วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

มรรค 3 4 5 6 8

มรรคที่ต้องมีเสมอคือ มรรค 3

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. สัมมาวายามะ
  3. สัมมาสติ
ในฝ่ายโลกิย มรรคจะเป็น 3 4 บ้าง 5 บ้าง 6 บ้าง (สูงสุด 6)

มรรค 4 คือ เมื่อมี 3 ตัวบ้างพอสมควรแล้ว จิตก็จะเริ่มสะอาดเป็นสมาธิ

มรรค 5 เช่น บางครั้งมีสมาธิแล้ว สามารถหยิบเรื่องนั้นนี้ มาพิจารณาได้ถูกต้อง ก็เป็น "สัมมาสังกัปปะ"

มรรคโดยปกติจึงมี 5 

ในคราวใดที่มรรค 5 มีแล้วพิจารณาในการหยุด ยับยั้ง หรือไม่ทำ

ในฝ่ายองค์ศีลนี้จะเกิดคราวละองค์ 
บางครั้งเกิด "สัมมาวาจา"
บางครั้งเกิด "สัมมากัมมันตะ" 
บางครั้งเกิด "สัมมาอาชีวะ" 
อันนี้คือ มรรค 6

จะเกิดมรรค 8 ครั้งเดียวเท่านั้น

คนอื่นไม่รู้ว่ามันมีตอน 8 ด้วย
สมาธิระดับไหนจึงจะเอา 8 มารวมได้
สมาธิที่จะทำให้จิตแข็งแรงพอที่จะให้มรรคทั้ง 8 มารวมกันได้คือ 
"ต้องเพ่งจิตไปที่นิพพาน"
จิตที่มุ่งตรงไปนิพพานเท่านั้นจึงจะทำให้มรรคทั้งหมดมารวมกัน 
มีจุดเป้าหมายอันเดียว

ดังนั้น การจะครบ 8 ได้ "ต้องเป้าหมายชัด" และ "ต้องอยากไปนิพพานเท่านั้น"
ถ้าตรงนี้ไม่ชัด จะดีขนาดไหนก็ไม่ครบ 
สมาธิดีขนาดไหน ศีลดีขนาดไหนก็ไม่ครบ ไม่มีวันเต็ม ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้

ปุจฉา : การพัฒนาเอกัคคตาจิตจะสังเกตการพัฒนาไปเรื่อยๆ ได้อย่างไร?
วิสัชนา : สังเกตที่ จิตมันเต็มที่ไปนิพพานแล้วหรือยัง

ถ้าโน้มน้อมไปทางนิพพาน
ถ้าจิตกำลังดี (หรือไม่ดีก็เสริมเอา)
มันก็จะมีโอกาสที่องค์ 8 จะครบ แต่ถ้าไม่เอนไปนิพพานทำไงก็ไม่ครบ

วิปัสสนา จึงเป็นไปเพื่อ หมุนจิตไปนิพพานให้ได้ ถ้าไปทางนี้ไม่ได้มรรคจะไม่มีวันครบ
วิปัสสนา จึงให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ที่ให้เกิดเป็น "ยถาภูตญานทัสสนะ" เห็นธรรมตามความเป็นจริง

วัดที่ "นิพพิทา" เมื่อเบื่อหน่าย ใจก็จะเอียงไปนิพพาน เบื่อแล้วถึงจะไปนิพพาน (อยากเองไม่ไปนะ)

พอเอียงไปได้แล้ว มรรคอื่นๆ ก็เติมเข้าไปๆๆ มันก็ครบ 8 ได้ในที่สุด

จะวิปัสสนามาก/น้อย ไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นคือ "เบืื่อรึยัง"
ถ้า "เบื่อแล้วจะไปนิพพานแล้ว" ถือเป็นจุดตั้งต้นของเอกัคตา

เอกัคตาที่จะเป็นที่รวมขององค์มรรคได้จริงต้องมุ่งไปที่นิพพานจุดเดียว
เอกัคตาเป็นสมาธิธรรมดา อยู่ที่มันจะมีอารมณ์อะไร
ถ้ามุ่งไปลมหายใจ มุ่งไปอื่นๆ ไม่เต็มสักที
มันต้องมุ่งไปนิพพาน 
(สมาธิที่มีนิพพานเป็นอารมณ์คือ สมาธิที่เกิดกับมรรคจิต)

จะเบื่อได้ ต้องเห็นโทษ
ถ้ายังเห็นประโยชน์ ยังไม่เบื่อ

กระบวนการจึงมีมากมาย ให้เห็นโทษให้ได้ ให้เบื่อให้ได้ นี่คือหลักการ
เช่น แยกรูปนาม มาดูความเป็นที่พึ่งไม่ได้ อนิจจัง ตามสะดวก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น