ธรรมที่แปลจากบาลีเป็นไทย
นั้นเบื้องต้นก็จะได้ความหมายอย่างคร่าวๆ
แต่โดยนัยและเบื้องลึก
คำแปลเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลง
ไปตามการเติบโตของสภาวะภายใน
ตามที่ปฏิบัติได้ของบุคคลขณะนั้นๆ
บางทีภาวนาไป
กระจ่างในธรรมข้อนั้นมากกว่าคำแปล
ดันมานึกว่าตัวเองเข้าใจผิด
วุ่นอีก
ถ้าสิ่งไหนดีงามที่เกิดขึ้นกะเราแล้วมัน
ก็คืออย่างนั้นนั่นแหละ
ฉะนั้นคำแปลก็ยึดตามเป๊ะๆ ไม่ได้
อย่างคำว่า "สมาทาน"
จะแยกศัพท์ยังไงก็ได้
สํ (เอามาไว้แบบไม่ครึ่งๆ กลางๆ) + อา (เอามาไว้ข้างใน) + ทาน (ให้)
คำนี้จริงๆ
มันใช้สำหรับคนที่ "รู้แล้ว"
ว่าต้องทำอย่างนี้ถึงจะได้
เหมือนจะไปภูกระดึง
รู้ว่าต้องไปทางนี้แหละ
ถ้าไปอีกทางมันจะช้าไปอย่างนู้นอย่างนี้
คือ "รู้ทางแล้ว"
รู้ว่าต้องวิธีนี้แหละ
ไม่มีวิธีอื่น
โดยตัวคำไม่ได้มีความรู้สึกแบบ "เล่นๆ" เลย
เป็นคำที่ยิ่งใหญ่และหนักแน่น
คือถ้าแปลแบบไทย ที่มักแปลว่า "รับเอา"
ความหมายเลยดูเบาไปเลย
ศีล 5 นี่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว
แต่ต้องให้มา "สมาทาน"
ในเซนส์ความหมายก็คือ
เป้าหมายมีอยู่
ความเป็นพระโสดาบันมีอยู่
นิพพานมีอยู่
วิธีการมีอยู่
มันต้องมาทางนี้เท่านั้น คือลักษณะ เน้นย้ำอย่างนี้
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่ถึง
เพราะคนทราบอย่างนี้ จึง "สมาทาน"
จึงต้องเอาอันนี้มาฝึกฝนให้ได้
มีหลงลืม ขาดตกบกพร่องไป
ก็รีบกลับมาเร็วๆ เอาใหม่
ดังนั้นการสมาทานที่แท้จริง
จะเกิดก็ต่อเมื่อ
เรารู้ชัดว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงเราคืออะไร
แล้วชีวิตเราปัจจุบันมันเป็นยังไง
เป็นทุกข์ใช่หรือไม่
มีสภาพที่ดีกว่านี้มั้ย
สภาพที่ดีกว่านี้ก็เช่น
การเป็นพระโสดาบัน
การถึงพระนิพพาน
สภาพที่ว่านี้สำคัญกับเรามากมั้ย
มันต้องผ่านการถาม-ตอบคำถามเหล่านี้มา
จึงจะมาสมาทานได้
คือไม่ใช่ว่าพอได้ยินว่านิพพาน
"เออ ใครถึงก็อนุโมทนาด้วย แต่เราก็เอาไว้ก่อนละกัน เธอไปก่อนเลย"
ซึ่งความจริงนิพพานไม่ใช่ทางเลือก
และวิธีการที่จะทำให้ถึงนิพพานนั้น
มันมีวิธีนี้เท่านั้น
จึงมาสมาทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น