วิตก วิจารณ์มีลักษณะ
ดึงจิตไปแปะกับอารมณ์ใดอารมณ์นึง
ลักษณะของผู้รู้ที่จะแยกขาดจากอารมณ์จึงไม่ชัดเจน
เพราะจิตไปแตะอารมณ์
ยิ่งถ้าเพ่งหรือแนบนี้
ผู้รู้ไม่ปรากฏเลย
ทีนี้พอปล่อยวิตก วิจารณ์
เพราะรู้สึกว่า
การที่จิตไปแตะอารมณ์นี่
มันมีน้ำหนักหน่อยนึง เลยปล่อย
ให้อารมณ์อยู่ส่วนอารมณ์
จิตอยู่ส่วนจิต
เอโกทิภาวะ
เป็นลักษณะของจิตที่แยกจากอารมณ์
อารมณ์เป็นอันนึง
จิตที่รู้เป็นอีกอันนึง
เพราะไม่มีวิตกวิจารณ์คอยเชื่อม
ถึงตอนนี้ปีติและสุขอยู่ที่จิต
ต่อมาอีกหน่อย
เริ่มรู้สึกว่าปีตินี่มีน้ำหนัก
ก็ปล่อยปีติไป
คงเหลือสุขเบาๆ
ถ้าสุขที่ประกอบด้วยปีติมันจะวูบวาบหน่อย
ถึงสุดท้าย
ไม่เอาทั้งสุขและทุกข์
ลักษณะของวิปัสสนาก็จะเป็นเช่นนี้ด้วย
เราปฏิบัติก็เพื่ออย่างนี้เช่นกัน
แม้ปฏิบัติไม่ถึงจตุตถฌาน
แต่การดำเนินจิตต้องเป็นลักษณะนี้
กล่าวคือ การดำเนินจิตจะเข้าสู่สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา
เพราะเห็นว่ามันก็ไม่เที่ยง
ในการปฏิบัตินี้
เวลาที่จิตตื่นขึ้นแล้วมาดูกายใจ
จิตจะเหมือนกับจตุตถฌาน
คนที่ทำฌานมาก่อน
ได้จตุตถฌานแล้วออกมา
จิตจะเหมือนกับผู้ที่ฝึกรู้สึกตัวตื่นขึ้น
แล้วมาดูกายใจ
จะรู้สึกเหมือนกัน
คือเป็นผู้ที่สุขก็ไม่เอา
ทุกข์ก็ไม่เอา
ลักษณะนี้สติจะบริสุทธิ์มาก
บริสุทธิ์ด้วยอุเบกขา
นี้เป็นลักษณะของฌาน 4
การฝึกก็ฝึกอย่างนี้
ส่วนจะแนบแน่นเป็นอัปณาฯ หรือเปล่าอีกเรื่องนึง
ตอนที่จะพลิกจากปุถุชนเป็นอริยะ
ถึงจุดที่จะข้ามจิต
จะได้ฌานอัปณาอัตโนมัติ
ถึงไม่เคยปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน
ถ้าไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์
เรียกว่าจิตต้องถึงนิพพาน
ช่วงที่จิตเดินวิปัสสนาในอัปณา
แล้วมรรคจิตเกิดขึ้น
ช่วงนี้จะได้ฌาน
แต่ละคนได้ไม่เท่ากัน
ได้ก็ได้แป๊บเดียวเท่านั้นแหละ
พระโสดาบันพอออกมาก็คล้ายๆ เดิม
แต่มองๆ ไปรู้สึกกลวง ไม่มีตัว
สัมมาสมาธิท่านจึงอธิบายด้วยอัปณา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น