วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

โกโธ อุปณาโห

โกธะ เป็นไฉน? ความโกรธครั้งแรก

ความโกรธ
กิริยาที่โกรธ
ภาวะที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย
กิริยาที่คิดประทุษร้าย
ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย
กิริยาที่คิดปองร้าย
ภาวะที่คิดปองร้าย
ความยินร้าย
ความยินร้ายตอบ
ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน

นามธรรมอย่างนึง เกิดประกอบกับจิต เป็นกิริยาของจิต เป็นอาการของจิต ให้เห็นว่าจิตมีความแตกต่างกัน เช่น จิตโลภก็อาการนึง จิตโกรธก็อันนึง คนละอันกัน

กำหนดจดจำได้ดี เวลาเกิดก็เห็นได้ ไม่กำหนดบางทีไม่เห็น ถ้าเห็นได้ก้ละได้ ไม่เห็นละไม่ออก

ประทุษร้าย คือ ประทุษร้ายจิต หมายถึง ทิ่มแทง ทิ่มตำ ทำให้เจ็บปวด ทั้งนี้สิ่งภายนอกจะมาประทุษร้ายจิตไม่ได้ คำพูดของคนอื่น หรือมีดดาบอะไรก็ดี ไม่อาจประทุษร้ายจิตได้ ตัวที่ทิ่มแทงจิตได้ คือ "โกธะ" ไม่ใช่ประทุษร้ายคนอื่น แต่เป็นความประทุษร้ายจิตตนเอง ดังนั้น คนโง่เท่านั้นจึงประทุษร้ายจิตคนอื่น คนฉลาดเขาจะคิดเมตตา จิตตนเองจะได้ไม่ถูกประทุษร้าย คนฉลาดอย่างถึงที่สุดจึงประทุษร้ายใครไม่เป็น

ความคิดอื่นก็ไม่ได้ประทุษร้ายจิตนะ

  • โลภะ ก็ไม่ได้ประทุษร้ายจิต แต่มันทำให้เหนียว หนืด ลุกไม่ขึ้น ออกไม่ได้ ยืดยาด ติดๆ ข้องๆ (กลับกัน กิเลสอื่นก็ไม่ได้ทำให้หนืด ยืดยาดนะ มันเป็นลักษณะพิเศษ)
  • โมหะ จะลักษณะ คลุมๆ มืดๆ มัวๆ เหมือนตื่นนอนใหม่ๆ เบลอๆ มึนๆ เมาๆ ทำให้ไร้เหตุผล ไม่สะอาด ไม่สว่าง มองอะไรก็คลุมเครือ ไม่รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  (แต่ก็ไม่ได้ประทุษร้ายจิต)
ใช้คำว่า "คิด" เพราะถ้าไม่คิด มันจะเข้าถึงจิตไม่ได้ ความคิดไม่ดี เหมือนจิตโดนต่อย ประทุษร้ายตนเอง

จ้องจับผิด พร้อมจะแทงคนอื่น เหมือนจ้องทำร้ายตัวเอง 
อาการเหมือนไปที่คนอื่น 
ไปจ้องคนอื่นเพราะมันมีโมหะไปคิดว่าคนอื่นมี แล้วโกธะซ้อน
หาพวก เธอว่ามั้ย ....

อกุศล คือ ไม่ฉลาด ไปจ้องจับผิดเขาเพื่อตนเองจะได้เป็นทุกข์ 
กุศลเบื้องต้น ก็คือสัมมาทิฏฐิ ที่จะเห็นว่า อันไหนเป็นทุกข์ อันไหนเป็นความดับทุกข์ อันไหนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อันไหนเป็นทางดับทุกข์ แยกแยะได้

ไม่มีเรา
มีแต่ภาวะที่โกรธ
ไม่มีคนอื่น

เวลาคิดจะประทุษร้ายคนอื่น คือกำลังคิดว่า คนอื่นมีจริงๆ 
ถ้าคิดประทุษร้ายคนอื่นปุ๊บ ต้องชี้ได้ว่า "นี่! เป็นกิเลส!!!!"

แต่ถ้ากำหนดไม่ไว ก็ไปเหมือนกันนะ 

คนนี้พูดไม่ดี
เราไม่ชอบคนนี้ (อันนี้เป็นโกธะ)
ความจริงมีคนมั้ย?
ไม่มี
ผู้มีปัญญาจะไม่ชอบคำพูด ไม่ชอบการพูด ไม่ใช่ไม่ชอบคน

ดุร้าย ให้รู้ซะบ้างว่าใครเป็นใคร ตายเป็นตาย 

อุปณาหะ = ความผูกโกรธ (ความโกรธในครั้งต่อมา)

ความผูกโกรธ
กิริยาที่ผูกโกรธ
ภาวะที่ผูกโกรธ
การไม่หยุดโกรธ
การตั้งความโกรธไว้
การดำรงความโกรธไว้
การโผลงไปตามความโกรธ
การตามไปผูกความโกรธไว้
การทำความผูกโกรธไว้ให้มั่น

บางทีก็ใช้คำว่า การผูกเวร 
สิ่งไม่ดียังผูกเอาไว้ไม่ให้ไปไหน

วิธีผูกโกรธ คือ ผูกเหตุของมันเอาไว้ นึกถึงเหตุที่ทำให้ตนเองโกรธบ่อยๆ

ไม่มีเขา แต่ความไม่ชอบเขาน่ะมี


จะทิ้งสิ่งใด ต้องเห็นมัน รู้จักตัว และเห็นโทษของมัน


ตย.การผูกเวร

ดูข่าวข่มขืนแล้วกลัว
คิดอย่างนี้ได้ เพราะไปผูกเวร (แม้มิใช่เวรของตัวเอง) 
คนอื่นเขามีเวรกัน ทำร้ายกัน
เราดันไปเอาเวรเขามาผูกไว้
(จริงๆ ไม่มีคนอื่น)
ไปเอาเวรมาผูกไว้ ทำให้เราอยู่สบายมั้ย?
ไม่สบาย.
ที่อยู่ไม่สบายเป็นเพราะกิเลสมันเกิดในใจเท่านั้น
เป็นความผูกแบบพลอยฟ้าพลอยฝน

กุศล หรือความฉลาดนี้ จะต้องสบายใจ ปลอดโปร่งเท่านั้น 
ถ้ารู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกว่าต้องระวังนั่นนี่

ถึงใครจะมีเวร เราก็ไม่ต้องไปมีเวรกะเขา
เรากับเอาเวรของคนอื่นมา ยิ่งต้องระวังตัวแจ
ที่ระวังตัวแจ ถ้าตายตอนนั้น นรกเลย เพราะผูกไว้

กุศล ความฉลาด จะให้ผลเป็นทุกข์ เป็นความไม่สบายใจ
"ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้"

ความดีใจที่ทำให้ตกนรก
เช่น ความพอใจเมื่อผู้อื่นฉิบหาย


ตัวอย่างตั้งเวรเอาไว้

ดูหนังเห็นโจรหน้าหนวด
พอไปเจอหน้าคนมีหนวดก็เริ่มระแวง
ที่ถูกพึงตั้งเมตตาเอาไว้ ตั้งความเป็นมิตรเอาไว้

เคยดูหนัง จำว่าผีดุร้าย
ถามจริงๆ ผีเคยมาหักคอเราจริงๆ มั้ย

ถ้าเหตุการณ์ปกติ ให้ตั้งเมตตา
เหตุการณ์ไม่ดี ให้ตั้งกรุณา
เขาได้ดี ให้ตั้งมุฑิตา
ช่วยไม่ได้ ให้ตั้งอุเบกขา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น