วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

วิปลาส 12 สัญญาเกิดก่อนญาณ

สภาวะวิปลาส 3 (ตัวสภาวะ) ใน 4 เรื่อง

  1. ทิฏฐิวิปลาส (เห็นผิด)
  2. จิตวิปลาส (คิดผิด)
  3. สัญญาวิปลาส (จำผิด - ละเอียดสุด)
4 เรื่อง (วัตถุที่ตั้งของวิปลาส)
  1. ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อนิจฺเจ นิจฺจํ)
  2. ทุกข์ว่าสุข (ทุกฺเข สุขํ)
  3. ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน (อนตฺตนิ อตฺตา)
  4. ไม่งามว่างาม (อสุเภ สุภํ)


พระโสดาบัน
หายทิฏฐิวิปลาส 4 และจิตวิปลาส 2 กับสัญญาวิปลาส 2 คือเรื่อง

  • เรื่องเห็นว่าของไม่เที่ยงว่าเที่ยงหมดไป
  • เรื่องเห็นว่าของไม่มีตัวตนว่าเป็นตัวตนก็หมดไป

รวมวิปลาส 12 หายไป 8 เรื่อง
เหลือสัญญา/จิตวิปลาสเรื่อง

  • จากทุกข์ว่าเป็นสุข
  • จากไม่งามว่างาม
พระอนาคามี ละจิตและสัญญาวิปลาส "ไม่งามว่างาม"
พระอรหันต์ ละ จิตและสัญญาวิปลาส "ทุกข์ว่าสุข" (สุขในรูป/อรูปฌาน)

กิเลสเกิดจากความคิด ความคิดเกิดจากสัญญา

การปฏิบัติธรรม เป็นการมาล้างสัญญาผิดๆ ไม่คิดผิด กิเลสก็ไม่เกิด
สมถะวิปัสสนาเพื่อเปลี่ยนสัญญา

กำหนดผิด/มีข้อมูลผิด
ก็คิดผิด
แล้วก็เห็นผิด

การรักษารักษาอันแรงๆ อาการหนักๆ ก่อน
พอรักษาเห็นผิด (เห็นเพี้ยนนี่คือบ้าสุดละ)
แล้วก็มารักษาความคิด (คิดเพี้ยน)
ค่อยมารักษาสัญญา (ข้อมูลมันผิด/หมายผิด)

...รักษาโรคบ้า

เห็นเป็นคน...แต่ชั้นไม่เชื่อหรอก...เพราะว่าไม่ใช่คน!!
(เปลี่ยนทิฏฐิ)

เกิดในกามภูมิ 
มีสัญญาดั้งเดิม ที่ค้างในใจเยอะก็คือ กามสัญญา
ชินกับการมองอะไร
เป็นหญิงชาย เป็นของน่าเอา นี้สวยงาม นั้นไพเราะ อันโน้นอร่อย
ล้วนเป็นข้อมูล เป็นสัญญา
คิดตามกามสัญญา
กิเลสก็เกิดขึ้นมา

การชำระสัญญา
ไม่รับสัญญาใหม่เข้ามา (สติคุ้มครองทวาร)
อันเก่าค่อยๆ ชำระทิ้ง (ด้วยสมถะ)
เคยมองว่าสวย มาเจริญอสุภะบ่อยๆ เริ่มไม่สวย
เคยคิดว่าอยู่ตลอดไป มาเจริญมรณานุสติ เริ่มรู้จักตาย มองปุ๊บจะรู้สึกว่ารู้จักตาย สัญญาเริ่มเปลี่ยน
เจริญเมตตา เพื่อนก็เริ่มเท่ากับศัตรู เมตตานี้ไม่ได้หมายความถึง ความเป็นคนพิเศษ แต่หมายถึงความเสมอกันกับผู้อื่น (พ่อแม่เมตตาลูก จะหมายถึง เห็นลูกตนเสมอกับลูกคนอื่น ไม่ใช่รักเป็นพิเศษ)
เคยเห็นว่าเที่ยง อ้าวไม่เที่ยง

สติจับสัญญาขึ้นมาให้ปัญญาพิจารณา
จับขึ้นมาแล้วก็วิจัยสัญญานี้ดู
สัญญานี้เป็นนามธรรม เป็นของไม่เที่ยง
พราะมีสัญญาอย่างนี้ขึ้นมา จึงคิดอย่างนี้ๆ จึงเห็นอย่างนี้ๆ
[สัญญากำหนดยาก วิธีคือให้ดูทางความคิดนี่ล่ะ ว่ามันเปลี่ยนไปตามสัญญา]

เวลาเราเห็นสิ่งต่างๆ ล้วนไม่สวยไม่งาม
จริงๆ สิ่งนั้นมันก็เป็นของมันอย่างนั้น
ส่วน "มันไม่สวยไม่งาม" อันนี้เกิดขึ้นในใจ เป็นนามธรรมนะ ไม่ใช่สิ่งนั้น
คนละอันกันเรียกว่า สัญญา

เมื่อกำหนดสัญญาอย่างนี้แล้ว
ก็จะเห็นได้ว่าสัญญานั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
สัญญาก็จะดับไป
ก็จะมองเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอีกต่อนึง

ดังนั้นสัญญาจึงมาก่อนปัญญา

ถ้าคนไม่กำหนดสัญญา
มองอะไรก็จะเห็นความจริงอีกเหมือนกัน
แต่เห็นผ่านสัญญา
เห็นผ่านความคิด
เห็นว่าไม่เที่ยงเหมือนกัน
แต่เห็นผ่านความคิด

บางคนรู้เยอะ แต่รู้ไม่พ้นสัญญา
วิธีจึงต้องยกสัญญาขึ้นพิจารณาว่าเป็นของไม่เที่ยงก่อน
เมื่อสัญญาดับก็มองทะลุถึงความจริง

สิ่งนั้นมันไม่เที่ยง VS เราคิดว่ามันไม่เที่ยง...คนละอันกัน

สัญญาเกิดก่อนญาณ
สัญญามาก่อนจึงจะคิดถูก คิดถูกจึงจะมีญาณ
แต่สัญญาถูก คิดถูก แค่นี้ยังไม่ใช่ญาณ คนละตัวกัน

ปฏิบัติตอนต้นเพื่อเปลี่ยนสัญญาเป็นสัญญาที่ดี ที่ถูก ที่ละเอียด
กำหนดรูป กำหนดนาม กำหนดนู่นนี่ให้สัญญามันเปลี่ยนก่อน
แล้วค่อยมากำหนดสัญญาเอาตอนท้ายๆ
แล้วเอาสัญญานี้มากำหนดอีกต่อ

สัญญายังไม่เปลี่ยน ญาณจะเกิดไม่ได้
สัญญาเดิม(สุภะ)ดูแล้วมันฟุ้ง เมื่อเปลี่ยนดูแล้วใจมันก็สงบลง

เราเห็นอะไรเป็นอะไร คิดอะไร
อันนี้เป็นสัญญาเป็นตัวบอกข้อมูล
วิธีสังเกตก็คือ เวลาเราเห็นแล้วคิดนึกอะไรต่างๆ มันตรงตามพระพุทธเจ้ามั้ย

ถ้ายังก็ต้องไปอาศัยสมถะ วิปัสสนาให้สัญญาเราเปลี่ยน
พอเปลี่ยนมันก็จะมีมุมมอง ความคิดต่างๆ ถูก
แต่ที่ถูกนี้ก็ยังไม่ใช่ญาณ
มันแค่คล้ายๆ ว่าจะรู้ความจริงละ จะสงบละ จะดีละ
แต่ยัังไม่ถึงที่สุด
ต้องเอาสัญญานี้
มาทำโพชฌงค์ 7 ต่อ
จึงจะทำให้เกิดมรรคขึ้น

ตอนเห็นนี่ ไม่ต้องห่วง
จะคิดหรือไม่คิดมันก็เห็น
จะจำได้หรือจำไม่ได้มันก็เห็น
จึงไม่ถูกหลอกให้คลาดเคลื่อนอีกต่อไป
---

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น