส)
สู้กับกิเลส คือ ไม่ให้กิเลสได้ช่อง
ทนไม่ได้ก็จะกลายเป็น อโสรัจจะ
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ล่วงเลยมารยาทของผู้ดี มารยาทสังคม
แม้ไม่ผิดศีลก็ไม่เสงี่ยม
เกิดจากกิเลสทะลุไป
ดีพื้นฐาน
- ศรัทธา = เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นคงในคุณพระรัตนตรัย
- ศีล = กายวาจาสะอาดนานหรือไม่นาน
- สุตะ = องค์ความรู้ที่พร้อมมูล จะปฏิบัติก็สะดวก ไม่ทำก็แล้วแต่ อะไรควรทำ ทางเดินอยู่ไหนก็รู้
- จาคะ = ความพร้อมจะทิ้งเสมอ มีฝ่ามือล้างแล้วพร้อมให้
- ปัญญา = รู้สัจจะ 4
มี 5 ประการ อยากไปเกิดไหนก็ได้
คุยกับคนไม่มีศรัทธา (ใจมันชอบไปทางบาป ก็เป็นกิเลส)
- คุยเรื่องหมอดูเป็นชั่วโมงๆ
- คุยเรื่องละครได้เป็นชั่วโมงๆ
- อ่านพระไตรปิฎกแป๊บเดียวง่วง
- ยืนฟังเขาด่ากันได้
- ตามเสพข่าวไม่ดี
ถ้าใจเราเอียงไปทางนั้น
อยู่กับคนนั้นได้นาน
ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น
ความมีคนชั่วเป็นมิตรเป็นกิเลสอย่างนึง
ไม่มีคนชั่ว
มีแต่กิเลส
พึงรู้จัก
โทวจัสสตา
โทวจัสสตา
ผู้ว่ายาก สอนยาก
ไม่ค่อยฟังใคร ไม่ค่อยชอบยอมรับ
ชอบในการโต้แย้ง ถกเถียง
ถึงเขาจะพูดถูกแต่ก็ต้องมีข้อโต้
ข้อแย้ง หรือข้อเพิ่ม
ชอบเสริมในแบบแย้งกลับว่าฉันน่ะเลิศกว่าอะไรก็ว่าไป
พอใจในทางขัดขืน
อยู่ฝั่งตรงข้ามไว้ก่อน
พอใจในทางไม่ยอม
แม้จะพูดถูกแต่ก็ไม่ยอม
เธอก็พูดถูก แต่ยังมียิ่งกว่านี้อีก
เธอก็พูดดี แต่ยังมีดีกว่านี้อีก
ขัดแข้ง ขัดขา ขัดคำ ขัดคอ
ไม่เชื่อฟังแม้ถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม
ฟังได้หมด แต่แย้งอยู่นั่้น
ฟังๆ ดูก็ยังไม่เก่งเท่าไรนะคะ
ไม่เอื้อเฟื้อ ยึดถือไปข้างขัดขืน
ไม่ยอมรับ
เมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรมก็ไม่ยอมรับ
รู้ว่าผิดล่ะแต่ขัดขืน
ใจดื้อ แข็ง กระด้าง
ดิฉันก็ผิดล่ะ แต่ไม่ยอมรับอาจารย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น ว่ายากไม่ใช่คน เป็นกิเลส
ฟังได้หมด แต่แย้งอยู่นั่้น
ฟังๆ ดูก็ยังไม่เก่งเท่าไรนะคะ
ไม่เอื้อเฟื้อ ยึดถือไปข้างขัดขืน
ไม่ยอมรับ
เมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรมก็ไม่ยอมรับ
รู้ว่าผิดล่ะแต่ขัดขืน
ใจดื้อ แข็ง กระด้าง
ดิฉันก็ผิดล่ะ แต่ไม่ยอมรับอาจารย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น ว่ายากไม่ใช่คน เป็นกิเลส
โสวจัสสตา (เป็นมงคลข้อนึง)
ยอมรับ ไม่โต้ไม่แย้ง
เชื่อฟังง่าย ฟังคนอื่นพูดง่าย
ฟังคนบ่นก็ไม่เป็นไร
มีประโยชน์ก็เอามาใช้
ไม่มีประโยชน์ก็วางไป
บางคนไม่เก่งเท่าเรา เราก็เอาแง่ที่เขาเด่นมาเติม
พร้อมจะยอมรับเข้ามา
ค่อยๆ ฟัง โอ้ยอันนี้เหมาะ
บางคนไม่เก่งแต่มีจุดที่เรายังขาดอยู่
เอาจริงๆ อยากฟังคนถูกไปฟังพระพุทธเจ้าเลย
คนอื่นมันมีผิดเล็กผิดน้อยอยู่ดี
บางคนไม่เก่งเท่าเรา เราก็เอาแง่ที่เขาเด่นมาเติม
พร้อมจะยอมรับเข้ามา
ค่อยๆ ฟัง โอ้ยอันนี้เหมาะ
บางคนไม่เก่งแต่มีจุดที่เรายังขาดอยู่
เอาจริงๆ อยากฟังคนถูกไปฟังพระพุทธเจ้าเลย
คนอื่นมันมีผิดเล็กผิดน้อยอยู่ดี
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560
สังขาร
ถ้าพิจารณาจิตตสังขารได้ ก็อาจไม่ต้องพิจารณากายสังขาร วจีสังขาร เพราะมันสูงกว่า
กายสังขาร = สิ่งที่ปรุงแต่งให้กายดำรงอยู่ได้ คือ ลมหายใจ เข้า-ออก
หรือปรุงให้กายหยาบ/ละเอียด ลมหายใจหยาบ กายก็หยาบ ลมละเอียด กายก็ละเอียด
วจีสังขาร = วิตก วิจารณ์
เกิดจากสัญญา ต้องมีข้อมูลก่อน
วิตก หยิบจับเรื่องนั้น/นี้ขึ้นมา
แล้วก็เคล้าคลึง รวบรวมเรื่องเหล่านั้นมาเป็นเรื่องเป็นราวเรียก วิจารณ์
จิตตสังขาร = เวทนา และสัญญา (เกิดกับจิตเสมอ) ตัวปรุงจิต
สังขารขันธ์ ไม่จัดเป็นจิตตสังขาร เนื่องจากว่ามันไม่แน่นอน บางครั้งก็โทสะ บางครั้งก็โลภะ บางทีสติ บางทีปัญญา
จิตเกิดตลอด จนกว่าจะอนุปาทานิพพาน
จะขึ้่น/ไม่ขึ้นวิถีอีกเรื่องนึงแต่เกิดตลอด
เกิดขึ้นแล้ว้เรารับรู้ เรียกว่าขึ้นวิถีจิต
แต่ที่ไม่รู้เรื่อง จิตก็เกิดเหมือนกัน มีเวทนาและสัญญาเหมือนกัน
แต่เราจะไม่รู้เรื่องของภพชาตินั้นๆ เพราะมีอารมณ์ของภพชาติอื่นอยู่ เรียก ภวังคจิต
ไม่ลืมลมหายใจ
ไม่ปล่อยใจลอย
คือมีสติ
ลมหายใจมีจิตเป็นสมุฏฐาน
พอจิตเปลี่ยน ลมก็เปลี่ยน ลมเปลี่ยนกายก็เปลี่ยน
วิตกวิจารณ์ที่ไม่ไปรวมกับลมหายใจจะไม่เห็น
พูดอยู่ตลอด เห็นนั่นนี่นู่นก็วิจารณ์ นี่สีแดง นั่นยาว นี่สั้น นี่ขวด นั่นแก้ว
เป็นปรุงแต่งคำพูดพร้อมจะออกมา
เยอะมากจนไม่รู้
เลยยกจิตไปไว้กับลมหายใจ (วิตก)
ให้เคล้าคลึงกับลมหายใจนานๆ (วิจารณ์)
มันก็จะไม่คิดมาก ตอนมันคิดมากมันจะไม่รู้ว่าคิดมาก
ไม่คิดมาก คือไม่คิดมากเรื่อง คิดเรื่องเดียวคือเรื่องลมหายใจ
เรียกว่าเป็นตัวนาม ที่น้อมไป เป็นตัวรู้เรื่อง เพราะตัวรูปมันไม่รู้เรื่อง
เมื่อความคิดในหัวเริ่มเงียบ
การจะคิดออกมาได้ จะต้องมีสัญญาก่อน
สัญญาปรากฏก่อนการเรียก
จิตเป็นกุศล อกุศล เกิดพร้อมสัญญา
กิเลสมาจากสัญญา (แต่สัญญาเป็นวิบาก)
กิเลสมาจากความคิด คิดได้ไง เพราะจำว่าสวยไง จำว่าเที่ยงไง
อุเบกขาเวทนา เกิดพร้อมกับจิต รู้สึกเฉยๆ ธรรมดาๆ ไม่มีชอบไม่ชอบ ไม่ได้สุขไม่ได้ทุกข์
"ไม่รู้สึกอะไร" นี่ล่ะอุเบกขาเวทนา
"รู้สึกอะไร" อันนี้รู้สึกสุข/ทุกข์
กายสังขาร = สิ่งที่ปรุงแต่งให้กายดำรงอยู่ได้ คือ ลมหายใจ เข้า-ออก
หรือปรุงให้กายหยาบ/ละเอียด ลมหายใจหยาบ กายก็หยาบ ลมละเอียด กายก็ละเอียด
วจีสังขาร = วิตก วิจารณ์
เกิดจากสัญญา ต้องมีข้อมูลก่อน
วิตก หยิบจับเรื่องนั้น/นี้ขึ้นมา
แล้วก็เคล้าคลึง รวบรวมเรื่องเหล่านั้นมาเป็นเรื่องเป็นราวเรียก วิจารณ์
จิตตสังขาร = เวทนา และสัญญา (เกิดกับจิตเสมอ) ตัวปรุงจิต
สังขารขันธ์ ไม่จัดเป็นจิตตสังขาร เนื่องจากว่ามันไม่แน่นอน บางครั้งก็โทสะ บางครั้งก็โลภะ บางทีสติ บางทีปัญญา
จิตเกิดตลอด จนกว่าจะอนุปาทานิพพาน
จะขึ้่น/ไม่ขึ้นวิถีอีกเรื่องนึงแต่เกิดตลอด
เกิดขึ้นแล้ว้เรารับรู้ เรียกว่าขึ้นวิถีจิต
แต่ที่ไม่รู้เรื่อง จิตก็เกิดเหมือนกัน มีเวทนาและสัญญาเหมือนกัน
แต่เราจะไม่รู้เรื่องของภพชาตินั้นๆ เพราะมีอารมณ์ของภพชาติอื่นอยู่ เรียก ภวังคจิต
ไม่ลืมลมหายใจ
ไม่ปล่อยใจลอย
คือมีสติ
ลมหายใจมีจิตเป็นสมุฏฐาน
พอจิตเปลี่ยน ลมก็เปลี่ยน ลมเปลี่ยนกายก็เปลี่ยน
วิตกวิจารณ์ที่ไม่ไปรวมกับลมหายใจจะไม่เห็น
พูดอยู่ตลอด เห็นนั่นนี่นู่นก็วิจารณ์ นี่สีแดง นั่นยาว นี่สั้น นี่ขวด นั่นแก้ว
เป็นปรุงแต่งคำพูดพร้อมจะออกมา
เยอะมากจนไม่รู้
เลยยกจิตไปไว้กับลมหายใจ (วิตก)
ให้เคล้าคลึงกับลมหายใจนานๆ (วิจารณ์)
มันก็จะไม่คิดมาก ตอนมันคิดมากมันจะไม่รู้ว่าคิดมาก
ไม่คิดมาก คือไม่คิดมากเรื่อง คิดเรื่องเดียวคือเรื่องลมหายใจ
เรียกว่าเป็นตัวนาม ที่น้อมไป เป็นตัวรู้เรื่อง เพราะตัวรูปมันไม่รู้เรื่อง
เมื่อความคิดในหัวเริ่มเงียบ
การจะคิดออกมาได้ จะต้องมีสัญญาก่อน
สัญญาปรากฏก่อนการเรียก
จิตเป็นกุศล อกุศล เกิดพร้อมสัญญา
กิเลสมาจากสัญญา (แต่สัญญาเป็นวิบาก)
กิเลสมาจากความคิด คิดได้ไง เพราะจำว่าสวยไง จำว่าเที่ยงไง
อุเบกขาเวทนา เกิดพร้อมกับจิต รู้สึกเฉยๆ ธรรมดาๆ ไม่มีชอบไม่ชอบ ไม่ได้สุขไม่ได้ทุกข์
"ไม่รู้สึกอะไร" นี่ล่ะอุเบกขาเวทนา
"รู้สึกอะไร" อันนี้รู้สึกสุข/ทุกข์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)