ลักษณะศาสนาพุทธที่เป็นคำสอนที่แจกแจง
แยกเป็นส่วนๆ
ไม่เล่นคำ
เช่น อยากไปนิพพาน
อย่าไปอยากนะ เดี๋ยวอยากจะเป็นโลภะ
ที่ถูกต้องควรพูดว่า
ถ้าอยาก ให้ทำกุศลเยอะๆ นะ
คือการอยากทำกุศลเนี่ยมันไม่ใช่โลภะ
อยากอ่านหนังสือธรรมะ
อยากปฏิบัติธรรม
มันเป็นฉันทะชนิดนึง
เป็นการอยากที่จะทำให้มันดีขั้นต้น
คำว่า "อยาก" นี้เป็นคำไทย
ต่างจาก "โลภะ"
โลภะนี่จะ หมายถึง
การต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสนองความกลวงข้างใน
คือเราไปมองผิดๆ ด้วยอวิชชาว่า
เรากลวงข้างใน
ต้องไปเอาของข้างนอกมาถมให้เต็ม
คำคู่ของ โลภะ คือ อโลภะ
ไทยก็ไปแปลว่า ไม่โลภ ไม่อยาก
มันก็แปลได้ แต่มันก็จะยัง งงๆ
จริงๆ มันหมายถึง
การพัฒนาตนเอง หรือการสร้างความรู้สึก
ที่จะหมดความต้องการที่จะหาอะไรมาถมให้เต็ม
อโลภะ
มันคือการมีสติ
ที่จะทำให้มีความรู้สึกเต็มจากข้างใน
ที่ว่าจะไม่ต้องเอาวัตถุมาเติมให้มันเต็มอีก
เพราะเราอยู่เฉยๆ มันก็เต็ม
เวลาพูดว่า "ไม่อยาก" แบบภาษาไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นอกุศลมากกว่า
ไม่อยากทำนั่น ไม่อยากทำนี่
ถ้าคนมีสติเขาจะอยากทำในสิ่งดี
เห็นคุณค่าของเวลา
คนจะมีความเพียรได้
ต้องอยากทำ
คนจะบรรลุได้
ต้องอยากบรรลุก่อน
หลักการสร้างวิริยะ ก็คือฉันทะนั่นแหละ
อยากกระทำให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
การพูดแบบนี้
วิภชฺชวาท
เวลาใครมาตี
ก็จะแก้ได้
ในพุทธศาสนาไม่เน้นเล่นคำ
จะใช้วิธีแจกแจงอย่างนี้
หรือ
อย่าไปทำนะ
นักแผลงก็เล่นคำได้ละ
ที่ถูกต้องพูดว่า
ให้ไปทำสิ่งดีๆ ไม่ให้ทำสิ่งไม่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น