ถ้าพิจารณาจิตตสังขารได้ ก็อาจไม่ต้องพิจารณากายสังขาร วจีสังขาร เพราะมันสูงกว่า
กายสังขาร = สิ่งที่ปรุงแต่งให้กายดำรงอยู่ได้ คือ ลมหายใจ เข้า-ออก
หรือปรุงให้กายหยาบ/ละเอียด ลมหายใจหยาบ กายก็หยาบ ลมละเอียด กายก็ละเอียด
วจีสังขาร = วิตก วิจารณ์
เกิดจากสัญญา ต้องมีข้อมูลก่อน
วิตก หยิบจับเรื่องนั้น/นี้ขึ้นมา
แล้วก็เคล้าคลึง รวบรวมเรื่องเหล่านั้นมาเป็นเรื่องเป็นราวเรียก วิจารณ์
จิตตสังขาร = เวทนา และสัญญา (เกิดกับจิตเสมอ) ตัวปรุงจิต
สังขารขันธ์ ไม่จัดเป็นจิตตสังขาร เนื่องจากว่ามันไม่แน่นอน บางครั้งก็โทสะ บางครั้งก็โลภะ บางทีสติ บางทีปัญญา
จิตเกิดตลอด จนกว่าจะอนุปาทานิพพาน
จะขึ้่น/ไม่ขึ้นวิถีอีกเรื่องนึงแต่เกิดตลอด
เกิดขึ้นแล้ว้เรารับรู้ เรียกว่าขึ้นวิถีจิต
แต่ที่ไม่รู้เรื่อง จิตก็เกิดเหมือนกัน มีเวทนาและสัญญาเหมือนกัน
แต่เราจะไม่รู้เรื่องของภพชาตินั้นๆ เพราะมีอารมณ์ของภพชาติอื่นอยู่ เรียก ภวังคจิต
ไม่ลืมลมหายใจ
ไม่ปล่อยใจลอย
คือมีสติ
ลมหายใจมีจิตเป็นสมุฏฐาน
พอจิตเปลี่ยน ลมก็เปลี่ยน ลมเปลี่ยนกายก็เปลี่ยน
วิตกวิจารณ์ที่ไม่ไปรวมกับลมหายใจจะไม่เห็น
พูดอยู่ตลอด เห็นนั่นนี่นู่นก็วิจารณ์ นี่สีแดง นั่นยาว นี่สั้น นี่ขวด นั่นแก้ว
เป็นปรุงแต่งคำพูดพร้อมจะออกมา
เยอะมากจนไม่รู้
เลยยกจิตไปไว้กับลมหายใจ (วิตก)
ให้เคล้าคลึงกับลมหายใจนานๆ (วิจารณ์)
มันก็จะไม่คิดมาก ตอนมันคิดมากมันจะไม่รู้ว่าคิดมาก
ไม่คิดมาก คือไม่คิดมากเรื่อง คิดเรื่องเดียวคือเรื่องลมหายใจ
เรียกว่าเป็นตัวนาม ที่น้อมไป เป็นตัวรู้เรื่อง เพราะตัวรูปมันไม่รู้เรื่อง
เมื่อความคิดในหัวเริ่มเงียบ
การจะคิดออกมาได้ จะต้องมีสัญญาก่อน
สัญญาปรากฏก่อนการเรียก
จิตเป็นกุศล อกุศล เกิดพร้อมสัญญา
กิเลสมาจากสัญญา (แต่สัญญาเป็นวิบาก)
กิเลสมาจากความคิด คิดได้ไง เพราะจำว่าสวยไง จำว่าเที่ยงไง
อุเบกขาเวทนา เกิดพร้อมกับจิต รู้สึกเฉยๆ ธรรมดาๆ ไม่มีชอบไม่ชอบ ไม่ได้สุขไม่ได้ทุกข์
"ไม่รู้สึกอะไร" นี่ล่ะอุเบกขาเวทนา
"รู้สึกอะไร" อันนี้รู้สึกสุข/ทุกข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น